วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ท่านพุทธทาส ท่านแสดงอานาปานสติ แบบที่สืบทอดมาจากพระสูตรดั้งเดิมได้ด้วยภาษาง่ายๆ ที่คนรุ่นใหม่อ่านแล้วเข้าใจได้ไม่ยาก

ปัจจุบันเมื่อพูดถึงอานาปานสติ ไม่ว่าจะในเมืองไทยหรือต่างประเทศ ก็มักจะมีการกล่าวถึง คู่มืออานาปานสติของท่านพุทธทาส ในลักษณะหนังสือที่สามารถนำมาอ้างอิงได้ เพราะ ท่านนำมาจากในพระสูตรโดยตรงนั่นเอง และ สิ่งนี้ เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อวงการพระพุทธศาสนา. ไม่ใช่เฉพาะทางเถรวาทที่ตื่นตัวในอานาปานสติ แม้นแต่ ทางเซน เช่น ท่านติช นัท ฮันห์ ท่านก็สอนอานาปานสติบ่อยๆเช่นกัน



คุณตรงประเด็นครับ จุดมุ่งหมายของเจริญอานาปานสติ เพื่อให้ได้ รูปฌาน แล้ว พัฒนาไปสู่ การเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา

ไม่ใช่แค่ การผ่อนคลาย เพื่อความสงบทางโลก เท่านั้น

มีสิ่งหนึ่งที่ ท่านพุทธทาส ไม่ได้อธิบายถึง การเจริญวิปัสสนา ดั่งที่ อรรถกถา เมื่อครั้ง พุทธกาลได้อธิบายไว้ รวมถึง พระโบราณาจารย์ของเถรวาท อย่าง พระพุทธโฆษาจารย์(พระวิสุทธิมรรค) พระอนุรทธาจารย์(อภิธัมมัตถสังคหะ) ถึงแม้ท่านจะเคยอธิบายวิปัสสนาแบบง่ายว่า วิปัสสนาลัดสั้น

ผมเชื่อว่า สั้นเกินไป จนไม่อาจนำไปสู่ การเห็นรูป นาม เป็นไตรลักษณ์ได้

และท่านพุทธทาส ยังแสดงความเคลือบแคลงสงสัย ว่า การอธิบายที่ไม่ถูกต้องเสียส่วนใหญ่

-------------------------------------------------------


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 493&Z=7552

ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา

[๑๗๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าสู่อุปัฏฐานศาลาประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์
ที่จัดไว้ถวาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล
อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้ง ขึ้นใน
เดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธาน
สงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็น
คุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน
สงบไปโดยฉับพลัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ใน
สถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน ภิกษุนั้นย่อมมีสติหายใจ
เข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึก
ว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่า
หายใจออกสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจ
เข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
จิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
รู้แจ้งซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยัง
จิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บรรเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นวิราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็น
ปฏินิสสัคคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะหายใจออก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยฉับพลัน
.

อรรถกถา
viewtopic.php?f=2&t=21049&st=0&sk=t&sd=a&start=0

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป. อีกอย่างหนึ่ง
เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่ง
ลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลม
ย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้น
ของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัย
กายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก
และกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป.
ครั้นเธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูป
นั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว
ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง ๓ เสียได้.
เธอนั้นข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณา
กลาป ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วน
เบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ)
กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่า เป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึง
ภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปใน
สรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับ
ติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตผล
ถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลก พร้อมทั้ง
เทวดา. ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ ของภิกษุผู้ประกอบในอานาปาน-
กรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับ จนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียง
เท่านี้แล.


--------------------------------------

วิสุทธิมรรค

http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A7 ... 4%E0%B9%90

๑. นามรูปววัฏฐาน หรือ สังขารปริเฉท)

โยคาวจรผู้ปรารถนาจะบรรลุ ทิฏฐิวิสุทธิ นั้น (ถ้าเป็น) สมถะยานิกะ (ผู้มีสมถะเป็นทางดำเนิน) ครั้นออกจากรูปาวจรญาณ ญาณใดญาณหนึ่ง เว้นแต่เนวสัญญา

(หน้าที่ 238)
นาสัญญายตนะแล้ว ก่อนอื่นพึงกำหนดองค์ทั้งหลายของญาณมีวิตกเป็นต้น และธรรมทั้งหลายที่ประกอบด้วยองค์ของญาณนั้น (เช่น เวทนา สัญญา เป็นต้น) โดยลักษณะและรส (หน้าที่) เป็นต้น (ของธรรมนั้น ๆ) ครั้นแล้ว พึงกำหนดแม้ทั้งหมด (ดังกล่าวมา) นั้นว่า “นาม” โดยความหมายว่า “น้อมไป” เพราะมุ่งหน้าน้อมไปสู่อารมณ์ แต่นั้นเมื่อโยคาวจรผู้นี้แหละจะพิจารณาดู นาม นี้อาศัยอะไร จึงเป็นไป? ก็เห็นหทยรูป (หัวใจ) เป็นที่อาศัยของนาม เปรียบเหมือนบุรุษเห็นงูภายในเรือน จึงติดตามมันไป ก็พบที่อาศัยของมัน ฉะนั้น ครั้นแล้ว โยคาวจรผู้นั้นก็กำหนด รูป ว่า ภูตรูปทั้งหลายเป็นที่อาศัยของหทยรูป และอุปาทายรูปทั้งหลายนอกนั้นก็อาศัยภูตรูป ท่านโยคาวจรนั้นกำหนดแม้ทั้งหมดนั้นว่า “รูป” เพราะ (มัน) เสื่อมสลาย แต่นั้น ก็กำหนดนามรูปโดยสังเขปว่า นาม มีการน้อมไปเป็นลักษณะ รูป มีการเสื่อมสลายเป็นลักษณะดังนี้
(๑. กำหนดนามและรูปทางธาตุ ๔)

ส่วนโยคาวจรผู้เป็น วิปัสสนายานิกะ (ผู้มีวิปัสสนาเป็นทางดำเนิน) ล้วน ๆ หรือว่า ผู้เป็นสมถยานิกะนั้นนั่นเอง กำหนดธาตุ ๔ โดยสังเขปหรือโดยพิสดาร ด้วยมุขในการกำหนดธาตุเหล่านั้นๆ ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วใน จตุธาตุววัฏฐาน มุขใดมุขหนึ่ง ครั้นแล้วเมื่อธาตุทั้งหลายปรากฏชัดแจ้งแก่โยคาวจรผู้นั้นโดยรส (หน้าที่) และโดยลักษณะของมันตามเป็นจริง รูป ๑๐ ในเส้นผมซึ่งมีกรรมเป็นสมุฏฐาน ก็ปรากฏโดย กายทสกะ อย่างนี้ก่อนคือ ธาตุ ๔ สี ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ โอชา ๑ ชีวิต ๑ กายประสาท ๑ และรูปอีก ๑๐ ก็ปรากฏโดย ภาวทสกะ (คือ ๑๐ เหมือนกายทสกะ ต่างกันแต่เปลี่ยน กายประสาท เป็น ภาวะ คือ เพศชาย หรือ เพศหญิง) เพราะมีภาวะ (เพศ) อยู่ในเส้นผมซึ่งมีกรรมเป็นสมุฏฐานนั้นเหมือนกัน และรูปอีก ๒๔ คือ โอชัฏฐมกะ (รูปมีโอชะเป็นที่ ๘ ได้แก่ ธาตุ ๔ สี ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ และโอชะเป็นที่แปด ๑) ซึ่งมีอาหารเป็นสมุฏฐาน ๑ โอชัฏฐมกะ ซึ่งมีฤดูเป็นสมุฏฐาน ๑ โอชัฏฐมกะ ซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ๑ (๘ + ๓ = ๒๔) ก็ปรากฏในเส้นผมที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานนั้นด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น จึงปรากฏเป็นรูป ๔๔ - ๔๔ ในโกฏฐาส ๔ ซึ่งมีสมุฏฐาน ๔ ด้วยอาการดังกล่าวนี้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านพุทธทาส ท่านแสดงอานาปานสติ แบบที่สืบทอดมาจากพระสูตรดั้งเดิมได้ด้วยภาษาง่ายๆ ที่คนรุ่นใหม่อ่านแล้วเข้าใจได้ไม่ยาก

ปัจจุบันเมื่อพูดถึงอานาปานสติ ไม่ว่าจะในเมืองไทยหรือต่างประเทศ ก็มักจะมีการกล่าวถึง คู่มืออานาปานสติของท่านพุทธทาส ในลักษณะหนังสือที่สามารถนำมาอ้างอิงได้ เพราะ ท่านนำมาจากในพระสูตรโดยตรงนั่นเอง และ สิ่งนี้ เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อวงการพระพุทธศาสนา. ไม่ใช่เฉพาะทางเถรวาทที่ตื่นตัวในอานาปานสติ แม้นแต่ ทางเซน เช่น ท่านติช นัท ฮันห์ ท่านก็สอนอานาปานสติบ่อยๆเช่นกัน



คุณตรงประเด็นครับ การนำเอาความรู้สึกส่วนตัวไปรับรอง อัตตโนมติของท่านพุทธทาส ว่าถูกต้อง ตามที่พระสูตร ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้นั้น

เหตุเพราะตรงกับความเข้าใจส่วนตัวของเรา ต้องระมัดระวังให้ดีครับ อาจเป็นการ สัทธรรมปฏิรูปได้ ดั่งท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก ได้ให้ข้อคิดไว้ว่า

ตามที่ได้ยกข่อความจากอาคตสถานมาแสดงเทียบเคียงให้เห็นดังนี้แล้ว ผู้อ่านก็พอจะทราบได้ว่าอะไรเป็นอะไร

วิจัยเรื่อง "จิตเดิม" ของท่านพุทธทาส

http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=10126


http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=10128

แต่ขอให้ทัศนะไว้นิดหนึ่งว่า ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ บางครั้งถึงกับอุทิศเพศบวชมาเป็นเวลานานก็มี ขอร้องให้พากันเชื่อพระบาลีและอรรถกถาอันเป็นหลักปริยัติฝ่ายเถรวาทเถิด เพราะจะเป็นปัจจัยให้เกิดทิฐิวิสุทธิ คือความเห็นที่ถูกต้องในส่วนของพระปริยัติศาสนาขึ้นได้


แม้จะเกิดศรัทธาให้ลงมือปฏิบัติ ก็เชื่อเหลือเกินว่าต้องไม่ผิดแน่ เพราะเมื่อปริติถูกก็เป็นเหตุให้เกิดปฏิบัติถูก อันเป็นเสมือนเงาตามตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ยอมเชื่อโดยยกตัวเสมอกับอรรถกถาเสียแล้วก็เป็นเรื่องที่ช่วย

--------------------------------------------------------------

อนึ่ง การไปคิดแทนพระพุทธองค์นั้น โดยใช้ความรู้สึกส่วนตัวอาจจะไม่ถูกต้อง เช่น คิดว่าพระพุทธองค์ อาจจะทรงสอนเรื่องนรกสวรรค์ เทวดา นรก เพราะเอออวยกับศาสนาพราหมณ์ในอินเดีย ที่คนส่วนใหญ่นับถือ เป็นต้น ดังอัตตโนมติของท่านพุทธทาส

เทวดามีจริงหรือ ?
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2009, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เลิกราวีหลวงพ่อพุทธทาสซะจริงๆเลยนะคุณเฉลิมศักดิ์ :b12:

รู้ไหมว่า หลวงพ่อพุทธทาสน่ะ ท่านอธิบายบัญญัติซ้อนปรมัติได้ชัดเจนมากๆ มากกว่าอื่มมม ... แบบที่คุณนำมาตัดๆแปะๆเอาน่ะ หาอ่านเอานะ ดิฉันขี้เกียจหา บัญญัติซ้อนปรมัติ ทั้งของพม่า หลวงพ่อภัททันตระ ทั้งของไทย หลวงพ่อพุทธทาส ใช้คนละสำนวน แต่สภาวะเดียวกัน บัญญัติซ้อนปรมัติ สันตติขาด ฆนบัญญัติแตก รู้จักไหมคะ

ยิ่งพูด ยิ่งไปกันใหญ่เลยคุณน่ะ พูดไปเรื่อย ไม่ดูจุดประสงค์ที่คุณตรงประเด็นอธิบาย ว่าจุดประสงค์คืออะไร :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 05:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
รู้ไหมว่า หลวงพ่อพุทธทาสน่ะ ท่านอธิบายบัญญัติซ้อนปรมัติได้ชัดเจนมากๆ มากกว่าอื่มมม ... แบบที่คุณนำมาตัดๆแปะๆเอาน่ะ หาอ่านเอานะ ดิฉันขี้เกียจหา บัญญัติซ้อนปรมัติ ทั้งของพม่า หลวงพ่อภัททันตระ ทั้งของไทย หลวงพ่อพุทธทาส ใช้คนละสำนวน แต่สภาวะเดียวกัน บัญญัติซ้อนปรมัติ สันตติขาด ฆนบัญญัติแตก รู้จักไหมคะ



คุณวลัยพรครับ คุณเคยนำอัตตโนมติของ หลวงพ่อภัททันตระ ( ที่ปฏิบัติแบบยุบหนอ พองหนอ) มาตัดแปะ สนทนา กับคุณตรงประเด็น ซึ่งอัตตโนมติของท่านก็ไม่สอดคล้องกับหลักฐานในพระไตรปิฏก อรรถกถา ในประเด็นที่ว่า ผู้บรรลุมรรคผลนั้น ไม่เกิดฌานจิตร่วมด้วย

ส่วนคุณตรงประเด็นก็พยายามชี้ประเด็นว่า ขณิกสมาธิ ไม่ใช่ สัมมาสมาธิ ไม่สามารถนำไปเป็นฐานของการปฏิบัติวิปัสสนาได้ มุ่งเน้นแต่เรื่อง ฌานจิต อย่างเดียวว่าคือสัมมาสมาธิ

อธิบายพระพุทธพจน์เอง ประดุจอรรถกถา

อาศัยสมาธิระดับไหนในการทำให้ปัญญาเกิดขึ้น โดยคุณตรงประเด็น

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16785

อ้างคำพูด:
เพื่อนทางธรรมท่านหนึ่ง ท่านเคยเสนอข้อมูลมาให้ผมดังนี้


อ้างอิงจาก:
นำมาจากหนังสือXX

รจนาโดยหลวงพ่อดร.XXX ข้อความมีดังนี้ค่ะ

***ปัญญาวิมุติอรหันต์ ได้แก่ ท่านที่บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ ไม่ได้บำเพ็ญสมถภาวนามาก่อนเลย เมื่ออรหัตตมรรคอุบัติขึ้นนั้น ฌานก็ไม่มีเกิดร่วมด้วย***



ซึ่ง นี่คือ สมาธิในการภาวนาแบบ"เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า"แบบแนวทางXXXนั้น สมาธิไม่ได้รับการพัฒนาตามปัญญาไปด้วยเลย....

ถ้า ในขั้นตอนการเริ่มเดินมรรคใช้ขณิกะสมาธิ หรือ ขณิกะสมาธิต่อกับอุปจารสมาธิ... ในตอนที่บรรลุมรรคผลก็ยังคงเป็นขณิกะสมาธิ หรือ ขณิกะสมาธิต่อกับอุปจารสมาธิ อยู่ตามเดิม นั่นเอง

ปัญหาที่สำคัญที่จะตามมา คือ ถ้าสมาธิไม่ได้รับการพัฒนาตามปัญญาจริงๆแล้ว.....กล่าวคือ ในขั้นตอนการเริ่มเดินมรรคใช้ขณิกะสมาธิ หรือ ขณิกะสมาธิต่อกับอุปจารสมาธิ และ ในตอนที่บรรลุมรรคผล สมาธิก็ยังคงยังเป็นขณิกะสมาธิ หรือ ขณิกะสมาธิต่อกับอุปจารสมาธิ อยู่....
แล้ว "สัมมาสมาธิ" ที่เป็นสมาธิขั้นแน่วแน่(ฌาน)ที่แวดล้อมด้วยองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ด ดังเช่นแสดงในพระสูตร ไม่มีในพระอรหันต์ปัญญาวิมุติแบบของXXX หรอกหรือ???


-----------------------------------------------------------

คุณตรงประเด็น คุณวลัยพร ครับ อย่าพึ่งไปรับรอง อัตตโนมติของอาจารย์ต่าง ๆ ว่าถูกต้อง ตรงตามพระสูตรเลยครับ

ยิ่งเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนา เพื่อความพ้นทุกข์ด้วย ถ้าทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด จะเป็นอันตรายต่อพระศาสนามาก ๆ ครับ

ดังที่ท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก ได้แสดงทัศนะว่า

viewtopic.php?f=2&t=21049&start=0

คำแปลอรรถกถาแก้บาลีตอนที่ ๓ อันมี "ยุคนทฺธํ ภาเวตีติ ยุคนทฺธํ กตฺวา ภาเวติ.ฯ " เป็นต้น ความว่า

พระบาลีข้อที่ว่า "เจริญควบคู่กันไป" นั้น พระอรรถกถาจารย์ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า เจริญทำให้ควบคู่กันไป ฯ

ในการเจริญดังกล่าวเหล่านั้น ใครๆ ก็ไม่อาจที่จะเข้าสมาบัติด้วยจิตดวงนั้นนั่นแหละ แล้วก็พิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตดวงนั้นนั่นเอง แต่โยคีบุคคลผู้นี้เข้าสมาบัติได้เพียงใด ก็ย่อมพิจารณาสังขารได้เพียงนั้น พิจารณาสังขารได้เท่าใด ก็เข้าสมาบัติได้เท่านั้น ที่ว่านี้หมายความว่าอย่างไร

หมายความว่า ตนเข้าปฐมฌานได้ ออกจากปฐมฌานแล้ว ก็พิจารณาสังขารทั้งหลายอีก เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว ก็เข้าตติยฌาน ฯลฯ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เมื่อออกจากอรูปสมาบัติที่ ๔ แล้วก็ได้พิจารณาสังขารทั้งหลาย ตามวิธีอย่างที่ได้อธิบายมานี้ ชื่อว่าเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปด้วยประการฉะนี้ฯ

ข้อสังเกตตามที่พระอรรถกถาจารย์และพระฎีกาจารย์อธิบายมา จะเห็นได้ว่าเป็นการยากที่เราจะไปตีความเอาโดยพลการ เพราะถ้าไม่ตรงต่อคำอธิบายของท่านแล้ว แทนที่จะเป็นการช่วยกันเผยแผ่พระพุทะศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป กลับจะเป็นการช่วยกันทับถมคำสอนของท่านให้เสื่อมสูญลงโดยไม่รู้ตัว

ดังนั้นท่านผู้ที่รักจะช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนา จะอธิบายอะไรก็ควรที่จะตรวจตราดูเสียให้เรียบร้อยก่อน เพราะการบรรยายธรรมเป็นการแนะแนวในการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน เพื่อให้หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ซึ่งไม่เหมือนกับการ้องเพลงที่จะชวนให้คนฟังเกิดแต่กิเลสเป็นความเศร้าหมองอย่างเดียว

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 07:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:

พระบาลีข้อที่ว่า "เจริญควบคู่กันไป" นั้น พระอรรถกถาจารย์ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า เจริญทำให้ควบคู่กันไป ฯ

ในการเจริญดังกล่าวเหล่านั้น ใครๆ ก็ไม่อาจที่จะเข้าสมาบัติด้วยจิตดวงนั้นนั่นแหละ แล้วก็พิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตดวงนั้นนั่นเอง แต่โยคีบุคคลผู้นี้เข้าสมาบัติได้เพียงใด ก็ย่อมพิจารณาสังขารได้เพียงนั้น พิจารณาสังขารได้เท่าใด ก็เข้าสมาบัติได้เท่านั้น ที่ว่านี้หมายความว่าอย่างไร

หมายความว่า ตนเข้าปฐมฌานได้ ออกจากปฐมฌานแล้ว ก็พิจารณาสังขารทั้งหลายอีก เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว ก็เข้าตติยฌาน ฯลฯ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เมื่อออกจากอรูปสมาบัติที่ ๔ แล้วก็ได้พิจารณาสังขารทั้งหลาย ตามวิธีอย่างที่ได้อธิบายมานี้ ชื่อว่าเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปด้วยประการฉะนี้ฯ

ตลกดีนะคุณน่ะ .. แล้วทำไมเมื่อมีการอธิบายแบบนี้ คุณถึงเชื่อล่ะ คุณมารับรองได้ยังไง คาดเดาไปเรื่อย ถึงบอกไง ไปสนทนาเรื่อง ฌาน กับคนที่ไม่เคยได้ฌาน น่าจะเดาออกนะคะว่าเป็นยังไง ทำให้ผ่านสิคะ เวลามาอ่านจะได้รู้ว่า ที่เขานำมาพูดๆกันน่ะ มันจริงไหม ไม่ใช่เอาแต่ตัดแปะๆๆๆๆ เพราะความศรัทธาในตำแหน่งที่แต่งตั้งทางสมมุติ จึงทำให้เกิดปัญหาไม่รู้จบ มีแต่สร้างวาทะกรรมไม่รู้จบ :b1:


คุณวลัยพรครับ คุณเคยนำอัตตโนมติของ หลวงพ่อภัททันตระ ( ที่ปฏิบัติแบบยุบหนอ พองหนอ) มาตัดแปะ สนทนา กับคุณตรงประเด็น ซึ่งอัตตโนมติของท่านก็ไม่สอดคล้องกับหลักฐานในพระไตรปิฏก อรรถกถา ในประเด็นที่ว่า ผู้บรรลุมรรคผลนั้น ไม่เกิดฌานจิตร่วมด้วย

งั้นหรือ คุณเป็นพระอรหันต์หรือ ... :b10:

เรื่องรายละเอียดของสภาวะ ดิฉันไม่ได้นำมาลงทั้งหมด นำมาแค่บางส่วน เลิกนำดิฉันไปเกี่ยวข้องกับคุณตรงประเด็นซะที คุณตรงประเด็นก็คือคุณตรงประเด็น วลัยพรก็คือ วลัยพร อย่ามานำเหมารวมกัน กรุณาช่วยแยกแยะให้ถูกต้องด้วยค่ะ :b12:

คุณเหมือนเด็กๆนะ อย่างอแงสิคะ :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 22:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านพุทธทาส ท่านเป็นพระอริยะสงฆ์ครับ

ท่านปฏิบัติจนเกิดปฏิเวธบรรลุธรรมมาแล้ว

ธรรมของท่านจึงลึกซึ้งเกิดกว่าปุถุชนจะเข้าใจได้ง่ายๆ

ปรมัตถ์ธรรมอธิบายไม่ได้ง่ายๆครับ

ไม่เหมือนสมมุติบัญญัติ ไปตัดเอาที่ไหนมาแปะก็ได้

จะลิงค์สักกี่ลิงค์ก็ได้

เฉลิมศักดิ์แท้จริงแล้วไม่สามารถปฏิบัติจนเกิดปฏิเวธได้

เมื่อปฏิบัติไม่ได้ผลก็ออกมาโจมตีละเมิดท่านที่ปฏิบัติดีอย่างท่านพุทธทาส

เพราะตนเองไม่รู้ว่าสภาวะหรือปฏิเวธเป็นอย่างไร

รู้แต่ท่องตำราหรือลอกตำรา ไม่เก่งจริง

เมื่อไม่มีความสามารถในทางปฏิบัติก็พยายามอ้างว่า

พระอรหันต์นั้นสำเร็จด้วยปัญญาวิมุติมากกว่าสำเร็จด้วยเจโตวิมุติ

แค่นี้ก็ชี้ชัดแล้วว่าเฉลิมศักดิ์เป็นคนอย่างไร

ความจริงจำนวนไม่ใช่ประเด็น

ทำไมจะบรรลุอรหันต์ทั้งทียังต้องหาเสียงข้างมากอีก

และผมไม่เคยเห็นนายทะเบียนอรหันต์

หรือได้ยินว่าผู้ที่สำเร็จอรหันต์ต้องไหประกาศลงทะเบียนที่ใหน

ในเมื่อไม่มีการลงทะเบียนเราจึงไม่มีทางรู้ได้เลยว่าตั้งแต่พุทธกาลมาแท้จริงแล้วพระอรหันตปัญญาวิมุติกับพระอรหันต์เจโตวิมุติฝ่ายไหนมีมากกว่ากัน

ยิ่งไปกว่านั้น

ถึงรู้ก็ไม่ทำให้นำไปสู่นิพพานได้เลย

จึงกล่าวว่าผมไม่รู้ว่าเฉลิมศักดิ์ละเมิดพระอริยะสงฆ์ทำไม

ถ้ามีจุดประสงค์เพื่อนิพพาน

ไฉนจึงเดินทางสู่นรกด้วยเล่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย yahoo เมื่อ 19 ก.ค. 2018, 23:18, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b7: :b7: :b7:


แก้ไขล่าสุดโดย บัวศกล เมื่อ 30 เม.ย. 2009, 18:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่อ่านมา เหมือนทะเลาะกันอยู่ อย่าไปทะเลาะกันเลยครับ ไม่ดีหรอก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย yahoo เมื่อ 19 ก.ค. 2018, 23:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2009, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่คุณบัว เราใช้วาจาน่าฉงนใจคุณขนาดนั้นเชียวหรือ
ดูทำหน้าเข้าสิ่
:b29: :b29: :b29:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2009, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ุทุกถ้อยของคำถก เป็นเครื่องประกาศหน้าตาที่แท้

ถกด้วยเมตตา ถกด้วยปัญญา ถกด้วยอัตตา ถกด้วยอารมณ์
รึถกด้วยปรารถนาเพื่อ จับอีกคนมา แก้เครื่องนุ่งห่มโชว์เนื้อส่วนใน
และอาจมีบ้างที่ถกเพื่อปรารถนา ทดสอบความประณีตของใจตนที่ฝนฝึกมานาน

การถกข้อธรรมเป็นสิ่งดี แย้งกันด้วยเหตุผลก็เป็นสิ่งดี
แต่ถ้าตามแย้งกันทุกเรื่องกลิ่นของการถก ก็คงไม่ดี
และต่อมากลิ่นแห่งสัมพันธ์ไมตรีก็จะจางหาย
ความเป็นกลางของจิต ที่อุตส่าห์บ่มเพาะก็พลอยถูกทำลาย
จนกลายเป็นผู้มีอคติ ทั้งๆที่ก็รู้ตัว

ทุกถ้อยแห่งการถก
อาจรู้ได้ว่ากำลังถกกันเรื่องอะไร
อาจเป็นได้ที่ต่างคนก็ต่างเข่าใจว่าตนรู้จริงเรื่องที่ถก
และก็อาจเป็นได้ว่า เพราะต่างคนก็ไม่รู้จริงแต่คิดว่ารู้จริงจึงต้องถก

คนรู้จริงจะไม่ถกกับคนไม่รู้ แต่จะบอกกล่าวให้เขารู้ ถ้าเขาต้องการรู้
หากการบอกกล่าวให้เขารู้ แล้วเขาไม่ยอมรับรู้
ผู้รู้ก็จะรู้ว่า ควรหยุดการบอกกล่าว แต่ไม่เคยหยุดความปรารถนาดี
ในใจลึกๆก็ยังคิดอยู่เสมอว่า สักวันคงมีโอกาสที่เราจะได้คุยกัน

การปล่อยวิถีชีวิตเขา ให้ผ่านวันคืน ด้วยการค่อยๆรู้ด้วยตัวเอง
อาจเป็นสิ่งดียิ่งกว่าคอยมีคนอื่นชี้สอน.........สำหรับคนบางคน

ผู้รู้ก่อนจะสอนใคร ต้องรู้ก่อนว่า เขาเป็นคนยังไง
เมื่อรู้และเข้าใจในตัวเขาแล้วจึงค่อยสอน หรืออาจไม่ต้องสอน

หากใครยังดื้อดึงสอนทั้งที่รู้ว่าเขาไม่ต้องการ
คุณสอบผ่านด้านความพยายามแต่สอบไม่ผ่านด้านความแยบคาย

และถ้ายังไม่มีความแยบคายพอ ก็อย่าเพิ่งใจร้อนรีบสอนให้มากไป
เอาแต่ทีละเล็กทีละน้อย ค่อยๆเป็นค่อยๆไป


.....พอดีกว่า เดี๋ยวหาว่าสอน แล้วจะพาลโดนเกลียดมากขึ้นไปอีก
ที่พร่ำมายาวเหยียด แค่อยากพร่ำให้สหายฟังแก้เหงา
เพราะสหายเขาชอบให้พร่ำ และพร่ำยาวๆเขายิ่งชอบ

:b5: :b5: :b5:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2009, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ร่วมถก ไม่ว่าจะถกด้วยเหตุผลใดก็ตาม :b8:

เวลาจะวิจารณ์ ไม่ได้ห้ามวิจารณ์ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะวิจารณ์ได้เหมือนกันหมด แต่เวลาวิจารณ์ อย่าเอาความชอบ ความชังส่วนตัวใส่ลงไป ไม่งั้นจะกลายเป็นว่า เรานั้นไปบิดเบือนสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ทุกคนที่มาสนทนากันตรงนี้ ไม่มีใครรู้จักใครเป็นการส่วนตัว วางใจให้เป็นกลางๆ

กระทู้นี้ เป็นเพียงกระทู้ที่เริ่มต้นสนทนากัน หรือ ใครจะเรียกว่าถก หรือ ใครจะเรียกว่าอะไรก็แล้วจิตของผู้นั้นปรุงแต่งไป

เวลายกกระทู้มาสนทนา กรุณาช่วยยกกระทู้ทุกกระทู้ที่เกี่ยวข้องมาทั้งหมดด้วยว่าสรุปแล้ว เขาสนทนากันด้วยเรื่องอะไร แล้วจบลงยังไง ไม่งั้นจะมาสร้างกรรมใหม่ให้เกิดกันเปล่าๆ

viewtopic.php?f=2&t=21049&st=0&sk=t&sd=a

viewtopic.php?f=2&t=21207

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2009, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


โอวาทธรรม ท่านพุทธทาสภิกขุ


1.กรรมฐานที่ดีที่สุด

กรรมฐาน คือ การอบรมใจให้หลุดจากอำนาจของความทุกข์
กรรมฐานที่ดีที่สุด คือ การหยิบยกเอาปัญหาสุขทุกข์ประจำวันของตนขึ้นมาคิดค้น จนเห็นเหตุแห่งทุกข์ และ ทางดับทุกข์ได้ชัดเจน


2.ควรหาเวลาประกอบกิจนี้

กิจประจำวัน ที่พระองค์ทรงสอนให้สาวกทำ คือ รวบรวมกำลังจิต ให้สงบจากฟุ้งซ่านหรือหดเหี่ยว สงบเป็นจุดเดียว กล้าแข็ง.....แล้ว ก็ น้อมไปเพื่อการคิดปัญหาทุกข์สุข ที่ประจำชีวิตตนเอง หรือ ธรรมชาติของสัตว์ทั่วไป จนกว่าจะเอาชนะความทุกข์นั้นได้ ระยะนี้ เรียกว่า การปฏิบัติธรรม หรือ กรรมฐาน หรือ วิปัสสนาธุระ

ทุกๆคน ควรหาโอกาสประกอบกิจนี้ แม้อย่างน้อยครึ่งชั่วโมงต่อ๑วัน ก็ยังดีไม่น้อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2009, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
โอวาทธรรม ท่านพุทธทาสภิกขุ


1.กรรมฐานที่ดีที่สุด

กรรมฐาน คือ การอบรมใจให้หลุดจากอำนาจของความทุกข์
กรรมฐานที่ดีที่สุด คือ การหยิบยกเอาปัญหาสุขทุกข์ประจำวันของตนขึ้นมาคิดค้น จนเห็นเหตุแห่งทุกข์ และ ทางดับทุกข์ได้ชัดเจน


2.ควรหาเวลาประกอบกิจนี้

กิจประจำวัน ที่พระองค์ทรงสอนให้สาวกทำ คือ รวบรวมกำลังจิต ให้สงบจากฟุ้งซ่านหรือหดเหี่ยว สงบเป็นจุดเดียว กล้าแข็ง.....แล้ว ก็ น้อมไปเพื่อการคิดปัญหาทุกข์สุข ที่ประจำชีวิตตนเอง หรือ ธรรมชาติของสัตว์ทั่วไป จนกว่าจะเอาชนะความทุกข์นั้นได้ ระยะนี้ เรียกว่า การปฏิบัติธรรม หรือ กรรมฐาน หรือ วิปัสสนาธุระ

ทุกๆคน ควรหาโอกาสประกอบกิจนี้ แม้อย่างน้อยครึ่งชั่วโมงต่อ๑วัน ก็ยังดีไม่น้อย

แปลว่ากรรมฐานมีหลายแบบหรือไง :b12: :b12: เงงงวย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร