วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 22:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2008, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

:b45: :b46: ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

หลวงพ่อพระร่วง
หรือ “หลวงพ่อร่วง วาจาศักดิ์สิทธิ์”
พระประธานในพระวิหาร วัดมหรรณพาราม วรวิหาร


“วัดมหรรณพาราม” ตั้งอยู่ที่แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ได้เริ่มสร้างขึ้นมาตั้งแต่
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ซึ่งตรงกับปีพุทธศักราช ๒๓๙๓


นามผู้สร้างพระอารามนี้ คือ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี
มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอรรณพ
ทรงเป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


ในพระอารามแห่งนี้ มีปูชนียวัตถุที่สำคัญมาก คือ
พระพุทธรูปองค์ใหญ่ มีนามเรียกว่า “หลวงพ่อพระร่วง”
หรือที่ชาวบ้านเรียกจนติดปากว่า “หลวงพ่อร่วง วาจาศักดิ์สิทธิ์”
พระพุทธรูปอันงดงามสมัยสุโขทัย สถิตอยู่ภายในพระวิหาร


หลวงพ่อพระร่วง เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย
ขนาดหน้าตักกว้าง ๑ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว สูง ๑ วา ๓ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว
องค์พระเป็นโลหะทอง มีรอยต่อ ๙ แห่ง โดยมีหมุดเป็นเครื่องเชื่อม
ที่รอยต่อชุกชีที่ประดิษฐาน ยาว ๒ วา ๑ ศอก ๗ นิ้ว กว้าง ๒ วา ๒ ศอก

ถัดจากฐานขึ้นไปที่เรียกว่าบัลลังก์ ทำเป็นลายดอกบัวคว่ำบัวหงาย
และดอกไม้เครือกระจังลงรักปิดทอง ประดับด้วยกระจกสีต่างๆ
ได้อัญเชิญมาจากกรุงสุโขทัยในราวปี พ.ศ.๒๓๙๓ ในรัชกาลที่ ๓

หลวงพ่อพระร่วง มีประวัติสังเขปดังนี้ เมื่อครั้งที่ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี
ทรงสร้างวัดอยู่นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ได้พระราชทานเงินสมทบ ๑,๐๐๐ ชั่ง สร้างพระอุโบสถ แล้วทรงรับสั่งให้
เจ้าหน้าที่ทางเมืองเหนือเสาะหาพระพุทธรูปใหญ่ เพื่อนำมาเป็นพระประธาน

ครั้นได้พบแล้วก็ทราบรับสั่งให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ
เพื่อให้ทันกับการฉลองพระอุโบสถและผูกพัทธสีมา

รูปภาพ

รูปภาพ
พระวิหาร ที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระร่วง เป็นศิลปะผสมแบบจีน


แต่การเดินทางสมัยนั้นลำบากมาก หากจะขนวัตถุสิ่งใดลงมากรุงเทพฯ
ต้องอาศัยเรือหรือแพเท่านั้นเป็นพาหนะ

หลวงพ่อพระร่วงก็เช่นเดียวกัน อาศัยบรรทุกมาด้วยแพ
แต่การเดินทางล่าช้ามาก มาไม่ทันกำหนดเวลาที่พระอุโบสถสร้างเสร็จ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงรับสั่งให้
สร้างพระประธานด้วยหินปูนก่ออิฐให้ทันกับเวลาฉลองพระอุโบสถ
และใช้เป็นพระประธานในพระอุโบสถจนกระทั่งบัดนี้

ครั้นสร้างพระประธานเสร็จเรียบร้อย หลวงพ่อพระร่วงจึงถูกอัญเชิญ
มาถึงกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงรับสั่งให้สร้าง พระวิหาร ขึ้นทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ
ให้เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระร่วงตั้งแต่นั้นมาตราบเท่าทุกวันนี้

หลวงพ่อพระร่วง มีคุณลักษณะดีพิเศษ ๓ ประการ คือ

ประการที่ ๑ ทางด้านศิลปะ
หลวงพ่อพระร่วงเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะสวยงามมาก พระพักตร์อิ่มเอิบ
พระเนตรดูแล้วเหมือนยิ้มนิดๆ เป็นเหตุชวนให้ชุ่มชื่นใจแก่ผู้ดู
พระกรวางอยู่ในลักษณะสมส่วน นิ้วพระหัตถ์เรียวงาม ทั้งองค์มีที่ต่ออยู่ ๙ แห่ง
เป็นเครื่องหมายของความก้าวหน้าตามความนิยมของคนสมัยนั้น
ด้วยทุกสัดส่วนขององค์พระไม่มีที่ไหนบกพร่องที่น่าตำหนิ
ยากที่ช่างสมัยนี้จะทำเทียมเสมอได้

ประการที่ ๒ ด้านวัตถุ
หลวงพ่อพระร่วงมีคุณค่าทางด้านวัตถุมากมายมหาศาล
พระพุทธรูปโบราณที่สร้างในสมัยเชียงแสน สุโขทัย
มักจะเป็นเนื้อทองสัมฤทธิ์เป็นส่วนมาก หรือเป็นเนื้อทองคำปนอยู่มาก
เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้มาพิสูจน์ ลงความเห็นว่าเป็นเนื้อทองคำประมาณ ๖๐%

ประการที่ ๓ ด้านความศักดิ์สิทธิ์
หลวงพ่อพระร่วงเป็นที่พึ่งทางใจให้แก่ชาวบ้านและชาวจีน
ปัดเป่าความทุกข์ให้แก่ผู้ที่มากราบไหว้บูชาได้ดี จนเป็นที่ขึ้นชื่อลือชา
เป็นพระพุทธปฏิมารูปเปรียบของพระพุทธเจ้าชาวพุทธที่กราบไหว้บูชา
ก็เท่ากับกราบไหว้พระพุทธเจ้าจัดเข้าเป็นพุทธานุสติได้ตามหลักการปฏิบัติของชาวพุทธ


ด้วยพุทธานุภาพอันเกิดจากความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อพระร่วง
การบนบานนั้น จึงมักจะสำเร็จผลตามความประสงค์เป็นส่วนมาก
ทำให้มีผู้นิยมนับถือท่านมากทั้งชาวไทยและชาวจีน
เกิดเดือดร้อนขึ้นมาก็หันหน้าเข้าวัดบนบานให้ท่านช่วย
ของเซ่นที่ท่านชอบก็ไม่เหมือนที่อื่นๆ เป็นเพียงตะกร้อ ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า
หรือพวงมาลัยเท่านั้น เมื่อก่อนนี้ทางวัดไม่ได้เปิดให้คนเข้านมัสการภายในวิหาร
ผู้ประสงค์จะไหว้อยู่แต่ภายนอกวิหารเท่านั้น แต่นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๗ เป็นต้นมา

จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ทางวัดได้เปิดให้คนเข้านมัสการภายในพระวิหาร
ได้ทุกโอกาสและเปิดเป็นประจำทุกวัน

ทุกปีจะมีงานนมัสการปิดทองหลวงพ่อพระร่วง วันกำหนดงานไม่ค่อยจะแน่นอน
แต่อยู่ในระหว่างช่วงเทศกาลตรุษจีนเป็นส่วนมาก
เมื่อมีงานเทศกาลชาวไทยและชาวจีนจะหลั่งไหลกันมากราบไหว้บูชา

รูปภาพ

“หลวงพ่อพระร่วง” พระประธานในพระวิหาร
วัดมหรรณพาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร


:b8: หนังสือไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด
กองบรรณาธิการข่าวสด สำนักพิมพ์มติชน

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2015, 01:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: กราบสาธุๆๆ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 3 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร