วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 175 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
1. คุณก็เขียนเองว่า นิพพาน พ้นจากภาวะไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ แล้วคุณไปเชื่ออรรถกถาจารย์
ได้อย่างไรว่า นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยอย่างนี้คือมั่วครับ อนัตตาหมายถึง
สิ่งนั้นไม่เที่ยงเป็นทุกข์ แปรปวนไม่ใช่หรือครับ

ไอ้ที่ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ มันคืออนัตตา = รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัส
ถึงนิพพานเลย จะไปตีความได้ยังไงว่า นิพพานเป็นอนัตตาเลย ศาสนาพุทธของเรามีสัทธรรมปฏิรูปก็
เพราะสมมุติสงฆ์พวกนี้แหละ ตั้งพวกตนเองที่ไม่ได้ปฎิบัติเป็นอรรถกถาจารย์บ้าง ฎีกาจารย์บ้าง ยำใหญ่
พุทธศาสนาจนเละเลย

ข้อความสัพเพ ธัมมา อนัตตา (ธรรมทั้งหลายทั้งปวง(all)เป็นอนัตตา) นั้นอยู่ในหมวดสังขาร
และขันธ์ 5 ไม่ได้อยู่ในหมวดนิพพาน ใครกันแน่ที่บิดเบือน และคัดค้านคำสอนของพระพุทธองค์

คิดดูให้ดี


อนุสนธิมาจากกระทู้ลิงค์นี้

viewtopic.php?f=1&t=19110

หากจะเปรียบเทียบระหว่างสิ่งที่เรารู้ กับสิ่งที่เรายังไม่รู้ สิ่งที่รู้มีเพียงน้อยนิด สิ่งที่เรายังไม่รู้นั้นมีมากมายสุดคณา เรียกว่าศึกษาเรียนรู้ค้นคว้าให้รู้เข้าใจสิ่งที่ยังไม่รู้ชั่วชีวิตนี้ก็ยังไม่หมดยังไม่พอคงตายจากโลกนี้ไปเสียก่อนเป็นแน่

กรัชกายอยู่ประเภทแรก คือ รู้เท่าที่รู้ ต้องยอมรับว่าสิ่งที่ไม่รู้มีอีกมาก
แต่ก็นับว่าจะโชคดี :b36: ที่จะได้รับความรู้เพิ่มเติมจากคุณพลศักดิ์ ดังต่อไปนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


1. ขอคำอธิบายขยายความเฉพาะคำว่า “ธรรม” จากคุณพลศักดิ์ครับ :b42:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 พ.ย. 2008, 16:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


2.ขอคำอธิบายเฉพาะคำว่า “นิพพาน” จากคุณพลศักดิ์ครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 05:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


3.ขอคำอธิบายขยายความเฉพาะคำว่า “อนัตตา” ครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 05:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


4. ขอคำอธิบายคำว่า"อัตตา" ครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


5.เรียนถามว่า "รูป" ในขันธ์ 5 กับคำว่า "รูป" ใน รูป (รส กลิ่น เสียง)เหมือนหรือต่างกัน หากเหมือนๆกันอย่างไร ถ้าต่างกันต่างกันอย่างไรครับ ขอความชัดเจนจะเป็นประโยชน์กับผู้ศึกษาธรรมไม่เฉพาะแต่กรัชกายเท่านั้น :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 พ.ย. 2008, 08:02, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


6. เคยเห็นคุณพลศักดิ์กล่าวถึง “นิพพาน” บ่อยๆโดยอ้างพระเถระสองรูป คือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
กับหลวงพ่อวัดปากน้ำ (ที่กระทู้ไหนจำไม่ได้แล้ว) ช่วยนำมาลงอีกสักครั้งครับ

ถ้าจำไม่ผิดเหมือนมีคำว่า"อายตนะนิพพาน" ด้วย เมื่อเป็นอย่างนั้น ช่วยนำพุทธพจน์ที่ตรัสคำว่า "อายตนะ (นิพพาน)" ลงด้วยจะได้เทียบเคียงกัน โดยเฉพาะคำว่า "อายตนะ" อาจตีความไม่ตรงกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ช่วยแยกตอบเป็น 6 ความเห็นนะครับ จะได้ไม่ปะปนกัน ซึ่งจะง่ายต่อการทำความเข้าใจ
ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ
:b8: :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
1. ขอคำอธิบายขยายความเฉพาะคำว่า “ธรรม” จากคุณพลศักดิ์ครับ :b42:


ธรรม มี 2 อย่าง

1. อสังขตธรรม หรือ นิพพาน หรือพุทธะ ธรรมตัวนี้ เป็นธรรมชาติที่ไม่เกิด มันมีอยู่แล้ว และจะ
คงอยู่ตลอดไป

2. สังขตธรรม ธรรมตัวนี้ เป็นธรรมชาติที่เกิด ตั้งอยู่ ดับไป เรียกว่า อนิจจัง เมื่ออนิจจัง
มันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปตามกาลเวลา จึงเป็นทุกข์ สังขตธรรมเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา

ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็นอนัตตา เพราะมันไม่เที่ยง และเป็นทุกข์นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ในสังขตธรรมหรือขันธ์ 5 ของเรา ซ่อนสิ่งที่เป็น อสังขตธรรม หรือ นิพพาน หรือพุทธะ
เอาไว้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
2.ขอคำอธิบายเฉพาะคำว่า “นิพพาน” จากคุณพลศักดิ์ครับ


ผมอธิบายแบบไม่ใช้ตำรานะครับ

นิพพาน คือ สภาวะของพุทธะทั้งหมด พุทธะทั้งหมดออกมาจากที่เดียวกัน คือ ต้นธาตุ-ต้นธรรม
จะเรียกว่า อัลเลาะห์ ยะโฮวา เต๋า หรือพระเจ้าก็ได้ เต่าพระพุทธเจ้า เรียกไปทางเถรวาทว่า นิพพาน
เรียกไปทางมหายานว่า อาทิพุทธ ศาสนาพราหมณ์เรียกว่า ปรมาตมัน ส่วนอาตมันทั้งหมดกลับ
เข้าสู่ปรมาตมันก็คือกลับสู่นิพพานนั่นเอง

พูดอย่างนี้คงงง นิพพานจะเรียกว่ามหานครก็ได้ ในมหานครนั้น ก็มีอายตนะนิพพานแต่ละดวงอยู่
ในมหานครนี้ มหานครนิพพานเป็นเมืองแห่งการเสพสุขที่ไม่ได้มาจากอารมณ์ และความสุขจาก
เวทนา มันเป็นสุขอันประเสริฐ ไม่สามารถบรรยายได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
4. ขอคำอธิบายคำว่า"อัตตา" ครับ


อนัตตาอธิบายไปแล้วนะครับ คราวนี้มาดูอัตตาบ้าง


อนัตตลักขณสูตร


ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร เรื่องอนัตตาในขันธ์ ๕ ต่อเหล่าพระปัญจวัคคีย์ทั้ง๕ จนสำเร็จพระอรหันต์

[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

รูปเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตา(มีตัวตน หรือเป็นของตัวตน อย่างแท้จริง)แล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ(ความเสื่อม ความเจ็บไข้ ความแปรปรวน) และบุคคลพึงได้(หมายถึง ย่อมบังคับบัญชาได้ตามปรารถนา)ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา(ไม่มีตัวตน ที่เป็นแก่นแกนอย่างแท้จริง - ไม่ใช่ตัวใช่ตนแท้จริง - หรือกล่าวอีกอย่างที่มีความหมายเดียวกันว่า มีตัวตนแต่ไม่เป็นแก่นเป็นแกนแท้จริง)ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(แปรปรวน เช่น เจ็บป่วย) และบุคคลย่อมไม่ได้(หมายถึง ย่อมบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนา)ในรูปว่า รูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. (กล่าวคือ ถ้ารูปนั้นเป็นของตัวของตนจริงๆแล้วไซร้ จะต้องควบคุมบังคับได้ตามปรารถนา ต้องควบคุมบังคับให้ไม่แปรปรวนหรือดับไปตามสภาวธรรมได้ด้วยตัวตนของตนเองอย่างแท้จริงและแน่นอน)

เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้นเวทนาจึง เป็นไปเพื่ออาพาธ(แปรปรวน) และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่
พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่าสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้วสังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่าวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้นวิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่าวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้ผมจะถอดส่วนที่เป็นขันธ์ 5 ออกนะครับ คุณจะได้รู้ความหมายของอัตตา ที่พระพุทธเจ้าพูดถึง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตา(มีตัวตน หรือเป็นของตัวตน อย่างแท้จริง)แล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็น
เพื่ออาพาธ(ความเสื่อม ความเจ็บไข้ ความแปรปรวน) และบุคคลพึงได้(หมายถึง ย่อมบังคับบัญชาได้
ตามปรารถนา)ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ใน
สัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็น
อย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึง
ได้ในวิญญาณว่าวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย


จะเห็นว่า สิ่งที่จะเป็นอัตตาได้ สิ่งนั้นต้องไม่อาพาธ
(เสื่อม เจ็บไข้ ความแปรปรวน) และสามารถบังคับ
บัญชาสิ่งนั้นได้ตามปรารถนา


นั่นคือ สิ่งที่จะเป็นอัตตา สิ่งนั้นต้องไม่เกิดแก่เจ็บตาย(อาพาธ) และสามารถบังคับบัญชาสิ่งนั้นได้
ตามปรารถนา


พระพุทธองค์ตรัสไว้ในอนัตตลักขณสูตรว่า "สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน(เป็นอนัตตา)เป็น
ธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา"
ฉะนั้นสภาวะที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ทั้งสิ้นที่ปุถุชนยึดถือว่า เป็นอัตตา แต่เมื่อว่าโดยนามบัญญัติอันแสดงโทษ
ของขันธ์พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นอนัตตา (เป็นสิ่งมิใช่อัตตาแท้จริง)

ดังนั้น อัตตาโดยสมมุติจึงเป็นอนัตตาตามความหมายของพระพุทธองค์ ซึ่งพระองค์ให้ละความยินดีด้วยอำนาจความพอใจในสิ่งที่เป็นอนัตตา อันไม่มีสาระแก่นสารเสีย

ดังที่ตรัสไว้ในตติย ฉันทราคสูตร ว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้นเสีย"

และให้แล่นไปในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นอนัตตา คือ พระนิพพาน อันเป็นที่ดับสิ่งที่เป็นอนัตตา
แล้วเราจะพบ "สิ่งที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหแล้วที่จะเห็นสิ่งนั้นว่า
นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา"


อ่านข้อความสุดท้ายในอนัตตลักขณสูตรซิครับ

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่น
เป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าาข้า


ตอนนี้ ผมจะลองถามใหม่ว่า

ก็สิ่งใดเที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?


คุณจะตอบว่าอะไรครับ

ข้อนั้นควรเลย พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ จบภาคแล้วนะครับ :b1:

ทีนี้ขอความรู้ภาคปฏิบัติบ้าง ในกรอบสีแดง (ของคุณ) ที่มีผู้ถามคุณว่าจะปฏิบัติอย่างไรให้พ้นทุกข์ดัง
ที่แนะนำไว้ลิงค์นี้

viewtopic.php?f=1&t=19066


ธรรมะขอบคุณ k.พลศักดิ์ คำแนะนำดีๆแบบนี้ ช่วยให้เรา มีกำลังใจมากๆค่ะ
แต่รบกวนถามค่ะ…



(สิ่งต่างๆที่เราประสพมาในชีวิต ล้วนเป็นบทเรียนสอนเราให้รู้ว่า ทุกอย่างในโลกเป็นอนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา ทั้งสิ้น และเป็นบทเรียนสอนให้เรารู้ว่า ความทุกข์ล้วนเกิดจากจิตไปคิดปรุงแต่งทั้งนั้น

ผมถามคุณว่า ถ้าคุณไม่คิดปรุงแต่งในประสพการณ์ที่ตนเองไม่ชอบ มันก็ไม่เป็นทุกข์ใช่ไหมครับ
นั่นแหละพระพุทธองค์จึงสอนให้เรารู้ก็สักแต่ว่ารู้ เห็นก็สักแต่ว่าเห็น อะไรก็สักแต่ว่าอย่างนั้น
ไม่ต้องนำมันเขามาปรุงแต่งในจิต ความทุกข์มันก็จะไม่มี ยิ่งปรุงแต่งน้อยลงเท่าไร ความทุกข์ก็ลดลงเท่านั้น)



ช่วยแนะนำในเรื่องวิธีทางที่เราควรปฏิบัติ เราได้อ่านคำแนะนำของK.พลศักดิ์ ต่อเรื่องต่างๆ มากมาย แต่รู้สึกว่า เราเป็นสมาชิกใหม่ บางครั้งเหมือนเด็กอนุบาล ที่ยังอยากถามต่ออีก บางครั้งก็ยังไม่ค่อย
เข้าใจค่ะ


จะตอบตรงนี้ก็ได้ หรือตอบที่ลิงค์เดิมก็โด้ครับ เพื่อให้ครบทั้งภาคปริยัติ (ตีความตามตัวอักษร) และภาคปฏิบัติตามความเป็นจริง :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2008, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



คำถาม คห.ข้างบน คุณพลศักดิ์ตอบให้แล้วกระทู้เดิมลิงค์นั้น ต้องการรู้ว่าท่านตอบอย่างไรติดตามอ่านเอาเถิด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2008, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนที่ขอให้ท่านอธิบายเฉพาะคำว่า "ธรรม" ท่านตอบไว้นั้น นั่นเป็นส่วนหนึ่งของความคิดเห็นท่าน

กรัชกาย เขียน:
1. ขอคำอธิบายขยายความเฉพาะคำว่า “ธรรม” จากคุณพลศักดิ์ครับ :b42:


ส่วนคำอธิบาย "ธรรม" ต่อไปนี้ เป็นอีกความเห็นหนึ่ง ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเปรียบเทียบดูเถิด

(ยกมาทั้งชุดเลย)

1. สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
2. สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์
3.ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา

ความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
-สังขารทั้งปวง กับ ธรรมทั้งปวง

ผู้ศึกษาจะสังเกตเห็นว่าในข้อ 1 และข้อ 2 ท่านกล่าวถึงสังขารทั้งปวง ว่าไม่เที่ยง และเป็นทุกข์
แต่ในข้อที่ 3 ท่านกล่าวธรรมทั้งปวงว่า เป็นอนัตตา คือไร้ตัวหรือมิใช่ตน

การใช้คำที่ต่างกันเช่นนี้ แสดงว่ามีความแตกต่างกันบางอย่างระหว่างหลักที่ 1 และที่ 2 คือ
อนิจจตา และทุกขตา กับหลักที่ 3 คือ อนัตตตา และความแตกต่างกันนี้จะเห็นได้ชัด ต่อเมื่อเข้าใจ
ความหมายของคำว่า สังขาร และคำว่า ธรรม

(สังขารมีสองคือสังขารในขันธ์ 5 และสังขารในไตรลักษณ์ ดูความต่างกันลิงค์นี้)

viewtopic.php?f=2&t=18670


ธรรม เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่สุด กินความครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามี ทั้งที่มีได้ และได้มี ตลอดจนกระทั่งความไม่มีที่เป็นคู่กับความมีนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ใครก็ตามกล่าวถึง คิดถึง หรือรู้ถึงทั้งเรื่องทางวัตถุและทางจิตใจ ทั้งที่ดีและที่ชั่ว ทั้งที่เป็นสามัญวิสัยและเหนือสามัญวิสัย รวมอยู่ในคำว่า ธรรม ทั้งสิ้น

ถ้าจะให้มีความหมายแคบเข้า หรือจำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เติมคำขยายประกอบลงไป เพื่อจำกัดความให้อยู่ในขอบเขตที่ต้องการ หรือจำแนกแยกธรรมนั้นแบ่งประเภทออกไป แล้วเลือกเอาส่วนหรือแง่ด้านแห่งความหมายที่ต้องการ หรือมิฉะนั้น ก็ใช้คำว่า ธรรมคำเดียวเดี่ยวโดดเต็มรูปของมันตามเดิมนั่นแหละ
แต่ตกลงหรือหมายรู้ร่วมกันไว้ว่า เมื่อใช้ในลักษณะนั้นๆในกรณีนั้นหรือในความแวดล้อมอย่างนั้นๆ จะให้มีความหมายเฉพาะในแนวความ หรือในขอบเขตว่าอย่างนั้นๆ เช่น เมื่อมาคู่กับ อธรรม หรือใช้เกี่ยวกับความประพฤติที่ดีที่ชั่ว ของบุคคล หมายถึง บุญ หรือ คุณธรรม คือ ความดี

เมื่อมาคู่กับคำว่า อัตถะ หรือ อรรถ หมายถึง ตัวหลัก หลักการ หรือเหตุ เมื่อใช้สำหรับการเล่าเรียน หมายถึง ปริยัติ พุทธพจน์ หรือคำสั่งสอน ดังนี้ เป็นต้น

“ธรรม” ที่กล่าวถึงในหลักอนัตตา แห่งไตรลักษณ์นี้ ท่านใช้ในความหมายที่กว้างที่สุดเต็มที่สุดขอบเขตของศัพท์ คือ หมายถึง สภาวะ หรือสภาพทุกอย่าง ไม่มีขีดจำกัด

“ธรรม” ในความหมายเช่นนี้ จะเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อแยกแยะแจกแจงแบ่งประเภทออกไป เช่น จำแนกเป็นรูปธรรมและนามธรรม บ้าง
โลกียธรรม และ โลกุตรธรรมบ้าง
สังขตธรรม และอสังขตธรรมบ้าง
กุศลธรรมและอกุศลธรรม และอัพยากฤต (=สภาวะที่เป็นกลางๆ) บ้าง

"ธรรม" ที่จำแนกเป็ดชุดเหล่านี้ แต่ละชุดครอบคลุมความหมายของธรรมได้หมดสิ้นทั้งนั้น
แต่ชุดที่ตรงกับแง่ที่ควรศึกษาในที่นี้คือ ชุด สังขตธรรม และอสังขตธรรม
ฯลฯ

viewtopic.php?f=2&t=18674

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 175 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร