วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=28



กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ทำวัตรแปล เมื่อไม่ต้องการแปลจะสวดเฉพาะคำบาลีก็ได้)


บทสวดมนต์ ทำวัตรเช้า แปล


คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ-
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม-
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ ใด ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ -
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ปฏิบัติดีแล้ว
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ
อะภิปูชะยามะ-
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้ อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา-
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์ แก่พวกข้าพเจ้าอันเป็นชนรุ่นหลัง
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ-
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับเครื่องสักการะอันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้
อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ-
เพื่อประโยชน์ และ ความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ ฯ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา-
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ-
ข้าพเจ้าอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม

(กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม-
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
ธัมมัง นะมัสสามิ- ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม

(กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ-
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ-
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์

(กราบ)

.....

(ปุพพภาคนมการ)
(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต -
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อะระหะโต -
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ -
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

(กล่าว 3 จบ)

....
(พุทธาภิถุติ)
(นำ)หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ

(รับ)โย โส ตะถาคะโต -
พระตถาคตเจ้านั้นพระองค์ใด
อะระหัง-
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ -
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน-
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต-
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู-
เป็นผู้รู้โลกอยางแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ-
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง-
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ-
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา-
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรหมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง
สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ-
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
ทรงสอนโลกนี้ พร้อมทั้งเทวดามารพรหมและหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้
ตาม
โย ธัมมัง เทเสสิ -
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมแล้ว
อาทิกัลยาณัง -
ไพเราะในเบื้องต้น
มัชเฌกัลยาณัง -
ไพเราะในท่ามกลาง
ปะริโยสานะกัลยาณัง -
ไพเราะในที่สุด
สาตถัง สะพะยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ-
ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือ แบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ
พร้อมทั้งพยัญชนะ
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ -
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า

(กราบรำลึกถึงพุทธคุณ)


....
(ธัมมาภิถุติ)
(นำ)หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ

(รับ)โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม-
พระธรรมนั้นใด เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก-
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก-
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก-
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก-
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ-
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ -
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น
ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า

(กราบ รำลึกถึงธรรมคุณ)
......

(สังฆาภิถุติ)
(นำ)หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ

(รับ) โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ-
สงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้านั้นหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ-
สงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ-
สงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ-
สงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง -
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา -
คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัวบุรุษ ได้ 8 บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ-
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย -
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย-
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย-
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย-
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ-
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ -
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า


(กราบรำลึกถึงสังฆคุณ)


........
(รตนัตตยัปปณามคาถา)
(นำ)หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย(เจวะ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ) ภะณามะ เส ฯ

(รับ) พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว-
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์มีพระคุณดุจห้วงมหรรณพ
โยจจันตะสุทธัพพะระณาณะโลจะโน-
พระองค์ใดมีตา คือ ญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก-
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และ อุปกิเลสของโลก
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง-
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน-
พระธรรมของพระศาสดาสว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป
โย มัคคะปากามะเภทะภินนะโก-
จำแนกประเภท คือ มรรคผลนิพพานส่วนใด
โลกุตตโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน-
ซึ่งเป็นตัวโลกุตระ และ ส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตระนั้น
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง -
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
สังโฆ สุเขตตาภะยะติเขตตะสัญญิโต-
พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย
โย ทิฏฐะสันโต สุตะตานุโพธะโก-
ผู้เห็นพระนิพพาน ตรัสรู้ตามพระสุคตหมู่ใด
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส-
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นอริยะเจ้ามีปัญญาดี
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง-
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้นโดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง , วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง,
ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา, มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา.
บุญใดที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม คือ พระรัตนตรัยอันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว,
ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้ , ขออุปัททวะทั้งหลาย จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย,
ด้วยอำนาจความสำเร็จอันเกิดจากบุญนั้น


หากต้องการสวดเพียงครึ่งเดียวก็จบเพียงเท่านี้ บทนำในวงเล็บ (เจวะ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ)
ตัดออก
หากมีเวลาก็สวด สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะข้างล่างต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ธ.ค. 2008, 12:31, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 16:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน -
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ-
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก-
และพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก-
เป็นเครื่องสงบกิเลส เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต-
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ
มะยันตัง ธมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ-
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า
ชาติปิ ทุกขา-
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา-
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมปิ ทุกขัง-
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะปะริเทวะทุกขโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา-
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข -
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข -
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง -
มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา-
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์
เสยยะถีทัง-
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
รูปูปาทานักขันโธ-
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป
เวทะนูปาทานักขันโธ-
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา
สัญญูปาทานักขันโธ-
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา
สังขารูปาทานักขันโธ-
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร
วิญญาณูปาทานักขันโธ-
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ
เยสัง ปะริญญายะ-
เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง
ธะระมาโน โส ภะคะวา-
จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ-
ย่อมทรงแนะสาวกทั้งหลายเช่นนี้เป็นส่วนมาก
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ-
อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลายส่วนมาก มีส่วน คือ การจำแนก
อย่างนี้ว่า
รูปัง อะนิจจัง-
รูปไม่เที่ยง
เวทะนา อะนิจจา-
เวทนาไม่เที่ยง
สัญญา อะนิจจา-
สัญญาไม่เที่ยง
สังขารา อะนิจจา-
สังขารไม่เที่ยง
วิญญาณัง อะนิจจัง-
วิญญาณไม่เที่ยง
รูปัง อะนัตตา-
รูปไม่ใช่ตัว
เวทะนา อะนัตตา-
เวทนาไม่ใช่ตัว
สัญญา อะนัตตา-
สัญญาไม่ใช่ตัว
สังขารา อะนัตตา-
สังขารไม่ใช่ตัว
วิญญาณัง อะนัตตา-
วิญญาณไม่ใช่ตัว
สัพเพ สังขารา อะนิจจา -
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ-
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวดังนี้
เต (ตา) มะยัง โอติณณามะหะ -
เราทั้งหลายเป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว
ชาติยา-
โดยความเกิด
ชะรามะระเณนะ-
โดยความแก่และความตาย
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ -
โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย
ทุกโขติณณา -
เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว
ทุกขะปะเรตา -
เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ -
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา -
เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้น เป็นสรณะ
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ -
ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ -
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกำลัง
สา สา โน ปะฏิปัตติ-
ขอให้ความปฏิบัตินั้นๆของเราทั้งหลาย
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ. –
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.

(จบทำวัตรเช้าเพียงเท่านี้)


หมายเหตุ- ตา ในวงเล็บสำหรับอุบาสิกาว่า เต สำหรับอุบาสก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ธ.ค. 2008, 07:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



บทสวดมนต์ทำวัตรเช้า (ไม่แปล) บ้าง
สวดคนเดียวไม่ต้องขึ้นบทนำก็ได้

…....

คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ
อะภิปูชะยามะ,
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ
ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา-
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ
อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ - (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ- (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ (กราบ)

.........

(ปุพพภาคนมการ)
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส ฯ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

(พุทธาภิถุติ)
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ

(รับ) โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา
เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา,
โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรหมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง
สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ,
โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง สาตถัง สะพะยัญชะนัง
เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ,
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ.

(กราบรำลึกถึงพุทธคุณ)


(ธัมมาภิถุติ)
(นำ) หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ

(รับ) โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก,
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ,
ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ.

(กราบ รำลึกถึงธรรมคุณ)


(สังฆาภิถุติ)
(นำ) หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ

(รับ) โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย,
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ,
ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ.

(กราบรำลึกถึงสังฆคุณ)

(รตนัตตยัปปณามคาถา)
(นำ) หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย ( เจวะ สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ) ภะณามะ เส ฯ

(รับ) พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
โยจจันตะสุทธัพพะระณาณะโลจะโน
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน
โย มัคคะปากามะเภทะภินนะโก
โลกุตตโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน
วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
สังโฆ สุเขตตาภะยะติเขตตะสัญญิโต
โย ทิฏฐะสันโต สุตะตานุโพธะโก
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส
วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง
วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง,
ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา,
มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา.

(ต้องการสวดครึ่งหนึ่งจบเท่านี้)

(หากมีเวลาก็สวดต่ออีก ดังนี้ )

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต,
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ,
ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง,
โสกะปะริเทวะทุกขโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,
เสยยะถีทัง,
รูปูปาทานักขันโธ
เวทะนูปาทานักขันโธ
สัญญูปาทานักขันโธ
สังขารูปาทานักขันโธ
วิญญาณูปาทานักขันโธ
เยสัง ปะริญญายะ
ธะระมาโน โส ภะคะวา
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ
เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ,
รูปัง อะนิจจัง
เวทะนา อะนิจจา
สัญญา อะนิจจา
สังขารา อะนิจจา
วิญญาณัง อะนิจจัง
รูปัง อะนัตตา
เวทะนา อะนัตตา
สัญญา อะนัตตา
สังขารา อะนัตตา
วิญญาณัง อะนัตตา
สัพเพ สังขารา อะนิจจา
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ
เต (ตา) มะยัง โอติณณามะหะ ชาติยา ชะรามะระเณนะ,
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ,
ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา,
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ,
จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา,
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ
อะนุปะฏิปัชชามะ,
สา สา โน ปะฏิปัตติ,
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ ฯ

(จบทำวัตรเช้าเพียงเท่านี้)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2008, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำวัตรเย็น แปล
.............

คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ-
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม-
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ ใด ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ -
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ปฏิบัติดีแล้ว
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ
อะภิปูชะยามะ-
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้ อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ-
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้า
ทั้งหลาย
ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา-
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์ แก่พวกข้าพเจ้าอันเป็นชนรุ่นหลัง
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ-
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับเครื่องสักการะอันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้
อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ-
เพื่อประโยชน์ และ ความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ ฯ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา-
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ-
ข้าพเจ้าอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน - (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม-
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
ธัมมัง นะมัสสามิ- ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม-(กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ-
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ-
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ -(กราบ)

(ปุพพภาคนมการ)
(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.
)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต -
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อะระหะโต -
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ -
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง - (ว่า 3 จบ)

(พุทธานุสสติ)
(หันทะ มะยัง พุทธานุสสตินะยัง กะโรมะ เส)


ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต-
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า
อิติปิ โส ภะคะวา –
เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง-
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ -
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน-
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต-
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู-
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ-
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง-
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ-
เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวาติ-
เป็นผู้มีจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้


(พุทธาภิคีติ)
(หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส)


พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต -
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ มีความประเสริฐแห่งอรหันตะคุณ เป็นต้น
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต-
มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ และ พระกรุณาอันบริสุทธิ์
โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร-
พระองค์ใด ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง-
ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ ผู้ไม่มีกิเลสพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง-
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย
ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง-
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียรเกล้า
พุทธัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร-
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม-
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และ ทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง-
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง-
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง-
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน-
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ-
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา-
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(กราบหมอบลงว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป.


(ธัมมานุสสติ )
(หันทะ มะยัง ธัมมานุสสตินะยัง กะโรมะ เส)


สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม-
พระธรรมนั้นใด เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก-
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก-
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก-
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก-
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. (=ออกเสียงเป็น ฮี = วิญญูฮีติ)
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.


(ธัมมาภิคีติ)
(หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส)


สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย
พระธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐ เพราะประกอบด้วยคุณ คือ ความที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท
เป็นธรรมอันจำแนกเป็นมรรคผลปริยัติและนิพพาน
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี
เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด
ธัมโม โย สัพพะปาณีณัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง
พระธรรมใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า
ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร-
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม-
พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และ ทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง-
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระธรรม
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง-
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง-
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน-
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ-
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา-
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

(กราบหมอบลงว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระธรรม
ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม
เพื่อการสำรวมระวังในพระธรรม ในกาลต่อไป.


สังฆานุสสติ
(หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)


สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ-
สงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้านั้นหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ-
สงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ-
สงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ-
สงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง -
ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา -
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ-
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้พระภาคเจ้า
อาหุเนยโย -
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย-
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย-
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย-
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ-
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าดังนี้.


สังฆาภิคีติ
(หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส)


สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต-
พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดี เป็นต้น
โยฏฐัพพิโย อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ-
เป็นหมู่แห่งพระอริยะบุคคลอันประเสริฐแปดจำพวก
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต-
มีกายและจิตอันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้น อันบวร
วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง-
ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยะเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี
สังโฆ โย สัพพะปาณีณัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง-
พระสงฆ์หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า
สังฆัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร-
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม-
พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และ ทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง-
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง-
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง-
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน-
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ-
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์ ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา-
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

(กราบหมอบลงว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระสงฆ์
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ
เพื่อการสำรวมระวังในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป.

(ทำวัตรเย็นแปลจบเพียงเท่านี้)


หมายเหตุ- คำในวงเล็บ สำหรับอุบาสิกาสวด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2008, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำวัตรเย็น ไม่แปล
..............

คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ,
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ ,
อะภิปูชะยามะ,
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา,
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ-(กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
ธัมมัง นะมัสสามิ- ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม-(กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สังฆัง นะมามิ -(กราบ)

(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัญเจวะ พุทธานุสสะตินะยัญจะ กะโรมะ เส.)


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ


ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู,
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

(หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส)


พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง,
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
พุทธัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร,
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา ฯ

(กราบหมอบลงว่า)


กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ ฯ


(หันทะ มะยัง ธัมมานุสสตินะยัง กะโรมะ เส)


สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก,
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ (=ออกเสียงเป็น ฮี = วิญญูฮีติ)

(หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส)


สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย,
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท,
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี,
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง,
ธัมโม โย สัพพะปาณีณัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร,
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา ฯ

(กราบหมอบลงว่า)


กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม ฯ


(หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)


สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย,
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ

(หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส)


สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,
โยฏฐัพพิโย อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ,
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,
วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง,
สังโฆ โย สัพพะปาณีณัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
สังฆัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร,
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ ,
สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา ฯ

(กราบหมอบลงว่า)

กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ ฯ

(ทำวัตรเย็นไม่แปลจบ)

หมายเหตุ- ข้อความในวงเล็บสำหรับอุบาสิกาสวด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ธ.ค. 2008, 17:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2008, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



พระคาถาชินบัญชรสูตร


1. ชะยาสะนาคะตา พุทธา - เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง - เย ปิวิงสุ นะราสะภา

2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา - อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง – มัตถะเก เต มุนิสสะรา

3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง - พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง - อุเร สัพพะคุณากะโร

4.หะทะเย อุนุรุทโธ จะ - สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง - โมคคัลลาโน จะ วามะเก

5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง - อาสุง อานันทะราหุลา
กัสสะโป จะ มะหานาโม- อาภาสุง วามะโสตะเก

6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมึง- สุริโยวะ ปุภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน- โสภิโต มุนิปุงคะโว

7. กุมาระกัสสะโป เถโร - มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง - ปะติฏฐาสิ คุณากะโร

8. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ –อุปาลีนันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา - นะลาเต ติละกา มะมะ

9.เสสาสีติ มะหาเถรา - ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะวันตา สีละเตเชนะ – อังคะมังเคสุ สัณฐิตา

10.ระตะนัง ปุรโต อาสิ - ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ- วาเม อังคุลิมาละกัง

11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ -อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ - เสสา ปาการะลังกะตา

12. ชินานาวะระสังยุตตา -สัตตะปาการะลังกะตา
วาตปิตตาทิสัญชาตา- พาหิรัชฌัตตุปัททะวา

13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ - อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ - สะทา สัมพุทธะปัญชะเร

14. ชินะปัญชะระมัชเฌหิ - วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ – เต มะหาปุริสาสะภา

15. อิจเจวะมันโต - สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ - ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ - ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ - ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะ ปาลิโต - จะรามิ ชินะปัญชะเรติ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2008, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คาถาชินบัญชร เดิมเรียกว่า รัตนบัญชร มีผู้เข้าใจว่า ผู้แต่งคือนักปราชญ์ศรีลังกา แต่ภายหลังสันนิษฐานว่า
พระนักปราชญ์ไทยนี่แหละเป็นผู้แต่ง ในราวพุทธศตวรรษที่ 20
เดิมยาวกว่านี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ย่อให้สั้นเข้า โดยคงสาระเดิมไว้ เพื่อสะดวกแก่การท่องจำ

ชินบัญชร ต้นฉบับอยู่ใน 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศศรีลังกา และประเทศพม่า
(อาจมีประเทศอื่นอีกด้วย) ที่คัดลอกต่อๆกันมา ย่อมจะผิดเพี้ยนกันไปบ้าง ใครได้สำนวนไหน
ก็อย่าสงสัยเลย ท่องจำตามนั้น และอย่าไปหาว่าของคนอื่นผิด เพราะต่างก็มิใช่คนแต่ง ข้อที่แตกต่าง
พอขึ้นต้นก็ต่างกันแล้ว “ชะยาสะนาคะตา” (ประทับเหนืออาสนะชัย)
บางฉบับก็เป็น “ชะยาสะนาคะตา” (มาสู่อาสนะชัย)
บางฉบับก็เขียน “ชิยาสะนากะตา” (ไม่ต้องใช้สายและศร) หมายถึงทรงชนะมารโดยไม่ต้องใช้คันศร
และสายธนูมาสู้รบ
“วาละมิคาทิสัญชาตา” (เกิดแต่สัตว์ร้าย เป็นต้น)
บางฉบับก็เขียน “วาตะปิตตาทิสัญชาตา” (เกิดแต่โรคลมและโรคดี
เป็นต้น)
“วะสะโต เม สะกิจเจนะ” (อยู่ด้วยกิจของตน)
บางฉบับก็เขียน “วะสะโต เม สะกิจเจสุ” (อยู่ในกิจของตน)
“หะทะเย อนุรุทโธ จะ” (พระอนุรุทธะอยู่ในหทัย)
บางฉบับก็เขียน “หะทะเย เม อนุรุทโธ” (พระอนุรุทธะอยู่ในหทัยของข้าพเจ้า)
บรรทัดที่ว่า “เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา” (พระสาวกผู้ใหญ่ 80 รูป ที่เหลือ บางสำนวนไม่มี)
“เกสโต ปิฏฐิภาคัสมึง” (ในส่วนหลัง ที่สุดผม)
บางฉบับก็เขียน “เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมึง” (ที่สุดผม เบื้องหลัง) ทั้งสองคำนี้หมายถึง “ท้ายทอย” เหมือนกัน
“ชิตาริสังโค” (ความขัดข้องเพราะศัตรู ข้าพเจ้าได้ชนะแล้ว)
บางแห่งเป็น “ชิตาริสังโฆ” (หมู่ศัตรู ข้าพเจ้าได้ชนะแล้ว)

ยังมีอีกหลายแห่งที่จดแตกต่างกันต่อมา แต่แทบทั้งหมด แปลได้
ไม่ผิดไวยากรณ์ รู้สึกจะมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ผิดไวยากรณ์ คือ
“อาสุง อานันทะราหุลา” (พระอานนท์และพระราหุลทั้งหลาย ได้มี
แล้ว) ประโยคนี้ถูกไวยากรณ์ “อานันทะราหุลา” เป็นพหูพจน์ กริยา
คือ “อาสุง” ก็เป็นพหูพจน์ด้วย นี่ถูกต้องแล้ว
แต่บางฉบับที่ลอกกันมาเป็น “อาสุง อานันทะราหุโล” นั้นผิด
“อานันทะราหุโล” เป็นเอกพจน์ แต่กริยา “อาสุง” เป็นพหูพจน์

อย่างไรก็ตาม ดังกล่าวแล้ว ใครได้ฉบับไหนมาก็ท่องจำไปตามนั้น ถึงจะเพี้ยนกันไปบ้าง ก็ไม่ถึงกับเสียความ
ที่วัดบวรได้รวบรวมคาถาชินบัญชร ทุกสำนวน พร้อมหมายเหตุข้อความที่แตกต่างกันไว้ทุกแห่งด้วย ผู้ใคร่การศึกษาพึงหามาเทียบเคียงดูได้

(เสฐียรพงษ์ วรรณปก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2008, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลังจากสวดมนต์ทำวัตรเช้าหรือเย็นจบแล้ว ใครมีบทไหนจะสวดต่ออีกก็ได้ ในที่นี้มีชินบัญชร
พอแล้วก็สรุปตบท้ายด้วยบทสวดอุทิศส่วนบุญหรือกุศลจิตอันเกิดจากการกล่าวสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยนั้น
(เรียกว่า กรวดน้ำอิมินา) แล้วแผ่เมตตาจิตให้ตนเองและสรรพสัตว์ปิดท้าย :b42:

บทกรวดน้ำ (อิมินา)

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ - อุปัชฌายา คุณุตตะรา
อาจาริยูปะการา จะ- มาตา ปิตา จะ ญาตะกา (ปิยา มะมัง)
สุริโย จันทิมา ราชา -คุณะวันตา นะราปิ จะ
พรัหมะมารา จะ อินทา จะ - โลกะปาลา จะ เทวะตา
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ -มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ -ปุญญานิ ปะกะตานิ เม
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ - ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง ฯ
-อิมินา ปุญญะกัมเมน - อิมินา อุททิเสนะ จะ
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ - ตัณหุปาทานะเฉทะนัง
เย สันตาเน หินา ธัมมา- ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ-ยัตถะ ชาโต ภแว ภะเว
อุชุจิตตัง สติปัญญา-สัลเลโข วิริยัมหินา
มารา ละภันตุ โนกาสัง- กาตุญจะ วิริเยสุ เม
พุทธาทิปะวะโร นาโถ -ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ- สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง
เตโสตตะมานุภาวเวน ะ- มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ


บทกรวดน้ำ (อิมินา) แปล (เอาความ)

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ - ด้วยบุญนี้อุทิศให้
อุปัชฌายา คุณุตตะรา - อุปัชฌาย์ผู้เลิศคุณ
อาจาริยูปะการา จะ- และอาจารย์ผู้เกื้อหนุน
มาตา ปิตา จะ ญาตะกา- ทั้งพ่อแม่และปวงญาติ
สุริโย จันทิมา ราชา – สูรย์จันทร์และราชา
คุณวันตา นะราปิ จะ-ผู้ทรงคุณและสูงชาติ
พรัหมะมารา จะ อินทา จะ –พรหมมารและอินทร์ราช
โลกะปาลา จะ เทวะตา-ทั้งทวยเทพและโลกบาล
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ –ยมราช มนุษย์ มิตร
มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ-ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ – ขอให้เป็นสุขศานติ์ทุกทั่วหน้าอย่าทุกข์ทน
ปุญญานิ ปะกะตานิ เม- บุญผองที่ข้าทำจงช่วยอำนวยผล
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ - ให้สุขสามอย่างล้น
ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง - ให้ลุถึงนิพพานพลัน ฯ
-อิมินา ปุญญะกัมเมนะ – ด้วยบุญนี้
อิมินา อุททิเสนะ จะ- และการอุทิศบุญนี้
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ - เราพลันได้ซึ่งการตัด
ตัณหุปาทานะเฉทะนัง – ตัวตัณหาอุปาทาน
เย สันตาเน หินา ธัมมา-สิ่งชั่วในดวงใจ
ยาวะ นิพพานะโต มะมัง -กว่าเราจะถึงนิพพาน
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ-มลายสิ้นจากสันดาน
ยัตถะ ชาโต ภแว ภะเว-ทุกๆภพที่เราเกิด
อุชุจิตตัง สติปัญญา – มีจิตตรง มีสติและปัญญาอันประเสริฐ
สัลเลโข วิริยัมหินา-พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย
มารา ละภันตุ โนกาสัง- โอกาสอย่าพึงมีแก่หมู่มารสิ้นทั้งหลาย
กาตุญจะ วิริเยสุ เม-เป็นช่องประทุษร้ายทำลายล้างความเพียรจม
พุทธาทิปะวะโร นาโถ -พระพุทธะผู้บวรนาถ
ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม-พระธรรมที่พึ่งอุดม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ- พระปัจเจกพุทธะสม
สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง-ทบพระสงฆ์ที่พึ่งผยอง
เตโสตตะมานุภาวเวนะ-ด้วยอานุภาพนั้น
มาโรกาสัง ละภันตุ มา-ขอหมู่มารอย่าได้ช่อง
ทสะปุญญานุภาเวนะ –ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง
มาโรกาสัง ละภันตุ มา- อย่าเปิดโอกาสแก่มารเทอญ ฯ

คำแผ่เมตตาให้ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ - ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
อะหัง นิททุกโข โหมิ - ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ – ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความลำบาก
อะหัง อะนีโฆ โหมิ - ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคภยันตราย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ - รักษาตนให้มีความสุขตลอดกาลนาน เทอญ ฯ


คำแผ่เมตตา

สัพเพ สัตตา - สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ – จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพพะยาปัชฌา โหนตุ - จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ - จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ - จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เทอญ ฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2008, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถวายพรพระ (อิติปิ โส ฯ )


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ


อิติโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระภิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโต วิญญูหีติ ฯ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย
ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ


(ท่อนแรกสวดสรรเสริญพุทธคุณ -ธรรมคุณ -และสังฆะคุณ ตามลำดับ
ดูคำแปลจากทำวัตรเช้าที่ผ่านมา)


อิติปิ โส ถอยหลัง

ติสากัสโล ตังเขตญักปุญ รังตะนุตอะ โยณีระกะลีชะอัญ โยเณยขิทัก โยเนยหุปา
โยเนยหุอา โฆสังกะวะสา โตวะคะภะ สะเอ ลาคะปุคสะริปุ ฐะอัฏ นิคายุสะริปุ ริตาจัต
ทังทิยะ โฆสังกะวะสา โตวะคะภะ โนปันฏิปะจิมีสา โฆสังกะวะสา โตวะคะภะ
โนปันฏิปะยะญา โฆสังกะวะสา โตวะคะภะ โนปันฏิปะชุอุ โฆสังกะวะสา โตวะคะภะ
โนปันฏิปะสุ ฯ
ติหีญูวิญ โพตัพทิเว ตังจัตปัจ โกยินะปะโอ โกสิปัสหิเอ โกลิกาอะ โกฐิทิฏสัน โมธัม
ตาวะคะภะ โตขาวากสะ ฯ
ติวาคะภะ โธพุท นังสานุสมะวะเท ถาสัต ถิระสามะทัมสะริปุ โรตะนุตอะ ทูวิกะโล
โตคะสุ โนปันสัมณะระจะชาวิช โธพุทสัมมาสัม หังระอะ วาคะภะ โส ปิติอิ ฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b35: :b35: :b35: k.กรัชกรายสวดแบบนี้ทุกวันเลยหรือคะ เรามีบางบทที่เหมือนคุณ
และ เราอยากได้บทกรวดน้ำแปลมานานแล้วคะ อยากรู้ความหมาย :b31: หามาหลายที่แล้ว
วันนี้โชคดี ที่คุณแนะนำ เราเข้ามาอ่านแล้วค่ะ เราสวดบทพาหุงค่ะ กว่าจะจำได้ :b5: หลายหยด
เลยค่ะ เราชอบที่จะรู้ความหมายของบทสวดนะคะ คือแค่พอประมาณว่ารู้ความหมาย แต่ให้ถูกหมดไม่ได้
:b31: เราอยากท่องบทชินบัญชร คุณพอมีอุบายแนะนำไม๊คะ ที่จะให้จำง่ายๆ
:b6: เคยบ่นกับลูกว่าจำไม่ได้ ลูกก็ลงทุนซื้อปลอกหมอน มีคาถาชินบัญชรให้หนุนนอน :b32:
บอกให้แม่ท่องวันละประโยค เชื่อไม๊คะ เห็นหมอนนอนหลับสบายเลยค่ะ :b13: กะจะให้ซึมเข้าไปเอง
เราชอบสวดมนต์นะ รู้สึกว่าเราจะมีสมาธิดีมากเลย เพราะกลัวลืมบทใจจะไม่วอกแวก วันไหนที่เรามี
เวลามากเราก็จะสวดหลายๆบท แล้ววันนั้นจะ happyๆๆเลยค่ะ :b53: :b52:
ก่อนจบขอเพลงด้วยนะคะ เก็บตะวัน ค่ะ :b48:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ขอเพลงด้วยนะคะ เก็บตะวัน ค่ะ


เพลงตามคำขอก่อนนะครับ

"เก็บตะวัน"

http://music.siamza.com/music.php?k=64K&id=10


"ผู้ชายก็ร้องไห้เป็น"

http://www.imeem.com/people/bHfVec/musi ... appella_7/

"คนขี้เหงา"

http://www.imeem.com/moouan/music/S9P3c ... _kee_ngao/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b10: อีกข้อนะคะ................แผ่เมตตาให้ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ.....................ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข

อะหัง นิททุกโข โหมิ................ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากทุกข์

อะหัง อะเวโร โหมิ....................ขอให้ข้าพเจ้าอย่ามีเวรภัย

อะหัง อัพ๎ยาปัชโฌ โหมิ............ขอให้ข้าพเจ้าอย่ามีใครรังแกเบียดเบียน

อะหัง อะนีโฆ โหมิ....................ขอให้ข้าพเจ้าอย่ามีความทุกข์กายทุกข์ใจ

อะหัง สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ....ข้าพเจ้าจะรักษาตนให้เป็นสุข
บทนี้เราอ่านเจอในโพสต์นี้นะคะ
:b10: ค่ะแต่ว่าในบทของคุณK.กรัชกราย ไม่มีบรรทัดนี้น่ะค่ะ
เราเจอบ่อยๆ ตามหนังสือสวดมนต์ทั่วๆไป ครั้งแรกคิดว่า พิมพ์ ผิด
แต่ระดับคุณแล้วไม่...ใช่....แน่นอน รบกวนอธิบายด้วยนะคะ
แรกๆคิดโทษสำนักพิมพ์นะคะว่า ไม่รู้จากตรวจทาน แต่พบบ่อยมากๆ เอ้อ.... :b6: หรือว่าเราจะพลาดอะไรไปหรือเปล่าคะ :b53: :b52:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2009, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
k.กรัชกรายสวดแบบนี้ทุกวันเลยหรือคะ


ไม่ทุกวันหรอกครับ
อย่างทำวัตรเราไม่ต้องท่องก็ได้ครับ เปิดหนังสือเอา สวดบ่อยๆ ก็จำได้เอง :b1:

อ้างคำพูด:
เราอยากท่องบทชินบัญชร คุณพอมีอุบายแนะนำไม๊คะ ที่จะให้จำง่ายๆ


1. ชะยาสะนาคะตา พุทธา - เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง - เย ปิวิงสุ นะราสะภา


ที่นำมาให้ดูเรียกว่า หนึ่งคาถา
ท่องจำทีละบรรทัดก็ได้ พอจำได้บ้างแล้ว ก็ขยับบรรทัดที่สอง
สมมุติว่าพอจำได้แล้ว ทำงานประจำวันเช่น กวาดบ้านถูกบ้าน ซักผ้า ฯลฯ นึกถึงบทที่เราพอๆจำได้ สงสัย ไม่แน่ใจไปเปิดหนังสือดูเลย

เล่นไม้นี้แหละจนกว่าจะคล่อง แล้วค่อยท่องคาถาที่สองเป็นต้นต่อไป
ใช้อุบายเดียวกัน แต่ก็ต้องทบทวนที่ได้ก่อนหน้าด้วยนะครับ เดี๋ยวเข้าตำราได้หน้าลืมหลังอีก

วันหนึ่งไม่ได้ก็สองวัน สองวันไม่ได้ก็สามวัน สามวันไม่ได้ก็สี่วัน ฯลฯ

จดใส่กระดาษเฉพาะคาถาที่เรากำลังท่องจำใส่กระเป๋าติดตัวไปที่ทำงานด้วยก็ได้
นั่งรถว่างๆ นึกๆ ไม่ออกก็เปิดดู ฆ่าเวลาไปในตัว

สำหรับกรัชกายท่องจำได้แล้ว เห็นว่าคล่องนัก ก็จะท่องทวนกลับเมื่อให้ยากขึ้น
ท้าทายดีเหมือนเป็นอาหารสมอง

ทำกรรมฐานบ่อยๆ ก็ช่วยให้ความจำดีขึ้นนะครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อย่าลืมตอบอีกข้อนะคะ :b10: :b10: :b10:
:b48: แล้วตบท้ายด้วยเพลง อยากรู้แต่ไม่อยากถามน่ะค่ะ :b19: :b19:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่พลาดหรอกครับ
ประโยคเหล่านั้นจะเพิ่มเข้ามาก็ได้ ตัดออกก็ได้ หรือจะว่าเป็นภาษาไทยๆ ก็ยังได้

ผู้รู้ภาษาบาลีเขาแต่งเอาได้ครับ

แต่คำแปลประโยคนี้

อ้างคำพูด:
อะหัง อัพ๎ยาปัชโฌ โหมิ....ขอให้ข้าพเจ้าอย่ามีใครรังแกเบียดเบียน


ขอให้ข้าพเจ้าอย่ามีใครรังแกเบียดเบียน

แปล อย่างนี้แม้ไม่ถึงกับผิด หากเราไม่ยึดติดคำแปลนั้นก็ไม่มีปัญหา (อย่ามีใครรังแกเบียดเบียนข้าพเจ้า)

พึงระลึกไว้ว่า ในโลกแห่งความเป็นจริง เป็นไปไม่ได้ที่เราจะไม่ถูกใครรังแกหรือเบียดเบียน
ทั้งทางกายทางวาจาเลย แม้แต่พระพุทธเจ้าเองนั่งเทศน์อยู่บนธรรมาสน์ดีๆ แท้ๆ
ยังมีหญิงมาตะโกนต่อหน้าผู้คนว่า ไปทำเธอท้องแล้วไม่รับผิดชอบ

ไม่ใช่อะไรหรอก เกรงว่า ยึดติดเข้า วันหนึ่งเกิดมีใครมาเบียดเบียนเราด้วยคำพูดเป็นต้นแล้ว จะขาดความเชื่อมั่นในคำสวดนั้นว่า แหม ไหนบอก (อะหัง อัพ๎ยาปัชโฌ โหมิ....ขอให้ข้าพเจ้าอย่ามีใครรังแกเบียดเบียน) ดูสิเนี่ย :b7: เขาด่าเราเละเลย :b2:

รูปประโยคเป็น.... อัพ๎ยาปัชฌา โหนตุ ....สัตว์ทั้งหลาย (รวมทั้งมนุษย์ด้วย)...อย่าได้เบียดเบียนกันและกันเลย
(เป็นกลางๆ)

http://video.google.com/videosearch?hl= ... &ct=title#

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร