วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2008, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตตวิสุทธิ ก็ คือ หนึ่งในวิสุทธิทั้งเจ็ด
หมายถึง ความหมดจดแห่งจิต คือได้ฝึกอบรมจิตจนเกิดสมาธิพอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา





จิตตวิสุทธิ นั้น มีความหมายที่แตกต่างกันไป ในแต่ละยุคสมัย


### จิตตวิสุทธิ ในสมัยพุทธกาล ที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ

Quote Tipitaka:
จิตตวิสุทธิ ด้วยความว่า ไม่ฟุ้งซ่าน

จิตตวิสุทธิเป็นความผ่องใส เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน

ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธินั้น เป็นอธิจิตตสิกขา


ปล....ส่วนคำว่า "สมาธิวิสุทธิ" ผมค้นในพระไตรปิฎกไม่พบครับ(ใครพบโปรดบอกเป็นวิทยาทาน)


จิตวิสุทธิ น่าจะเข้าได้กับองค์แห่งมรรคใด ในอริยมรรค

ถ้าพิจารณาจาก

Quote Tipitaka:
ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธินั้น เป็นอธิจิตตสิกขา


จิตตวิสุทธิ ในสมัยพุทธกาลนั้น น่าจะเข้าได้กับ สัมมาสมาธิ (ที่มีพระพุทธพจน์ตรัสระบุว่า เป็น สมาธิระดับ(โลกุตร)ฌาน)

เพราะเหตุว่า สัมมาสมาธิ เป็นที่สุดในอธิจิตตสิกขา




### จิตตวิสุทธิ จาก คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล


อ้างคำพูด:
จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๙ กรรมฐานสังคหวิภาค

โสฬสญาณ (วิปัสสนาญาณ ๑๖)และวิสุทธิ ๗
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/069.htm

ภาคภาษาไทย ในวิสุทธิ ๗ จิตตวิสุทธิ นั้น มีขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ

ใน web เดียวกัน ภาคภาษาอังกฤษที่แปลจากพระอภิธัมมัตถสังคหะภาษาบาลีโดยตรงที่ไม่มีส่วนขยาย โดยทำส่วนขยาขความไว้เป็น foot notes นั้น
http://abhidhamonline.org/Chapter1-9/ch9_files/ch9.htm

จิตตวิสุทธิในวิสุทธิ ๗ มีแค่ อุปจารสมาธิ ( proximalte concentration) และ อัปปนาสมาธิ (establised or ecstatic concentration ) เท่านั้น:

Purity of Mind (37) consists of two kinds of concentration, namely,
1. 'proximate concentration', and
2. 'established or ecstatic concentration'.

ทำให้ผมเข้าใจว่าตันฉบับพระอภิธัมมัตถสังคหะ ไม่ได้จัดขณิกสมาธิไว้ในจิตตวิสุทธิ ผมเคยได้ยินมาว่าในบางตำราได้เขียนไว้ว่า อนุโลมให้ขณิกสมาธิเป็นจิตตวิสุทธิได้แต่ต้องเป็นขณิกสมาธิที่ปราศจากนิวรณ์

.........................

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น
มี ๒ ประการ คือ
๑. ปฏิบัติมีสมถะเป็นบาทเบื้องต้น
๒. ปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ

ในข้อ ๑ นั้น คำว่าจิตตวิสุทธิ มุ่งหมายถึง อุปจารสมาธิและ อัปปนาสมาธิ

ส่วนในข้อ ๒ นั้น จิตวิสุทธิมุ่งหมายถึง ขณิกสมาธิที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จนไม่มีช่องว่างให้นิวรณ์เข้าได้เลย




ในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลนี้ จิตตวิสุทธิ ได้ถูกแบ่งออกเป็น

1.จิตตวิสุทธิสำหรับการปฏิบัติมีสมถะเป็นบาทเบื้องต้น(ไม่แน่ใจว่า ตรงกับ การเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า หรือ การเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันไป ในสมัยพุทธกาล ไหม?)

2.จิตตวิสุทธิสำหรับปฏิบัติวิปัสสนาล้วนๆ (ไม่แน่ใจว่า จะตรงกับ การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า ในสมัยพุทธกาล ไหม?...และ วิปัสสนาล้วน มีจริงในสมัยพุทธกาลไหม?)...

จุดนี้สำคัญมาก..
เพราะ ต้องพิจารณาให้ดีๆว่า
การที่คัมภีร์ระบุว่า "ขณิกสมาธิที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนไม่มีช่องว่างให้นิวรณ์เข้าได้เลย" เป็น จิตตวิสุทธิสำหรับการเจริญมรรคที่ใช้วิปัสสนานำหน้า(ไม่น่าจะเป็นวิปัสสนาล้วนๆน่ะ) นั้น หมายเอาสิ่งใด ระหว่าง

ก."ขณิกสมาธิที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนไม่มีช่องว่างให้นิวรณ์เข้าได้เลย" นั้น เพียงพอแล้วในการเจริญมรรคที่ใช้วิปัสสนานำหน้า แต่ ไม่ได้หมายความว่า ห้ามไม่ให้ปรากฏเอกัคคตาจิต(สมาธินทรีย์) หรือ โลกุตรฌาน ขึ้น. เอกัคตาจิต(สมาธินทรีย์) หรือ โลกุตรฌาน ก็ยังคงสามารถบังเกิดขึ้นได้ ดังเช่น ในพระสูตรที่ตรัสถึงการเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าเช่นกัน(ที่ผมยกมาเป็นลายเซ็น)
ซึ่ง อาจจะตรงกับ"ปัญญาอบรมสมาธิ" ที่ ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ และ หลวงพ่อพุธ ท่านกล่าวไว้ ใน คห ข้างต้น .คือ ขณิกะสมาธินั้นๆ จะได้รับการพัฒนาตามปัญญาไปด้วย จน เป็นอุปจารสมาธิ หรือ อัปปานาสมาธิ ในที่สุด

ข.."ขณิกสมาธิที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนไม่มีช่องว่างให้นิวรณ์เข้าได้เลย" นั้น เป็นสิ่งที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนาล้วนๆ(วิปัสสนาล้วนๆ ไม่แน่ใจว่ามีจริงไหม?) และ ต้องไม่บังเกิด เอกัคคตาจิต(สมาธินทรีย์) หรือ โลกุตรฌาน ขึ้น... ซึ่งนี่ อาจจะเป็นที่มาของ คำกวีที่เขียนไว้ที่หน้าสำนักวิปัสสนาแห่งหนึ่ง มีเนื้อความดังนี้

อ้างคำพูด:
อัปปนาสมาธิ จิตสงบนิ่ง ดิ่งถึงฌาน
ไม่เกิดญาณ ได้อภิญญา พาหลงใหล

อุปจารสมาธิ มีนิมิต หลงติดใจ
ล้วนทำให้ หลงผิด ติดอัตตา

ขณิกสมาธิ คือสมาธิ ชั่วขณะขณะ
ดุจวัชระ สายฟ้าแลบ แพลบแพลบหนา
เพียรกำหนด รูป-นามหนอ ต่อเนื่องมา
ญาณปัญญา เห็นเกิด-ดับซึ้ง ถึงนิพพาน


คือ ถ้าดูตามเนื้อกลอนนี้...
ทางสำนักวิปัสสนาท่านจะจัดให้เฉพาะ ขณิกะสมาธิเท่านั้นที่เป็นสัมมาสมาธิ ที่สามารถนำไปสู่ปัญญาได้




###จิตตวิสุทธิ ตามแนววิปัสสนาล้วน ในยุคปัจจุบัน

เช่นที่ปรากฏใน คำกวีที่หน้าสำนัก ที่ผมนำมาลงข้างต้น
ในแบบนี้ จิตตวิสุทธิ จะนับเฉพาะเพียง ขณิกะสมาธิเท่านั้น ต้องไม่นับ อุปจารสมาธิ และ อัปปานาสมาธิ แล้ว.เพราะ ทางสำนัก กล่าวชัดเจนเลยว่า อุปจารสมาธิ และ อัปานาสมาธิ ไม่นำไปสู่พระนิพพาน.
(น่าจะเป็นที่มาของแนวคิด เจริญวิปัสสสนาโดยตัองระมัดระวังไม่ให้มีสมถะเกิดขึ้น ในยุคปัจจุบันนี้ด้วย)







นี่คือ ที่มาที่ไป ของความหมายที่เปลี่ยนแปลงไป แห่งคำว่า"จิตตวิสุทธิ"

จาก จิตตวิสุทธิ ในสมัยพุทธกาลนั้น ที่น่าจะเข้าได้กับ สัมมาสมาธิ(โลกุตรฌาน)

กลายเป็น จิตตวิสุทธิ ที่ ต้องนับเฉพาะเพียง ขณิกะสมาธิเท่านั้น ... ต้องไม่นับ อุปจารสมาธิ และ อัปปานาสมาธิ ดังเช่น ปราฏกในบทกวีที่หน้าสำนักวิปัสสนา ในปัจจุบัน!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2008, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอร่วมด้วยสักนิดเถอะนะครับ
ขอยกเอาธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์มาตอนหนึ่ง โดยขอจัดหน้าใหม่ ดังนี้

อ่านเต็มๆได้ที่ - ส่องทางสมถวิปัสนา
http://www.nkgen.com/tess803.htm

------------------------------------------------------------


เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโญ ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา
ทางอื่นนอกจากนี้แล้ว ที่จะเป็นไปเพื่อความเห็นอันบริสุทธิ์ ย่อมไม่มี


สมาธิ เมื่อผู้มาเพ่งพิจารณาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งอยู่ มีกายเป็นต้นแล้ว
จิตนั้นย่อมตั้งมั่น แน่วแน่อยู่เฉพาะหน้าในอารมณ์อันเดียว แต่ไม่ถึงกับเข้าสู่ภวังค์ที่เรียกว่าฌาน

มีสติสัมปชัญญะตั้งมั่นรู้ตัวอยู่ จิตหยาบก็รู้ว่าหยาบ ละเอียดก็รู้ว่าละเอียด
รู้จริงเห็นจริงตามสมควรแก่ภาวะของตน

หากจะมีธรรมารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในขณะนั้น
จิตนั้นก็มิได้หวั่นไหวไปตามธรรมารมณ์นั้นๆ
ย่อมรู้อยู่ว่าอันนั้นเป็นธรรมารมณ์ อันนั้นเป็นจิต
อันนั้นเป็นนิมิตดังนี้เป็นต้น

เมื่อต้องการดูธรรมารมณ์นั้นก็ดูได้
เมื่อต้องการปล่อยก็ปล่อยได้
บางทียังมีอุบายพิจารณาธรรมารมณ์นั้นให้ได้ปัญญา เกิดความรู้ชัดเห็นจริงในธรรมารมณ์นั้นเสียอีก

อุปมาเหมือนบุคคลผู้นั่งอยู่ที่ถนนสี่แยก ย่อมมองเห็นผู้คนที่เดินไปมาจากทิศทั้ง ๔ ได้ถนัด
เมื่อต้องการติดต่อกับบุคคลเหล่านั้นก็ได้สมประสงค์
เมื่อไม่ต้องการติดต่อก็ทำกิจตามหน้าที่ของตนเรื่อยไปฉะนั้น ดังนี้เรียกว่าสมาธิ



สมาธินี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๓ ชั้นคือ


ขณิกสมาธิ
สมาธิที่เพ่งพิจารณาพระกรรมฐานอยู่นั้น จิตรวมบ้าง ไม่รวมบ้าง เป็นครู่เป็นขณะ พระกรรมฐานที่เพ่งพิจารณาอยู่นั้นก็ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง เปรียบเหมือนสายฟ้าแลบในเวลากลางคืนฉะนั้น เรียกว่า ขณิกสมาธิ



อุปจารสมาธิ นั้นจิตค่อยตั้งมั่นเข้าไปหน่อย ไม่ยอมปล่อยไปตามอารมณ์จริงจัง แต่ตั้งมั่นก็ไม่ถึงกับแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียว ถึงเที่ยวไปบ้างก็อยู่ในของเขตของจิต อุปมาเหมือนวอก เจ้าตัวกลับกลอกถูกโซ่ผูกไว้ที่หลัก หรือนกกระทาขังไว้ในกรงฉะนั้น เรียกว่าอุปจารสมาธิ


อัปปนาสมาธิ นั้นจิตตั้งมั่นจนเต็มขีด
แม้ขณะจิตนิดหน่อยก็มิได้ปล่อยให้หลงเพลินไปตามอารมณ์ เอกัคคตารมณ์จมดิ่งนิ่งแน่ว
ใจใสแจ๋วเฉพาะอันเดียว มิได้เกี่ยวเกาะเสาะแส่หาอัตตาแลอนัตตาอีกต่อไป

สติสมาธิภายในนั้น หากพอดีสมสัดส่วน ไม่ต้องระวัง ไม่ต้องตั้งสติรักษา
ตัวสติสัมปชัญญะสมาธิ มันหากรักษาตัวมันเอง

อัปปนาสมาธินี้ละเอียดมาก เมื่อเข้าถึงที่แล้ว ลมหายใจแทบจะไม่ปรากฏ
ขณะมันจะลง ทีแรกคล้ายกับว่าจะเคลิ้มไป แต่ว่าไม่ถึงกับเผลอสติเข้าสู่ภวังค์ ขณะสนธิกันนี้ท่านเรียกว่า โคตรภูจิต

ถ้าลงถึงอัปปนาเต็มที่แล้วมีสติรู้อยู่ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ
ถ้าหาสติมิได้ ใจน้อมลงสู่ภวังค์เข้าถึงความสงบหน้าเดียวหรือมีสติอยู่บ้าง
แต่เพ่งหรือยินดีชมแต่ความสุขอันเกิดจากความสงบอันละเอียดอยู่เท่านั้น เรียกว่า อัปปนาฌาน


อัปปนาสมาธินี้มีลักษณะคล้ายกับผู้ที่เข้าอัปปนาฌานชำนาญแล้ว
ย่อมเข้าหรือออกได้สมประสงค์ จะตั้งอยู่ตรงไหน ช้านานสักเท่าไรก็ได้ ซึ่งเรียกว่าโลกุตตรฌาน
อันเป็นวิหารธรรมของพระอริยเจ้า

อัปปนาสมาธิเมื่อมันจะเข้าทีแรก หากสติไม่พอเผลอตัวเข้า กลายเป็นอัปปนาฌานไปเสีย

ฌาน แล สมาธิ มีลักษณะและคุณวิเศษผิดแปลกกันโดยย่ออย่างนี้ คือ

ฌาน ไม่ว่าหยาบและละเอียด
จิตเข้าถึงภวังค์แล้วเพ่งหรือยินดีอยู่แต่เฉพาะความสุขเลิศอันเกิดจากเอกัคคตารมณ์อย่างเดียว
สติสัมปชัญญะหายไป ถึงมีอยู่บ้างก็ไม่สามารถจะทำองค์ปัญญาให้พิจารณาเห็นชัดในอริยสัจธรรมได้
เป็นแต่สักว่ามี ฉะนั้น กิเลสทั้งหลายมีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น จึงยังละไม่ได้ เป็นแต่สงบอยู่


ส่วน สมาธิ ไม่ว่าหยาบแลละเอียด เมื่อเข้าถึงสมาธิแล้ว มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ตามชั้นแลฐานะของตน
เพ่งพิจารณาธรรมทั้งหลายอยู่ มีกายเป็นต้น ค้นคว้าหาเหตุผลเฉพาะในตน
จนเห็นชัดตระหนักแน่วแน่ตามเป็นจริงว่า สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เป็นต้น
ตามชั้นตามภูมิของตนๆ ฉะนั้น

สมาธิจึงสามารถละกิเลส มีสักกายทิฏฐิเสียได้
สมาธินี้ถ้าสติอ่อน ไม่สามารถรักษาฐานะของตนไว้ได้ ย่อมพลัดเข้าไปสู่ภวังค์เป็นฌานไป

ฌานถ้ามีสติสัมปชัญญะแก่กล้าขึ้นเมื่อไร ย่อมกลายเป็นสมาธิได้เมื่อนั้น


ในพระวิสุทธิมรรค ท่านแสดงสมาธิเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับฌาน
เช่นว่า สมาธิกอปรด้วยวิตก วิจาร ปีติ เป็นต้น ดังนี้ก็มี

บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นเหตุของฌาน เช่นว่าสมาธิเป็นเหตุให้ได้ฌานชั้นสูงขึ้นไป ดังนี้ก็มี

บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นฌานเลย เช่นว่าสมาธิเป็นกามาพจร รูปาพจร อรูปาพจร ดังนี้ก็มี

แต่ข้าพเจ้าแสดงมานี้ก็มิได้ผิดออกจากนั้น
เป็นแต่ว่าแยกแยะสมถะฌาน สมาธิ ออกให้รู้จักหน้าตามันในขณะที่มันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเท่านั้น

สำหรับผู้ฝึกหัดเป็นไปแล้วจะไม่งง
ที่ท่านแสดงไว้แล้วนั้นเป็นการยืดยาว ยากที่ผู้มีความทรงจำน้อยจะเอามากำหนดรู้ได้

------------------
คัดแล้วจัดฟหน้าใหม่จาก
http://www.nkgen.com/tess803.htm

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2008, 02:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมสังเกตุที่หลวงปู่พูดไว้อย่างหนึ่งนะครับ


ว่า สติ เป้นกุญแจสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดปัญญาได้
สติต้องมี ไม่ว่าจะเป้นสมาธิแบบใดหรือแม้แต่ฌาน

ถ้าไม่มีสติอยู่สืบเนื่องตลอดเวลา มันไม่ทำให้เกิดปัญญา

(อยากจะพูดไปเสียเลยว่า คำว่า สัมมา- นั้น ใช้เฉพาะกับจิตที่มีสติเท่านั้น
ไม่ว่าจะเข้าสมาธิ หรือฌาน หากปราศจากสติแล้ว จะไม่นำไปสู่การมีปัญญา)

ผมจับประเด็นอย่างนี้น่ะคับ ไม่ทราบว่าถูกผิดอย่างไร

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2008, 04:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2008, 16:13
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตที่มีความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส จิตตวิสุทธิว่าโดยอรรถ ได้แก่ สมาธิวิสุทธิ จิตตวิสุทธิหรือสมาธิวิสุทธิ ต้องเป็นไปเพื่ออานิสงส์ที่เป็นปัจจัยแก่การพ้นทุกข์เท่านั้น สมาธินี้จึงชื่อว่าบริสุทธิ์ ถ้าทำสมาธิเพื่อจะได้มีความสุข ต้องการให้จิตสงบ ความเข้าใจเช่นนี้ สมาธินั้นก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะไม่ต้องการพ้นทุกข์
(ขุ. ปฏิ. ญาณกถา ๓ /๗๒)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2008, 04:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2008, 16:13
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิมี 3 ขั้นด้วยกัน คือ
1. ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ
2. อุปจารสมาธิ สมาธิเกือบจะแน่วแน่
3. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่
อุปจารสมาธิ
แปลว่าใกล้ จะแน่วแน่ ขั้นนี้สามารถกำจัดนิวรณ์ทั้งห้าคือ กามฉันทะ (ความพอใจใน กาม) พยาบาท (ความขัดเคือง) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) และวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) อุปจารสมาธิยังไม่เรียกว่าฌานเพราะยังไม่มีองค์ฌานทั้งห้า
อัปปนาสมาธิ
สมาธิขั้นสูงสุดเรียกว่าอัปปนาสมาธิหมายถึงสมาธิแน่วแน่ เป็นสมาธิของผู้เข้าฌาน มีองค์ฌานทั้งห้า คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา พระพุทธเจ้าเวลาเข้าฌานสมาบัติ ฟ้าผ่าลงมาใกล้ ๆ ก็ไม่ได้ยิน จิตแน่ว แน่มาก สำหรับคนที่จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ไม่จำเป็นต้องได้อัปปนาสมาธิก่อน ท่านทำขณิกสมาธิแล้วเข้าวิปัสสนาไปเลย

ความต่างของสมาธิและวิปัสสนาอยู่ตรงที่ สมาธิป็นเรื่องของ ความแน่วแน่ของจิต วิปัสสนาเป็นเรื่องของปัญญา วิปัสสนาคือเอาจิตไป ดูอนิจจัง ความไม่เที่ยง เกิด-ดับ ๆ ของจิต หรือความรู้สึกเช่น เมื่อครู่นั่ง แล้วมีความสุข ตอนนี้มีความทุกข์ สุขทุกข์ไม่เที่ยงคือเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกว่า วิปัสสนา เป็น เรื่องของปัญญา แต่ถ้าเป็นเรื่องของสมาธิในชีวิตประจำวันหรือเป็นเรื่อง ความสงบนิ่งแห่งจิต เป็นเรื่องจิตคิดน้อยที่สุดจนหยุดคิด ท่านจะมี ความสุขสงบ มีพลังในการทำงาน เป็นประโยชน์ในชีวิตทั่วไป แล้วทำให้ ท่านไม่เครียดการทำสมาธิก็คือมีสติอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้านั้น และเอาจิตใจ ตามเรื่องนั้นอย่างต่อเนื่อง

คัดลอกมาจากสมาธิในชีวิตประจำวัน โดย พระราชวรมุนี (ประยูร ธมมจิตโต)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2008, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ปกรโณ เขียน:
จิตที่มีความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส จิตตวิสุทธิว่าโดยอรรถ ได้แก่ [b]สมาธิวิสุทธิ จิตตวิสุทธิหรือสมาธิวิสุทธิ ต้องเป็นไปเพื่ออานิสงส์ที่เป็นปัจจัยแก่การพ้นทุกข์เท่านั้น สมาธินี้จึงชื่อว่าบริสุทธิ์ ถ้าทำสมาธิเพื่อจะได้มีความสุข ต้องการให้จิตสงบ ความเข้าใจเช่นนี้ สมาธินั้นก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะไม่ต้องการพ้นทุกข์[/b]
(ขุ. ปฏิ. ญาณกถา ๓ /๗๒)



ขออภัยน่ะครับ:b8:


ข้อความที่นำมาลงนี้ นำจากพระไตรปิฎกโดยตรง หรือครับ?

เพราะอ่านดูภาษาที่ใช้แล้ว ไม่น่าใช่ภาษาที่ใช้ในพระไตรปิฎกโดยตรง.... เหมือนจะเป็นการที่อาจารย์รุ่นหลังบางท่าน กล่าวสรุปคำว่า สมาธิวิสุทธิ ด้วยความเห็นของตนเอง

ผม ไปค้นคำว่า สมาธิวิสุทธิ ในพระไตรปิฎกออนไลน์แล้ว ไม่พบครับ

จะเป้นพระคุณมาก ถ้าช่วยทำลิ้งค์ ให้ผมสามารถอ่านต้นฉบับจากพระไตรปิฎกโดยตรง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2008, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2008, 16:13
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตตวิสุทธิว่าโดยอรรถ ได้แก่ สมาธิวิสุทธิ
“ อรรถ ”
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒

[๒๕๔] ภิกษุมุ่งอรรถ ๑, ภิกษุมุ่งธรรม ๑ ภิกษุมุ่งสั่งสอน ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑,
ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม.
ซึ่งประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม.
ทั้งสองไม่รู้อรรถ ทั้งสองไม่รู้เห็นธรรม คือพราหมณ์ผู้สอนมนต์โดยไม่

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์

[๒๑๖] มุ่งอรรถ ๑ มุ่งธรรม ๑ มุ่งสั่งสอน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
[๓๓๗] มุ่งอรรถ ๑ มุ่งธรรม ๑ มุ่งสั่งสอน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง
[๓๔๑] มุ่งอรรถ ๑ มุ่งธรรม ๑ มุ่งสั่งสอน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒

ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์
พ. อุบาลี สังฆสามัคคีมี ๒ อย่าง คือ สังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะ ๑
๑. อุบาลี สังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะเป็นไฉนเล่า?
นี้เรียกว่าสังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะ.
สังฆสามัคคีที่ได้ทั้งอรรถ ได้ทั้งพยัญชนะ อุบาลี สังฆสามัคคี ๒ อย่างนี้แล.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร

งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ธรรม
งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง
[๑๒๑๐] ไม่ฉลาดในอรรถ ๑ มักโกรธ ๑ ยั่วให้โกรธ ๑ ล่อให้หลง ๑ ถึงฉันทา

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

ที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐานมีที่อ้าง มีที่กำหนด
อรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์
พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิด
พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วย
งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือ
ท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี
พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วย
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คหบดี บุตรคหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะ
พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย ดูกรกัสสป
*โคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย มรรคาประกอบด้วยองค์ ๘
ตามแล้ว จักรู้เอง จักเห็นเองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม
ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี
อิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วย
ดูกรโปฏฐปาทะ เพราะข้อนั้นไม่ประกอบด้วยอรรถ ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่เป็น
ดูกรโปฏฐปาทะ เพราะข้อนั้นประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม เป็นเบื้องต้น
ส่วนเดียว เราจึงแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว เพราะธรรมเหล่านั้นไม่ประกอบด้วยอรรถ ไม่ประกอบ
เราจึงแสดงแล้ว บัญญัติแล้วอย่างนั้น เพราะว่าธรรมเหล่านี้ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วย
พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วย
อรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิด
งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค

พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ในโลกนี้
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ใน
อรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ในโลกนี้ สัตว์พวกที่มีกิเลส
งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
รวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ ในธรรมเหล่านั้น
รวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ โดยวิธีที่พรหมจรรย์
รวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ โดยวิธีที่พรหมจรรย์
ได้ดีแล้วที่จักระลึกถึงท่านผู้มีอายุ ผู้เป็นสพรหมจารีเช่นท่าน ผู้เข้าถึงอรรถ ผู้เข้า
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส เพราะว่าข้อนี้เป็นสิ่งที่ประกอบด้วยอรรถ ประกอบ
โภชนะอันมีรส ลักษณะนั้น ใช่ว่าจะส่องอรรถ แม้แก่
กำเนิดก่อน เป็นผู้กล่าววาจาประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม แนะนำประ
ไตร่ตรองกถาอันประกอบด้วยอรรถ มาอุบัติเป็นมนุษย์ มี
อิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบ
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้นโดยประการที่พระศาสดา
ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอ
ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว
ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว
รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ตนตรึกตรองตามด้วยจิต เพ่งตาม
ด้วยใจนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อม
ตลอดด้วยดีด้วยปัญญา ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

เธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ ย่อมได้ความรู้แจ้งธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรมว่า
เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ
พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง
งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศ
ความรู้อรรถ ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้จักดื่มเป็น
ต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
อรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วย
เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง
ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง
แสดงอยู่ ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะ
ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
อรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง (คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี)
ขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูด
พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
ขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดคำจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมี
... มากด้วยการบริจาค เธอรู้สึกว่า เราเป็นผู้มากด้วยการบริจาคย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

ถูกกาล กล่าวตามเป็นจริง กล่าวอิงอรรถ กล่าวอิงธรรม กล่าวอิงวินัย เป็นผู้
แล มีวาทะต่างกันแต่โดยอรรถ ย่อมลงกันได้โดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญ
เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล มีวาทะต่างกันแต่โดยอรรถ ย่อมลงกันได้
แก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล มีวาทะต่างกันแต่โดยอรรถ ย่อมลงกัน
แล มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ยังต่างกันแต่โดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญภิกษุ
อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ยังต่างกันแต่โดย
ท่านผู้มีอายุทั้งสองแล มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ขอ
ท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศ
กล่าวถูกกาละ กล่าวตามเป็นจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย เป็นผู้
เป็นจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย เป็นผู้กล่าววาจามีหลักฐาน มีที่

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

รู้ซึ้งถึงอรรถ แห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้แล.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

ในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง นาง
อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดากับของสาวิกา ย่อมเทียบ
พระเจ้าข้า ในข้อที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2008, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2008, 16:13
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายโดยอรรถ หมายถึง ความหมายตามอักษร,เนื้อความเช่น ลิง หมายถึง สัตว์ชนิดหนึ่ง
ความหมาย ได้แก่ หมายถึง เขี่ย, กระจายออก


แก้ไขล่าสุดโดย ปกรโณ เมื่อ 06 ธ.ค. 2008, 11:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2008, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2008, 16:13
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


“ จิตตวิสุทธิ ”

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อจิตตวิสุทธิหรือท่านผู้มีอายุ?
พระผู้มีพระภาค เพื่อจิตตวิสุทธิหรือ เพื่อทิฏฐิวิสุทธิหรือ เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เพื่อมัคคา
สา. ท่านผู้มีอายุ จิตตวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
สา. ท่านผู้มีอายุ ผมถามท่านว่า สีลวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานจิตตวิสุทธิ
จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ปุ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้น สีลวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

[๕๔] สีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม จิตตวิสุทธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ไม่ล่วงเกินกัน ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าสำรวม ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะ
จิตตวิสุทธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิด้วยอรรถว่าเห็น ความระวังในศีล
วิสุทธินั้น เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธินั้น เป็นอธิจิตตสิกขา
ไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นมรรคเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นมรรค
ใสเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นความผ่องใสเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
จิตตวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่า
ไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะ
สำรวม จิตตวิสุทธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นธรรม
จิตตวิสุทธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความตรัสรู้ ทิฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็น
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องกั้นกามฉันทะ ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ
ความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธิ เป็น
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ
ความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธิ เป็นอธิจิตต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2008, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2008, 16:13
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยวิสุทธิ ๕
[๙๘๕] วิสุทธิมี ๕ คือ ภิกษุแสดงนิทานแล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ ๑
แสดงนิทาน แสดงปาราชิก ๔ แล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ ๒
แสดงนิทาน แสดงปาราชิก ๔ แสดงสังฆาทิเสส ๑๓ แล้ว นอกนั้นพึงสวดด้วยสุตบท
นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ ๓
แสดงนิทาน แสดงปาราชิก ๔ แสดงสังฆาทิเสส ๑๓ แสดงอนิยต ๒ แล้วนอกนั้นพึงสวดด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิข้อที่ ๔
สวดโดยพิสดารอย่างเดียว เป็นวิสุทธิข้อที่ ๕.
วิสุทธิแม้อื่นอีก ๕ คือ สุตตุทเทศ ๑ ปาริสุทธิอุโบสถ ๑ อธิษฐานอุโบสถ ๑
สามัคคีอุโบสถ ๑ ปวารณาเป็นที่ห้า ๑.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๘๒๔๗ - ๘๒๕๗. หน้าที่ ๓๑๔ - ๓๑๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2008, 13:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณ ปกรโณ ครับ....


ที่ผมถามข้อมูลเรื่องการใช้คำ
เพราะว่า เรา-ท่านในยุคปัจจุบัน ต้องช่วยกันแยกแยะให้ชัดเจนว่า
คำใดๆเป็นคำดั้งเดิมในสมัยพุทธกาล... คำใดๆเป็นคำที่อาจารย์รุ่นหลังพุทธกาลใช้กัน

ไม่เช่นนั้น คนอ่านจะเข้าใจผิดว่า คำว่า"สมาธิวิสุทธิ"มีอยู่ในพระไตรปิฎกโดยตรง

ส่วนคำกล่าวที่ว่า จิตตวิสุทธิโดยอรรถ คือ สมาธิวิสุทธิ นั้น.... ผมเข้าใจครับ




ปล...

มีนักอภิธรรมในยุคปัจจุบันบางท่าน กล่าวไว้ดังนี้ครับ

อ้างคำพูด:
สมาธิวิสุทธิ (โลกียสมาธิ)


คือ เขากำลังจัดให้ จิตตวิสุทธิ เป็น สมาธิวิสุทธิ
และ กำลังจัดให้ สมาธิวิสุทธิ มีความหมายเดียวกับ โลกียฌาน...
ซึ่ง ถ้าเช่นนี้ เขากำลังบอกกลายๆว่า จิตตวิสุทธิ ไม่ใช่ความหมายเดียวกับ สัมมาสมาธิ ครับ

ตรงนี้ น่ากังวลครับ

ผมจึงเสนอบ่อยๆว่า เรา-ท่าน ในยุคปัจจุบัน ควรจะหันกลับไปใช้ภาษาดั้งเดิมในพระสูตรกันดีกว่า เพื่อป้องกันความสับสน

ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2008, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คามินธรรม เขียน:
ผมสังเกตุที่หลวงปู่พูดไว้อย่างหนึ่งนะครับ


ว่า สติ เป้นกุญแจสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดปัญญาได้
สติต้องมี ไม่ว่าจะเป้นสมาธิแบบใดหรือแม้แต่ฌาน

ถ้าไม่มีสติอยู่สืบเนื่องตลอดเวลา มันไม่ทำให้เกิดปัญญา

(อยากจะพูดไปเสียเลยว่า คำว่า สัมมา- นั้น ใช้เฉพาะกับจิตที่มีสติเท่านั้น
ไม่ว่าจะเข้าสมาธิ หรือฌาน หากปราศจากสติแล้ว จะไม่นำไปสู่การมีปัญญา)

ผมจับประเด็นอย่างนี้น่ะคับ ไม่ทราบว่าถูกผิดอย่างไร




เห็นด้วย100% น่ะครับ


ถ้าหาก สมาธิใดๆ ไม่มีสัมมาสติเป็นเหตุนำ สมาธินั้นๆย่อมไม่อยู่ในองค์แห่งอริยมรรค และ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ...
และ สมาธินั้นๆ ย่อมไม่นำไปสู่ปัญญาญาณ(สัมมาญาณะ)ในขั้นอริยผล

ส่วน สติใดๆ ที่ไม่ได้มี(อนาสวะ)สัมมาทิฏฐิ หรือ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ เป็นตัวกำหนดทิศทางไว้แต่เบื้องแรก สตินั้นก็ย่อมไม่ใช่สัมมาสติ เช่นกัน


ใน อริยมรรคที่มีองค์แปด จึงเป็นกระบวนการที่สืนเนื่องกันไป แยกขาดออกจากกันไม่ได้เลย

มี (อนาสวะ)สัมมาทิฏฐิ หรือ ธัมมวิจัย เป็นตัวกำหนดทิศทางไว้แต่เบื้องแรก
มี สัมมาสติ(หรือ การเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน) เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
มี สัมมาสมาธิ เป็นที่ประชุมรวมลง(ดัง ใน มหาจัตตารีสกสูตร)
มี สัมมาญาณะ(ปัญญาในขั้นอริยผล) และ สัมมาวิมุติ เป็นผล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2008, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

เห็นด้วย100% น่ะครับ


ถ้าหาก สมาธิใดๆ ไม่มีสัมมาสติเป็นเหตุนำ สมาธินั้นๆย่อมไม่อยู่ในองค์แห่งอริยมรรค และ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ...
และ สมาธินั้นๆ ย่อมไม่นำไปสู่ปัญญาญาณ(สัมมาญาณะ)ในขั้นอริยผล

ส่วน สติใดๆ ที่ไม่ได้มี(อนาสวะ)สัมมาทิฏฐิ หรือ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ เป็นตัวกำหนดทิศทางไว้แต่เบื้องแรก สตินั้นก็ย่อมไม่ใช่สัมมาสติ เช่นกัน


ใน อริยมรรคที่มีองค์แปด จึงเป็นกระบวนการที่สืนเนื่องกันไป แยกขาดออกจากกันไม่ได้เลย


มี (อนาสวะ)สัมมาทิฏฐิ หรือ ธัมมวิจัย เป็นตัวกำหนดทิศทางไว้แต่เบื้องแรก
มี สัมมาสติ(หรือ การเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน) เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
มี สัมมาสมาธิ เป็นที่ประชุมรวมลง(ดัง ใน มหาจัตตารีสกสูตร)
มี สัมมาญาณะ(ปัญญาในขั้นอริยผล) และ สัมมาวิมุติ เป็นผล


ลึกซึ้งมากๆครับ
เหมือนที่คุณตรงประเด็นเคยตั้งกระทู้ไว้ ที่ว่ามัน(อริย)มรรค 8 มันต้องพร้อมๆกันทั้งหมด
ไม่ใช่แยกกันเป็นมรรคๆ เป็นอันๆ ไป

อนุโมทนาด้วยครับ

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2008, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีบทธรรม
เรื่อง การใช้ประโยชน์จากเอกัคคตาจิตมาสนับสนุนการเจริญวิปัสสนา

ที่เป็นวลีทอง เกี่ยวกับเรื่องที่เรา-ท่าน คุยกันอยู่ มาฝาก


จาก หนังสือ ปฏิปัตติวิภัชน์

แจกในงานถวายเพลิงศพของ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต เมื่อ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๓


อ้างคำพูด:
ผ. ถามว่า

ท่านอธิบายเรื่องสงบใจให้พ้นนิวรณ์จนเป็นอารมณ์เดียวแล้ว จะพิจารณาอย่างไรได้
เพราะเวลาที่พิจารณานั้น ใจยังคงไม่สงบ จึงคิดถึงธาตุได้หลาย ๆ อย่าง

เวลาที่อยู่บนเขา ข้าพเจ้าปรารภความเพียรมีสติรู้สึกตัวอยู่ ไม่ส่งใจไปคิดอย่างอื่น มีอารมณ์อันเดียวจนลืมกาย ไม่รู้สึกตัว เสวยสุขอันเกิดแต่วิเวก จะคิดอะไร ๆ ก็คิดไม่ออก คงมีแต่รู้กับเฉย เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เข้าใจในเรื่องพิจารณาธาตุ ๖ ขอท่านจงอธิบายให้ข้าพเจ้าเข้าใจ


ฝ. ตอบว่า

การพิจารณานั้น ไม่ใช่ให้นึกหรือคิด

คือ มีสติสงบใจให้เป็นอารมณ์เดียวแล้ว จึงสังเกตดูว่า อย่างนี้ธาตุดิน อย่างนี้ธาตุน้ำ อย่างนี้ธาตุไฟ อย่างนี้ธาตุลม อย่างนี้ธาตุอากาศ อย่างนี้วิญญาณธาตุ แล้วสังเกตดูความเกิดขึ้นของธาตุ ๖ และความดับไปของธาตุ ๖ ให้เห็นชัดตามความเป็นจริงอย่างไร
ไม่ใช่ให้นึกหรือคิด ...เพราะความคิดนั้น ปิดความเห็น

เพราะฉะนั้นจึงต้องสงบใจ ไม่ให้มีนึกมีคิด
วิธีพิจารณานั้น ท่านคงเข้าใจว่าใช้ความนึกคิด... เพราะใจที่ยังไม่สงบนั้น การปฏิบัติจึงใช้นึก ใช้คิด ก็เป็นชั้นสัญญา ไม่ใช่ชั้นปัญญา

เพราะปัญญานั้นไม่ใช่คิดหรือนึกเอา เป็นความเห็นที่เกิดขึ้นต่อจากจิตที่สงบแล้ว และพ้นจากเจตนาด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2008, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีจุดหนึ่ง ที่ผู้ร่วมสนทนาบางท่าน สนใจ


คือว่า ในเมื่อ สัมมาสมาธิ(รวมทั้งองค์แห่งอริยมรรคอื่นๆ)นั้น... ในพระสูตรระบุว่า เป็น ของพระอริยะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค

แล้ว

"เอกัคคตาจิตที่สนับสนุนการเจริญวิปัสสนา สำหรับท่านที่ยังไม่บรรลุอริยมรรคผล"(เช่น ที่ท่านอาจารย์ ผ. ปุจฉา ใน คห ข้างต้น)นั้น จะเรียกว่า เป็น สัมมาสมาธิเต็มขั้น ได้ไหม?




ก่อนอื่น เรา-ท่าน คงต้องย้อนกลับไปดูคำจำกัดความ ของ มิจฉาสมาธิ เสียก่อน


มิจฉาสมาธิ เป็นอย่างไร?


จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=334

อ้างคำพูด:
มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตผิด ได้แก่ ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ในกามราคะ พยาบาท เป็นต้น หรือ เจริญสมาธิแล้ว หลงเพลิน ติดหมกมุ่น ตลอดจนนำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นไปเพื่อ ญาณทัสสนะ และ ความหลุดพ้น — wrong concentration)



ท่านเจ้าคุณๆ ท่านประมวลไว้ว่า

มิจฉาสมาธินอกจากจะนับในส่วนที่เป็นอกุศล คือ "ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ในกามราคะ พยาบาท"แล้ว

มิจฉาสมาธิยังนับในส่วนของ "เจริญสมาธิแล้ว ไม่เป็นไปเพื่อญาณทัสสนะ และความหลุดพ้น"




ทีนี้ ในกรณณีของ เอกัคคตาจิตที่สนับสนุนการเจริญวิปัสสนา สำหรับท่านที่ยังไม่บรรลุอริยมรรคผล ล่ะ... จะจัดเป็นมิจฉาสมาธิไหม?


ตรงนี้ คงต้องย้อนกลับไปยัง สมาธิภาวนา4ประเภท ที่เป็นพุทธพจน์ดั้งเดิม

Quote Tipitaka:
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนามีอยู่ ๔ ประการ คือ

สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญแล้วเพิ่มพูนแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑....

ย่อมเป็นไปเพื่อให้เกิดจากเป็นแจ้งด้วยญาณ ๑....

ย่อมเป็นไปเพื่อ (ความสมบูรณ์แห่ง) สติสัมปชัญญะ ๑....

ย่อมเป็นไปเพื่อความหมดสิ้นแห่งอาสวะ ๑.....”

สมาธิสูตร จ. อํ. (๔๑)
ตบ. ๒๑ : ๕๗ ตท. ๒๑ : ๕๒
ตอ. G.S. II : ๕๑-๕๓




ผมมองว่า
เอกัคคตาจิตที่สนับสนุนการเจริญวิปัสสนา สำหรับท่านที่ยังไม่บรรลุอริยมรรคผล น่าจะเป็นลักษณะข้อ3(ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสมบูรณ์แห่ง สติสัมปชัญญะ)
และ กำลังจะบ่ายหน้าไปสู่ ข้อ4(ย่อมเป็นไปเพื่อความหมดสิ้นแห่งอาสวะ ) หรือ กำลังบ่ายหน้าไปสู่สัมมาสมาธิเต็มตัว

ที่เป็นดังนี้
เพราะ ท่านที่มุ่งใช้ เอกัคคตาจิตมาสนับสนุนการเจริญวิปัสสนา ท่านดำรงอยู่ในแนวทางสู่อนาสวะสัมมาทิฏฐิอยู่ในตัวแล้ว กล่าวคือ ท่านมุ่งพิจารณาไตรลักษณ์(ใน คห 185 กล่าวถึง การพยายามที่จะพิจารณาไตรลักษณ์ของธาตุ๖)....ท่าน ไม่ได้มุ่งเจริญสมาธิภาวนาไปเพื่อ ตัวตนอันติมะ ตัวตนที่เป็นอมตะ ตัวตนอันน่าประณีต แบบเช่นที่พระฤาษีกระทำกัน แต่อย่างใดเลย.

และ ที่สำคัญ ก็คือ ท่านก็เจริญภาวนาอยู่ในแนวทางแห่งสัมมาสติ คือ กำลังเจริญสติปัฏฐานอยู่


ดังนั้น

เอกัคคตาจิตที่สนับสนุนการเจริญวิปัสสนา สำหรับท่านที่ยังไม่บรรลุอริยมรรคผล...
ถึงแม้นจะไม่จัดว่าเป็น สัมมาสมาธิเต็มขั้น... แต่ ก็นับได้ว่า ไม่ใช่มิจฉาสมาธิ และ กำลังบ่ายหน้าไปสู่สัมมาสมาธิเต็มขั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร