วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 14:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2009, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการดูและเห็นทางจิต

-- ข้อที่ต้องเปรียบเทียบกันตั้งแต่ขั้นต่ำสุด คือ ขั้นที่ดูด้วยตาธรรมดา เช่น จดไว้ในกระดาษแล้วเราก็ดูด้วยตา แล้วก็เห็น มันก็เห็นตัวหนังสือที่เขียนว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ก็ดูตัวหนังสือในกระดาษแล้วก็เห็นนะ มันไม่เห็นธรรมะ เพราะมันไม่ได้ดูด้วยธรรมจักษุ มันดูด้วยตาเนื้อ ต่อเมื่อดูด้วยธรรมจักษุ จึงจะเห็นธรรม ซึ่งดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น
-- ธรรมจักษุที่จะเห็นธรรมนั้น มันต้องดูด้วยอะไร? ลองสังเกตุของตัวเองดู ในบาลีก็มีคำว่า ธัมมจักขุง จักษุสำหรับเห็นธรรม ก็คือ ปัญญา หรือเจตสิกธรรม ที่เป็นกลุ่มของปัญญานั่นแหละ ปัญญานี้มันต้องอาศัยการดูด้วยจิตที่เป็นสมาธิ จิตเป็นสมาธิแล้วก็น้อมไปเพื่อจะเห็น ฉะนั้น เราจะต้องทำปัญญาจักษุกันอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็ดูอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เห็นอยู่ด้วยปัญญาจักษุ ไม่ใช่ปากว่าบริกรรม แต่ให้รู้สึกเห็น เห็นอย่างรู้สึก รู้สึกอย่างที่เห็น นับตั้งแต่ดูด้วยตา แล้วก็ดูด้วยปัญญา แล้วก็รักษาการดูนั้นไว้ด้วยปัญญา ยกตัวอย่างเรื่องที่พวกเราทำกันอยู่เป็นประจำ คือว่า เดินจงกรมนี้ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ถ้าดูที่เท้าด้วยตา มันก็คือการเห็น ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ดูด้วยตา ดูที่เท้า ที่จริงมันไม่ใช่อย่างนั้น มันต้องศึกษาด้วยปัญญาก่อนจนเห็นว่า มันมีแต่ การยกหรือย่าง หรือเหยียบ เท่านั้นหนอ ไม่มีบุคคล ผู้ยก ผู้ย่าง ผู้เหยียบเลย เพราะว่าเรื่องธรรมะขั้นปัญญานั้น มันไม่ใช่ยกเท้าขึ้นมา แล้วยื่นออกไป แล้วเหยียบลง ตัวอย่างนี้ มันเป็นเรื่องสติ หรือสมาธิ
-- ยกหนอ หมายความว่า มันสักว่ามีการยกเท้า มีเท้าที่ยกขึ้นแล้วหนอ แต่ไม่มีบุคคล ที่เป็นผู้ยกหรือเป็นเจ้าของเท้านี้ ให้เขาบริกรรมสั้นมากกว่า ยกหนอ เท่านั้น ถ้าทำได้ลึกอย่างนั้น มันก็เป็นการเห็นอยู่ เห็นธรรมะอยู่ เมื่อยก ย่าง เหยียบนั่นแหละ สักว่าการยกเท้าเท่านั้นหนอ สักว่าการย่างเท้าไปเท่านั้นหนอ สักว่าการเหยียบเท้าลงเท่านั้นหนอ นี่มันลึกมาก มันเป็นหัวใจของธรรมะทั้งหมด คือว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ถ้าทำถึงที่สุดเป็นวิปัสสนา มีความหมายอย่างนี้
-- ถ้าทำในขั้นริเริ่มต้นๆ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ เป็นขั้นสติ ว่าสติอยู่ที่เท้ายกขึ้นมา ที่เท้าเสือกไป ที่เท้าหย่อนลง ก็เป็นสติเท่านั้น ยังไม่ใช่ปัญญา ยังไม่ใช่การเห็น เป็นการควบคุมด้วยสติหรือว่าการที่มีสติมั่น ผูกพันติดอยู่กับเท้าที่ยก ย่าง เหยียบนี้ อย่างนี้มันก็เป็นสมาธิ ยังไม่ใช่ตาเห็นธรรม ยังไม่ใช่เห็นในขั้นวิปัสสนา ขั้นวิปัสสนามันก็ต้องเห็นที่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่แท้ที่จริงแล้ว ต้องการให้เห็นอนัตตาหรือสุญญตา ว่าไม่มีสัตว์ บัคคล ตัวตนอะไรที่ไหน ซึ่งเป็นผู้ยก ผู้ย่าง ผู้เหยียบ ตัวธรรมะแท้ เห็นด้วยปัญญา เรียกว่า วิปัสสนา
-- ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ไม่เพียงแต่ว่าเป็น สติ หรือว่าเป็นสมาธิ และไม่ได้หมายความว่า เห็นด้วยตา ความจริงการดับกิเลสตัณหานี้ ดับด้วย อนัตตา เพียง อนิจจังยังไม่ดับ ต้องให้เห็นทุกขัง เพียงทุกขัง ยังไม่ดับ ต้องเห็นอนัตตา มันจึงจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด บรรลุมรรคผลได้ ให้เห็นว่า สังขารทั้งปวงเป็นอนัตตา สิ่งปรุงแต่งทั้งหลายเป็นอนัตตา เอาปัญญาเป็นจักษุ ธรรมจักษุนี้มาดูอยู่ด้วยกันตลอดเวลาทุกอริยาบถ เมื่ออริยาบทยืนก็ยืนหนอ สักว่าการยืนหนอ ไม่มีเจ้าของตัวผู้ยืน เมื่อเดินนี้แยกเป็น ยก ย่าง เหยียบนี้ มันก็สักว่า ยก ย่าง เหยียบ ไปตามเหตุ ปัจจัยของมันเท่านั้นเองหนอ ไม่มีส่วนไหนที่จะเป็นบุคคล ตัวตนอันแท้จริง เพราะฉะนั้น ทุกๆหนอ อาจจะทำให้เป็นวิปัสสนาได้ ถ้าขั้นฉันอาหาร หยิบหนอ ยกหนอ ใส่ปากหนอ เคี้ยวหนอ กลืนหนอ นี่ก็เหมือนกันอีก สักว่ามือมันหยิบอาหารมาด้วยเหตุปัจจัยนามรูปอะไรก็ตาม ไม่มีกู ไม่มีกูผู้หยิบอาหาร ไม่มีกูผู้กินอาหาร ไม่มีผู้กลืนหนอ อร่อยหนอ ไม่มีตัวตนแห่งความอร่อย ไม่มีตัวตนแห่งบุคคลอร่อยเลย
-- จะเดิน จะยืน จะนั่ง จะนอน จะกิน จะอาบ จะถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ ทุกอย่างแหละ ใส่คำว่า หนอ แล้ว มันเป็น สักว่า เท่านั้น หรือ เช่นนั้น เท่านั้นหนอ มันเป็นวิปัสสนาอยู่ในอริยาบถนั้นๆถึงกับว่าจะบรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์ในอริยาบถนั้นๆอยู่ก็ได้ เพราะว่าเป็นวิปัสสนา
-- การดูและการเห็น มันไม่ได้อยู่ที่ไหนเมื่ไร ในอริยาบถไหนมันก็เกิดบรรลุมรรคผลขึ้นได้ ในอริยาบถนั้นๆที่นั่น และเมื่อนั้น เพราะฉะนั้น เราทำให้ดีๆสิ ทำให้ถูกๆ ให้ดีๆ ให้เป็ยวิปัสสนา คือ ดูและเห็น อยู่ด้วยปัญญาจักษุ ก็จะบรรลุธรรม คือ บรรลุมรรคผล
-- สรุปความว่า ขอให้ปฏิบัติถึงขั้นที่มันเป็นวิปัสสนา เช่น ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ก็ให้ถึงขั้นวิปัสสนา คือ รู้อยู่แก่ใจแจ่มชัดว่า มันสักว่า อริยาบถ ยก ย่าง เหยียบ เท่านั้นหนอ ไม่มีผู้ยก ย่าง เหยียบ สักว่า เป็นกิริยา อาการของการ ยก ย่าง เหยียบ เท่านั้นหนอ นี้เรียกว่า วิปัสสนา คือ การเห็น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2009, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อดูและการเห็นทางจิต รู้ว่าขันธ์และสังขารเป็นอนัตตา ผลของความรู้ว่า ขันธ์และสังขารเป็นอนัตตา ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ สิ่งสุดท้ายจิตจะมีสติ ถอดถอนออกจากขันธ์และสังขารที่เป็นอนัตตา และไม่คิดปรุงแต่งต่อไป จิตสังขารย่อมดับไป เหลือแต่จิตบริสุทธิ์ที่เที่ยงและไม่ทุกข์อีกต่อไป

จิตบริสุทธิ์ที่เที่ยงและไม่ทุกข์ก็มีอายตนะเหมือนกัน เรียกว่า อายตนะนิพพาน หรือ ธรรมกาย หรือ ธรรมขันธ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2009, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เขียน:
เมื่อดูและการเห็นทางจิต รู้ว่าขันธ์และสังขารเป็นอนัตตา ผลของความรู้ว่า ขันธ์และสังขารเป็นอนัตตา ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ สิ่งสุดท้ายจิตจะมีสติ ถอดถอนออกจากขันธ์และสังขารที่เป็นอนัตตา และไม่คิดปรุงแต่งต่อไป จิตสังขารย่อมดับไป เหลือแต่จิตบริสุทธิ์ที่เที่ยงและไม่ทุกข์อีกต่อไป

จิตบริสุทธิ์ที่เที่ยงและไม่ทุกข์ก็มีอายตนะเหมือนกัน เรียกว่า อายตนะนิพพาน หรือ ธรรมกาย หรือ ธรรมขันธ์



-- เมื่อดูและเห็น ดูยังไง และเห็นยังไงคะคุณพลศักดิ์ ช่วยกรุณาอธิบายแบบรูปธรรมได้ไหมคะ พูดแบบนี้ ใครๆก็พูดได้ค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2009, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อ้างถึง http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิปัสสนา
ผลการค้นหาที่ 2/9
วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,
การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น

ผลการค้นหาที่ 1/9
เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

อ้างถึง : เรียบเรียงจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)

ธรรมมีอุปการะมาก 2
1. สติ (ความระลึกได้, นึกได้, สำนึกอยู่ไม่เผลอ) mindfulness
2. สัมปชัญญะ (ความรู้ชัด, รู้ชัดสิ่งที่นึกได้, ตระหนัก, เข้าใจชัดตามความเป็นจริง) clear comprehension

ข้อความกระทู้ : หลักการดูและเห็นทางจิต หลวงพ่อพุทธทาส // บรรยายเกี่ยวกับการเดินจงกรม

ข้อแสดงความคิดเห็น : แสดงว่าการเดินจงกรมคือการเจริญวิปัสสนาให้เห็นไตรลักษณ์โดยมีสติสัมปชัญญะเป็นอุปการะ

เนื่องจากยังอยู่ในการศึกษาธรรมขั้นต้นอาจจะแสดงความคิดเห็นผิดพลาดไม่ถูกต้องคุณ walaiporn ช่วยกรุณาชี้แนะเพิ่มเติมด้วยครับ ( จากกระทู้ของคุณทำให้ผมเปรียบเทียบและคิดว่าเห็นชัดขึ้น...วิปัสสนา)

:b44: :b20: :b8: เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2009, 06:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เขียน:
เมื่อดูและการเห็นทางจิต รู้ว่าขันธ์และสังขารเป็นอนัตตา ผลของความรู้ว่า ขันธ์และสังขารเป็นอนัตตา ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ สิ่งสุดท้ายจิตจะมีสติ ถอดถอนออกจากขันธ์และสังขารที่เป็นอนัตตา และไม่คิดปรุงแต่งต่อไป จิตสังขารย่อมดับไป เหลือแต่จิตบริสุทธิ์ที่เที่ยงและไม่ทุกข์อีกต่อไป

จิตบริสุทธิ์ที่เที่ยงและไม่ทุกข์ก็มีอายตนะเหมือนกัน เรียกว่า อายตนะนิพพาน หรือ ธรรมกาย หรือ ธรรมขันธ์


-- คุณพลศักดิ์

-- บอกตามตรง สิ่งที่คุณพลศักดิ์นำมาโพสนั้น มันไม่ใช่สภาวะที่หลวงพ่อพุทธทาสท่านกล่าวถึง ถ้าตราบใด ยังมีการให้ความหมายในสิ่งที่เห็น นั่นเรียกว่า บัญญัติ เกิดจากอุปทาน เป็นเพียงสมถะเท่านั้นเอง หาใช่วิปัสสนาที่แท้จริงไม่ คิดเอาเอง หาใช่สภาวะที่แท้จริงไม่ ในสิ่งที่คุณบรรยายมาทั้งหมด
( สภาวะที่แท้จริงไม่มีคำเรียกหรอก ไม่ว่าจะปฏิบัติสติปัฏฐานไหน ล้วนเห็นเหมือนกันหมด ไม่มีความแตกต่าง )

-- นำมาให้อ่านเปรียบเทียบ ให้เห็นว่า ไม่ว่าจะนำมาบรรยายแบบไหน ก็คือ สภาวะเดียวกัน

เมื่อโยคีบุคคลได้กำหนดพิจรณาในสังเขตธรรมรูป,นามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าตามสภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยอยู่ สันตติบัญญัติและฆนบัญญัติที่กำบังปกปิดการเกิดดับของสังเขตธรรมรูป,นามที่ขาดแตกไป เป็นความเห็นที่บริสุทธิ์เกิดขึ้นเวลาใด เวลานั้นวิปัสสนาญาณของโยคีบุคคลก็เข้าถึงความเป็นอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นได้ หมายความว่า ผู้ที่ไม่มีการกำหนดรู้ในสังเขตธรรมที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าทุกๆระยะของจิตและรูปนั้น อย่าว่าแต่ความเกิดดับของสังเขตธรรมรูป,นามเลย แม้แต่รูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าก็ไม่รู้ไม่เห็นเสียแล้วคงรู้คงเห็นแต่บัญญัติ เช่น
เมื่อได้เห็นสีก็คงรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ ชาย หญิง เด็ก ผู้ใหญ่ สัตว์ ต้นไม้ บ้านเรือน ผ้าผ่อน
เมื่อได้ยินเสียง ก็คงรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้เป็นเสียงชาย หญิง สัตว์ ดนตรี หัวเราะ ร้องไห้
เมื่อได้กลิ่น ก็คงรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ เป็นกลิ่นดอกไม้ กลิ่นของหอม กลิ่นอาหาร กลิ่นอุจจาระ
เมื่อได้รส ก็คงจะรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ รสมะขาม มะนาว ส้ม ผลไม้ พริก เกลือ น้ำตาล
เมื่อได้สัมผัสกับความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ก็คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ น้ำแข็ง น้ำร้อน ไฟ สำลี นุ่น ไม้ มีด อิฐ หิน พอง ยุบ ร่างกาย หย่อน เบา แข็ง ตุง หนัก ยกมือ ยกขา ดังนี้เป็นต้น
นี้เป็นโดยสันตตบัญญัติและฆนบัญญัติได้กำบังปกปิดในอารมณ์ภายนอกต่างๆและอารัมมณิกวิถีจิตภายในเอาไว้นั่นเอง จึงมีความรู้ความเข้าใจไปดังนี้ เรียกว่า สันตติบัญญัติไม่ขาด ฆนะก็ไม่แตก

แต่ความเป็นจริงนั้น ขณะที่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ รูปารมณ์เก่าย่อมดับไป รูปารมณ์ใหม่เกิดขึ้น ติดต่อกันไม่ขาดสาย ผู้เห็นคงเห็นแต่รูปารมณ์ที่เกิดใหม่ตลอดระยะเวลาที่ดูอยู่ วิถีจิตที่เกิดขึ้นรับรูปารมณ์คือ การเห็นนั้นแล้ว ก็มีการเห็นเก่าดับไป การเห็นใหม่เกิดแทน ติดต่อกันโดยไม่ขาดสายเช่นกัน แต่แล้วผู้ดูอยู่ก็เห็นผิดเข้าใจไปในรูปารมณ์และการดูของตนว่า รูปารมณ์ที่ตนดูอยู่ก็ดี การเห็นของตนที่กำลังเห็นก็ดี ในนาทีแรกและนาทีหลังคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคงที่อยู่เป็นปกติ ขณะได้ยิน ได้กลิ่น ได้สัมผัสอยู่ เสียงกับการได้ยินก็ดี กลิ่นกับการได้กลิ่นก็ดี รสกับการกินก็ดี เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง กับการสัมผัสก็ดี เหล่านี้มีสภาวะเช่นกันคือ เก่าดับไป ใหม่เกิดขึ้นติดต่อกันไปไม่ขาดสาย แต่แล้วก็มีการเข้าใจผิดไปว่าเป้นอันหนึ่งอันเดียวกันคงที่อยู่ปกติ การเกิดขึ้นสืบต่อกันแห่งอารมณ์ภายนอกและอารัมมณิกวิถีจิตภายในเป็นสันตติบัญญัติ การเกิดขึ้นสืบต่อเนื่องกันไปมีสภาวะไม่ขาดสายแห่งอารมณ์ภายนอกและอารัมณิกวิถีจิตภายในนั้น ซึ่งคล้ายๆกับเป็นกลุ่มเป็นกอง นี้เป็น ฆนบัญญัติ ในบัญญัติ ๒ ประการนี้ เมื่อสันตติบัญญัติปรากฏในใจ ฆนบัญญัติก็ปรากฏในในพร้อมๆกัน ดังนั้นจะเรียกรวมกันทั้งสองอย่างว่าสันตติฆนบัญญัติก็ได้
สันตติฆนบัญญัติได้กำบังปกปิดไว้ดังกล่าวนี้แหละ จึงทำให้ผู้ที่ไม่มีสติกำหนดรูป,นามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า ไม่มีใครได้รู้เห็นความเกิดดับที่เป็นอนิจจลักขณะได้

ฝ่ายผู้ที่ทำการกำหนดสังเขตธรรมรูป,นามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า โดยมีสติรู้อยู่ติดต่อกันไม่ขาดสายนั้น ย่อมรู้เห็นแทงทะลุปรุโปร่งสันตติฆนบัญญัติ ที่กำลังปกปิดการเกิดดับของสังเขตธรรมรูป,นามไปได้ โดยการกำหนดรู้เห็นวิถีจิตที่ก่อเกิดก่อนและวิถีจิตที่เกิดขึ้นทีหลังในระยะเวลาที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสกับ ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เมื่อย เจ็บ ปวด ดีใจ เสียใจ นึกถึงต่างๆเหล่านี้ขาดลงเป็นตอนๆไม่เป็นอันหนึ่งเดียวกัน ในด้านรูปนั้น ก็คงกำหนดรู้เห็นรูปที่เกิดก่อนและรูปที่เกิดหลัง ในระยะเวลาที่พองขึ้น ยุบลง หายใจเข้า หายใจออก ยกมือ ยกขา ก้าวไปข้างหน้า ถอยมาข้างหลัง ลุกขึ้น นั่งลง เหลียวซ้าย แลขวา กระพริบตา อ้าปาก เหล่านี้ขาดเป็นตอนๆ ไม่ใช่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การรู้เห็นในวิถีและอารมณ์ขาดเป็นตอนๆดังนี้เรียกว่า สันตติบัญญัติขา,ฆนบัญญัติแตก อนิจจลัขณะคือ ความเกิดดับไปก็ปรากฏขึ้น เป็นอันว่าวิปัสสนาญาณของผู้นั้นได้เข้าถึงอนิจจานุปัสสนาที่แท้จริง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2009, 06:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อัญญาสิ เขียน:
:b8:

อ้างถึง http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิปัสสนา
ผลการค้นหาที่ 2/9
วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,
การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น

ผลการค้นหาที่ 1/9
เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

อ้างถึง : เรียบเรียงจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)

ธรรมมีอุปการะมาก 2
1. สติ (ความระลึกได้, นึกได้, สำนึกอยู่ไม่เผลอ) mindfulness
2. สัมปชัญญะ (ความรู้ชัด, รู้ชัดสิ่งที่นึกได้, ตระหนัก, เข้าใจชัดตามความเป็นจริง) clear comprehension

ข้อความกระทู้ : หลักการดูและเห็นทางจิต หลวงพ่อพุทธทาส // บรรยายเกี่ยวกับการเดินจงกรม

ข้อแสดงความคิดเห็น : แสดงว่าการเดินจงกรมคือการเจริญวิปัสสนาให้เห็นไตรลักษณ์โดยมีสติสัมปชัญญะเป็นอุปการะ

เนื่องจากยังอยู่ในการศึกษาธรรมขั้นต้นอาจจะแสดงความคิดเห็นผิดพลาดไม่ถูกต้องคุณ walaiporn ช่วยกรุณาชี้แนะเพิ่มเติมด้วยครับ ( จากกระทู้ของคุณทำให้ผมเปรียบเทียบและคิดว่าเห็นชัดขึ้น...วิปัสสนา)

:b44: :b20: :b8: เจริญในธรรม


-- เข้าไปอ่านกระทู้นี้หรือยังคะคุณอัญญาสิ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=19855

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2009, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ขอบคุณครับ คุณwalaiporn ที่กรุณาต่อยอดทางปัญญาให้
:b44: :b8: เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


-- วันนี้มายกตัวอย่างให้ฟัง 1 สภาวะ พอดีพี่คนนี้เขาปฏิบัติแนวดูจิต การดูจิตก็อยู่ในการปฏิบัติแนวเจริญสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง

-- มีอยู่วันหนึ่ง ขณะที่เขากำลังเดินทาง นั่งอยู่ในรถแล้วมองออกไปนอกหน้าต่าง เขาบอกว่า มันแปลกมากๆ ภาพต่างๆที่เขาเห็นมันเหมือนภาพสโลว์โมชั่น แบบว่า ภาพที่เคลื่อนไหวนั้นมันช้ามากๆ มันไม่ใช่แบบธรรมดาที่มองเห็นๆกัน แล้วมันก็ขาดออกจากกันเหมือนหนังที่ขาดออกเป็นตอนๆ

-- ถ้าผู้ใดได้แต่เอาแต่นั่งสมาธิบริกรรมภาวนาอย่างเดียว ได้อย่างมากก็แค่สมถะ แต่ไม่อาจเห็นสภาพตามความเป็นจริงนี้ได้ ยกเว้นผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน 4 เท่านั้นที่จะเห็นสภาวะนี้ได้

-- แล้วในกรณีที่เคยมีคนนำมากล่าวว่า " ย่ำๆ ก็รู้ว่า ย่ำ เดินๆ ก็รู้ว่าเดิน มันจะรู้อยู่ในจิต " หรือ การเดิน 6 ระยะนั้น มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น อันนี้ไม่จริง ผู้ปฏิบัติแนวสติปัฏฐาน 4 นี่แหละที่จะรู้สภาวะตรงนี้ได้ เมื่อหมั่นเจริญสติปัฏฐานมาถึงระดับหนึ่ง

-- ส่วนผู้ที่เคยเจริญสติแบบใช้อารมณ์บัญญัติเข้าช่วย เช่นใช้ " หนอ " เมื่อมาถึงตรงนี้ จะยก จะย่าง จะเหยียบ ทุกอริยาบทที่เคลื่อนไหว มันจะรู้อยู่ในจิตโดยอัตโนมัติ " หนอ " จะหายไปเอง มันจะรู้เองทุกย่างก้าวที่เดินโดยไม่ต้องกำหนดใดๆหรืออะไรทั้งสิ้น

-- สำหรับผู้ที่เคยเข้าใจว่า " หนอ " เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนานั้น เมื่อมาถึงตรงนี้จะรู้เองว่า " หนอ " นั้นเป็นเพียงสมถะอย่างเดียว หาใช่วิปัสสนาไม่

-- ส่วนการเห็นแจ้ง หรือ วิปัสสนาญาณ นั่นมันอีกเรื่องหนึ่งนะ คนละสภาวะกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สำหรับผู้ที่เคยเข้าใจว่า " หนอ " เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนานั้น เมื่อมาถึงตรงนี้จะรู้เองว่า " หนอ " นั้นเป็นเพียงสมถะอย่างเดียว หาใช่วิปัสสนาไม่




คุณวลัยพร
ถ้าเป็นอย่างนั้น หากผู้ปฏิบัติต้องการแต่วิปัสสนาอย่างเดียว ไม่เอาสมถะ
จะไปทางลัด ตัดเข้าสู่วิปัสสนาเลย ไม่เอาหนอแล้ว เอาคำอื่นแทน "หนอ"
เอา "แหน่" เป็นต้น แทนเสีย แบบนี้พอได้ไหม ก็ในเมื่อ หนอ เป็นสมถะอย่างเดียว ไม่เป็นวิปัสสนา :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
เอา "แหน่" เป็นต้น แทนเสีย แบบนี้พอได้ไหม


สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์กรัชกาย ถ้ายังงั้นก็ต้องเป็น "ยุบแหน่ พองแหน่"

เอาอย่างนี้จริงๆหรือครับ.... :b5: :b5: :b5:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b17: :b29: ขอขัดจังหวะธรรมหน่อยนคะ :b39: :b39:
:b8: :b8: สวัสดีปีใหม่ K.กรัชกราย ไม่เห็นในโพสต์หลายวัน ไปเจริญธรรมะที่ไหนมาคะ
:b36: :b36: :b36: ปีใหม่นี้ขอให้คุณพบแต่สิ่งดีๆในชีวิตนะคะ :b36: :b36: :b36:
:b41: :b41: :b41: :b8: :b8: :b8: :b41: :b41: :b41:
:b8: :b8: K.ฌาน :b8: ด้วยนะคะ ปีนี้ขอให้ได้ 10 ดวงนะคะ :b36: :b36: :b36:
:b41: :b41: :b41: :b8: :b8: :b8: :b41: :b41: :b41:
:b8: :b8: K.walaiporn เราทึ่งคุณมากเลย คุณมีความรู้แยะมากเลยค่ะ เราชอบอ่านโพสต์
ของคุณนะคะ ปีใหม่นี้เราขอสมัครเป็นลูกศิษย์ :b17: :b17: ธรรมะด้วยคนนะคะ :b41:
:b41: :b41: :b41: :b8: :b8: :b8: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ :b8: และสวัสดีปีใหม่ครับ คุณฌานและคุณ O.wan :b36: ขอคุณพระคุ้มครอง และประสบแต่ความสุขตลอดปีเช่นกันครับ

อ้างคำพูด:
ถ้ายังงั้นก็ต้องเป็น "ยุบแหน่ พองแหน่" เอาอย่างนี้จริงๆหรือครับ


รอคำตอบจากคุณ walaiporn ก่อน เห็นเค้ากล่าวว่า ( " หนอ " นั้นเป็นเพียงสมถะอย่างเดียว หาใช่วิปัสสนาไม่)

สงสัยจึงถาม :b1:

กรัชกายจะลัดเข้าวิปัสสนาบ้าง โดยไม่ใช้หนอ เพราะใช้มานานแล้ว เค้าว่า หนอ เป็นเพียงสมถะ
ไม่ใช่วิปัสสนา เมื่อไม่เอาหนอแล้ว ใช้คำอื่นแทนได้ไหม (แหน่) ตัวอย่าง เช่น พองแหน่ ยุบแหน่ นั่งแหน่ ...
ซ้าย ย่าง แหน่ ขวา ย่าง แหน่ ..... ยกแหน่ ย่างแหน่ เหยียบแหน่...
แล้วอย่างนี้เป็นวิปัสสนาไหม เป็นวิปัสสนาหรือยัง :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
สำหรับผู้ที่เคยเข้าใจว่า " หนอ " เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนานั้น เมื่อมาถึงตรงนี้จะรู้เองว่า " หนอ " นั้นเป็นเพียงสมถะอย่างเดียว หาใช่วิปัสสนาไม่




คุณวลัยพร
ถ้าเป็นอย่างนั้น หากผู้ปฏิบัติต้องการแต่วิปัสสนาอย่างเดียว ไม่เอาสมถะ
จะไปทางลัด ตัดเข้าสู่วิปัสสนาเลย ไม่เอาหนอแล้ว เอาคำอื่นแทน "หนอ"
เอา "แหน่" เป็นต้น แทนเสีย แบบนี้พอได้ไหม ก็ในเมื่อ หนอ เป็นสมถะอย่างเดียว ไม่เป็นวิปัสสนา :b1:


คุณ กรัชกาย

-- บอกแล้ว เวลาอ่าน กรุณาอ่านให้ละเอียด อย่าเอาแต่ใจตัวเอง เอาแต่ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ จนมองไม่ทั่ว มองไม่เห็น

-- การที่คุณกล่าวว่า

" ถ้าเป็นอย่างนั้น หากผู้ปฏิบัติต้องการแต่วิปัสสนาอย่างเดียว ไม่เอาสมถะ
จะไปทางลัด ตัดเข้าสู่วิปัสสนาเลย ไม่เอาหนอแล้ว เอาคำอื่นแทน "หนอ"
เอา "แหน่" เป็นต้น แทนเสีย แบบนี้พอได้ไหม ก็ในเมื่อ หนอ เป็นสมถะอย่างเดียว ไม่เป็นวิปัสสนา "

-- กลับไปอ่านข้อความที่หลวงพ่อพุทธทาส และที่หลวงพ่อภัททันตะ ที่ท่านเขียนไว้ และอ่านข้อความที่ดิฉันโพสไว้ให้ละเอียด หากอ่านแล้วยังมองไม่เห็นก็จงอ่านตรงนี้

" การที่ผู้ปฏิบัติต้องการแต่วิปัสสนาอย่างเดียว ไม่เอาสมถะ จะไปทางลัด ตัดเข้าสู่วิปัสสนาเลย "
-- นี่นะ มันเป็นไปไม่ได้หรอกค่ะ คำว่า สมถะของคุณนั้นหมายถึงสมาธิระดับไหนล่ะคะ สำหรับดิฉัน คำว่า สมถะ หมายถึงผลของการทำสมาธิ ไม่ว่าจะเป็น ขณิก อุปจาร หรืออัปปนา ก็ตาม ถือว่าเป็นสมถะ ผลของการเจริญสติปัฏฐาน 4 อย่างต่อเนื่อง มันไม่ใช่แค่ได้สติ สัมปชัญญะอย่างเดียว ผลที่พลอยได้อีกอย่างก็คือ รวมทั้งสมาธิและ วิปัสสนา ( การเห็นตามความเป็นจริง ) ด้วยค่ะ ไม่ใช่แค่ได้ผลอย่างใดอย่างหนึ่ง

-- ส่วนเรื่องการเจริญสตินั้น ดิฉันเคยบอกไปแล้วนี่ ว่ามี 2 แบบ คือ

1. รู้ลงไปตรงๆตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในกาย เวทนา จิต ธรรม จะทำอะไรก็ให้รู้ลงไปตรงๆ

2.อาศัยอารมณ์บัญญัติ เช่น ใช้คำว่า " หนอ " เข้าช่วย เป็นการรั้งจิตให้ช้าลง ทำให้เกิดสติ สัมปชัญญะเร็วขึ้น

-- ทำได้ผลทั้งสองวิธี สุดแต่ว่าใครจะถูกจริตแบบไหน

" ไม่เอาหนอแล้ว เอาคำอื่นแทน "หนอ" เอา "แหน่" เป็นต้น แทนเสีย แบบนี้พอได้ไหม ก็ในเมื่อ หนอ เป็นสมถะอย่างเดียว ไม่เป็นวิปัสสนา "

-- ส่วนคุณจะใช้ คำว่า แหน่ หรือ คำว่า อะไรก็เรื่องของคุณ เคยได้ยินไหม ที่เขาพูดเรื่องต้มยำน่ะ เขาบอกว่า ต่างคนต่างชิม ต่างคนต่างรู้ เป็นปัจจัจตัง จริงๆแล้ว การที่มีคนกล่าวเช่นนั้น เพราะเขายังไม่รู้ เขายังมีการปรุงแต่งตามที่ลิ้นได้สัมผัส นั่นมันคือพื้นฐานในการรู้ รู้แต่บัญญัติ แต่ยังไม่เห็นสภาวะปรมัตถ์ที่แท้จริง แต่เมื่อเจริญสติปัฏฐาน 4 อย่างต่อเนื่อง เขาชิมต้มยำเหมือนๆกัน ต่างคนต่างชิม แต่ทำไมเขาถึงกล่าวเหมือนกันว่า มันไม่มีรสชาติอะไรเลย นั่นเพราะเขาเห็นตามความเป็นจริงแล้ว (วิปัสสนา ) เหตุที่มาเรียกกันว่าต้มยำเพราะอะไร เพราะ เคยเห็นลักษณะแบบนี้ เขาเรียกว่าต้มยำ ก็เลยเรียกตามๆกันว่าต้มยำ ส่วนรสชาตินั้นที่แตกต่างกันไป เนื่องจากเจ้าตัวสังขารมันจะปรุงแต่ง แต่ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน 4 อย่างต่อเนื่อง และได้เห็นสภาวะตามความเป็นจริง ( วิปัสสนา ) แล้ว เขาจะไม่กล่าวเช่นนี้กันหรอก เขาจะพูดเหมือนๆกันว่า มันก็คือ ต้มยำ ตามสมมุติบัญญัติที่เรียกกัน เท่านั้นเอง

-- เหมือนเรื่องคำว่า " หนอ " ก็เช่นเดียวกัน ทำไมคุณไม่มองย้อนกลับล่ะ ดิฉันนั้นก็ฝึกสติปัฏฐาน 4 มา โดยใช้อารมณ์บัญญัติ คำว่า " หนอ " ทำไมดิฉันถึงสนทนากับคนอื่นๆได้เกี่ยวกับคำว่า " หนอ " โดยที่คนอื่นยอมรับ ไม่มีข้อโต้แย้ง แต่ทำไมเวลาคุณพูดถึงคำว่า " หนอ " ซึ่งคุณบอกว่า บางที่รังเกียจ " หนอ " จริงๆแล้ว คุณต้องมองย้อนกลับมาที่ตัวคุณ ว่าทำไมคนถึงรังเกียจเวลาที่คุณพูด เพราะคุณอธิบายรายละเอียดให้เขาฟังไม่ได้ มีแต่ใช้คำพูดประชดประชันใส่ผู้อื่นเขา อีกอย่างที่สำคัญก็คือ คุณยังไม่เคยเจอสภาวะปรมัตถ์ที่แท้จริง คุณเลยยังยึดเหนียวแน่นกับคำว่า " หนอ " บัญญัติเห็นอยู่ชัดๆ

-- กลับไปย้อนอ่านใหม่ อ่านให้ละเอียด หลวงพ่อพุทธทาส เขียนอีกแบบหนึ่ง หลวงพ่อภัททันตะ เขียนอีกแบบหนึ่ง เขียนกันคนละแบบ แต่ทำไมเป็นเรื่องเดียวกัน สภาวะเดียวกัน กลับไปพิจรณาให้ดีๆ ผู้ที่ไม่เคยผ่านสภาวะนี้ อ่านไปก็ไม่เข้าใจหรอก มันต้องผ่านแล้ว ถึงจะอ่านได้อย่างหมดจดแจ่มแจ้ง เพราะเข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว แยกออกได้แล้วว่า อันไหนบัญญัติ อันไหน ปรมัตถ์

" พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า สติปัฏฐาน 4 คือ ทางสายเอก "

-- คุณกรัชกายรู้หรือยังล่ะ ว่าทำไมพระองค์จึงทรงตรัสเช่นนั้น แล้วรู้หรือยังว่าทำไมการปฏิบัติของพม่านั้น ทำไมจึงกล่าวว่า ขณิกสมาธินั้นเป็นที่ต้องการหรือเหมาะแก่การทำวิปัสสนา แล้วทำไมพม่าถึงเน้นสติปัฏฐาน 4 มากกว่าปฏิบัติแบบอื่นๆ รู้หรือยัง แล้วอีกอย่างหนึ่งทำไมตอนนี้หลายๆสำนักปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะใช้ " หนอ " หรือ ไม่ใช้ " หนอ " ทำไมจึงหันมาเน้นเรื่องสติปัฏฐาน 4 กันมากกว่าที่จะเน้นเรื่องสมาธิ รู้หรือยังว่าทำไม

-- การที่เรายอมรับความจริงว่า เราไม่ได้รู้อะไรไปทุกอย่างเสียหมด ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร คนเราย่อมไม่รู้ ก่อนที่จะรู้ เมื่อรู้แล้ว มันก็วาง ไม่ไปยึดมั่นถือมั่น เพราะมันไม่มีอะไรที่จะให้ยึดมั่นถือมั่น

-- เปิดกว้างความคิดเห็นค่ะคุณกรัชกาย :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


O.wan เขียน:
:b8: :b17: :b29: ขอขัดจังหวะธรรมหน่อยนคะ :b39: :b39:
:b8: :b8: สวัสดีปีใหม่ K.กรัชกราย ไม่เห็นในโพสต์หลายวัน ไปเจริญธรรมะที่ไหนมาคะ
:b36: :b36: :b36: ปีใหม่นี้ขอให้คุณพบแต่สิ่งดีๆในชีวิตนะคะ :b36: :b36: :b36:
:b41: :b41: :b41: :b8: :b8: :b8: :b41: :b41: :b41:
:b8: :b8: K.ฌาน :b8: ด้วยนะคะ ปีนี้ขอให้ได้ 10 ดวงนะคะ :b36: :b36: :b36:
:b41: :b41: :b41: :b8: :b8: :b8: :b41: :b41: :b41:
:b8: :b8: K.walaiporn เราทึ่งคุณมากเลย คุณมีความรู้แยะมากเลยค่ะ เราชอบอ่านโพสต์
ของคุณนะคะ ปีใหม่นี้เราขอสมัครเป็นลูกศิษย์ :b17: :b17: ธรรมะด้วยคนนะคะ :b41:
:b41: :b41: :b41: :b8: :b8: :b8: :b41: :b41: :b41:


คุณ O.wan

-- ดิฉันเป็นเพียงผู้ปฏิบัติธรรมดาๆคนหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ใช่ครูบาอาจารย์แต่อย่างใดค่ะ ถ้าคุณจะมาสมัครเป็นลูกศิษย์นั้น คงไม่ได้หรอกค่ะ เพราะไม่เคยสอนใคร มีแต่แบ่งปันประสพการณ์กันเท่านั้นเอง ภาษาทางธรรมนั้น เราเป็นสหธรรมมิกค่ะ

-- ถ้าคุณ O.wan ปฏิบัติแล้วติดขัดตรงไหน ถามกันได้ค่ะ ไม่ต้องเกรงใจ ถ้าตรงไหนตอบได้ก็จะตอบ ถ้าตอบไม่ได้ก็จะบอกตรงๆค่ะว่าไม่รู้ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2009, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเข้าใจคำว่า หนอ เป็นสมถะหรือครับ

คุณเข้าใจคำว่า วิปัสสนา ได้แก่ทิ้งคำว่า หนอหรือครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 79 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร