วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 01:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 00:54
โพสต์: 16


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเป็นสมาชิกใหม่นะฮะ ผมเห็นในบอร์ดอย่างชาวคริสต์เขาจะอ้างว่า เอามาจากบทไหน วรรคไหน แต่สังเกตในบอร์ดชาวพุทธแบบจะทุกกระทู้คือกล่าวออกมาลอยๆ โดยไม่อ้างอิง จากพระไตรปิกฎจริงอยู่ ที่รู้ๆ กันอยู่ แต่สำหรับผมเองนะ เราน่าจะมีการอ้างอิงว่าเรานำมาจากพระไตรปิกฏจริงนะ เล่มนี้ บทนี้ วรรคนี้ หยิบยกมาขยายความ เป็นงี้ๆ เพื่อคนอื่นเขาจะได้พิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่พวกคุณพูดหรือแสดงมีจริงไหม และถ้ามีจริงที่คุณขยายความจากพระคัมภีร์ถูกต้องตามหลักธรรมไหม เป็นแค่ความคิดเห็น สมมุติฐาน หรือความจริง เราชาวพุทธจะได้ไม่ได้แค่เสพ แต่มีการคิดวิเคราะห์พิจารณา ตามหลักวิทยาศาสตร์ ผมไม่ได้ตำหนินะครับ แค่อยากเสนอความคิดเห็น และอีกอย่าง โดยส่วนตัวผมยังไม่ใช้ชาวพุทธจริงๆ นะตอนนี้ คงพูดอะไรได้ไม่มาก แต่เห็นสังคมไทย บูชารูปเคารพ เทพผี เทวดา มีพระพุทธรูป นู้นนี้นั้น พระเครื่องเอย อะไรที่ไม่ได้ระบุไว้ในพระคัมภีร์ ใช่มันอาจไม่ผิด แต่ผมเชื่อแน่ว่า เป็นสิ่งไม่จำเป็น เพราะสิ่งจำเป็นสำหรับชาวพุทธจริงๆ พระศาสดาได้กล่าวอย่างชัดแจ้งแล้ว โดยให้พระไตรปิกฎเป็นศาสดาแทน เมื่อพระศาสดานิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2007, 07:23
โพสต์: 29

ที่อยู่: ร้อยเอ็ด

 ข้อมูลส่วนตัว www


พระ เณร (ส่วนมาก)ไม่เรียนบาลี เพราะคิดว่า บาลีนี้แสนยากทั้งตอนเรียนตอนสอบ ใช้เวลานาน (ปีละครั้ง) ถ้าสอบไม่ได้เสียเวลา สอบได้มาไปเทียบโอนศึกษาต่อหรือสมัครงานก็เทียบให้ต่ำ (ป.ธ.3 เทียบ ม.3)
อาตมาก็เคยคิดและท้อ .... แต่..พอเมื่อได้รับข้อคิดจากอาจารย์เจ้าคุณบุญสม(พระศรีรัตนเมธี) วัดกลางวรวิหาร สมุทรปราการ ท่านบอกว่า”บาลีไม่ยากหรอก แต่ที่มันยากเพราะความเพียรของเราไม่ถึงบาลีเอง” พอเรียนไป จึงได้รูว่าการเรียนบาลีที่แท้นั้นเป็นหน้าที่สำคัญของพระเณร แม้ไม่ได้เป็น”มหาเปรียญ”ก็ต้องเรียนให้อ่านออก เขียนได้ ใช้เป็น จึงจะเข้าถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง นั่นคือหลักภาษาที่แสดงไว้ในพระไตรปิฎก
ปัญหาจึงเกิด เมื่อพระเณรไม่เรียนบาลี เวลาไปศึกษาพระไตรปิฎกจึง สับสน ดังบาลีที่มีกล่าวไว้ในโมคคัลลานะฎีกาว่า
โย นิรุตฺตึ น สิกฺเขยฺย สิกฺขนฺโต ปฏิกตฺตยํ
ปเท ปเท วิกงฺเขยฺย วเน อนฺธคโช ยถา

แปลว่า "คนที่ไม่ศึกษาบาลี เมื่อไปศึกษาพระไตรปิฎก
จะสงสัยทุกๆบท เหมือนช้างตาบอดเที่ยวไปในป่า”
ทุกวันนี้ จะเห็นทั้งพระทั้งโยมหลายรูปหลายท่าน เวลาแสดงธรรมมักใช้คำว่า พุทธภาษิตมั่วไปหมด ไม่กำหนดว่า คำใดประโยคไหน คือ พุทธภาษิต ภาษิต สุภาษิต หรือเป็นวจนัตถะ
พิธีกรรายการธรรมะทางสื่อโทรทัศน์ ก็เช่นกัน เมื่อเทียบกับศาสนาอื่น
พุทธฯเรามีสักกี่ท่าน ที่มีการกล่าวนอบน้อมสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ก่อนเริ่มรายการ
ดังนั้น ขออนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งกับหัวข้อนี้ ที่ให้ความสำคัญกับพระไตรปิฎก เห็นพระไตรปิฎกเป็นสิ่งสำคัญในการจรรโลงรักษาไว้ซึ่งคำสอนทางพระพุทธศาสนา ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ก่อนปรินิพพาน กับพระอานนท์ว่า
“อานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงไว้แล้ว บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย
ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยการที่เราล่วงไปแล้ว”

เจริญพร

.....................................................
ร่างกาย วิญญาณ อุทิศให้การศึกษา เพื่อพระพุทธศาสนา และเพื่อมวลชน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คนที่ศึกษาธรรมะมาระดับหนึ่ง เมื่อมาสนทนาธรรมกัน
แล้วใช้ ประโยค หรือ วลี หนึ่งขึ้นมา
เขาจะทราบกันเองโดยอนุโลมว่านี่เป็นประโยคที่ใช้ในพระคัมภีร์ (Technical Terms)

แม้บางทีจะเป็นคำง่ายๆจากพระสงฆ์ที่เป็นที่เคารพ
ท่านพูดง่ายๆ เรียบๆ ด้วยภาษาไทยสมัยเราแบบธรรมดาๆ
แต่ผุ้ศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง จะเข้าใจทันทีว่าท่านกำลังสอนธรรมะที่ลึกซึ้งที่สุด
ยิ่งในหมู่นักปฏิบัติด้วยแล้ว จะเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

ทั้งนี้เพราะ ธรรมะแบบพุทธ ไม่ใช่ความเชื่อ หรือค่านิยมที่ยอมรับกันเป้นยุค เป็นช่วง หรือเป้นหมู่คณะ
ซึ่งมีค่าของความเป้นจริง (True) อยู่ในระยะเวลาหนึ่งๆ

แต่ธรรมะแบบพุทธ มันเป้นความจริงชนิดที่จริงที่สุด และไม่มีทางเป้นเท็จได้เลย


เช่น ธรรมะสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาวพุทธคือ
"สิ่งหนึ่งย่อมมีความเกิดเป้นธรรมดา สิ่งหนึ่งย่อมมีความดับเป้นธรรมดา"
ท่านจะเห้นว่าประโยคนี้เป็นTruth (จริง)
และเป้น True ที่เกิดขึ้นจริงๆ กับทุกคน ทุกชาติ ศาสนา ไม่เว้นแม้แต่สัตว์มีชีวิต สัตว์ไม่มีชีวิต และสิ่งของวัตถุอื่นๆ
และเป็น True ที่ เป้นจริงอยู่แล้วในอดีต ..ปัจจุบันก็ยังจริงอยู่ ... และอนาคตก็จะยังจริงต่อไปอีก
สิ้นโลกไปแล้ว แค่ธรรมะข้อนี้ยังอยู่ในจักรวาล ("สิ้นโลกเหลือธรรม")
ก่อนจะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมันก้จริงของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว
พระพุทธเจ้าไม่อยู่แล้วมันก้ยังจริงอยู่

ลองฟังหลวงพ่อชยสาโรภิกขุ พูดถึงประเด้นนี้ได้อย่างครอบคลุมชัดเจนและกระทัดรัดลึกซึ้งเป็นที่สุด
ผู้ที่มีภูมิธรรมถึงระดับหนึ่ง เมื่ออ่านข้อความนี้แล้ว จะเกิดความทราบซึ้งเข้าใจ
และรู้ว่าคำทุกคำถูกออกแบบและวางใช้อย่างอัศจรรย์ ไม่มีเกิน ไม่มีขาด
"คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ทฤษฏี ไม่ใช่ปรัชญา
แต่มันเป็นความจริงอันลึกซึ้งที่ปรากฏอยู่ในใจของนักปฏิบัติที่เราพยายามเอามาพูดเป็นภาษาคน
แต่ที่เราพูดมันไม่ใช่ตัวธรรมะ ตัวธรรมะเป็นสิ่งที่เราต้องรู้ ต้องเห็น ต้องสัมผัสอย่างประจักษ์แจ้งอยู่ในใจของเรา "

สำหรับผู้ที่ตั้งใจศึกษาธรรมะในแบบพระพุทธเจ้าจริงๆ
จะพบว่าการที่หลวงพ่อชยสาโรจะพูดอย่างนี้
แม้ไม่ใช่การท่องตำรา พูดบาลี หรือแม้แต่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกก็หาไม่
แต่นี่แหละ สัจจะธรรมที่ปฏิเสะไม่ได้
มันเป้นอย่างนั้นจริงๆ โดยไม่ต้องยกพระไตรปิฏกมาอ้างเลย


ความจริงไม่ใช่อะไรยุ่งยาก
ลองจินตนาการไปว่าผมปรุงอาหารชนิดหนึ่งขึ้นมา แล้วชวนคุณมากินด้วยกัน

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราได้รับรู้รสชาดอาหารเหมือนกันอย่างไม่มีผิดเพี้ยน
รูปร่างหน้าตาก็ชามเดียวกัน

พอเราชิมแล้ว เราก้มาคุยกันได้เป้นวรรคเป้นเวร

ถ้าเราเป้นใบ้ทั้งคู่เราก้ยังสามารถเข้าใจสิ่งเดียวกันได้อยู่
และถ้าคุณพูดภาษาอื่น คนละภาษากับผม เราก้ยังเข้าใจสิ่งเดียวกันอยู่อย่างไม่ผิดเพี้ยน

อีกทั้ง คุณจะยังสามารถถ่ายทอดรสชาดอันนั้นออกไปเป็นภาษาของคุณได้ ในแบบของคุณ สำนวนของคุณ
โดยไม่ผิดเพี้ยนไปจากความเป้นจริงเลย
เพราะรสชาดอันนั้น มันประจักษ์แจ้งในระบบรับรสของเราอย่างที่จะอธิบายให้ชัดจริงๆไมได้เลย

แต่ปัญหามันอยู่ที่คนที่ไม่ได้ชิมกับเราด้วย
หมายถึงคนที่ไม่ปฏิบัติ เอาแต่คอยจินตนาการว่ามันมีรสชาดอย่างนั้น หน้าตาอย่างนี้
พวกเขาไม่มีวันเข้าใจเหมือนคนที่ชิม

นี่คือเอกลักษณ์พิเศษของการสนทนาธรรมที่เป้นธรรมะของชาวพุทธ
ตัวธรรมะแท้ๆนั้น มันเหนือการใช้ภาษาอธิบายทั้งปวง
ไม่ว่าเราจะคุยกันยังไง ถ้าศึกษาถูกต้อง เราจะพบสิ่งเดียวกัน

จะยกมา หรือไม่ยกมา ก็ไม่ต่างกัน

ในขณะเดียวกัน
ผมเห้นคนยกพระไตรปิฏกมา ยกคำพูดพระพุทธเจ้ามาตีความเล่นแร่แปรธาตุ
แอบแฝงตันหาความเชื่ออันวิปลาสของตนเอาไว้ก็มีมาก


โดยเฉพาะว่า คำศัพท์ คำบาลีนั้น มีความหมายเฉพาะตัว
แม้พระไตรปิฏกเป้นภาษาไทย แต่คำศัพท์นั้นเป้นบาลี
ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย ที่ตีความกันง่ายๆ
คนไม่ดีชอบตีความเอาเข้าข้างตัวเอง
เหมือนภาษิตชาวคริสต์ที่ว่า "ปีศาจย่อมอ้างพระคัมภีร์ เพื่อผลประโยชน์ของตน"

บางที เข้าใจไม่ผิด เขาใจถูกแหละ แต่เข้าใจไม่หมด ไม่กว้าง ไม่ลึกพอ ไม่ถ่องแท้
อย่างคำบาลีว่า "ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ."
"บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกนี้ และโลกหน้า"
นี่ขนาดแปลแล้ว แต่ถ้าคนไม่เข้าใจธรรมของพระพุทธเจ้าเพียงพอ
ก้เลยเพียรทำแต่บุญ ถึงกับบ้าบุญไปเลย
เพราะพระพุทธเจ้าพูดกับปากว่า บุญเป็นที่พึ่ง
แต่รู้ไหมครับว่า เป้าหมายสูงสุดของศาสนาพุทธไม่ใช่การทำบุญ
แต่เป้นการอยู่เหนือบุญเหนือบาป
นี่แหละ มันไม่ยาก แต่มันไม่ง่ายอย่างที่ตาอ่าน หูฟัง สมองคิด


บางทียกมา คนที่เขาเข้าใจไม่เท่าเรา
เช่นเข้าใจดีกว่าเรา ถ้าเขามีเมตตาเขาก็ชี้แจงแถลงให้อย่างเมตตา
แต่ต่อให้เขารู้จริง แต่เราจะเข้าใจอย่างที่เขาเข้าใจไหม
เขาพยามจะอธิบายรสชาดอาหารให้เราฟังอย่างถูกต้องเชียวแหละ
แต่เราไม่มีทางเข้าใจเหมือกับการชิมโดยตรงได้
เราต้องชิม ต้องพบประสบการณืตรงเอง จึงจะเรียกว่าเข้าใจจริงๆ
จนบางครั้ง คนรู้จริง เขาจะไม่พยามพูดว่ารู้อะไร แต่จะพยามบอกให้ทำยังไงถึงจะรู้อย่างเขา
หลวงปู่ดุลย์พูดว่า "คนที่เขารู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่ารู้อะไร"



บางทียกมาแล้วเป็นปัญหาให้ทะเลาะกัน
เช่นถ้า คนที่เขาเข้าใจดีกว่าเราแต่มีจิตใจไม่ดี
เขาก็จะใช้มันเป้นเครื่องมือประหัตประหารเรา
ฉันรู้มากกว่าเธอ เธอผิด เธอโง่แล้วยังพูดอะไรผิดๆ โง่ห้ามพูด อะไรไปอย่างนั้น
กลายเป้นว่าคนที่รู้จริงเท่านั้นถึงพูดได้ ใครกำลังงวยงงสงสัยเข้าใจผิดอยู่นั้น ห้ามพูด



ถ้าคนเข้าใจน้อยกว้าเรา บางทีพูดไปก็ไร้ประโยชน์
ภูมิเขาน้อยเกินไป พูดไปก็ไม่เข้าใจ บางทีไม่พูดซะยังดีกว่า เดี๋ยวจะเอาไปกลัดกลุ้มลังเลสงสัย
อย่างเห้นคนไปทำบุญแบบบ้าๆบอๆ ถ้ามันยังไม่ถึงกับวิปบาส คนรู้ธรรมเขาก็ไม่เข้าไปขวาง
บางทีเราก็ไม่เข้าใจว่าทำไมพระเถระถึงอยู่เฉยๆในวิกฤตการณ์ต่างๆ
ถ้าคนเข้าใจธรรม จะเข้าใจว่าทำไมท่านอยู่เฉยๆ


โดยสรุปคือ ยก หรือ ไม่ยก มันไม่ได้อยู่ที่คนอื่น
มันอยู่ที่ตัวเราว่าเราจะตั้งใจศึกษาแค่ไหน
ใครไม่ยก เราหาเองก็ได้ ถ้าเราอยากรู้จริง


สิ่งสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะได้เห้น ได้ยิน ได้ทราบ อะไรมาก็ตาม
คือต้องพิสูจน์รู้ให้พบกับตัวเอง จึงเป้นความรู้ที่ใช้ได้
ไม่งั้นมันก้เป้นการแค่ ฟังคนนั้นมา เชื่อคนนั้น คนนี้มีอ้างอิงน่าจะถูก
เป้นแค่ฟังไปฟังมา หลงคารมคนพูดเท่านั้นเอง


ถ้าคนพูดเข้าใจผิดโดยบริสุทธิใจ เราก้จะเข้าใจผิดโดยบริสุทธิใจไปอีก (โง่โดยไม่รู้ตัว)
แต่ถ้าเราปฏิบัติเพื่อพิสูจน์รู้ด้วยตัวเองแล้ว
ใครจะพูดอย่างง่าย หรืออย่างยาก หรือจะพิศดารแค่ไหน หรือแม้แต่อ่านพระไตรปิฏก
เราก้จะเข้าใจอย่างถ่องแท้


เหมือนคนที่ไม่ได้ชิมอาหารถ้วยนั้น
แต่พยามจะอธิบายรสชาดของมัน
เราจะรู้ทันทีว่าเขาไม่ได้ชิม หรือชิมมาแล้ว
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่า เขาถูกหรือผิด อันนั้น ช่างเขา
แต่อยู่ที่เรารู้ตัวเอง ว่าสิ่งที่รู้อยู่นี้เถูกหรือผิด และพร้อมที่จะแก้ไขให้ตรง ซึ่งสำคัญที่สุด

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีพุทธพจน์สั้นๆที่ว่า "เราตรัสแต่ทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น" เมื่อได้หลักดังนี้แล้ว ตนของตนนั่นแหละจะรู้ว่าตนดับทุกข์แก้ทุกข์โทมนัสให้ตนได้หรือไม่หรือยัง เมื่อดับทุกข์โทมนัสให้ตนได้ แปลว่าเข้าถึงพุทธธรรมคำสอนแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 ธ.ค. 2008, 10:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับประเด้นนี้
ที่มักตั้งข้อสังเกตุกันว่า

ทำไมพากันเอาแต่ยกคำพูดอาจารย็นู๊นอาจารย์นี้
ทำไมไม่ยกเอาพระไตรปิฏกมา ทำไมไม่อ่านพระไตรปิฏก
กลายเป้นว่า เป้นศาสนาพุทธของอาจารย์นั้น อาจารย์นี้
ทำให้เกิดการปฏิรูปพระสัทธรรมกันไป


สำหรับผมแล้ว
ผมมันโง่อยู่ก่อน ไม่รู้เรื่องอะไรเลยแม้แต่นิดเดียว
ก็ได้ภาษาง่ายๆ คำพูดง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ จากพระสงฆ์นี่แหละ
ที่ช่วยให้เข้าใจพุทธธรรมมากขึ้น
เก็บเล็กผสมน้อยจนเข้าใจอะไรขึ้นมา

ต่อมาภายหลัง เมื่อความรู้มากขึ้นแล้ว
เมื่อกลับมาอ่านคำสอนง่ายๆเหล่านั้นอีกที
ปรากกว่าเป้นธรรมะที่ลึกซึ้งที่สุด

อันที่เราเคยอ่านง่ายๆ เข้าใจง่ายๆนั่นแหละ
แต่คราวนี้มันเข้าใจลึกซึ้ง กว้างขวาง สุดประมาณ ปรุโปร่งกว่าเคย
ซึ่งเป็นเรื่องที่อัศจรรย์สำหรับผม
ว่าท่านพูดเรื่องที่ยากที่สุดอย่างนั้นด้วยความง่ายเช่นนั้นได้อย่างไร



และถ้าเราปฏิบัติได้ตรง มันก้จะเป้นการตรวจคำตอบของธรรมะทุกอย่างที่ได้ยินได้ฟังมา
เราจะสามารถสะกัดของที่ไม่ต้องใช้ออกไปได้ด้วยตัวเอง


และในท้ายที่สุด เราจะพบว่า
ลูกศิษย์พระพุทธเจ้าที่แท้นั้น ก้พูดเหมือนพระพุทธเจ้า พูดสิ่งเดียวกัน
ต่างแค่สำนวนและเท่านั้นเอง

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 00:54
โพสต์: 16


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณพระมหาธีรภาพ ถิรปญฺโญ ที่แสดงความคิดเห็นดีๆนะคับ ขอบคุณที่เมตตาครับพี่คามินธรรม เรียกพี่ละกันอายุมากกว่าเราแน่เลย เราอายุ17ฮะ ผมไม่ค่อยรู้อะไรหรอกครับ พูดก็พูดไปตามที่คิดนะครับ ผิดถูกก็ขออภัยนะคับ ขอบคุณพี่กรัชกาย ด้วยนะครับ ที่เอาสั่นๆแต่เข้าใจได้อย่างดี ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 12:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โดยส่วนตัวผมยังไม่ใช้ชาวพุทธจริงๆ นะตอนนี้ คงพูดอะไรได้ไม่มาก แต่เห็นสังคมไทย
บูชารูปเคารพ เทพผี เทวดา มีพระพุทธรูป นู้นนี้นั้น พระเครื่องเอย อะไรที่ไม่ได้ระบุไว้
ในพระคัมภีร์ ใช่มันอาจไม่ผิด แต่ผมเชื่อแน่ว่า เป็นสิ่งไม่จำเป็น เพราะสิ่งจำเป็นสำหรับชาวพุทธจริงๆ พระศาสดาได้กล่าวอย่างชัดแจ้งแล้ว โดยให้พระไตรปิกฎเป็นศาสดาแทน
เมื่อพระศาสดานิพพาน
MoSS+ วันนี้, 01:18


น้อง MoSS เป็นพุทธบุตรรุ่นใหม่หัวสมัยใหม่มีอิสระทางความคิด เห็นสิ่งขัดแย้งกับพุทธศาสตร์ จึงกล่าวอย่างนั้น
พี่กรัชกายขอแนะนำให้น้องอ่านลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15783

และลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19015

แต่ตรงนี้จะนำส่วนหนึ่งของลิงค์แรกมาลงให้พิจารณาพื้นฐานทางความคิดของมนุษย์ก่อน

ชุมชน หรือ สังคมตามหลักการของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยผู้คนมากมาย ซึ่งกำลังก้าวเดิน อยู่ ณ ตำแหน่งแห่งที่ต่างๆ บนหนทางสายใหญ่สายเดียวกัน ซึ่งนำไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกัน และคนเหล่านั้น ก้าวออกมาจากจุดเริ่มต้นที่ต่างๆ กัน

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สัตว์ทั้งหลายเจริญอยู่ในขั้นตอนต่างๆแห่งพัฒนาการในอริยธรรม เมื่อดูการเดินทาง
หรือพัฒนา ก็จะเห็นลำดับขั้นแห่งพัฒนาการ เป็น 3 ขั้น คือ
-ขั้นอ้อนวอนหรือพึ่งเทวดา
-ขั้นอยู่ร่วมกันด้วยไมตรีกับเทวดา
-ขั้นได้รับความเคารพบูชาจากเทวดา

ขั้นที่ 1 จัดว่าเป็นขั้นก่อนพัฒนา
ขั้นที่ 2 คือจุดเริ่มต้นของชุมชนแบบพุทธหรือชุมชนอารยะ
ขั้นที่ 3 เป็นระดับพัฒนาการของผู้เข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา

ข้อควรย้ำก็คือ คนผู้ใดผู้หนึ่งจะได้ชื่อว่า เป็นชาวพุทธ ก็ต่อเมื่อเขาก้าวพ้นจากขั้นอ้อนวอน หวังพึ่งเทพเจ้า เข้าสู่ขั้นอยู่ร่วมกันด้วยไมตรี ซึ่งเขาจะดำเนินชีวิตด้วยความเพียรพยายาม กระทำการตามเหตุผลเลิกมองเทวดาในฐานะผู้มีอำนาจที่จะต้องวิงวอนประจบเอาใจ เปลี่ยนมามองในฐานะเป็นญาติมิตรดีงามที่ควรเคารพนับถือ
มีเมตตาต่อกัน ไม่ควรมั่วสุมคลุกคลีกัน ไม่ควรรบกวนก้าวก่ายกัน และไม่ควรสมคบกันทำสิ่งเสียหายไม่ชอบด้วยเหตุผล เมื่อมองพัฒนาการนั้นในแง่ที่เกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ (รวมถึงอำนาจศักดิ์สิทธิ์เร้นลับอื่นๆ)
ก็จะมี 3 ขั้นเหมือนกัน คือ
-ขั้นหวังผล
-ขั้นเสริมกำลัง และ
-ขั้นเป็นอิสระสิ้นเชิง

ขั้นที่ 1 เป็นขั้นรอคอยอำนาจภายนอกดลบันดาล ทำให้หมกมุ่นฝักใฝ่ ปล่อยทิ้งเวลา ความเพียรและการคิดเหตุผลของตน จัดเป็นขั้นก่อนพัฒนาหรือนอกชุมชนอารยะ

ขั้นที่ 2 คือ ขั้นที่ทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้เองแล้ว และใช้อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเพื่อเสริมกำลัง ในการทำความดีอย่างอื่น เช่น ในการช่วยเหลือผู้อื่นจากภัยอันตราย และเป็นเครื่องประกอบของอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ถ้าเป็นสิ่งมงคลศักดิ์สิทธิ์อย่างอื่น ขั้นที่ 2 นี้ ก็อนุโลมไปถึงการมีสิ่งเหล่านั้นในฐานะเป็นเครื่องเสริมกำลังใจ หรือเป็นเพื่อนใจให้เกิดความอุ่นใจ ทำให้เพียรพยายามทำความดีงามได้แข็งแรงยิ่งขึ้น มีความมั่นใจในตนเองมากยิ่งขึ้น หรือเป็นเครื่องเตือนสติและเร่งเร้าให้ประพฤติสิ่งที่ดีงาม ขั้นนี้พอจะยอมรับได้ว่า เป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ระบบชีวิตแบบชาวพุทธ แต่ท่านไม่พยายามสนับสนุน เพราะยังอาจปะปนกับขั้นที่ 1 ได้ง่าย ควรรีบก้าวต่อให้ผ่านพ้นไปเสีย ควรระลึกอยู่เสมอถึงคุณสมบัติของอุบาสกที่ดีข้อที่ 3 ว่า “ไม่ถือมงคลตื่นข่าว มุ่งกรรม
(การกระทำ) คิดมุ่งเอาผลจากการกระทำ ไม่มุ่งหามงคล” (องฺ.ปญฺจก. 22/175/230 )

-ขั้นที่ 3 คือ การมีชีวิตจิตใจเป็นอิสระ ดำเนินชีวิตที่โปร่งเบาแท้โดยไม่ต้องอาศัยอิทธิปาฏิหาริย์ หรือ สิ่งอื่นภายนอกมาเสริมกำลังใจของตนเลย เพราะมีจิตใจเข็มแข็งเพียงพอ สามารถบังคับควบคุมจิตใจของตน
ได้เอง ปราศจากความหวาดหวั่นกลัวภัย อย่างน้อยก็มีความมั่นใจในพระรัตนตรัยอย่างบริบูรณ์เป็นหลักประกัน
ขั้นที่ 3 นี้ จัดเป็นขั้นเข้าถึงพระพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนธรรม รู้ธรรม เห็นธรรม เป็นธรรม


โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 00:54
โพสต์: 16


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณพี่ตรงประเด็นฮะ ชัดๆแจ้งๆเลยฮะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ย. 2008, 22:30
โพสต์: 222

ที่อยู่: เวียนว่ายในวัฏสงสาร (-_-!)

 ข้อมูลส่วนตัว


+MoSS+ เขียน:
ขอบคุณพระมหาธีรภาพ ถิรปญฺโญ ที่แสดงความคิดเห็นดีๆนะคับ ขอบคุณที่เมตตาครับพี่คามินธรรม เรียกพี่ละกันอายุมากกว่าเราแน่เลย เราอายุ17ฮะ ผมไม่ค่อยรู้อะไรหรอกครับ พูดก็พูดไปตามที่คิดนะครับ ผิดถูกก็ขออภัยนะคับ ขอบคุณพี่กรัชกาย ด้วยนะครับ ที่เอาสั่นๆแต่เข้าใจได้อย่างดี ขอบคุณครับ


:b27: :b17: ยินดีด้วยนะครับที่ เริ่มศึกษาธรรมะ ตั้งแต่ยังเด็กๆ :b17: :b27:

และขอบอกว่า ท่านที่มาตอบข้อ สงสัยของคุณ เป็น ตัวพ่อ ในบอร์ด ทั้งนั้นเลย

ได้ประโยชน์ เยอะเลยนะคุณ +MoSS+ :b19: :b19:

ส่วน เราเป็น เพื่อน กันได้ อายุใกล้ๆกัน :b3: :b3: :b19:








ถ้าเทียบ กับอายุ กัลป์ อะนะ :b19: :b19:

.....................................................
ขอประสบความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: ถ้าคนเข้าใจน้อยกว้าเรา บางทีพูดไปก็ไร้ประโยชน์
ภูมิเขาน้อยเกินไป พูดไปก็ไม่เข้าใจ บางทีไม่พูดซะยังดีกว่า เดี๋ยวจะเอาไปกลัดกลุ้มลังเลสงสัย
อย่างเห้นคนไปทำบุญแบบบ้าๆบอๆ ถ้ามันยังไม่ถึงกับวิปบาส คนรู้ธรรมเขาก็ไม่เข้าไปขวาง
บางทีเราก็ไม่เข้าใจว่าทำไมพระเถระถึงอยู่เฉยๆในวิกฤตการณ์ต่างๆ
ถ้าคนเข้าใจธรรม จะเข้าใจว่าทำไมท่านอยู่เฉยๆ

:b10: :b10: ตัวเราก็เป็นแบบนี้เลย ภูมิเราน้อยเรื่องธรรมะ ถ้ามายกตัวอย่างอะไรประเภทนั้น
เราก็จะรู้สึกมันลึกเกินไป เอาง่ายๆฟังเข้าใจก็โอ.....แล้วนะ
สำหรับ+MoSS+ เราคงเป็นป้านะ เพราะเท่าลูกเราเลย ก็เพ่งเริ่มศึกษาเอง แต่
:b32: ท่านผู้รู้แถวๆนี้ ทำให้เราเสพติดธรรมะน่ะค่ะ :b3: :b3: :b3:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 01:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ธ.ค. 2008, 00:54
โพสต์: 16


 ข้อมูลส่วนตัว


ยินดีที่ได้รู้จักครับ พี่อวบอั่นขั้นสุดท้าย สวัสดีครับป้าO.Wanยินดีๆ ขอบคุณสำรับสิ่งดีๆที่มอบมาครับ ทุกๆคนเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 01:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ย. 2008, 22:30
โพสต์: 222

ที่อยู่: เวียนว่ายในวัฏสงสาร (-_-!)

 ข้อมูลส่วนตัว


O.wan เขียน:
:b16: ถ้าคนเข้าใจน้อยกว้าเรา บางทีพูดไปก็ไร้ประโยชน์
ภูมิเขาน้อยเกินไป พูดไปก็ไม่เข้าใจ บางทีไม่พูดซะยังดีกว่า เดี๋ยวจะเอาไปกลัดกลุ้มลังเลสงสัย
อย่างเห้นคนไปทำบุญแบบบ้าๆบอๆ ถ้ามันยังไม่ถึงกับวิปบาส คนรู้ธรรมเขาก็ไม่เข้าไปขวาง
บางทีเราก็ไม่เข้าใจว่าทำไมพระเถระถึงอยู่เฉยๆในวิกฤตการณ์ต่างๆ
ถ้าคนเข้าใจธรรม จะเข้าใจว่าทำไมท่านอยู่เฉยๆ

:b10: :b10: ตัวเราก็เป็นแบบนี้เลย ภูมิเราน้อยเรื่องธรรมะ ถ้ามายกตัวอย่างอะไรประเภทนั้น
เราก็จะรู้สึกมันลึกเกินไป เอาง่ายๆฟังเข้าใจก็โอ.....แล้วนะ
สำหรับ+MoSS+ เราคงเป็นป้านะ เพราะเท่าลูกเราเลย ก็เพ่งเริ่มศึกษาเอง แต่
:b32: ท่านผู้รู้แถวๆนี้ ทำให้เราเสพติดธรรมะน่ะค่ะ :b3: :b3: :b3:



กระผม ก็เสพติด ธรรมแล้วขอรับ คุณ O.wan :b19: แต่ยังไม่ถึงจี้คอหอยใคร อะครับ Onion Onion

.....................................................
ขอประสบความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
19589.ทำไมคนพุทธเวลาพูดธรรมไม่มีการอ้างอิงเลย


ที่ผมกล่าวถึง การโอปนยิโก(เรียนธรรม รู้ธรรม เห็นธรรม เป็นธรรม) ใน คห ก่อนหน้านั้น
ไม่ใช่ว่าจะสนับสนุน ให้การสนทนาธรรมไม่ต้องมีแหล่งอ้างอิงใดๆน่ะครับ...เดี๋ยวจะเข้าใจผิด
เพราะ ผมเอง มักจะนิยมอ้างอิง พระไตรปิฎก หรือ คำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆเสมอ
เพียงแต่ ให้ความสำคัญ กับการน้อมธรรมนั้น มาปฏิบัติจนชัดเจนในใจตนเอง...ไม่ใช่เพียง เรียนธรรมอย่างเดียว

ส่วนตัวผม เห็นด้วยอย่างยิ่งน่ะครับ
ที่ ในการแสดงความเห็นทางธรรม ถ้ามีพระพุทธพจน์ หรือ คำสอนของพระเถระผู้ทรงคุณ กล่าวไว้ชอบแล้ว ควรจะนำมาวางก่อน... แล้ว ถ้ามีความเห็นส่วนตัวเช่นใด ค่อยแยกมากล่าวให้ชัดเจน




ที่น่าห่วงในขณะนี้ คือ บางท่านเล่นกล่าวธรรมตามใจฉัน
แทบจะตั้งตัวเป็นเกจิอาจารย์ หรือ จนแทบจะแต่งพระไตรปิฎกใหม่แล้ว :b6:

ส่วนรวม จึงต้องช่วยกันหามาตรการเพื่อลดความเสียหายจากสัทธรรมปฏิรูป
เลยเป็นที่มาของการออกกฏเกณฑ์ต่างๆ

มันก็พูดลำบากเหมือนกัน
ตรงจุดพอดี ที่ว่า จะควบคุมไม่ให้ผู้ที่สติเพี้ยนกระทำความเสียหายต่อส่วนรวมโดยการเผยแผ่ธรรมมั่วซั่ว กับ การที่อาจจะถูกมองว่าเข้มงวดในการแสดงความคิดเห็น

อย่างไร ก็ต้องรักษาส่วนรวมไว้ก่อนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2008, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ป้าแมวขาวฯ เห็นด้วยกับ จขกท. นะคะ แต่ให้อ้างอิงบ้างพอสืบทอดบาลีหรือ ให้พอดูขลัง เผื่อผู้เริ่มต้นจะได้มั่นใจว่าที่อ่านอยู่ศึกษาอยู่นั้น มีอยู่ในบาลี ในพระไตรปิฎก ในคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ถ่ายทอดธรรมให้เป็นทานก็จะได้ให้สิ่งที่ถูกต้องมีในคำสอนจริง เป็นของสูงค่าควรแก่การให้ทานจริง การอ้างอิงไม่ได้เป็นการอวดภูมิบาลี เพียงแต่เพิ่มความมั่นใจเพิ่มศรัทธาในการสนทนา ทำให้การสนทนาธรรมนั้น มีคุณค่า มีประโยชน์สืบไปในภายหน้า
แค่ทุกท่านตั้งใจเข้ามาสนทนาธรรมในนี้ ก็เป็นบุญแก่ตา แก่ใจผู้เข้ามาพบเห็นแล้วค่ะ(ดีกว่าไปเห็นเว๊บโป๊ หุ หุ)

ขออนุโมทนา ในธรรมทานที่ถึงพร้อมในจิตของผู้ตั้งจะให้ และผู้ตั้งใจจะรับ นะคะ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 45 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร