วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2008, 23:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับ

ท่านผู้เจริญมรรคโดยใช้ วิปัสสนานำหน้า และ เอกัคคตาจิตจะปรากฏตามมาเองในภายหลัง(เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า)นั้น

มีจุดหนึ่ง ที่หลายท่าน เคยปารภกันอยู่ว่า

แล้ว

"สมาธิขั้นพื้นฐานที่ใช้ในการเริ่มเจริญมรรคในตอนต้น"(ที่เอกัคคตาจิตยังไม่ปรากฏในขณะนั้น) จะ จัดว่าสมาธิขั้นพื้นฐานนั้นๆ เป็น สัมมาสมาธิเต็มขั้น ได้ไหม?


เช่นเดียวกันว่า

สมาธินั้นๆ ไม่ใช่มิจฉาสมาธิแน่ๆ เพราะ มีอนาสวะสัมมาทิฏฐิเป็นตัวกำหนดทิศทาง(มีทิศทางมาในทางที่ถูกแล้ว) และ กำลังอยู่ในแนวทางแห่งสัมมาสติ(เจริญภาวนาตามหลักมหาสติปัฏฐาน)
แต่ สมาธินั้นๆ ยังมีกำลังแห่งสมาธิ(สมาธินทรีย์)ยังไม่แน่วแน่ กล่าวคือ ยังไม่ปรากฏเป็นเอกัคคตาจิตขึ้น

สมาธินั้นๆ ถึงแม้นจะยังไม่สามารถเรียกได้ว่า สัมมาสมาธิเต็มขั้น ก็จริง... แต่ก็ กำลังบ่ายหน้าไปสู่ สัมมาสมาธิ เช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่การเขา อัปปนาได้อภิญญามิใช่รึครับ
พุทธองคทรงดำเนิน สมาธิ จากปฐมฌานถึง1.2.3.4.ถึง อัปปนาถึงเนวสัญญา
และสัญญาเวทยิตแล้วถอยกลับมา ปฐมฌาน แล้วทรงดำเนิน ปฐมฌานถึงอุปจารสมาธิ
เเล้ว นิพพาน ในอุปจารเลยแบบสิ้นเชื้อไม่เหลือซาก

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


บุญชัย เขียน:
แต่การเขา อัปปนาได้อภิญญามิใช่รึครับ
พุทธองคทรงดำเนิน สมาธิ จากปฐมฌานถึง1.2.3.4.ถึง อัปปนาถึงเนวสัญญา
และสัญญาเวทยิตแล้วถอยกลับมา ปฐมฌาน แล้วทรงดำเนิน ปฐมฌานถึงอุปจารสมาธิ
เเล้ว นิพพาน ในอุปจารเลยแบบสิ้นเชื้อไม่เหลือซาก





Quote Tipitaka:
119 กระบวนการปรินิพพาน

ปัญหา ในขณะที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงลำดับการปฏิบัติทางจิตส่วนพระองค์อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ “ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว ทรงเข้าทุติฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าจตตุถฌาน ออกจากจตุตถฌาน ทรงเข้าอากาสานัญจายตนฌาน.... ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน..... ทรงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน....ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน....
ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.... ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน..... ทรงเข้าอากาสานัญจายตนฌาน.... ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน..... ทรงเข้าอากาสานัญจายตนฌาน.... ทรงเข้าจตตุถฌาน ทรงเข้าตติยฌาน..... ทรงเข้าปฐมฌาน..... ทรงออกปฐมฌาน.... แล้วทรงเข้าทุติฌาน.... ทรงเข้าตติยฌาน.... ทรงเข้าจตตุถฌาน พระผู้มีพระภาคออกจากจตตุถฌาน แล้ว เสด็จปรินิพพานในลำดับนั้น”

ปรินิพพานสูตรที่ ๕ ส. สํ. (๖๒๑)
ตบ. ๑๕ : ๒๓๑-๒๓๒ ตท. ๑๕ : ๒๒๐
ตอ. K.S. I : ๑๙๗



จาก มหาปรินิพพานสูตร
พระพุทธองค์ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยไม่อยู่ในฌานใดๆเลย
และ ไม่อาจกล่าวได้ว่า อยู่ในสมาธิขั้นใดๆทั้งสิ้น ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2008, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็น เรื่อง ที่ผมกล่าวว่า

ในการจัดแบ่งประเภท ขณิกะ-อุปจาระ-อัปปานาสมาธิ ที่ดีนั้น

ถ้าสมาธิใดเป็นขณิกะสมาธิ สมาธินั้นๆไม่ควรจัดเป็นอัปานาสมาธิ
ถ้าสมาธิใดเป็นอัปปานาสมาธิ สมาธินั้นๆไม่ควรจัดเป็นขณิกะสมาธิ



ผมได้เสนอไว้ ใน คห ก่อนหน้านั้น ว่า

สัมมาสมาธิของท่านผู้ที่ตรัสรู้อย่างรวดเร็วโดยไม่เคยได้โลกียฌานมาก่อนเลย(เช่น ท่านสันตติมหาอำมาตย์)นั้น อาจเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ และ ในขณะจิตนั้นๆเป็นสมาธิที่แน่วแน่(ฌาน)ด้วยอย่างแน่นอน

บางท่านอาจจะคิดว่า จะเป็นไปได้อย่างไร...
เพราะ ขณิกะสมาธิ จะไปเกิดพร้อมๆกับอัปปานาสมาธิ ได้อย่างไร



บังเอิญ ผมไปอ่านเจอจุดนี้เข้า
ลองอ่านดูน่ะครับ

จาก หนังสือพุทธธรรม


อ้างคำพูด:
ใน อภิ.สํ.34/139/44-274/108 แสดงองค์ธรรมทั้งหลายในฌานต่างๆ ทุกระดับ โดยเฉพาะใน ฌานที่เป็นโลกุตระ - (สงฺคณี อ. 336 ว่าเป็นฌานอัปปนาชั่วขณะจิตเดียว)
มีทั้งอินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
มีองค์มรรคครบทั้ง 8 มีสมถะและวิปัสสนาและองค์ธรรมอื่นอีก
มาก (อภิ.สํ. 34/196/83)



ขอเสนอให้ความสำคัญ กับ คำว่า "ฌานที่เป็นโลกุตระ - (สงฺคณี อ. 336 ว่าเป็นฌานอัปปนาชั่วขณะจิตเดียว)" จาก หนังสือพุทธธรรม


คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล กล่าวไว้เองว่า

โลกุตรฌาน เป็น อัปปานาชั่วขณะจิตเดียว
คำว่า "ชั่วขณะจิตเดียว" นั้น น่ะ อาจารย์รุ่นหลังพุทธกาลท่านเรียกว่า ขณิกะ ไม่ใช่หรือ?


ดังนั้น ผมจึงเห็นว่า ภาษาดั้งเดิมที่ใช้ในพระสูตรโดยตรงในเรื่องนี้ชัดเจน และ รัดกุม กว่าในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล

ในระดับพระสูตร...
เมื่อใด กล่าวถึงฌาน เมื่อนั้น ต้องมีเอกัคคตาจิต(สมาธินทรีย์)ปรากฏขึ้น
และ เมื่อใด มีเอกัคคตาจิต(สมาธินทรีย์)ปรากฏขึ้น เมื่อนั้น เรียกว่าจิตทรงฌาน
โดยไม่จำกัดว่า จะมีเวลาที่สมาธิทรงตัวอยู่นานเท่าใด.

และ ไม่มีทางที่ฌานซึ่งจัดว่าเป็นสมาธิขั้นแน่วแน่ จะไปเกิดพร้อมกันกับ สภาวะจิตที่มีสมาธิเล็กน้อย ในขณะเดียวกันได้เลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2008, 10:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วเราจะวิปัสนาทำไม ถ้าไม่เอาฌานใดๆเป็น บาท
ส่งเข้านิพพาน

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2008, 14:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


บุญชัย เขียน:
แล้วเราจะวิปัสนาทำไม ถ้าไม่เอาฌานใดๆเป็น บาท
ส่งเข้านิพพาน



ต้องทำให้ชัดก่อนครับ

ว่า ฌาน ที่กล่าวนี้หมายถึง ฌาน แบบไหน
โลกียฌาน(เอกัคคตาจิตที่เป็นโลกียะ) หรือ โลกุตระฌาน(เอกัคคตาจิตที่เป็นโลกุตระ หรือ สัมมาสมาธิ)

ถ้าเป็นโลกียฌานแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่"ต้องมี"จึงจะเข้าถึงพระนิพพาน แต่ประการใด
เพราะ ผู้ที่ไม่บรรลุโลกียฌานบางท่านก็สามารถถึงพระนิพพานได้ครับ... และในทางกลับกัน ผู้ที่ได้โลกียฌาน หลายท่าน ก็ไม่บรรลุแม้นแต่โสดาบันเสียด้วยซ้ำ

แต่ ถ้าเป็นโลกุตระฌาน ที่ในพระสูตรกล่าวว่า เผาสังกิเลส นั้น เป็นองค์ประกอบแห่งอริยมรรคสมังคี ซึ่งจำเป็นต้องมีครับ


แต่ โลกียฌาน ก็มีประโยชน์อยู่ในบางแง่มุม ถ้าผู้ได้ฌาน รู้จักใช้ เช่น ใช้สนับสนุนการเจริญวิปัสสนา ช่วยให้จิตตั้งมั่น นุ่มนวล ควรแก่การงาน และ มีกำลัง ห่างไกลจากกาม จากอกุศล
แต่ โลกียฌาน ก็มีโทษได้ ถ้าผู้ได้ฌาน ไม่รู้จักใช้ เช่น ไปใช้ในแง่มุมของความสุขอย่างเดียว หรือ ไปหลงในญาณทัศนะต่างๆ ที่ปรากฏขึ้น

ดังนั้น จะจัดให้โลกียฌานเป็นมิจฉาสมาธิทุกกรณี.... ก็ไม่ถูก

โลกียฌานนั้นๆ จะเป็นปัจจัยสู่สัมมาสมาธิและปัญญา หรือ เป็นตัวขัดขวางปัญญา... มันขึ้นกับผู้ใช้ มากกว่าจะเป็นที่ตัวฌานนั้นๆโดยตรง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2008, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความแตกต่างของโลกียฌานกับโลกุตรฌาน นั้นแตกต่างกันอย่างไร ก็ขอรบกวนผู้ที่รู้ปริยัติช่วยเทียบเคียงภาษาที่ใช้อยู่ให้ดิฉันด้วย

ความแตกต่างของสมาธิระดับอัปปนาสมาธิของโลกียฌานกับโลกุตรฌานแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ถ้าว่ากันตามปริยัติตามที่คุณตรงประเด็นได้อ้างอิงมา และในแนวทางการปฏิบัติก็ใช่ เพียงแต่ผู้ปฏิบัติบางคนอาจจะไม่ทราบว่ามีคำเรียก

ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดแค่ขณะหนึ่ง
อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิที่ตั้งมั่นได้นานกว่าขณิกสมาธิ แต่ตรงนี้จะเกิดนิมิต ซึ่งหลายๆคนอาจจะใช้นิมิตนั้นเป็นอุบายในการปฏิบัติในการพิจรณาถึงความไม่เที่ยง หรือใช้เป็นอุบายในการเจริญสติ เมื่อมีสติ สัมปชัญญะมากขึ้น นิมิตนั้นย่อมดับไป ย่อมละไปได้
อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่ตั้งมั่นอยู่ได้นานกว่าขณิกและอุปจารสมาธิ แต่สมาธิตรงนี้จะขาดความรู้ตัวหรือที่เรียกว่าโลกียฌาน อาการที่สังเกตุเห็นได้ชัดว่าผู้ใดอยู่ในอัปปนาสมาธิที่กล่าวมานี้ ดูง่ายๆ เพราะขณะที่เกิดขึ้นจะขาดความรู้ตัวทั้งภายนอกและภายใน มันจะดับไปหมด บางคนกล่าวว่ารอให้สมาธิคลายตัวก่อนจึงค่อยเจริญวิปัสสนา
อุปจารฌานเป็นสมาธิระหว่างอุปจารสมาธิกับอัปปนาสมาธิหรือที่เรียกว่าโลกุตรฌาน สมาธิตรงนี้จะเป็นสมาธิระดับกึ่งกลางระหว่างอุปจารสมาธิกับอัปปนาสมาธิ คือเมื่อเข้าสู่อัปปนาสมาธิแล้วอาศัยการเจริญสติอย่างต่อเนื่องถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิได้แต่ยังไม่ตกลงไปที่อุปจารสมาธิ สมาธิตรงนี้จะตั้งมั่นได้นานกว่าอุปจารหรือที่เขาเรียกว่าเอาสมาธิระดับอัปปนามาใช้นั่นเอง สมาธิตรงนี้จะไม่มีนิมิตเกิดขึ้นและมีความรู้ตัวตลอดขณะที่เกิดสมาธิ ผู้ที่ทำได้ตรงนี้จะผ่านจตุตถฌานแล้ว เพราะนับตั้งแต่ปฐมฌานเป็นเรื่องของการเจริญสติอย่างต่อเนื่อง

คงต้องขออภัย ต้องไปทำงานก่อน หากมีเวลาจะมาขยายข้อความต่อ ท่านไหนที่ได้ศึกษาปริยัติ ก็ช่วยๆแทรกให้ด้วยค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2008, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อควรระวังในการโพสตอบกระทู้ เวลาเข้ากรุณาเข้าระบบอัตโนมัติ เวลาโพสตอบกระทู้ กรุณาก๊อปปี้ข้อความทั้งหมดไว้ก่อน ไม่งั้นข้อความที่อุตส่าห์นั่งพิมพ์จะหายไปทันทีที่โพส ดิฉันผิดเองค่ะ ไม่ได้กล่าวโทษใคร เพียงอยากจะบอกเพื่อนๆสมาชิกทุกคน จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลานั่งโพสข้อความทั้งหมดใหม่ เพราะความคิดมันไม่ค่อยแล่นเสียแล้ว ต้องใช้สมาธิมากเลยสำหรับดิฉันที่มาตอบในกระทู้ของผู้ที่ศึกษาปริยัติมากกว่าดิฉัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2008, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่นขอตกลงเรื่องการใช้ภาษาในการสื่อกันเสียก่อน จะได้เข้าใจไปในทางแนวเดียวกัน คำว่า วิปัสสนากับวิปัสสนาญาณนั้น ดิฉันจะใช้แตกต่างกัน วิปัสสนาคือการดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น หมายถึงดู ณ ปัจจุบัน ที่เกิด ณ ขณะนั้นๆ ส่วนวิปัสสนาญาณหมายถึง เมื่อเกิดวิปัสสนาญาณหรือญาณทัสสนะได้บังเกิดขึ้นแล้ว

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2008, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า จิตฺตวิสุทฺธิ ครูบาฯบางท่านก็ให้ความหมายไว้ดังนี้

อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ชื่อว่า จิตฺตวิสุทฺธิ ก็เพราะมีความบริสุทธิ์เป็นพิเศษปราศจากมลทินคือ นิวรณ์ และชำระใจให้ปราศจากมลทินคือ นิวรณ์ ทำให้นิวรณ์สงบลงได้ แต่ท่านได้ยกจิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับสมาธิทั้งสองนี้ขึ้นเป็นประธาน แล้วเรียกว่า จิตตวิสุทธิ ส่วน ขณิกสมาธิ ที่เกิดขึ้นแก่สุทธิวิปัสสนายิกะ โยคีที่กำหนดรูป,นามนั้น เรียกว่า จิตตวิสุทธิ ได้เหมือนกัน แต่จัดเข้าในอุปจารสมาธิโดยอนุโลม
สมาธิทั้งสองนี้ได้ชื่อว่าจิตตวิสุทธินั้น อยู่ภายในขอบเขตและมีอารมณ์ดังนี้ คือ อุปจารสมาธิ สมาธิที่อยู่ในมหากุศล มหากิริยา มีกัมมัฏฐานเป็นอารมณ์ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่อยู่ในมหัคคตฌาน ๙ มีบัญญัติหรือปรมัตถ์ที่เนื่องมาจากกัมมัฏฐานเป็นอารมณ์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2008, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงคำพูด:
อัปปนาสมาธิ จิตสงบนิ่ง ดิ่งถึงฌาน
ไม่เกิดญาณ ได้อภิญญา พาหลงใหล

อุปจารสมาธิ มีนิมิต หลงติดใจ
ล้วนทำให้ หลงผิด ติดอัตตา

ขณิกสมาธิ คือสมาธิ ชั่วขณะขณะ
ดุจวัชระ สายฟ้าแลบ แพลบแพลบหนา
เพียรกำหนด รูป-นามหนอ ต่อเนื่องมา
ญาณปัญญา เห็นเกิด-ดับซึ้ง ถึงนิพพาน

-- อันนี้ต้องเข้าใจว่า เป็นอุบายในการสื่อที่จะใช้ในการสอนของแต่ละสำนัก แต่ละสำนักจะสอนแตกต่างกันไป แต่ที่เหมือนกันหมดก็คือ การเจริญสตินั่นเอง ดูจากข้อความตรงนี้ " เพียรกำหนด รูป-นามหนอ ต่อเนื่องมา "

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2008, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงคำพูด:
อัปปนาสมาธิ จิตสงบนิ่ง ดิ่งถึงฌาน ไม่เกิดญาณ ได้อภิญญา พาหลงใหล

-- มันก็น่าหลงอยู่ไม่ใช่หรือ รู้ทุกเรื่อง รู้ทุกอย่าง เรื่องนอกตัวรู้หมด แต่เรื่องในตัวกลับไม่รู้ แต่อันนี้จะมาว่ากล่าวกันก็ไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของเหตุที่ได้สร้างได้กระทำกันมา ( กรรม ) ผลที่ได้รับ ( วิบากกรรรม ) จึงเป็นเช่นนี้ ดูพระเทวทัติเป็นตัวอย่าง เพราะความพยาบาทจองเวรไม่รู้จบ เพราะขาดการเจริญสติอย่างต่อเนื่อง อันนี้ไม่ได้คิดละเมิดพระเทวทัติท่านนะ เพียงแต่เห็นว่าเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน แต่ยังไงนั่นก็คือกุศลของท่าน ผู้ที่ยังไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จะมีอยู่สองทางที่เกิดขึ้นในผู้ที่ทำสมาธิ คือ 1. เกิดฤทธิ์ 2. มีสติ สัมปชัญญะที่เข้มแข็งขึ้นไม่ใช่สติ สัมปชัญญะแบบที่ทั่วๆไปมีกัน ทุกอย่างที่เกิดขึ้น เหตุย่อมมีมาก่อน ผลจึงเป็นเช่นนั้น ถ้าไม่อยากติดหรือหลงอยู่ในฤทธิ์ก็ให้หมั่นเจริญสติอย่างต่อเนื่อง ส่วนใครที่เห็นบุคคลในข่ายที่ว่านี้ อย่าไปว่าเขา เพราะอันนั้นมันก็เป็นกุศลของเขาที่ได้สร้างสั่งสมมา ไม่ใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆ เราตวรมีเมตตาต่อกันและกัน ยิ่งเพ่งโทษต่อกันมากเท่าไหร่ เท่ากับสร้างกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นเท่านั้น อยากพูด พูดครั้งเดียงแล้วก็จบ อย่าต่อความยาว มันจะกลายเป็นผลให้เราได้รับ ในอนาคต มันมีผลต่อการปฏิบัติ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2008, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ ( ฌาน )
ลักษณะของผู้ที่เข้าสู่อัปปนาสมาธิ ส่วนมากไหล่จะห่อ หลังจะงุ้ม บางคนก็หัวผงกหงึกหงัก เนื่องจากสมาธิมากเกินสติ วิธีแก้คือ1. ให้ฝึกเจริญสติ 2. ให้คนสะกิด
การฝึกเจริญสติ มี 2 แบบ
1. รู้ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะทำอะไรหรืออริยาบทไหนก็แล้วแต่ ให้รู้ลงไป ให้รู้นะ ไม่ใช่ให้ดู การดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือวิปัสสนา ถ้าดูก็จะเห็นถึงความไม่เที่ยง ถ้ารู้ก็มีจะสติเกิดขึ้น จะมากหรือน้อยก็อยู่ที่ความต่อเนื่อง สะสมไปเหมือนสะสมหน่วยกิต วันนี้อาจจะไม่ทัน จิตมันไว วันหน้าก็อาจจะทัน ทุกอย่างต้องใช้เวลาใช้ความเพียรอย่างต่อเนื่อง
2.ใช้อารมณ์บัญญัติเข้าช่วย เช่นใช้ " หนอ " จะทำอะไรก็ให้มีคำว่า " หนอ " ต่อท้าย เพื่อรั้งจิตให้ช้าลง สติ จะได้เกิดเร็วขึ้น วันใดสติ สัมปชัญญะเข้มแข็งขึ้น คำว่า " หนอ " จะหายไปเอง
ถ้าถามว่าวิธีแบบไหนดีที่สุดหรือถูกที่สุด ดีที่สุดไม่มี ถูกที่สุดไม่มี มีแต่ความถูกใจ ทำแบบไหนแล้วถูกใจ ทำแล้วถนัด ทำแล้วสติ สัมปชัญญะเกิดชัดเจนขึ้น วิธีนั้นย่อมเหมาะแก่จริตของผู้นั้น

การถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ( ฌาน ) โดยวิธีการเจริญสติแบบแรกคือ เมื่อมันดิ่งแล้วดับไป บางคนจับไม่ได้แบบว่าดับไปทันทีบางคนก็นานหลายชั่วโมง บางคนก็ตามเวลาที่กำหนดตั้งไว้ แต่ละคนไม่เหมือนกัน แล้วแต่สัญญาของแต่ละคน เมื่อฝึกเจริญสติมากขึ้น เวลาจะดิ่งย่อมรู้ตัวได้ทัน ก็ให้มาจับที่ท้องพองยุบแทน เพราะถ้าให้จับลมหายใจ จะจับไม่ได้ เพราะลมหายใจละเอียดมาก (แล้วถ้าไปตะเบงลมหายใจให้เกิดขึ้น สมาธิก็จะหายไป) แต่อาการของท้องพองยุบจะจับได้ชัดเจน นี่คือการดึงสมาธิระดับอัปปนามาทำวิปัสสนา ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
-- นับตั้งแต่ปฐมฌาน จากฌาน 1 ไปสู่ 2 3 4 เป็นเรื่องของการเจริญสติอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่เรื่องของสมาธิอย่างเดียว รวมทั้งการทำวิปัสสนาด้วย โดยเฉพาะฌาน 4 ถ้าใครเข้าออกได้คล่อง จะเป็นเรื่องสักแต่ว่าสมาธิคือสักแต่ว่าเกิดสมาธิ คล้ายๆขณิกสมาธิแต่ตั้งมั่นได้นานกว่า ไม่มีนิมิต เป็นเรื่องของการพิจรณา เป็นเรื่องของปัญญา

การถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ ( ฌาน ) โดยให้คนสะกิด อันนี้ก็ต้องใช้การเจริญสติแบบวิธีที่ 2 ด้วย คือใช้อารมณ์บัญญัติเข้าช่วย เช่น ใช้คำว่า " หนอ " ขณะที่ผู้ปฏิบัติไหล่ห่อ คอตก หรือผงกหัวหงึกหงัก ให้ผู้ที่จะสะกิดส่งเสียงก่อนว่า " เสียงหนอๆ " แล้วเอามือแตะเบาๆที่หลังหรือไหล่ ส่วนตัวผู้ปฏิบัตินั้นก็ต้องกำหนด รู้หนอๆ แล้วค่อยๆขยับตัวนั่งหลังตรง ตอนนี้จะเห็นท้องพองยุบชัดเจน ก็ให้จับที่ท้องพองยุบ ทำแบบนี้ไม่กี่ครั้ง ก็จะรู้ตัวเองเมื่อเวลาจะดิ่ง พอจะดิ่ง มันจะมีสติเกิดขึ้นถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิได้เอง เมื่อทำได้ชำนาญ อารมณ์บัญญัติหรือคำว่า รู้หนอ ที่ใช้นั้น จะหายไปเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2008, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงคำพูด " อุปจารสมาธิ มีนิมิต หลงติดใจ ล้วนทำให้ หลงผิด ติดอัตตา "
-- นิมิตมีหลายชนิด มีทั้งนิมิตภาพ นิมิตเสียง นิมิตแสง อันนี้นำมาให้อ่าน ก็เป็นแนวทางการสอนของสำนักหนึ่ง
เมื่อใดเพ่งดูพระพุทธรูปแล้ว หลับตานึกเห็นภาพพระพุทธรูปสวยงามกว่าสภาพเดิม ชัดเจน นึกให้ใหญ่เล็กได้ตามความต้องการ ต่อมาเปลี่ยนสีจากสีเดิมเป็นสีใสดังแก้ว อย่างนี้ท่านเรียก อุคคหนิมิต การภาวนาท่านเรียก อุปจารภาวนา สมาธิเป็นสมาธิจวนจะถึงอัปปนาสมาธิที่ท่านเรียก อุปจาร สมาธิ หรือ อุปจารฌาน เมื่อชำนาญขึ้นหลับตานึกเห็นภาพพระพุทธรูปที่ใสดังแก้วเกิดมีประกายคล้ายดาวประกายพรึก อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฏิภาคนิมิต การภาวนาท่านเรียก อัปปนาภาวนา สมาธิเป็น อัปปนาสมาธิ เข้าถึงปฐมฌาน
นิมิตจากกสิณพระพุทธรูป เมื่อหลับตานึกเห็นภาพพระพุทธรูปตามสภาพเดิม นึกเห็นชั่วขณะจิตแล้วก็เลือนหาย เป็นบริกรรมนิมิตได้ขณิกสมาธิ ต่อไปนึกเห็นภาพพระพุทธรูปสวยงามกว่าสภาพเดิม นึกให้ใหญ่ให้เล็กได้ แล้วเปลี่ยนจากสีเดิมเป็นใสดังแก้ว เป็น อุคคหนิมิตได้อุปจารสมาธิ ต่อไปนึกเห็นภาพพระพุทธรูปเป็นประกายคล้ายดาวประกายพรึก เป็นปฏิภาคนิมิต ได้ อัปปนาสมาธิ เรียกเป็นฌานว่าได้ปฐมฌาน นิมิตที่ต้องรักษานี้ต้องบำเพ็ญให้ได้สูงสุดเช่น กสิณพระพุทธรูปได้ฌานสูงสุดถึงจตุตถฌาน ก็ต้องบำเพ็ญให้ได้จตุตถฌาน เช่น อานาปนสติ ท่านว่า ได้สมาธิเห็นสีต่างๆ ได้ฌานสูงสุดถึงจตุตถฌาน ก็ต้องบำเพ็ญให้ได้ถึงจตุตถฌาน รวมถึงมโนมยิทธิด้วย

-- อ่านแล้วอาจจะให้ความรู้สึกหลากหลายกันไป ก็ไม่ว่ากัน คำที่เรียกนั้นก็เป็นเพียงสมมุติ สุดแต่ว่าจะให้ค่าให้ความหมายกันไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 00:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปกับกระทู้ " อุปจารสมาธิ และ อัปปานาสมาธิ ปิดกั้นปัญญา...จริงหรือ? "

-- มองได้สองมุมมอง อาจจะทั้งปิดและไม่ปิด หากเจริญสติอย่างต่อเนื่องก็จะไม่ปิดกั้นปัญญาทั้งอุปจารและอัปปนาสมาธิ ถ้าไม่เจริญสติก็อาจจะติดอยู่แค่ตรงนั้น แต่ .... ทุกอย่างมันมีเหตุ และมีผลให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขณิกสมาธิก็ดี อุปจารสมาธิก็ดี หรือ อัปปนาสมาธิก็ตาม มันไม่ใช่เรื่องง่ายและเรื่องยากเลยสำหรับผู้ที่ไม่เคยมีพื้นฐานมาก่อน กุศลแต่ละคนสร้างสั่งสมมาไม่เท่ากัน จึงมีรูปแบบในการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป ใครเชื่อใคร มันไม่ใช่เรื่องถูกหรือว่าผิด เนื่องจากเขาเคยสร้างเหตุร่วมกันมา จึงต้องมาเชื่อกัน ณ วันหนึ่ง หรือสักวันหนึ่ง ทุกคนย่อมถึงจุดหมายปลายทางเหมือนๆกัน เพียงแต่จะช้าหรือเร็วก็อยู่ที่เหตุได้กระทำกันมา

-- ขอแนะนำสถานีหลวงตามหาบัว ช่วง 6.30 น. ถึง 7 โมงเช้า จะมีพระธรรมบทให้ฟังทุกวัน ฟังแล้วเกิดปัญญาดี ได้รับพรจากหลวงตา สดชื่นจิตทุกวัน ใครติดขัดการปฏิบัติตรงไหนก็ส่งกระแสจิตถึงหลวงตาได้ ส่งวันนี้ เช้าวันรุ่งขึ้นก็ได้รับคำตอบแล้ว หลวงตาจะเทศน์ทุกเช้าประมาณ 6 โมงเช้า
-- ใครที่ปฏิบัติแล้วยังมีปีติ มีสุข มีนิมิตต่างๆเกิดขึ้น ขอให้เจริญสติอย่างต่อเนื่อง อย่าไปเอาเลย แต่ถ้าจะเอาไว้ก็ไม่ว่ากันน่ะ เหตุมี ผลย่อมมี ไม่ได้คิดแทนใคร เพราะรู้อยู่แล้ว เพียงแต่บอกเล่าสู่กันฟัง ขอให้ดูตามความเป็นจริง พิจรณาให้เห็นถึงความไม่เที่ยง แล้วมันจะค่อยๆละ ค่อยๆคลายความยึดมั่นถือมั่นลงไปได้ในระดับหนึ่ง จะได้ไม่มาสร้างกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นอีก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร