วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2009, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญาที่เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ คือ ถิรสัญญา จิตจำสภาวะธรรมได้ไม่ได้จำชื่อ รู้ความ

ความหมายแล้วเข้าใจด้วยการคิด สภาวะธรรมใดที่เกิดขึ้นบ่อยจิตจะจำได้ไว เช่น

โกรธ มีลักษณะ หรือสภาวะ อย่างหนึ่ง โลภะมีสภาวะ อีกอย่างหนึ่ง คือติดข้อง

เมื่อโลภะ หรือ โทสะเกิดขึ้น ถ้าจิตจำสภาวะได้ก็จะเป็นเหตุให้สติระลึก ถ้าเป็น

สติปัฏฐานแล้ว จิตที่มีโทสะ หรือโลภะ ก็จะดับลงทันที เพราะจิตเกิดดับทีละขณะ และ

จิตที่เป็นกุศลจะไม่เกิดร่วมกับจิตที่เป็นอกุศล บางคนอาจจะถามว่าบางทีขณะที่โกรธก็

รู้ตัวว่าโกรธ แต่ความโกรธไม่หาย นั่นแสดงว่ายังไม่ใช่สติปํฏฐาน หรือ ยังไม่มี

สัมปชัญญะความตั้งมั่นชั่วขณะ หรือถ้ากำลังคิดอะไรเพลินๆ สติระลึกขึ้นมา โดยไม่

ได้ตั้งใจความคิดก็จะดับลงอีก เมื่อจิตจำสภาวะธรรมได้บ่อยๆ เช่น ดีใจ เสียใจ

ตื่นเต้น สติก็จะเกิดบ่อยๆ ทุกครั้งที่สติเกิดจะรู้สึกว่า จิตที่ความโทสะ หรือโลภะก่อน

หน้านั้น ไม่ใช่เรา รู้สึกจริงนะครับ ไม่ใช่คิดเอา จนกระทั่งสติเกิดบ่อยๆ ปัญญาเจริญขึ้น

เป็นลำดับ จนท้ายสุดก็จะเห็นว่าแม้กระทั่ง จิตที่มีสติก็ไม่ใช่เรา.....

เมื่อสติปัฏฐานเกิดแล้วก็ใช่ว่าจะมั่นคงนะครับ

ถ้ายังละความเห็นผิดว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เราได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2009, 04:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 04:12
โพสต์: 1067


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: สาธุ...คุณรสมน กล่าวไว้ดีแล้วค่ะ
สัญญาเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ
:b41: :b41: :b41:

.....................................................
...นฺตถิตัณหา สมานที...
ห้วงน้ำใหญ่โต เสมอด้วยตัณหาไม่มี


แก้ไขล่าสุดโดย คนไร้สาระ เมื่อ 10 มี.ค. 2009, 03:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2009, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ธ.ค. 2008, 13:10
โพสต์: 43


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออนุโมทนา สาธุครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2009, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


“สัญญา” ไม่ใช่ทำให้เกิด “สติ”

“สัญญา” ความจำได้ หมายรู้ เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน (ปริยัติ) “สัญญา” เป็นหนึ่งในสามของเหตุให้เกิดปัญญา คือ “สุตะมยปัญญา” เช่น E=MC sqare , I = E/R จำได้เพราะเคยเรียนมา นี่เรียกว่า “สัญญา” ความจำได้ แต่บางครั้งก็คิดนานหน่อย เพราะลืมไปบ้างต้องมาทบทวน ท่านเรียก “สัญญา” ความจำนี้ว่า ไม่เป็นไปตามต้องการ จะให้จำก็ไม่จำ จะให้ลืมก็ไม่ลืม

“สติ” ความระลึกรู้ สิ่งที่ทำ คำที่พูดแม้นานก็รู้ได้ “สติ” เกิดจากการฝึก ที่เรียกว่า การฝึกสมาธิ เช่น หลายปีที่ผ่านมา เคยยิงนก ตกปลา ดื่มเหล้า เคยพูดกับคนนั้นว่าอย่างนั้น เคยทำชั่ว เคยทำดีไว้ เมื่อนั้นเมื่อนี้ ก็ระลึกได้ จะระลึกได้พร้อม ทั้งเหตุทั้งผล ทั้งปวง

“สติ” คู่กับ “สัมปชัญญะ” ความรู้ตัว เช่น ยืนเดินนั่งนอน ไกวแขน ซ้าย ขวา พูดอยู่ อย่างนี้เรียก สัมปชัญญะ

แต่“สัญญา” ต้องประกอบด้วย “สติ” จึงจะทำให้เกิดปัญญา

=======

สัญญาความจำต้องประกอบด้วยสติ

สัญญา คือ ความจำ เป็นอนัตตา คือไม่เป็นไปตามความปรารถนาต้องการ

ปรารถนาให้จำไว้ก็ไม่จำ
ปรารถนาให้ลืมก็ไม่ลืม

ปรารถนาไม่ให้จำก็จำ
ปรารถนาไม่ให้ลืมก็ลืม


และความจำที่เป็นสัญญา ก็เป็นความจำที่ตรงไปตรงมาทั้งชิ้นทั้งเรื่อง ดังนั้นสัญญาจึงต้องประกอบพร้อมด้วยสติ เพราะสติเป็นความระลึกได้ที่ประกอบด้วยเหตุและผล สติไม่ได้เป็นความจำแบบสัญญา

“สัญญา” กับ “สติ” ต่างกันอย่างยิ่ง

ความจำคือสัญญานั้น แม้จะตั้งใจรักษาไว้ก็อาจรักษาไว้ไม่ได้ต้องลืม แต่สติความระลึกได้นั้น เมื่อสติตั้งไว้ รู้เรื่องพร้อมกับรู้เหตุรู้ผล เมื่อมีสติระลึกได้ ก็จะระลึกได้พร้อมทั้งเหตุทั้งผลทั้งปวง

สัญญาความจำกับสติความระลึกได้ มีความแตกต่างกันที่สำคัญอย่างยิ่ง ในเรื่องเดียวกัน สัญญาอาจเป็นคุณ แต่ก็อาจเป็นโทษ ส่วนสติเป็นแต่คุณไม่เป็นโทษ ความพยายามมีสติระลึกรู้ จึงเป็นความถูกต้อง และเป็นไปได้อย่างยิ่งกว่าพยายามจดจำด้วยสัญญา

ความจำอันเป็นสัญญานั้นมีผิด เพราะมีลืมและมีโทษเพราะไม่ประกอบพร้อมด้วยเหตุผลความรู้ถูกรู้ผิด โทษของสัญญาคือความไม่สงบแห่งจิต แตกต่างกับความไม่ลืมมีสติระลึกได้ ซึ่งประกอบด้วยพร้อมด้วยเหตุผล ความรู้ถูกรู้ผิดอันเป็นปัญญา

และปัญญานั้นไม่มีโทษ มีแต่คุณ มีแต่นำไปสู่ความสงบแห่งทุกข์ความสงบแห่งจิต และจิตยิ่งสงบเพียงใด ยิ่งตั้งมั่นเพียงใด ปัญญายิ่งสว่างรุ่งโรจน์มีพลังเพียงนั้น

: ตนอันเป็นที่รักยิ่งของตน
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2009, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อจิตหรือวิญญาณ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้นมาใหม่
จิตหรือวิญญาณดวงเดิมย่อมรำงับดับไป

จิตหรือวิญญาณ ทำหน้าที่รู้...
สติ ทำหน้าที่ระลึกรู้...

ความโกรธคืออะไร
คือธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นมาจากผัสสะ
คือการกระทบกันของอายตะนะภายในและภายนอก...

ถ้ายังไม่มีผัสสะ ความโกรธคงเกิดมีขึ้นมาไม่ได้...

ความโกรธเกิดมีขึ้นมาจากเหตุใด
เมื่อเหตุที่ทำให้เกิดความโกรธดับไป
ความโกรธก็ย่อมดับรำงับไปเป็นธรรมดา

แต่ถ้าเหตุที่ทำให้เกิดความโกรธยังไม่ดับ
ความโกรธก็ย่อมที่จะยังไม่รำงับดับไปเป็นธรรมดา...

วิญญาณทำให้เกิดนามรูป
นามรูปทำให้เกิดอายะตะนะ
อายะตนะทำให้เกิดผัสสะ
ผัสสะทำให้เกิดเวทนา

เมื่อวิญญาณ นามรูป อายะตนะ ผัสสะ ใด
ที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เกิดความโกรธ ยังไม่ดับ
ความโกรธอันมีเหตุปัจจัยมาจากวิญญาณ นามรูป อายะตะนะ ผัสสะ นั้น
ก็ย่อมที่จะไม่มีฐานะดับรำงับหายไปได้.

เพราะความดับไป เพราะความรำงับไป
ของวิญญาณ นามรูป อายะตนะ ผัสสะ
อันเป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิดความโกรธนั้นเทียว
ความโกรธอันมีสาเหตุมาจากวิญญาณ นามรูป อายะตนะ ผัสสะ นั้น
ย่อมมีฐานะที่จะรำงับดับหายลงไปได้...

ด้วยความระลึกรู้ว่า วิญญาณ นามรูป อายะตนะ ผัสสะ ทั้งหลายนั้น
เป็นของไม่เที่ยง เป็นของไม่ยั่งยืน
เป็นทุกข์
ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ตัวตนของเราแต่อย่างใด
ความสำคัญมั่นหมายใน วิญญาณ นามรูป อายะตะนะ ผัสสะ ใดๆก็ตาม
จึงไม่ปรากฏเกิดขึ้นกับผู้ที่มีสติระลึกรู้ทั่วถึงแล้ว รู้แจ้งชัดแล้ว
แห่งวิญญาณ นามรูป อายะตะนะ ผัสสะใดๆทั้งหลาย ตามความเป็นจริง

การรู้ด้วยสัญญาหรือความจดจำใดๆ
ในวิญญาณ นามรูป อายะตะนะ ผัสสะใดๆทั้งหลาย
มิอาจที่รำงับความสำคัญมั่นหมายในวิญญาณ นามรูป อายะตนะ ผัสสะใดๆทั้งหลาย
โดยความเห็นว่าเที่ยง เป็นตัวเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา...


รู้ซ้อนรู้...จะเป็นได้ก็แค่เพียง
วิญญาณรู้วิญญาณ วิญญาณซ้อนวิญญาณ เท่านั้น
คือวิญญาณใหม่เกิดขึ้น มาแทนที่วิญญาณตัวเก่าที่ดับไปเท่านั้นเอง...ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2009, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาต ท่าน จขกท.น่ะครับ

ขอทราบเป็นวิทยาทานน่ะครับ :b8:


คำว่า ถิรสัญญา สะกดถูก หรือไม่ครับ
หรือ อาจจะใช้คำอื่นที่มีความหมายแบบเดียวกันแทนในพระไตรปิฎกฉบับแปลไทย หรือเปล่าครับ ....

เพราะ ผมลองเข้าไปค้นในพระไตรปิฎกออน์ไลน์ จาก

http://larndham.net/buddhism/tsearch.htm

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/

ไม่พบคำว่า "ถิรสัญญา"นี้ครับ

อ้างคำพูด:
ผลการค้นหา : ไม่พบคำว่า “ ถิรสัญญา ” โปรดตรวจสอบการสะกด.





ถ้าพอทราบ ก็จะเป็นพระคุณยิ่ง :b8:

ปราถนาจะศึกษาลงในพระสูตร เพื่อลงดูในรายละเอียดของคำๆนี้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2009, 02:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 11:44
โพสต์: 9


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา สาธุ ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2009, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตน่ะครับ

เรียนเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

มีท่านผู้ใดที่พอจะทราบว่า จะหาศึกษาเรื่อง ถิรสัญญา ได้จากที่ใด
โปรดบอกเป็นวิทยาทานในกระทู้นี้ด้วยน่ะครับ

ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2009, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัยว่าจะเป็นคำของอาจารย์รุ่นหลัง
คล้ายๆคำว่า "อัปปนาสมาธิ" น่ะครับ

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2009, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มีท่านผู้ใดที่พอจะทราบว่า จะหาศึกษาเรื่อง ถิรสัญญา ได้จากที่ใด
โปรดบอกเป็นวิทยาทานในกระทู้นี้ด้วยน่ะครับ


คุณตรงประเด็นเคยเข้าบอร์ดลานธรรมเสวนาอยู่บ่อยๆ ไม่เคยสังเกตหรือครับ ที่ห้องสติปัฏฐานสี่ เขาพูด
ถึง "ถิรสัญญา" บ่อยๆ
อาจารย์รุ่นปัจจุบันนี่แหละพูด โยงกันมากันเป็นสายๆ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2009, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณคามินธรรม และ คุณกรัชกายครับ



เห็นด้วยกับคุณคามินธรรมน่ะครับ
ว่า เรื่อง คำว่า"ถิรสัญญา" น่าจะเป็นภาษาที่ปรากฏในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล เล่มใดเล่มหนึ่ง

ถ้าจะเทียบกับภาษาดั้งเดิมที่ใช้ในพระสูตร น่าจะเป็นในระดับ "โยนิโสมนสิการ(ในลักษณะรู้เท่าทันสภาวะ)" หรือ "สติสัมปชัญญะที่เป็นผลจากโยนิโสมนสิการ(ในลักษณะรู้เท่าทันสภาวะ )"นั้นๆ

เสนอ จาก พระสูตรที่แสดงถึงอาหารแห่งวิชชาและวิมุติ

ลำดับอาหารของวิชชา และวิมุตติ คือ

การเสวนาสัตบุรุษ ->การสดับเล่าเรียนสัทธรรม->ศรัทธา ->โยนิโสมนสิการ -> สติสัมปชัญญะ -> อินทรียสังวร -> สุจริต3 -> สติปัฎฐาน4 -> โพชฌงค์7 -> วิชชาและวิมุตติ

โยนิโสมยสิการนี้ เป็นคำที่กว้าง มีความหมายครอบคลุมกว้าง เช่น
โยนิโสมนสิการที่เพียรละอกุศล(โอวาทปาติโมกข์ข้อ1)
โยนิโสมนสิการที่เพียรเจริญกุศล(โอวาทปาติโมกข์ข้อ2)
โยนิโสมนสิการที่รู้เท่าทันสภาวะ(โอวาทปาติโมกข์ข้อ3)

ส่วน สติสัมปชัญญะ ในความหมายที่อาจจะเทียบกับคำว่า"ถิรสัญญา"นั้น ก็เป็นสติสัมปชัญญะที่สืบเนื่องมาจาก โยนิโสมนสิการที่รู้เท่าทันสภาวะ


เป็นความเห็นส่วนตัวน่ะครับ

ถูก-ผิด ประการใด โปรดอภัยล่วงหน้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2009, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

การเสวนาสัตบุรุษ ->การสดับเล่าเรียนสัทธรรม->ศรัทธา ->โยนิโสมนสิการ -> สติสัมปชัญญะ -> อินทรียสังวร -> สุจริต3 -> สติปัฎฐาน4 -> โพชฌงค์7 -> วิชชาและวิมุตติ


ได้อ่านแล้วรู้สึกตาสว่างขึ้นมาฉับพลันเลยครับ
ขอบพระคุณสำหรับของดีนะครับ :b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2009, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


“สติสัมปชัญญะ” เป็นสองคำ แยกได้

“สติ” ระลึกรู้ ระลึกถึง นึกขึ้นได้ ฉุกคิดขึ้นมาได้ แม้นานก็ระลึกได้ เช่น ปีที่แล้วไปเที่ยวมา ปีนั้นไปทำบุญวัดนั้น เมื่อวานนี้ คุยกับคุณ A อย่างนั้นอย่างนี้ ก็ระลึกได้ อย่างนี้คือ สติ

“สัมปชัญญะ” รู้ตัว คือ พูดอยู่ ยืนเดินนั่งนอน ไกวแขน ยกเท้า ซ้ายขวาก็รู้ อย่างนี้ เรียกว่า รู้ตัว สัมปชัญญะ

เมื่อเอยถึง “สติ” มักหมายรวม “สัมปชัญญะ” เข้าไปด้วย ก็แปลว่า ทั้งรู้ตัวทั้งระลึกได้ ในสิ่งที่เคยทำ คำที่เคยพูด บางครั้ง เปรียบ “สติ” เหมือน “ยาม” เฝ้าบ้าน(คือใจ) ถืออาวุธ ขู่ โจรผู้ร้ายไม่ให้เข้าใกล้ได้ ซึ่งก็ได้แต่ขู่ ไม่สามารถฆ่า โจรผู้ร้ายได้ แต่เผลอเมื่อไร โจรก็เข้าไปก่อกวนในบ้านได้ทุกที

“ปัญญา” เป็นยิ่งกว่า “ยาม” มีอาวุธครบมือ ฆ่าโจรได้แม้อยู่ไกล

ปัญญานั้น ท่านแบ่งเป็น ๓ คือ

๑. สุตมยปัญญา (สัญญา) จำได้ หมายรู้ เกิดจากการเล่าเรียน การอ่าน การฟัง
๒. จินตามยปัญญา การนึก การคิด พิจารณา ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ก็เอาความรู้จาก "สัญญา" นั้นละมาคิด มาพิจารณา
๓. ภาวนามยปัญญา(วิปัสนา) เกี่ยวเนื่องกับ สมาธิ เป็นปัญญาสูงสุดในพระศาสนา เกิดจาก "จิตที่ตั้งมั่น" เป็นปัญญาที่ทำให้ เข้าใจในสรรพสิ่ง จึงละได้ วางได้ ปัญญาตัวนี้เองที่ทำให้ ปุถุชนคนธรรมดา กลายเป็นพระอริยเจ้า ละโลก ละสงสารได้

“สติสัมปชัญญะ” ไม่ใช่ การคิดหรือพิจารณา และไมได้เกิดจากสัญญา หรือ เกิดจากปัญญา แต่ “สติ” หนุนเนื่องให้เกิดปัญญา ให้ปัญญากล้าแข็งขึ้น

จึงมีคำกล่าว เช่น ให้ฝึกสติ ให้ฝึกสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญา ให้มีปัญญา
ไม่ใช่ ให้ฝึก “สัญญา” หรือ “ฝึกปัญญา” เพื่อให้เกิด “สติ”


"โยนิโสมนสิการ" ก็คือ "ปัญญา"
“โยนิโสมนสิการ” แปลว่า การคิด การพิจารณาโดยแยบคาย

อย่างไร เรียกว่า การคิด การพิจารณาโดยแยบคาย

ก็คือ คิด พิจารณา ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ จนเข้าใจ หายสงสัย ในเรื่องนั้น ๆ หากยังไม่เข้า ยังไม่หายสงสัย ก็เรียกว่ายังไม่แยบคาย

เจริญธรรม

:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2009, 15:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมข้อมูล เรื่อง โยนิโสมนสิการ จากหนังสือ พุทธธรรม



อนึ่ง พึงทราบว่าวิธีโยนิโสมนสิการแบบต่างๆถึงจะมีมากอย่าง ก็สรุปลงได้เป็น 2 ประเภทเท่านั้น คือ

1. โยนิโสมนสิการประเภทพัฒนาปัญญาโดยตรง มุ่งให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริงตรงตามสภาวะแท้ๆ เน้นที่การ ขจัดอวิชชา เป็นเครื่องนำไปสู่โลกุตรสัมมาทิฏฐิอาจเรียกว่า โยนิโสมนสิการระดับสัจธรรม

2. โยนิโสมนสิการประเภท สร้างเสริมคุณภาพจิต มุ่งปลุกเร้าให้เกิดคุณธรรมหรือกุศลธรรมต่างๆ เน้นที่การสกัดหรือข่มตัณหา เป็นเครื่องนำไปสู่โลกีย์สัมมาทิฏฐิ อาจเรียกว่า โยนิโสมนสิการระดับจริยธรรม

วิธีโยนิโสมนสิการต่อไปนี้ บางอย่างใช้ประโยชน์ประเภทเดียว บางอย่างใช้ประโยชน์ได้ทั้งสองประเภท



สติสัมปชัญญะ ที่พัฒนาโดยโยนิโสมนสิการที่รู้เท่าทันสภาวะ น่าจะใกล้เคียงกับ ถิรสัญญา ...เป็นแนวโอวาทปาติโมกข์ข้อ3

เป็นความเห็นส่วนตัวน่ะครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร