วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 01:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2009, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์อันเดียว คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว หรือ เอกัคคตารมณ์

จิตที่มีอารมณ์เดียว คือ เอกัคคตาจิต

เอกัคคตาจิต(ฌาน)
ปรากฏในพระสูตรที่ตรัสถึง สัมมาสมาธิ ที่แสดงด้วยองค์แห่งฌาน(ในมหาสติปัฏฐานสูตร สัจจบรรพ)
ปรากฏในพระสูตรที่ตรัสถึง สมาธินทรีย์ว่า เป็นเอกัคคตาจิต(ในสัทธาสูตร)
ปรากฏในพระสูตรที่ตรัสถึง อริยะสมาธิ ว่าเป็นเอกัคคตาจิต(ในปริกขารสูตร)



เป็นที่น่าเสียดายว่า ในปัจจุบัน คำว่า เอกัคคตตาจิต(ฌาน)จะถูกจำกัดไว้แต่เพียง เอกัคคตาจิตแบบของพระฤาษี คือ เข้าไปสงบเฉยๆและไม่เกิดปัญญา เท่านั้น....
ทำให้ ความหมายของ เอกัคคตาจิต ที่ปรากฏในพระสูตรถูกมองด้วยความเข้าใจผิด

และ บางท่านถึงกับเชื่อว่า สมาธิปิดกั้นการเกิดปัญญา และ ในการภาวนาต้องระวังไม่ให้มีสมถะเกิดขึ้น



ในระดับพระสูตร ท่านแสดงเรื่อง เอกัคคตารมณ์ที่ได้มาจากกระบวนการด้านปัญญา(วิปัสสนา)เอาไว้ ในบทว่า "การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า"





ได้อ่านพบ โอวาทพระสุปฏิปันโนในยุคปัจจุบันที่ท่านกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้

เผื่อว่าใครยังไม่เคยอ่าน จึงนำมาตั้งเป็นกระทู้ไว้



โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท


คนภาวนาเป็น มีอารมณ์เป็นอันเดียว

อารมณ์อันเดียวคืออะไร?

ไม่เอาเรื่องกับใคร เรียกว่าอารมณ์อันเดียว

มันเปลี่ยนจากอารมณ์อันเดียวของสมถกรรมฐาน สมถกรรมฐานเอาเรามาเรียนภาวนาพุทโธ ๆ ๆ ๆ อันเดียว มันน้อยไป ถ้ามันพลาดจากพุทโธแล้วมันไปที่ไหนก็ได้ .....อารมณ์อันเดียวคืออารมณ์วิปัสสนานั่นแหละ ....ไม่มีชั่ว ไม่มีดี ....มีดี มีชั่ว แต่จิตของเราอยู่เหนือชั่วเหนือดีทั้งนั้น ฉะนั้นเป็นอารมณ์อันเดียวอย่างนี้

ปล่อยมันทิ้งไป เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาหมดทั้งสิ้นอย่างนี้

นี้การปล่อยวางทั้งหมด นั้นเรียกว่าการภาวนาที่ถูกต้อง




เอกัคคตาจิตในลักษณะนี้ น่าจะตรงกับ สมาธินทรีย์ ใน อินทรีย์๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2009, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ใน อินทริยภาวนาสูตร

พระพุทธองค์ทรงแสดง ถึงการเพ่งฌานที่อายตนะต่างๆ

http://202.44.204.76/cgi-bin/stshow.pl? ... tart=10862

ดูกรอานนท์

นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำ
พร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ



ในพระสูตรนี้ กล่าวถึงการเจริญอุเบกขาจิต ด้วยคำว่า เพ่งฌาน


ฌาน ในพระสูตรนี้ ไม่จำป็นต้อง ตาดับ หูดับ ๆลๆ เสียด้วยซ้ำ(พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธการเจริญอินทรีย์แบบปาราสิยาพราหมณ์ ที่ต้อง ตาดับ หูดับ)

กล่าวคือ เมื่อ อายตนะภายในรับทราบรูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์ จิตตั้งมั่นเป็นกลางไม่ไหลไปกับอารมณ์ คือ ไม่ไหลไปเป็นชอบใจ ไม่ไหลไปเป็นไม่ชอบใจ ไม่ไหลไปเป็นชอบใจปนไม่ชอบใจ.. จิต ตั้งมั่นเป็นกลาง ได้อย่างทันทีที่อายตนะภายในรับทราบรูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์(ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก.... เปรียบเทียบต่างๆ)

ลักษณะ ที่จิตตั้งมั่นเป็นกลาง ไม่ไหลไปกับอารมณ์ อย่างรวดเร็วและไม่ลำบาก ทันทีที่มีการกระทบของอายตนะภายในกับ รูป เสียง ๆลๆ เป็นผลจากสติที่เข้มแข็ง.... และ เป็นกระบวนการทางสมถะ ที่ตรัสคำว่า"เพ่งฌาน" ซึ่งนำไปสู่เจโตวิมุติ(แต่ ยังไม่จบกระบวนการทั้งหมด เพราะเจโตวิมุติต้องกำกับด้วยปัญญาวิมุติอีกที จึงจักเป็นเจโตวิมุติที่ไม่กลับกำเริบ)



ในพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงคำว่า"รู้ชัด"คือ มีสติระลึกได้ เอาไว้ ดังนี้

[๘๕๗] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยการเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขาๆลๆ



ฌาน ในพระสูตรนี้ จึงเป็นความหมายแห่งสัมมาสมาธิ เพราะ มีสัมมาสติเป็นเหตุนำ




นำมาลง ให้เพื่อนสมาชิกลอง พิจารณาดู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2009, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


แม้นแต่ ผู้ที่มีจริตนิสัยเป็นปัญญาจริต(ญาณจริต) และ เจริญอริยมรรคโดยใช้ปัญญาเป็นแกนหลัก
ก็ยังคงต้องปรากฏ ความไม่ฟุ้งซ่าน(อวิกเขโป หรือ อวิกขิตตจิตโต) ซึ่งเป็นส่วนแห่งสมถะปรากฏตามมา เช่นกัน

หาใช่ว่า ถ้าเจริญอริยมรรคโดยใช้วิปัสสนานำหน้าแล้ว จะต้องคอยระวังไม่ให้สมถะเกิดขึ้น
หรือ ต้องให้มีแต่ความกระสับกระส่าย-เร่าร้อน (ห้ามสงบ-เยือกเย็น) แต่อย่างใด



หลวงปู่ ชา สุภัทโท :b8:

ท่านได้เคยแสดงเรื่อง พระโยควาจรเจ้ามีสองหน้า(สมถะ-วิปัสสนา) ไว้ดังนี้

".....อย่างไรก็ตาม บางคนทำสมาธิยาก ...

เพราะอะไร เพราะจริตแปลกเขา ...
แต่ก็เป็นสมาธิ แต่ก็ไม่หนักแน่น ไม่ได้รับความสบายเพราะสมาธิ แต่จะได้รับความสบายเพราะปัญญา เพราะปัญญาความคิด เห็นความจริงของมันแล้วก็แก้ปัญหาถูกต้อง เป็นประเภทปัญญาวิมุต ไม่ใช่เจโตวิมุต* มันจะมีความสบาย ทุกอย่างที่จะได้เกิดขึ้นเป็นหนทางของเรา เพราะปัญญา....สมาธิมันน้อย คล้ายๆ กับว่าไม่ต้องนั่งสมาธิ พิจารณา "อันนั้นเป็นอะไรหนอ" แล้วแก้ปัญหาอันนั้นได้ทันที เลยสบายไป เลยสงบ
ลักษณะผู้มีปัญญาต้องเป็นอย่างนั้น

ทำสมาธินี้ไม่ค่อยได้ง่าย และไม่ค่อยดีด้วย มีสมาธิแต่เพียงเฉพาะเลี้ยงปัญญาให้เกิดขึ้นมาได้
โดยมากอาศัยปัญญา เช่นสมมติว่า ทำนากับทำสวน เราอาศัยนามากกว่าสวน หรือทำนากับทำไร่ เราจะได้อาศัยนามากกว่าไร่ ในเรื่องของเรา อาชีพของเรา และการภาวนาของเราก็เหมือนกัน มันจะได้อาศัยปัญญาแก้ปัญหา แล้วจะเห็นความจริง ความสงบจึงเกิดขึ้นมา มันเป็นไปอย่างนั้น ธรรมดาก็เป็นไปอย่างนั้น มันต่างกัน

บางคน แรงในทางปัญญา สมาธิพอเป็นฐานไม่มาก คล้ายๆ กับว่านั่งสมาธิ ไม่ค่อยสงบ ชอบมีความปรุงแต่ง มีความคิดและมีปัญญาชักเรื่องนั้นมาพิจารณาชักเรื่องนี้มาพิจารณา แล้วพิจารณาลงสู่ความสงบก็เห็นความถูกต้อง อันนั้นจะได้มีกำลังกว่าสมาธิ อันนี้จริงของบางคนเป็นอย่างนั้น แม้จะ ยืน เดิน นั่ง นอนก็ตามความตรัสรู้ธรรมะนั้นไม่แน่นอน จะเป็นอิริยาบถใดก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้ นั่งก็ได้ นอนก็ได้ อันนี้แหละผู้แรงด้วยปัญญา เป็นผู้มีปัญญา สามารถที่จะไม่เกี่ยวข้องกับสมาธิมากก็ได้

ถ้าพูดกันง่ายๆ ปัญญาเห็นเลย เห็นไปเลยก็ละไปเลย สงบไปเลย ได้ความสบายเพราะอันนั้นมันเห็นชัดมันเห็นจริง เชื่อมั่นยืนยันเป็นพยานตนเองได้ นี่จริตของบางคนเป็นไปอย่างนี้

แต่จะอย่างไรก็ช่าง
มันก็ต้องทำลายความเห็นผิดออก เหลือแต่ความเห็นถูก
ทำลายความฟุ้งซ่านออก เหลือแต่ความสงบ
มันก็จะลงไปสู่จุดอันเดียวกัน


บางคนปัญญาน้อย นั่งสมาธิได้ง่าย สงบ สงบเร็วที่สุด ไว แต่ไม่ค่อยมีปัญญา ไม่ทันกิเลสทั้งหลาย ไม่รู้เรื่องกิเลสทั้งหลาย แก้ปัญหาไม่ค่อยได้

พระโยคาวจรเจ้าผู้ปฏิบัติมีสองหน้าอย่างนี้ ก็คู่กันเรื่อยไป

แต่ปัญญาหรือวิปัสสนากับสมถะมันก็ทิ้งกันไม่ได้ คาบเกี่ยวกันไปเรื่อยๆ อย่างนี้ ...."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2009, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่พึง ทำฌาน ให้ห่างเหิน

พึงเจริญ วิปัสสนา ทุกสมัย

พอกพูน สุญญคาร ฌ ด้านใน

เป็นโอวาท พระจอมไตร ประธานมา




จาก http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 024&Z=1135

[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็นโสดาบันเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้

ภิกษุนั้น
พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง
ประกอบด้วยวิปัสสนา
พอกพูนสุญญาคาร
ๆลๆ




ฌาน ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ไม่พึงทำให้เหินห่าง นี้ ....หมายเอา ฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ

คือ จิตที่เป็นกลาง(อุเบกขา) จิตที่เป็นหนึ่ง(เอกัคคตา) ไม่ไหลไปกับอารมณ์ที่น่าชอบใจ-ไม่ชอบใจ ด้วยมีความตั้งมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ) นุ่มนวลควรแก่การงาน(สมาหิโต) เอื้อต่อการรู้ธรรมตามที่เป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2009, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนำพระสูตรบาลีดั้งเดิม ที่กล่าวถึง การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า

แสดง

เอกัคคตารมณ์(รวมทั้ง ความไม่ฟุ้งซ่าน และ ความตั้งมั่นแห่งจิต) อันเป็นผลจากการเจริญวิปัสสนา

มาลงเสนอ

เผื่อว่า ท่านใดยังไม่เคยอ่าน



[๕๓๗] กถํ วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาเวติ ฯ

อนิจฺจโต อนุปสฺสนฏฺเน วิปสฺสนา ทุกฺขโต อนุปสฺสนฏฺเน วิปสฺสนา
อนตฺตโต อนุปสฺสนฏฺเน วิปสฺสนา

ตตฺถ ชาตานํ ธมฺมานํ จ โวสฺสคฺคารมฺมณตา จิตฺตสฺส เอกคฺคตา อวิกฺเขโป สมาธิ

อิติ

ป€มํ วิปสฺสนา ปจฺฉา สมโถ
เตน วุจฺจติ วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ ภาเวติ ฯ



[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อม เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น อย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ความที่ จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ

ด้วยประการดังนี้

วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ


พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา





เสนอ สังเกตุ คำกล่าว
1.เอกัคคตา(ความที่จิตมีอารมณ์เดียว)
2.อวิกเขโป(ไม่ฟุ้งซ่าน)
3.สมาธิ


ถึงแม้นจะเจริญอริยมรรค โดยใช้วิปัสสนานำหน้า ก็ตาม
เอกัคคตาจิตคือ จิตที่มีอารมณ์เดียว ก็ต้องปรากฏเช่นกัน

รวมทั้ง อวิกเขโป(ความไม่ฟุ้งซ่าน) ก็เช่นกัน ที่จะต้องบังเกิดขึ้น



ปล...

แต่ ฌานที่บังเกิดขึ้นในลักษณะที่เจริญอริยมรรคโดยใช้วิปัสสนานำหน้านี้ ฌานจะปรากฏเป็นผลมาภายหลัง และ ไม่เด่นเท่าในผู้ที่เจริญสมาธิภาวนาโดยตรง

แต่ ก็ปรากฏ ความมีอารมณ์เดียว ความไม่ฟุ้งซ่าน ความตั้งมั่นชอบ เช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2009, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b44: :b44:



คือ จิตที่เป็นกลาง(อุเบกขา) จิตที่เป็นหนึ่ง(เอกัคคตา) ไม่ไหลไปกับอารมณ์ที่น่าชอบใจ-ไม่ชอบใจ ด้วยมีความตั้งมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ) นุ่มนวลควรแก่การงาน(สมาหิโต) เอื้อต่อการรู้ธรรมตามที่เป็นจริง


:b8: :b8: เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2009, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2009, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากทราบว่า เมื่อได้สมาธิขั้นอัปนา แล้วจะเอามาใช้ประโยชน์ในการละกิเลสอย่างไรครับ

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


kokorado เขียน:
อยากทราบว่า เมื่อได้สมาธิขั้นอัปนา แล้วจะเอามาใช้ประโยชน์ในการละกิเลสอย่างไรครับ




การแบ่งสมาธิ เป็น ขณิกะ อุปจาระ อัปปานาสมาธิ เป็นการแบ่งตามคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลครับ

ในสมัยพุทธกาลไม่มีคำศัพท์เหล่านี้


หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ค่อนข้างมีความเข้าใจที่แตกต่างกัน ในแต่ละค่ายคูสำนักมาก
จะมีจุดที่ แต่ล่ะค่ายคูสำนัก เห็นไม่ตรงกันมาก เพราะไม่มีพระพุทธพจน์เป็นมาตรฐานรองรับโดยตรง




ผมเลย ขออนุญาต ใช้คำว่า ฌาน ที่ปรากฏแพร่หลายในชั้นพระสูตรดั้งเดิมแทน
เพราะ จะได้มีมาตรฐานอันเดียวกัน





คำถามว่า ฌาน เอามาใช้ประโยชน์ในการละกิเลสได้อย่างไร?

ฌาน นี้เป็นคำที่มีความหมายกว้าง เป็นได้ทั้งทางโลกียะ และ ทางโลกุตระ

ผมขออนุญาตพูดให้แคบเข้ามาว่า

ฌานที่เป็นเอกัคคตาจิต ที่เรียกว่าสมาธินทรีย์บ้าง(ในสัทธาสูตร) ที่เรียกว่าสัมมาสมาธิบ้าง(ในมหาสติปัฏฐานสูตร สัจจบรรพ) ที่เรียกว่าอริยะสมาธิบ้าง(ในปริกขารสูตร) โลกุตรฌานที่กล่าวไว้ในพระสูตรที่แสดงอริยมรรคสมังคีบ้าง......

ซึ่งเป็นความหมายของ ฌานในความหมายทางโลกุตระ



ฌานในลักษณะนี้ เป็นฌานที่มีพระพุทธพจน์ว่า
ผู้ที่มีทั้งฌานและปัญญาย่อมเป็นผู้อยู่ใกล้พระนิพพาน
นั่นเอง



มีพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า เพราะมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงบริบูรณ์ ดังปรากฏในมหาจัตตารีสกสูตร
(พึงสังเกตุในมหาจัตตารีสกสูตร สัมมาสมาธิ พระพุทธองค์ทรงแสดงด้วย เอกัคคตารมณ์ เช่นกัน)

”.....ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิ …..”


สัมมาสมาธิ จึงหมายถึง
"สมาธิขั้นแน่วแน่ ที่มี (อนาสวะ)สัมมาทิฎฐิ + (อนาสวะ)สัมมาสังกัปปะ+ (อนาสวะ)สัมมาวาจา+ (อนาสวะ)สัมมาอาชีวะ+(อนาสวะ)สัมมาสังกัมมันตะ+สัมมาวายามะ +สัมมาสติ ห้อมล้อม"

ในมหาจัตตารีสกสูตร ถ้า ทิฏฐิหรือจุดเริ่มต้นกำหนดทิศทางเป็นสัมมาเสียแล้ว ... องค์แห่งอริยมรรคอื่นๆ ก็จะเป็นสัมมาตามมา

คำว่า "ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง" ซึ่งก็คือ "เอกัคคตารมณ์" ... เป็นเครื่องแสดงว่า จิตตั้งมั่นแน่วแน่ เป็นข้อสุดท้าย ในองค์แห่งฌาน
เอกัคคตารมณ์ ก็ คือ ภาวะแห่งจิตที่ตั้งมั่น-ไม่ไหลไปจมกับอารมณ์
อารมณ์ที่น่าพึงพอใจ จิตก็ไม่เป็นไปตาม
อารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ จิตก็ไม่เป็นไปตาม
เป็นจิตที่เป็นกลาง
เป็นจิตที่เป็นหนึ่ง
จิตที่ไม่ไหลไปกับอารมณ์ เป็นจิตที่มีคุณภาพ สามารถพิจารณาสภาวธรรมต่างๆตามที่เป็นจริง




ฌาน(เอกัคคตาจิต) ที่สนับสนุนการเกิดปัญญา
คือ ใช้สภาวะจิตที่ตั้งมั่น นุ่มนวล ควรแก่การงาน มาเป็นประโยชน์ในการเจริญมรรคด้านปัญญา
ที่ทรงแสดงไว้ในหลายต่อหลายแห่ง เช่นที่ว่า

ฌาน ๔

[๗๕๔] ดูกรภารทวาชะ ครั้นเรากินอาหารหยาบมีกำลังดีแล้ว
จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เรามีอุมีเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข
เราบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

ญาณ ๓

[๗๕๕] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ๆลๆ







ยินดีที่ได้สนทนา

และ ขออภัยที่ตอบช้า เพราะงานมาก และ สุขภาพไม่ค่อยดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณตรงประเด็นครับ
ที่ป่วยอยู่ ผมขอเอาใจช่วยนะครับ ขอให้พ้นจากโรคภัยโดยไว

คุณตรงประเด็นมีแต่ปัญญามาให้ มีปกติเป็นผู้ไม่โกรธ
ช่วยแสดงพระสัทธรรมต้องตามพระไตรปิฏก ให้ผู้คนเข้าใจ

ผลบุญมีอำนาจฟอกขันธ์ให้เป็นผลึกธาตุเมื่อละสังขารแล้วได้ฉันใด
ย่อมฟอกโรคภัยเมื่อยังครองขันธ์ได้ฉันนั้น

ขอให้หายไวๆนะครับ

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53:
:b53: :b53: :b53: :b53: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2009, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตั้งจิตภาวนา

ด้วยกุศลแห่งความดีของท่านตรงประเด็น

จงก่อให้เกิดสุขภาพที่แข็งแรงกับท่านตรงประเด็นด้วยเทอญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2009, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คำอวยพรจากเพื่อนสมาชิกน่ะตรับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2009, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ได้มีโอกาสรับทราบ สาระธรรม จากเพื่อนทางธรรมท่านหนึ่ง ที่น่าสนใจ

ท่านมีความเห็น ในลักษณะที่ว่า

" เจริญวิปัสสนา โดยไม่ต้องสมถะเลย ก็สามารถมีจิตตั้งมั่นได้"



คือ อ่านเผินๆ เหมือนกับกำลังกล่าวถึง การเจริญวิปัสสนาล้วนๆ โดยไม่มีส่วนของสมถะเลย

แต่ พอดูในรายละเอียดแล้ว
เจตนาของท่านผู้กล่าวนี้ หมายถึงว่า.... เจริญวิปัสสนาโดยไม่ต้องไปฝึกสมถะตามรูปแบบ ก็สามารถมีจิตตั้งมั่น(สัมมาสมาธิ)ได้


ซึ่ง นี่ก็คือ ลักษณะของ การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า นั่นเอง




ประเด็นมันอยู่ที่ การใช้ภาษา

คือ เวลาที่ท่านกล่าวคำว่า สมถะ ท่านหมายเอาเฉพาะ "การเจริญสมถะกรรมฐานตามรูปแบบ "เท่านั้น
โดยที่ เหมือนกับ ท่านจะไม่นับว่า การที่มี"จิตตั้งมั่น"อันเป็นผลจากวิปัสสนา (ซึ่งก็คือ สัมมาสมาธิ ).....ว่าเป็นสมถะ




มันอยู่ ที่การใช้ภาษาไม่ตรงกัน แต่ กำลังกล่าวถึงสิ่งเดียวกันอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2009, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ขออัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัยคุ้มครองท่านผู้รู้..ตรงประเด็น...ให้สุขภาพแข็งเรง

:b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 51 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร