วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: k.คามินธรรม เราหายสงสัยแล้วละค่ะ ว่าส่งการบ้านคืออะไร
:b32: เรามีหนังสือที่คุณแนะนำแล้วนะคะ เราเคยไปที่บ้านอารีย์ มาค่ะ
แต่อยากไปฟังที่ศาลาลุงชินสักครั้งค่ะ ยังไม่เคยเห็นพระอาจาย์สักครั้ง คงเข้าไม่ถึงมังคะ :b9:
ฟังแต่ mp3 ชอบฟังค่ะ ฟังง่าย เข้าใจง่าย ปฏิบัติ......ยาก ค่ะ :b4: :b4: :b4:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


O.wan เขียน:
:b10: :b10: k. walaiporn ก็นั่งธรรมดาๆนี่แหละ ท่าที่คิดว่า ถนัดที่สุด แรกๆเราต้องใช้ความสบายไปก่อน เพื่อจะได้ไม่เกิดความเบื่อ เอามือทั้งสองข้าง วางบนหน้าท้อง เหนือสะดือ หายใจยาวๆช้าๆ ธรรมดาๆนี่แหละ แต่หายใจยาวหน่อย หายใจสั้นจะจับได้ไม่ทัน หายใจเข้า ท้องจะพอง ตามลมหายใจเข้า หายใจออกท้องจะแฟ่บ ตามลมหายใจที่ปล่อยออกไป

:b9: อยากถามว่าการที่เราจะฝึกนั่งสมถะ วิปัสสนากรรมฐานต่างๆ จำเป็นต้องมีพระอาจารย์ฝึก
ด้วยหรือคะ เราเห็นบางคนจะมีพระอาจารย์คอยสอน คือตัวเราเริ่มที่สนใจอยากเข้ามาทางนี้

:b6: เพราะรู้สึกอยากรู้สัจธรรมของชีวิต อยากเข้าใจให้ลึกซึ้งของการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง พอเริ่ม
เข้าวัด ฟังธรรมเทศนา ก็รู้สึกชอบ รู้ถึงความสงบ การปล่อยวาง การรักษาศีล สมาธิ ปัญญา ถึงแม้จะ
เป็นการเริ่มต้น แต่มันทำให้ได้รู้อะไรมากมาย ที่ไม่เคยรู้ และที่สำคัญ เรามีลูกสาว 2 คนกำลังเป็นสาว
เราก็จะหมั่นสอนให้เค้าให้ เริ่มเสียแต่ตอนนี้ในการปฏิบัติให้ถูก เพื่อจะได้มีหลักธรรมไว้เตือนสติ
น่ะค่ะ เพราะเราเริ่มช้าไป เราก็อาศัยลานธรรมจักรนี่แหละค่ะเป็นครูสอน เพราะมีคนคอยชี้แนะเก่งๆ
อย่างการนั่งสมาธิถ้าป็นเมื่อก่อน เราก็แค่คิดว่านั่งหลับตา-ปากท่องพุทโธ ใจก็แล้วแต่จะไป :b32:

:b41: แต่ตอนนี้ก็เข้าใจ แต่แค่ในระดับหนึ่งนะคะ เราไม่มีอาจารย์สอน แต่อาศัยอ่าน+ถาม แล้วก็
หัดแบบที่ถามคุณนี่แหละค่ะ k.walaiporn คิดว่าเราทำแค่นี้ ได้ไม๊คะ

:b39: คือตอนนี้เราก็แค่ตามรู้กาย รู้ใจให้ได้ก่อน สวดมนต์นั่งสมาธิหรือเดินจงกรมเพื่อให้จิตสงบ
น่ะค่ะที่เล่ามาเสียยาวก็คืออยากให้คุณแนะนำด้วยน่ะค่ะ เพราะเรารู้สึกเราต้องการแค่นี้เอง
หรือเพราะเราเห็นคุณๆสนทนาธรรมกันเก่งๆ รู้อะไรมากมาย เราก็เลยคิดว่าเราแค่นี้ก็ o.k.แล้วค่ะ

:b39: หรือว่าต้องปฏิบัติมากกว่านี้ถึงจะได้บุญมากกว่าด้วยหรือเปล่าคะ ช่วยอธิบายด้วยนะคะ :b8:
หรือท่านอื่นๆมีคำแนะนำเราก็ดีนะคะ :b48: :b48: :b48:



สวัสดีค่ะ คุณ owan

:b9: เราสงสัยตอนหายใจเข้า-ออกน่ะค่ะ จำเป็นด้วยไม๊คะว่า หายใจเข้าท้องพอง
แล้วหายใจออกท้องแฟบ ถ้าสลับกันเข้าแฟบ-ออกพองได้ไม๊คะ คือรู้สึกว่าจะถนัดกว่าน่ะค่ะ
ที่ถาม เพราะเห็นหลายที่ปฎิบัติแบบนี้ท้องพอง+ยุบ เลยสงสัย จะได้ฝึกให้ถูกน่ะค่ะ


ยังมีอีกหลายๆคนที่ยังไม่ค่อยเข้าใจในธรรมชาติของร่างกาย เรื่อง การหายใจเข้า หายใจออก เพราะเราไม่เคยสนใจในเรื่องนี้เลย ดิฉันเองก็เคยเป็นหนึ่งในจำนวนคนเหล่านั้น ลองเข้าไปอ่านดูค่ะ ไม่ได้มีคุณคนเดียวที่กำลังสับสน หรือ ไม่แน่ใจในอาการท้องพองยุบ ซึ่งจริงๆแล้ว เวลาหายใจเข้า คุณลองนึกภาพตามนะคะ คุณสูบลมเข้าลูกโป่ง ลูกโป่ง เมื่อมีแรงดันลมเข้าไป ลูกโป่งจะพองถูกไหมคะ แล้วทีนี้ คุณปล่อยลมออกจากลูกโป่ง เมื่อลมออกหมด ลูกโป่งก็จะแฟ่บแบนแต๊ดแต๋ แบบเดิม ถูกไหมคะ ท้องของคนเราก็เช่นเดียวกันค่ะ เมื่อเราหายใจเข้าไป ท้องย่อมพองเป็นธรรมดา เมื่อหายใจออก ลมมันต้องออกมา ท้องก็ต้องแบนลงถูกไหมคะ




การเจริญอานาปนสติ มี 2 ทางให้เราได้ปฏิบัติกันมีทางตรง คือ จับลมหายใจที่ปลายจมูก และทางอ้อม คือ อาการท้องที่พองยุบ ตามลมหายใจเข้าออก ( โผฏฐัพพะ ลมกระทบท้อง อาการของกายนั่นเอง ) สุดแต่ว่า ใครจะถนัดแบบไหน บางคนถนัดจับลมหายใจที่ปลายจมูกโดยไม่ต้องใช้คำบริกรรมภาวนา บางคนถนัดใช้คำบริกรรมภาวนากำกับ เช่นแบบที่คุณทำอยู่ คือใช้พุทโธ หรือ สัมมาอรหัง หรือ นะมะพะทะ ฯลฯ

( ขออภัยด้วยนะคะ ถ้าคำพูดอาจจะวนไปมา ไม่ถนัดอธิบายแบบนี้ค่ะ คือ ต้องสนทนาตัวต่อตัวเลย ถนัดแบบนั้นมากกว่า )

ส่วนที่บอกว่า เป็นการเจริญอานาปนสติทางอ้อม คือ ดูอาการของกาย เช่น ท้องพองยุบ อ้อ ... ตอนนี้ก็มีบางคนจับอาการพองยุบของท้องไม่ได้ หันมาจับการเคลื่อนไหวของทรวงอกแทน อันนี้ดิฉันจะขอพูดในแง่ของพองยุบก่อน

การจับอาการของกาย ท้องพองยุบ มี 2 แบบ คือ

1.ใช้คำบริกรรมภาวนากำกับตามลมหายใจเข้าออกคือ หายใจเข้า ท้องจะพอง ใช้ภาวนา พองหนอ หายใจออก ท้องจะแฟ่บ ใช้คำภาวนา ยุบหนอ ตรงนี้ถ้าอยากได้รายละเอียดมากกว่านี้ คงต้องรบกวนให้คุณกรัชกาย อธิบายอีกที เพราะคุณกรัชกายพื้นฐานตรงนี้จะแน่นมาก อธิบายรายละเอียดได้มากกว่าดิฉัน ดิฉันจะอธิบายตรงนี้ได้แค่หยาบๆ คือ หลักแนวทางการปฏิบัติเท่านั้นเอง

1.2ใช้บริกรรมภาวนาพองหนอ ยุบหนอในใจ โดยไม่ต้องดูท้องพองยุบ คือ หายใจเข้า พองหนอ หายใจออก ยุบหนอ ไม่ต้องดูอาการของกาย อันนี้จะเน้นการบริกรรมภาวนา ทำเหมือนการใช้ภาวนาพุทโธ หายใจเข้า พุท หายใจออก โธ

1.3ปรับลมหายใจก่อน คือ หายใจยาวๆแรงๆ สัก 2 หรือ 3 ครั้ง แล้วหายใจแบบปกติ แต่ให้หายใจยาว จนกระทั่งเห็นอาการของท้องพองยุบ ตามลมหายใจเข้าออก ค่อยเอาคำบริกรรมภาวนา พองหนอ ยุบหนอ กำกับลงไปทุกครั้ง

2.ไม่ใช้คำบริกรรมภาวนา คือ เอาจิตลงไปรู้ที่ท้องพองยุบโดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยคำบริกรรมภาวนา เรียกว่า ดูอาการของกายตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ( ท้องพองยุบตามลมหายใจเข้าออก )

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 17 ก.พ. 2009, 20:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากถามว่าการที่เราจะฝึกนั่งสมถะ วิปัสสนากรรมฐานต่างๆ จำเป็นต้องมีพระอาจารย์ฝึก
ด้วยหรือคะ เราเห็นบางคนจะมีพระอาจารย์คอยสอน คือตัวเราเริ่มที่สนใจอยากเข้ามาทางนี้

มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ค่ะ แล้วแต่ทุน( กุศล ) ที่ติดตัวมา อันนี้หมายถึงขั้นพื้นฐาน แต่ถ้ามีนับว่าเป็นผลดีต่อผู้ปฏิบัติค่ะ ติดขัดตรงไหนจะได้ถามครูบาฯได้

เพราะรู้สึกอยากรู้สัจธรรมของชีวิต อยากเข้าใจให้ลึกซึ้งของการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง พอเริ่ม
เข้าวัด ฟังธรรมเทศนา ก็รู้สึกชอบ รู้ถึงความสงบ การปล่อยวาง การรักษาศีล สมาธิ ปัญญา ถึงแม้จะ
เป็นการเริ่มต้น แต่มันทำให้ได้รู้อะไรมากมาย ที่ไม่เคยรู้ และที่สำคัญ เรามีลูกสาว 2 คนกำลังเป็นสาว
เราก็จะหมั่นสอนให้เค้าให้ เริ่มเสียแต่ตอนนี้ในการปฏิบัติให้ถูก เพื่อจะได้มีหลักธรรมไว้เตือนสติ
น่ะค่ะ เพราะเราเริ่มช้าไป เราก็อาศัยลานธรรมจักรนี่แหละค่ะเป็นครูสอน เพราะมีคนคอยชี้แนะเก่งๆ
อย่างการนั่งสมาธิถ้าป็นเมื่อก่อน เราก็แค่คิดว่านั่งหลับตา-ปากท่องพุทโธ ใจก็แล้วแต่จะไป

อันนี้ ... ก็มีคนหลายๆคนทำแบบคุณน่ะแหละค่ะ ดิฉันเองก็เคยเป็นแบบที่คุณเป็นน่ะแหละค่ะ ปากภาวนา แต่ใจไม่รู้อยู่ไหน


แต่ตอนนี้ก็เข้าใจ แต่แค่ในระดับหนึ่งนะคะ เราไม่มีอาจารย์สอน แต่อาศัยอ่าน+ถาม แล้วก็
หัดแบบที่ถามคุณนี่แหละค่ะ k.walaiporn คิดว่าเราทำแค่นี้ ได้ไม๊คะ


ทำได้ค่ะ ไม่มีอะไรที่คนเราทำไม่ได้หรอกค่ะ ถ้าเราตั้งใจทำซะอย่าง ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยจิตค่ะ



คือตอนนี้เราก็แค่ตามรู้กาย รู้ใจให้ได้ก่อน สวดมนต์นั่งสมาธิหรือเดินจงกรมเพื่อให้จิตสงบ
น่ะค่ะที่เล่ามาเสียยาวก็คืออยากให้คุณแนะนำด้วยน่ะค่ะ เพราะเรารู้สึกเราต้องการแค่นี้เอง
หรือเพราะเราเห็นคุณๆสนทนาธรรมกันเก่งๆ รู้อะไรมากมาย เราก็เลยคิดว่าเราแค่นี้ก็ o.k.แล้วค่ะ


แล้วตัดสินใจแน่นอนแล้วหรือยังคะ ว่าจะทำแบบไหน ระหว่าง ตามรู้กายใจ การภาวนาพุทโธ สรุปแล้วถนัดแบบไหนล่ะคะ จะได้ช่วยแนะนำให้ถูกค่ะ ถ้าถนัดตามรู้กายใจ ก็จะให้ทำแบบเจริญอานาปนสติทางอ้อมค่ะ เพราะการเจริญสติปัฏฐาน ฐานจิต จะไม่มีการใช้บริกรรมภาวนากำกับ แต่จะใช้วิธีรู้ลงไปตรงๆค่ะ

โทษทีค่ะ ... เมื่อวานคำพูดตกไป จะใช้พุทโธ ร่วมกับการดูจิตก็ได้ค่ะ ไม่ต้องไปทิ้งอะไรทั้งนั้นค่ะ ทุกอย่างสามารถนำมาปฏิบัติร่วมกันได้หมดค่ะ


หรือว่าต้องปฏิบัติมากกว่านี้ถึงจะได้บุญมากกว่าด้วยหรือเปล่าคะ ช่วยอธิบายด้วยนะคะ
หรือท่านอื่นๆมีคำแนะนำเราก็ดีนะคะ

เรื่องได้บุญ อันนี้ได้อยู่แล้วค่ะ เพราะเป็นการสร้างกุศลมหากุศล ส่วนปฏิบัติมากหรือน้อย ยิ่งปฏิบัติมากยิ่งดีค่ะ ยิ่งเห็นกิเลสตัวเราเองมากขึ้น ยิ่งทำให้เห็นตามความเป็นจริงมากขึ้น ยิ่งทำให้ปล่อยวางในทุกข์ที่เราไปคิดว่าทุกข์ ได้เร็วขึ้นค่ะ ชีวิตเราเองก็จะยิ่งเจริญรุ่งเรืองไปด้วยค่ะ การก่อให้เกิดภพเกิดชาติ นับวันก็จะยิ่งน้อยลง


เอ่อ ... ช่วยตอบคำถามที่ถามไปแล้วด้วยนะคะ ว่าตัดสินใจยังไง อะไรที่ทำแล้วต้องฝืน อย่าไปทำค่ะ ทำที่เราคิดว่าถนัดที่สุด ทำตรงนั้นไปก่อนค่ะ แล้วที่เราเคยคิดว่ายาก ก้จะทำได้เอง


คิดว่า ... ไม่เคยโพสอะไรยาวๆแบบนี้มาก่อนเลย :b9:

คือ พูดแบบนี้ไม่ค่อยเป็นน่ะค่ะ ถ้าว่าในรูปของการปฏิบัติล่ะก็พูดได้เลย ถนัดแบบนั้นมากกว่าค่ะ :b12:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 17 ก.พ. 2009, 07:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


Puy เขียน:


สมาธิในฌาน

จิตที่เป็นสมาธิในฌานนั้นเป็นสมาธิที่โง่ เพราะจิตที่เข้าฌานนั้นจะต้องเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นอาการที่ว่าความรู้ภูมิจิตภูมิธรรมก็ไม่เกิดขึ้น ครูบาอาจารย์ท่านได้ยืนยันว่าสมาธิในฌานเป็นสมาธิที่โง่แม้แต่โดยหลักท่านยืนยันไว้ว่า ถ้าจิตไปติดอยู่ในความสงบ ในฌานคือขั้นสมถะเท่านั้น อย่างดีก็ให้เกิด อภิญญา สามารถที่จะทำฤทธิ์ต่างๆได้สามารถที่จะรู้ใจของคนอื่นได้สามารถที่จะรู้สิ่งที่ปิดบังซ่อนเร้นอยู่ภายในซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่เหตุผลที่จะพึงกระทำให้หมดกิเลสนั้นยังไม่มีผู้สำเร็จฌานแล้วจะต้องมาเวียนว่ายตายเกิดเพราะจิตไม่มีปัญาลักษณะการรู้จริงที่เรียกว่า อภิญญารู้ใจคนอื่น รู้เหตุการณ์ล่วงหน้ารู้เรื่องอดีตผ่านมาแล้วนานๆในลักษณะอย่างนี้ไม่ได้จัดเข้าอยู่ในลักษณะของปัญญาที่จะเอาตัวรอดได้จากอำนาจของกิเลสเพราะฉะนั้นสมาธิในฌานจึงป็นสมาธิที่ไม่สามารถจะทำผู้ปฏิบัติให้สำเร็จมรรคผลนิพานได้ถึงจะมีบ้างก็มีจำนวนน้อย

จากเทปธรรมบรรยายเรื่องของสมาธิหลวงพ่อพุธ ฐานิโย






ผมเห็นว่า ที่ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านกล่าวคำว่า "สมาธิในฌาน"นี้ ท่านกำลังกล่าวถึง อรัมณูปนิชฌาน(ฌานในสมถะภาวนา) น่ะครับ เช่น การเพ่งกสิณ ๆลๆ


หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย ท่านได้แสดงเรื่องฌาน ไว้ดังนี้

“...ขอพูดถึงเรื่องฌาน ฌาน ว่าโดยสรุปมีอยู่ ๒ ประเภท

ประเภทหนึ่งเรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน ลักษณะของอารัมมณูปนิชฌานมีปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติดังนี้
ในเมื่อผู้ปฏิบัติสามารถทำจิตให้สงบนิ่งลงเป็นสมาธิ ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ หรืออยู่ในระดับแห่งฌานขั้นที่ ๑,๒,๓,๔
ฌานขั้นที่ ๑ มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ฌานขั้นที่ ๒ มี ปีติ สุข เอกัคคตา
ฌานขั้นที่ ๓ มี สุข เอกัคคตา
ฌานขั้นที่ ๔ มี เอกัคคตา กับ อุเบกขา
ฌานประเภทนี้เรียกว่า ฌานสมาบัติ ฌานสมาบัติมีสิ่งรู้อยู่ในจุดเดียว ถ้าจิตเพ่งอยู่ที่นิมิต ก็รู้อยู่ที่นิมิตอย่างเดียว ถ้าจิตเพ่งรู้อยู่ที่จิตก็อยู่ที่จิตอย่างเดียว
อาการแห่งความรู้หรือสิ่งต่างๆ ไม่ปรากฏขึ้น อันนี้เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน ฌานในสมถภาวนา

ประเภทที่ ๒ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน ลักขณูปณิชฌานภาวนาสามารถทำจิตให้สงบนิ่งเป็นอัปปนาสมาธิได้เหมือนกัน แต่เมื่อจิตสงบนิ่งอยู่ในระดับฌานขั้นที่ ๔ ซึ่งมีแต่เอกัคคตากับอุเบกขา ลักษณะของจิตสงบ นิ่ง สว่างไสว วางเฉยเป็นกลางอยู่ตลอดเวลา แต่พร้อมๆ กันนั้น มีบางสิ่งบางอย่างผ่านเข้ามาเป็นเครื่องรู้ของจิต ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างมันจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ เหมือนตามกฎของธรรมชาติ บางทีจะมีปรากฏเหมือนๆ กับมีสิ่งผ่านเข้ามา เหมือนกับขี้เมฆ บางทีก็มีภาวะต่างๆ ปรากฏขึ้นในความรู้สึกของผู้ภาวนา
แต่ผู้ภาวนานั้นรู้เฉยอยู่ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอัตโนมัติ จิตผู้สงบนิ่งนิ่งอยู่ สิ่งที่ผ่านเข้ามาก็ผ่านเข้ามาเรื่อยๆ จิตรู้สิ่งนั้น แต่ไม่มีความสำคัญมั่นหมายว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร
สิ่งที่ผ่านเข้ามานั้นมีความเปลี่ยนแปลง ยักย้ายไม่คงที่ ปรากฏอยู่ตลอดเวลา จิตก็ดูอยู่ที่ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งนั้นๆ แต่หากไม่มีความสำคัญมั่นหมายว่า สิ่งนี้ความเปลี่ยนแปลง หรือเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใดๆ ทั้งสิ้น
เป็นแต่สงบ นิ่ง สว่าง แล้วก็รู้เห็นสิ่งที่ผ่านเข้ามาอยู่ตลอดเวลา และสิ่งที่รู้เห็นนั้นไม่มีภาษา สมมติบัญญัติว่าจะเรียกว่าอะไร ลักษณะอย่างนี้
ลักขณูปนิชฌาน เป็น ฌานในการเจริญวิปัสสนา หรือเป็นการเจริญวิปัสสนาในฌาน…”



อารัมณูปนิชฌาน ท่านใช้คำว่า ฌานในสมถะภาวนา

ลักขณูปนิชฌาน ท่านใช้คำว่า ฌานในการเจริญวิปัสสนา


ซึ่ง ก็เป็นความจริงครับ
ที่การเจริญสมถะภาวนาอย่างเดียว เช่น การเพ่งกสิณ มีโอกาสจะก้าวไปยังวิปัสสนายาก และ จะหลงง่าย โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ไม่มีใครเชี่ยวชาญในการนำสมาธิจากกสิณมาใช้ประโยชน์ต่อยอดในการเจริญวิปัสสนา

แต่ ไม่ได้หมายความถึงว่า ท่านห้ามไม่ให้เจริญสมาธิภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน เช่น เจริญอานาปานสติ น่ะครับ... เกรงจะเข้าใจกันผิด ในจุดนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ตอบปัญหาธรรมในหลวง

http://board.palungjit.com/showthread.php?t=156292




หัวข้อแรกสุด เป็นเรื่อง สมถะ-วิปัสสนา



ถ้าใครยังไม่เคยอ่าน ต้องอ่าน... กระทู้ห้าดาว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนนี้ เป็นอีกจุดหนึ่ง ในประเด็น สมถะ-วิปัสสนา โดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7689


พระราชปุจฉา : สมาธิต่อเนื่องวิปัสสนาทำอย่างไร

หลวงพ่อพุธ : สมาธิต่อเนื่องวิปัสสนา คำว่า วิปัสสนานี่มีอยู่ ๒ ขั้นตอน

ขั้นต้น คือ วิปัสสนาที่ใช้สติปัญญากำหนดพิจารณาเอาเองด้วยความตั้งใจ เช่น เราจะพิจารณาร่างกายให้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ น้อมไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใช้ความรู้สึกนึกคิดที่เราเรียนรู้มานั้นมานึกเอา เรียกว่า การเจริญวิปัสสนาแบบใช้สติปัญญาแบบธรรมดาๆ โดยการพิจารณาเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง, ทุกขัง เป็นทุกข์, อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง

โดยความรู้สึกนึกคิดเอาเองนี่แหละ เป็นการตกแต่งปฏิปทาเพื่อให้จิตสงบลงเป็นสมาธิ แล้วจะเกิดวิปัสสนาขึ้นมาโดยอัตโนมัติ จะปฏิวัติไปสู่ภูมิรู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จงทำความเข้าใจว่า ถ้าสมาธิหรือสมถะไม่เกิดขึ้น ท่านจะเจริญวิปัสสนาอย่างไร ท่านจะไม่ได้วิปัสสนา เพราะวิปัสสนามีมูลฐานเกิดมาจากสมถะ คือ สมาธิ ถ้าสมถะคือสมาธิไม่เกิดขึ้น ท่านจะได้แต่วิปัสสนาแบบนึกคิดเอาเอง เป็นวิปัสสนาภาคปฏิบัติเท่านั้น ยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง



ท่านกำลังแสดง สิ่งที่ในระดับพระสูตรเรียกว่า "การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตคั่นรายการหน่อยครับ เผื่อเป็นแง่คิด :b8:

อ้างคำพูด:
โดยการพิจารณาเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง, ทุกขัง เป็นทุกข์, อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง



รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยปกติก็เป็นไตรลักษณ์หรือเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่เองแล้ว
เขาเป็นอยู่แล้ว
ธรรมชาติ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอย่างนั้น มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
แต่ที่มีปัญหา เป็นเพราะมนุษย์เองมองไม่เห็นธรรมชาติหรือความจริงนั้น :b42:


จิต = วิญญาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ค. 2008, 17:19
โพสต์: 139

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาติแจมนิดนะคะ
ดูจิต.. เห็นจิต.. เป็นหมวดหนึ่งในสติปัฏฐาน ๔
ก็คือการมีสติรู้ชัด เห็นชัด ว่าจิตในขณะนั้นๆเป็นอย่างไร
เหมือนกับหมวดกาย ที่รู้ชัด เห็นชัด ว่าขณะนั้นกำลังดำรงกายอยู่ในลักษณะไหน
ยืน เดิน นั่ง นอน เอี้ยวซ้าย เอี้ยวขวา หรือกำลังหายใจเข้า หรือหายใจออก
ถ้ายังไม่เห็นจิต หรือดูจิตไม่เป็น ก็แนะนำให้เริ่มจากการดูกายค่ะ
มีกระทู้นึง เรื่อง แด่เธอผู้มาใหม่ ของท่านปราโมทย์ ที่เริ่มจากการดูกายแล้วไปถึงการดูจิตอย่างง่ายๆค่ะ
คงต้องรบกวนลูกศิษย์ท่านปราโมทย์ค้นให้ :b1:

ไม่ว่าจะหมวดไหน กาย เวทนา จิต ธรรม
ท่านก็ให้พิจารณาลงท้ายด้วย เราเป็นผู้ที่ไม่ยึดติดในอภิชฌาและโทมนัส(ชอบใจ ไม่ชอบใจ)ค่ะ

.....................................................
สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b32: ขอบคุณนะคะคุณ walaiporn ที่ช่วยอธิบาย เมื่อวานให้ลูกสาวมาช่วยกันทำซิถ้า ว่าหายใจเข้าแล้วท้องพอง หายใจออกท้องยุบ ก็ได้นะคะ
:b29: ที่คุณถาม แล้วตัดสินใจแน่นอนแล้วหรือยังคะ ว่าจะทำแบบไหน ระหว่าง ตามรู้กายใจ การภาวนาพุทโธ สรุปแล้วถนัดแบบไหนล่ะคะ จะได้ช่วยแนะนำให้ถูกค่ะ ถ้าถนัดตามรู้กายใจ ก็จะให้ทำแบบเจริญอานาปนสติทางอ้อมค่ะ เพราะการเจริญสติปัฏฐาน ฐานจิต จะไม่มีการใช้บริกรรมภาวนากำกับ แต่จะใช้วิธีรู้ลงไปตรงๆค่ะ
แต่จะ :b3: ไม๊คะถ้าขอถามอีกหน่อยว่า การรู้กายคือ การบริกรรมพอง-ยุบตามดูท้อง
กับการรู้ใจคือ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก พุทธโธ ที่เราเข้าใจนี่ถูกไม้คะ
( เชื่อหรือยังคะว่าเราเข้ามาลานนี้แบบใหม่แกะกล่องเลย คือเริ่มจากไม่รู้เลย )
คือเราถนัด กำหนดลมหายใจเข้า-ออก มากกว่าค่ะรู้สึกตอนนี้ เริ่มทำได้นานขึ้นK.walaiporn
มีอะไรแนะนำอีกไม๊คะ เผื่อเรายังไม่รู้ เราคงต้องฝึกแค่ขั้นนี้ก่อนน่ะค่ะ เพราะคงต้องใช้เวลาสักระยะ
เห็น k.puy บอกคุยกับคุณเรื่องเรา ขอบคุณนะคะที่พยายามช่วย แต่เราคงไม่อาจสามารถได้ถึงระดับคุณๆหรอกค่ะ เอาแค่พุทโธ ก่อนก็พอแล้วค่ะ แต่ช่วยเจาะลึกอีกนิดนะคะ :b32: :b32: :b32:
และขอขอบคุณทุกคำตอบที่โพสต์มา เห็นบอกว่าไม่เคยเขียนยาวขนาดนี้ รู้สึกเกรงใจ :b5: จังค่ะ
:b17: ที่ให้ถามคุณกรัชกรายเรื่อง ยุบหนอ-พองหนอ เราคงต้องรออีกสักปีน่ะค่ะ เพราะแกเก่งออกซะ
ขนาดนั้น ถามแก :b3: ตายเลยค่ะ
:b29: K.กรัชกรายตอนนี้แกเป็นไอเดิ้ล เรื่องเพลงสำหรับลูกเราไปแล้วค่ะ ไม่รู้อยู่ที่ FM 97.75 หรือเปล่าคะ :b17: :b17: :b17:
:b18: K.puy ขอบคุณนะคะ สำหรับสิ่งดีๆที่ให้ แล้วพี่จะเข้าไปคุยในสนทนาที่ร้านนะคะ :b8:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะคุณ owan

O.wan เขียน:
:b8: :b32: ขอบคุณนะคะคุณ walaiporn ที่ช่วยอธิบาย เมื่อวานให้ลูกสาวมาช่วยกันทำซิถ้า ว่าหายใจเข้าแล้วท้องพอง หายใจออกท้องยุบ ก็ได้นะคะ
:b29: ที่คุณถาม แล้วตัดสินใจแน่นอนแล้วหรือยังคะ ว่าจะทำแบบไหน ระหว่าง ตามรู้กายใจ การภาวนาพุทโธ สรุปแล้วถนัดแบบไหนล่ะคะ จะได้ช่วยแนะนำให้ถูกค่ะ ถ้าถนัดตามรู้กายใจ ก็จะให้ทำแบบเจริญอานาปนสติทางอ้อมค่ะ เพราะการเจริญสติปัฏฐาน ฐานจิต จะไม่มีการใช้บริกรรมภาวนากำกับ แต่จะใช้วิธีรู้ลงไปตรงๆค่ะ
แต่จะ :b3: ไม๊คะถ้าขอถามอีกหน่อยว่า การรู้กายคือ การบริกรรมพอง-ยุบตามดูท้อง
กับการรู้ใจคือ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก พุทธโธ ที่เราเข้าใจนี่ถูกไม้คะ
( เชื่อหรือยังคะว่าเราเข้ามาลานนี้แบบใหม่แกะกล่องเลย คือเริ่มจากไม่รู้เลย )
คือเราถนัด กำหนดลมหายใจเข้า-ออก มากกว่าค่ะรู้สึกตอนนี้ เริ่มทำได้นานขึ้นK.walaiporn
มีอะไรแนะนำอีกไม๊คะ เผื่อเรายังไม่รู้ เราคงต้องฝึกแค่ขั้นนี้ก่อนน่ะค่ะ เพราะคงต้องใช้เวลาสักระยะ
เห็น k.puy บอกคุยกับคุณเรื่องเรา ขอบคุณนะคะที่พยายามช่วย แต่เราคงไม่อาจสามารถได้ถึงระดับคุณๆหรอกค่ะ เอาแค่พุทโธ ก่อนก็พอแล้วค่ะ แต่ช่วยเจาะลึกอีกนิดนะคะ :b32: :b32: :b32:
และขอขอบคุณทุกคำตอบที่โพสต์มา เห็นบอกว่าไม่เคยเขียนยาวขนาดนี้ รู้สึกเกรงใจ :b5: จังค่ะ
:b17: ที่ให้ถามคุณกรัชกรายเรื่อง ยุบหนอ-พองหนอ เราคงต้องรออีกสักปีน่ะค่ะ เพราะแกเก่งออกซะ
ขนาดนั้น ถามแก :b3: ตายเลยค่ะ
:b29: K.กรัชกรายตอนนี้แกเป็นไอเดิ้ล เรื่องเพลงสำหรับลูกเราไปแล้วค่ะ ไม่รู้อยู่ที่ FM 97.75 หรือเปล่าคะ :b17: :b17: :b17:
:b18: K.puy ขอบคุณนะคะ สำหรับสิ่งดีๆที่ให้ แล้วพี่จะเข้าไปคุยในสนทนาที่ร้านนะคะ :b8:



ชื่อ น้ำค่ะ เรียก น้ำ เฉยๆก็ได้ค่ะ เดี๋ยวน้ำขออนุญาติลบลิงค์ที่นำมาวางทิ้งไว้ก่อนค่ะ แล้วถ้าคุณต้องการติดต่อน้ำโดยตรง ให้ คลิกไปตรงชื่อ walaiporn ข้อมูลของน้ำจะโชว์ขึ้นมา และมีลิงค์ที่เป็นเสปสของน้ำโชว์อยู่ เข้าไปที่ลิงค์นั้นได้เลยค่ะ ถ้าจะถามอะไรก็เข้าไปที่คอมเม้นค่ะ ฝากข้อความไว้ได้ ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ แล้วก็รู้สึกยินดีที่ได้มาร่วมเดินทางในเส้นทางธรรมนี้ด้วยกันค่ะ เรามาจับมือไปด้วยกันนะคะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


O.wan เขียน:
:b8: :b32: ขอบคุณนะคะคุณ walaiporn ที่ช่วยอธิบาย เมื่อวานให้ลูกสาวมาช่วยกันทำซิถ้า ว่าหายใจเข้าแล้วท้องพอง หายใจออกท้องยุบ ก็ได้นะคะ


เห็นไหมคะ ว่าไม่ได้ยากอย่างที่คิด


:b29: ที่คุณถาม แล้วตัดสินใจแน่นอนแล้วหรือยังคะ ว่าจะทำแบบไหน ระหว่าง ตามรู้กายใจ การภาวนาพุทโธ สรุปแล้วถนัดแบบไหนล่ะคะ จะได้ช่วยแนะนำให้ถูกค่ะ ถ้าถนัดตามรู้กายใจ ก็จะให้ทำแบบเจริญอานาปนสติทางอ้อมค่ะ เพราะการเจริญสติปัฏฐาน ฐานจิต จะไม่มีการใช้บริกรรมภาวนากำกับ แต่จะใช้วิธีรู้ลงไปตรงๆค่ะ
แต่จะ :b3: ไม๊คะถ้าขอถามอีกหน่อยว่า การรู้กายคือ การบริกรรมพอง-ยุบตามดูท้อง
กับการรู้ใจคือ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก พุทธโธ ที่เราเข้าใจนี่ถูกไม้คะ
( เชื่อหรือยังคะว่าเราเข้ามาลานนี้แบบใหม่แกะกล่องเลย คือเริ่มจากไม่รู้เลย )
คือเราถนัด กำหนดลมหายใจเข้า-ออก มากกว่าค่ะรู้สึกตอนนี้ เริ่มทำได้นานขึ้นK.walaiporn
มีอะไรแนะนำอีกไม๊คะ เผื่อเรายังไม่รู้ เราคงต้องฝึกแค่ขั้นนี้ก่อนน่ะค่ะ เพราะคงต้องใช้เวลาสักระยะ
เห็น k.puy บอกคุยกับคุณเรื่องเรา ขอบคุณนะคะที่พยายามช่วย แต่เราคงไม่อาจสามารถได้ถึงระดับคุณๆหรอกค่ะ เอาแค่พุทโธ ก่อนก็พอแล้วค่ะ แต่ช่วยเจาะลึกอีกนิดนะคะ :b32: :b32: :b32:
และขอขอบคุณทุกคำตอบที่โพสต์มา เห็นบอกว่าไม่เคยเขียนยาวขนาดนี้ รู้สึกเกรงใจ :b5: จังค่ะ
:b17: ที่ให้ถามคุณกรัชกรายเรื่อง ยุบหนอ-พองหนอ เราคงต้องรออีกสักปีน่ะค่ะ เพราะแกเก่งออกซะ
ขนาดนั้น ถามแก :b3: ตายเลยค่ะ
:b29: K.กรัชกรายตอนนี้แกเป็นไอเดิ้ล เรื่องเพลงสำหรับลูกเราไปแล้วค่ะ ไม่รู้อยู่ที่ FM 97.75 หรือเปล่าคะ :b17: :b17: :b17:
:b18: K.puy ขอบคุณนะคะ สำหรับสิ่งดีๆที่ให้ แล้วพี่จะเข้าไปคุยในสนทนาที่ร้านนะคะ :b8:



แต่จะ ไม๊คะถ้าขอถามอีกหน่อยว่า การรู้กายคือ การบริกรรมพอง-ยุบตามดูท้อง
กับการรู้ใจคือ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก พุทธโธ ที่เราเข้าใจนี่ถูกไม้คะ
( เชื่อหรือยังคะว่าเราเข้ามาลานนี้แบบใหม่แกะกล่องเลย คือเริ่มจากไม่รู้เลย

ถูกค่ะ แต่ไม่ถูกทั้งหมด คือ รู้กาย แล้วก็เอาจิตเป็นตัวรู้ ทั้งสองอย่างแหละค่ะ ... น่าจะใช้เนอะ .. ฮ่าๆๆๆ น้ำไม่ค่อยแม่นศัพท์ค่ะ คงต้องรบกวนถามคุณกรัชกายแล้วล่ะค่ะข้อนี้ ว่า เรียกว่า อะไร ...


คือเราถนัด กำหนดลมหายใจเข้า-ออก มากกว่าค่ะรู้สึกตอนนี้ เริ่มทำได้นานขึ้นK.walaiporn
มีอะไรแนะนำอีกไม๊คะ เผื่อเรายังไม่รู้ เราคงต้องฝึกแค่ขั้นนี้ก่อนน่ะค่ะ เพราะคงต้องใช้เวลาสักระยะ


อะไรที่ทำแล้วถนัด ทำไปก่อนค่ะ ไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไร คือ มีแต่ให้เพิ่มหน่อยค่ะ เวลาคุณภาวนา พุทโธ พอไปสักพัหนึ่ง คุณอาจจะจับลมหายใจที่ปลายจมูกไม่ได้ ( อันนี้กรณีที่คุณใช้วิธีจับลมหายใจนะคะ ) หรือ ถ้าไม่ได้จับลมที่ปลายจมูก แต่เพียงแค่ รู้ตามลมหายใจเข้าออก โดยใช้พุทโธ ก็จะเจอสภาวะที่คล้ายคลึงกันค่ะ คือ คำว่า พุทโธ ที่ใช้ภาวนาอยู่จะหายไป บางทีนิ่งไปเฉยๆ ซึ่งคุณไม่รู้จะทำยังไง คุณไปต่อไม่ถูก ให้คุณมารู้ที่ท้องแทนค่ะ ดูอาการท้องพองยุบแทน ดูไปเรื่อยๆ ไม่ต้องภาวนาอะไรทั้งสิ้น พอสักพักหนึ่ง จิตคุณระลึกถึงคำว่า พุทโธ ขึ้นมาเอง คุณก็ภาวนาพุทโธต่อได้ค่ะ วันใด สติ สัมปชัญญะคุณมากพอ คำภาวนา พุทโธที่คุณใช้อยู่ มันจะหายไปเองค่ะ


เห็น k.puy บอกคุยกับคุณเรื่องเรา ขอบคุณนะคะที่พยายามช่วย แต่เราคงไม่อาจสามารถได้ถึงระดับคุณๆหรอกค่ะ เอาแค่พุทโธ ก่อนก็พอแล้วค่ะ แต่ช่วยเจาะลึกอีกนิดนะคะ
และขอขอบคุณทุกคำตอบที่โพสต์มา เห็นบอกว่าไม่เคยเขียนยาวขนาดนี้ รู้สึกเกรงใจ :b5: จังค่ะ


อิอิ ... ปกติ เป็นคนไม่ค่อยชอบคิดอะไรนานๆค่ะ ประมาณว่า รู้สึกอย่างไร ก็จะพูดไปอย่างนั้นทันที แต่การปฏิบัตินี่ มันไม่ใช่เรื่องของความรู้สึก มันเป็นเรื่องรายละเอียด คือ ถ้าสนทนาตัวต่อตัวนี่ มันรอบเดียวเลย แต่โพสอย่างนี้ ต้องค่อยๆคิด ฮ่าๆๆๆๆ มาถูกคนเลยนะคะเนี่ย ... :b12:

การปฏิบัติไม่มีการแบ่งระดับหรอกค่ะ ส่วนที่ครูบาฯท่านพูดว่า นี่ ระดับนี้อนุบาล ระดับนี้ประถม ระดับนี้ มัธยม หมายถึง สติ สัมปชัญญะค่ะ


ที่ให้ถามคุณกรัชกรายเรื่อง ยุบหนอ-พองหนอ เราคงต้องรออีกสักปีน่ะค่ะ เพราะแกเก่งออกซะ
ขนาดนั้น ถามแก ตายเลยค่ะ


การถามความรู้ ไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือน่ากลัวอะไรค่ะ เราเข้าหาความรู้กับคนเก่งๆดีออก ก็ลองคิดว่า คุณกรัชกายเป็นน้ำสิคะ จะได้กล้าที่จะสนทนากับเขา กับน้ำคุณยังกล้าสนทนาด้วยเลยค่ะ เอ ... หรือ ว่า น้ำคิดไปเองคะ ฮ่าๆๆๆๆ

เรื่องปริยัติ ถ้าผู้ที่ได้ศึกษามา เขาย่อมให้ข้อมูลที่ดีกับเรา น้ำเองก็เพิ่งจะมาศึกษาเพิ่มเติมหลังๆนี่เองค่ะ และตอนนี้ก็ยังเป็นผู้ที่ยังต้องศึกษาต่อค่ะ เพียงแต่ว่า เป็นคนที่ค่อนข้างไม่กลัวการพูด พูดถูกพูดผิด มันก้ต้องมีกันบ้างแหละค่ะ แต่ก็รับฟังเวลาเขาๆทั้งหลายท้วงติงมา ... แต่ถ้าเรื่องสภาวะในการปฏิบัตินั้น พูดได้ค่ะ พูดโดยสภาวะ เพราะผ่านตรงนั้นมาแล้ว นำมาถ่ายทอดได้ แต่จะให้อธิบายเป็นศัพท์แสงนี่ อิอิ ... น้ำว่า น้ำปวดหัวตายเลยค่ะ เอาเป็นว่า สภาวะก็ฟังน้ำไปดีไหมคะ ถ้าศัพท์ ก็ฟังคนที่เขาได้ศึกษามาดีกว่าไหมคะ เราพบกันคนละครึ่งทางนะคะ :b32:


K.กรัชกรายตอนนี้แกเป็นไอเดิ้ล เรื่องเพลงสำหรับลูกเราไปแล้วค่ะ ไม่รู้อยู่ที่ FM 97.75 หรือเปล่าคะ

ฮ่าๆๆๆๆ ... นึกภาพของคุณกรัชกายไม่ออกค่ะ ... คงจะเป็นทั้งดีเจธรรมะ และ ดีเจทางโลกกระมังคะ :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ที่ให้ถามคุณกรัชกายเรื่อง ยุบหนอ-พองหนอ เราคงต้องรออีกสักปีน่ะค่ะ เพราะแกเก่งออกซะ
ขนาดนั้น ถามแก :b3: ตายเลยค่ะ



เห็นหน้ากันเมื่อเช้า สายตาย
สายสุขอยู่สบาย บ่ายม้วย
บ่ายยังรื่นเริงกาย เย็นดับชีพนา
เย็นอยู่หยอกลูกด้วย ค่ำม้วย ดับสูญ


พระราชนิพนธ์ ร. ๖ (หากจำไม่ผิด)


ถามเสียเดี๋ยวนี้วันนี้เถอะครับ คุณ O.wan รออีกตั้งปีนานเกินรอ ใจร้อนนะครับ
แล้วใครจะรู้ครับว่า ชีวิตวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร จะได้นั่งอยู่ตรงนี้หรือไม่
กรุณาอย่าเกรงใจเลยนะครับ :b1:
กรัชกายอยู่เพื่อตอบคำถามโยคีผู้ต้องการปฏิบัติกรรมฐาน เพื่อแทนคุณพระศาสดา และพระอาจารย์ครับ :b8:
ยิ่งคุณด้วยแล้วยิ่งยินดีและเต็มใจมากๆเลย :b12:
เพราะอะไร ?
เพราะคุณใฝ่การเรียนรู้ครับ :b8:

จะตั้งกระทู้ใหม่สนทนากับกรัชกายโดยเฉพาะก็ได้ วันไหนมีปัญหาอะไรก็ถาม ไม่มีก็เว้นวันว่างไว้ :b38: :b41:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 22:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2004, 12:30
โพสต์: 147


 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมะที่สอนหากไม่ผิดพลาด ไม่ตำหนิธรรม เหตุแห่งความเจริญ ใครเขาจะไปกีดกั้น

หากสอนธรรมตามแนวทางพระไตรปิฏก แนวครูบาอาจารย์พระป่าที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบใคร เขาจะไปกีดกั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b40: :b39: :b40: ดูลิงค์นี้ประกอบครับ จะได้มีมุมมองกว้างๆในการปฏิบัติกรรมฐาน

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=18951
:b41:
:b8:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2009, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


jojam เขียน:
ธรรมะที่สอนหากไม่ผิดพลาด ไม่ตำหนิธรรม เหตุแห่งความเจริญ ใครเขาจะไปกีดกั้น

หากสอนธรรมตามแนวทางพระไตรปิฏก แนวครูบาอาจารย์พระป่าที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบใคร เขาจะไปกีดกั้น


หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะสำเ้ร็จเป้นพระพุทธเจ้าแล้ว
แล้วออกเทศนาสั่งสอน ก็มีคนต่อต้านมากมายนะครับ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจสิง่ที่ท่านสอน

คำถามคือ ท่านสอนผิด หรือว่าคนเรียนไม่มีปัญญาจะเข้าใจให้ถูก


เวลามีคนวิพากย์วิจารณ์เชิงค้านการดูจิต ผมไม่เห็นจะมีใครเข้าใจจริงๆสักคนนึง
แม้จะอ้างว่าเข้าใจๆ ศึกษาแล้ว
แต่พูดไปแต่ละคำ ฟังก้รู้ว่าไม่ได้เข้าใจอะไรเลย


บางทีก็ไม่รู้หรอกว่า อันที่บอกว่าถูกต้องกว่า ของจริงกว่า
มันก็อันเดียวกับที่ไปค้านนั่นแหละ
เพียงแต่ไม่มีปัญญาจะเข้าใจว่ามันเป็นอันเดียวกัน

ก็เลยหาว่าหลวงพ่อพูดไม่ตรงพระไตรปิฏก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร