วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ BlackHospital ศึกษาทั้งหมด(ไตรสิกขา-วิสุทธิ ๗ –วิปัสสนาญาณ ๙ - โสฬสญาณ )
ลิงค์นี้ครับ :b1:

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15529

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




246px-Pha_Tat_Phanom.jpg
246px-Pha_Tat_Phanom.jpg [ 15.73 KiB | เปิดดู 2514 ครั้ง ]
เสริมความเข้าใจอีกเล็กน้อย

คำว่า “เวทยิต” ที่ “สัญญาเวทยิตนิโรธ” มาจากรากศัพท์เดียวกับเวทนา

และใช้แทนเวทนาบ้างในบางคราว

ฉะนั้นคำว่า เวทยิต ในที่นี้ ใช้แทน เวทนา

เวทนา เวทยิต แปลว่า การเสวยอารมณ์ก็ได้

อารมณ์ที่ได้เสวยแล้วก็ได้



:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:



พระธาตุพนม

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?i ... d&group=21

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 13:15, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ กรัชกาย ครับ

รบกวนถามว่า

มีคำหลายคำ ที่กล่าวและอ้างถึง คัมภีร์วุสุทธิมรรค แต่ไม่มีในพระสูตร ในพระไตรปิฎก
เช่น
โสฬสญาณ
อุปจารสมาธิ
อัปปนาสมาธิ
ภยตูปัฏฐานญาณ
ภยญาณ

อย่างนี้ควรจะพิจารณาอย่างไร ครับ
ควรเชื่อใคร ครับ
ขอบคุณครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ BlackHospital โสฬสญาณ เป็นต้น คุณเข้าไปศึกษาตามลิงค์ที่ให้ไว้แล้วนะครับ

กรัชกายเข้าใจเจตนาคุณ คือว่า คุณไม่ให้เชื่อคำอธิบายจากอรรถกถาให้เชื่อพุทธดำรัสถูกไหมครับ :b1:

คุณควรทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า อรรถกถาท่านอธิบายพุทธวจนะที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น


นี้ก็เช่นกัน => (อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ภยตูปัฏฐานญาณ ภยญาณ)
ที่เห็นนี่เป็นตัวหนังสือ เป็นศัพท์แสงบาลี แต่สาระเป็นนามธรรม คุณจะต้องลงมือปฏิบัติภาวนาอย่างถูกวิธี แล้วคุณจะเข้าใจสาระของศัพท์เหล่านั้น
หากมัวแต่คลำธรรมะเอาจากศัพท์ว่า ศัพท์นี้พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสไว้ ศัพท์นั่นต่างหาก ฯลฯ
คุณจะพลาดโอกาส :b12:

เอาอย่าง่นี้งี้ดีไหมครับ คุณไปตั้งกระทู้ว่าสนทนากับกรัชกาย แล้วจะตามไปสนทนาธรรมด้วย ไม่ต้องเกรงใจครับ :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนพระอรหันต์ ผู้บรรลุนิพพานแล้วโดยสมบูรณ์ย่อมใช้สมาบัติเป็นที่พักอยู่สบายได้

แต่ท่านหาติดใจเพลินไม่ ข้อยืนยันที่เข้าใจง่ายๆ ให้เห็นว่า ฌานสมาบัติตลอดจนนิโรธสมาบัติ

ไม่ใช่นิพพาน ก็คือ หลักที่กล่าวว่า

พระอรหันต์ปัญญาวิมุตไม่ได้อรูปฌาน และจึงเข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ด้วย

ตามหลักฐานที่พบพอจะอนุมานได้ว่า

พระอรหันต์ปัญญาวิมุตนี้ มีมากกว่าพระอรหันต์อุภโตภาควิมุต

เช่น ณ ที่ประชุมสงฆ์แห่งหนึ่ง พระพุทธจ้าตรัสกับพระสารีบุตรว่า

“นี่แน่ะสารีบุตร บรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ๖๐ รูป เป็นเตวิชชะ ๖๐ เป็นฉฬภิญญะ

๖๐ เป็นอุภโตภาควิมุต นอกจากนั้นเป็นปัญญาวิมุต” (= 320 รูป)


(สํ.ส.15/745/281)


ข้อนี้แสดงว่า การเข้าถึงนิพพาน มิใช่อยู่ที่ต้องเข้าถึงนิโรธสมาบัติ หรือ อรูปสมาบัติ

ซึ่งต่ำลงไปกว่านั้น เพราะพระอรหันต์ปัญญาวิมุต ซึ่งไม่ได้สมาบัติเหล่านั้น

ก็ย่อมเป็นผู้บรรลุนิพพานอย่างแน่นอน


:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:


รวมความว่า วิมุตติที่จะเป็นความหลุดพ้นเด็ดขาด ให้เข้าถึงนิพพานอย่างแท้จริง

ต้องจบลงด้วยปัญญาวิมุตติ จึงจะทำให้เจโตวิมุตติ ซึ่งไม่ว่าจะเกิดมีมาก่อนนานแล้วก็ดี

เกิดขึ้นแล้วแต่กลับเสื่อมไปและกลับได้ใหม่อีกแล้วๆเล่าๆ ก็ดี

หรือเจโตวิมุตติที่ได้พร้อมๆกับปัญญาวิมุตตินั้น

โดยฐานเป็นบาทให้แก่ปัญญาวิมุตติก็ดี กลายเป็นอกุปปาเจโตวิมุตติ

คือเจโตวิมุตติที่ไม่กลับเสื่อมได้อีก

หรือเรียกสั้นๆ ก็ได้ว่า อกุปปาวิมุตติ วิมุตติที่ไม่กำเริบ เพราะกำจัดเหตุปัจจัยที่จะทำให้กำเริบ

คืออาสวะทั้งหลายได้แล้ว

นอกจากจะไม่กำเริบแล้ว ยังไม่เปิดช่องให้เกิดโทษข้อเสียหายทั้งแก่ตนและคนอื่นอีกด้วย

คือจะไม่เกิดการติด หรือ หลงเพลินอย่างหนึ่ง และจะไม่นำเอาผลพลอยได้ที่พ่วงมา

กับเจโตวิมุตติ คือ โลกียอภิญญา ไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อสนองความต้องการของตน

ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากเจโตวิมุตติอย่างดีที่สุด

ภาวะอย่างนี้ คือ การมีทั้งเจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติเป็นคู่กัน ซึ่งท่านกล่าวอยู่เสมอว่า

“เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ซึ่งบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย (ที่เกิดขึ้นแล้ว) ดับไปหมด

ไม่เหลือเลย” *

(ม.มู.12/453,458/488,494 ฯลฯ )



และอกุปปาเจโตวิมุตติ อย่างนี้นี่เอง ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นแก่นและเป็นจุดหมาย

ของพระพุทธศาสนา


ดังพุทธพจน์ว่า

“...ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุจะพึงเสื่อมจากอสมยวิมุตตินั้น เป็นไปไม่ได้

ไม่มีโอกาสเลย “

“ภิกษุทั้งหลาย โดยนัยฉะนี้แล พรหมจรรย์ (ศาสนา) นี้ มิใช่มีลาภสักการะและชื่อเสียง

เป็นอานิสงส์

มิใช่มีศีลสัมปทาเป็นอานิสงส์

มิใช่มีสมาธิสัมปทาเป็นอานิสงส์

มิใช่มีญาณทัศนะ เป็นอานิสงส์

แต่พรหมจรรย์นี้ มีอกุปปาเจโตวิมุตติ เป็นผลเป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นจุดหมาย” **

(ม.มู.12/352-3/373)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 13:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขยายความ คห.บน)

เตวิชชะ –ผู้ได้วิชชา ๓

ฉฬภิญญะ -ผู้ได้อภิญญา ๖

อุภโตภาควิมุต - ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน (ทั้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ)

* ใน องฺ.ทสก. 24/75/149 มีคำบรรยายแปลกไปบ้าง คือ เป็น “เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

ที่ซึ่งความทุศีล...ศีล...ราคะ...โกธะ ...อุทธัจจะ ดับไปหมดไม่เหลือเลย”


ในกรณีนี้ อรรถกถาว่าหมายถึง วิมุตติตั้งแต่ขั้นโสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึงอรหัตผล

สีลสัมปทา -ความถึงพร้อมแห่งศีล

สมาธิสัมปทา-ความถึงพร้อมแห่งสมาธิ

** พระสูตรนี้แสดงให้เห็นด้วยว่า บุคคลอาจมัวเมาในลาภสักการะชื่อเสียง ในสีลสัมปทา

ในสมาธิสัมปทา และในญาณทัศนะ แล้วก็เลยติดอยู่ ไม่ก้าวหน้าไปถึงอกุปปาเจโตวิมุตติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 13:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ว่า (สามายิก) เจโตวิมุตติ เป็นของชั่วคราว กำเริบคือเสื่อมถอยได้

ขึ้นต่อเหตุปัจจัยต่างๆ นั้น เหตุปัจจัยเหล่านี้ อาจแบ่งได้ ๓ พวก



พวกที่หนึ่ง คือ

กิเลสในรูปต่างๆ เช่น อาสวะ เป็นต้น ที่ยังไม่ได้กำจัดให้หมดสิ้นไป

เพียงถูกกด ข่มทับ หรือ ทำให้ราบคาบสงบนิ่งไป จึงแฝงตัวรอคอยเวลาอยู่ เช่น

เวลาที่ถูกเย้ายวน ยั่วยุ เวลาที่ปัจจัยฝ่ายสนับสนุน เช่น ศรัทธาอ่อนกำลังลง เป็นต้น


พวกที่สอง คือ

เหตุปัจจัยฝ่ายปรุงแต่ง หรือ เกื้อกูลสนับสนุน เช่น ศรัทธา คือ ความเชื่อความเลื่อมใส

ฉันทะ คือ ความชอบใจ พอใจ ความตั้งใจ ความใฝ่นิยม และความ เป็นต้น

เมื่อใดเหตุปัจจัยฝ่ายนี้เสื่อมลงหมดไป หรือ อ่อนกำลังลง

เจโตวิมุตติก็ย่อมเสื่อมถอยไปด้วย ปัจจัยฝ่ายสนับสนุนนี้อาจเสื่อมไปได้

แม้เพราะสิ่งที่ดีงามถูกต้อง เช่น ครั้งหนึ่ง เคยมีศรัทธาแรงกล้า ต่อสิ่งหนึ่งจนจิตน้อมดิ่งไป

ได้เกิดพลังจิตอุทิศตัวต่อสิ่งนั้นได้

แต่ศรัทธานั้น ปราศจากปัญญาไม่ประกอบด้วยเหตุผล จิตก็ไม่น้อมดิ่งไป เป็นต้น


พวกที่สาม คือ

เหตุปัจจัยแวดล้อมอย่างอื่น แม้เป็นเรื่องทางด้านร่างกายหรือวัตถุภายนอก เช่น โรคภัย

ไข้เจ็บ ความไม่สะดวก ความเป็นอยู่ที่ลำบากแร้นแค้น เช่น ขาดแคลอนอาหาร เป็นต้น


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ในทางปฏิบัติ เหตุปัจจัยทั้งสามนี้มักสัมพันธ์กันเหมือนเป็นอันเดียว เช่น เกิดความลำบากขึ้น

ทำให้ความตั้งใจอ่อนลง กิเลส คือ ความฟุ้งซ่านหงุดหงิดท้อถอยลังเล เป็นต้น ก็เกิดขึ้น

เจโตวิมุตติก็เสื่อมคลาย

ตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีตัวอย่างบางเรื่องในบาลีที่น่าสนใจ

จึงขอนำมาเล่าประกอบไว้บ้างดังนี้


เรื่องที่หนึ่ง (สํ.ส. 15/488/176: สํ.อ. 1/214)

เล่าตามบาลีโดยอาศัยอรรถกถาเชื่อมความว่า

พระภิกษุชื่อว่าโคธิกะ บำเพ็ญเพียรอย่างจริงจังจนได้สามายิกเจโตวิมุตติ คือ โลกียสมาบัติ

แต่ท่านได้รับความทรมานจากโรคเรื้อรังประจำตัวอย่างหนึ่ง

ต่อมาท่านจึงเสื่อมจากเจโตวิมุตตินั้น ท่านตั้งใจ

บำเพ็ญเพียรจริงจัง และได้ เจโตวิมุตตินั้นอีก แต่แล้วก็เสื่อมอีก

กลับไปกลับมาเช่นนี้ถึง ๖ ครั้ง

ครั้น เจโตวิมุตติใหม่อีกเป็นครั้งที่ ๗ ท่านจึงคิดว่า ท่านคงจะเสื่อมจากมันอีกเหมือนครั้งก่อนๆ

ดังนั้น ควรจะตายเสียระหว่างที่ยังได้อยู่นั้นดีกว่าตายเมื่อเสื่อมจากมันไป-

(ตอนนี้อรรถกถาว่า ท่านคิดว่า ถ้าตายตอนฌานเสื่อมแล้ว ก็ไม่แน่ว่าจะได้ไปเกิดที่ไหน

ถ้าตายเวลาที่ฌานยังอยู่ ก็แน่ใจได้ว่าจะไปเกิดในพรหมโลก)

ท่านจึงเอาศัสตรามาฆ่าตัวตาย

แต่ครั้นทำร้ายตนเองแล้ว นอนได้รับทุกขเวทนาอยู่

ท่านตั้งสติได้ กำหนดพิจารณาเวทนา เจริญกรรมฐานเลยได้บรรลุอรหัตผล ปรินิพพาน


อีกแห่งหนึ่ง- (ม.มู.12/308/305 ฯลฯ)

ตรัสถึงสมณพราหมณ์บางพวกซึ่งคิดว่า ถ้าตนจะยุ่งเกี่ยวกับกามคุณอยู่ในโลก

ก็จะเกิดความมัวเมาประมาท แล้วก็จะตกอยู่ใต้อำนาจของมาร จึงสละกามคุณ

ออกไปอาศัยอยู่ในป่า บริโภคผักผลไม้ตามมีตามได้

ต่อมาถึงเวลาแห้งแล้ง หาอาหารยาก อดอยากเข้า ร่างกายก็ซูบผอม หมดเรี่ยวแรงเจโตวิมุตติ

คือ ความปลงจิตปลงใจน้อมดิ่งไปว่าจะอยู่ป่า หรือ ความรักที่อยู่ป่าแต่เดิมนั้น ก็เสื่อมหาย

เวียนกลับมาหากามคุณมัวเมาอยู่ในโลกต่อไปอีก

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

เรื่องทั้งสองข้างต้น ซึ่งแสดงความเสื่อมของเจโตวิมุตติในระดับที่ต่างกันนี้

ยกมาพอเป็นตัวอย่าง สำหรับเทียบเคียงเพื่อให้มองเห็นรูปร่างของเจโตวิมุตติ

และ หนทางที่เจโตวิมุตตินั้นอาจจะเสื่อมไปได้อย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 13:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1672807riz9vk7w5v.gif
1672807riz9vk7w5v.gif [ 108.57 KiB | เปิดดู 2508 ครั้ง ]
ด้วยเหตุที่วิมุตติ มีความหมายต่างออกไปได้หลายระดับ เช่นนี้

ในคัมภีร์ขั้นอรรถกถา ท่านจึงรวมมาจัดเข้าเป็นขั้นตอนให้เห็นชัดยิ่งขึ้น และนิยมจัดแบ่งเป็น ๕ ขั้น

หรือ ๕ ความหมาย เลียนแบบนิโรธ ๕ ขั้น

วิธีแบ่งของท่านแบบนี้ก็ดูครอบคลุมเนื้อหากที่บรรยายมาแล้วได้ดี

และอาจช่วยผู้ศึกษาที่ยังไม่คุ้นให้มองเห็นภาพชัดขึ้นทำให้เข้าใจง่ายเข้าอีก

จึงลองเอาวิมุตติ ๕ นี้ มาเป็นแบบสำหรับทวนความรู้เรื่อง วิมุตติอีกครั้ง

วิมุตติ ๕ - (อุ.อ.40 ที.อ.2/26 ฯลฯ)

นั้นคือ


๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยข่ม (กิเลส) ไว้ คือ ระวังนิวรณ์เป็นต้นได้

ด้วยอำนาจสมาธิ ได้แก่ สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔

แต่บางทีท่านยอมให้ผ่อนลงมารวมถึงอุปจารสมาธิด้วย

๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยองค์ธรรมจำเพาะ คือ พ้นอกุศลอย่างหนึ่งๆ

ด้วยธรรมที่เป็นคู่ปฏิปักษ์กัน ว่าตามความหมายอย่างเคร่ง หรือ ความหมายมาตรฐาน

ได้แก่ พ้นความเห็นผิดยึดถือผิด ด้วยอาศัยญาณ คือ ความรู้ฝ่ายวิปัสสนาที่ตรงข้ามเป็นคู่ปรับ

กัน เช่น พิจารณาความไม่เที่ยง ทำให้พ้นความสำคัญหมายว่าเป็นของเที่ยง เป็นต้น

แต่ว่าตามความหมายที่ผ่อนลงมา ใช้ได้กับความดี ความชั่วทั่วๆไป เช่น

น้อมใจดิ่งไปทางทาน ทำให้พ้นจากความตระหนี่และความโลภ

น้อมใจดิ่งไปทางเมตตา ทำให้พ้นจากพยาบาท หรือ การมองให้แง่ร้าย

พุ่งความคิดไปทางกรุณา หรือ อหิงสา ทำให้พ้นจากวิหิงสา คือ การข่มเหงเบียดเบียน

และความรุนแรง เป็นต้น


วิมุตติตามความหมาย ๒ อย่างแรกนี้คลุมถึงสามายิกเจโตวิมุตติ และเป็นโลกียวิมุตติทั้งหมด


๓. สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยเด็ดขาดหรือตัดขาด คือ การทำลายกิเลสที่ผูกรัดไว้

หลุดพ้นเป็นอิสระออกไปได้ด้วยญาณหรือวิชชาขั้นสุดท้าย ได้แก่ วิมุตติในความหมายที่เป็นมรรค

๔. ปฏิปปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยสงบระงับเรียบสนิทหรือราบคาบไป คือ ความเป็นผู้หลุดพ้น

ออกไปได้แล้ว มีความเป็นอิสระอยู่ เพราะกิเลสที่เคยผูกรัดหรือครอบงำถูกกำจัดราบคามไปแล้ว

ได้แก่ วิมุตติในความหมายที่เป็นผล

๕. นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นที่เป็นภาวะหลุดรอดปลอดโปร่ง คือ ภาวะแห่งความเป็นอิสระ

ที่ผู้หลุดพ้นเป็นอิสระแล้วประสบอยู่ ชื่นชมหรือ เสวยอยู่ และซึ่งทำให้ผู้นั้นปฏิบัติกิจอื่นๆ

ได้ด้วยดีต่อ ๆ ไป ได้แก่ วิมุตติในความหมายที่เป็น นิพพาน


วิมุตติตามความหมาย ๓ อย่างหลังนี้ (3-4-5) เป็นอสามายิกเจโตวิมุตติ และเป็นโลกุตรวิมุตติ

ว่าโดยสาระแท้ๆ วิมุตติ นี้ ก็คือ สมถะ วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน ตามลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 13:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณกรัชกาย

ขออนุญาติเก็บข้อมูลค่ะ

:b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


:b20: เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ*

* ผู้ศึกษาที่ไม่คุ้นเคยภาษาบาลี ไม่พึงสับสนระหว่างเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
หรือ วิมุตติ ซึ่งเป็นภาวะ และอาการ กับอุภโตภาควิมุต และ ปัญญาวิมุต ซึ่งเป็นบุคคล


เพื่อความเข้าใจหัวข้อนี้ง่ายขึ้น พึงทราบความหมายของบางศัพท์ก่อน

:b2: เจโต แปลว่า ใจ
วิมุตติ แปลว่า หลุดพ้น
ปัญญา มีความหมายกว้าง และมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่นว่า สัมปชัญญะ ญาณ วิชชา วิปัสสนา ปริญญา อภิญญา ปฏิสัมภิทา อัญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ

ดังกล่าวเป็นชื่อของปัญญาทั้งสิ้น ซึ่งทำหน้าที่ต่างที่ต่างขณะกัน จึงมีชื่อเรียกต่างกัน คล้ายๆกับคำว่า
วิญญาณทำหน้าที่รู้อารมณ์ทางตามีชื่อเรียก จักขุวิญญาณ ฯลฯ ทำหน้าที่รู้อารมณ์ทางใจมีชื่อเรียก
มโนวิญญาณ

ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริง หรือ รู้ตรงตามความเป็นจริง


:b27: นี่ไง อีกแล้ว ตามมาอ่าน ตามประสา

ขอให้เจริญในธรรม ท่านกรัชกาย
:b27:

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร