วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 02:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2008, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ทั้งทั้งหลายในโลกที่เราได้พบ เห็นกันอยู่ทุกวันเวลานั้น
ถ้าเราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความเขลา เราก็เป็นทุกข์
แต่ถ้าเราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยปัญญา
เราก็จะไม่เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนใจ
เพราะการเปลี่ยนแปลงของสิ่งนั้นๆ
จึงเป็นเหตุให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
จิตใจที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นเขาเรียกว่า มันเปลี่ยนหน้าตาไป


บางครั้งก็เป็นไปในทางดีใจ บางครั้งก็เป็นไปในทางเสียอกเสียใจ
ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งสองอย่าง
ดีใจมันก็เป็นทุกข์เหมือนกัน เสียใจก็เป็นทุกข์เหมือนกัน
แต่ว่าดีใจนั้นมันเป็นทุกข์ที่ซ่อนอยู่ข้างหลัง
ส่วนเสียใจนั้นเป็นทุกข์เปิดเผย มองเห็นได้ทันท่วงที

ความดีใจนั้นมันเป็นทุกข์ภายหลัง เมื่อสิ่งที่เราดีใจนั้นสูญเสียไป
อันนี้เป็นเรื่องที่ปรากฏอยู่ที่จิตใจของท่านทั้งหลาย
ในรอบเดือนหนึ่งที่ผ่านมาเราจะพบว่า
มีอะไรๆ เกิดขึ้นในชีวิตของเราหลายเรื่องหลายประการ
บางเรื่องก็เป็นอย่างหนึ่ง บางเรื่องก็เป็นไปอีกอย่างหนึ่ง
ซึ่งดูเหมือนว่าเราไม่ค่อยจะได้เอามาพิจารณา เท่าใดนัก
มักจะปล่อยให้มันผ่านพ้นไปตามเรื่องตามราว
เช่น ความสุขเกิดขึ้นผ่านพ้นไป เราก็ให้มันผ่านพ้นไปเฉยๆ
ความทุกข์เกิดขึ้นเมื่อมันผ่านพ้นไปแล้ว ก็ผ่านพ้นไปเฉยๆ
อย่างนี้ไม่เกิดอะไรขึ้นในด้านปัญญา
คือ เราไม่ได้นำเรื่องนั้นมาพิจารณาว่าเกิดขึ้นจากอะไร
และเราควรจะทำใจของเราอย่างไร
เราไม่ได้พิจารณาไตร่ตรองในเรื่องนั้นอย่างรอบคอบ
ก็ไม่เกิดปัญญาเพิ่มขึ้น อยู่อย่างใดก็เป็นอยู่อย่างนั้นตลอดไป

แต่ถ้าหากว่าเราได้นำเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของเรา
มาพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป
เราก็จะเข้าใจเรื่องนั้นได้ถูกต้องมากขึ้น ได้ปัญญามากขึ้น

พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนเราทั้งหลายให้อยู่ด้วยปัญญา
หมายความว่า ให้พิจารณาสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของเรา
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องได้เรื่องเสีย เรื่องความสุขความทุกข์
เรื่องความเสื่อมหรือความเจริญที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของเราแล้ว
เราก็ต้องนำเรื่องนั้นมาพิจารณาไตร่ตรอง
เพื่อให้รู้ชัดเห็นชัดในเรื่องนั้นตามสภาพที่มันเป็นอยู่จริงๆ

การรู้ชัดตามสภาพที่มันเป็นนั่นแหละ จะทำให้เราคลายปัญหาได้
และเราจะไม่สร้างปัญหาอะไรเพิ่มขึ้นอีกในวิถีชีวิตของเรา

เพราะว่าปกติคนเรานั้นมักชอบสร้างปัญหา
ทำปัญหาให้เกิดขึ้นในชีวิตด้วยประการต่างๆ เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจ
บางทีปัญหาเหล่านั้นมันซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่เรื่อยไป ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น
นั่นก็เพราะว่าเราไม่ได้พิจารณาในเรื่องนั้นๆ
ไม่เอาเรื่องนั้นมาเป็นบทเรียนเป็นเครื่องสอนใจ จึงได้สร้างปัญหาซ้ำแล้วซ้ำอีก

เหมือนคนโกรธแล้วโกรธอีก เกลียดแล้วเกลียดอีก
พยาบาทแล้วก็พยาบาทอีกเรื่อยไป ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้นกันเสียที
ก็เพราะว่าไม่ได้นำมาพิจารณาว่า ทำไมเราจึงได้โกรธ ทำไมเราจึงได้เกลียด
ทำไมเราจึงได้พยาบาทในบุคคลนั้น ในวัตถุนั้นๆ
แล้วเราก็ไม่ได้พิจารณาว่า ในเวลาเราโกรธนั้น สภาพจิตใจเป็นอย่างไร
มีความร้อนหรือมีความเย็นอย่างไร เวลาเราเกลียด สภาพจิตใจเป็นอย่างไร
เราไม่ได้นำมาพิจารณาไตร่ตรอง
เพื่อให้รู้ชัดในเรื่องนั้นตามสภาพที่มันเป็นอยู่จริงๆ
ก็เลยเผลอไปประมาทไปทำสิ่งนั้นบ่อยๆ
จนเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ไม่รู้ จักจบไม่รู้จักสิ้น
อันเป็นคำที่เราเรียกกันว่า ไม่รู้จักเข็ดหลาบ ไม่รู้จักกลัวต่อสิ่งเหล่านั้น
เพราะว่าเราไม่ได้นำมาพิจารณา อันนี้เรียกว่าไม่ได้ปฏิบัติธรรมะนั่นเอง


การปฏิบัติธรรมะก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง
ในเรื่องอะไรๆ ต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นในวิถีชีวิตของเราอยู่บ่อยๆ
แม้เรื่องนั้นจะผ่านพ้นไปแล้ว เราก็นำมาพิจารณาด้วยปัญญาได้
การนำอะไรที่ผ่านพ้นไปแล้วมาพิจารณาด้วยปัญญานั้น ไม่เป็นเรื่องเสียหาย
แต่ถ้าเรานำมาพิจารณาด้วยความเขลา
คือ ไม่ได้พิจารณา นำมานั่งคิดนั่งนึกกลุ้มอกกลุ้มใจ
มีความวิตกกังวลด้วยปัญหาอะไรต่างๆ
ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในจิตใจของเราบ่อยๆ ญาติโยมทุกคนคงจะเป็นอย่างนั้น
เช่นมีความเสียใจไม่รู้จักจบ มีความโกรธไม่รู้จักจบ
มีความเกลียดอะไรในเรื่องของใครๆ ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น
อย่างนี้เรียกว่า เราไม่ได้พิจารณา
แต่ว่าเรานำเรื่องนั้นมาคิดเท่านั้นเอง มาคิดด้วยความอาลัย
คิดด้วยความโง่ความเขลา เมื่อเราคิดด้วยความโง่ความเขลา
มันก็สร้างปัญหาขึ้นมาในจิตใจของเรา

แต่ ถ้าเราคิดด้วยปัญญา จะไม่สร้างปัญหา
แต่เป็นการคลายปัญหานั้นให้หมดไป
คำที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า “อย่าคิดถึงสิ่งที่ล่วงแล้วด้วยอาลัย”
การคิดถึงอะไรที่ล่วงมาแล้วด้วยความอาลัย
หมายความว่า ด้วยความเสียดายในเรื่องนั้นๆ เราจะมีความทุกข์ในเรื่องนั้น
การคิดอย่างนั้นไม่ถูกต้อง แต่ถ้าเรานำมาคิดเพื่อให้เกิดปัญญา
เรียกว่า เอามาวิเคราะห์วิจัยในเรื่องนั้นให้รู้ว่าอะไรมันเป็นอะไร
อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง อย่างนี้ไม่เป็นเรื่องเสียหาย
แต่เป็นเรื่องที่จะช่วยให้เราหูตาสว่าง มีจิตใจสว่างขึ้นด้วย



(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรมวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒)

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 93 ส.ค. 51
โดยพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)
คัดลอกจาก...โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNew ... 0000089137


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 15:28
โพสต์: 307

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร