วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2009, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m207923.jpg
m207923.jpg [ 272.44 KiB | เปิดดู 7915 ครั้ง ]
ต่อจากกระทู้นี้ (สมถะ-วิปัสสนา)


viewtopic.php?f=2&t=19596

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:




เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ*

* ผู้ศึกษาที่ไม่คุ้นเคยภาษาบาลี ไม่พึงสับสนระหว่างเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

หรือ วิมุตติ ซึ่งเป็นภาวะ และอาการ กับอุภโตภาควิมุต และ ปัญญาวิมุต ซึ่งเป็นบุคคล


เพื่อความเข้าใจหัวข้อนี้ง่ายขึ้น พึงทราบความหมายของบางศัพท์ก่อน


เจโต แปลว่า ใจ

วิมุตติ แปลว่า หลุดพ้น

ปัญญา มีความหมายกว้าง และมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่นว่า สัมปชัญญะ ญาณ วิชชา

วิปัสสนา ปริญญา อภิญญา ปฏิสัมภิทา อัญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ

ดังกล่าวเป็นชื่อของปัญญาทั้งสิ้น ซึ่งทำหน้าที่ต่างที่ต่างขณะกัน จึงมีชื่อเรียกต่างกัน

คล้ายๆกับคำว่า วิญญาณทำหน้าที่รู้อารมณ์ทางตามีชื่อเรียก จักขุวิญญาณ ฯลฯ ทำหน้าที่รู้

อารมณ์ทางใจมีชื่อเรียก มโนวิญญาณ

ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้

ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริง หรือ รู้ตรงตามความเป็นจริง

ท่านอธิบายขยายความออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร

รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย

รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้

เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการ

หรือ ดำเนินการ หรือ ดำเนินการอย่างไร ๆ

แปลกันอย่างพื้นๆ ปัญญา คือความเข้าใจ (หมายถึงเข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้)

เป็นการมองทะลุสภาวะ หรือ มองทะลุปัญหา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 มี.ค. 2010, 15:07, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2009, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




00733-2.jpg
00733-2.jpg [ 32.82 KiB | เปิดดู 7909 ครั้ง ]
(พุทธธรรมหน้า 308)


เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ


วิมุตติ หรือ ความหลุดพ้นนั้น ในระดับสูงสุด ใช้ในความหมายต่างกันแยกได้เป็น ๓ อย่าง

คือ การหลุดพ้น กิริยาที่หลุดพ้นออกมาได้ หรือ อาการที่เป็นไปในขณะหลุดพ้นเป็นอิสระ

วิมุตติในความหมายอย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็นมรรค

อย่างที่สอง ความเป็นผู้หลุดพ้น คือ ความเป็นอิสระในเมื่อหลุดพ้นออกมาได้แล้ว

วิมุตติในความหมายอย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็นผล

และ อย่างที่สาม ภาวะแห่งความเป็นผู้หลุดพ้น ภาวะแห่งความเป็นอิสระที่ผู้หลุดพ้น

หรือ ผู้เป็นอิสระนั้นเข้าถึง และรู้สึกได้ ซึ่งอำนวยความดีงามต่างๆ มีความสุขสบายปลอดโปร่ง

โล่งใจ เป็นต้น

และภาวะแห่งความเป็นอิสระเช่นนั้น ที่มีผู้ยังไม่หลุดพ้นกำหนดเป็นอารมณ์ เช่น นึกถึงคำนึงถึง

หน่วงเอาเป็นจุดหมายในใจ เป็นต้น

วิมุตติในความหมายอย่างนี้ คือ ที่ใช้เป็นไวพจน์ของนิพพาน คือ หมายถึงนิพพานนั่นเอง*

อย่างไรก็ตาม ในความหมายสามอย่างนั้น ข้อที่ถือว่า เป็นความหมายจำเพาะกว่าอย่างอื่น

หรือ เป็นเรื่องของวิมุตติเองแท้ๆ ก็คือ วิมุตติในความหมายที่เป็นผล

และ คำว่า ผลในที่นี้ ตามปกติหมายถึงอรหัตผล -(ความสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในเมื่อละสังโยชน์

ได้หมดสิ้น จิตพ้นจากอาสวะทั้งหลายแล้ว)

ส่วนในความหมายที่เป็นมรรค ก็มีธรรมข้ออื่นเป็นเจ้าของเรื่องอยู่แล้ว โดยเฉพาะวิชชาและ

วิราคะ ซึ่งมักมาคู่กันกับวิมุตตินี้ โดยวิชชาและมรรค หรือ ไม่มีวิราคะเป็นมรรค

วิมุตติเป็นผล

ส่วนในความหมายที่เป็นนิพพาน วิมุตติก็เป็นเพียงไวพจน์ ซึ่งมีนิพพานเป็นคำยืนอยู่แล้ว

( ที.อ. 1/276; ม.อ.2/379 ฯลฯ)


:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:


* อรรถกถา อธิบายว่า นิพพานชื่อว่าเป็นวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากสังขตธรรมทั้งปวง-

มิใช่เพียงหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง


ที.อ.3/224

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 13:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2009, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิมุตติที่เป็นผล โดยเฉพาะอรหัตผลนั้น ท่านมักแยกให้เห็นชัดเป็น ๒ ด้าน คือเป็นเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ

เจโตวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นทางด้านจิต แปลกันว่า ความหลุดพ้นแห่งจิต หรือ ความหลุดพ้นด้วย

กำลังจิตคือด้วยสมาธิ หมายถึง ภาวะจิตที่ประกอบด้วยสมาธิซึ่งกำราบราคะลงได้ ทำให้หลุดพ้นจากกิเลส

เครื่องผูกมัดทั้งหลาย (ราคะในที่นี้ และ ในบาลีทั่วไป ไม่มีความหมายแคบอย่างที่เข้าใจกันในภาษาไทย

คือไม่ใช่เรื่องกามเท่านั้น แต่หมายถึง ความติดใจ ความใคร่ ในอารมณ์ต่างๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม เป็น

ไวพจน์ของตัณหาและกินความถึงโทสะด้วย เพราะโทสะก็คือแรงผลักที่เป็นปฏิกิริยาของราคะนั่นเอง)

ปัญญาวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้านปัญญา แปลกันว่า ความหลุดพ้นด้วยปัญญา แต่ควรจะแปลว่า

ความหลุดพ้นแห่งปัญญาด้วย เพราะหมายถึงปัญญาบริสุทธิ์ หรือความรู้ถูกต้องสมบูรณ์ไม่มีกิเลสบดบัง

หรือ บิดเบือน ซึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้บรรลุอรหัตผล

ในเมื่อปัญญานั้นกำจัดอวิชชาได้แล้ว ทำให้ผู้นั้นหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งปวง ดังบาลีว่า

เพราะสำรอกราคะได้ จึงจะมีเจโตวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงจะมีปัญญาวิมุตติ

(องฺ.ทุก.20/276/78 ฯลฯ)

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


อรรถกถาอธิบายว่า เจโตวิมุตติ ได้แก่ ผลสมาธิ หรือ อรหัตผลสมาธิ หรือ อรหัตผลจิต-

(ที.อ. 1/387; สํ.อ. 2/220 ฯลฯ) (สมาธิ หรือ จิตอันตั้งมั่น ที่เป็นผลแห่งการสำเร็จ

เป็นพระอรหันต์)

และว่า ปัญญาวิมุตติ ได้แก่ ผลญาณ หรือ ผลปัญญา หรือ อรหัตผลญาณ หรือ อรหัตผลปัญญา-

(ที.อ. 1/387; สํ.อ. 2/220 ฯลฯ) (ญาณหรือปัญญาที่เป็นผลแห่งการสำเร็จเป็นอรหันต์)

ผู้บรรลุอรหัตผล จะต้องได้เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตตินี้ครบทั้งสองอย่างทุกคน คำทั้งสองนี้ จึงมาคู่กัน

เสมอในข้อความที่กล่าวถึงการบรรลุอรหัตผล ดังบาลีว่า

“ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป จึงทำให้เห็นประจักษ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ ที่ไม่มีอาสวะในปัจจุบันนี้ทีเดียว”

(ที.สี.9/253/200 ; 2672212ฯลฯ)

เจโตวิมุตติเป็นผลของสมถะ ปัญญาวิมุตติเป็นผลของวิปัสสนา

(อิติ. อ.332)


พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า คำคู่นี้แสดงให้เห็นว่า สมถะและวิปัสสนา จะต้องมาควบคู่กัน

แม้ในขั้นผล เช่นเดียวกับในขั้นมรรค -


(อุ.อ.221)


(แม้ว่า สมถะที่ต้องการในที่นี้ อาจจะเป็นเพียงสมถะในความหมายอย่างกว้างๆ คือ สมาธิเท่าที่จำเป็นเท่า

นั้น ไม่จำต้องเป็นสมถะ ที่ฝึกกันเป็นงานเป็นการ จนได้อภิญญาสมาบัติ) ข้อนี้สมด้วยบาลีว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ เป็นวิชชาภาคิยธรรม คือ สมถะ และ วิปัสสนา”

“สมถะฝึกอบรมแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? (ตอบ) จิตจะได้รับการอบรม

จิตอบรมแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? (ตอบ) ละราคะได้”

“วิปัสสนาฝึกอบรมแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? (ตอบ) ปัญญาจะได้รับการอบรม

ปัญญาฝึกอบรมแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ? (ตอบ) ละอวิชชาได้”

“ภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือ ปัญญาก็ดี ที่เศร้าหมองด้วย

อวิชชา ย่อมเจริญไม่ได้ ด้วยประการดังนี้ เพราะสำรอกราคะได้ จึงจะมีเจโตวิมุตติ เพราะสำรอก

อวิชชาได้ จึงจะมีปัญญาวิมุตติ”*

(องฺ.ทุก.20/275-6/77-8)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 มิ.ย. 2010, 20:45, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2009, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




lotus+07.jpg
lotus+07.jpg [ 15.38 KiB | เปิดดู 7907 ครั้ง ]
(ขยายความ คห.บน)

วิชชาภาคิยธรรม ได้แก่ ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา หรือ ธรรมข้างฝ่ายวิชชา

คือ ธรรมที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดวิชชา

อรรถกถาอธิบายว่า สมถะ ได้แก่ จิตเตกัคคตา- ภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว

คือ สมาธินั่นเอง

วิปัสสนา ได้แก่ ญาณที่กำหนด (พิจารณา) สังขาร

(องฺ.อ.2/33)


* ในบาลี ท่านยกเอาการได้เจโตวิมุตติ และ ปัญญา วิมุตติ เป็นหลักอย่างหนึ่ง

สำหรับแสดงความหมายของการเป็นพระอรหันต์

(เช่น สํ.ม. 19/1624/511)

เป็นเครื่องแสดงว่า พระอรหันต์ทุกท่าน ย่อมได้ทั้งเจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ - เจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ คู่กันของพระอรหันต์นี้ จะมีคำว่า อนาสวะ คือ ไม่มีอาสวะ นำหน้าเสมอ


อนึ่ง มีข้อความในบาลีที่แสดงให้เห็นชัดว่า เจโตวิมุตติ ที่ต้องมาคู่กับปัญญาวิมุตติ

ในการสำเร็จอรหัตผลนี้

หมายถึง สมาธิเท่าที่จำเป็นสำหรับรองรับปัญญาที่ทำอาสวะให้สิ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาธิในขั้น

ฌานสมาบัติ คือ ไม่ใช่เจโตวิมุตติ ชนิดที่หมายถึงสมาบัติ ๘

หลักฐานนี้มีใน องฺ.จตุกฺก. 21/87/114

ซึ่งกล่าวถึงพระอรหันต์ผู้ได้เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
สิ้นอาสวะ แต่ไม่ได้วิโมกข์ ๘ (ฌานสมาบัติ และ นิโรธสมาบัติ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ต.ค. 2009, 13:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2009, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีทั้งเจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ มาด้วยกันครบ ๒ อย่าง จึงเป็นวิมุตติที่สมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาให้ลึกลงไป ย่อมเห็นละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก

ดังที่ทราบกันอยู่แล้วว่า

ผู้ปฏิบัติธรรมจะบำเพ็ญแต่สมถะอย่างเดียวก็ได้ และ สมถะที่บำเพ็ญเช่นนั้น

ย่อมสามารถให้เกิดสมาธิขั้นสูง ถึงฌานสมาบัติ ซึ่งในภาวะเช่นนั้น

กิเลสทั้งหลายย่อมสงบระงับไป เป็นการหลุดพ้นได้อย่างหนึ่ง แต่หลุดพ้นได้เพียงชั่วคราว

ผู้บำเพ็ญสมถะจึงต้องก้าวต่อไปสู่วิปัสสนา คือเจริญปัญญาด้วยจึงจะหลุดพ้นได้แท้จริง

ความข้อนี้ชี้ให้เห็นว่า เจโตวิมุตติอาจมีได้ในกรณีอื่น แม้ที่มิใช่บรรลุมรรคผล

แต่เจโตวิมุตติในกรณีเช่นนั้น ย่อมจะมิใช่เจโตวิมุตติที่เด็ดขาดแน่นอน

ดังนั้น ตัวตัดสินที่แท้จริงจึงได้แก่ปัญญาวิมุตติ ซึ่งทำลายอวิชชาลงไปโดยลำดับ

กำจัดกิเลสเด็ดขาดไปเป็นขั้นๆ

ปัญญาวิมุตติมาเมื่อใด ก็หมายถึงวิมุตติที่เด็ดขาดแท้จริงเมื่อนั้น ยิ่งมีคำว่าอนาสวะประกอบด้วย

ก็หมายถึงวิมุตติขั้นสูงสุดที่สมบูรณ์สิ้นเชิง

แต่การที่ปัญญาวิมุตติมาควบคู่กับเจโตวิมุตติ ก็เพราะต้องอาศัยเจโตวิมุตติเป็นเครื่องเตรียมจิต

ให้พร้อมเท่านั้นเอง

เท่าที่กล่าวมาตอนนี้ ต้องการเน้นความ ๒ ประการคือ

๑. ปัญญาวิมุตติ ใช้ในกรณีเดียว คือ หมายถึงความหลุดพ้นที่เด็ดขาดแน่นอน

จะมาคู่กับเจโตวิมุตติอย่างนี้เสมอ

ส่วนเจโตวิมุตติ อาจใช้ในกรณีอื่นด้วย ดังนั้น ถ้าหมายถึงความหลุดพ้นเด็ดขาด

ขั้นมรรคผลตั้งแต่โสดาปัตติผลขึ้นไป จะต้องมาด้วยกันกับปัญญาวิมุตติอย่างข้างต้นนี้

หรือ มิฉะนั้น ก็ต้องมีคำวิเศษณ์กำกับไว้ด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง

สำหรับระบุให้ชัดว่าเป็นขั้นสุดท้ายเด็ดขาด -(เช่น อกุปปา = ไม่กำเริบ, อสมย = มิใช่ชั่วครั้ง

ชั่วคราว เป็นต้น)

แต่ถ้ามาคำเดียวตามลำพัง หรือ มีคำอย่างอื่นกำกับ ย่อมมิใช่เจโตวิมุตติขั้นสุดท้ายที่เด็ดขาด

สมบูรณ์

๒. เมื่อกล่าวถึงบุคคลผู้บรรลุอรหัตผล โดยแบ่งเป็น ปัญญาวิมุต กับ อุภโตภาควิมุต

พึงเข้าใจว่า ปัญญาวิมุต ซึ่งดูเสมือนจะให้แปลว่า ผู้ได้ปัญญาวิมุตติอย่างเดียวนั้น

อันที่จริง ย่อมได้เจโตวิมุตติด้วย เพราะการได้ปัญญาวิมุตติส่อความคุมถึงอยู่แล้วว่า

ต้องได้เจโตวิมุตติด้วย เป็นแต่หมายถึงเจโตวิมุตติ แบบที่อาศัยสมาธิเพียงเท่าที่จำเป็น

ซึ่งจะต้องมีเป็นธรรมดาอยู่แล้วก่อนที่จะได้ปัญญาวิมุตติ จึงไม่ต้องระบุให้เด่นชัดออกมา

เหมือนกับพูดว่า ผู้เจริญวิปัสสนาอย่างเดียว แต่ความจริงก็ คือ ต้องอาศัยสมถะเพื่อใช้สมาธิเท่าที่

จำเป็นด้วยนั่นเอง


ส่วนอุภโตภาควิมุต ที่แปลว่า ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน ก็เสมือนให้แปลว่า ผู้ได้ทั้งเจโตวิมุตติ

และปัญญาวิมุตติ เท่ากับว่าในกรณีนี้ เน้นคำว่าเจโตวิมุตติให้เด่นชัดออกมา เจโตวิมุตติ

ที่เน้นในกรณีนี้ ย่อมไม่หมายถึงเพียงเจโตวิมุตติอย่างที่จำเป็นต้องมีเป็นธรรมดาอยู่แล้ว

ในขณะที่จะได้ปัญญาวิมุตติ แต่หมายถึงเจโตวิมุตติในความหมายที่เป็นพิเศษออกไป

(คือ วิโมกข์ หรือ ฌานสมาบัติ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 12:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2009, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girljump.gif
girljump.gif [ 128.49 KiB | เปิดดู 7903 ครั้ง ]
เพื่อความเข้าใจข้อความข้างหน้าง่ายขึ้น พึงรู้ศัพท์และความหมายภาษาบาลีที่จะพบข้างหน้าก่อน



อกุปปาวิมุตติ – วิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลาย หรือ ไม่เสื่อมถอย

อกุปปาเจโตวิมุตติ - เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ

อกุปปาวิมุตติ และ อกุปปาเจโตวิมุตติ ใช้แทนกันได้ มีที่มามากมาย

พระไตรปิฎกบาลีฉบับอักษรไทยเป็นอกุปปาวิมุตติ

ฉบับอื่น (โดยเฉพาะอักษรโรมัน) เป็นอกุปปาเจโตวิมุตติ ก็หลายแห่งเช่น วินย.4/16/21

ฯลฯ

ที่เป็นอกุปปาวิมุตติ ตรงกันก็มี เช่น ม.มู.12/320/323 ฯลฯ

ที่เป็นอกุปปาเจโตวิมุตติ ตรงกันก็มี เช่น ที.ปา. 11/376/289 ฯลฯ


สามายิกเจโตวิมุตติ หรือ สามายิกวิมุตติ หรือ สมยวิมุตติ - ความหลุดพ้นแห่งจิตชั่วสมัย คือ ชั่ว

ครั้งชั่วคราว

อสมยวิมุตติ - ความหลุดพ้นที่ไม่ขึ้นต่อสมัย หรือ ไม่ชั่วคราว คือ ยั่งยืนเรื่อยไป

อสามายิกเจโตวิมุตติ - เจโตวิมุตติที่ไม่ขึ้นต่อสมัย

อนิมิตตาเจโตวิมุตติ- เจโตวิมุตติ ที่ไร้นิมิต หรือ มีภาวะไร้นิมิตเป็นอารมณ์


พึงสังเกตคำว่า “อกุปปา” ที่ท่านเติมเข้าข้างหน้าวิมุตติ และเจโตวิมุตติ ให้เป็น

อกุปปาวิมุตติ อกุปปาเจโตวิมุตติ ก็เพื่อเน้นความให้ชัดว่าเป็นวิมุตติขั้นสุดท้ายที่เด็ดขาด

ทั้งนี้เพราะคำว่าวิมุตติ บางคราวไม่แน่นอน ท่านใช้ในความหมายหลวมๆ หมายถึงความหลุดพ้น

ขั้นต่ำลงไปก็มีบ้าง

ส่วนคำว่า เจโตวิมุตติ ยิ่งเบาลงไปกว่านั้นอีก เพราะเจโตวิมุตติอย่างเดียว จะหมายถึงวิมุตติขั้นเด็ด

ขาดไม่ได้เลย การเติมคำว่าอกุปปาลงไปให้แปลว่า เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ ก็เท่ากับพูดว่า เจโต

วิมุตติในที่นี้ หมายถึงเจโตวิมุตติขั้นเด็ดขาดที่มีปัญญาวิมุตติเกิดขึ้นด้วยแล้ว จึงเป็นเจโตวิมุตติที่

ไม่กลับเสื่อมได้อีก

ดังนั้น แม้จะไม่ระบุคำว่าปัญญาวิมุตติไว้ ก็พึงทราบว่าคลุมความถึงปัญญาวิมุตติรวมอยู่ด้วย

แม้คำว่าอสามายิก ในอสามายิกเจโตวิมุตติ พึงเข้าใจอย่างเดียวกัน


มีเจโตวิมุตติ ชื่อเฉพาะอย่างหนึ่งที่อยู่ในขั้นโลกุตระนี้ด้วย คือ อนิมิตตาเจโตวิมุตติ

ซึ่งได้แก่ ผลสมาบัติของพระอริยบุคคลทั้งหลาย กล่าวคือ การที่พระโสดาบัน

พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เข้าสมาธิเสวยรสแห่งการบรรลุธรรม

ในระดับของตนๆ ในเวลาใดก็ตามที่ท่านต้องการพักอยู่สบายๆ ในปัจจุบัน-

(ทิฏฐธรรมสุขวิหาร, พูดอีกอย่างว่า เพื่อเสวยอริยโลกุตรสุข)

ที่เรียกว่า อนิมิตตาเจโตวิมุตติ เพราะเป็นภาวะหลุดพ้นหรือเป็นอิสระของจิต ที่ท่านผู้เข้าสู่ภาวะ

นั้น ไม่กำหนดใจถึงสิ่งใดๆ ไม่ว่าจะเป็นรูป หรือ เวทนา หรือ สัญญา หรือ สังขาร หรือ

วิญญาณก็ตาม

ที่เป็นนิมิต (คือ เครื่องหมาย) ของสังขาร

แต่กำหนดใจถึงนิพพานอย่างเดียว (คือ มีนิพพานเป็นอารมณ์)(ดู ที.ปา.11/320/261 ฯลฯ)

สมยวิมุตติใน ม.มู.12/351/371 ใช้เป็นไวพจน์ของสมยวิโมกข์ หมายถึงโลกียวิมุตติ

หรือ สมาบัติ ๘ นั่นเอง ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 12:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2009, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ย้อนกลับไปหาต้นศัพท์คือ คำว่า วิมุตติอีก


วิมุตติที่ใช้ตามความหมายอย่างกว้าง หรือ อย่างหลวมๆ มีมากนัยหลายระดับ

สำหรับระดับที่ยังไม่ใช่ขั้นสูงสุด

ส่วนมากท่านใช้คำว่า เจโตวิมุตติแทน เพราะเจโตวิมุตติ บ่งอยู่ในตัวแล้วว่า ยังไม่ใช่วิมุตติ

ขั้นสมบูรณ์เด็ดขาด และตามปกติวิมุตติในระดับต่ำลงมา ก็มักเป็นเรื่องของการหลุดพ้น

ด้วยกำลังจิต หรือ กำลังสมาธิทั้งนั้น

นอกจากคำว่า เจโตวิมุตติแล้ว คัมภีร์ขั้นรองลงมาบางคัมภีร์นิยมใช้คำว่า วิโมกข์แทน

แต่ไม่ว่าจะใช้คำว่า วิมุตติ หรือ เจโตวิมุตติ หรือ วิโมกข์ก็ตาม

ท่านมักใส่คำวิเศษณ์ลงกำกับไว้ด้วย เพื่อจำกัดความหมายให้อยู่ในขอบเขตที่ต้องการ เช่น

สามายิกวิมุตติ สามายิกเจโตวิมุตติ สามายิกวิโมกข์ อัปปมัญญาเจโตวิมุตติ

สันตเจโตวิมุตติ ฯลฯ

เมื่อใส่คำวิเศษณ์กำกับทำให้ความหมายจำกัดอยู่ในระดับต่ำๆได้แล้ว

การใช้คำวิเศษณ์ที่ตรงข้ามกับระดับต่ำเหล่านั้นกำกับลงไป ก็เท่ากับทำให้กลับมีความหมาย

เป็นวิมุตติในระดับสูงสุด หรือ ขั้นมรรคผลที่เด็ดขาดนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ การจำกัดความหมายโดยใช้คำวิเศษณ์กำกับ จึงกลายเป็นวิธีที่ท่านนิยมใช้

ทั้งสำหรับความหมายในขั้นสูงสุด และ ความหมายในขั้นต่ำลงมา


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


เมื่อว่าโดยสรุป วิมุตติตามความหมายอย่างกว้างหรือหลวมๆ นั้น จัดได้เป็น ๒ พวกคือ

๑. สำหรับความหมายขั้นสูงสุด นิยมเติมคำวิเศษณ์ลงข้างหน้าวิมุตติ เป็น อกุปปาวิมุตติ

อกุปปาเจโตวิมุตติ อสมยวิมุตติ อสามายิกเจโตวิมุตติ

ทั้งหมดนี้มีความหมายอย่างเดียวกันคือ หมายถึง อริยผล โดยเฉพาะอรหัตผล

ตรงกับความหมายขั้นสุดท้ายที่กล่าวมาแล้ว จึงเป็นโลกุตรวิมุตติ


๒. สำหรับความหมายขั้นต่ำลงมา ซึ่งมีหลายระดับ ท่านเรียกรวมๆ โดยใช้คำว่า

เจโตวิมุตติแต่ลำพังคำเดียวล้วนบ้าง

ใช้ว่า สามายิกเจโตวิมุตติ หรือ สามายิกวิมุตติ หรือ สมยวิมุตติ บ้าง

คำเหล่านี้ คลุมถึงวิมุตติขั้นต่ำลงมาทั้งหมด ซึ่งจัดเป็นโลกียวิมุตติทั้งสิ้น


วิมุตติขั้นต่ำลงมานี้ ท่านมักแสดงความหมายด้วยคำว่า อธิมุตติ หรือ ใช้อธิมุตติ

เป็นไวพจน์-* (ขุ.จู. 30/482/231 ฯลฯ )

คือ หมายถึงภาวะที่จิตน้อมดิ่งไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จนทำให้พ้นจากกิเลส

พ้นจากสิ่งรบกวน หรือสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ ชั่วคราวตลอดเวลาที่อยู่

ในภาวะนั้น เช่น จิตน้อมดิ่งไปในอารมณ์ของฌาน จนพ้นจากนิวรณ์ทั้งหลาย เป็นต้น

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:


* วิมุตติ ที่ใช้ในความหมายว่า อธิมุตตินี้ ใช้ได้แม้กับนิพพาน คือ การน้อมจิตไปยัง

นิพพาน หรือ คำนึงนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งอาจเป็นกิริยาของปุถุชน หรือ พระอริยบุคคล

ทั้งหลาย หรือแม้แต่พระอรหันต์ก็ได้ เช่น สํ.ส.15/612/227 ฯลฯ

ในอภิธรรม (อภิ.สํ. 34/876/339)

ท่านแสดงความหมายของวิมุตติว่ามี ๒ อย่างคือ

จิตฺตสฺส อธิมุตฺติ (ความน้อมดิ่งของจิต) และนิพพาน

อรรถกถา- (สงฺคณี อ. 573)

อธิบายว่า ความน้อมดิ่งของจิตหมายถึงสมาบัติ ๘

เพราะน้อมดิ่งไปในอารมณ์ และ เพราะพ้นอย่างดีจากธรรมที่เป็นข้าศึกทั้งหลาย

(ขุ.จู. 30/482/231) ผ่อนความหมาย ที่ว่าใจน้อมดิ่งนี้ลงไปถึงน้อมดิ่งไปใน

รูป เสียง กลิ่น รส ยศ สุข จีวร บิณฑบาต ในพระวินัย สูตร อภิธรรม ฯลฯ

(รูปาธิมุต จีวราธิมุต วินยาธิมุต ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 12:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2009, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




2038264y1a3fut64v.gif
2038264y1a3fut64v.gif [ 25.81 KiB | เปิดดู 7900 ครั้ง ]
ความหมายหลัก หรือ ความหมายมาตรฐานของ (สามายิก) เจโตวิมุตติ ก็คือ

โลกียสมาบัติทั้ง ๘ อันได้แก่ รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔- (ม.อุ.14/345/235 ฯลฯ)

ปุถุชนจะได้เจโตวิมุตติอย่างสูงก็เพียงขั้นนี้เท่านั้น

บางคราว เพื่อเจาะจงว่าเป็น เจโตวิมุตติขั้นสมาบัติทั้ง ๘ นี้

ท่านเติมคำว่า สันตะลงไปกำกับ เป็นสันตเจโตวิมุตติ

(องฺ.ทุก.20/281/81 ฯลฯ)

หย่อนจากนั้นลงมา (สามายิก) เจโตวิมุตติ หรือ (สามายิก) วิมุตติ มีความหมายกว้างมาก

คือ หมายถึงภาวะที่จิตน้อมดิ่งไปในสิ่งที่ศรัทธา เลื่อมใส เชื่อถือ ชื่นชม ชอบใจ อย่างใด

อย่างหนึ่ง

ภาวะจิตเช่นนี้ ย่อมเป็นไปพร้อมด้วยกำลังจิตที่พุ่งแล่นไปทางเดียวคือ

ทางที่น้อมดิ่งไปนั้น ทำให้เกิดความกล้าหาญและเข้มแข็งมั่นคง ที่จะทำการไปตามแรงศรัทธา

เป็นต้น

พร้อมทั้งเกิดปีติปราโมทย์นำไปสู่ปัสสัทธิ และ สมาธิได้ตามกฎธรรมดาของกระบวนธรรม

(อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท)

ภาวะจิตเช่นนี้ เป็นความหลุดพ้นอย่างหนึ่ง เพราะมีกำลังเหนือกว่า พ้นจากอำนาจของธรรม

ฝ่ายตรงข้ามที่จะมาขัดขวางรบกวน

ท่านเรียกว่า หลุดพ้นจากปัจจนีกธรรม ซึ่งจะถูกข่มไว้ตลอดเวลาที่เหตุปัจจัยของความหลุดพ้นนั้น

ยังดำรงอยู่ คือ ตราบใด ที่กำลังจิตยังแผ่ออก หรือ ถูกผลิตออกมาจากการน้อมดิ่งของจิต

ด้วยอาศัยศรัทธา เป็นต้น เป็นแรงดึง เจโตวิมุตติ หรือ วิมุตติแบบนี้ ก็จะยังคงอยู่ตราบนั้น


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ตามหลักฐานในคัมภีร์ แม้แต่ความคิดใฝ่นิยมที่จะอยู่ในป่า *

ความบันดาลใจเกิดปีติปราโมทย์ใจโลดไป เมื่อใดได้ฟังธรรมกถาบางเรื่องในบางคราว-

(องฺ. ทสก.24/75/149 ฯลฯ)

ก็จัดเป็นเจโตวิมุตติประเภทนี้

ท่านว่า (เจโต) วิมุตติประเภทบางอย่างเป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญงอกงามขึ้นก็มี-

(องฺ.ทสก.24/94/206 ฯลฯ)

(คงจะเป็นวิมุตติประเภทนี้นั่นเอง ที่ท่านจัดเป็นมิจฉาวิมุตติ ในมิจฉัตตาะ 10 ที่

ที.ปา. 11/469/337 ฯลฯ)

(สามายิก) เจโตวิมุตติ บางอย่าง มีชื่อเรียกที่ท่านกำหนดไว้โดยเฉพาะ ตามสิ่งที่ให้จิตกำหนด

เป็นอารมณ์หรือสิ่งที่จิตน้อมดิ่งเข้าไปนั้น

เจโตวิมุตติ ชื่อเฉพาะชนิดที่กล่าวถึงมากที่สุดและท่านสนับสนุนให้ปฏิบัติ ได้แก่

อัปปมาณาเจโตวิมุตติ หรือ อัปปมัญญาเจโตวิมุตติ กล่าวคือ การเจริญสมาธิด้วยการแผ่

เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต อุเบกขาจิต ออกไปอย่างกว้างขวางทั่วไปหมด ไม่จำกัดขอบเขต

ไม่มีประมาณ จนจิตน้อมดิ่งไปในคุณธรรมนั้นๆ เกิดอัปปนาสมาธิเป็นฌาน พ้นจากกิเลสพวกนิวรณ์

และพ้นจากอกุศลที่เป็นคู่ปรับของอัปปมัญญาข้อนั้นๆ คือ

เมตตาเจโตวิมุตติ เป็นอิสระจากพยาบาท

กรุณาเจโตวิมุตติ เป็นอิสระจากวิหิงสา (การเบียดเบียน)

มุทิตาเจโตวิมุตติ เป็นอิสระจากความริษยา

อุเบกขาเจโตวิมุตติ เป็นอิสระจากราคะ

เจโตวิมุตติ ชื่อเฉพาะอย่างอื่นที่ท่านกล่าวถึงบ้างเล็กน้อย คือ

สุญญตาเจโตวิมุตติ

อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ

และ มหัคคตาเจโตวิมุตติ


พิจารณาความหมายตามขอบเขตที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า แรงบันดาลใจหรือความใฝ่นิยม

ตลอดจนความรู้สึกฝากจิตมอบใจต่ออุดมคติ อุดมการณ์หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นวัตถุแห่งศรัทธา

เช่น บรมเทพ หรือ พระเจ้าเป็นต้น ที่ทำให้เกิดความอุทิศตัวต่อสิ่งนั้น ก็เป็นภาวะน้อมดิ่ง

ของจิตระดับหนึ่ง จึงน่าจะเป็นเจโตวิมุตติขั้นหนึ่งหรือ รูปหนึ่งเหมือนกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 12:51, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2009, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




024.gif
024.gif [ 36.1 KiB | เปิดดู 7899 ครั้ง ]
(ไขความ คห.บน)

-สันตะ - สงบ ประณีต ละเอียด

* แปลตามคำในอรรถกถาว่า “อัชฌาสัยที่เกิดขึ้นว่า เราจักอยู่ในป่า”

(ดู ม.มู.12/308/306 ฯลฯ)

-ปัจจนีกธรรม - ธรรมที่เป็นข้าศึก เช่น ความลังเล ย่อท้อ เซื่องซึมและขลาดกลัว

เป็นต้น

- สุญญตาเจโตวิมุตติ - เจโตวิมุตติ ที่อาศัยวิปัสสนากำหนดพิจารณาให้เห็นภาวะที่สังขาร

ทั้งหลายเป็นของว่างเปล่าจากอัตตา คือ ตัวตน

และอัตตนิยะ คือ สิ่งที่เนื่องด้วยตัวตน

-อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ ได้แก่ อากิญจัญญาอรูปฌาน

-มหัคคตาเจโตวิมุตติ -การแผ่ฌานจิต น้อมดิ่งไปในนิมิตแห่งกสิณ ที่กำหนดครอบบริเวณ

สถานที่อันหนึ่ง
กว้างขวางเท่าใดสุดแต่จะน้อมใจไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 12:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




thai-gift019.gif
thai-gift019.gif [ 19.65 KiB | เปิดดู 7897 ครั้ง ]
บางท่านเห็นว่า ภาวะในฌานเป็นนิพพาน หรือ มิฉะนั้นก็ว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ

ซึ่งเป็นสมาบัติสูงสุด เลยจากอรูปฌานไปนั่นแหละ คือการเข้าถึงนิพพาน

คำตอบมีว่า สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ซึ่งยังไม่บรรลุอรหันผล ฌานสมาบัติเหล่านี้

เป็นอุปกรณ์ที่ดีสำหรับการบรรลุอรหันผลต่อไป -


(คือ เป็นเครื่องมือเตรียมจิตให้พร้อม และ ให้อยู่ในสภาพที่จะใช้งานได้ดีที่สุด

นอกจากนั้น ตัวฌานสมาบัติเอง ตลอดจนรูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย ที่มีอยู่ในฌานสมาบัติ

เหล่านั้น ก็ล้วนเป็นสังขารที่ผู้ปฏิบัติธรรม จะหยิบยกขึ้นมากำหนดพิจารณา

ด้วยวิปัสสนาปัญญา เพื่อให้เกิดวิชชาขึ้นได้) - ม.ม.13/20-22/19-22; 157/160 ฯลฯ


:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


อนึ่ง ไม่พึงสับสนกับข้อความที่ว่า ฌานสมาบัติเป็นทิฏฐธรรมนิพพานได้โดยปริยาย

คือโดยภาวะที่กิเลสสงบระงับไปตลอดเวลาที่อยู่ในฌานสมาบัตินั้น ๆ

และไม่พึงเข้าใจสับสนเกี่ยวกับข้อความ ในวิสุทธิ. 3/365 ที่กล่าวถึงพระผู้จะเข้านิโรธสมาบัติ

ว่าท่านมีความประสงค์ว่า

“เราจักเป็นผู้มีจิตถึงนิโรธ คือ (เหมือน) นิพพาน อยู่เป็นสุขเสียในทิฏฐธรรมนี่แหละ”



วิสิทธิ.ฎีกา 3647 อธิบายความตอนนี้ว่า

“เสมือนบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน” (เพราะผู้เข้านิโรธสมาบัติ ไม่มีแม้แต่สัญญาและเวทนา

มีภาวะคล้ายกันมากกับคนตาย)

ความข้อนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า นิโรธสมาบัติเป็นนิพพาน แต่หมายความเพียงว่า

อาศัยนิโรธสมาบัติบรรลุนิพพาน เป็นวิธีหนึ่ง ในการเกี่ยวข้องกับนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมดา

ของผู้บรรลุนิพพานแล้ว ที่จะมีความเกี่ยวข้องกับนิพพานอยู่เรื่อยๆ แม้เมื่อเข้าผลสมาบัติ

พระอริยะทุกระดับก็ย่อมกำหนดใจถึงนิพพานเป็นอารมณ์

:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:


ผู้ที่อ่านบาลีเกี่ยวกับนิโรธสมาบัติ เช่น องฺ.นวก. 23/255/476 ที่ว่า

“ภิกษุ...เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ (และ) อาสวะทั้งหลายของเธอก็หมดสิ้นไป

เพราะเห็นด้วยปัญญา...เพียงเท่านี้.. เรียกว่า ทิฏฐธรรมนิพพาน โดยนิปปริยาย”

ข้อความนี้ ก็ไมได้หมายความว่า สัญญาเวทยิตนิโรธเป็นนิพพาน

การสิ้นอาสวะต่างหากเป็นนิพพาน - (องฺ.อ.3/360 ว่าหมายถึงกิเลสนิพพาน)

เพียงแต่นิพพานนั้น อาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธเป็นฐาน

ใน ที.ปา 11/257/242 ฯลฯ ก็มีบาลีว่า วิโมกข์ ๘ (นิโรธสมาบัติ เป็นวิโมกข์อย่างหนึ่ง)

เป็นสิ่งที่ทำให้แจ้งด้วยกาย - (ที.อ.3/280 ฯลฯ ว่าหมายถึงนามกาย)


ส่วนความสิ้นอาสวะ (ความหมายหนึ่งของนิพพาน) เป็นสิ่งที่ทำให้แจ้งด้วยปัญญา

ใน สํ.สฬ. 18/392/269 มีบาลีว่า สำหรับผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาดับ

(แต่) พระขีณาสพ (คือ ผู้บรรลุนิพพาน) ราคะ โทสะ โมหะ ดับ


และพึงสังเกตว่า ในการเสด็จดับขันธปรินิพพาน - (ที.ม. 10/144/181 ฯลฯ)

พระพุทธเจ้า ทรงเข้าอนุปุพพวิหารสมาบัติโดยตลอด คือ ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปตามลำดับ

จนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ

แต่หาได้ทรงนิพพานในนิโรธสมาบัตินั้นไม่

ทรงออกจากสมาบัตินั้นและเข้าฌาน ออกจากฌาน ย้อนลำดับลงมาเรื่อยๆ

จนถึงปฐมฌาน แล้วกลับเข้าฌานย้อนขึ้นใหม่อีก จนถึงจตุตถฌาน ออกจาก

จตุตถฌาน จึงปรินิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 13:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณกรัชกาย

ขอถามค่ะ ระหว่าง สัญญาเวทยิตนิโรธ กับ อนุปปาทนิโรธ เหมือนกันหรือเปล่าคะ แล้วถ้าแตกต่าง แตกต่างกันตรงไหนคะ

สงสัยน่ะค่ะ พอดีอ่านเจอในหนังสือ แต่ในหนังสือไม่มีเขียนเรื่อง สัญญาเวทยิตนิโรธ มีแต่ อนุปปาทนิโรธ กับ อุปปาทนิโรธ

ถ้าไม่มีคำตอบให้ก็ไม่เป็นไรค่ะ หาในกูเกิ้ลแล้ว หาไม่เจอหรือ หาไม่ถูกจุดก็ไม่ทราบค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1588005lhu1nq7vr7.gif
1588005lhu1nq7vr7.gif [ 27.38 KiB | เปิดดู 7895 ครั้ง ]
แต่สำหรับผู้บรรลุอรหัตผลแล้ว ฌานสมาบัติเหล่านี้ ท่านใช้เป็นที่พักเสวยสุขอย่างอริยชน

จึงเรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรมบ้าง

ทิพย์วิหารบ้าง

อนุปุพพวิหารบ้าง แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ตัวนิพพาน

พูดง่ายๆว่า อุปกรณ์สำหรับบรรลุนิพพาน และเป็นที่พักหาความสบายของผู้บรรลุนิพพานแล้ว


อีกประการหนึ่ง ในทางกลับกัน

การบรรลุนิพพานนี่แหละ ทำให้บุคคลสามารถเข้าถึงและปฏิบัติต่อฌานสมาบัติเหล่านั้นได้ถูกต้อง

เป็นผลดีมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ

คนที่ได้สมาบัติ ๘ แล้ว จะยังเข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ จนกว่าจะได้น้อมสู่นิพพานถึงขั้นเป็นพระอนาคามี

ขึ้นไป จึงจะมีกำลังสมาธิ และ กำลังปัญญาเพียงพอที่จะเข้าสู่ภาวะนั้นได้ (วิสุทธิ. 3/361)


นอกจากนั้น ผู้ที่ไม่บรรลุอรหัตผล ล้วนยังมีรูปราคะและอรูปราคะอยู่ เมื่อได้ฌานสมาบัติแล้ว

ก็อาจเกิดความติดใจเพลิดเพลินกับฌานสมาบัติได้

ฌานสมาบัติ เป็นสิ่งสูงประเสริฐก็จริง แต่หลักพุทธศาสนาสอนว่า ความเพลิดเพลินติดใจในฌาน

สมาบัตินั้น

เป็นจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะก็คือเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้บรรลุนิพพาน

นั่นเอง เช่น ตัวอย่าง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าภิกษุบรรลุอรูปฌานที่ ๔ คือ

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งเป็นขั้นสูงสุดในสมาบัติ ๘ แต่เธอเพลิดเพลินติดใจเวทนา

ในอรูปฌานนั้นเสีย

ก็ย่อมบรรลุนิพพานไม่ได้ เพราะยังมีอุปาทาน คือ ความยึดติดอยู่

และอุปาทานในกรณีนี้ ก็คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะนั่นเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า

อุปาทานอย่างประเสริฐ (อุปาทานเสฏฐ) หรือ ความยึดติดขั้นสุดยอด-

(ม.อ.14/90/78)


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

-ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม - ธรรมเครื่องพักอยู่สบายในปัจจุบัน ได้แก่ (รูป) ฌาน ๔

เช่น ม.อุ.14/100/85 ฯลฯ

-ทิพย์วิหาร- ธรรมเครื่องอยู่อย่างทิพย์ ได้แก่ สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔

(ที.ปา.11/228/232ฯลฯ

-อนุปุพพวิหาร-ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตขึ้นไปโดยลำดับ ได้แก่ สมาบัติ ๘

และสัญญาเวทยิตนิโรธ


(ที.ปา 11 / 365 / 279, 463 / 332 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 13:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ระหว่าง สัญญาเวทยิตนิโรธ กับ อนุปปาทนิโรธ เหมือนกันหรือเปล่าคะ
แล้วถ้าแตกต่าง แตกต่างกันตรงไหนคะ


ไม่เหมือนกันครับ

ต่างกันทั้งอรรถะและพยัญชนะ

สัญญาเวทยิตนิโรธ - สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา

โดยรูปศัพท์ สัญญาเวทยิตนิโรธ - สัญญา+เวทนา+นิโรธ = สัญญาเวทยิตนิโรธ

โดยอรรถ หรือ ความหมาย สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นสมาบัติสูงเลย อรูปสมาบัติอีกขั้นหนึ่ง

คือว่า สมาบัติ ๘ สุดที่เนวสัญญานาสัญญายตนะสมาบัติ ถัดจากนั้นจึงจะถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ

(อ่าน คห.บนประกอบด้วย จะเห็นที่ท่านอธิบายไว้)

ส่วน อนุปปาทนิโรธ แปลตามศัพท์ว่า ดับโดยไม่เกิดขึ้น

อนุปปาทนิโรธ - น+อุปปาท+นิโรธ = อนุปปาทนิโรธ

แต่โดยความหมายแล้ว น่าจะ ได้แก่ นิพพาน ซึ่งดับกิเลสโดยที่กิเลสนั้นไม่เกิดขึ้นอีก

แต่เมื่อดูที่ท่านนำเอา อนุปปาทนิโรธศัพท์นี้ มาผูกอธิบายกับภังคญาณ จึงค้านกับความหมายของศัพท์

ในขั้นนี้ เพราะภังคญาณ ยังเป็นโลกียะ

ดูนะครับ จะนำมาเรียงให้ดู ภังคญาณ ยังอยู่ลำดับดับที่ ๕ เอง ยังอีกไกลกว่าจะถึงมรรค-ผล

นามรูปปริจเฉทญาณ => นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ => สัมมสนญาณ => อุทยัพพยญาณ

=> ภังคญาณ => ภยญาณ => อาทีนวญาณ =>

นิพพิทาญาณ => มุญจิตุกัมยตาญาณ=> ปฏิสังขาญาณ => สังขารุเปกขาญาณ=>

อนุโลมญาณ => โคตรภูญาณ => มรรคญาณ=> ผลญาณ => ปัจจเวกขณณาณ

มรรคญาณ และ ผลญาณ สองอย่างนี้เป็นญาณขั้นโลกุตระ ที่เหลือเป็นญาณขั้นโลกียะทั้งสิ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ต.ค. 2009, 13:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ระหว่าง สัญญาเวทยิตนิโรธ กับ อนุปปาทนิโรธ เหมือนกันหรือเปล่าคะ
แล้วถ้าแตกต่าง แตกต่างกันตรงไหนคะ


ไม่เหมือนกันครับ

ต่างกันทั้งอรรถะและพยัญชนะ

สัญญาเวทยิตนิโรธ - สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา

โดยรูปศัพท์ สัญญาเวทยิตนิโรธ - สัญญา+เวทนา+นิโรธ = สัญญาเวทยิตนิโรธ

โดยอรรถ หรือ ความหมาย สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นสมาบัติสูงเลย อรูปสมาบัติอีกขั้นหนึ่ง
คือว่า สมาบัติ ๘ สุดที่เนวสัญญานาสัญญายตนะสมาบัติ ถัดจากนั้นจึงจะถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ
(อ่าน คห.บนประกอบด้วย จะเห็นที่ท่านอธิบายไว้)

ส่วน อนุปปาทนิโรธ แปลตามศัพท์ว่า ดับโดยไม่เกิดขึ้น
อนุปปาทนิโรธ - น+อุปปาท+นิโรธ = อนุปปาทนิโรธ

แต่โดยความหมายแล้ว น่าจะ ได้แก่ นิพพาน ซึ่งดับกิเลสโดยที่กิเลสนั้นไม่เกิดขึ้นอีก

แต่เมื่อดูที่ท่านนำเอา อนุปปาทนิโรธศัพท์นี้ มาผูกอธิบายกับภังคญาณ จึงค้านกับความหมายของศัพท์
ในขั้นนี้ เพราะภังคญาณ ยังเป็นโลกียะ

ดูนะครับ จะนำมาเรียงให้ดู ภังคญาณ ยังอยู่ลำดับดับที่ ๕ เอง ยังอีกไกลกว่าจะถึงมรรค-ผลครับ

นามรูปปริจเฉทญาณ => นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ => สัมมสนญาณ => อุทยัพพยญาณ
=> ภังคญาณ => ภยญาณ => อาทีนวญาณ =>
นิพพิทาญาณ => มุญจิตุกัมยตาญาณ=> ปฏิสังขาญาณ => สังขารุเปกขาญาณ=> อนุโลมญาณ
=> โคตรภูญาณ => มรรคญาณ=> ผลญาณ => ปัจจเวกขณณาณ

มรรคญาณ และ ผลญาณ สองอย่างนี้เป็นญาณขั้นโลกุตระ ที่เหลือเป็นญาณขั้นโลกียะทั้งสิ้น



ขอบคุณค่ะ เข้าใจค่ะ สำหรับคำอธิบาย :b8:

ดูนะครับ จะนำมาเรียงให้ดู ภังคญาณ ยังอยู่ลำดับดับที่ ๕ เอง ยังอีกไกลกว่าจะถึงมรรค-ผลครับ

-- ต้องขอบคุณอีกครั้งค่ะที่เตือนสติ จริงๆแล้ว ดิฉันไม่ได้คิดอะไรไปไกลว่าอะไรเป็นอะไร รู้แต่ว่า ยิ่งปฏิบัติ สติ สัมปชัญญะยิ่งดีมากขึ้น เพียงแต่เรื่องยังเป็นคนขี้โวยวายก็ยังมีอยู่บ้างค่ะ ถ้าศัพท์อะไรตรงไหน ดิฉันนำมาใช้ไม่ถูกต้อง กรุณาช่วยแนะนำด้วยค่ะ :b8:

แต่เมื่อดูที่ท่านนำเอา อนุปปาทนิโรธศัพท์นี้ มาผูกอธิบายกับภังคญาณ จึงค้านกับความหมายของศัพท์
ในขั้นนี้ เพราะภังคญาณ ยังเป็นโลกียะ

อันนี้ต้องขออภัยจริงๆค่ะ คิดว่า ครูบาฯท่านคงต้องการอธิบายให้ผู้ปฏิบัติไม่ให้ไปติดในอุปปาทนิโรธ ( นิโรธเทียม ซึ่งมีการดับแล้วเกิดขึ้นอีก ซึ่งยังไม่ใช่ของจริง คือ ยังมีคนเข้าใจผิดตรงนี้กันเยอะ แล้วไปหลงผิดคิดว่าตนเองนั้นได้มรรคผลกันแล้ว )

คุณกรัชกาย ช่วยส่งที่อยู่มาทางเมล์หน่อยสิคะ หรือ ไปโพสฝากไว้ในข้อความส่วนตัวก็ได้ค่ะ จะส่งหนังสือวิปัสสนาทีปนีฎีกาไปให้ เพราะคิดว่า น่าจะมีประโยชน์สำหรับคุณ ดิฉันเองก็อาศัยหนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือในแนวทางการปฏิบัติ ไม่งั้นก็อาจจะหลงทางไปเหมือนกันค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ กรัชกาย ครับ

รบกวนถามว่า

"นามรูปปริจเฉทญาณ => นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ => สัมมสนญาณ => อุทยัพพยญาณ
=> ภังคญาณ => ภยญาณ => อาทีนวญาณ =>
นิพพิทาญาณ => มุญจิตุกัมยตาญาณ=> ปฏิสังขาญาณ => สังขารุเปกขาญาณ=> อนุโลมญาณ
=> โคตรภูญาณ => มรรคญาณ=> ผลญาณ => ปัจจเวกขณณาณ"

พระพุทธเจ้าใด้พูดถึง ญาณ ๑๖ หรือ ทุกญาณ ใน ที่นี้ หรือไม่ อย่างไร
เพื่อจะได้ศึกษาในรายละเอียดต่อไป ขอบพระคุณมากครับ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร