วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 08:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ทุกขเวทนา
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

วัดป่าสุนันทวนาราม
บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี



คำนำ

ในหนังสือเล่มนี้ ท่านพระอาจารย์ได้ยกปฏิปทาของครูบาอาจารย์หลายองค์มาบรรยายให้ฟัง เพื่อให้เกิดกำลังใจ และเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ท่านบอกว่า “เราควรพยายามศึกษาและหัดพิจารณาทุกขเวทนาเอาไว้บ้าง ในอนาคตภายหน้าถ้าเราประสบกับทุกขเวทนา เราจะสามารถพิจารณาทุกขเวทนาได้ถูกต้อง สามารถยกเอาทุกขเวทนาเป็นอารมณ์กรรมฐาน อาจจะให้ผลเกิดเป็นดวงตาเห็นธรรมก็เป็นไปได้มาก”
สำหรับ “เนสัชชิก” หรือการปฏิบัติไม่นอนตลอดคืน ก็เพื่อศึกษาทุกข์ ศึกษาอุปาทาน เป็นการปฏิบัติอริยสัจ 4 หรือสติปัฏฐาน 4 โดยตรงเหมือนกัน

คำสอนในเล่มนี้มุ่งเน้นการปฏิบัติเพื่อให้เห็นทุกข์ ดังที่ครูบาอาจารย์พูดว่า “ทุกข์ต้องเห็น ธรรมะต้องเห็น” และหลวงพ่อชาท่านก็สอนว่า “เห็นทุกข์ ไม่มีทุกข์”

ขออนุโมทนากับทุกท่านผู้มีส่วนร่วมในการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ขออานิสงส์นี้จงเป็นพลวปัจจัยให้ท่านและผู้ประพฤติธรรมทั้งหลายได้เห็นทุกข์ และพ้นทุกข์ในที่สุดเถิด


มูลนิธิมายา โคตมี

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สารบัญ

พิจารณาทุกขเวทนา
ทุกขเวทนาเป็นอุปสรรคของผู้ปฏิบัติใหม่
การปฏิบัติจริงจังต้องเริ่มต้นด้วยการพิจารณาเวทนา
ประสบการณ์ของพระอาจารย์
เมื่อเกิดทุกขเวทนามีวิธีกำหนด 2 วิธี

ถ้ามีชีวิตอยู่ได้อีกวันเดียว เราต้องการทำอะไร
ปฏิปทาของท่านพระโมคคัลลานะ

เนสัชชิก
ความง่วงนอนเป็นทุกข์ชนิดหนึ่ง
ปฏิปทาของหลวงพ่อเปลื้อง
ปฏิปทาของหลวงพ่อชา

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


พิจารณาทุกขเวทนา
เทศนาที่วัดป่าสุนันทวนาราม
วันพระที่ 6 สิงหาคม 2536


.........................................................................

ทุกขเวทนาเป็นอุปสรรคของผู้ปฏิบัติใหม่

ผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อเกิดศรัทธาในการปฏิบัติธรรม ก็ลงมือปฏิบัติ นั่งสมาธิ เดินจงกรม เจริญสมาธิ ภาวนา เมื่อเราลงมือปฏิบัติแล้วก็มีอุปสรรคหลายอย่าง ทำให้รู้สึกว่าการปฏิบัติเป็นเรื่องยากลำบากเรื่องหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าเป็นอุปสรรค ยากที่จะปฏิบัติ คือความรู้สึกเจ็บปวด คือทุกขเวทนา ทุกขเวทนาทางกายก็มี ทางใจก็มี อันนี้เป็นอุปสรรคใหญ่สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมใหม่ๆ

แม้แต่ถูกยุงตัวเดียวกัดเมื่อพยายามนั่งเฉยๆ ดูความรู้สึก บางครั้งก็ปวดน่าดูเหมือนกัน ปวดมากเจ็บมากจนแทบจะทนไม่ได้ แต่ใจเรารู้อยู่ว่าเป็นยุงตัวเล็กๆ แล้วพยายามทำใจสงบ พยายามพิจารณา เมื่อเราพิจารณาแล้ว ก็เกิดความรู้หลายอย่าง เช่น เห็นว่ายุงตัวเดียวสามารถทำให้เราทุกข์ทรมานได้ถึงขนาดนี้ นั่งสมาธิโดยเฉพาะผู้ปฏิบัติใหม่ๆ นั่งครึ่งชั่วโมงก็ปวดขา ปวดเท้า ปวดเอว “ปวด” เป็นทุกขเวทนาทางกาย

แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ ทุกขเวทนาทางใจ เมื่อนั่งสมาธิไม่ได้ เกิดความฟุ้งซ่านรำคาญหงุดหงิด ก็เลิกนั่งสมาธิ ความจริงเราตั้งใจว่าจะนั่งสมาธิ 1 ชั่วโมง แต่ทำไม่ค่อยสำเร็จ เพราะทุกขเวทนาทั้งกายและใจ ทำให้เรามีความรู้สึกท้อถอย ท้อแท้ใจ สู้ไม่ไหว

ทุกขเวทนาจึงเป็นอุปสรรคสำหรับสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆ หรือว่าบางช่วงอาจจะตั้งใจปฏิบัติจริงจัง แต่เกิดความเจ็บไข้ป่วยขึ้นอีก เกิดอุปสรรคสารพัดอย่าง สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมก็ต้องเอาชนะให้ได้ อันนี้จำเป็นมากที่จะต้องเข้าใจทุกขเวทนาตามความเป็นจริง จนเอาชนะและปล่อยวางได้หรือว่า ข้ามเวทนา ได้

ปกติการนั่งสมาธิก็เกิดทุกขเวทนา แต่เราต้องพยายามหัด นั่งใหม่ๆ อาจจะนั่งได้ 15 นาท 20 นาที หรือครึ่งชั่วโมง สำหรับผู้ที่ทำได้แล้วก็นั่งสมาธิได้ 1 ชั่วโมงสบายๆ ผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ก็ตั้งใจเหมือนกัน แต่เมื่อนั่งจริงๆ แล้วมันก็ยาก นั่งไปๆ ก็เกิดทุกขเวทนาอยู่อย่างนั้น ก็เปลี่ยน เราพยายามนั่งเฉยๆ อดทนต่อสู้อยู่เหมือนกัน

แต่พอถึงจุดหนึ่ง เราก็รู้สึกว่าถ้าเรานั่งนานกว่านี้กระดูกอาจจะหัก กล้ามเนื้ออาจจะฉีก เส้นประสาทจะขาด ความรู้สึกก็มีลักษณะอย่างนั้น ถึงจุดนี้แล้วเราก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบถ เพราะมีความรู้สึกจริงๆ ว่า ถ้านั่งต่อไปอีกหนึ่งนาทีหรือ 5 นาที พรุ่งนี้เราจะต้องเข้าโรงพยาบาล พิการแน่ ร่างกายจะถูกทำลายจริงๆ ด้วยความรู้สึกอย่างนี้เกิดขึ้นจริงๆ พอถึงจุดนี้ก็นั่งต่อไปไม่ได้เราก็เปลี่ยนอิริยาบถ จะนั่งมา 10 ปี 20 ปี ก็ตาม ตั้งแต่เราเริ่มปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบันนี้ ถึงจุดนี้เราก็ขยับ ใจไม่สู้ กลัว กลัวว่าพรุ่งนี้พิการแน่ เดินไม่ได้แน่

เวทนาอนิจจา เวทนาอนัตตา เวทนาไม่เที่ยง เวทนาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน อันนี้ก็อยู่ในบทสวดมนต์ สำหรับเรามันไม่ใช่อย่างนั้น ความรู้สึกจริงๆ เราก็นึกตลอดไปว่า ถ้าไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ร่างกายก็จะเสีย จะพิการแน่นอน


(มีต่อ 1)

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


การปฏิบัติจริงจังต้องเริ่มต้นด้วยการพิจารณาเวทนา

บางครั้งรู้อยู่ว่าร่างกายไม่เสีย เช่นเกิดทุกขเวทนาเพราะยุงกัด เราก็ไม่กลัวว่าร่างกายจะเสีย แต่ใจทนไม่ได้ เหตุที่ยุงกัดจะทำให้กระดูกหักกล้ามเนื้อฉีก อันนี้เป็นไปไม่ได้แน่ๆ เข็มเล็กๆ นิดเดียวอยู่แล้ว ใจก็บอกว่าไม่เป็นอะไร แต่บางครั้งก็เจ็บปวดจนใจจะขาด ทนไม่ได้ การปฏิบัติของเราก็ได้แค่นี้

เมื่อเราอ่านพระสูตร จะพบว่าพระพุทธเจ้าทรงเทศนาบ่อยๆ ทำนองว่าเมื่อเราตื่นแต่เช้าตี 2 ลุกขึ้นแล้วก็ นั่งสมาธิ เดินจงกรม กำจัดถีนมิทธะนิวรณ์ คือความง่วงเหงาหาวนอน ขับความง่วงนอนออกจากจิตใจ นั่งสมาธิ เดินจงกรม ภาวนาจนรุ่งอรุณ สว่าง

เมื่อสว่างแล้วก็ห่มจีวรด้วยมีสติสัมปชัญญะ ถือบาตรออกบิณฑบาต ด้วยความสำรวมอินทรีย์ บิณฑบาตเสร็จ กลับมาวัด รับอาหารบิณฑบาต บริโภคด้วยการพิจารณาตามปฏิสังขาโย ฉันเสร็จล้างบาตรเสร็จแล้ว ก็หาที่สงบในกุฏิก็ได้ ตามต้นไม้ก็ได้

แล้วนั่งขัดสมาธิด้วยสัมมาทิฏฐิ ตั้งใจว่าจะไม่เลิกจนกว่าจะสิ้นอาสวะกิเลส ท่านก็ไม่พูดถึงอะไรมากมาย แต่เมื่อเราพิจารณาแล้วก็คือนั่งขัดสมาธิเด็ดขาดนั่นเอง อันนี้เป็นการนั่งสมาธิแบบพระพุทธเจ้า หรือนั่งสมาธิแบบพระอริยสาวก คือ นั่งสมาธิด้วยความเด็ดเดี่ยว

แม้แต่ครูบาอาจารย์ก็สอนคำว่า “นั่งจนตาย” อันนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติจริงจัง ผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ก็อาจจะนั่งสบายๆ พอทำใจสงบๆ บ้าง แล้วก็อยู่อย่างนั้น บางครั้งก็นั่ง บางครั้งก็ไม่นั่ง อยู่ที่วัดก็นั่งได้นาน นั่งบ่อยๆ อยู่ที่บ้านก็แล้วแต่ บางช่วงก็นั่ง บางช่วงก็ไม่นั่งเลย อย่างไรก็ตามเราก็ปฏิบัติมาหลายปี ถือว่าเป็นการปฏิบัตินั่นแหละ แม้แต่ปฏิบัติมา 20 ปี 30 ปีก็ตาม นั่งสมาธิลักษณะอย่างนี้เราก็ปฏิบัติกันอยู่

แต่ถ้าปฏิบัติจริงจัง ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการข้ามเวทนา นั่งจนตายนี่แหละ เมื่อผ่านได้ก็ไม่ต้องกลัวทุกขเวทนา แล้วนั่งได้นานๆ นั่งได้สบาย เกิดสมาธิง่าย เกิดสมาธิแล้วก็เกิดปัญญา

ฉะนั้น จะว่าจำเป็นก็ไม่ใช่ แต่ว่าสำหรับนักปฏิบัติส่วนใหญ่ก็ต้องผ่านอันนี้ มนุษย์ทุกคนต้องประสบทุกขเวทนาไม่วันใดก็วันหนึ่ง ถ้าเราไม่เคยผ่านการต่อสู้กับเวทนามาก่อน เมื่อประสบกับทุกขเวทนาทรมาน จิตใจก็ทรมานเหมือนตกนรก

ทางที่ดีที่สุด เราควรพยายามศึกษาและหัดพิจารณาทุกขเทนาเอาไว้บ้าง อันนี้มีค่ามาก ทำให้เราเป็นผู้ไม่ประมาท ในอนาคตภายหน้าถ้าเราประสบกับทุกขเวทนาแล้ว เราจะสามารถพิจารณาทุกขเวทนาได้ถูกต้อง สามารถยกเอาทุกขเวทนาเป็นอารมณ์กรรมฐาน อาจจะให้ผลเกิดเป็นดวงตาเห็นธรรมก็เป็นได้มาก สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมอย่างน้อยก็ต้องเข้าใจวิธีการ ด้วยการตั้งใจปฏิบัติพิจารณาทุกขเวทนาบ่อยๆ

เท่าที่อาจารย์รู้จักนะ ก็ทำกันไม่ค่อยสำเร็จหรอก นั่งสมาธิกันมาหลายครั้งหลายหน พอมาถึงความรู้สึกจุดหนึ่งก็เกิดห่วงร่างกายรู้สึกว่าร่างกายจะเสียจะพังไปแล้ว เราทนไม่ได้ก็ต้องเลิก นั่งกี่ครั้งกี่หนพอมาถึงจุดนี้ก็ต้องเลิก เรายังห่วงสุขภาพร่างกายอยู่ รักชีวิตอยู่อันนี้ก็ไม่เป็นอะไร เป็นธรรมดาสำหรับปุถุชน แต่ในอนาคตข้างหน้าเมื่อเราแก่กว่านี้ คงจะเกิดเจ็บไข้ป่วยจนจะตายแน่ๆ คุณหมอเยียวยารักษาสุดความสามารถแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ รักษาอย่างไรก็ไม่มีโอกาสหายโรคแล้ว ไม่มีอะไรจะพึ่งได้แล้วนอกจากธรรมะ

ขณะนั้นแหละถ้าเราได้ฝึกหัดพิจารณาทุกขเวทนาไว้บ้าง เราก็จะสามารถปฏิบัติเอาจริงเอาจังที่สุดในชีวิต ในชาตินี้ เดี๋ยวนี้ เพราะขณะนั้นจิตใจก็ไม่อาลัยอาวรณ์ในร่างกายแล้ว แก่ เสีย พังเต็มที่แล้ว จิตก็ปล่อยทิ้งร่างกาย หน้าที่ของเราขณะนั้นคือรวบรวมกำลัง สติ สมาธิ ปัญญา ต่อสู้พิจารณาทุกขเวทนา พิจารณาเห็นกายเป็นสักแต่ว่ากาย พิจารณาเห็นเวทนาเป็นสักแต่ว่าเวทนา พิจารณาเห็นจิตเป็นสักแต่ว่าจิต อาจจะเข้าใจธรรมะตามความเป็นจริงในวาระสุดท้ายก็เป็นไปได้มาก

ฉะนั้น การปฏิบัติธรรมะอย่างเอาจริงเอาจังอาจช่วยเราได้ในอนาคต ถ้าเราไม่ประมาทเราก็ต้องสร้างศรัทธา สร้างกำลังใจ ปฏิบัติจริงจังเดี๋ยวนี้

การพิจารณาทุกขเวทนา
หรือว่าข้ามเวทนานี้ไม่ใช่เรื่องวิเศษวิโสอะไรมากมาย


เป็นเบื้องต้นของการปฏิบัติอย่างจริงจังเท่านั้น แต่เราต้องผ่าน ผ่านได้ก็ดี ถ้าไม่ผ่านก็นั่งนานไม่ได้ กลัวเวทนาก็ปฏิบัติไม่ก้าวหน้า การปฏิบัติก็เพื่อพ้นทุกข์ เพื่อไม่กลัวทุกขเวทนา เพื่อทำจิตใจให้อิสระจากเวทนาอยู่แล้ว เราจึงควรจะพยายามสร้างศรัทธาหาอุบาย

การศึกษาประวัติพระพุทธเจ้าเป็นวิธีหนึ่ง การศึกษาประวัติครูบาอาจารย์ก็เหมือนกัน ครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติอย่างไร โดยเฉพาะท่านพิจารณาทุกขเวทนาอย่างไร ท่านมีประสบการณ์อย่างไร หรือว่าพิจารณาความแก่เจ็บตายอะไรก็แล้วแต่ ที่เหมาะสมกับจิตใจของเรานี้แหละ

ต้องมีความรู้สึกว่า การปฏิบัติธรรมะสำคัญยิ่งกว่าชีวิต กระดูกจะหัก กล้ามเนื้อจะฉีก เส้นประสาทจะขาด แม้แต่ใจจะขาดจริงๆ ตายจริงๆ ก็ไม่เสียดายเพื่อปฏิบัติธรรมะ ถ้าเรามีความรู้สึกอย่างนี้ก็ใช้ได้ [/size]

การพิจารณาทุกขเวทนาหรือว่านั่งจนตายหรือ
การข้ามเวทนานี้ ไม่ใช่ทำได้ด้วยตั้งใจ ด้วยตัณหา


ลองดูก็ได้ เอาเดี๋ยวนี้ทำเดี๋ยวนี้ก็ทำไม่ได้หรอก เอาพรุ่งนี้ก็ทำไม่ได้ แม้แต่เราจะต้องการอย่างนั้น ต้องการอยากจะนั่งสมาธิจนข้ามเวทนา มีความอยากขนาดไหนปกติก็ทำไม่ค่อยได้ อันนี้เราต้องสร้างอินทรีย์ 5 ให้สมบูรณ์ จนกระทั่งมีศรัทธาเป็นใหญ่ของใจ มีวิริยะเป็นใหญ่ของใจ มีสติเป็นใหญ่ของใจ มีสมาธิเป็นใหญ่ของใจ มีปัญญาเป็นใหญ่ของใจ หมายความว่า ในขณะนั้นในใจของเรามีแต่ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาเป็นใหญ่ ฝ่ายตรงกันข้ามไม่มีโอกาสครอบงำจิตใจได้ เพราะพละกำลังมากจนเป็นอินทรีย์แล้ว

ในขณะนั้นความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาทและความหลงครอบงำจิตใจเราไม่ได้ ถ้าเราสามารถสร้างอินทรีย์ได้แล้วเราก็ไม่กลัวอะไรอีก ทุกขเวทนาก็ไม่ใช่อุปสรรคของการปฏิบัติธรรมอีกต่อไป เพราะเรารู้สึกว่าธรรมะสำคัญกว่าชีวิตหรือสุขภาพร่างกาย และทุกขเวทนาก็เป็นธรรมะ เป็นทุกขอริยสัจในอริยสัจ 4 เราจึงเอาทุกขเวทนาเป็นอารมณ์กรรมฐานเป็นครู เป็นอาจารย์ เป็นเพื่อนของเรา


(มีต่อ 2)

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ประสบการณ์ของพระอาจารย์

สำหรับอาจารย์ก็มีอยู่เหมือนกัน วันหนึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้วว่า ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบันนี้ การปฏิบัติเอาจริงเอาจังโดยถือว่าการปฏิบัติสำคัญกว่าชีวิตหรือสุขภาพร่างกายมีสักครั้งหนึ่งไหม คิดแล้วก็รู้สึกว่าไม่มีเลย จิตใจก็เกิดสลดสังเวช

ความจริงเราก็พยายามปฏิบัติเอาจริงเอาจังอยู่เหมือนกัน อดข้าวก็หลายวัน อดข้าว 8 วัน 10 วัน 30 วัน บางทีก็นั่งสมาธิไม่ได้นอนทั้งพรรษา พยายามอยู่ในอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง ไม่นอน นั่งหลับบ้าง นิดหน่อยน้อยที่สุด อยู่ในอิริยาบถ ยืน เดิน นั่งหลายเดือน นั่งสมาธิมากๆ บ้าง เดินจงกรมมากๆ บ้าง ได้พยายามทำความเพียรสารพัดอย่างอยู่เหมือนกัน แต่ยังไม่เคยปฏิบัติเอาจริงเอาจังแบบไม่เสียดายแม้แต่ชีวิต ตามที่พระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ได้ปฏิบัติมา

เราก็พยายามนึกถึงปฏิปทาของพระพุทธเจ้า ของพระอริยสาวก โดยเฉพาะครูบาอาจารย์ที่เรารู้จัก ท่านปฏิบัติอย่างไร เราพยายามระลึกถึงจนเกิดความรู้สึกแปลกๆ รู้สึกสลดสังเวชใจ แล้วจิตใจก็สงบ พิจารณาแล้วเห็นว่า การปฏิบัติของเราถ้าเปรียบกับไม้ 2 อันที่เสียดสีกันเพื่อให้เกิดไฟ กำลังร้อนขึ้นมาหรือกำลังออกควันไฟ เราก็หยุดพักเหนื่อย หยุดปฏิบัติ เป็นอย่างนี้มาทุกครั้ง จึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร เราก็เลยตั้งใจจะปฏิบัติดูบ้าง สักครั้งหนึ่งก็ยังดี

เรียกว่าปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังอย่างที่ครูบาอาจารย์เรียกว่า “นั่งจนตาย“ หรือที่พระพุทธเจ้าทรงอธิฐานจิตว่า “แม้หนัง เอ็น กระดูก เท่านั้นจักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระนี้จักเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์อันใดอันบุคคลจะพึงลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จะหยุดความเพียรของบุรุษเสียเป็นไม่มี ดังนี้”

เมื่อคิดๆ คิดๆ ก็เกิดกำลังใจ เกิดศรัทธา จิตใจก็ทำงาน
คิดแนวเดียวจนใจสงบ ก็มีความรู้สึกว่า “ตายคืนนั้น” ใจก็มีความรู้สึกว่าตายจริงๆ ด้วย คืนนี้ตั้งแต่เย็นๆ ก็จะนั่งขัดสมาธิ นั่งจนตาย ใจก็พร้อมที่จะนั่งจนตาย แต่ไม่ฟุ้งซ่าน สงบ ตั้งแต่บ่ายโมงใจก็นึกว่า ถ้าเราตายจะต้องมีคนมาที่กุฏิ เราต้องจัดผ้าพับให้เรียบร้อย ทำความสะอาดกุฏิ ผ้าที่ไม่สะอาก็ซัก

ในห้องมีหนังสือมีสมุดที่เขียนบันทึกไว้ ก็ตรวจดูว่ามีอะไรที่ไม่น่าให้ใครๆ อ่านบ้าง ไม่อยากให้คนอื่นอ่านบ้างก็ฉีกทิ้ง เผาทิ้ง มีความรู้สึกว่าจะตายจริงๆ ก็เตรียมตัวว่าถ้าใครเข้ามาดูกุฏิก็ไม่ต้องอาย อาบน้ำเสร็จก็บริหารร่างกาย เตรียมตัวอยู่หลายชั่วโมง งดฉันน้ำก่อนนั่งสมาธิหลายชั่วโมง ปกติเมื่อเรานั่งสมาธิในกุฏิเราก็นั่งสบายๆ วันนั้นมีความรู้สึกแปลกๆ จะตายจริงๆ ต้องนุ่งห่มผ้าให้เรียบร้อย สะพายผ้าสังฆาฏิด้วย ทำวัตรย่อ

เสร็จแล้วก็ประนมมือปฏิญาณตนว่า ขอมอบกายถวายชีวิตแด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วก็มีความรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ ด้วย คือมอบกายถวายชีวิต ไม่เสียดายชีวิต ตายก็ไม่เป็นไร แล้วก็นั่งขัดสมาธิ ไม่ใช่ขัดสมาธิธรรมดานะ นั่งขัดสมาธิเพชรด้วย คือนั่งขัดสมาธิ 2 ชั้น เป็นการนั่งขัดสมาธิอย่างที่พระพุทธองค์ทรงนั่งใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ในคืนวันตรัสรู้ ท่านทรงนั่งขัดสมาธิเพชร ขัดสมาธิ 2 ชั้น เป็นท่านั่งที่มั่นคงที่สุด แล้วก็นั่งเรียบร้อยเหมือนกำลังนั่งถ่ายรูป เมื่อเริ่มต้นก็นึกขำตัวเองอยู่เหมือนกัน แล้วก็ดำรงสติเฉพาะหน้า พร้อมกับใช้คำบริกรรมภาวนาว่า “ตายๆ ๆ”

พอกำหนดปุ๊ป ใจก็รวม กายนิ่ง ใจสงบนิ่ง เกิดความรู้สึกแปลกๆ ตายก็ไม่เชิง แต่รู้สึกคล้ายกับว่าวันนี้เป็นวันสุดท้าย ทำนองนี้แหละ ก็นั่งสมาธิไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ จะนั่งจนตาย อะไรจะเกิดก็จะอยู่ในอิริยาบถนี้ ไม่ขยับ ไม่เปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อพิสูจน์ความจริง

ได้ยินเสียงทำวัตรสวดมนต์เจริญเมตตาภาวนาอยู่ข้างนอก เสียงทำวัตรไพเราะดี แต่มีความรู้สึกว่าเสียงกับเราอยู่คนละฝั่งกัน เรานั่งสมาธิไปเรื่อยๆ นั่งไปเรื่อยๆ จน 2 ชั่วโมงกว่า เริ่มเกิดเวทนา จิตรู้เวทนา แต่ยังคงนั่งอยู่อย่างนั้น เวทนาก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ เกิดความแปลกๆ

เมื่อเรานั่งสมาธิ ความรู้สึกเจ็บปวดก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในที่สุด ก็ถึงความรู้สึกชนิดหนึ่งว่า ถ้าเรานั่งนานกว่านี้กระดูกจะหัก เรานั่งขัดสมาธิเพชรอยู่ รู้สึกปวดแสบที่ข้อเท้า รู้สึกคล้ายกับว่าข้อเท้ากำลังจะหัก ทั้งกระดูก ทั้งกล้ามเนื้อ ทั้งเส้นประสาทกำลังจะขาด หัก เสีย

แต่เราพยายามระวังสอนใจตัวเองว่า “กายไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของเรานะ เราไม่มีสิทธิที่จะขยับหรือเปลี่ยนอิริยาบถนะ” ระวังไม่ให้เกิดตัณหา ไม่ทำตามตัณหา ไม่ทำตามวิภวตัณหา คือ ไม่ต้องการทุกขเวทนา อยากเปลี่ยนอิริยาบถ เราได้อธิษฐานจิตแล้วว่า อะไรจะเกิดก็ตาม เราจะนั่งจนตายเพื่อพิสูจน์ความจริงนี่แหละ

นั่งไปๆ ก็เกิดความรู้สึกอีกว่า ข้อเท้าหักแน่ แต่ยังคงนั่งอยู่อย่างนั้น ใจมีกำลัง ทีนี้ตัวสั่นขึ้นมา ร่างกายแสบไปหมด รู้สึกเหมือนกับว่าเรากำลังนั่งอยู่บนเข็มหลายพันเล่ม ปวดแสบปวดร้อน ตัวสั่นทั้งตัว ฟันสั่นกระทบกัน แต่เมื่อตามดูจิต จิตเย็นสงบนิ่งอยู่อย่างนั้น กายร้อนตัวสั่นเจ็บปวดสารพัด

ความรู้สึกเหมือนกับอยู่ในนรกแต่ใจไม่กลัว ไม่วิตกกังวลว่า ถ้าไม่ตายพรุ่งนี้จะพิการ ตายก็ไม่ว่า พิการก็ไม่ว่า การรักษาความตั้งใจสำคัญกว่า นั่งอยู่ในอิริยาบถนี้ พิจารณาต่อสู้กับทุกขเวทนา พยายามยกจิตขึ้นเหนือเวทนา เวทนามากขึ้น ปวดจนตัวสั่น ใจจะขาด

เราก็มีหน้าที่ประคับประคองจิต ยกจิตให้อยู่เหนือเวทนา รักษาจิตอยู่อย่างนั้น เป็นเวลาหลายชั่วโมง แต่ใจก็นิ่งสงบ
มีความรู้สึกว่า ทุกขเวทนาทนยาก แต่คิดว่า เราจะทนอีกสักวินาทีหนึ่ง ทนอีกสักวินาทีหนึ่ง เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนเป็นชั่วโมงๆ พยายามเพ่งพิจารณาที่ปวดอยู่อย่างนั้น ทนยากก็จริง แต่จิตก็มีกำลัง สู้กับวิภวตัณหาได้

ทนทีละวินาทีๆ วินาทีก็ต่อเนื่องจนเป็น 2-3 ชั่วโมง ในที่สุดเมื่อวิภวตัณหาดับ จิตก็ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่หวั่นไหว ตัณหาดับ อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในทุกขเวทนาก็ดับ จิตเป็นอุเบกขา วางเฉยต่อทุกขเวทนา เมื่ออุปาทานดับ เวทนาก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เวทนาก็ดับ..... สบาย

นี่เป็นการเอาทุกขเวทนาเป็นอารมณ์ของกรรมฐาน จนอุปาทานดับ เวทนาดับ จิตเข้าสู่ความสงบเป็นสมาธิ
หลังจากนั้นนั่งได้อีกหลายชั่วโมง ตั้งแต่เริ่มต้นนั่งไป 2-3 ชั่วโมงเป็นการนั่งตามปกติประจำทุกวัน อีก 2-3 ชั่วโมงต่อไป เป็นการต่อสู้กับทุกขเวทนา จากนั้นจิตเข้าสู่ความสงบเป็นสมาธิ อยู่ได้อีก 2-3 ชั่วโมง ช่วงนี้จิตเหมาะสมที่จะพิจารณาขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ถึงเช้ารู้สึกว่าพอ ก็ค่อยๆ ขยับเปลี่ยนอิริยาบถ

ไม่น่าเชื่อว่าหลังจากประสบกับทุกขเวทนาถึงขนาดนั้น ยังเดินได้ตามปกติ กระดูกไม่ได้หัก กล้ามเนื้อไม่ได้ฉีก เส้นประสาทไม่ได้ขาด..... ความรู้สึกเหล่านั้น เป็นแต่เพียงความรู้สึก จริงๆ ไม่ได้เป็นความจริงเลย

เวทนาอนิจจา เวทนาไม่เที่ยง เวทนาอนัตตา เวทนาไม่ใช่ตัวตน จริงๆ ทบทวนการปฏิบัติของตัวเองแล้วก็เกิดความพอใจ กลางวันวันนั้นอยู่ในอิริยาบถตามอัธยาศัย ตอนเย็นเริ่มนั่งสมาธิประมาณหนึ่งทุ่มตามปกติ ก่อนนั่งสมาธิก็เดินจงกรม พยายามใช้ความคิดพิจารณาความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย สร้างกำลังใจ

การภาวนาไม่ใช่ไม่คิดเลยนะ บางทีก็ต้องกล้าคิดๆๆ แต่ต้องคิดให้ถูก คิดเพื่อให้เกิดธรรมสังเวช คิดให้เกิดกำลังใจ

คืนนั้นขณะที่เดินจงกรมอยู่ มีความรู้สึกนึกคิดแปลกๆ เช่น นึกถึงปฏิปทาของ พระอาจารย์มั่น ซึ่งได้ยินมาจากเพื่อนว่า ครั้งหนึ่งเมื่อท่านนั่งสมาธิอยู่ เกิดทุกขเวทนา ท่านพิจารณาทุกขเวทนา ทีแรกมันปวดขา ปวดเท้า ท่านก็นั่งนิ่งๆ พิจารณามัน ทุกขเวทนาก็มากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงสะดือ ท่านก็ไม่หวั่นไหว นั่งนิ่งพิจารณาทุกขเวทนาอยู่อย่างนั้น ทุกขเวทนาก็ขยายมากขึ้นๆ จนถึงหน้าอก..... ถึงคอ

ในที่สุดทุกขเวทนามันขยายมากขึ้นถึงทั้งตัว ถึงบนศีรษะ แล้วในที่สุดทุกขเวทนาก็หายไป อันนี้เป็นประสบการณ์พิจารณาทุกขเวทนาของพระอาจารย์มั่น เราก็เดินจงกรมนึกถึงการปฏิบัติของท่าน นึกว่าท่านเป็นอย่างนั้น เมื่อคืนเราเป็นอย่างไร ก็นึกว่าเมื่อคืนนี้เราก็เจ็บแค่ขาและที่เจ็บมากคือ ข้อเท้า ไม่ถึงหน้าอกไม่ถึงบนศีรษะ นึกแล้วเราก็ไม่ค่อยพอใจ ความจริงทุกขเวทนาเมื่อคืนนี้ก็เป็นทุกขเวทนาที่มากที่สุดในชีวิตที่เคยประสบมาแล้ว มากด้วย ทนยากด้วย เจ็บปวดจนใจแทบขาด

แต่เมื่อเรานึกถึงปฏิปทาของพระอาจารย์มั่น ใจเราก็ยังไม่พอ ใจคิดแปลกๆ เอ..... ความเจ็บปวดของเรายังไม่พอ เมื่อคิดๆ นึกๆ ก็ขำอยู่ ใจเราก็บ้าแล้ว ธรรมดาก็ไม่มีใครต้องการความเจ็บปวด ยุงตัวเล็กๆ กัดเราก็ไม่ชอบ เกิดวิภวตัณหา แต่ในขณะนั้นรู้สึกว่าต้องการความเจ็บปวดมากกว่าเมื่อคืนนี้ และมากที่สุดเท่าที่จะมีได้ อยากรู้อยากเห็นที่สุดของทุกข์ ความรู้สึกแปลกๆ อยู่อย่างนั้น

อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทำได้ทุกวัน บางครั้งกายสงบแต่ใจไม่สงบก็ทำไม่ได้ บางครั้งใจสงบแต่กายไม่สงบก็ทำไม่ได้เหมือนกัน บางครั้งใจและกายไม่สงบเลยทำไม่ได้แล้ว การพิจารณาทุกขเวทนาด้วยการนั่งนิ่งๆ นั่งนานๆ จะทำได้ก็ต่อเมื่อ ทั้งกายและใจพร้อม กายสงบใจสง และอินทรีย์แก่กล้าพร้อมกันจึงจะทำได้

แต่ถึงอย่างไร การต่อสู้และการพิจารณาทุกขเวทนาทุกครั้งมีประโยชน์ ทำให้เกิดปัญญา เกิดเมตตากรุณาได้ เช่น ครั้งหนึ่งขณะที่เรากำลังอดทนสู้กับความเจ็บปวดอยู่ นึกถึงปลาที่กินเบ็ด เขาต้องทนทุกขเวทนาอยู่หลายชั่วโมงจนกว่ามนุษย์จะเอาไปฆ่า นึกว่าเขาคงทุกข์ทรมานเหมือนกับที่เรากำลังเผชิญอยู่ขณะนี้ คิดแล้วก็เกิดความสงสารปลาและสรรพสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น การพิจารณาทุกขเวทนาก็ทำให้เกิดเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ได้เหมือนกัน ถ้าเรานั่งขัดสมาธิจนข้ามเวทนาได้ ก็จะเป็นกำลัง เมื่อผ่านแล้วการปฏิบัติของเราก็ก้าวหน้า


(มีต่อ 3)

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เมื่อเกิดทุกขเวทนา มีวิธีกำหนด 2 วิธี

วิธีหนึ่ง เมื่อเราภาวนาพุทโธๆ ถึงจะเกิดทุกขเวทนาก็ทนด้วยการกำหนดพุทโธ ไม่นึกถึงทุกขเวทนา พยายามนึกถึงแต่พุทโธๆ ๆ เวทนาเพิ่มขึ้นๆ ๆ เราก็กำหนดที่ปลายจมูก พุทโธๆ ๆ หมายความว่าปวดที่ไหนก็พยายามไม่สนใจที่ตรงนั้น ไปกำหนดที่อื่นแทนอันนี้ทนง่าย

อีกวิธีหนึ่ง เมื่อเกิดทุกขเวทนาก็กำหนดเพ่งพิจารณาตรงที่ปวดที่ทุกขเวทนา อันนี้ทุกข์มาก ทนยาก แต่เกิดปัญญา ทุกข์เกิดที่ไหนต้องกำหนดดูที่นั่น เพ่งที่นั่น ปกติเมื่อเกิดทุกขเวทนาทางกาย ก็จะเกิดทุกขเวทนาทางใจด้วย เกิดตัณหาอุปาทาน ฟุ้งซ่าน เกิดความหลัว รังเกียจ ใจจะไม่กล้าพิจารณาทุกขเวทนา เราจึงต้องมีจิตใจหนักแน่น กล้าหาญ ต้องตั้งใจเข้าไปดู พยายามเข้าไปดูทุกขเวทนาอันนี้เราต้องต่อสู้เพื่อพยายามระงับวิภวตัณหา และอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น ธรรมดาเมื่อปวดก็เกิดวิภวตัณหา จิตจะไปที่อื่น

เพื่อที่จะพิจารณาทุกขเวทนา เราต้องกัดฟันเข้าไปดูความรู้สึก ความจริงไม่ต้องกัดฟันหรอก ให้มีความตั้งใจ จิตกล้า จิตหนักแน่น เป็นสมาธิเข้าไปดูความจริง เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว จะเกิด อุเบกขา อุเบกขา คือ เข้าไปดู เป็น อุเบกขาในโพชฌงค์ 7 ซึ่งเริ่มตั้งแต่ สติโพชฌงค์ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิและอุเบกขาโพชฌงค์ เราก็พิจารณาดู

หลังจากสมาธิโพชฌงค์ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว จิตก็กำหนดทุกขเวทนาได้ ไม่หนีไปไหน จิตอยู่ที่เดียว อยู่ที่ทุกขเวทนา เพราะดับตัณหาอุปาทานแล้ว เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว จะเกิดญาณทัสสนะ รู้เห็นตามความเป็นจริงว่า “เวทนาสักแต่ว่า เวทนาไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน“ จิตก็วางเฉยเป็นอุเบกขา วางเฉยนี่ไม่ใช่วางเฉยที่เราเรียกว่าเฉยๆ นะ

อุเบกขาเป็นเรื่องของปัญญา

ประกอบด้วยปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงแล้วจึงวางเฉย ในชีวิตประจำวันเมื่อเราใช้คำว่า “เฉยๆ” อาจประกอบด้วยโมหะคล้ายกับไม่สนใจ ใครทำอะไรก็ช่าง ไม่สนใจ อะไรๆ เราก็ไม่สนใจไม่แคร์นี่แหละ แต่ “วางเฉย” ในธรรมะเป็นเรื่องการรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้วจึงวางเฉย เฉยๆ ที่ประกอบด้วยปัญญา

เมื่อมีทุกข์ก็ต้องโอปนยิโก น้อมเข้าไปดู น้อมเข้าไปดู ถ้าเรานั่งพิจารณาดู จะเป็นอย่างนั้นจริงๆ ด้วย เป็นลักษณะกัดฟันเข้าไปดูเหมือนกับเข้าไปดูในกอไมยราบหรือกอไผ่ เข้าไปดูว่าข้างในมีอะไรกันแน่ ต้องตั้งใจเข้าไปดู อันนี้ถ้าเราพยายามพิจารณาดูก็จะเข้าใจว่า การพิจารณาทุกขเวทนานั้นต้องเข้าไปดู

เมื่อเราเจ็บปวดเราก็ต้องถามตัวเองว่า เจ็บปวดเป็นอย่างไร ธรรมดาถ้าเราไม่มีสมาธิ เมื่อเกิดเจ็บปวด เกิดทุกขเวทนาเราก็จะร้องไห้แล้ว เจ็บปวดจนร้องไห้ เพราะมันปวดจริงๆ ด้วย เราประสบทุกขเวทนาจริงๆ

“เห็น” คืออะไร

ทีนี้เราก็ถามตัวเองว่า เราเห็นไหม คำที่ว่า “เห็น” ธรรมดาก็ไม่เห็น แต่ว่ารู้อยู่ รู้อยู่ว่าเจ็บปวด รู้อยู่ว่าเรามีทุกขเวทนา เราเป็นทุกข์แล้ว เราก็อยู่กับทุกขเวทนา หรือว่าเราเป็นทุกขเวทนา อะไรๆ ทำนองนั้น ถ้าถามว่า “เห็นไหม” ใช้คำว่า “เห็น” อันนี้บางทีก็ไม่ชัด พยายามดูมันก็ไม่เห็น

ทีนี้เมื่อเรานั่งนิ่งพิจารณาทุกขเวทนา พยายามเอาสติมาจับดูทุกขเวทนา พอมีสติมากขึ้นจนสามารถจับได้บ้าง ปัญญาจะทำงาน สอดส่องค้นหาความจริง จนเห็นอะไรๆ แปลกๆ ไปจากก่อน วิริยะก็จะเกิดสนับสนุนสติจะตั้งขึ้นต่อเนื่องกัน เมื่อสติโพชฌงค์เกิด ธัมมวิจยะโพชฌงค์ วิริยะโพชฌงค์มารวมกัน จับเมื่อกันทำงานพร้อมกันแล้ว ก็จะเป็นกำลังดี สามารถใช้ดุลยพินิจพิจารณาตามความเป็นจริง ไม่หลงเชื่อคำยุยงของกิเลสตัณหาง่ายๆ

เมื่อปฏิบัติจนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ก็จะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ “เวทนาอนิจจา เวทนาไม่เที่ยง เวทนาอนัตตา เวทนาไม่ใช่ตัวตน เป็นสักแต่ว่าความรู้สึก สักแต่ว่าเวทนา” และเมื่ออุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาดับแล้ว ก็ใช้คำว่า “เห็น” ได้ คล้ายกับเห็นด้วยตา เห็นด้วยใจ เห็นด้วยปัญญา เป็นการเห็นจริงๆ ด้วย

ถ้าไม่มีสมาธิ ก็รู้สึกอยู่ รู้อยู่ แต่ใช้คำว่า “เห็น” ไม่ได้ จึงพูดว่า “ทุกข์ต้องเห็น ธรรมะต้องเห็น” อันนี้ครูบาอาจารย์ที่เคยปฏิบัติมา ผู้รู้ก็ใช้คำว่า “ทุกข์ต้องเห็นทุกข์” ไม่ใช่รู้ทุกข์ ทุกข์เราก็รู้อยู่ ใครๆ ก็รู้ ยุงกัดนิดหน่อย เจ็บนิดหน่อย เราก็รู้ว่าทุกข์ แต่ใช้คำว่า “เห็น“ ไม่ได้ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เกิดอุเบกขาธรรม ก็เหมาะสมที่จะใช้คำว่า “เห็น“

หลวงพ่อชา สอนบ่อยๆ ว่า “เห็นทุกข์ ไม่มีทุกข์” เมื่อ “เห็น“ จิตกับเวทนาไม่ปนกัน คล้ายกับน้ำกับน้ำมันไม่ปนกัน กาย เวทนา จิต ก็แยกกัน ไม่ปนกัน อันนี้แหละ ถ้าใช้คำว่า “เห็น“ ก็เหมาะสมอยู่ เห็นจิตเป็นส่วนหนึ่ง เวทนาเป็นส่วนหนึ่ง กายเป็นส่วนหนึ่ง ไม่ปนกัน กายสักแต่ว่ากาย เวทนาสักแต่ว่าเวทนา จิตสักแต่ว่าจิต ธรรมะสักแต่ว่าธรรมะ

ถ้าเห็นเช่นนี้จริงๆ จิตก็วางเฉย เกิดอุเบกขาธรรม แม้ว่าทุกขเวทนากำลังปรากฏอยู่ ก็เหมือนไม่มี ไม่มีเจ้าของมันวางเฉย เวทนาสักแต่ว่าเวทนา อันนี้เป็นอัศจรรย์ของธรรมะ เป็นผลของการปฏิบัติภาวนา ศึกษาเท่าไรก็ไม่รู้ เรียนรู้เท่าไร จำเท่าไร ก็ไม่เหมือน ต้องสัมผัสด้วยใจ ด้วยการเจริญโพชฌงค์ 7 หรือเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา อาศัยกำลังเหล่านี้ดูไปๆ จนเห็นจริง เห็นจริงๆ รอบด้านทุกส่วน จนรู้แจ้ง รู้อันนี้แหละ เรียกว่ารู้ด้วยใจ

เห็นกองรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เป็นกองๆ แยกจากกัน


เมื่อเราปฏิบัติเช่นนี้ก็จะเกิดความสามารถชนิดหนึ่ง สามารถแยกดูกองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ เห็นเป็นส่วนๆ เป็นกองๆ แยกจากกันได้ สามารถเห็นได้ประจักษ์ชัดเจน หรือถ้าพูดตามแบบสติปัฏฐาน 4 ก็คือสามารถเห็นได้ชัดเจนว่า กายสักแต่ว่ากาย เวทนาสักแต่ว่าเวทนา จิตสักแต่ว่าจิต ธรรมะสักแต่ว่าธรรมะ

เมื่อเราเจริญภาวนาอบรมจิต จนมีสติดี มีสมาธิ มีปัญญา มีกำลังพอที่จะสามารถเห็นชัดเจนเช่นนี้ได้ เราก็สามารถ ชำระทิฏฐิ สามารถชำระความเห็นที่ผิดๆ คือความเห็นว่าเป็นอัตตาตัวตนของเรานี้แหละ ที่เคยเห็นนามรูปว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ความรู้สึกอันนี้เราก็ชำระได้ คือทำลายสักกายทิฏฐิ เห็นชัดเจนว่ารูปสักแต่ว่ารูป

รูปไม่ใช่เรา เราไม่ใช่รูป
รูปไม่ใช่อยู่ในเรา เราไม่ใช่อยู่ในรูป
เวทนาไม่ใช่เรา เราไม่ใช่เวทนา
เวทนาไม่ใช่อยู่ในเรา เราไม่ใช่อยู่ในเวทนา
สัญญาไม่ใช่เรา เราไม่ใช่สัญญา
สัญญาไม่ใช่อยู่ในเรา เราไม่ใช่อยู่ในสัญญา
สังขารไม่ใช่เรา เราไม่ใช่สังขาร
สังขารไม่ใช่อยู่ในเรา เราไม่ใช่อยู่ในสังขาร
วิญญาณไม่ใช่เรา เราไม่ใช่วิญญาณ
วิญญาณไม่ใช่อยู่ในเรา เราไม่ใช่อยู่ในวิญญาณ

เราสามารถเห็นประจักษ์ชัดเจนว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป เมื่อสติ สมาธิ ปัญญา หรือศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ก็เป็น “ธรรมจักษุ” มองอะไรเห็นอะไร ก็รู้เห็นตามความเป็นจริงได้ เมื่อทำลายสักกายทิฐิได้ อริยมรรคข้อแรก คือ สัมมาทิฏฐิก็บริบูรณ์ อริยมรรคมีองค์ 8 เกิด วิจิกิจฉาก็หายไป หมดความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ไม่สงสัยในอริยสัจ 4 อริยมรรคมีองค์ 8

สามารถเห็นว่า ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นสำคัญ เกิดสิขีภูโต เอาตนเป็นพยานของตน ไม่หวั่นไหวกับสิ่งภายนอก บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์อยู่ที่ใจ เกิดความมั่นคง ไม่หวั่นไหว เมื่อสิขีภูโตเกิดเช่นนี้ สีลัพพตปรามาสก็หายไป สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ถูกทำลายหมด มันก็เป็นไปเอง ตามกันไป เราไม่ต้องแยกพิจารณาเป็นอย่างๆ..... เอวัง


(มีต่อ 4)

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ถ้าเรามีชีวิตอยู่ได้อีกวันเดียว เราต้องการทำอะไร
ตอนหนึ่งของพระธรรมเทศนา อบรมคณะศิษย์จากกรุงเทพฯ
วันที่ 12 สิงหาคม 2536


.........................................................................

ช่วงนี้ให้ทบทวนการปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนาของเราว่าเป็นอย่างไร มาวัดก็ไม่ต้องคิดจะทำอะไรมากมาย ภาระภายนอกก็ไม่มาก แม้จะมาอาทิตย์หนึ่งก็ตาม เมื่อเราเปลี่ยนสถานที่แล้ว ให้ฝึกเปลี่ยนอารมณ์ด้วย เมื่อวานนี้เราเป็นชาวบ้าน วันนี้เราเป็นนักบวชเป็นชาววัดอยู่วัดรักษาศีล 8

พยายามตรวจดูจิตใจ เราควรเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิด พยายามปล่อยวางสัญญาอารมณ์เก่าๆ สัมผัสกับธรรมชาติซึ่งจะช่วยทำให้จิตใจของเราสงบเยือกเย็นลง ดูต้นไม้ ดูภูเขา ฟังเสียงนก ชะนี กบ อึ่ง สบายๆ..... สบายอารมณ์ สบายใจ..... พยายามสำรวมจิตใจให้อยู่ในเขตวัด

เรื่องของวานนี้เป็นอดีตผ่านไปแล้ว เราก็พยายามปล่อยวางไม่ต้องคิด เรื่องอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เช่นเมื่อออกจากวัดจะทำอะไรก็ไม่ต้องคิด ให้อยู่กับปัจจุบัน ศึกษาปัจจุบัน ปัจจุบันเดี๋ยวนี้ สำคัญที่สุด..... ให้อยู่อย่างนักบวช อยู่เป็นวันๆ อยู่ทีละวัน..... ถึงเวลาก็หาของรับประทาน ถ้าเป็นพระก็ไปบิณฑบาต แล้วแต่ญาติโยมใส่บาตร ถวายอะไรก็ฉันไป เราทุกคนมีอะไรก็กินไป พอปะทังชีวิตไปวันหนึ่งๆ

นอกนั้นก็ไม่ต้องคิดอะไร พยายามดูตัวเอง ยืน เดิน นั่ง นอน พยายามตั้งสติ น้อมเข้ามา ดูกายกับใจ อันนี้เราทำได้ โดยเฉพาะช่วงนี้ไม่มีภาระภายนอก ไม่ต้องทำงาน การที่จะต้องพูดคุยกับคนอื่นก็เกือบไม่มี โดยเฉพาะ 6 โมงเย็น พอตีระฆัง ต่างคนก็ต่างมีชีวิตเฉพาะตัวตลอดคืนจนกว่าจะสว่าง สว่างแล้ว บางทีก็เข้าครัว บ้าง จำเป็นต้องพูดนิดหน่อย แต่กลางคืนครึ่งวันเต็มๆ พยายามอยู่กับตัวเอง

พยายามทำความรู้สึกว่าเราอยู่ตัวคนเดียว ไม่ต้องพูดกับใคร ตั้งคำถาม ถามตัวเอง ถามตอบๆ ๆ ของตัวเองอยู่อย่างนั้น บางทีก็ทำจิตว่างภาวนาพุทโธๆ ๆ ไม่ต้องคิดอะไร คิดดีคิดชั่วไม่ต้องคิด พยายามกำหนดเจริญสติ เจริญสมาธิภาวนา พยายามกำหนดดูกาย กายยืน กายเดิน กายนั่ง กายนอน พยายามให้จิตอยู่กับกาย ถ้าเราคิดออกไปถึงที่บ้าน คิดนี่ คิดโน่น แสดงว่าจิตไม่ได้อยู่กับกาย ถ้าเราเห็นกายนั่งอยู่ เห็นกายยืน เห็นกายเดิน แสดงว่าขณะนั้นจิตสงบดี ความพยายามที่จะให้จิตอยู่กับกายนี้ คือ กำหนดอิริยาบถ

เมื่อเห็นกายก็เห็นเวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ปวด เจ็บ อะไรๆ นี่แหละ เห็นเวทนาก็เห็นจิต จิตมีราคะ จิตไม่มีราคะ จิตมีโทสะ จิตไม่มีโทสะ จิตมีโมหะ จิตไม่มีโมหะ จิตสงบ จิตตั้งมั่น เป็นต้น เมื่อดูจิตเห็นจิตก็เห็นธรรม “ธรรม” ในที่นี้หมายถึงสิ่งที่สัมผัสกับจิต กุศลาธรรม อกุศลาธรรม อพยากตธรรม ธรรมะที่เป็นกุศล ธรรมะที่เป็นอกุศล ธรรมะที่เป็นกลางๆ

ธรรมะฝ่ายกุศล
คือ โพชฌงค์ 7 ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ สติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ธรรมะฝ่ายอกุศล คือ นิวรณ์ 5 ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ธรรมะที่เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว คือ อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอริยสัจ 4 เป็นต้น

การปฏิบัติเช่นนี้ คือการเจริญสติปัฏฐาน 4 เมื่อปฏิบัติไปๆ ก็จะสามารถพิจารณาด้วยปัญญา เห็นชอบว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา..... สักแต่ว่ากาย สักแต่ว่าเวทนา สักแต่ว่าจิต สักแต่ว่าธรรม เท่านั้น ก็เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ เพื่อมรรคผลนิพพานโดยตรง

ยังมีวิธีปฏิบัติอีกวิธีหนึ่ง ผู้ปฏิบัติเช่นพวกเราที่มาอยู่วัดขณะนี้ อาจจะลองทำดูก็ได้..… เริ่มต้นด้วยการพิจารณาดูชีวิตทั่วๆ ไป ดูว่าปัจจุบันขณะนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ พอใจหรือไม่พอใจ ตั้งแต่เกิดมาจนถึงวันนี้ เราได้ทำอะไรบ้าง ชีวิตที่เหลือต่อไป เราควรทำอะไร

ธรรมดาสำหรับมนุษย์สัตว์ ชีวิตคือการต่อสู้ดิ้นรนไปตามอำนาจของกิเลส วิ่งตามตัณหาอยู่อย่างนั้น ตื่นเช้าก็รีบชำระล้างร่างกาย รีบรับประทานอาหาร รีบเดินทางไปทำงาน รีบๆ ร้อนๆ ตลอดวัน ตลอดคืน เป็นเดือน เป็นปี บางทีก็ตลอดชีวิต ถ้าเรารู้ว่า เราจะรีบไปไหน รู้เป้าหมายชัดเจน มีจุดหมายปลายทางที่แน่นอนก็ยังดี

แต่ส่วนมากเราก็ไม่รู้ จะไปไหน ก็ไม่รู้..... ถ้าเช่นนั้นก็หยุดก่อน ค่อยๆ คิด ค่อยๆ พิจารณา ช่วงนี้อยู่ในวัดเป็นโอกาสดี ที่จะคิด ที่จะพิจารณาว่า เราใช้ชีวิตเพื่ออะไร กำไรของชีวิตคืออะไรกันแน่ 4-5 วันนี้ ไม่ต้องทำอะไร กินสบาย นอนสบาย ลองคิดดูว่า เราต้องการอะไรจากชีวิต ถ้าเราคิดอย่างนี้ อาจจะมีความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นก็ได้

ต่อไป ให้ตั้งคำถามถามตัวเองว่า “สมมติว่าเรามีชีวิตอยู่แค่ปีเดียว ชาตินี้เราจะมีชีวิตอีกปีเดียว เราต้องการทำอะไร” คำตอบอาจจะไม่มี ก็ไม่เป็นไร ถามอีก คำตอบอาจจะไม่มีอีก ก็ไม่เป็นไร..... ให้เข้าใจว่าอันนี้เป็นอุบายที่ไม่ให้คิด ไม่ให้ฟุ้งซ่าน หยุดการปรุงแต่ง ช่วยทำให้จิตใจสงบ และช่วยให้เกิดปัญญาได้..... “คำตอบ” ที่ว่านี้ไม่ใช่คำตอบที่เกิดจากการปรุงแต่ง แต่เป็นคำตอบที่เกิดจากใจ เกิดจากสมาธิ

ฉะนั้น ถ้าคำตอบไม่ปรากฏก็อย่ากังวล และเมื่อไรที่รู้สึกว่าจิตต้องการความสงบ ก็ภาวนาสบายๆ ให้จิตสงบไปเลย จะภาวนาพุทโธๆ ก็ได้ เมื่อภาวนาพุทโธๆ อยู่ ถ้าจิตจะคิด จิตจะฟุ้งซ่าน ก็ให้หยุดความคิดฟุ้งซ่าน โดยตั้งคำถามขึ้นมาพิจารณาอีกว่า “ถ้าเรามีชีวิตอยู่แค่ปีเดียว เราต้องการทำอะไรกันแน่ๆ” ถามซ้ำๆ อยู่อย่างนั้น ถ้าจิตต้องการความสงบ ก็ภาวนาพุทโธๆ ๆ ทำใจนิ่งๆ..... สลับกันอยู่อย่างนั้น..... พอจิตสงบเป็นสมาธิ คำตอบอาจเกิดขึ้นก็ได้ เมื่อได้คำตอบแล้วก็เปลี่ยนคำถามใหม่

ทีนี้ถามว่า “ถ้าเรามีชีวิตอยู่เดือนเดียว เราต้องการทำอะไร” “ตั้งแต่บัดนี้ไป ภายใน 30 วันนี้ เราต้องการทำอะไร” ตั้งคำถามพิจารณาเช่นนี้ สลับกับการทำสมาธิให้จิตนิ่ง สลับกันไป สลับกันมา จนกว่าจะได้คำตอบออกมาจากจิตใจของตัวเอง เมื่อได้คำตอบแล้ว ก็ตั้งคำถามใหม่ว่า “ถ้าเรามีชีวิตแค่ 7 วัน ภายใน 7 วันนี้เราต้องการทำอะไร” ถามไป ทำสมาธิสลับกันไปจนกว่าจะได้ คำตอบ..... เมื่อได้คำตอบแล้ว ก็ตั้งคำถามใหม่อีกว่า “ถ้าเรามีชีวิตอยู่ได้อีกวันเดียว เราต้องการทำอะไร” สลับกันไปกับการทำสมาธิ

การพิจารณาอย่างนี้เป็นวิธีเจริญมรณสติวิธีหนึ่ง ช่วยปลุกจิตปลุกใจให้ตื่นจากความลุ่มหลงมัวเมาในชีวิต หลงอยู่ว่าเรายังไม่แก่ เรายังไม่เจ็บ เรายังไม่ตาย เป็นวิธีกระตุ้นปัญญาให้ทำงาน ทัศนคติในชีวิตก็จะชัดเจนขึ้นมา เห็นชัดว่า เราเกิดมาเพื่ออะไร กำไรของชีวิตคืออะไร ทำอะไรจึงจะเป็นประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่น ประโยชน์ชาตินี้ ประโยชน์ชาติหน้า ประโยชน์อย่างยิ่ง คืออะไร

เมื่อปฏิบัติมาถึงจุดนี้ก็จะได้คำตอบว่า “ถ้าเรามีชีวิตอยู่อีกเพียงคืนเดียว เราต้องปฏิบัติเอาจริงเอาจังจนเข้าถึงธรรมะ” และวิธีตรงที่สุดที่จะเข้าถึงธรรมะ คือการพิจารณาทุกขเวทนา โดยอาศัยวิธีที่เรียกว่า “นั่งจนตาย” อันนี้ต้องมีใจเด็ดเดี่ยว นั่งขัดสมาธิอย่างไรก็นั่งอยู่อย่างนั้น ไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ตายก็ช่าง เพื่อพิสูจน์ธรรมะ ตายเดี๋ยวนี้ก็ไม่เป็นไร ถึงอย่างไร เราก็มีเวลาอีกแค่คืนเดียวเท่านั้น

อย่างพวกเราได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมมานานพอสมควรแล้ว ถึงเวลาเหมาะสมและพร้อมแล้ว ก็จะต้องทำจริงจังบ้าง “ถ้าเรามีชีวิตอยู่เพียงคืนเดียว เราต้องการทำอะไรกันแน่” เราต้องกล้าคิดๆ ๆ จนเร้าใจให้มีความรู้สึกว่า ชีวิตนี้เหลืออยู่เพียงคืนเดียวจริงๆ ให้เกิดธรรมสังเวช ไม่ให้มีความอาลัยอาวรณ์ในชีวิตร่างกาย แสวงหา “ประโยชน์อย่างยิ่ง” คือพระนิพพาน อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็นธรรม

มีความรู้สึกว่า ธรรมะสำคัญยิ่งกว่าชีวิตร่างกาย ต้องพิสูจน์ธรรมะเดี๋ยวนี้ คืนนี้ มอบกายถวายชีวิตแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์..... ถ้าเกิดความรู้ความรู้สึกอย่างนี้จากใจของตนจริงๆ ได้ แสดงว่าการพิจารณาของเราถูกต้องและบังเกิดผลแล้ว

ถ้าเราปฏิบัติเช่นนี้ จนสามารถระงับตัณหา อุปาทานในทุกขเวทนาได้ เราก็จะสามารถแยกกาย เวทนา จิต ธรรม ได้ และโอกาสที่จะเข้าถึงธรรมะก็มีมาก การพิจารณาทุกขเวทนาอย่างนี้ นักปฏิบัติก็ทำกันนะ แต่จะทำก็ไม่ใช่ง่าย อินทรีย์ต้องแก่กล้า

อินทรีย์ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา หมายความว่า ในใจของเราเต็มไปด้วยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ในใจของเราขณะนั้น มีกำลังมาก มีพละมีพลังมาก จนสามารถเอาชนะมารได้ คือเอาชนะ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ในทุกขเวทนาได้

ปฏิปทาอย่างนี้ต้องอาศัยจิตใจที่เด็ดเดี่ยว คือจิตใจที่มีกำลังมาก มีอินทรีย์แก่กล้าพอ แต่ถ้าเรายังทำไม่ได้ถึงขนาดนั้น ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยเสียทั้งหมด เพราะเป็นหน้าที่ของอุบาสก อุบาสิกา ที่ต้องเป็นผู้ไม่ประมาท ต้องเตรียมตัวไว้ เตรียมพร้อมไว้ ต้องปฏิบัติเอาจริงเอาจัง ฝึกหัดพิจารณาทุกขเวทนาไว้บ้าง ใครจะรู้ว่า สักวันหนึ่งเราอาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยการปฏิบัติธรรมในแนวนี้

เป็นต้นว่า ในขณะที่เราเจ็บไข้ ป่วยกำลังจะตาย การพิจารณาทุกขเวทนาก็เป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่จะช่วยเราให้ถึงธรรมะได้ หรือ ถ้าเราเพียรฝึกหัดปฏิบัติพิจารณาทุกขเวทนาไว้เสมอๆ สักวันหนึ่งเราก็อาจจะเข้าถึงธรรมะได้เหมือนกัน


(มีต่อ 5)

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ปฏิปทาของท่านพระโมคคัลลานะ

การปฏิบัติของเราต้องมีการต่อสู้บ้าง จึงจะมีชีวิตชีวาขึ้น จะลองทำเนสัชชิกก็ดีนะ ครูบาอาจารย์ หลวงพ่อชาก็สนับสนุน ท่านก็มรณภาพไปแล้ว เมื่อท่านมีชีวิตอยู่ ท่านก็สนับสนุนการทำเนสัชชิก เพราะท่านได้ปฏิบัติมาก ได้ผลดี ช่วงที่ท่านกำลังปรารภความเพียร ท่านทำอยู่เป็นประจำ ในระหว่างพรรษท่านไม่ค่อยนอนบางพรรษาท่านถือปฏิบัติเนสัชชิกตลอดพรรษาก็มี อาจจะเอนกายพักผ่อนในเวลากลางวันบ้างนิดหน่อย แต่กลางคืนปฏิบัติตลอดคืนไม่นอน

อันนี้เป็นปฏิปทาของพระโมคคัลลานะด้วย พระโมคคัลลานะพอบวชปุ๊ป ท่านก็ปรารภความเพียรสูงอยู่ 7 วัน ในวันที่ 7 ขณะที่พระโมคคัลลานะกำลังนั่งต่อสู้กับความง่วงนอน สัปหงกอยู่นั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบว่า พระโมคคัลลานะ ได้ปรารภความเพียรตลอด 7 วัน กำลังอ่อนใจ และง่วงนอนเต็มที่ แต่จิตก็พร้อมจะตรัสรู้ธรรมแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงปรากฏต่อหน้าพระโมคคัลลานะและทรงสอนว่า ง่วงนอนคือสัญญาครอบงำจิต และทรงแสดงอุบายสำหรับระงับความโงกง่วง 8 ข้อ คือ

(1) ข้อแรก ให้ตั้งสติ ระวังดูสัญญา ไม่ให้เข้าครอบงำจิตได้
(2) ถ้าไม่หาย ให้พิจารณาธรรมะ ข้อนี้หมายความว่า ให้ใช้ความคิดๆๆ
พิจารณาธรรมะที่เคยได้ยินได้ฟังมา อาจจะหายง่วงได้
(3) ถ้าไม่หาย ให้สวดมนต์ สาธยายธรรมะด้วยความตั้งใจ สวดไปๆ อาจหายง่วงได้
(4) ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ยอนหู ทั้งสองข้าง และลูบตัวด้วยฝ่ามือ
(5) ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ลุก จากที่นั่ง ไปล้างหน้า ดูฟ้า ดูดาว ดูพระจันทร์
(6) ถ้ายังไม่หาย ท่าน ให้เจริญอโลกสัญญา นึกถึงแสงสว่าง
(7) ถ้ายังไม่หายง่วง ก็ ให้เดินจงกรม สำรวมอินทรีย์ ตั้งในเดิน
ไม่ให้จิตคิดไปภายนอก เดินกลับไปกลับมา
(8) ถ้าสู้ไม่ไหวจริงๆ ให้เอนกายพักผ่อน นอนตะแคงขวา พยายามมีสติสัมปชัญญะ
ตั้งใจว่า เมื่อมีความรู้สึกตัวตื่นแล้ว จะลุกขึ้นปรารภความเพียรต่อไป

นอกจากนั้น พระพุทธองค์ยังได้ทรงให้ข้อวัตรปฏิบัติแก่พระโมคคัลลานะอีกว่า
ไม่ให้ถือตัวเมื่อเข้าไปสู่ตระกูล
ไม่ให้พูดคำซึ่งเป็นเหตุให้เถียงกัน หรือถือผิดต่อกัน
ไม่ให้คลุกคลีกับหมู่คณะ


เพราะทั้ง 3 ประการนี้ เป็นเหตุให้ฟุ้งซ่าน เสื่อมจากสมาธิได้ นอกจากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงตอบคำถามพระโมคคัลลานะว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” พระโมคคัลลานะ ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ ได้สำเร็จพระอรหัตตผลในวันนั้น

เราก็นึกถึงปฏิปทาของพระโมคคัลลานะ ถ้าเรามาวัดถือปฏิปทาของพระโมคคัลลานะ เราก็ไม่นอน ยืน เดิน นั่ง เท่านั้น ครูบาอาจารย์ของเรา พระอาจารย์จวน ท่านก็ทำ ท่านไม่นอน ไม่หลับตา ไม่หลับ ไม่ให้ง่วง ไม่ให้สัปหงก ท่านทำอย่างนี้อยู่ได้เดือนครึ่ง เราก็พยายามศึกษา ง่วงนอนเป็นอย่างไร ทำกำลังใจปฏิบัติบูชาครูบาอาจารย์ของเรา ระลึกถึงพระโมคคัลลานะบ้าง ครูบาอาจารย์ของเราบ้าง ก็ปฏิบัติไป

ถ้าเราไม่มีปัญญา กิเลสก็จะพูดว่า “นอนดีกว่า อดนอน ง่วงนอน ไม่เห็นมีประโยชน์” อะไรต่ออะไรนี่แหละ เราก็พยายามนึกถึงพระโมคคัลลานะ ท่านปฏิบัติอย่างไร ท่านก็ต่อสู้อยู่หลายวัน หลับบ้างอะไรบ้างท่านก็สู้ไป ในที่สุดท่านก็ทำสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เราก็ยกขึ้นมาปฏิบัติ ลองดู พยายามตั้งสติ สังเกตความง่วงนอน ต่อสู้กับความง่วงนอน

สำหรับผู้ที่มาปฏิบัติธรรม 7 วันบ้าง 10 วันบ้าง ให้ถือเนสัชชิก ปรารภ ความเพียรตลอดคืน แต่อันนี้ไม่บังคับสำหรับผู้ที่มาปฏิบัติใหม่ๆ ใครพอมีศรัทธา มีกำลังก็ทำ ไม่ทำก็ไม่เป็นอะไร ปฏิบัติจนเที่ยงคืนกว่าๆ ก็ใช้ได้ ถ้าเหนื่อย เพลีย ง่วงนอน หมดแรง ก็พักผ่อนได้ แต่ให้นอนหลับเดียว ตื่นเดียว ถ้าตื่นแล้วก็ไม่นอนอีก รับประทานอาหารเสร็จแล้วอย่างน้อยอีก 2 ชั่วโมง เมื่ออาหารย่อยแล้ว ประมาณเที่ยงวันก็พักผ่อนอีกครั้ง แต่นอนตื่นเดียวเหมือนกันนะ............... เอวัง


(มีต่อ 6)

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เนสัชชิก
เทศนาอบรมพระในพรรษา
วันที่ 4 สิ่งหาคม 2536


.........................................................................

ในการปฏิบัติธรรมะ เราเจริญศีลก่อน เมื่อศีลสมบูรณ์ จิตก็ตั้งมั่นเป็นสมาธิ เมื่อสมาธิเกิด วิปัสสนาปัญญาก็จะเกิดตามมา ฉะนั้นเราต้องพัฒนาศีล โดยเฉพาะช่วงที่อยู่วัด เราไม่มีภาระกิจภายนอกที่ต้องห่วงต้องกังวล ควรฝึกหัดเจริญสติให้คล่องแคล่ว

เจริญสติคือเจริญศีล นั่นเอง ศีลมาจากศิลา คือความหนักแน่น มีสติรักษากาย วาจา จิต ให้หนักแน่น ไม่หวั่นไหว ศีลบางครั้งแปลว่า ปกติ มีสติรักษากาย วาจา จิต ให้สงบเป็นปกติ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 227 เป็นอาการของศีล ตัวศีลจริงๆ คือจิตที่มีสติระลึกรู้ได้ว่าอะไรผิด อะไรถูก อะไรควร อะไรไม่ควร คือมีหิริ โอตตัปปะ ความละอายแก่ใจ และความเกรงกลัวต่อบาปนั่นแหละ

ศีล คือเจตนางดเว้น งดเว้นจากสิ่งที่เป็นบาป สิ่งที่เป็นโทษ อาศัยจิต ตั้งเจตนางดเว้น อาศัยกาย อาศัยวาจา งดเว้นตามเจตนาที่ตั้งไว้ เป็นต้นว่า งดเว้นธรรมะที่เป็นฝ่ายอกุศล เช่น ความง่วงนอน เมื่อเราปฏิบัติตลอดคืนอย่างนี้ ธรรมดาก็จะมีความง่วงเข้ามาครอบงำจิตใจของเรา เราก็เอาศีลมาต่อสู้ ตั้งเจตนางดเว้นจากความง่วงนอน

วาจาก็งดเว้นเรื่องที่ทำให้ง่วงนอน พูดไปแล้วทำให้เราไม่สบายใจ เศร้าหมองใจ จิตตก ทำให้เกิดวิภวตัณหา จิตมันไม่อยากรับรู้อะไร หนีเข้าไปในความง่วงนอน อยากนอน ไม่อยากรับรู้อะไร ไม่อยากทำอะไรเลย เราก็ตั้งศีลขึ้นมาสู้ เช่น เมื่อเราพูดก็พูดถึงโทษของความง่วงนอน ยกวิธีแก้ความง่วงนอน ยกขึ้นมาพูดกัน โทษของความง่วงนอนเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไร

ทางกายก็ต่อสู้ งดเว้นอิริยาบถที่ทำให้ความง่วงนอนครอบงำจิตได้ง่าย ปรารภความเพียร เนสัชชิก งดเว้นการนอน พยายามอยู่ในอิริยาบถที่จะแก้ความง่วงนอนได้ ขณะยืน เดิน นั่ง เมื่อง่วงก็ลืมตา บังคับกายเพื่อแก้ความง่วงนอน ไม่ให้ความง่วงนอนเข้ามาถึงใจ อันนี้ก็เป็นศีล ศีลทั้งนั้น ศีลก็อธิบายได้หลายอย่าง

ช่วงนี้เราก็ยกศีลขึ้นมาพิจารณาในการปฏิบัติของเรา ไม่เอาความสบายเป็นประมาณของการปฏิบัติ ปกติเมื่อเราทำความเพียรก็ต้องสงบ สบาย เข้าสมาธิ ช่วงนี้อันนี้ก็เอาไว้ก่อน ช่วงนี้เอาศีลมาพิจารณา ไม่สบายไม่เป็นอะไร ไม่สงบไม่เป็นอะไร ขี้เกียจก็ไม่เป็นอะไร เราตั้งศีลมาปฏิบัติต่อสู้ จิตไม่เป็นสมาธิก็ไม่เป็นอะไร ขอให้อยู่ในศีล

กาย วาจา จิต 3 อย่างนี้พิจารณาดู จิตของเรา กายของเรา วาจาของเรา อยู่ในศีลหรือไม่ ถ้าอยู่ก็ใช้ได้ ปฏิบัติถูกต้อง พยายามตั้งอยู่ในศีล ทั้งกาย วาจา จิต

ตั้งแต่ 16.30 น. ตีระฆังแล้วก็พยายามสำรวมมาก ความจริงก็ต้องสำรวมทั้งวันทั้งคืน แต่ว่า 16.30 น. แล้ว ก็สำรวมเต็มที่ตามความสามารถของเรา ให้อยู่ในอาการปรารภความเพียร ยืนเดินนั่งลำบากก็อดทนเอา อาทิตย์หนึ่ง 2 อาทิตย์ ร่างกายก็จะค่อยๆ ชินเอง

ระเบียบปฏิบัติช่วงในพรรษา ปี 2536 วัดป่าสุนันทวนาราม

16.30 น. รวมกันฉันน้ำปานะ เริ่มงดเว้นการพูดคุยกัน สรงน้ำ อาบน้ำ
18.00 น. นั่งสมาธิ เดินจงกรม
22.00 น. ทำวัตรเย็น สวดมนต์ พระอาจารย์แสดงธรรมเทศนา
03.00 น. ทำวัตรเช้า
06.00 น. ออกบิณฑบาต
08.30 น. ฉันบิณฑบาต

สมัยก่อนเวลาง่วงก็นอน พวกเราอาจจะเคยใช้ชีวิตอย่างนั้นมาก็ได้ ช่วงเข้าพรรษาหรือช่วงนี้อาจจะทำอย่างนั้นไม่ได้ ง่วงนอนก็นอนไม่ได้ อยากนอนก็นอนไม่ได้ เพราะว่าระเบียบไม่ให้ หรือว่าข้อวัตรของเราไม่ให้ ดังนั้น เราจึงต้องต่อสู้ไว้ก่อน ต่อสู้เต็มที่

เมื่อเกิดความรู้สึกทุกข์ ให้พิจารณาให้เห็นว่าทุกข์อันนี้ไม่ใช่ของถาวร เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราต้องรักษาข้อวัตร ปฏิบัติอย่างนี้แล้วพิจารณาดู พิสูจน์ว่าความรู้สึกอันนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาหรือไม่ เราตั้งศีลมาต่อสู้ไว้ก่อน แล้วเราก็สามารถพิสูจน์ธรรมะได้ ความรู้สึกจะเปลี่ยนไป เปลี่ยนนี่แหละอนิจจัง แล้วก็ทุกขัง ไม่คงที่สลายไป

ตี 1 ตี 2 รู้สึกง่วงนอนมาก แล้วความรู้สึกเปลี่ยนไปคือ อนิจจัง ความรู้สึกก็ไม่คงที่คือ ทุกขัง เปลี่ยนไป แปรไป อนัตตา คือไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่มีอะไรที่จะยึดถือได้ ความง่วงนอนก็จะค่อยๆ ไม่ปรากฏ เราจึงจะเห็นว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเมื่อเราปฏิบัติ ตั้งใจปฏิบัติแล้วก็สามารถรู้เห็นได้ สัมผัสด้วยใจได้ มีประสบการณ์ได้ เราไม่ต้องสงสัย

บางคนอาจสงสัยว่าง่วงนอนอยู่อย่างนี้มีประโยชน์อะไร ไม่เห็นประโยชน์อะไร ทำไมเราต้องยืน เดิน นั่งตลอดคืน มีแต่ง่วงนอน สำหรับคนไม่มีปัญญาก็ไม่เห็นประโยชน์ ถ้าเรามี ศรัทธา มี ปัญญา ก็เข้าใจความหมายของการปฏิบัติที่เรากำลังทำอยู่


(มีต่อ 7)

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ความง่วงนอนเป็นทุกข์ชนิดหนึ่ง
การปฏิบัติในพุทธศาสนาก็ปฏิบัติที่ทุกข์


เพื่อจะพ้นทุกข์คือ ความง่วงนอน นี่แหละ ต้องศึกษาต้องเข้าใจ เมื่อง่วงนอน เราต้องเข้าใจว่า อันนี้เป็นทุกข์ เมื่อมีทุกข์ ก็หาเหตุของทุกข์ เมื่อเห็นเหตุ ก็พยายามละเหตุเสีย ทุกข์ก็สลายไป ดับไป ความง่วงนอนก็หายไป นี้ก็เป็นอริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

อย่างนี้เรียกว่า ปฏิบัติอริยสัจ 4 เราจึงเอาความง่วงนอนมาพิสูจน์ธรรมะ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็อยู่ที่นี่ เมื่อกำหนดตามอย่างนี้ เราก็เข้าใจธรรมะได้ จึงควรพอใจที่จะสัมผัสกับความง่วงนอน ถ้าเกิดง่วงนอนก็ให้มีกำลังใจ เข้าใจว่าเราอยู่ที่นี่ก็เพื่อสิ่งนี้ เพื่อที่จะละอันนี้

ความง่วงนอนเป็นทุกข์ ช่วยให้เรารู้แจ้ง รู้ซึ้ง ในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือจะเรียกว่าปฏิบัติตาม ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โดยเอาศีล สมาธิ ปัญญา มาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ก็ได้ ดังนี้ให้เราพยายามดูว่า เราควรปฏิบัติอย่างไรกับความง่วงนอน ให้เราตั้งสติ ตั้งศีลขึ้นมา เมื่อศีลสมบูรณ์ความง่วงนอนก็หายไป เรียกว่า ถีนมิทธะนิวรณ์ก็หายไป แล้วจิตของเราก็เป็นสมาธิมากขึ้น

ฉะนั้น เราก็ไม่ต้องกลัวความง่วงนอน “ง่วงนอนมากจนปฏิบัติไม่ได้” อย่าไปคิดอย่างนั้น เมื่อเรามีความง่วงนอนนั่นแหละ เราต้องปฏิบัติอยู่แล้ว อย่าไปคิดกังวลกับความง่วงนอน อย่าคิดว่าเราจะง่วงตลอดไป พยายามเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในความง่วงนอน

การนอนหลับของคนธรรมดาก็ 8 ชั่วโมง ผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ก็วันละ 6 ชั่วโมง ก็พอใช้ได้ นักปฏิบัติกรรมฐานจริงๆ ก็ประมาณ 4 ชั่วโมง ถ้าใครมีสมาธิดีก็น้อยกว่านั้น 3 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง 1 ชั่วโมง หรือน้อยกว่านั้น


(มีต่อ 8)

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
หลวงพ่อเปลื้อง ปญฺญวนฺโต


ปฏิปทาของหลวงพ่อเปลื้อง

ครูบาอาจารย์ที่มีปฏิปทาน่าศึกษาก็มีองค์หนึ่ง อาจารย์ได้ไปกราบสนทนากับท่าน คือ หลวงพ่อเปลื้องที่พัทลุง ประวัติท่านน่าสนใจน่าศรัทธา ท่านอุปสมบทเมื่ออายุ 60 ปี ท่านอธิษฐานข้อวัตร 8 อย่าง หนึ่งใน 8 ข้อนี้คือ ไม่นอนกลางวันตลอดชีวิต หมายความว่า ท่านตั้งใจไม่ทำตามกิเลสความง่วงนอน ความขี้เกียจ อย่างน้อยกลางวันก็ไม่นอนตลอดชีวิต

เมื่อท่านปฏิบัติใหม่ๆ บวชใหม่ๆ ท่านก็อายุ 60 ปีแล้ว ในพรรษาท่านอธิษฐานไม่นอนกลางคืนตลอด 3 เดือน หมายความว่าในพรรษานั้นท่านไม่นอนตลอดพรรษาทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่เนสัชชิกอุกฤษฏ์นี่แหละ ยืน เดิน นั่ง ไม่ให้นิวรณ์ครอบงำจิต ต่อสู้ อธิษฐานแล้ว ยืน เดิน นั่ง ไม่นอน ท่านก็ต่อสู้ ปฏิบัติอยู่อย่างนั้น

เหลืออีก 7 วันจะออกพรรษา กล้ามเนื้อในท้องของท่านได้เกร็งขึ้นๆ ๆ หมอตรวจแล้วขอให้ท่านนอน ให้ท่านเอนกาย ท่านบอกว่าไม่นอน ตายดีกว่าเสียสัจจะ เพราะท่านได้ สมาทาน ไม่นอน ยืน เดิน นั่ง ตลอด 3 เดือน บัดนี้อีก 7 วันก็จะออกพรรษาแล้ว หมอก็เลยเกิดศรัทธาถวายนวดให้ นวดกล้ามเนื้อที่ท้องนี่แหละ ในที่สุดก็คลาย ท่านก็สามารถรักษาความตั้งใจจนออกพรรษา ตั้งแต่นั้นท่านก็ปฏิบัติมาเรื่อยๆ

ชีวิตของนักปฏิบัติก็ต้องกำจัดความง่วงนอนอยู่แล้ว ถ้าจะเจริญสมาธิ ก็ต้องกำจัดนิวรณ์ 5 อย่าง คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา กามฉันทะ คือ จิตคิดไปรักใคร่ในกามคุณ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ พยาบาท คือ จิตคิดอาฆาตพยาบาท

ถีนมิทธะ คือความง่วงเหงาหาวนอน อุทธัจจะกุกกุจจะ คือ ความคิดฟุ้งซ่าน คิดนี่คิดโน่นคิดสารพัด คิดอย่างไม่มีระเบียบ วิจิกิจฉา คือ คิดลังเลสงสัย สงสัยในข้อวัตรปฏิบัติ สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สงสัยสารพัด 5 อย่าง นี้เรียกว่านิวรณ์ ถ้านิวรณ์ 5 อย่างนี้หายไป จิตก็สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ

เพราะฉะนั้นการบำเพ็ญสมาธิจึงต้องพยายามไม่ให้นิวรณ์เข้ามาในจิตใจ ถ้ามีต้องต่อสู้ ปฏิบัติอย่างนี้จึงจะเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง ถ้าเรามีความง่วงนอน เราต้องต้อสู้เต็มที่ หลวงพ่อเปลื้องตอนนี้เป็นหลวงปู่แล้ว เดี๋ยวนี้คง 80 ปีแล้ว ท่านได้อธิษฐานจิตตั้งแต่วันอุปสมบทว่า ท่านจะปฏิบัติเต็มที่ ต่อสู้เต็มที่กับความง่วงนอน ท่านก็ปฏิบัติเรื่อยๆ มา

ท่านบอกว่าเดี๋ยวนี้ท่านนอนหลับวันละ 10 กว่านาทีทุกวัน เมื่อจะนอนท่านก็ค่อยๆ เอนกายลงนอน หลับ 10 กว่านาที แล้วก็รู้สึกตัวขึ้นมานอกจากนั้นก็ไม่นอน ท่านก็ไม่เป็นอะไร อาจารย์ศรัทธาในองค์ท่านช่วงที่บวชใหม่ๆ อ่านหนังสือพบประวัติของท่าน ท่านบอกว่าท่านไม่นอน

ท่านปวารณากับทุกคน ใครอยากสนทนากับท่าน ขอเชิญมานิมนต์ได้ทุกเวลา ไม่ใช่เฉพาะกลางวัน 5 ทุ่มก็ยินดี ตี 1 ตี 2 ตี 3 ตี 5 ตลอดวันตลอดคืน ท่านปวารณา ใครสนใจจะกราบท่านหรือสนทนาธรรมกับท่าน ท่านเชิญทุกเวลา เพราะท่านบอกว่าท่านไม่นอน ท่านไม่จำเป็นต้องปิดประตูนอน ใครจะมาก็เชิญ

อาจารย์สนใจท่านอยู่นานแล้ว แต่เพิ่งจะมีโอกาสไปกราบท่านที่วัดเมื่อ 3 ปีก่อน ดูท่านผ่องใสดี หน้าตาร่างกายลักษณะผอม แต่ผิวพรรณผ่องใสดี นมัสการถามท่านว่า “ได้ยินว่าท่านไม่นอนจริงหรือเปล่า” ท่านบอกว่า ทุกวันนี้นอนเพราะไม่อยากนอนแล้ว ความอยากนอนไม่มี ท่านจึงนอนสบายๆ พูดง่ายๆ ก็คือ หมดความอยากนอนแล้ว ท่านนอนไม่กี่นาที องค์นี้เป็นองค์หนึ่งที่เอาชนะความง่วงนอนได้

เพราะฉะนั้นเราก็ไม่ต้องกลัวว่านอนน้อยจะอันตรายต่อสุขภาพ บางทีเราก็วิตกกังวล กลัว..... สมัยก่อนเราเคยนอน 8 ชั่วโมง 10 ชั่วโมง ถ้าเราไม่นอน กลัวสมองเสีย กลัวประสาทเสีย อันนี้เราค่อยๆ ทำไป ความจริง ความง่วงนอนก็เป็นกิเลสนิวรณ์ชนิดหนึ่งที่เราต้องกำจัดออกจากจิตใจ

แต่บางทีใหม่ๆ ก็มีอาการหลายอย่างเกิดขึ้นเหมือนกัน เช่น บางคนก็ปวดหัว หรือมีความรู้สึกที่น่ากลัว ทำให้คิดว่าเรากำลังจะเป็นบ้า ไม่นอน อดนอนจะทำให้เราเป็นบ้า ทำให้เราเป็นโรคประสาท อันนี้ก็เกิดขึ้นได้เหมือนกัน แต่ก็เป็นเรื่องชั่วคราวนะ

ถ้าเราค่อยๆ ปฏิบัติไป ก็จะกลายเป็นธรรมดา ตอนแรกๆ เมื่อร่างกายยังไม่เคยชิน มีการฝืน ก็มีความรู้สึกต่างๆ เป็นธรรมดา เช่น ถ้าเราเลื่อยไม้ เราไม่เคยเลื่อยไม้ วันนี้เราเลื่อยไม้ 2 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง ก็จะปวดแขนไปหลายวัน เพราะเราไม่เคยใช้กล้ามเนื้อในการเลื่อยไม้มาก่อน หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่เราไม่เคยทำก็ปวดกล้ามเนื้อ

ถ้าเราทำไปๆ เป็นปกติ ความเจ็บปวดก็ค่อยๆ หายไป การปฏิบัติของเราก็เช่นเดียวกัน การอดนอนเนสัชชิก ช่วงแรกอาจจะเกิดความรู้สึกหลายอย่าง เกิดทุกขเวทนา ทำไปๆ ทำไปเรื่อยๆ เมื่อร่างกายชินแล้วความรู้สึกเหล่านั้นก็หายไปเอง เราปฏิบัติจนหาย จนเป็นปกติปกติแล้วก็ไม่เป็นอะไร

ไม่นอนกลางคืนเป็นปกติ ร่างกายก็เป็นปกติ จิตใจก็เป็นปกติ จิตไม่ง่วงเป็นปกติ กายก็สบาย จิตก็สบาย เป็นปกติ ปกติก็คือศีล ศีลสมบูรณ์ สมาธิก็เกิด

พูดถึงการนอน หลายสำนักหลายครูบาอาจารย์ก็สอนหลายอย่าง ถ้าเราศึกษาดูจากพระพุทธเจ้าพระศาสดาของเรา ปกติท่านก็ให้ปฏิบัติกลางวัน กลางวันก็ให้ปฏิบัติ ตอนเย็นก็พยายามนั่งสมาธิเดินจงกรม 4 ทุ่มนอนพักผ่อน ตื่นนอนตี 2 คือให้นอน 4 ชั่วโมง 4 ทุ่มถึงตี 2 เรียกว่า มัชฌิมยาม เมื่อตื่นนอนตี 2 ก็ปรารภความเพียร นั่งสมาธิ เดินจงกรม กำจัดความง่วงนอน นั่นก็อธิบายในพระสูตรหลายครั้ง

สำหรับพระพุทธเจ้าหรือพระอริยสาวก การนอนช่วง 4 ทุ่ม ถึงตี 2 ไม่ใช่นอนอย่างพวกเรา ท่านนอนสมาธิ นอนสมาธิให้ร่างกายพักผ่อน จิตก็อยู่ในสมาธิ อันนี้เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้าหรือพระอริยสาวก ท่านมีสมาธิ ท่านก็นอนสมาธิ สำหรับผู้ที่ยังมีถีนมิทธะนิวรณ์ ยังนอนหลับอยู่ ก็นอนพักผ่อนประมาณ 4 ชั่วโมง หลายสำนักปฏิบัติกลางวัน มัชฌิมยามให้พักผ่อน 4 ทุ่ม ถึงตี 2 หลายสำนักก็ปฏิบัติอยู่อย่างนั้น..... แต่


(มีต่อ 9)

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2009, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
หลวงพ่อชา สุภัทโท


ปฏิปทาของหลวงพ่อชา

ครูบาอาจารย์ของเรา วัดป่า โดยเฉพาะหลวงพ่อชาท่านก็สอนโดยการยกตัวอย่างการปฏิบัติของท่านเอง ท่านเล่าว่า ช่วงที่ท่านปฏิบัติมากๆ ท่านมักจะปฏิบัติกลางคืน ตลอดคืนนี่แหละ ท่านบอกว่า กลางคืน ทำสมาธิง่าย จิตสงบ กลางวันอาจจะมีภาระ มีอะไรๆ รบกวน กลางคืน ใครๆ ก็นอน แขกก็ไม่มา ปฏิบัติติดต่อกันได้แทบทุกวัน ท่านปฏิบัติตลอดคืนทุกวัน

ความง่วงนอนก็เป็นนิสัย ถึงเวลาก็อยากนอน
ความง่วงนอน เป็นอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น


การปฏิบัติก็เพื่อทำลายอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น เพื่อเปลี่ยนนิสัย นิสัยที่ไม่ดี คือ ถึงเวลาต้องนอน จิตใจไม่ปกติ อันนี้ท่านให้ต่อสู้ จนละอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นได้ ก็หายง่วงนอน

เมื่อปฏิบัติกลางคืนเป็นปกติแล้ว ก็ติดเป็นนิสัยอีก ต้องนอนกลางวัน ฉันเสร็จแล้วก็อยากนอน ท่านก็เปลี่ยนอีก ไม่นอนกลางวัน พักผ่อนกลางคืน จนละอุปาทานคือความง่วงนอนได้ ถึงเวลาแล้วก็ง่วงนอนอันนี้ก็ละได้ ฉันเสร็จแล้วก็ไม่นอนเป็นปกติ ไม่ง่วงนอน ไม่ต้องนอน

ในที่สุดจิตของเราก็เป็นอิสระแล้ว กลางวันไม่นอนก็ไม่เป็นอะไร กลางคืนไม่นอนก็ไม่เป็นอะไร เมื่อมีโอกาสก็ให้ร่างกายพักผ่อน นั่นแหละจิตใจเป็นอิสระแล้ว เป็นอกาลิโก ไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาอีกต่อไป

กลางวันไม่นอนก็ไม่เป็นอะไร กลางคืนไม่นอนก็ไม่เป็นอะไร วันสองวันไม่นอนก็ไม่เป็นอะไร เมื่อหมดความง่วงนอนแล้ว เราจะนอนเมื่อไรก็ได้ ให้ร่างกายพักผ่อนไม่นอนก็ได้ เมื่อนอนก็นอนอย่างมีสติ นี่เป็นคำสอนของหลวงพ่อชา

ช่วงนี้ข้อวัตรปฏิบัติของเราคือไม่นอนกลางคืน เราก็ไม่ต้องเอาทิฏฐิของตัวเองมาทะเลาะกัน นอนกลางคืนดีกว่า ปฏิบัติกลางวันดีกว่า อะไรๆ นี่แหละ บางทีเราก็คิดไปหลายอย่าง เราไม่ต้องทะเลาะกัน เรายอมรับข้อวัตรปฏิบัติของเรา แล้วก็พยายามปฏิบัติจริงจังปฏิบัติเต็มที่ ใครปฏิบัติจริงจัง ปฏิบัติเต็มที่แล้ว คนนั้นองค์นั้นก็สามารถเอาชนะความง่วงนอนได้ เมื่อชนะความง่วงนอนได้ ก็เป็นผู้พ้นทุกข์ส่วนหนึ่งแล้ว เป็นผู้เป็นอิสระมากขึ้น หลวงพ่อชาสอนเรื่องความง่วงไว้ว่า

“ถ้าดีจริงๆ เมื่อง่วงนอนอย่านอน เมื่ออยากหลับไม่ให้หลับ เราควรต่อสู้เต็มที่จนหายง่วงนอน เมื่อหายง่วงนอนแล้วให้เอนกายพักผ่อนได้” ข้อนี้สำคัญ อย่าไปนอนด้วยตัณหา เมื่อง่วงนอนต้องต่อสู้ เมื่อหายง่วงนอน ไม่ง่วงนอนแล้ว ธรรมชาติของสังขารร่างกายก็เพลีย ทีนี้ก็เอนกายพักผ่อนได้ จิตนี่ก็หลับด้วยความสงบ ไม่ใช่ด้วยฝัน

เมื่อมีสติในขณะนอนหลับแล้วก็อธิบายได้ว่า “หลับในตื่น ตื่นในหลับ” นี่เป็นคำของหลวงพ่อชานะ ที่เรานอนหลายชั่วโมง โดยมากก็ไม่ใช่หลับ หลับๆ ตื่นๆ ที่เรียกว่าฝัน ฝันนี่เป็นหลายชั่วโมง เราจึงต้องนอน 8 ชั่วโมง 10 ชั่วโมง ถ้าเวลาฝันน้อยลงๆ เวลาที่จะต้องนอนก็น้อยลงๆ
ครูบาอาจารย์บางองค์ที่สมาธิดีท่านอาจจะหลับ 10 กว่านาทีในท่านั่ง มีเจ้าคุณที่วัดบวรรูปหนึ่ง สมาธิท่านดี ท่านนั่งรับแขกทุกวันตลอดวันนี่แหละ พอท่านง่วงนอน ท่านกำหนดอานาปานสติ เงียบไป 10 นาที โยมก็นั่งคอย ทำไมท่านเจ้าคุณเงียบไป ความจริงท่านหลับ หลับ 10 กว่านาที

พอรู้สึกตัวขึ้นมาก็คุยกับโยมต่อไป อันนี้แสดงว่าท่านมีสมาธิดี ถีนมิทธะไม่มี ท่านจึงนั่งสมาธิกำหนดหลับ 10 นาทีได้ พอรู้สึกตัวสมองก็สดชื่น เหมือนนอนพักผ่อนหลายชั่วโมงของพวกเรานี่แหละ

อันนี้ก็ยกขึ้นมาพูดเพื่อจะเป็นข้อพิจารณาของพวกเรา อย่าเชื่อความเห็นของตัวเองมากนัก เราต้องรับฟังและระวังความเห็นต่างๆ ที่เกิดขึ้น ความเห็นคือตัวกิเลสนี่แหละ อะไรดีกว่ากัน อย่างนี้ดีกว่าหรืออย่างนั้นดีกว่า เราตั้งศรัทธาแล้วก็พยายามปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติที่ถูกต้อง

เมื่อเราอยู่ในลักษณะนี้ ลักษณะนักบวช ก็พยายามปฏิบัติตามปฏิปทาของครูบาอาจารย์บ้าง ครูบาอาจารย์มรณภาพไปแล้วก็ตาม ปฏิปทาของท่านมีมากมาย เอาอย่างท่านสักนิดหน่อยก็ยังดี พยายามปฏิบัติตามท่านบ้าง

เมื่อเรามีโอกาสก็ไปหาครูบาอาจารย์ ลูกศิษย์หลวงพ่อชา ไปหาทีละองค์ๆ ศึกษาปฏิปทาของหลวงพ่อชาจากแต่ละองค์ก็อาจจะไม่เหมือนกัน แต่ขณะนี้เราอยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้ก็ปฏิบัติอย่างนี้ พยายามต่อสู้ความง่วงนอน ถ้าเอาชนะได้ก็สบาย

เราต้องเข้าใจว่า ความง่วงนอนเป็นอารมณ์ เป็นธรรมะ เราต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า ความง่วงนอนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่าสักแต่ว่าทำไปนะ ไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร นั่งง่วง ยืนง่วง นอนง่วง ไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร ทำไปโดยไม่รู้ว่าทำอะไร นั่นก็ไม่ดี พยายามเข้าใจ การปฏิบัติอยู่อย่างนี้ก็เป็นการปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานโดยตรง

ฉะนั้น เราต้องพยายามศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา เอาสติ สมาธิ ปัญญา มาพิจารณา มาเป็นเครื่องมือต่อสู้เอาชนะความง่วงนอน จึงเรียกว่า สัมมาปฏิปทา............... เอวัง


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2010, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2004, 19:46
โพสต์: 2305

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20086

รวมคำสอนพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=38514

วัดป่าสุนันทวนาราม-มูลนิธิมายา โคตมี และแผนที่
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=20076

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

.....................................................
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร