วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 00:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: รบกวนถามท่านผู้รู้ค่ะ คือทุกวันนี้เราจะเตรียมของไว้ใส่บาตร เกือบทุกวันค่ะ แต่ด้วยเหตุผล
ของเราต้องออกแต่เช้า เราเลยต้องให้เด็กที่บ้านมีหน้าที่ใส่แทน แต่เราก็จะจบของใส่บาตรทุกครั้ง
อยากถามท่านผู้รู้ค่ะ ว่าแบบนี้เราจะได้บุญไม๊คะ วันนี้เราคุยกับคุณป้านักปฏิบัติธรรม
เขาบอกเราว่า เราจะได้น้อยคนที่ใส่จะได้มากกว่าเพราะเขาเป็นผู้ใส่
แต่เราไม่ห่วงบุญมากหรือน้อยนะคะ เพราะเราตั้งใจ ถ้าไม่มีเด็กเราก็จะไม่มีโอกาสได้ทำบุญเลย
เพียงแต่สงสัยว่า :b10:
มันน่าจะอยู่ที่ใจหรือเปล่าคะ เพราะทุกวันเวลาเราสวดมนต์เราก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลทุกครั้งค่ะ
ที่ถามเพราะพอมีคนทักเราเลยไม่แน่ใจค่ะ
:b10: :b10: รบกวนท่านผู้รู้ด้วยนะคะ

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ย. 2008, 22:30
โพสต์: 222

ที่อยู่: เวียนว่ายในวัฏสงสาร (-_-!)

 ข้อมูลส่วนตัว


:b20: มาดันกระทู้ เพราะอยากรู้เหมือนกันขอรับ :b20:

.....................................................
ขอประสบความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาการทำดีของคุณ owan ด้วยครับ

อ้างถึง http://www.kmitl.ac.th/buddhist/tumma/merit.html

คำว่า "บุญ" ปัจจุบันเรามักใช้ควบคู่กับคำว่าทาน เช่น ทำบุญทำทาน คำว่าทำบุญ ในที่นี้คนทั่วไปมักหมายถึง การทำทานนั้นเอง คือ การให้สิ่งของแก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ด้วยความเต็มใจ

สำหรับการทำบุญตักบาตรนั้น จะต้องมีองค์คุณ 3 ประการ จะทำให้บุญมาก คือ
1) วัตถุบริสุทธิ์
2) เจตนาบริสุทธิ์ (ก่อนให้ทานมีจิตเลื่อมใสศรัทธา
เต็มใจขณะให้ทาน ให้ด้วยจิตใจเบิกบาน หลังให้มีจิตใจแช่มชื่น ไม่นึกเสียดาย)
3)บุคลบริสุทธิ์ (ปฎิคาหก คือ ผู้รับทานเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
มีความสงบระงับ มีกายวาจาเรียบร้อย ตั้งใจประพฤติธรรม)

คำถาม เราจะได้น้อยคนที่ใส่จะได้มากกว่าเพราะเขาเป็นผู้ใส่
คำตอบ ได้เท่ากันครับ
ถ้าทั้งคุณ owan และคนที่ใส่ให้ ถ้าทั้ง 2 คนมีองค์คุณครบ 3 ประการ

ตอบตามความรู้สึก//ผิดพลาดแนะนำได้ด้วยครับ
เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



บุญและบาป กับ กุศลและอกุศล


บุญและบาป กับ กุศลและอกุศล บางทีใช้แทนกันได้ บางทีใช้แทนกันไม่ได้
จึงเป็นเหตุให้เกิดความสับสน ว่าความหมายของธรรม 2 คู่นี้เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
ในที่นี้จะกล่าวไว้พอเป็นแนวทางความเข้าใจ

บุญ มีความหมายตามรูปศัพท์ที่ท่านนิยมแสดงกันไว้ 2 อย่าง คือ เครื่องชำระสันดาน คือชำระพื้นจิตใจ
ให้สะอาด และว่าสิ่งที่ทำให้เกิดผลคือภพที่น่าชื่นชม

นอกจากนี้ บางแห่งแสดงไว้อีกความหมายหนึ่งว่า สิ่งที่ยังอัธยาศัย (ความประสงค์) ของผู้กระทำให้บริบูรณ์

ส่วนบาป มักแปลตามรูปศัพท์ว่า สิ่งที่ทำให้ถึงวัฏฏทุกข์ หรือสิ่งที่ทำให้ถึงทุคติ (= สิ่งที่ทำให้ตกไปใน
ที่ชั่ว) คำแปลสามัญของบาป คือ ลามก (ต่ำทราม หรือเลว) บางครั้งใช้เป็นคำวิเศษณ์
ของวิบาก แปลว่า ทุกข์ หรืออนิฏฐ์ (ไม่น่าปรารถนา)ก็ได้

ที่กล่าวมานั้น เป็นความหมายที่นักศัพท์ศาสตร์คือนักภาษาแสดงไว้ ซึ่งเป็นด้านหนึ่งเท่านั้น จึงควรทราบ
ความหมายในแง่ของหลักธรรมแท้ๆ ด้วย เมื่อว่าโดยความหมายกว้างที่สุด บุญก็มีความหมายเท่ากับกุศล บาปก็มีความหมายเท่ากับอกุศล


บุญ และ บาป เป็นคำที่มีใช้แพร่หลายอยู่ก่อนแล้วในพุทธกาล


พระพุทธศาสนารับเข้ามาใช้ในความหมายเท่าที่ปรับเข้ากับหลักการของตนได้
ส่วนกุศล และ อกุศล เดิมใช้ในความหมายอย่างอื่น เช่น ฉลาด ชำนาญ คล่องแคล่ว สบายดี มีสุขภาพ เป็นต้น พระพุทธศาสนานำเอามาบัญญัติใช้สำหรับความหมาย ที่ต้องการของพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ

-และโดยนัยนี้ กุศล และ อกุศลจึงเป็นศัพท์วิชาการทางธรรมอย่างแท้จริง

ส่วนบุญ และ บาป ท่านมักใช้อยู่ในวงแห่งคำสอนสำหรับชาวบ้านหรือชีวิตของชาวโลก


ต้องการศึกษาให้กว้างขึ้นก็ที่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... c&start=40

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำตอบคือว่าใครจะทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ได้มากกว่ากัน ระหว่างคนใส่บาตรแทนเรา กับเราซึ่งจบก่อนแล้วไปทำงาน ใครจะเกิดความเอิมอิ่มต่อการกระทำนั้นได้นานกว่ากัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2008, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดีค่ะคุณ 0.wan

ช่วงนี้เป็นเทศกาลทำบุญตักบาตร เลยอยากให้ท่านผู้อ่านได้ทำความเข้าใจและ ตั้งศรัทธาไว้ให้มั่นคง
สวัสดีปีใหม่นะคะ พรุ่งนี้ไปใส่บาตรกันค่ะ

:b1: :b1: :b1:
:b37: :b37: :b37:
:b36: :b36: :b36:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 03:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ o.wan ได้บุญครับ เพราะของที่ใส่บาตร คุณเป็นคนจัดเตรียม และก็เป็นคนเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อของมาใส่บาตร ย่อมได้บุญมากกว่าคนที่เขาเอาไปใส่บาตรแทนเราแน่นอนครับ :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วถ้าเด็กที่บ้าน เค้าเกิดสมาทานศีล 5 (ตอนตื่นนอนมาฟังวิทยุสถานีธรรมะ..หุหุ)ล่ะคะ
เค้าก็น่าจะได้บุญมากกว่าเราผู้จัดเตรียม ผู้ออกค่าใช้จ่ายหรือปล่าว... :b9: :b9: :b9:

คือคิดถึงความน่าจะเป็นอื่นๆ มาประกอบค่ะ คุณ 0.wan อย่าซีเรียสนะคะ :b32: :b32:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คนทำ ได้ 70 เปอร์เซ็น เจ้าของ ได้ 20 เปอร์ คนอนุโมทนาได้ 10 เปอร์ จำได้ว่าเคยอ่านมาสมัยเด็กๆ หนังสื่อเรื่องคู่มือทำบุญให้ทานที่สมบุรณ์แบบ จัดพิมพ์โดยวัดธรรมกาย คือการทำทานนี่ เป็นการเอาพฤติกรรมนำจิต แต่เราจะคิดเฉย ๆ ไม่ได้ ต้องมีสิ่งของด้วย ถ้าคุณทำทานกับพระภิกษุสามเณรตอนเช้า แล้วคุณได้บุญ ความรู้สึกจะบอกกับเราเอง ก่อนทำก็เริ่มรู้สึกแล้ว ขณะทำและหลังทำเสร็จจะรู้สึกได้ชัดเจน นั่นคือ จิตสัมผัสกับบุญ อนึ่ง การทำทานเพื่อกำจัดกิเลสนั้นมีฤทธิ์ที่จะแก้ กิเลสจำพวก โลภ ตระหนี่ ขี้โกง เหลี่ยมจัดให้ค่อยๆ หลุดไปด้วย ถ้าเป็นไปได้ทำเองดีกว่านะ ได้ครบ 100 เปอร์เซ็น มีเรื่องเล่าว่า มีสตรีผู้หนึ่ง ได้ทำทานกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งก่อนทำได้มีความโกรธอยู่ก่อนแล้ว จึงทุ่มดินทำหม้อลงบาตรของพระปัจเจก ด้วยผลที่ได้ทำทานกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยความโกรธ ต่อมาจึงเกิด เป็นหญิงมีรูปทราม มีชื่อว่า ปัญจปาปา เนื่องจากหน้าตารูปร่างดูไม่ได้เลย แต่เนื่องจากถวายดินทำหม้อ ผลบุญจึงทำให้มีสัมผัสทิพย์ วันหนึ่งพระราชาเสด็จมาเยี่ยมราษฎร และเผอิญได้ถูกตัว นางปัญจปาปา เกิดความหลงในสัมผัสทิพย์ของหล่อน จึงตั้งให้เป็นมเหสีใหญ่ของเมือง หลังจากนั้น วันๆ ก็ได้แต่ขลุกอยู่กับนางปัญจปาปาทั้งวัน พวกสนมใหญ่น้อยจึงเกิดความรู้สึกอิจฉา ถามว่า ปัญจปาปา มีอะไรดี พระราชา ตอบว่า พวกเธอ 1000 คน ก็สู้ปัญจปาปาคนเดียวไม่ได้ นีแหละ บุญบาป ส่งผลแยกกัน ทำทานด้วยความโกรธจึงมีรูปทราม ถวายดินทำหม้อกับพระปัจเจกจึงได้สัมผัสทิพย์

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b40: :b39: :b40: :b39: อย่าเพิ่งไปซีเรียสกับ % บุญที่ได้รับ ระหว่างเรา กับเด็กที่บ้านเรา ว่าใครได้บุญมากกว่ากันเลยครับ เพราะจุดประสงค์ของทำบุญก้เพื่อต่อชะตาตัวเอง แก้เคราะห์ร้าย ลดความตระหนี่ที่สะสมในใจ ต่ออายุตัวเราเอง ต่ออายุพุทธศาสนา และทานที่ทำไว้ย่อมส่งผลในปัจจุบันหรือกาลภาคหน้า... (ซึ่งข้อนี้คุณowan คงพอเข้าใจมาบ้างแล้ว) :b41:

:b39: :b40: :b43: ให้คิดอย่างนี้จะดีกว่าครับ คือเราคนสั่งเด้ก กับเด็กคนที่ถูกเราสั่ง ซึ่งต้องอาศัยซึ่งกันและกัน หากขาดคนใดคนหนึ่งก็ย่อมไม่เกิดผลบุญขึ้น ซึ่งต้องมีคนคิดที่จะทำซึ่งต้องเตรียมการไว้ กับคนที่จะใส่บาตรแต่บังเอิญเป็นคนละคนกัน(เห็นบอกว่าจะสาย หากใส่บาตรด้วยตัวเอง)
ซึ่งผลบุญที่เกิดขึ้นจะ = ผลบุญของคุณowan (คนสั่งให้ทำ) + ผลบุญเด็กที่บ้าน(คนที่ทำแทนให้)
ซึ่งผลรวมของบุญสองส่วนนี้ ทั้งคุณและเด็กที่บ้านต่างก็ได้รับทั้งคู่ครับ หากคิดว่าใครได้บุญมากกว่ากัน(จะกลายเป็นบุญปนบาป บาปเพราะเรากังวลที่ไม่ได้ทำด้วยตัวเองแล้วกลัวว่าจะได้บุญน้อยกว่าคนที่ทำให้เรา) และต้องบอกให้เด็กที่ทำ ว่าเค้าก็ได้รับผลบุญมากไม่น้อยกว่าเรา เค้าจะได้ตั้งใจและเชื่อมั่นในการใส่บาตร เหมือนกับว่าเด็กที่ทำ เค้าได้เตรียมของและได้ใส่บาตรเพราะตัวเขาเองด้วยไม่ใช่ได้บุญเพราะเราเป็นคนสั่งให้ทำ.......คุณOwanจะได้สบายใจ

:b40: :b39: หากวันไหนว่างๆถึงมาใส่บาตรด้วยตัวเราเอง หรือใส่บาตรพร้อมกับเด็กที่บ้านนั่นแหละอย่าลืมว่าช่วยกันทำ "ย่อมได้รับผลบุญ x2 เสมอ...ๆ ." อย่าไปคิดว่าใครได้มากน้อยกว่ากันไม่มีประโยชน์หรอกหากคิดแบบนั้น บางบ้านเวลาทำบุญหรือใส่บาตรเค้าจะเรียกพี่น้องลูกหลานมาใส่ทั้งครอบครัวเลย ยิ่งดีใหญ่ แต่บางทีลุกหลานอาจยังไม่ตื่นหรือขี้เกียจมาใส่ ก็เลยมีแต่ผู้ใหญ่แบบเราๆมาทำแทน..... พูดมาเยอะแล้ว เด่วจะอ่านเบื่อเสียก่อนน่ะ ........ :b48: :b47: :b42:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2009, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


O.wan เขียน:
:b8: รบกวนถามท่านผู้รู้ค่ะ คือทุกวันนี้เราจะเตรียมของไว้ใส่บาตร เกือบทุกวันค่ะ
แต่ด้วยเหตุผลของเราต้องออกแต่เช้า เราเลยต้องให้เด็กที่บ้านมีหน้าที่ใส่แทน
แต่เราก็จะจบของใส่บาตรทุกครั้ง

อยากถามท่านผู้รู้ค่ะ ว่าแบบนี้เราจะได้บุญไม๊คะ
วันนี้เราคุยกับคุณป้านักปฏิบัติธรรม เขาบอกเราว่า
เราจะได้น้อยคนที่ใส่จะได้มากกว่าเพราะเขาเป็นผู้ใส่
แต่เราไม่ห่วงบุญมากหรือน้อยนะคะ เพราะเราตั้งใจ ถ้าไม่มีเด็กเราก็จะไม่มีโอกาสได้ทำบุญเลย
เพียงแต่สงสัยว่า :b10:
มันน่าจะอยู่ที่ใจหรือเปล่าคะ เพราะทุกวันเวลาเราสวดมนต์เราก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลทุกครั้งค่ะ
ที่ถามเพราะพอมีคนทักเราเลยไม่แน่ใจค่ะ
:b10: :b10: รบกวนท่านผู้รู้ด้วยนะคะ


บุญบาป ก็คือความรู้สึกนั่นแหละครับ ไม่ซับซ้อนเลย
ความรู้สึกที่ดี คือ กุศลจิต แปลว่าบุญ
ความรู้สึกไม่ดี ก็คือ อกุศลจิต แปลว่าบาป
รุ้สึกกลางๆ เรียกว่าอัพกฤตจิต (เช่นการเดิน ยืน นั่ง นอน)

(แต่ถ้าอยากรู้ขั้นละเอียดว่าบาปบุญมันคืออะไรยังไงก็ศึกษาเรื่องเจตสิก 3 หมวด 52 ประการ ก็จะเข้าใจอย่างละเอียดนะครับ)


ความรู้สึกมาจากไหน ก้มาจากได้เห้นได้ยินได้ฟัง แล้วปรุงความรู้สึกต่างๆขึ้น
พูดง่ายๆว่า บุญบาป คือสิ่งที่จิตใจเราปรุงขึ้นเอง แล้วแต่ใครจะปรุงไปมากน้อยอย่างไร


อย่างพระพุทธเจ้าท่านบอกในบุญกริยาวัตถุว่า "บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา"
คิดดูให้ดีว่า อนุโมทนาเฉยๆ ทำไมถึงได้บุญ
เดินมาเจอคนตักบาตรแล้วนึกอนุโมทนาในใจก็ได้บุญขึ้นมาซะอย่างนั้น
ทั้งๆที่กับข้าวก็ไม่ได้ทำ บาตรก้ไม่ได้ตัก

ความรู้สึกยินดี หรืิความสุขอันนั้นนั่นแหละ คือบุญ
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า "บุญเป็นชื่อของความสุข"


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ปุญญวิปากสูตร

[๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย
คำว่าบุญนี้เป็นชื่อของความสุข



อนุโมทนาจิต คือจิตที่เห้นความดีแล้วยินดี (มุทิตาจิต)
กล่าวคือได้เห็นได้ยินได้ฟังแล้วเกิดความยินดีขึ้น
จึงกล่าวว่าบุญสำเร้จได้ด้วยการอนุโมทนา


บุญจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าเราปรุงแต่งไปมากน้อยแค่ไหน
พูดง่ายๆว่าเรารู้สึกมากน้อยแค่ไหน

มันไม่เกี่ยวกับกายกรรมว่าคนทำกับข้าวได้บุญน้อย คนตักบาตรได้บุญมาก
แต่คุณยายคนนั้นเขาเชื่ออย่างนั้นโดยสุจริตใจ จิตเขาย่อมปรุงไปอย่างนั้นได้
มันจริงในเงื่อนไขของคุณยาย แต่สำหรับเราเราสงสัยลังเล จึงไม่ได้ปรุงบุญไปอย่างคุณยายปรุง

มีตัวอย่างเด็ดกว่านั้น เช่นมีคุณยายอีกคน มีศรัทธาจริตมาก คือไม่ค่อยลังเลสงสัย
ใครว่าอะไรเป้นบุญก็ทำหมด ไม่ค่อยจะลังเลสงสัย
คุณยายได้ยินว่าทำบุญ 9 วัด แล้วเป้นมหากุศลอย่างที่สุด
คุณยายมีศรัทธาโดยสุจริตใจ (เชื่อไปจริงๆว่าเป้นดังนั้น)
คุณยายย่อมได้บุญมากจริงๆ เพราะใจมันปรุงว่าบุญมากโดยสุจริตใจ
แต่ในขณะเดียวกัน คุณหลานที่พาคุณยายไป 9 เก้าวัด กลับหงุดหงิด เครียด เบื่อ ตลอดเวลา
ยายพาไหว้ก็ไหว้ แต่ไหว้ไปอย่างนั้น ไม่มีศรัทธา
จิตเด็กคนนี้ย่อมไม่ปรุงบุญขึ้นมาเลย ไม่มีมุทิตาจิตเลย
แต่กลับปรุงบาปขึ้นคือหงุดหงิด เบื่อ สงสัย ซึ่งเป็นเจตสิกฝ่ายอกุศล จิตใจไม่ผ่องใส

ซึ่งจะเห้นว่าการกระทำเดียวกัน เป็นได้ทั้งบุญและบาป
ซึ่งจะเห้นว่าการกระทำเดียวกัน จะปรุงให้มันมากก็ได้ ปรุงให้มันน้อยก็ได้
ขึ้นอยู่กับว่าจะปรุงไปทางไหน

แต่อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าบอกว่า...
Quote Tipitaka:
มาวมญฺเญถ ปุญฺญสฺส น มตฺตํ อาคมิสฺสติ
อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ ธีโร บุญฺญสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ
ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อยจักไม่มีมาถึง
แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด
ผู้มีปัญญาสั่งสมบูญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ ฉันนั้น

ปญฺญญฺ ปริโส กยิรา กยิราถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
ถ้าบุรุษจะพึ่งทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ
ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2009, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ขอแยกอธิบายเพิ่มตรงที่ผมพูดว่า
อ้างคำพูด:
บุญบาป ก็คือความรู้สึกนั่นแหละครับ ไม่ซับซ้อนเลย
ความรู้สึกที่ดี คือ กุศลจิต แปลว่าบุญ
ความรู้สึกไม่ดี ก็คือ อกุศลจิต แปลว่าบาป
รุ้สึกกลางๆ เรียกว่าอัพกฤตจิต (เช่นการเดิน ยืน นั่ง นอน)


ขอพูดให้ละเียดขึ้นไปอีกนิดหนึ่ง เดี๋ยวจะเข้าใจว่าความสุขทั้งหมด คือกุศลจิต


กรณีคนที่ขาดศีล ขาดสมาธิภาวนา ขาดปัญญา
ย่อมเข้าใจว่าอกุศลจิต เป้นกุศลจิต

ไม่รู้เท่าทันกิเลสทั้งหลาย จึงเหลงเข้าใจว่ากงจักรเป็นดอกบัว

เช่นโจรปล้นบ้านคนเสร้จ มีความสุข อย่างนี้ไม่ใช่กุศลจิต
เพราะเอาเข้าจริงเป้นจิตฝ่ายอกุศล คือมีความโลภะ โทสะ โมหะ
มีความสุขจากการได้มา แย่งมา

หรืออย่างได้น้ำหอมที่ชอบมา ก็มีความสุขกับการดมน้ำหอม ซึ่งเป็นโมหะจิต เป้นความเผลอขาดสติ
ไม่ใช่กุศลจิต

ซึ่งแตกต่างจาก ความสุขแบบมุทิตาจิต
มุทิตาจิตนี้ตรงข้ามกับความริษยา
ยิ่งเจริญมาก ความริษยายิ่งน้อยลง
ยิ่งเจริญมาก ของเสียยิ่งน้อยลง

กุศลจิตนั้น สังเกตุว่า เจริญแล้วต้องทำให้ใจผ่องใสสะอาดขึ้น ไม่เศร้าหมอง ไม่เดือดร้อน
อกุศลจิตนั้น ทำให้จิตใจเศร้าหมอง วุ่นวาย เดือดร้อน

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 129 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร