วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 11:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(อธิบายเพิ่มจากหลักย่อๆ ๓ ข้อดังกล่าว อ่านพิจารณาหาความลงตัวพอเหมาะพอดีให้ชีวิต)


นั้นเป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ชาวพุทธจะพึงใช้ปฏิบัติในการเกี่ยวกับความสุข อย่างไรก็ตามแม้จะมีหลักการ
ที่เป็นแกนกลางให้อย่างนี้ แต่ความละเอียดอ่อน ความกว้างขวางลึกซึ้งแห่งความเข้าใจเกี่ยวกับสุขก็ยังแตกต่างกันออกไป และเป็นข้อที่พึงนำมาพิจารณาประกอบด้วย เช่น

ผู้ที่เห็นโทษของกามสุข เบื่อหน่ายกามสุขแล้ว และด้วยความมุ่งหวังความสุขที่ประณีตขึ้นไป
จึงบำเพ็ญข้อปฏิบัติบางอย่างซึ่งบางตอนมีลักษณะยากลำบาก คนผู้ยังข้องอยู่ในกามสุขอาจมองการกระทำของเขาว่าเป็นการหาทุกข์มาใส่ตัวก็ได้

ในกรณีเช่นนี้ เมื่อผู้ปฏิบัตินั้นมีความพร้อมอยู่แล้ว เบื่อหน่ายกามสุขอยู่แล้ว ซึ่งการอยู่
ในกามสุขกลับกลายเป็นความทุกข์สำหรับเขา ก็ดี
หรือแม้ยังไม่พร้อมดีนัก แต่มองเห็นโทษของกาม เห็นคุณของความสุขที่ประณีตกว่า และมีความหวังว่าจะได้สุขที่ประณีตนั้น ก็ดี
ข้อปฏิบัติที่ยากลำบากนั้นก็กลายเป็นแบบฝึกหัดสำหรับฝึกตน ถ้าหากบุคคลนั้นสมัครใจจะฝึก และข้อปฏิบัตินั้นก็ไม่เลยเถิดไปจนกลายเป็นการทรมาน ท่านก็ยอมห้าในความหมายที่ว่าเป็นการฝึกนั้นแล

นอกจากนั้น ความเป็นอยู่บางด้านของผู้ประสบสุขอันประณีตแล้ว บางครั้งเมื่อมองในสายตาของคน
ที่ข้องในกามสุข อาจเห็นเป็นความทุกข์ไปก็ได้
เช่นเดียวกับคนที่อยู่ในความสุขอันประณีต มองเห็นความเป็นอยู่ของคนที่ข้องอยู่ในกามสุขว่าเป็นความทุกข์

แต่ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในภาวะนั้นเอง ย่อมรู้ตัวว่าตนมีความสุขหรือไม่ :b42: :b1: :b12:

(พุทธธรรมหน้า 560)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 พ.ย. 2008, 14:39
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนคุณกรัชกาย และเพื่อนผู้ใฝ่ธรรมทุกๆท่านครับ

การปฎิบัติธรรมของผมยังดำเนินต่อไป หลังจากที่ได้รับคำแนะนำแก้ไขการปฏิบัติจากคุณกรัชกาย ในช่วงการปฏิบัติเวลานี้ ผมพบปัญหาใหม่จากการปฏิบัติธรรม การเดินจงกรมเพื่อปรับอินทรีย์ ตามที่ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณกรัชกายนั้น ทำให้ผมสามารถแก้ปัญหาการตกภวังค์ของจิตได้ในระดับหนึ่ง ปัญหาใหม่ที่พบก็คือ เมื่อเพ่งกสิณน้ำ จิตจะเป็นสมาธิ ช่วงสั้นบ้าง ยาวบ้าง อุคคหนิมิตยังไม่เกิดชัดเจน นิมิตยังไม่ติดใจ การเดินจงกรมเป็นเวลาประมาณเท่ากับระยะเวลาเพ่งกสิณน้ำ 1 ชม. จิตจะถอนจากสมาธิตามที่กล่าวแล้ว และจิตจะเกิดอาการฟุ้งซ่าน หงุดหงิด ไม่อยากที่จะเพ่งกสิณน้ำต่อไป ซึ่งปัจจุบันผมแก้ไขโดยลุกจากที่นั่งที่เพ่งกสิณน้ำ กลับมาเดินจงกรมใหม่อีกครั้ง เพื่อแก้ไขของอาการฟุ้งซ่านนั้น ผมได้กระทำแบบนี้จนแน่ใจแล้วว่า ไม่ใช่ทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ผมควรเพ่งกสิณน้ำโดยปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่จำเป็นต้องลุกมาเดินจงกรม ผมใคร่ขอให้คุณกรัชกายได้กรุณาให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการปฏิบัติธรรมของผม เพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติต่อไปด้วยครับ ขอขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติกรรมฐานยากตรงปรับ (อินทรีย์) นี่แหละ
ก่อนหน้าคุณนั่งแล้วดิ่งๆ หลับโดยไม่รู้ตัว กรัชกายจึงแนะให้เดินจงกรมระยะที่ ๑ แก้ ได้ผลเกินคาด คือ มีอาการอย่างที่บอก แปลว่าวิริยะมาก สมาธิอ่อนอีกแล้ว

จงกรมมี ๖ ระยะๆ ๑-๓ เพิ่มวิริยะ (วิธีแก้ง่วงหรือกระตุ้นจิตให้รับรู้อารมณ์ปัจจุบัน แต่ถ้ามากเกินไป ก็อย่างนั้นแหละ ความคิดไวคุมยาก เราปรับอินทรีย์เองได้อิสระครับ ไม่ต้องรอฟังคำสั่ง)

ระยะ ๔-๖ เพิ่มสมาธิ มากเกินไปก็จะง่วงหรือหลับอีกนะครับ ให้สังเกตเอาเองว่าขณะนั้นอินทรีย์ใดหย่อน อินทรีย์ยิ่ง ปรับแก้ได้เลย

ยกตัวอย่างปัญหาใหม่ของคุณ ดูตัวอย่าง หากเป็นกรัชกาย จะเดินให้น้อยกว่านั่ง ใช้เวลานั่งให้มากขึ้น หรือ นั่งอริยาบถเดียวก่อน (แต่ไม่เดินเลยไม่ควร รักษาสุขภาพโดยรวมด้วย แต่เดินให้น้อยกว่านั่งว่างั้นเถอะ)

หรือนั่งสักชั่วโมงหนึ่ง แล้วเดินสัก ๓๐-๓๕ นาทีก็ได้ หรือ จะเดินระยะสูงหน่อย เช่น ระยะ ๔ ก็ได้ หรือ ๕ ก็ได้ หรือ จะเดิน ระยะ ๑- ๔ ผสมกันก็ได้ นี่หลักการปรับอินทรีย์ เหมือนปรุงอาหารขาดเปรี้ยวใส่มะขามหรือมะนาวลงไป รสจืดไปก็เติมเกลือหรือใส่น้ำปลา ฯลฯ การปรับอินทรีย์ก็ประมาณนั้น

แต่ขอบอกว่า กรุณาอย่าใจร้อน ค่อยๆทำค่อยๆสังเกต ให้คิดว่าเราจะทำกรรมฐานไปจนวันตาย ตายเมื่อไหร่เลิก และไม่พึงเร่งๆทำเหมือนกะว่าพรุ่งนี้จะตายแล้วต้องรีบๆทำ ไม่ใช่นะครับ

สังเกตแล้วปรับอินทรีย์ตามวิธีดังกล่าว สังเกตความคิด หากจิตเบาๆคล่องๆ จงกรมระยะสูงขึ้น ๔-๖
รู้สึกร่าง่กายอืดๆ หนัก ๆ เคลื่อนไว้ไม่คล่องตัว จงกรมระยะ ๑-๒

ที่สำคัญไม่พึงลืมให้กำหนดความคิดด้วย ฟุ้งกำหนดความฟุ้งนั่น ฟู้งหนอๆๆ ไม่อยากนั่งไม่อยากทำอะไร พึงกำหนดความคิดนั้นเช่นกัน กำหนดตามนั้นแล้วก็ปฏิบัติตามที่ตั้งใจไว้ เราฝึกจิตให้อยู่ในอำนาจ
มิใช่ให้จิตมันฝึกเรา หรือ จูงเราดึงเราให้เล่นไปตามเกมมัน
ยากนะครับ ไม่ใช่ง่ายเล่นกะสิ่งที่มองไม่เห็นตัว ฝึกต่อไปครับ

หากไม่เข้าใจอุบายวิธีดังกล่าวถามใหม่ครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การเดินจงกรมเป็นเวลาประมาณเท่ากับระยะเวลาเพ่งกสิณน้ำ 1 ชม. จิตจะถอนจากสมาธิตามที่กล่าวแล้ว และจิตจะเกิดอาการฟุ้งซ่าน หงุดหงิด ไม่อยากที่จะเพ่งกสิณน้ำต่อไป ซึ่งปัจจุบันผมแก้ไขโดยลุกจากที่นั่งที่เพ่งกสิณน้ำ กลับมาเดินจงกรมใหม่อีกครั้ง เพื่อแก้ไขของอาการฟุ้งซ่านนั้น ผมได้กระทำแบบนี้จนแน่ใจแล้วว่า ไม่ใช่ทางปฏิบัติที่ถูกต้อง



ย้ำจุดนี้อีกครั้ง เมื่อจิตฟุ้งซ่านหงิดคุมได้ยาก นั่นแปลว่า วิริยะมากกว่าสมาธิ ยิ่งไปจงกรมระยะ ๑ ด้วย วิริยะก็ยิ่งมากขึ้นสิครับ จะต้องเดินระยะระยะ ๔-๖ เพื่อเพิ่มสมาธิ

ณ ตอนนี้คุณนั่ง ๑ ชม. ก็ขยับขึ้นไปอีกครับ คุณเคยนั่งได้ 2-3 ชม.มาแล้ว

แต่พึงสังเกตด้วยนะครับ เมื่อสมาธิมากขึ้นก็ต้องเดินจงแก้อีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 16:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุผู้รู้จักข่มจิตในเวลาที่ควรข่ม รู้จักประคองจิต ทำจิตให้ร่าเริง และเพ่งดูเฉยในเวลาที่ควรทำเช่นนั้นๆ ชื่อว่าเป็นผู้ยินดีในนิพพาน สามารถบรรลุนิพพานได้ (องฺ.ฉกฺก.22/356/486)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2008, 03:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 พ.ย. 2008, 14:39
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากครับ ผมจะปรับอินทรีย์ในการปฏิบัติใหม่ตามที่คุณกรัชกายให้คำแนะนำไปสักระยะหนึ่ง ลองดูว่าผลจะเป็นเช่นไร แล้วผมจะแจ้งให้ทราบครับ

ขออวยพรวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ.2552 ให้เพื่อนผู้ใฝ่ธรรมทุกๆท่าน ให้มีความสุขกายสุขใจ การ

ประพฤติปฏิบัติธรรมมีความเจริญก้าวหน้าไม่ติดขัด บาปอกุศลใดๆที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ขออย่าให้เป็นเหตุ

ขัดขวางการปฏิบัติธรรมของท่านทั้งหลาย มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมโดยทั่วกัน สวัสดีปีใหม่ครับ



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 พ.ย. 2008, 14:39
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนคุณกรัชกาย

ผมยังคงปฏิบัติธรรมต่อไปตามคำแนะนำของคุณกรัชกาย โดยการเดินจงกรมระยะที่ 4 แต่ในครั้งนี้ยังไม่สามารถที่จะปรับจิตให้ตื่นขึ้น ปฏิบัติภาวนาโดยจิตไม่ตกภวังค์ได้ หลังจากที่ผมไปเดินจงกรมระยะที่ 4 ตามคำแนะนำ จิตผมกลับเข้าไปสู่ภวังคจิตอึกครั้งหนึ่งครับ ผมคิดว่าจะทดลองกลับไปเดินจงกรมระยะที่ 1-2 ใหม่สัก 1 ชม ก่อนการเพ่งกสิณน้ำ เพื่อไม่ให้จิตตกภวังค์ในเวลาเพ่งกสิณครับ หลังจากนั้น เมื่อจิตถอนออกมาแล้ว หลังจาก เพ่งกสิณไป ประมาณ 1 ชม. ผมจะเดินจงกรมระยะสั้น เดินแบบวิปัสสนา เหมือนเดินจงกรมระยะที่ 4 ครับ โดยกำหนดเท้า ขวา กำหนด ยกส้นเท้าขวาขึ้น ยกเท้าขวาขึ้น กำหนด เกิดขึ้น ยกเท้าขวาเสือกไปข้างหน้า กำหนด ตั้งอยู่
และวางเท้าขวาลงแตะพื้น กำหนด ดับไป ต่อไปก็เป็นเท้าซ้าย ก็ทำเช่นเดียว ผมจะเดินในระยะสั้นๆครับ ประมาณ 5-6 ก้าวเท่านั้น แต่จะทำใช้เวลาประมาณ 15 นาที และกลับไปนั่งเพ่งกสิณน้ำต่อครับ ถ้าจิตช่วงนี้ไม่ตกภวังค์อีก ผมจะใช้วิธีนี้ สลับกันไปจนกว่า อุคคหนิมิตจะเกิดครับ
ผมขอสอบถามความเห็นของคุณกรัชกาย ถึงความน่าจะสำเร็จมีอยู่มากน้อยแค่ไหนครับ ผมพยายามลดการเดินจงกรมลง เพื่อเพิ่มการเพ่งกสิณน้ำให้มากขึ้น อุคคหนิมิตจะได้เกิดขึ้นได้ ผมขอคำชี้แนะก่อนลงมือปฏิบัติครับ
ผมได้ใส่บทสวดมนต์เพิ่มเติมโดยใส่บท การพิจารณาอาการ 32 ในกายคตาสติเข้าไปด้วย และจะพยายามรับประทานอาหารพอปรมาณครับ การพัฒนาสติ ของผมเร็วขึ้นมากครับ เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับๆ
อีกอย่างหนึ่งความเพียรผมยังน้อยไปหรือเปล่าครับ ผมควรปฏิบัติในวันหนึ่งๆต้องมากกว่า 12 ชม. ใช่ไหมดรับคุณกรัชกาย แต่การเป็นคฤหัสถ์ ไม่อยู่ในเพศบรรพชิตนั้นทำได้ยากจริงๆครับ รอคำตอบอยู่ครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จงกรมระยะที่ 4 แต่ในครั้งนี้ยังไม่สามารถที่จะปรับจิตให้ตื่นขึ้น ปฏิบัติภาวนาโดยจิตไม่ตกภวังค์ได้ หลังจากที่ผมไปเดินจงกรมระยะที่ 4 ตามคำแนะนำ จิตผมกลับเข้าไปสู่ภวังคจิตอึกครั้งหนึ่งครับ


คุณพูดถูก เพราะระยะ ที่ ๔ เพิ่มสมาธิ จิตอาจตกภวังค์ลึกๆได้
หลักจงกรมแบ่งคร่าวๆ อย่างนี้ครับ ระยะ 1 ถึง ระยะ 3 สำหรับเพิ่มวิริยะ
พูดให้เข้าใจง่ายก็ว่า สำหรับใช้ปลุกจิตให้ตื่นมารับรู้อารมณ์

ระยะที่ 4 ถึง ระยะ ที่ 6 สำหรับเพิ่มสมาธิ เพื่อให้จิตอยู่กับกรรมฐาน แต่มากไปอาจหลับได้
เปรียบก็เหมือนกินยาแก้ปวดลดไข้ กินแล้วมีอาการตาปรือ ง่วงๆซึมๆ

พึงสังเกตตนเองด้วยว่า ขณะนั้น,ชั่วโมงนั้น, วันนั้น จิตใจอยู่ในสภาพใด รับรู้อารมณ์แคล่วคล่องว่องไวไหม หรือ รู้สึกซึมเซาเหงาหงอย ไม่อยากคิด ไม่อยากลืมตา ฯลฯ
แล้วปรับอินทรีย์เอา

ตามที่คุณเล่าว่าใช้ระยะที่ ๔ จิตตกภวังค์อีก พูดตรงหลักวิชาเลย เพราะ ๔-๖ เพิ่มสมาธิ
เมื่อมีอาการอย่างนี้ จึงต้องใช้ระยะ ที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือ ใช้รวมๆ กัน เพื่อกระตุ้นต่อมขยัน (วิริยะ) ให้ทำงาน

จงกรมมี ๖ ระยะก็จริง แต่ไม่จำเป็นจะต้องเดินให้ทะลุถึง ๖ ระยะ ดูตามความเหมาะสม และเหตุผลดังกล่าว

กรัชกายแนะวิธีกว้างๆ ให้ ส่วนในรายละเอียดภาคปฏิบัติ คุณพึงทดลองปรับขยับให้เหมาะแก่ตน
ทั้งการจงกรมและนั่ง

อ้างคำพูด:
เดินแบบ วิปัสสนา เหมือนเดินจงกรมระยะที่ 4
โดยกำหนดเท้า ขวา กำหนด ยกส้นเท้าขวาขึ้น ยกเท้าขวาขึ้น
กำหนด เกิดขึ้น ยกเท้าขวาเสือกไปข้างหน้า กำหนด ตั้งอยู่ และวางเท้าขวาลงแตะพื้น กำหนด ดับไป
ผมจะเดินในระยะสั้นๆครับ ประมาณ 5-6 ก้าวเท่านั้น
ถ้าจิตช่วงนี้ไม่ตกภวังค์อีก ผมจะใช้วิธีนี้ สลับกันไปจนกว่า อุคคหนิมิตจะเกิดครับ


ก็เดินตามปกตินั่นเอง ก้าวไปแต่ละก้าวๆ (ตัวอย่าง ระยะที่ ๔ )
เช่น ขยับก้าวเท้าเดิน
ซ่นเท้าจะยกขึ้นก่อน ส่วนปลายนิ้วเท้ายังยันกับพื้นอยู่ (๑ )
ยกเท้าขึ้นพ้นพื้น (๒ )
ก้าวออกไป (๓)
ถึงพื้น (๔)

ท่านใช้ ๔ ระยะ นี้เองเป็นฐานฝึกสติ
(ตัวอย่าง) ยกซ่นหนอ, ยกหนอ, ย่างหนอ, เหยียบหนอ เท่านี้เองครับ ไม่ยุ่งยากสับสนแต่ประการใด

เคยได้ยินได้ฟังเขาพูดกันเหมือนกันว่า เดินแบบวิปัสสนา เดินแบบสมถะ
ไม่มีครับ เดินแบบสมถะเดินแบบวิปัสสนา ใครพูดอย่างนี้ผิด

จงกรมก็คือการเดินกลับไปกลับมา (เดินสุดที่แล้วเดินกลับ)
สมถะ คือ ความสงบ (= สมาธิ) วิปัสสนา ได้แก่ ปัญญา สมถะกับวิปัสสนาเป็นนามธรรม

พูดให้เข้าใจง่าย ท่านอาศัยการเดินกลับไปกลับมา (จงกรม) นั้นเป็นฐานฝึกสติ
(= กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน)

พื้นที่ที่ใช้จงกรมควรยาวกว่านั้น ๕-๖ ก้าวสั้นไป พื้นที่สั้นเกินไปสมาธิยิ่งเพิ่มเร็ว
อย่างคุณนี้ ควรเดินระยะที่ ๑ แล้วไม่ควรช้าเกินไป เดินเร็วหน่อย แล้วจิตจะไม่ดิ่ง

อ้างคำพูด:
ถามความเห็นของคุณกรัชกาย
ผมพยายามลดการเดินจงกรมลง เพื่อเพิ่มการเพ่งกสิณน้ำให้มากขึ้น
อุคคหนิมิตจะได้เกิดขึ้นได้
ผมได้ใส่บทสวดมนต์เพิ่มเติมโดยใส่บท การพิจารณาอาการ 32 ในกายคตาสติ เข้าไปด้วย

อีกอย่างหนึ่งความเพียรผมยังน้อยไปหรือเปล่าครับ
ผมควรปฏิบัติในวันหนึ่งๆต้องมากกว่า 12 ชม. ใช่ไหมดรับคุณกรัชกาย
แต่การเป็นคฤหัสถ์ไม่อยู่ในเพศบรรพชิตนั้นทำได้ยากจริงๆ


พึงทราบความหมาย “อุคคหนิมิต ดังนี้

อุคคหนิมิต -นิมิตที่ใจเรียน หรือ นิมิตติดตา ได้แก่ บริกรรมนิมิตนั่นเอง ที่เพ่ง หรือ
นึกกำหนดจนเห็นแม่นยำกลายเป็นภาพติดตาติดใจ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งจนติดตาหลับตามองเห็น


ตั้งแต่เริ่มเพ่งกสิณนี้มา ลองหลับตาดูก็ยังไม่เห็นภาพกสิณน้ำปรากฏเลยหรอครับ

ความจริงเพ่งภาพจำพวกนี้ไม่ยาก การรักษากสิณให้คงอยู่สิยากกว่า
เพราะอะไร ? เพราะเรานั่งเพ่งรูปกสิณนั้นอยู่ตรงหน้า (เป็นรูปธรรม) พร้อมบริกรรมตรึงจิตไว้ อาโป กสิณัง ๆ

ที่ว่าไม่ยาก
จะสมมุติภาพนิมิตเรื่องหนึ่งให้คิดเทียบเคียง สมมุติเรารักชอบสาวคนหนึ่ง แล้วได้นั่งคุยกัน มองหน้าสบตากันเป็นระยะๆ เห็นทั้งหน้าตาได้ยินเสียง ไม่เกิน ๒ ชั่วโมง หลับตาเห็นภาพเธอแล้วครับ
หากยังเห็นไม่ชัด พรุ่งนี้มาคุยนั่งมองหน้าซ้ำอีก นิมิตจะชัดขึ้นๆ ชัดจนว่านอนหลับฝันถึงเป็นตุเป็นตะ :b1:

เท่าที่ดูคุณเล่ามา คุณป้อนข้อมูลหลายอย่างเข้าในหน่วยความจำ เช่น

อ้างคำพูด:
(ผมได้ใส่บทสวดมนต์เพิ่มเติมโดยใส่บท การพิจารณาอาการ 32 ในกายคตาสติ)


ก็ดีอยู่ครับ ไม่เสียหายอะไร ได้สมาธิแน่นอน แต่การนึกถึงบทสวดบ้าง ใช้ความคิดคลอเคลียในอาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เป็นต้นบ้าง จึงเหมือนว่า หน่วยความจำรับข้อมูลมากหลากหลาย ภาพกสิณที่ใช้จึงไม่ปรากฏ หรือกว่าจะปรากฏก็ช้า



ปฏิบัติไปเพ่งกสิณไปแบบสบายๆ เถอะครับ ทำงานอื่นๆไปด้วยบ้าง เพ่งกสิณ เป็นต้นบ้าง แล้วจะค่อยๆลงตัว


จะเล่าเรื่องพระอานนท์บำเพ็ญเพียรให้ฟังเป็นแง่คิด :b42:
ก่อนปฐมสังคายนา พระอานนท์ได้เร่งบำเพ็ญเพียรทั้งคืนทั้งวัน เพียรปฏิบัติจนสุดกำลังสามารถ แต่มรรคผลก็ยังไม่เกิด จนท่านท้อใจคิดว่า ตนคงไม่มีวาสนาบารมีเป็นแท้ จึงคิดจะนอนพักล่ะ ขณะที่ล้มตัวลงนอน หัวยังไม่ทันถึงหมอน อินทรีย์ธรรมพละธรรม ฯลฯ ปรับตัวเสมอกันบรรลุอรหัตผล :b39:


พอใจเพศภูมิที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน นะครับ สบายใจกว่ากันเยอะ :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2009, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อเสนอใหม่ ลองพิจารณาดูนะครับ :b1:
คุณเพ่งอาโป กสิณมานานแล้ว แล้วผลที่พึงใจไม่เคยเกิดเลย ไม่เปลี่ยนมาใช้อานาปานสติกรรมฐาน
ซึ่งเป็นลมเข้า-ออกที่เป็นสิ่งใกล้ตัวดูล่ะครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่งพูดเกี่ยวจงกรมมาหยกๆ ก็พอดีไปเห็นบอร์ดหนึ่งเขาถาม-ตอบ เรื่องจงกรมกัน มีรายหนึ่งตอบว่า

...เคยฟังพระท่านเทศน์ จงกรมแปลว่าก้าวไป จะเดินเร็วเดินช้า
หากสติเกิดเรียกว่า เดินจงกรม สมัยก่อน พระนั่งสมาธิกันมาก หมอชีวก ก็เลยไปถามพระพุทธเจ้าว่าจะทำอย่างไร เพราะพระนั่ง มากๆแล้วท้องอืด พระพุทธเจ้าก็เลยให้ออกกำลังกาย แต่พระจะมาออกกำลังกายก็ไม่เห็นน่าดูเท่าไร จึงให้ เดินจงกรมแทน
หากเดินแล้วจดจ่อ ในอารมณ์ ก็เป็นการทำสมถะก่อน หากเดินแล้วมีสัมมาสติเกิด ขึ้น รู้เท่าทันอารมณ์ ก็เป็นการเดินจงกรมที่เป็นวิปัสสนา

เข้าใจจงกรมว่ามีทั้งแบบสมถะกับแบบวิปัสสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ Bhonprot สบายดีนะครับ มีตัวอย่างอุคคหนิมิตของคนๆหนึ่ง
พิจารณาดูครับ



คือว่าเพิ่งจะฝึกการนั่งสมาธิอยู่ในห้อง ลืมตามองหลอดไฟ และบังเอิญไฟดับค่ะ
เวลาหลับตาแสงสว่างจากหลอดไฟก็ปรากฎ ก็เพ่งดูไปเรื่อย ๆ ไม่คิดอะไร

ก็รู้สึกเหมือนจิตวูบดิ่งลงไป เรื่อย ๆ ที่นี้แสงไฟที่เห็นกลายเป็นทรงกลมสีดำแต่รอบขอบสีทอง
จากนั้นสีทองก็ค่อย ๆ กลืนสีดำจนหมด จนเป็นแสงสว่างจ้า และเกิดการระเบิดสนั่นไหวหวั่น
คือ ความรู้สึกขณะนั้น กลัวค่ะ เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดอะไร
ก็คิดอีกที เป็นไงเป็นกัน ตายเป็นตาย ก็ยังทรงสมาธิไว้ค่ะ ต่อจากนั้นทุกอย่างเป็นภาพย้อนกลับค่ะ
เป็นภาพการระเบิดของแสง เป็นแสงสว่างจ้าเป็นวงกลมสีทองขยายเป็นสีดำ
กลับเป็นภาพเดิมที่เห็นครั้งแรก คือ วงกลมสีดำ ขอบสีทอง ค่ะ และทุกอย่างก็หยุดนิ่ง
ถึงตอนนี้ก็เลยลืมตา แผ่เมตตา และก็นอน

ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นค่ะ ตอนนี้ยังไม่กล้านั่งสมาธิค่ะ กลัว ๆ เหมือนกัน
วานผู้รู้ช่วยแนะนำ ด้วยค่ะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2009, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สวัสดีค่ะท่าน กรัชกาย

ตามมาอ่านคำชี้แนะค่ะ :b9: :b9: :b9:

สบายดีนะคะ...
วันมาฆะนี้พาเด็กๆและครอบครัวไปเวียนเทียนที่วัดจินดาราม...นครปฐมมาค่ะ

อนุโมทนาในธรรมทานนี้ด้วยค่ะ


:b8:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 พ.ย. 2008, 14:39
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณกรัชกาย

ผมสบายดีครับ ขอบคุณ
ผมได้ทบทวนการปฏิบัติธรรมของผมจากการที่ท่านได้ให้คำชี้แนะ ตั้งแต่ต้นและได้นำคำแนะนำมาปรับในการปฏิบัติธรรมของผม พยายามมีสติระลึกรู้ในอิริยาบถต่างๆ ทางกาย และพยายามมีสติ ตาม รู้อารมณ์ทางอายตนะ ทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ เดินจงกรม นั่งสมาธิเจริญกสิณภาวนา ซึ่งช่วงนี้ผมเริ่มเข้าใจวิธีการปรับอินทรีย์ 5 มากขึ้น โดยการทดลองรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดการพอดีกับการปฏิบัติธรรมของผม การวางจิตให้เป็นกลางกับสิ่งมาที่กระทบทางอายตนะทั้ง 6 โดยไม่ยินดียินร้ายกับผัสสะที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าขณะนี้อุคคหนิมิตยังไม่เกิด แต่ลึกๆในจิตผมมีความเชื่อมั่นว่า ในที่สุดแล้วคงจะไม่พ้นความเพียรไปได้ ผมอาศัยธรรมะข้ออิทธิบาท 4 ครับ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และ วิมังสา เป็นหลักในการปฏิบัติธรรมครับ
ขอขอบคุณในการแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้อานาปานสติกรรมฐานซึ่งเป็นลมเข้า-ออกซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวดูซึ่งข้อนี้ครูบาอาจารย์ท่านเตือนผมมาครับว่า การปลูกต้นไม้นั้น การจะทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามนั้น ไม่ควรย้ายที่ปลูกต้นไม้บ่อยๆโดยหาดินที่ดีกว่า จะทำให้ต้นไม้ไม่เจริญงอกงามหรือตายได้ ท่านว่า ทุกๆอย่างเกิดแต่เหตุ
การที่อุคคหนิมิตยังไม่เกิดก็มีสาเหตุ การทำกรรมที่ไม่ดีซึ่งเป็นกรรมหนักไว้ในอดีตส่งผลมา อย่างการด่าว่าตำหนิพระอรหันต์ที่เป็นปัญญาวิมุติโดยไม่รู้หรือโง่ในอดีตกาลนั่นเอง โดยไม่รู้ว่าท่านเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์นั้นสามารถสำเร็จทางปัญญาได้โดยเป็นปัญญาวิมุตติ การเข้าใจว่าพระอรหันต์นั้นต้องมีฤทธิ์เท่านั้นและต้องเป็นเจโตวิมุตติ เป็นการเข้าใจที่ผิดในอดีต กรรมที่ส่งผลมาซึ่งเป็นแด่เศษกรรมของอดีตเท่านั้น ผมจะอาศัยอิทธิบาท 4 คาดว่าคงจะผ่านพ้นไปได้ในชาตินี้แน่นอนครับ
ขอขอบคุณอย่างมากๆ ที่ให้คำชี้แนะ คำชี้แนะของท่านทำให้ผมได้สติ ต้องกลับมาทบทวนพิจารณาการปฏิบัติธรรมใหม่อีกครั้ง ขณะนี้การปฏิบัติเริ่มเข้าที่เข้าทาง เดินตามทางมรรคแล้วครับ ส่วนการจะได้อะไรหรือถึงอะไรนั้น ผมคงต้องขอให้เป็นไปตามเหตุและปัจจัยในการปฏิบัติของผมแล้วละครับ
หวังว่าถ้าผมติดขัดอะไรในการปฏิบัติในครั้งหน้าคงไม่รังเกียจที่จะให้คำแนะนำผมอีกนะครับ ขอบคุณมากๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ส่วนการจะได้อะไรหรือถึงอะไรนั้น ผมคงต้องขอให้เป็นไปตามเหตุและปัจจัยในการปฏิบัติของผมแล้วละครับ


ถูกต้องที่สุดครับ นี่ก็คือการลดระดับความคิดให้สมเหตุสมผลของธรรมชาติ ด้วยบางทีความต้องการของเราเลยระดับความจริง หมายความว่า มองไกลไป

อ้างคำพูด:
หวังว่าถ้าผมติดขัดอะไรในการปฏิบัติในครั้งหน้าคงไม่รังเกียจที่จะให้คำแนะนำผมอีกนะครับ


ยินดีครับ หากกรัชกายยังอยู่ตรงนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอขอบคุณอย่างมากๆ ที่ให้คำชี้แนะ คำชี้แนะของท่านทำให้ผมได้สติ ต้องกลับมาทบทวนพิจารณาการปฏิบัติธรรมใหม่อีกครั้ง


:b8:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 45 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร