วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 03:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049&st=0&sk=t&sd=a&start=15

อ้างคำพูด:
เนี่ยตัวหนังสือ ทำให้คนน่ะเข้าใจผิด แล้วมาไขว้เขวว่าควรทำอย่างไร กุศลแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน บางคนได้ฌานตั้งแต่เด็กๆ ดิฉันน่ะทำกสิณเตโชตั้งแต่ 11 ปี ทำเอง ถึงบอกว่า ตัวหนังสือทำให้วุ่นวาย


อ้างคำพูด:
ไปนำมาจากไหนคะเนี่ย ว่าการเจริญวิปัสสนาของผู้ได้ฌาน ต้องออกมาจากฌาน มาพิจรณา นามรูป โดยอาศัย ขณิกสมาธิ เพราะคุณไม่เคยสัมผัสกับฌาน คุณจึงไม่รู้ คาดเดาเอาเอง การเข้าสู่ฌาน ตั้งแต่ปฐมฌาน ต้องมีสติมากพอ ที่จะไม่ดิ่งดับหายไป จนขาดความรู้ตัว ผู้ที่เจริญสติอย่างต่อเนื่อง เมื่อรู้ตัวว่าจะดิ่งเข้าสู่ฌาน เขาจะถอยออกมาจากฌาน ( อัปนนาสมาธิ ) มาอยู่กึ่งกลางระหว่าง อุปจารสมาธิ กับอัปปนาสมาธิ ไม่ทราบว่าคุณเคยได้ยินไหมคะ โห .. ขณิกน่ะ พวกได้ฌานเขาไม่ใช้ในขณะที่ทำสมาธิหรอกค่ะ สมาธิเขามากกว่านั้น เมื่อถอยยออกมาตั้งมั่นระหว่างอุปจารสมาธิ ( อันนี้คุณทราบใช่ไหมคะ ว่าถ้าเป็นอุปจารสมาธิจะเกิดนิมิต ถ้า อัปปนาจะดิ่งเข้าสู่ฌาน ฉะนั้น สมาธิที่ควรแก่งานคือ สมาธิที่ถอยออกมาจากอัปปนา แต่ไม่ตกไปที่อุปจารสมาธิ ตรงนี้ สมาธิ จะตั้งมั่นได้นาน มีความรู้ตัวตลอด เกิดเวทนาก็รู้ เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เห็นไตรลักษณ์ไหม เห็นแน่นอน เพราะมันไม่เที่ยง เดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ นี่คือการทำวิปัสสนาแล้ว มีแค่นี้เอง


------------------------------------------------------------

คุณวลัยพร ช่วยอธิบายเพิ่มเติม ถึงการทำสมถะกรรมฐาน โดยอาศัยเตโชกสิน จนได้ฌาน 1 แล้ว พัฒนาเป็น ฌาน 4 อย่างไร ?

เมื่อได้ฌานแล้ว คุณวลัยพร มีวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาอย่างไร ?

พิจารณาสภาวะธรรม ให้เกิดปัญญาเห็นนามรูป เป็นไตรลักษณ์ ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ อย่างไร ?

แล้วได้วิปัสสนาญาณ ระดับไหนแล้ว ?

-----------------------------------------------------------------------
ปริยัติ

http://abhidhamonline.org/aphi/p9/006.htm

๓. เตโชกสิณ

ก่อไฟให้ลุกเป็นเปลว ใช้เสื่อลำแพน หนังสัตว์ ผ้า หรือสิ่งใดก็ได้ เจาะให้เป็นช่องกลมโตสัก ๑ คืบ ๔ นิ้ว เอาตั้งบังไฟเข้าเฉพาะหน้า แล้วเพ่งเปลวไฟตามช่องนั้น พร้อมกับบริกรรมว่า เตโช เตโช หรือ ไฟ ไฟ


( วิปัสสนาญาณ ๑๖ )
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/069.htm

การปฏิบัติวิปัสสนาของผู้ได้ฌาน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049&st=0&sk=t&sd=a&start=0

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 06:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามอีกข้อแล้วกันครับ คุณวลัยพร มีโครงการจะ ปฏิบัติให้ได้ อภิญญาจิต ต่อด้วยไหมครับ ?

--------------------------------------------------------------
พระอภิธัมมัตถสังคหะ

http://abhidhamonline.org/aphi/p9/063.htm

อภิญญา ญาณ วิชา

คำว่า อภิญญา นี้บางทีก็ใช้ว่า ญาณ หรือ วิชา แทนกันได้เพราะเป็นไวพจน์แก่กันและกัน เช่นกล่าวว่าญาณ ๓ หรือ วิชา ๓ ซึ่งเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ได้แก่

๑. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้

๒. ทิพพจักขุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ ตาทิพย์ และรู้จุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย

๓. อาสวักขยญาณ รู้วิชาที่ทำให้สิ้นกิเลสและอาสวะ

ถ้ากล่าวถึง อภิญญา ๖ ญาณ ๖ หรือ วิชา ๖ ก็ให้เพิ่มอีก ๓ คือ

๔. ปรจิตตวิชานน หรือ เจโตปริยญาณ รู้จิตใจผู้อื่น

๕. ทิพพโสตญาณ หูทิพย์

๖. อิทธิวิธญาณ สำแดงฤทธิได้

เฉพาะหมายเลข ๓ อาสวักขยญาณ เป็นอภิญญาที่ไม่ได้อาศัยรูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาทให้เกิด แต่เป็นอภิญญาที่อาศัยเกิดจาก อรหัตตมัคคจิต จึงเรียกว่า โลกุตตรอภิญญา ส่วนที่เหลืออีก ๕ เป็นอภิญญาที่ต้องอาศัยรูปาวจรปัญจมฌาน อันเป็นโลกียจิตเป็นบาทให้เกิด จึงเรียกว่า โลกียอภิญญา

อย่าว่าแต่จะได้ถึงซึ่งอภิญญาเลย แม้การเจริญสมถกัมมัฏฐาน จนกว่าจะได้ฌานนั้น ก็มิใช่ว่าจะกระทำได้โดยง่ายดายนัก ต้องมีใจรักอย่างที่เรียกว่า มีฉันทะมีความพอใจเป็นอย่างมาก มีความพากเพียรเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วยเอาใจจิตใจจ่ออย่างจริงจัง ทั้งต้องประกอบด้วยปัญญารู้ว่าฌานนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นบาทที่ก้าวขึ้นไปสู่ความหลุดพ้น แล้วจึงตั้งหน้าเจริญภาวนาตามวิธีการจนเกิดฌานจิต ฌานจิตที่เกิดจากการปฏิบัติเช่นที่ได้กล่าวแล้วทั้งหมดนี้ มีชื่อเรียกว่า ปฏิปทาสิทธิฌาน เป็นการได้ฌานด้วยการประพฤติปฏิบัติ ได้ฌานด้วยการเจริญสมถภาวนา

ยังมีบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เจริญสมถภาวนามาก่อน แต่ว่า เมื่อได้เจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียวมาตามลำดับ จนบรรลุอรหัตตมัคค อรหัตตผล ก็ถึงพร้อมซึ่งฌานด้วยก็มี อย่างนี้เรียกว่า มัคคสิทธิฌาน เป็นการได้ฌานด้วยอำนาจแห่งมัคค บางองค์ก็ได้ถึงอภิญญาด้วย เช่น พระจุฬปัณถกเถรเจ้า เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็มีอภิญญาด้วย คือมีอิทธิฤทธิถึงสำแดงปาฏิหาริย์เป็นพระภิกษุหลายรูปจนเต็มพระเชตวันวิหาร

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2009, 06:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดียามเช้าค่ะ คุณเฉลิมศักดิ์ :b8:

แหมม ... ตั้งหัวข้อกระทู้ซ๊า :b32:

คุณวลัยพร ช่วยอธิบายเพิ่มเติม ถึงการทำสมถะกรรมฐาน โดยอาศัยเตโชกสิน จนได้ฌาน 1 แล้ว พัฒนาเป็น ฌาน 4 อย่างไร ?

เมื่อได้ฌานแล้ว คุณวลัยพร มีวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาอย่างไร ?

พิจารณาสภาวะธรรม ให้เกิดปัญญาเห็นนามรูป เป็นไตรลักษณ์ ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ อย่างไร ?

แล้วได้วิปัสสนาญาณ ระดับไหนแล้ว ?

ถามอีกข้อแล้วกันครับ คุณวลัยพร มีโครงการจะ ปฏิบัติให้ได้ อภิญญาจิต ต่อด้วยไหมครับ ?

เฉพาะหมายเลข ๓ อาสวักขยญาณ เป็นอภิญญาที่ไม่ได้อาศัยรูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาทให้เกิด แต่เป็นอภิญญาที่อาศัยเกิดจาก อรหัตตมัคคจิต จึงเรียกว่า โลกุตตรอภิญญา ส่วนที่เหลืออีก ๕ เป็นอภิญญาที่ต้องอาศัยรูปาวจรปัญจมฌาน อันเป็นโลกียจิตเป็นบาทให้เกิด จึงเรียกว่า โลกียอภิญญา

อย่าว่าแต่จะได้ถึงซึ่งอภิญญาเลย แม้การเจริญสมถกัมมัฏฐาน จนกว่าจะได้ฌานนั้น ก็มิใช่ว่าจะกระทำได้โดยง่ายดายนัก ต้องมีใจรักอย่างที่เรียกว่า มีฉันทะมีความพอใจเป็นอย่างมาก มีความพากเพียรเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วยเอาใจจิตใจจ่ออย่างจริงจัง ทั้งต้องประกอบด้วยปัญญารู้ว่าฌานนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นบาทที่ก้าวขึ้นไปสู่ความหลุดพ้น แล้วจึงตั้งหน้าเจริญภาวนาตามวิธีการจนเกิดฌานจิต ฌานจิตที่เกิดจากการปฏิบัติเช่นที่ได้กล่าวแล้วทั้งหมดนี้ มีชื่อเรียกว่า ปฏิปทาสิทธิฌาน เป็นการได้ฌานด้วยการประพฤติปฏิบัติ ได้ฌานด้วยการเจริญสมถภาวนา

ยังมีบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เจริญสมถภาวนามาก่อน แต่ว่า เมื่อได้เจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียวมาตามลำดับ จนบรรลุอรหัตตมัคค อรหัตตผล ก็ถึงพร้อมซึ่งฌานด้วยก็มี อย่างนี้เรียกว่า มัคคสิทธิฌาน เป็นการได้ฌานด้วยอำนาจแห่งมัคค บางองค์ก็ได้ถึงอภิญญาด้วย เช่น พระจุฬปัณถกเถรเจ้า เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็มีอภิญญาด้วย คือมีอิทธิฤทธิถึงสำแดงปาฏิหาริย์เป็นพระภิกษุหลายรูปจนเต็มพระเชตวันวิหาร

อ่านสิ่งที่คุณพูดๆมาแล้วก็ขำน่ะค่ะ :b12:

ไม่ได้หวงที่จะเล่าเรื่องราวให้ฟัง แต่คุณฟังแล้ว คุณไม่ได้ทำ คุณจะได้อะไร ก็คุณบอกอยู่ว่า ตอนนี้คุณใช้รูป นาม เป็นอารมณ์ในการปฏิบัติ ส่วนคำถามที่คุณถามมาทั้งหมดน่ะ มีคำตอบ แต่จะถามว่า คำตอบนั้นคุณรู้ไปแล้ว คุณจะได้ประโยชน์ไหม แล้วนำไปใช้ประโยชน์ได้ไหม ถ้านำไปใช้ได้ ยินดีจะเล่าให้ฟัง

คุณน่ะยังไม่เข้าใจอะไรอีกเยอะมากๆๆๆๆๆๆ แม้แต่เรื่องพระจุฬปัณถก ที่ว่า เจริญวิปัสสนาอย่างเดียว คุณนี่ ... แหมม .. ไม่รู้จะพูดยังไงดี .. ทราบอยู่มิใช่หรือ ว่าพระจุฬปัณถก นั้นทำอย่างไร ชอบกล่าวตู่ หาว่าทำวิปัสสนาอย่างเดียว การที่เอาจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ย่อมเกิดสมาธิ ถูกต้องไหมคะ ส่วนจะเป็นสมาธิระดับไหนนั้น นั่นอีกเรื่องหนึ่ง ขึ้นชื่อว่าเกิดสมาธิ หรือผลของการทำสมาธิ เรียกว่า สมถะ ถูกต้องไหมคะ

อย่าไปคิดเอาเองว่า อย่าว่าแต่จะได้ถึงซึ่งอภิญญาเลย แม้การเจริญสมถกัมมัฏฐาน จนกว่าจะได้ฌานนั้น ก็มิใช่ว่าจะกระทำได้โดยง่ายดายนัก [color=#FF0000] คุณน่ะติดนิสัย ชอบคาดเดาเอาเอง แล้วก็คิดว่า จะต้องเป็นอย่างที่คุณคิด
ไม่ทราบว่า เคยได้ยินไหม กุศลแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน :b1:

มีวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาอย่างไร ?

กลับไปอ่านซ้ำในกระทู้เก่าที่เราสนทนากัน ว่า วิปัสสนานั้น คือ อะไร ขี้เกียจพูดซ้ำซากค่ะ ของง่ายๆ ไปทำให้ยาก แค่ภาษา ทำให้วุ่นวาย :b7:

รบกวนหน่อยค่ะ กรุณา กลับไปอ่านกระทู้ที่เราสนทนากันไว้ อ่านหลายๆรอบ เผื่อคุณอาจจะขาดการเก็บรายละเอียด อ่านแล้ว ตรงไหนไม่เข้าใจ ถามได้ค่ะ

ถามอีกข้อแล้วกันครับ คุณวลัยพร มีโครงการจะ ปฏิบัติให้ได้ อภิญญาจิต ต่อด้วยไหมครับ ?

คำถามนี้ เด็กๆมือใหม่หัดขับเขาคุยกันค่ะ ผู้เจริญแล้ว เขาไม่มาถามกันหรอกค่ะ ถามแบบนี้ ไม่มีประโยชน์ต่อตัวผู้ถามและผู้ปฏิบัติเลย แทนที่จะสนทนาเรื่อง สติปัฏฐาน 4 ว่า เมื่อเจริญให้มากๆ แล้วได้ผลอย่างไร สติปัฏฐาน 4 เป็นทั้ง สมถะและวิปัสสนา จริงหรือไม่ สนทนาแบบนี้ยังมีประโยชน์มากกว่าอีกค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง
นี้จัดเป็นยอดมหาโจร ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ
พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาว
แว่นแคว้น ด้วยอาการแห่งคนขโมย.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๘๖๐๕ - ๘๖๓๕. หน้าที่ ๓๓๒ - ๓๓๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


----------------------------------

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


[url]http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุตตริ[/url]


อุตตริมนุสสธรรม ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์, ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง,
ธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรคผล,
บางทีเรียกให้ง่ายว่า ธรรมวิเศษ บ้าง คุณวิเศษ หรือ คุณพิเศษ บ้าง
(พจนานุกรมเขียน อุตริมนุสธรรม)

--------------------------------------

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =256&Z=312

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ภารทวาชะ การกระทำของเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน
เธอจึงได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์
เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ ซึ่งเป็นดุจซากศพเล่า มาตุคามแสดงของลับ เพราะ
เหตุแห่งทรัพย์ซึ่งเป็นดุจซากศพแม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดงอิทธิ-
*ปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งบาตร
ไม้ซึ่งเป็นดุจซากศพ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่
พวกคฤหัสถ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ



-----------------------------------------------------------

เคยเห็นภิกษุหลาย ๆ ท่านที่อวดอ้างว่า ตนเอง ได้ฌาน ได้ฤทธิ์ สอนไปในแนวทางของตนเอง อ้างว่าไม่ยึดติดใน พระไตรปิฏก อรรถกถา ตำราต่าง ๆ


บางท่านก็อวดอ้างเพียงเพื่อ ลาถ สักการะ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสเปรียบเทียบ กับ มหาโจร และ มาตุคามที่เผยของลับ

ฉะนั้น ถ้าพบเห็นภิกษุ ที่อวด อตตริมนุสสธรรม ผมจึงต้องพิจารณาให้ดีก่อน

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถกถา

http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... i=273&p=2#อานาปานบรรพ

เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ

อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโยคาวจรไม่ละ ละแวกบ้านอันอื้ออึ้งด้วยเสียงหญิงชาย ช้างม้าเป็นต้น จะบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน อันเป็นยอดในกายานุปัสสนา เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณวิเศษ และธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งปวงนี้ให้สำเร็จ ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ เลย เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก
แต่พระโยคาวจรกำหนดกัมมัฏฐานนี้แล้วให้จตุตถฌาน มีอานาปานสติเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ทำฌานนั้นนั่นแลให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วบรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นผลอันยอดจะทำได้ง่าย ก็แต่ในป่าที่ไม่มีบ้าน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะอันเหมาะแก่ภิกษุโยคาวจรนั้น จึงตรัสว่า อรญฺญคโต วา ไปป่าก็ดี เป็นต้น
.
-------------------------------------------------

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

http://abhidhamonline.org/aphi/p9/038.htm

สัปปายะ

สัปปายะ แผลงมาเป็น สปายะ คือ สบาย นั่นเอง หมายถึงธรรมอันเป็นที่สบายที่เหมาะสมแก่การเจริญกัมมัฏฐาน อันเป็นส่วนหนึ่งซึ่งอุปการะให้มีความสงบระงับ ทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย สปายธรรมมีหลายประการ จำแนกเป็น ๔ บ้าง เป็น ๕ บ้าง ในที่นี้ขอกล่าวว่ามี ๗ ประการ คือ

๑. ที่อยู่อันเป็นที่สบาย ไม่ใกล้ทางสัญจรไปมา ไม่ใกล้บ่อน้ำ อันจะเกิดความรำคาญจากผู้คนไปมาจอแจพูดจากันจ้อกแจ้กไม่ขาดสาย แต่ควรเป็นสถานที่ที่วิเวก สงัดจากสิ่งที่รบกวนความสงบ และมีรั้วรอบขอบชิด ไม่ต้องห่วงเรื่องคนร้าย

๒. ทางเดินอันเป็นที่สบาย หมายถึงทางที่จะเดินจงกรม ก็สะดวกสบาย ไม่ถูกแดดมากนัก ทางไปบิณฑบาตทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ ก็ไม่ต้องเดินทวนตะวันให้แดดส่องหน้าแสงเข้าตา เพราะการถูกแดดมาก ก็จะทำให้เกิดทุกขเวทนา อันเป็นปฏิปักษ์กับสมาธิ

๓. การฟังการพูดอันเป็นที่สบาย หมายความว่า ควรฟังหรือควรพูดในเรื่องที่จะโน้มน้าวจิตใจให้เกิด สัทธา วิริยะ และความสงบระงับ อันจะเป็นคุณแก่การเจริญกัมมัฏฐาน ให้เว้นการฟังการพูดที่ไม่เป็นสปายะนั้นเสีย

๔. บุคคลเป็นผู้ที่สบาย หมายถึงบุคคลที่จะติดต่อคบหา ควรเป็นผู้ที่มั่นในสีลธรรมชักจูงแนะนำไปในทางที่ให้เกิดความมักน้อย ความเพียร ความสงบระงับ ยิ่งเป็นผู้ที่เคยเจริญกัมมัฏฐานมาแล้ว ก็ยิ่งจะเป็นคุณมาก ให้เว้นจากบุคคลที่ฟุ้งซ่านและมากไปในทางกามารมณ์ ในทางโลกียสุข


-------------------------------------


สมัยก่อน ผมว่า ภิกษุที่ท่านได้ฌาน นั้น ก็ด้วยท่านมีสัปปายะหลายนอย่าง ๆ หนึ่งในนั้น คือ สถานที่ ๆ ไกลจากผู้คน อยู่ตามป่าเขา

แต่การที่ จะมีบางท่าน อ้างตนเองว่า ทำสมาธิจนได้ฌาน ทั้งที่อาศัยอยู่ในที่มี ข้าศึกของฌาน คือ เสียง เช่น ในตัวเมือง ในบ้านเรือน เป็นต้น

ท่านเหล่านั้น อาจจะได้สมาธิในขั้นต้น ๆ เกิดความสงบบ้างเท่านั้นเอง แต่เข้าใจผิดคิดว่าตนเองได้ ฌานแล้ว ก็ได้ครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 06:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


จากผู้คน อยู่ตามป่าเขา

แต่การที่ จะมีบางท่าน อ้างตนเองว่า ทำสมาธิจนได้ฌาน ทั้งที่อาศัยอยู่ในที่มี ข้าศึกของฌาน คือ เสียง เช่น ในตัวเมือง ในบ้านเรือน เป็นต้น

ท่านเหล่านั้น อาจจะได้สมาธิในขั้นต้น ๆ เกิดความสงบบ้างเท่านั้นเอง แต่เข้าใจผิดคิดว่าตนเองได้ ฌานแล้ว ก็ได้ครับ


ทำไมต้องอ้าง ... :b1:

คนขี้โม้ ชอบคาดเดามั่วซั่วไปเรื่อย ทำให้ได้สิ จะได้รู้ว่ามันทำได้ :b12:

รู้จักไหม ว่ากุศลเก่า แต่ละคนสร้างมาไม่เท่ากัน ตัวคุณเองน่ะทำมาน้อย สะสมมาน้อย คุณก็เลยทำได้แค่นี้ เพียงแค่คุณมีความเพียรอย่างต่อเนื่อง ... เอาเป็นว่า อย่าเที่ยวคาดเดามั่วซั่ว เที่ยวละเมิดไม่รู้จบ รู้ไหม คุณเป็นแบบนี้เพราะอะไร เพราะวิบากกรรมของคุณไง นี่ยังเที่ยวสร้างกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นอีก แทนที่จะปฏิบัติให้มากๆ เอาให้ได้ของจริง จะได้รู้ว่ามันมีจริง ไม่ใช่มานั่งฝอยว่าคนอื่นเขาให้น้ำลายกระเด็น


ทำสมาธิจนได้ฌาน ทั้งที่อาศัยอยู่ในที่มี ข้าศึกของฌาน คือ เสียง

นี่แหละพวกชอบอวดรู้ตัวจริง เดามั่วซั่วไปเรื่อย :b12:

ดีแต่นั่งแงะตำรา แทนที่จะทำให้เห็นจริง จะได้ไม่มานั่งเทียนเขียน มั่วๆไปวันๆ :b6:

ปริยัติน่ะ ใช้ให้ถูกทาง ปฏิบัติให้ผ่าน มาอ่านปริยัติแล้วจะเข้าใจง่าย ใช้ผิดทางก็เลยงมโข่งอยู่อย่างนี้แหละ :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2009, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอถามเฉลิมศักดิ์อีกครั้งว่าบรรลุธรรมขั้นไหน

เห็นเอาอวดอุตริมนุธรรมมาแปะแล้วตามด้วยลิงค์ตามเคย

เหมือนละครน้ำเน่าหลังข่าว

ผู้ที่ปริยัติแล้วลองปฏิบัติย่อมไม่ประพฤติเช่นนี้

ยกเว้นผู้ที่ปริยัติมาแล้วปฏิบัติไม่ได้ไปไม่ถึงจึงพยายามทุ่มเถียงด้วยจินตนาการ

อิจฉาคนที่เขาปฏิบัติได้ปฏิบัติชอบไปวันๆ

ขอถามเฉลิมศักดิ์ว่าผู้ที่ได้อนาคตังเป็นอย่างใด

คือรู้ถึงอนาคตด้วยลักษณะอย่างไร

เอาสภาวะมาพูดกัน

อย่าอ้างสมมุติบัญญัติของอรรถกถาจารย์

ผมไม่ได้ต่อต้านอรรถกถาหรอก

แต่ก็ไม่งมงาย

และไม่เหยียดหยามดูถูกใครด้วยใจริษยาที่เขาเก่งกว่าตน

แปะมาเถอะอรรถกถาจารย์ตามด้วยอภิธรรมอาจารย์แนบอาจารย์บุญมีมีเฉลิมศักดิ์ศรัทธาจนงมงาย

ตามด้วยก่นด่าท่านพุทธทาสเหมือนจะตีวัวกระทบคราด

เฉลิมศักดิ์จำได้ไหมที่ผมเอาคำสอนของอาจารย์บุญมีมาลงแล้วไม่ลงชื่อจนเฉลิมศักดิ์อุปทานว่าเป็นของท่านพุทธทาสจึงโจมตีจนผมเปิดเผยความจริงเฉลิมศักดิ์ได้แต่แก้เกียว

หรือที่โกหกคำโตในลานธรรมจักร์นี้

จึงอยากถามเฉลิมศักดิ์ว่าจะปฏิบัติธรรมหรือต้องการอะไรกันแน่

แต่ถ้าบอกว่าไม่อยากให้สหายธรรมเดินทางผิด

ก็ขอร้องให้เอาตัวเองให้รอดก่อน

เอาตัวให้พ้นจากโคลนตมก่อนได้ไหม

ต่อจากนี้คงได้อ่านโพสต์น้ำเน่าเหมือนละครหลังข่าวผสมลิ้งค์

ที่ตลกร้ายคือ

เคยตามลิ้งค์เข้าไป เกิดอะไรขึ้นก็ไม่รู้ ขำกลิ้งไปเลย

คือลิ้งค์ไปจนหาทางออกไม่เจอ เจอแต่ลิ้งค์

คือลิ้งค์ไปเจอลิ้งค์

เอาคนข้างๆอนุโมทนาให้เฉลิมศักดิ์ด้วย

เฮ!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริยัติ

ปฏิบัติ

ปฏิเวธ

หากปฏิยัติมาผิดๆเช่นเรียนตามอรรถกถาจารย์ตามทีตนศรัทธามาผิดการปฏิบัติก็เข้าป่าเข้าดง

หาทางออกไมเจอ

อย่ามาสอนว่าต้องปริยัติจึงปฏิบัติได้ถูกต้องไม่จริง

การเบือหน่ายสังขารไม่ต้องปริยัติ

และคนที่ปริยัติมาผิดๆจะนำไปตัดสินปฏิเวธของปฏิปทาสงฆ์ไม่ได้

เหมือนคนขี้โม้บางคน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับทุกท่าน :b8: :b1:
เพิ่งสังเกตเห็น คุณเฉลิมศักดิ์มาตอนไหนครับน่ะ
มาให้กำลังใจตามสบายนะครับ เที่ยวนี้กรัชกายเป็นฝ่ายดูม้าง :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะคุณเฉลิมศักดิ์ :b8:

เราทุกคนล้วนมีกุศลติดตัวกันมา ไม่มากก็น้อย แล้วแต่เหตุที่ได้เคยกระทำมา แม้แต่สิ่งที่เรากำลังนำมาซึ่งข้อโต้แย้งตรงนี้ ล้วนเป็นเหตุที่เคยสร้างขึ้นมาก่อน ผลจึงเป็นเช่นนี้ และนี่กำลังสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้นอีกแล้ว ซึ่งเหตุนี้ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม ได้ส่งผลไปที่อนาคตแล้ว กิเลส .. ยากที่เราจะรู้เท่าทันมันได้ โดยเฉพาะมานะกิเลส ...

ขอขอบคุณคุณเฉลิมศักดิ์มากๆ :b8:

เพราะทำให้ดิฉันได้หลุดจากสภาวะบางอย่างที่เคยติดอยู่มานานมาก ติดคุย ทั้งๆที่เป็นเรื่องจริง แต่เรื่องปฏิบัติต่อให้เป็นเรื่องจริงอย่างไรก็ไม่ควรนำมาพูดกับคนที่เขายังไม่เคยผ่านสภาวะตรงนั้นมา แทนที่จะสร้างกุศลต่อการสนทนากัน กลับกลายเป็นว่า สร้างเหตุที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเสียแล้ว แม้ถ้าคิดจะพูด ก็ไม่ควรนำมาพูดกับคนหมู่มาก ควรคุยกับคนที่เขาสนใจจริงๆ มันไม่ใช่เรื่องที่จะนำมาพูดพร่ำเพรื่อ

เราทุกคนล้วนมีธรรมะ ไม่ว่าจะแค่ได้ศึกษา หรือ ได้ปฏิบัติ แต่ขาดการศึกษา ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุมาก่อน จึงมีผลเป็นเช่นนี้ หากแม้นยังไม่สำเร็จกิจ สิ่งเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นอีกซ้ำๆ ทุกภพทุกชาติ ตามเหตุปัจจัยที่ได้ร่วมกระทำกันมา ดิฉันขอถอนตัวค่ะ ขอถอนตัวจากการสร้างกรรมใหม่ให้เกิดขึ้น เพราะมองดูแล้ว มันมีแต่อกุศล ซึ่งก็ส่งผลไปถึงการปฏิบัติของแต่ละคนด้วย ใครทำอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น เพราะสติ สัมปชัญญะยังด้อย จึงได้สร้างอกุศลกรรมเกิดขึ้นไปโดยไม่ได้เจตนา

สิ่งต่างๆที่ผ่านมา ที่เราได้สนทนากัน อาจจะมีการล่วงเกินกันไปบ้าง โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ขออโหสิกรรมค่ะ :b8:

ขอให้คุณเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปค่ะ สาธุค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณกรัชกาย

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ดิฉันขอถอนตัวค่ะ ขอถอนตัวจากการสร้างกรรมใหม่ให้เกิดขึ้น เพราะมองดูแล้ว มันมีแต่อกุศล ซึ่งก็ส่งผลไปถึงการปฏิบัติของแต่ละคนด้วย ใครทำอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น เพราะสติ สัมปชัญญะยังด้อย จึงได้สร้างอกุศลกรรมเกิดขึ้นไปโดยไม่ได้เจตนา


ผมออกจะเห็นด้วยกับคุณวลัยพรครับ

และคิดว่ามีหลายท่านที่คิดตรงกันจึงไม่อยากจะแปดเปื้อนด้วยสังเกตุจากที่ไม่ค่อยมีใครอยากเข้ามาโต้ตอบ

การที่ไม่มีใครเข้ามาโต้ตอบมีสองกรณีคือ เก่งจนหาคนค้านไม่ได้ กับไม่อยากเปลื้องตัว

คือไม่อยากหากรรมใส่ตัว

เพราะเหมือนกับกำลังพูดกับคนไม่มีจุดหมาย ไม่รู้จุดประสงค์

และถึงแสดงเหตุผลเขาก็ไม่อ่าน เหมือนคนไม่รับรู้ เอาแต่ตัดแปะตามความถนัดตน

ทำอย่างกับคนอื่นโง่เสียทั้งหมด ไม่รู้ธรรม ต้องเฉลิมศักดิ์เท่านั้น ใครไม่ตามเฉลิมศักดิ์ผิดหมด

เป็นที่เอื่อมระอา

การเรียนธรรมะคือการแสวงหาทางออกให้ก้บความเบื่อหน่ายในสังขาร

ไม่ใช่เรียนเพื่อให้เกิดความมมังการ์ อหังการ์

แต่ต้องการเรียนเพื่อหาวิธีปฏิบัติ

เพื่อให้พ้นทุกข์

ผู้ที่เรียนรู้อย่างเดียวแล้วนำไปปฏิบัติตามที่เรียนไม่ค่อยได้ผลหรอกครับ

ต้องปฏิบัติเพราะอยากพ้นทุกข์จริงๆ

เหมือนเขียดที่อยากหลุดจากปากงูนั่นแหละ

และไม่ใช่เรียนธรรมะเพื่อละเมิดคนอื่นๆไปทั่ว

บาปกรรมเปล่าๆ

อย่างนั้นสู้อย่าเรียนธรรมจะป็นกุศลกว่าเยอะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมถือว่าท่านกรัชกายเป็นเสมือนหนึ่งอาจารย์

ผมได้ความรู้ทางธรรมจากท่านมาก

หนึ่งในความรู้นั้นคือสภาวะ

สภาวะนั้นอธิบายยาก

รู้แล้วก็เล่าไม่ถูก

สภาวะธรรมนั้นต้องอาศัยการปฏิบัติล้วนๆจึงเกิดขึ้น

เกิดขึ้นแล้วก็ลิงโลดใจสักพักก่อนที่จะกลายเป็นเรื่อง

เป็นเช่นนั้นเอง

หรือ ก็แค่นั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2009, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จงปฏิบัติให้เกิดปฏิเวธ

ดีกว่าถุ่มเถียงกันที่สมมุติบัญญัติ

อย่างไม่รู้จุดจบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2009, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สวัสดีค่ะคุณเฉลิมศักดิ์

เราทุกคนล้วนมีกุศลติดตัวกันมา ไม่มากก็น้อย แล้วแต่เหตุที่ได้เคยกระทำมา แม้แต่สิ่งที่เรากำลังนำมาซึ่งข้อโต้แย้งตรงนี้ ล้วนเป็นเหตุที่เคยสร้างขึ้นมาก่อน ผลจึงเป็นเช่นนี้ และนี่กำลังสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้นอีกแล้ว ซึ่งเหตุนี้ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม ได้ส่งผลไปที่อนาคตแล้ว กิเลส .. ยากที่เราจะรู้เท่าทันมันได้ โดยเฉพาะมานะกิเลส ...

ขอขอบคุณคุณเฉลิมศักดิ์มากๆ

เพราะทำให้ดิฉันได้หลุดจากสภาวะบางอย่างที่เคยติดอยู่มานานมาก ติดคุย ทั้งๆที่เป็นเรื่องจริง แต่เรื่องปฏิบัติต่อให้เป็นเรื่องจริงอย่างไรก็ไม่ควรนำมาพูดกับคนที่เขายังไม่เคยผ่านสภาวะตรงนั้นมา แทนที่จะสร้างกุศลต่อการสนทนากัน กลับกลายเป็นว่า สร้างเหตุที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นเสียแล้ว แม้ถ้าคิดจะพูด ก็ไม่ควรนำมาพูดกับคนหมู่มาก ควรคุยกับคนที่เขาสนใจจริงๆ มันไม่ใช่เรื่องที่จะนำมาพูดพร่ำเพรื่อ


ใช่ครับ คุณวลัยพร สัตว์โลกทั้งหลายต่างมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ดั่งพระพุทธพจน์ใน

http://www.geocities.com/toursong1/kam/kam.htm


------------------------------------------------------

คุณวลัยพร เคยกล่าวถึง บุพกรรมของพระจูฬปันถกเถระ


ซึ่งในอดีตชาติ ท่านได้เคยทำอกุศลบางอย่าง ทำให้ภิกษุบางท่านเลิกเล่าเรียนปริยัติ วิบากกรรมนั้นส่งผลถึงชาติสุดท้ายของท่าน ทำให้ปัญญาทึบ ไม่ก้าวหน้าทั้งทางด้านปริยัติ และ ปฏิบัติ จนพระพี่ชายไล่ให้สึก

คุณวลัยพรจึงควรระมัดระวังให้มาก ในการกล่าวอ้างผลการปฏิบัติ เทียบกับปริยัติ ของตน ( ซึ่งอาจจะถ่ายทอดมาจาก พระอริยสงฆ์ ที่ถูกต้องตามธรรมพระสัทธรรม ก็ได้)

หรือการกล่าวอ้างคุณวิเศษในตน ซึ่งเป็นผลเสียมากกว่า พระพุทธองค์จึงทรงห้ามภิกษุทั้งหลาย อวดอุตตริมนุสสธรรม

------------------------------------------------------------------

บุคคลที่เกิดในสมัยพุทธกาลนั้น(พระสงฆ์ อรรถกถา ที่อธิบายพระพุทธพจน์) มีบารมีมาก ( อำนาจเหนือกิเลสมาก ) เป็นคนเกิดด้วยไตรเหตุ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ เหตุ) มีปัญญาที่พร้อมจะมีดวงตาเห็นธรรม ดังเช่น พระภัททากุณฑลเกสาเถรี ได้ฟังพระคาถายังไม่ถึง ๔ บาทเลย ก็บรรลุธรรมแล้ว

http://84000.org/one/2/09.html
พระภัททากุณฑลเกสาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน
ลูกปุโรหิตเกิดฤกษ์โจร / ดอกฟ้าในมือโจร / สันดานโจรไม่เจือจาง /
ปัญญามิได้มีไว้เพื่อต้มแกงกิน / โจรชั่วสิ้นชีพ / ถอนผมบวชเป็นเดียรถีย์ /
โต้วาทีกับพระสารีบุตร / ขอบวชในพุทธศาสนา
---------------------------------------------------

กุณฑลเกสวรรคที่ ๓
กุณฑลเกสีเถริยาปทานที่ ๑
ว่าด้วยบุพจริยาของพระกุณฑลเกสีเถรี
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 313&Z=5400

----------------------------------------------------
คุณสมบัติผู้ที่จะบรรลุธรรมได้

http://larndham.net/index.php?showtopic=26829&st=12

นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล อบรมจิตและ
ปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีปัญญารักษาตนรอด
ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้ ราคะก็ดี โทสะก็ดี อวิชชาก็ดี
บุคคลทั้งหลายใด กำจัดเสียแล้ว บุคคลทั้งหลายนั้น เป็น
ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตัณหาเป็นเครื่องยุ่ง
อันบุคคลทั้งหลายนั้นสางเสียแล้ว นามก็ดี รูปก็ดี ปฏิฆสัญญา
และรูปสัญญาก็ดี ย่อมดับหมดในที่ใด ตัณหาเป็นเครื่องยุ่ง
นั้น ย่อมขาดไปในที่นั้น ฯ
----------------------------------------------------------

35-พระจูฬปันถกเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ

http://www.84000.org/one/1/35.html

ปัญญาทึบพี่ชายไล่สึก

-----------------------------------------------
http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=10729


บุพกรรมที่ทำให้พระจูฬปันถกท่องจำไม่ได้นั้นก็เพราะว่า ในศาสนาของพระกัสปปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระจูฬบันถกเป็นผู้มีปัญญาดีได้บวชเป็นภิกษุในศาสนานั้น มีภิกษุอีกรูปหนึ่งเป็นคนเขลาได้พยายามท่องปริยัติธรรมอยู่ พระจูฬปันถกเห็นเข้าก็หัวเราะเยาะในความไม่แตกฉาน ทำให้ภิกษุนั้นเกิดความละอายจึงเลิกเรียนไป เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น จึงทำให้พระจูฬปันถกเป็นผู้เขลาในกาลบัดนี้

(ตรงนี้ท่านอาจารย์ได้เน้นให้เกิดความกลัวบาปอีกครั้งหนึ่งว่า จะเห็นว่าท่านจูฬบันถกในสมัยนั้นเพียงแต่หัวเราะเยาะผู้อื่นเท่านั้น ยังทำให้ได้รับผลถึงขนาดนี้ ถ้าคนที่ได้อ่านพระสูตรแล้ว ก็จะเห็นว่า บาปแม้แต่น้อยนิดก็ยังให้ผลได้ และชีวิตก็อยู่ยากจริงๆ เพราะทำอะไรผิดพลาดได้ง่าย)

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 59 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร