วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 16:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2009, 12:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 16:30
โพสต์: 411


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร


วัดประชาชุมพลพัฒนาราม
ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี



ชาติภูมิ

พระคุณเจ้าหลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร ท่านมีชาติกำเนิดในสกุล “ลุนราศรี” ท่านกำเนิดเกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐ แรม ๓ ค่ำ เดือนกรกฏาคม พุทธศักราช ๒๔๕๗ ปีขาล ณ หมู่บ้านโนนทัน ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

บุพการี

โยมบิดา คือ คุณพ่อมา ลุนราศรี (ในกาลต่อมาทราบว่าผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้นได้เปลี่ยนนามสกุลให้โยมบิดาของท่านใหม่ เป็น “เมืองศรีจันทร์”
โยมมาดา คือ คุณแม่โม้ ลุนราศรี
โยมบิดาของหลวงปู่นั้นทราบว่ามีถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ส่วนโยมมารดาของหลวงปู่นั้นเป็นคนบ้านโนนทันโดยกำเนิด อาชีพของท่านทั้งสอง คือการทำนา อันเป็นอาชีพหลักของคนไทยนั่นเอง

ญาติ

หลวงปู่มีพี่น้องทั้งหมด ๑๐ คน
หลวงปู่มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันอยู่จำนวน ๔ คน ตามลำดับดังต่อไปนี้
๑. องค์หลวงปู่ (หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร)
๒. เด็กชายสีลา ลุนราศรี (เสียชีวิตแต่ยังเยาว์)
๓. นางมิง สุขประเสริฐ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๔. นางน้อย เมืองศรีจันทร์

เมื่อโยมบิดาของหลวงปู่ได้ถึงแก่กรรมลง โยมมารดาของท่านได้สมรสใหม่ และมีพี่น้องต่างบิดาทั้งหมด ๖ คน ตามลำดับดังต่อไปนี้
๑. จ.ส.อ. คำมูล ศณีดาราช
๒. นางปุ่น ธรเสนา
๓. นายชาญ ศรีดาราช (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๔. นางบัวจันทร์ จันทร์ดาเป้า
๕. นางบัวฮอง พิมพ์พา (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๖. นางบัวพัน ศรีดาราช

(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย อริยชน เมื่อ 02 เม.ย. 2009, 13:12, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2009, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 16:30
โพสต์: 411


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ชีวิตฆราวาส

ปฐมวัย


หลวงปู่ท่านได้เข้าศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนเสนาบำรุง (ชึ่งตั้งอยู่ในค่ายทหารบกมลฑลทหารบก จังหวัดอุดรธานี) ท่านสำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

หลวงปู่ท่านเล่าว่า “ในสมัยที่หลวงปู่เรียนหนังสืออยู่นั้น โยมบิดา-โยมมารดาของท่านไม่เคยเดือดร้อน ในเรื่องของเงินซื้อสมุด หนังสือ ดินสอ เพราะว่าท่านเป็นนักเรียนที่เรียนเก่ง สอบไล่ได้เป็นที่ ๑ ทุกครั้ง จึงได้รับแจกหนังสือเป็นรางวัลจนเรียนจบ”

ช่วงวัยหนุ่ม

หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า “เมื่อตอนเป็นหนุ่มนั้นท่านเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือโยมบิดา-โยมมารดา ในการทำไร่ ทำนา เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย สานตะกร้า กระบุง หวดนึ่งข้าว รับจ้างถางไร่ (ได้ค่าจ้างเดือนละ ๓ บาท ในสมัยนั้นถือว่าเป็นรายได้มาก) ท่านต้องรับภาระที่หนักอันเนื่องมาจากท่านเป็นบุตรคนโตของครอบครัว”

หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า “ในสมัยก่อนนั้น ท่านเป็นหนุ่มท่านก็เคยไปเที่ยวกันกับหมู่เพื่อนๆ ตามปะสาคนหนุ่ม ไม่ว่าจะชวนไปสักยันต์ตามแขนตามขา (เรียนถามท่านว่าเจ็บไหมครับหลวงปู่ ท่านตอบว่า “ไม่เจ็บ” ไปเที่ยวเล่นสาว (จีบสาว) จ่ายผญาใส่ผู้สาวกับเพื่อนๆ ท่านก็เคยไป ท่านบอกว่า “เว้าผญา” สู้ผู้สาว (ผู้หญิง) เขาไม่ได้ ซุ้มผู้หญิงมันเว้าเก่ง”

รูปภาพ
พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่มหาจูม พันธุโล) พระอุปัชฌาย์


๓. เข้าสู่เพศพรหมจรรย์

เมื่ออายุของท่านครบเกณฑ์ทหาร คือ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ท่านก็ไปเกณฑ์ทหารแต่ไม่ติด ท่านเล่าให้ฟังว่าท่านอยากจะบวช จึงได้แจ้งความประสงค์ให้โยมบิดา-โยมมารดาทราบ ชึ่งบรรดาญาติพี่น้องต่างก็มีความปลาบปลื้มยินดีร่วมอนุโมทนากับท่านด้วย

หลวงปู่เข้าถือครองนาคอยู่ที่วัดโยธานิมิตร ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโยธานิมิตร เมื่ออายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๘ ในเวลา ๑๓.๔๗ น. โดยมี

พระอุปัชฌาย์ คือ พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่มหาจูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี

พระกรรมวาจาจารย์ คือ พระครูประสาทคณานุกิจ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี

พระอนุสาวนาจารย์ คือ พระครูศาสนูปกรณ์ (หลวงปู่อ่อนตา เขมังกโร) เจ้าอาวาสวัดโยธานิมิตร

ได้รับนามฉายาว่า “สุขกาโร” แปลว่า ผู้มีความสุขในการงาน (หลวงปู่ท่านได้เมตตาบอกให้ฟังว่า นามฉายา สุขกาโร หมายถึง ผู้มีความสุขในการงาน ซึ่งงานของพระก็คือการภาวนานี้แหละ ภาวนาจนมันล่วงไป พ้นไปจากภัยแห่งวัฏฏสงสาร)

หลวงปู่ท่านอุปสมบทหลังหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ๑ พรรษา


แก้ไขล่าสุดโดย อริยชน เมื่อ 05 มี.ค. 2009, 14:19, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2009, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 16:30
โพสต์: 411


 ข้อมูลส่วนตัว


การศึกษาพระปริยัติธรรม

หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า

- ท่านสอบได้นักธรรมชั้นตรี ได้ในพรรษาที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๗๘)

- ท่านสอบได้นักธรรมชั้นโท ได้ในพรรษาที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๗๙)

- ท่านสอบได้นักธรรมชั้นเอก ได้ในพรรษาที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๘๔)

- ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระธรรมทูต จากอธิบดีกรมการศาสนา (พันเอกปิ่น มุทุกันต์) ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ และ พ.ศ. ๒๕๐๘ รับผิดชอบสายที่ ๑ มีขอบเขตรับผิดชอบดังนี้ คือ เลย, หนองคาย, อุดรธานี, สกลนคร, นครพนม, ขอนแก่น, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด, มหาสารคาม และอุบลราชธานี

- หลวงปู่ท่านสามารถท่องจำพระปาฏิโมกข์ได้ในพรรษาที่ ๒ ชึ่งนับว่าท่านเป็นพระภิกษุผู้มีความวิริยะอุตสาหะเป็นเลิศแล้ว นับว่าหาได้ยากยิ่งอีกรูปหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2009, 13:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 16:30
โพสต์: 411


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

รูปภาพ
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

รูปภาพ
พระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน


๔ . ชีวิตในร่มกาสาวพัตร

การจำพรรษาของหลวงปู่ ตลอดจนการเดินธุดงค์ของท่านนั้น ถ้าจะนำมาเขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้คงจะพิมพ์เสร็จไม่ทัน เนื่องจากคณะผู้จัดทำมีระยะเวลาในการจัดทำสั้นนัก จึงได้ขอลงไว้เฉพาะการจำพรรษาคร่าวๆ และสถานที่ที่องค์หลวงปู่ได้อยู่จำพรรษาเท่านั้นพอสังเขปดังต่อไปนี้

พรรษาที่ ๑-๓ (พ.ศ.๒๔๗๘-๒๔๘๐)
- ท่านได้จำพรรษาที่วัดโยธานิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

พรรษาที่ ๔-๕ (พ.ศ.๒๔๘๑-๒๔๘๒)
- ท่านได้จำพรรษาที่วัดบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

พรรษาที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๘๓)
- ท่านได้จำพรรษาที่วัดบ้านช้าง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

พรรษาที่ ๗-๘ (พ.ศ. ๒๔๘๓)
- ท่านได้จำพรรษาที่วัดบ้านโพนสูง บ้านโพนสูง หมู่ที่ ๑ ตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

พรรษาที่ ๙ (พ.ศ. ๒๔๘๖)
- ท่านได้จำพรรษาที่วัดโยธานิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

พรรษาที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๔๘๗)
- ท่านได้จำพรรษาที่อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

พรรษาที่ ๑๑-๑๔ (พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๒)
- ท่านได้ร่วมจำพรรษากับพระเดชพระคุณเจ้าหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (๕ พรรษา) เมื่อท่านพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ละสังขารลงแล้ว หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร พร้อมคณะสงฆ์ ศิษย์ผู้ใหญ่หลวงปู่มั่น และญาติโยม ได้อยู่ช่วยงานศพท่านพระอาจารย์มั่น จนเสร็จสิ้นภารกิจ ณ วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จนเสร็จสิ้นภารกิจ แล้วหลวงปู่ท่านจึงได้แยกย้ายไปธุดงค์ต่อไป

พรรษาที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๔๙๓)
- ท่านได้จำพรรษากับท่านพระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน ที่วัดป่าบ้านนากู่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

พรรษาที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๔๙๔)
- หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้มอบหมายให้หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร ไปจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร บ้านนาหัวช้าง ตำบลพรรณนานิคม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร แทนองค์ท่านในพรรษานั้น เพราะองค์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านจะขึ้นไปจำพรรษาที่ถ้ำขาม ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จึงให้หลวงปู่จำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพรแทน


แก้ไขล่าสุดโดย อริยชน เมื่อ 25 มี.ค. 2009, 15:58, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2009, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 16:30
โพสต์: 411


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

พรรษาที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๔๙๕)
- ท่านได้จำพรรษากับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และหลวงปู่สุบิน ที่ป่าช้าแห่งหนึ่งในอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

พรรษาที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๔๙๖)
- ท่านได้จำพรรษาที่วัดบ้านเหล่าหนองขุ่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

พรรษาที่ ๒๐-๒๗ (พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๕๐๕)
- ท่านได้จำพรรษาที่วัดป่าเวฬุวันวนาราม หมู่ที่ ๔ บ้านข้าวสาร ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง
จังหวัดอุดรธานี

พรรษาที่ ๒๘-๔๓ (พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๒๐)
- ท่านได้จำพรรษาที่วัดป่าสีทน บ้านหนองตูม ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

พรรษาที่ ๔๔-๖๒ (พ.ศ. ๒๕๒๑-ปัจจุบัน)
- ท่านได้จำพรรษาที่วัดประชาชุมพลพัฒนาราม บ้านหนองใหญ่ ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

รูปภาพ
ส่วนหนึ่งของกองทัพธรรมศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
แถวหลัง : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่ขาว อนาลโย,
เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล),
หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
แถวกลาง : พระอาจารย์จันทร์ เขมปตฺโต, หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
แถวหน้า : หลวงปู่บัว สิริปุณโณ, หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร



ความเมตตาขององค์หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร

องค์ท่านหลวงปู่นั้น นับเป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ ท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นเนื้อนาบุญอันไพศาล หลวงปู่เป็นเพชรเม็ดใหญ่ที่ได้ผ่านการเจียระไนมาแล้วอย่างงดงาม ที่บรรดาศิษย์ยานุศิษย์ทั้งหลายให้ความเคารพศรัทธาในองค์หลวงปู่ เป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่สำคัญยิ่งในปัจจุบัน ถ้าจะนับพระเถระผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรมที่ผ่านการเจียระไนมาแล้ว และที่สำคัญองค์หลวงปู่อ่อนสา ท่านเคยร่วมสำนักกับหลวงปู่มั่น ในสมัยวัดป่าบ้านหนองผือ ชึ่งในครั้งอดีตคงเหลือไม่กี่รูปที่เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นที่ยังดำรงขันธ์อยู่ ในที่กาลปัจจุบันนี้หนึ่งในนี้ก็คือพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ที่นามว่า “หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร” ชึ่งท่านได้ร่วมจำพรรษากับท่านพระอาจารย์มั่นในวัดป่าบ้านหนองผือ ๕ พรรษา

ปฏิปทาอันงดงามขององค์ท่านมีมากมายที่จะสุดพรรณาได้หมดสิ้นและที่สำคัญ คือ ท่านไม่ยึดติด ต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด มีเมตตาธรรมต่อบรรดาศิษย์ยานุศิษย์โยไม่เลือกชั้นวรรณะ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยเสมอกัน นับเป็นแบบอย่างที่ประเสริฐทรงคุณค่าเอนกอนันต์อันชนรุ่นหลังไม่พึงประมาทและยึดถือเพื่อเป็นอนุสสติสืบไป


ที่มา : คัดจากหนังสือ “หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร”
เนื่องในงานครบรอบวันเกิดองค์ “หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร”



ธรรมะหลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร

“การที่มาขอธรรมะนโยบายปฏิบัตินั้น ในสมัยท่านพระอาจารย์ใหญ่ (ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ) ท่านก็ให้ถ้าได้มาขอ ท่านก็บอกอุบายอันแยบคายให้ แต่นั้นก็เป็นธรรมะที่ออกมาจากจิตใจของท่าน มันยังไม่ใช่ธรรมะที่ออกจากจิตใจเราโดยแท้ แม้จะเอาของดีไปก็ไม่สามารถรักษาให้อยู่กับตัวได้ บางทีขอไปวันนี้ พรุ่งนี้ก็ลืมวางไว้ที่ไหนก็ไม่รู้นะ...! ก็ไม่ใช่ของเรานั้นเอง...ถ้าเป็นของเราแล้วจะอยู่กับเราตลอด จำได้แม่นยำ เราตื่นก็มีอยู่ เราตายไปธรรมนั้นก็ตามไปกับจิตเราด้วยเสมอ ก็เหมือนกับสภาวะปัจจุบัน ไหนใครลองบอกมาหน่อยสิว่า...วันนี้เป็นโชคของเรา...ไม่มีใช่ไหม ? ถ้าเป็นของเราละก็ มันต้องอยู่กับเราตลอดไป ถ้ากลางวันก็ต้องอยู่อย่างนี้ จะมืดค่ำไม่ได้ต้องอยู่กับเรา ฉะนั้นธรรมะก็เช่นกัน ทุกวันนี้พวกเราชาวพุทธนักปฏิบัติเขาว่าอย่างนั้นนะ เที่ยววิ่งขอธรรมะแต่ไม่ยอมปฏิบัติเสียสักที เหลาะๆ...แหละๆ เดี๋ยวน้ำเดี๋ยวเเห้งไม่เอาจริงสักที ระวังเน้อ...สะสมธรรมะมากไม่ดี พุงจะแตกเอา...! ต้องนำออกมาระบายคือการพิจารณาแยกเหตุแยกผลของธรรมะบ้าง เราเรียกว่าวิปัสสนาก็ได้...เอาลองดูซิ

ความจริงธรรมะนั้นไม่มีใครเขาให้มากหรอก มันจะฟุ้งซ่าน บางทีเกิดลังเลสงสัย...ต้องแสดงออกเลย ความลังเลจึงจะหมดแล้วจะคลายสงสัยได้เด็ดขาดเลย...”

ปัจจุบันองค์หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร ท่านอาพาธมาหลายปี
ตอนนี้หลวงปู่ช่วยตัวเองทั้งที่การพูด การขบฉัน การเคลื่อนไหวไม่ได้
ท่านมีอายุก็ 94 ปี จะ 95 ก็เดือนกรกฎาคมปี 2552 นี้ครับ
ท่านพำนักอยู่ที่ วัดประชาชุมพลพัฒนาราม บ้านหนองใหญ่ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี


แก้ไขล่าสุดโดย อริยชน เมื่อ 23 มี.ค. 2009, 10:08, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2009, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 16:30
โพสต์: 411


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
พระสุภัทโทเจดีย์ (เจดีย์หลวงปู่แนน สุภัทโท)
ณ วัดซำขามถ้ำยาว
บ้านดงเย็น ต.บัวเงิน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น


รูปภาพ
หลวงปู่แนน สุภัทโท แห่งวัดซำขามถ้ำยาว

เล่าสู่กันฟัง

เก็บความคิดเห็นนี้มาจาก
http://www.navaraht.com/forum/forum15/topic885.html

สำหรับหลวงปู่อ่อนสาแม้จะไม่โด่งดังเป็นที่รู้จักทั่วไป แต่คุณธรรมและอำนาจจิตท่านไม่เงียบเลยในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงปู่ ทุกคนเคารพและเทิดทูนท่านเหมือนเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งทีเดียว หลวงปู่แนน สุภัทโท แห่งวัดซำขามถ้ำยาว บ้านดงเย็น ต.บัวเงิน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ศิษย์องค์ท้ายสุดของหลวงปู่คำดี ปภาโส แห่งวัดถ้ำผาปู่ เคยบอกว่า ถ้าอยากกราบพระอรหันต์ ให้ไปกราบหลวงปู่อ่อนสาโน่น

เมื่อไม่นานนี้ หลวงตาบัว ญาณสัมปันโน ท่านไปเปิดพระสุภัทโทเจดีย์ เจดีย์หลวงปู่แนน สุภัทโท ณ วัดซำขามถ้ำยาว และถ้าใครดูภาพถ่ายอัฐิหลวงปู่แนน จะเห็นได้ว่ากลายเป็นแก้วไปทั้งชิ้นเลย นอกจากพระพุทธเจ้าแล้ว คนที่จะรับรองคุณธรรมของพระอรหันต์ได้ก็คงต้องเป็นพระอรหันต์ด้วยกันเท่านั้น ผมเองเคยไปกราบหลวงปู่อ่อนสานับครั้งได้เลย อาจเป็นเพราะไม่ได้มีวาสนากับองค์หลวงปู่ ดังนั้นเรื่องราวของหลวงปู่จึงไม่ค่อยมี

ปัจจุบันหลวงปู่อ่อนสา อายุก็ 94 ปี จะ 95 ก็เดือนกรกฎาคมนี้ครับ
ท่านอยู่ที่วัดประชาชุมพลพัฒนาราม บ้านหนองใหญ่ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2009, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 16:30
โพสต์: 411


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เก็บความคิดเห็นนี้มาจาก คุณ bon
http://www.navaraht.com/forum/forum15/topic885.html

ขอบพระคุณทีให้กำลังใจ เรื่องถ่ายวีดิโอนี้ เห็นคุณหมออภัย รุ่น 16 ตุลา
ถ่ายวีดิโอ ตอนหลวงปู่อ่อนสา สุขการโร กำลังปัดตาด พอดีฝนตก
หลวงปู่เดินกลับมาที่กุฎิไม้ คุณหมอก็ถ่ายเรื่อยจนหลวงปู่ขึ้นมายื่นบนกุฎิ
สาธุ อย่าให้เป็นบาปว่าอวดอุตริมนุษย์เลย

จีวรหลวงปู่ไม่มีน้ำฝนติดหรือเปียกแม้แต่จุดเดียว ทั้งที่นอกชายคากุฎิ
หลังฉากนั้น สายน้ำฝนที่ไหลจากรางน้ำ เป็นสีขาวเลย
คุณหมอเปิดให้ดูครั้งหนึ่ง และถือกลับสหรัฐอเมริกา
ไม่ยอมนำกลับมาเปิดให้ผู้ใดดูอีกเลย เรื่องนี้ศิษย์ชาวหนองหาน และที่ใกล้ชิดทราบดี
เสียดายคนที่อยู่ในเหตุการณ์ คือ นายชัยยันต์ เครือสุ......ที่อยู่ในเหตุการณ์
ตอนคุณหมอถ่ายวิดีโอได้ถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุ
ที่บ้านค้อใต้ อำเภอสว่างแดนดิน ไปเสียก่อน

ยิ่งเห็นบารมีหลวงปู่มากเท่าใด ยิ่งกลัว ยิ่งต้องระวังตน ยิ่งต้องสำรวม


แก้ไขล่าสุดโดย อริยชน เมื่อ 05 มี.ค. 2009, 15:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2009, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 16:30
โพสต์: 411


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เก็บความคิดเห็นนี้มาจาก คุณ bon
http://www.navaraht.com/forum/forum15/topic885.html

เมื่อหลายปีก่อน ในช่วงเดือนเมษายน อากาศร้อน จะพยายามทำงานให้น้อยลง
บ่ายๆ ก่อนกลับบ้าน จะแวะไปกราบหลวงปู่ เพื่อทำความสะอาดกุฎิของท่าน
ปัดตาดรอบๆ กุฎิ นั่งเล่นกับหลวงปู่พอหายเหนื่อยก็จะลากลับ
แต่ก็ไม่เคยคิดว่า ตนเองเป็นศิษย์ใกล้ชิดกับท่าน หรือ เรียกว่า ศิษย์ก้นกุฎิ
เพราะวาสนายังไม่พอ ทุกครั้งที่มาวัด หากมีโยมแปลกหน้ามา ก็จะถอยห่างให้
เขาได้มีโอกาสเข้ากราบหลวงปู่ นั่งอยู่ห่างๆ เพื่อคอยอำนวยความสะดวกเท่าที่จะทำได้

เคยได้ยินญาติโยมที่มากราบหลวงปู่ มาคอพระเครื่องบ้าง คำหมากบ้าง
และ ท่านก็สนองตอบทุกคนด้วยความเมตตา จนหลายๆคนเกิดความคุ้นเคย
ล่วงเกินถามหลวงปู่ว่า

หลวงปู่พระนี้? ป้องกันอะไรได้บ้าง

หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร ท่านมองหน้าและยิ้มด้วยเมตตา ตอบว่า

พระเครื่องของเรา กันได้หมดทุกอย่าง
ยกเว้น ปาก กันปากไม่ได้
(กันปากไม่ได้ หมายความว่า ห้ามมิให้เขาพูดไม่ได้
ห้ามมิให้เขานินทา ว่าร้ายไม่ได้ นอกนั้นป้องกันได้หมด)

ขี้คำหมาก เอาไปตากแดดตากแสงจันทร์ หรือที่ว่า 7 วัน 7 ราตรี
ผีก็กลัว เทวดาก็เกรงใจ อาวุธใดๆก็แคล้วคาด ปราศจากศัตรู

ท่านยืนยันของท่านได้อย่างนี้
และ เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่พระเนื้อผงของท่านแทบทุกรุ่น ผู้สร้างมักจะผสมคำหมากแห้ง
ของหลวงปู่ไม่มากก็น้อย ยิ่งพระปิดตารุ่นแรกพิมพ์กลม ที่ร้านเรืองชัยเภสัชสร้างถวาย
เป็นคำหมากแห้งล้วนๆ น่าสะสมยิ่ง เรื่องพุทธคุณ บอกแล้วครับ บินเดี่ยว

มีคำถามว่า ทำไม พระเครื่องของหลวงปู่จึงไม่แพงอย่างที่ควรเป็น
ตอบตรงประเด็นเลย เพราะคนสร้างถวายไม่มีเจตนาจะเอาพระเครื่องเหล่านั้นมาขาย
การสร้างแต่ละครั้ง จำนวนไม่น้อย มากพอที่จะแจกฟรี อย่างทั่วถึง

รูปหล่อรุ่นแรก ที่คณะศิษย์จัดสร้าง 1 ชุด มี
เนื้อ เงิน 1 องค์
นว 2 องค์
โลหะผสม 10 องค์

จองเพียง 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน)
ปัจจุบัน เฉพาะเนื้อนวโลหะองค์เดียว ก็มากกว่าราคาจองเป็นสิบเท่าแล้ว

คณะศิษย์ที่สร้างล้วนเป็นผู้ที่ศรัทธาในองค์หลวงปู่ และต่างมีฐานะมั่นคงพอ
พระที่ว่าหายาก เช่น พระกริ่งรุ่นแรก รูปหล่อรุ่นแรก
หากสนิทสนมกัน และศรัทธา ขอเฉยๆ ก็ให้กันได้ครับ

ยิ่งในช่วงท้ายๆ มานี้ ทางขอนแก่นสร้างมาถวายให้บ่อย มาครั้งละเป็นหมื่นๆ องค์
แจกยังไงก็ทั่วถึง และ พอแก่ความต้องการ และพระทุกรุ่น ท่านก็เมตตาให้ทุกครั้ง
ด้วยความเต็มใจ จะใช้ร่นไหนก็ไม่น่าจะแตกต่าง เพราะล้วนรับจากมือท่านทั้งสิ้น
นี่คืออีกปัจจัยหนึ่ง ที่เซียนพระไม่อยากเข้ามาเก็บพระเครื่องของท่าน ทั้งที่ตระหนักดีแก่ใจว่า

พระเครื่องของท่านเป็นหนึ่ง ไม่เป็นรองใคร


แก้ไขล่าสุดโดย อริยชน เมื่อ 05 มี.ค. 2009, 15:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2009, 14:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 16:30
โพสต์: 411


 ข้อมูลส่วนตัว


เก็บความคิดเห็นนี้มาจาก คุณ bon
http://www.navaraht.com/forum/forum15/topic885.html


บักปากมอม

เมื่อสมัยที่หลวงปู่ยังแข็งแรง เวลาท่านมาที่อำเภอหนองหาน ท่านมักจะมา
พักที่บ้านเครือสุวรรณ์ หน้าโรงเรียนหนองหาน วันครู ท่านจะเทศน์โปรดญาติ
โยมที่มาใส่บาตร เสมอๆ คำสอนหลวงปู่สั้นๆ ไม่ยืดยาด เข้าใจง่าย เหมือนตอนที่
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม มรณภาพ ทันทีที่ทราบข่าว ถึงเรียนถามหลวงปู่ว่า
ไม่ไปกราบศพหลวงปู่ชอบหรือปู่?

ท่านหันหน้ามามองแล้วยิ้ม ตอบว่า กูไปแล้วปู่ชอบฟื้นได้ กูจะไป
คนเรา สำคัญตอนมีชีวิต ให้ปฏิบัติกันให้ดีๆ ตายไปแล้ว เอาช้าง ม้า
หมู เห็ด เป็ดไก่ มาเส้นไหว้ ก็หาประโยชน์อันใดไม่ได้ เพราะคนตาย
กินไม่ได้ มีแต่เสียเงินเปล่า สู้ทำดีต่อกัน เอื้ออาทรต่อกันตอนมีชีวิต
ดีกว่า หรือ มึ ง ว่าจังใด บักทนาย.......

ก้มลงกราบหลวงปู่ และ หวนคิดถึงคุณพ่อ คุณแม่ในทันที

คณะญาติลูกหลานของคุณตาหล่ำ ที่มาชุมนุมกัน จะมีคุณครูท่านหนึ่ง
จะพูดตำหนิแบบน้อยใจว่า หลวงปู่ไม่ไปแวะที่บ้านบ้าง ไม่เมตตา บอกแต่
เลข หวย เบอร์แก่คนอื่น ลูกหลานคุณตาหล่ำที่อุปถากปฏิบัติกลับไม่เมตตา
หากจะเมตตา ก็จะบอกเป็นปริญณา ให้ไปตึความเอา ไม่ยุติธรรม
ซึ่งจริงๆ หลวงปู่ท่านก็ไม่ได้บอกเลข หวย เบอร์ แต่คนที่ชอบคณิตศาสตร์
ก็เก็บไปตีความ และอาจโดยบังเอิญถูก

วันนั้น คุณครูท่านนี้ไม่มา อาจติดราชการ
หลวงปู่จึงถามภรรยาคุณครูท่านนี้ว่า บักปากมอม บ่มาบ่?

ท่านทราบได้อย่างไร ว่าไปตำหนิ ต่อว่าท่าน
ไม่มีใครไปบอกท่านแม้แต่คนเดียว
และมันก็ไม่ใช่เรื่องที่สมควรนำไปกราบเรียนต่อหลวงปู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2009, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 16:30
โพสต์: 411


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เก็บความคิดเห็นนี้มาจาก คุณ bon
http://www.navaraht.com/forum/forum15/topic885.html


เมื่อประมาณ 26-27 ปีที่ผ่านมา ในวงการพระเครื่องรุ่นใหม่
ชื่อหลวงปู่พรหม สุดยอดเกจิภาคกลาง เป็นที่ลือเรื่องและยอมรับกันว่า
พิธีพุทธาพิเศกใด ไม่มีชื่อท่าน เป็นอันว่า งานนั้นกร่อยไปถนัดตา

เหตุเกิดที่บ้านคุณราตรี (ให้ถามลูกศิษย์รุ่นเก่าๆ จะรู้จักดี) เป็นคนกรุงเทพฯ
ในงานวันคล้ายเกิดของคุณราตรีๆ ได้นิมนต์หลวงปู่อ่อนสา และ พระเกจิอีกหลายๆ
องค์ ไปทำบุญที่บ้าน คุณราตรี ทราบดีว่า หลวงปู่อ่อนสาพรรษาแก่กว่าหลวงปูพรหม

เมื่อหลวงปู่อ่อนสาไปถึงบ้านงาน เจ้าภาพได้นิมนต์ท่านนั่งเป็นพระอันดับแรก
ครั้นมื่อหลวงปู่พรหมมาถึงบ้านงาน หลวงปู่พรหมก็มายืนตรงหน้าอาสนะ
ที่หลวงปู่อ่อนสานั่งอยู่ ทั้งที่เจ้าภาพนิมนต์ท่านนั่งอาสนะรองลงมา
ยืนอยู่นานพอสมควร หลวงปู่อ่อนสาหรือเทพเจ้าแห่งกองบิน 23 รำคาญ
จึงลุกจากอาสนะที่นั่ง มานั่งอาสนะที่รองลงมา
หลวงปู่พรหมจึงยอมขึ้นไปนั่งที่อาสนะอันดับแรกแทนหลวงปู่อ่อนสา

ตลอดระยะเวลาการสวดมนต์
สายสินญ์ระหว่างหลวงปู่พรหมและหลวงปู่อ่อนสา จะตึงเปรี๊ยะ
ผิดกับช่วงต่อจากหลวงปู่อ่อนสา ลงไปหาพระอันดับรอง

สวดมนต์เสร็จ
เจ้าภาพยังไม่ทันถวายปัจจัยและภัตราหาร
หลวงปู่พรหมก็อาเจียนและอาพาทขอตัวกลับก่อนในทันที

หนึ่งสัปดาห์ให้หลัง
หลวงปู่อ่อนา พร้อมด้วยศิษย์รุ่นหนัก เช่น คุณฮวดศักดิ์
คุณชาญศักดิ์ พากันขับรถตู้พาหลวงปู่กลับอุดร

ก่อนถึงวัดที่หลวงปู่พรหมจำพรรษาอยุ่
หลวงปู่อ่อนสา ให้คุณฮวดศักดิ์ขับรถไปเยี่ยมไข้หลวงปู่พรหม
(หลวงปูทราบได้อย่างไร ว่าหลวงปู่พรหมอาพาธ)

เพียงล้อรถหยุดสนิท
หลวงปู่พรหมก็ลงจากกุฎิมากราบหลวงปู่อ่อนสา เพื่อขอขมา
หลวงปู่อ่อนสาก็ประครองหลวงปู่พรหมขึ้นนั่ง
(หลวงปู่พรหมทราบได้อย่างไรว่า หลวงปู่อ่อนสาจะมาเยี่ยม?)
สนทนาพอประมาณ หลวงปู่อ่อนสาก็ลากลับอุดรฯ

หนึงสัปดาห์ให้หลัง ข่าวหลวงปู่พรหมละสังขารก็กระจายทั่วประเทศไทย

องค์จริงอาจให้อภัยกันได้ แต่การละเมิดกันนั้น องค์ในท่านไม่มีการยอมกัน
ทุกอย่างย่อมเป็นไปตามกฎแห่งธรรมชาติ

ไม่นานจากนั้น ศิษย์หลวงปู่พรหม จำนวนไม่น้อยก็พากันมากราบไหว้
และมอบตัวเป็นศิษย์หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร ด้วยเหตุผลที่ว่า

ก่อนมรณะ หลวงปู่พรหมบอกแก่ศิษย์เหล่านี้ว่า ได้ไปล่วงเกินหลวงปู่อ่อนสาไว้
เป็นโทษหนักนักที่ล่วงเกินพระอรหันต์ ให้พากันไปกราบหลวงปู่องค์นี้นะ
หาไม่มีอีกแล้ว และให้สำรวมให้มากเมื่ออยู่ใกล้ท่าน
ท่านบริสุทธิจริงๆ และองค์ในท่านนั้น ไม่มีที่จะเปรียบเทียบได้

ฟังจากเพื่อนๆ รุ่นเก่า รวมถึงจากปากคำคุณราตรี คุณฮวดศักดิ และคุณชาญศักดิ์

อ่านแล้ว เป็นอุทธาหรณ์ให้ระวังความคิด คำพูด และการกระทำเมื่ออยู่ต่อหน้า
หรือเกี่ยวข้องกับพระอรหันต์ หรือพระท่านที่สำเร็จวิสุทธิมรรคแล้ว
หากลูกหลานล่วงเกิน ขออภัยให้ลูกหลานทุกคนด้วยนะครับหลวงปู่


(หมายเหตุ : หลวงปู่พรหมที่กล่าวนี้ไม่ใช่หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ บ้านดงเย็น)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2009, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 16:30
โพสต์: 411


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
ภาพนี้ในวันงานทำบุญครบรอบอายุวัฒนมงคล ครบ 92 ปี หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร
พร้อมยกฉัตรขึ้นสู่เจดีย์สุขโรเจดีย์ และบรรจุพระธาตุพระบรมสารีริกธาตุ
เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 8-9 กรกฎาคม 2549 ณ วัดประชาชุมพลพัฒนาราม



:b44: ประมวลภาพ “หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=21488


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 07:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 09:11
โพสต์: 597


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุ ขอบพระคุณค่ะ :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร