วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 23:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฏฐิ ๑๖
ความรู้จักเวทนา *

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร



อ้างคำพูด:
ดังที่มีเรื่องเล่าถึงพระนางสามาวดีที่ถูกไฟครอกสิ้นพระชนม์ในปราสาท โดยที่มีผู้ริษยาจุดไฟเผาปราสาทที่พระนางได้ประทับอยู่ และปิดกั้นประตูมิให้ออกได้ ได้มีแสดงว่าพระนางได้เจริญ เวทนาปริคคหกรรมฐาน คือกรรมฐานที่กำหนดเวทนา กำหนดดูเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะที่ถูกไฟเผาร่างกาย และเมื่อได้ตั้งใจกำหนดดูจริงๆ ก็จะมีความแยกระหว่างกาย กับผู้ดูผู้รู้ คือผู้ที่กำหนดเวทนานั้นชื่อว่าเป็นผู้ดูผู้รู้ สิ่งที่ถูกกำหนดดูก็คือกาย และเมื่อแยกออกจากกันได้ อันหมายความว่าสติที่กำหนดดูกำหนดรู้นั้นมีกำลัง ( เริ่ม ๕๘/๑ ) เวทนาที่เป็นทุกข์จึงอยู่แค่กาย คืออยู่ที่กาย มิใช่อยู่ที่จิตใจ หรือมิใช่อยู่ที่ผู้กำหนดดูกำหนดรู้ เมื่อเป็นดั่งนี้ จึงชื่อว่าแยกกายออกจากใจได้ เมื่อแยกกายออกจากใจได้ ใจก็ไม่ต้องรับเป็นทุกขเวทนาทางใจ ทุกขเวทนาก็เป็นทุกขเวทนาของกาย แต่ว่าไม่เป็นทุกขเวทนาของใจ สติที่กำหนดดูกำหนดรู้เวทนานี้จึงแยกได้ดั่งนี้ และแม้จะได้รับทุกขเวทนาอย่างอื่น หรือแม้ได้รับสุขเวทนาก็ตาม เมื่อตั้งสติกำหนดดูกำหนดรู้ให้เป็น เวทนาปริคคหกรรมฐาน กรรมฐานที่กำหนดเวทนาอยู่ เมื่อสติที่กำหนดมีกำลังก็ย่อมจะแยกได้เช่นเดียวกัน สำหรับเวทนาที่เป็นทางกายนั้น เมื่อตั้งสติหัดปฏิบัติกำหนดดูกำหนดรู้อยู่บ่อยๆ จนมีความชำนาญ ย่อมอาจจะแยกได้ง่ายกว่าเวทนาทางใจ เพราะเวทนาทางใจนั้นอยู่ที่ใจเอง แต่เวทนาทางกายนั้นอยู่ที่กาย ถ้าใจไม่ไปยึดไม่ไปถือ เวทนาทางกายก็อยู่แค่กาย ไม่เข้าถึงใจ แต่ที่เวทนาเข้าถึงใจนั้น คือใจเป็นทุกข์ไปด้วยกับกาย ก็เพราะว่ายังแยกกันมิได้ เวทนาปริคคหกรรมฐาน กรรมฐานที่กำหนดเวทนานี้แหละที่จะแยกได้ แต่ว่าจะต้องตั้งสติกำหนดให้มีกำลัง




พระนางสามาวดี ท่านบรรลุอนาคามีผล

ท่าน....ตายดีแน่นอน :b8: :b8: :b8:


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ตายดี


ตายเฉียบพลัน สะเทือนใจ ภัยพิบัติ
กรรมเก่าตัด ตามระราน ผลาญชีวิต
สิ้นชะตา ลาลับ จึงดับจิต
สู่สถิตย์ ยังภพหน้า แสนอาวรณ์

อุบัติเหตุ ฆาตกรรม นำสิ้นชีพ
บุพกรรม ตามบีบ ผลยอกย้อน
ผู้ที่อยู่ เบื้องหลัง ยังร้าวรอน
ปรากฏเป็น อุทาหรณ์ สอนเตือนใจ

อันตายดี นั้นหาใช่ ตายช้าช้า
หากแต่ว่า คราชีพยัง สร้างบุญไว้
คนทำดี ต้องมีดี เป็นที่ไป
อย่าระแวง สงสัย ในกรรมดี

ตลอดชีพ มุ่งศีลทาน การกุศล
บุญบันดล จักบังเกิด ประเสริฐศรี
ตายอย่างไร ตายเมื่อใด ไม่พาที
สิ้นชีวี ย่อมสู่สรวง ล่วงทุกข์เอย


ตรงประเด็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


การจะตายดีได้


ต้องมี
อธิศีล(สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
อธิจิต(สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
อธิปัญญา(สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)
คือ องค์แห่ง อริยมรรคสมบูรณ์พร้อมทั้งแปด
จึงจะนำไปสู่ ปัญญาญาณแห่งการตรัสรู้ชอบ(สัมมาญาณะ) และ การหลุดพ้นชอบ(สัมมาวิมุติ)

ในบรรดา องค์แห่งอริยมรรคทั้งหมด...
มี สัมมาทิฏฐิ เป็นประธาน...
มี สัมมาสติ เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
มี สัมมาสมาธิ เป็นที่ประชุมรวมลง.......



Quote Tipitaka:
จาก มหาจัตตารีสกสูตร

[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ฯ




และ ท่าน อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ สรุปประเด็น ของ มหาจัตตารีสกสูตร


อ้างคำพูด:
มหาจัตตาฬีสกสูตร

(แปลตามศัพท์ได้ว่า สูตรว่าด้วยธรรมะหมวด 40 หมวดใหญ่)

จากพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน
อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ

พระผู้มีพระภาพประทับ ณ เชตวนาราม.
ตรัสแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย มีใจความสำคัญ 3 ตอน คือ :-

1) ทรงแสดง
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ) ที่มีที่อาศัย มีคุณธรรมอื่นๆ(องค์มรรคที่เหลือ)อีก 7 ข้อเป็นเครื่องประกอบ (บริขาร)
คือ สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา เจรจาชอบ
สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ
สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายามะ พยายามชอบ
สัมมาสติ ระลึกชอบ

2) ทรงแสดง
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) ว่าเป็นหัวหน้า
และว่า (ให้) รู้จักทั้งผ่ายเห็นชอบและฝ่ายเห็นผิด
ทรงอธิบายความเห็นผิดว่า ได้แก่เห็นว่า ผลทานที่ให้ไม่มี ผลกรรมดีกรรมชั่วไม่มี เป็นต้น
แล้วทรงแสดงสัมมาทิฏฐิว่ามี 2 อย่าง คือ ที่มีอาสวะ กับที่ไม่มีอาสวะ
(ชั้นต่ำสำหรับปุถุชน ชั้นสูงสำหรับพระอริยะ)
แล้วทรงแสดงสัมมาทิฏฐิในฐานะเป็นหัวหน้า ในการแจกรายละเอียดให้มรรคข้ออื่นๆ

3) ทางแสดงว่า ธรรมปริยายที่เรียกว่า มหาจัตตาฬีสกะ - หมวด 40 หมวดใหญ่ . นี้
คือเป็นฝ่ายกุศล 20 ฝ่ายอกุศล 20

(ตั้งหลักมรรค 8 เติมสัมมาญาณะ ความรู้ชอบ สัมมาวิมุติ ความหลุดพ้นโดยชอบ รวมเป็น 10
กุศลธรรมเป็นอเนกเหล่าอื่นที่ถึงความเกิดมีบริบูรณ์
เพราะธรรมผ่ายถูกทั้ง 10 ข้อนั้นเป็นปัจจัย .... จัดเป็นฝ่ายกุศล 20

ตั้งหลักมิจฉัตตะ ความผิด มีความเห็นผิด เป็นต้นมีความหลุดพ้นผิดเป็นทีสุด เป็น 10
อกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่าอื่นที่ถึงความเกิดมีบริบูรณ์ เพราะธรรมฝ่ายผิด 10 ข้อนั้นเป็นปัจจัย .... จัดเป็นฝ่ายอกุศล 20)





สัมมาทิฏฐิ จึงมี2ระดับ

คือ สาสวสัมมาทิฏฐิ หรือ ยังคงข้องเกี่ยวกับโลก ยัง คงต้องวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างไม่รู้ว่าจะยุติลงเมื่อใด

และ

อนาสวสัมมาทิฏฐิ หรือ พ้นโลก คือ ตกกระแสพระนิพพาน คือ มีจุดยุติของการเวียนว่ายตายเกิดที่แน่นอน และ ไม่มีการกำเนิดต่ำลง มีแต่จะกำเนิดสูงขึ้น หรือ ไม่เกิดอีกเลย



การตายดี จึงต้องเริ่มจาก สัมมาทิฏฐิ

เปรียบเสมือน กลัดกระดุมเสื้อเม็ดแรก
ถ้ากลัดเม็ดกระดุมแรกไม่ถูก กระดุมเม็ดที่เหลือ ก็อาจจะผิดทั้งหมด


สัมมาทิฏฐิระดับสาสวะ ยังไม่เป็นหลักประกันว่าจะตายดี....
บางท่าน เพียรทำความดีมาทั้งชีวิต แต่ตอนตายจิตเศร้าหมอง กรรมในขณะจิตสุดท้ายจึงพาไปยังอบายได้อยู่.... แต่ ถึงแม้นความเห็นชอบระดับนี้จะยังไม่บรรลุอริยมรรคผลก็ตาม การเพียรให้จิตดำรงอยู่ในสาสวสัมมาทิฏฐิ ก็ยังดีกว่าการมีมิจฉาทิฏฐิจนไปก่ออกุศลกรรมเข้า


ส่วน พระอริยะนับตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านปิดอบายได้แน่นอน ..... จึงเป็นที่แน่นอนว่า ท่านตายดีแน่ๆ


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุถุชน และ พระเสขะ ทำกาละ เรียกว่า ตาย
คำว่า ตาย คู่กับ เกิด


พระอรหันต์สิ้นชีวิต เรียกว่า ดับขันธปรินิพพาน
ยุติวัฏฏะสังสารอย่างสิ้นเชิง



ขออนุญาต นำเรื่องราว การเผชิญกับวาระสุดท้ายแห่งธาตุขันธ์ของบูรพาจารย์ หลวงปู่ เสาร์ กันตสีโล มาเสนอ

เป็น โอวาทธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน :b8:



ท่านพระอาจารย์เสาร์พอมรณกาลจวนตัวเข้ามาจริง ๆ ท่านตั้งใจจะมรณภาพที่นครจำปาศักดิ์ ซึ่งเวลานั้นเป็นของฝรั่งเศส แต่บรรดาลูกศิษย์ทั้งพระและประชาชนจำนวนมาก ต่างก็ขออาราธนานิมนต์ท่านให้กลับมามรณภาพที่ฝั่งไทยเรา เมื่อคณะลูกศิษย์ที่มีจำนวนมากอาราธนาวิงวอนท่านท่านไม่ไหวท่านจำต้องรับคำ การทอดอาลัยในชีวิตซึ่งปลงใจจะปล่อยวางสังขารลงที่นครจำปากศักดิ์ก็ได้ถอดถอนล้มเลิกไป จำต้องปฏิบัติตามความเห็นและเจตนาหวังดีของคนหมู่มาก ยอมรับปากคำ และเตรียมลงเรือข้ามฝั่งลำแม่น้ำโขงมาฝั่งไทยเรา พอมาถึงท่าวัดศิริอำมาตย์ จังหวัดอุบลราชธานี เขาก็อาราธนาท่านขึ้นบนแคร่ แล้วหามท่านขึ้นไปสู่วัดนั้น พอก้าวขึ้นสู่วัดและปลงท่านลงที่ลานวัดเท่านั้น เขากราบเรียนท่านว่า "บัดนี้มาถึงวัดศิริอำมาตย์ในเขตเมืองไทยเราแล้ว ท่านอาจารย์"


เวลานั้นท่านนอนหลับตาและพยายามพยุงธาตุขันธ์ของท่านมาตลอดทาง ท่านก็ลืมตาขึ้นแล้วถามว่า "ถึงสถานที่แล้วหรือ?" เขาก็กราบเรียนถวายท่านว่า "ถึงที่แล้วครับ" ท่านก็พูดขึ้นมาว่า "ถ้าเช่นนั้นจงพยุงผมลุกขึ้นนั่งผมจะกราบพระ" พอเขาพยุงท่านลุกขึ้นนั่งแล้ว ท่านก็ก้มกราบพระสามครั้งพอจบครั้งที่สามแล้วเท่านั้น ท่านก็สิ้นในขณะนั้นเอง ไม่อยู่เป็นเวลานาน ขณะที่ท่านจะสิ้นก็สิ้นด้วยความสงบเรียบร้อย และมีท่าทางอันองอาจกล้าหาญต่อมรณภัย มีลักษณะเหมือนม้าอาชาไนย ไม่มีความหวั่นไวต่อความตาย ซึ่งสัตว์โลกทั้งหลายกลัวกันยิ่งนัก แต่ท่านที่ปฏิบัติจนรู้ถึงหลักความจริงแล้ว ย่อมถือเป็นคติธรรมดาว่า มาแล้วต้องไปเกิดแล้วต้องตาย จะให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะสติปัญญาที่ฝึกหัดอบรมมาจากหลักธรรมทุกแขนง ก็ฝึกหัดอบรมมาเพื่อรู้ตามหลักความจริงที่มีอยู่กับตัว ก็เมื่อการไป การมา การเกิด การตาย เป็นหลักความจริงประจำตัวแล้ว ต้องยอมรับหลักการด้วยปัญญาอันเป็นหลักความจริงฝ่ายพิสูจน์เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น ท่านที่เรียนและปฏิบัติรู้ถึงขั้นนั้นแล้วจึงไม่มีความหวั่นไหวต่อการไป การมา การเกิด การตาย การสลายพลัดพรากจากสัตว์และสังขารทั้งของท่าน และของผุ้อื่น จึงสมนามว่า เรียนและปฏิบัติเพื่อสุคโต ทั้งเป็นคติตัวอย่างอันดีแก่คนรุ่นหลังตลอดมาจนบัดนี้ นี่เป็นประวัติของท่านพระอาจารย์เสาร์ ที่วาดภาพอันดีและชัดเจนไว้แก่พวกเราเพื่อยึดเป็นคติเครื่องสอนตนต่อไป ไม่อยากให้เป็นทำนองว่าเวลามามีความยิ้มแย้ม แต่เวลาไปมีความเศร้าโศก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 54 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร