วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2008, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิวิธีการนั่งสมาธินั้นใช่สมถะผสมกับวิปัสสนาโดยเริ่มต้น
นั่งแบบใช่บริกรรมพองยุบและกำหนดจุดเหมือนที่เรียนมาและเมื่อมีสภาวะใดเกิดขึ้นนั้น
เมื่อก่อนจะใช่คำบริกรรมเหมือนที่คุณกรัชกรายว่าก็คือคิดหนอหรือปวดหนอ
แต่เมื่อเรียนดูจิตจึงใช่การวิธีการของการดูจิตมาผสม จึงเปลี่ยนเป็นแค่รู้อย่างเดียวโดยไม่ใช่คำบริกรรมก็เห็นว่าสภาวะที่เกิดขึ้นดับลงเร็วกว่าจึงไช่วิธีนี้เมื่อสภาวะดับลงก็กำหนดพองยุบโดยกำหนดจิตอยู่ที่ท้อง
และไล่ไปตามจุดที่เรียนมาจนจิตสงบนิ่ง

ก็จะทิ้งคำบริกรรมทั้งหมดและเข้าสู่วิปัสสนาโดยการกำหนดดูกายดูจิต ไปจนหมดเวลาที่ตั้งไว้แล้วก็แผ่เมตตา
กรวดนำ


ผู้แนะนำคุณยังเข้าใจสมถะและวิปัสสนาพลาดไปไกลโข
สมถะคือสมาธิ วิปัสสนาคือปัญญา เข้าใจเท่านี้พอก่อน แล้วขณะปฏิบัติอยู่นั่น
ไม่พึงคิดทำอย่างนี้เรียกว่าสมถะ ทำอย่างนี้คิดอย่างนี้เรียกว่าวิปัสสนา ทำงานคือกรรมฐานให้ตรงให้ดี คือรู้เท่าทันสิ่งที่เกิดจากกายและใจ รู้สึกไรก็กำหนดจิตอย่างนั้น ตามที่คิด ตามที่รู้สึก

อ้อ เรื่องแผ่เมตตา ไม่มีปัญหาครับ แผ่หลังจากเลิกทำสมาธิแล้วได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2008, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นกระทู้ที่คุณpuy ถามลักษณะเดียวกันนี้ไว้ที่บอร์ดหนึ่ง
อ่ะครับเมื่อเห็นว่า คุณปฏิบัติจริงและสนใจจริงๆ
คุณพิจารณาลักษณะของโมหะกับปัญญาดูครับ ไม่ต้องท่องนะครับ อ่านทำความเห็นให้ตรง
แต่ขณะปฏิบัติไม่พึงเก็บไปคิดฟุ้งว่าเป็นโมหะ หรือเป็นปัญญานะครับ


โมหะ
คือ ความหลง ความไม่รู้ เป็นไวพจน์ของคำว่า อวิชชา หมายถึงความไม่รู้ตามความเป็นจริง ไม่รู้ตรงตามสภาวะ เป็นภาวะตรงข้ามกับปัญญา โดยเฉพาะปัญญาที่เรียกชื่อว่าวิชชา
พูดอย่างสามัญว่า โมหะหรืออวิชชา คือความไม่รู้นี้ เป็นภาวะพื้นเดิมของคนซึ่งจะต้องกำจัดให้หมดไปด้วยวิชชา คือ ความรู้ หรือด้วยการฝึกอบรมเจริญปัญญา

อย่างไรก็ตาม แม้จะเล่าเรียนศิลปวิทยาต่างๆมากมาย และใช้ศิลปวิทยาเหล่านั้นทำกิจประกอบการต่างๆได้มากมาย แต่ถ้าไม่ช่วยให้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ไม่มองเห็นสังขารธรรมทั้งหลายหรือโลกและชีวิตตามสภาวะของมันแล้ว ศิลปวิทยาเหล่านั้น ก็เป็นเพียงสุตะ คือสิ่งที่สติถ่ายทอดกันไปเท่านั้น ยังไม่เป็นปัญญาแท้จริง ไม่สามารถกำจัดโมหะหรืออวิชชาได้ และไม่อาจแก้ปัญหาพื้นฐานของชีวิตได้สำเร็จ บางทีจะแก้แต่กลายเป็นก่อปัญหาขึ้นใหม่ เหมือนคนต้องการแสงสว่าง แสวงหารวบรวมฟืน และเชื้อไฟชนิดต่างๆ มามากมายถึงจะรวมมาได้เท่าใด และจะปฏิบัติอย่างไรต่อฟืนและเชื้อไฟเหล่านั้น จะตกแต่งประดับประดับประดาประดิดประดอยอย่างไร แต่ตราบใดที่ยังมิได้จุดไฟขึ้น ก็ไม่อาจให้แสงสว่างเกิดขึ้นได้



ปัญญา
ที่เป็นตัวความรู้ในสังขารขันธ์ เป็นสิ่งที่จะต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น ต้องฝึกปรือ ทำให้เจริญเพิ่มพูนขึ้นไปโดยลำดับ ปัญญาจึงมีหลายชั้นหลายระดับ และมีชื่อเรียกต่างๆตามขั้นของความเจริญบ้าง ตามทางเกิดของปัญญานั้นบ้าง ตามลักษณะเฉพาะของปัญญาชนิดนั้นบ้าง เช่น ปริญญา ญาณ วิชชา อัญญา อภิญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ วิปัสสนา เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2008, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วิธีการนั้งสมาธินั้นใช้สมถะผสมกับวิปัสสนาโดยเริ่มต้น
นั่งแบบใช่บริกรรมพองยุบและกำหนดจุดเหมือนที่เรียนมาและเมื่อมีสภาวะใดเกิดขึ้นนั้น
เมื่อก่อนจะใช่คำบริกรรมเหมือนที่คุณกรัชกรายว่าก็คือคิดหนอหรือปวดหนอ
แต่เมื่อเรียนดูจิตจึงใช่การวิธีการของการดูจิตมาผสม
จึงเปลี่ยนเป็นแค่รู้อย่างเดียวโดยไม่ใช่คำบริกรรมก็เห็นว่าสภาวะที่เกิดขึ้นดับ
ลงเร็วกว่าจึงใช้ วิธีนี้เมื่อสภาวะดับลงก็กำหนดพองยุบโดยกำหนดจิตอยู่ที่ท้อง
และไล่ไปตามจุดที่เรียนมาจนจิตสงบนิ่ง ก็จะทิ้งคำบริกรรมทั้งหมดและเข้าสู่วิปัสสนาโดยการกำหนดดูกายดูจิต ไปจนหมดเวลาที่ตั้งไว้



ส่วนความหมายของสมถะและวิปัสสนาจริงๆก็เข้าใจเหมือนท่านกรัชกายว่า
แต่อยากทราบว่าที่ว่าผิดโขคือตรงไหน ขอให้ท่านกรัชกรายอธิบายด้วยคะจะได้ไม่ต้องจำผิดไป


ที่อ้างอิงข้างบนกรัชกายคิดว่า คุณ Puy เข้าใจการบริกรรมว่าเป็นสมถะ วิปัสสนาว่าได้แก่ดูจิต
ไปเรื่อยๆ ใช่ไหมครับ ถ้าใช่ก็ลืมความจำนี้ไปสะ

นั่งก็คืออิริยาบถนั่ง และนั่งท่านั้นก็ไม่ใช่สมถะ มีผู้เข้าใจผิดครับ ว่านั่งขัดสมาธิหลับตาก็ว่าเป็นสมถะ

กรัชกายบอกก่อนหน้าแล้วว่า กายใจหรือทั้งองคาพยพนี้ แตะเข้าไปตรงไหน เป็นไตรลักษณ์ทั้งนั้น เพราะมันเป็นอยู่เดิมแล้ว เราไม่ได้ไปสร้างมันขึ้นมา

ลมหายใจเข้า ท้องพอง "พองหนอ" ลมออกท้องยุบ "ยุบหนอ" ทั้งท้องที่พองขึ้นและยุบลงมีการเกิดดับทั้งขึ้นทั้งลง และสัมพันธ์กับความคิดหรือจิตซึ่งก็เกิดดับอยู่ทุกขณะ เมื่อใดเราปฏิบัติจนเห็นสภาพนี้นั่นแหละเป็นวิปัสสนา ซึ่งตรงข้ามกับผู้ว่าฉันทำวิปัสสนา แต่ยังเข้าไม่ถึงจุดนี้ เป็นวิปัสสนานึก เป็นวิปัสสนาปลอม

การเจริญสติแนวสติปัฏฐานเมื่อปฏิบัติถูกต้องแล้วมีทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า สมถะได้แก่สมาธิ วิปัสสนาได้แก่ปัญญา แต่ท่านไม่มิได้พูดถึงสมาธิ

คุณเขาไปศึกษาเรื่องดังกล่าวที่ลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... 7&start=20

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2008, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วันนี้ได้มาคุยกับท่านกรัชกายยิ่งเพิ่มความมั่นใจมากขึ้น แล้วการปฏิบัติที่ทำก่อนนอนในการเดินจงกรมและนั่งสมาธิท่านกรัชกายคิดว่าถูกหรือผิดอย่างไรขอคำแนะนำด้วยคะ



ตามดูรู้ทันกายใจตามที่มันเป็น หรือตามเป็นจริง สุขทุกข์อย่างไรก็รู้ตามนั้น ทำตอนไหนเมื่อไรก็ถูกครับ

ส่วนอุบายหรือ วิธีปฏิบัติยืดหยุ่นได้ปรับได้

พึงศึกษาจงกรมและการปรับอินทรีย์ลิงค์นี้ครับ

http://www.free-webboard.com/index.php? ... istpage=50

ID 0004-0005

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2008, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำตอบคือไม่ใช่คะสมถะที่เข้าใจคือการปฏิบัติสมาธิให้จิตสงบ ส่วนวิปัสสนาคือการตามรู้กายรู้จิตตามความเป็นจริงเกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์



มีผู้เข้าใจเช่นนั้นมีอยู่มากครับ

เมื่อจิตไม่สมถะคือไม่สงบ หรือไม่มีสมาธิแล้วจะเห็นความจริงได้อย่างไร เมื่อน้ำขุ่นแล้วจะเห็นพื้นทราบกุ้งหอย
ปูปลาที่อยู่ก้นสระได้อย่างไร

จิตต้องเริ่มสงบก่อนจึงจะรู้เห็นความจริง สมาธิจึงเป็นบาทฐานของปัญญาหรือวิปัสสนา เหมือนการเหยียบขั้นบันได ธรรมะเป็นสมุปบันธรรมคืออาศัยกันๆเกิด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2008, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ดูหลักฐานการบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้าว่ามีการใช้สมถะหรือสมาธิเป็นฐานเป็นขั้นๆอย่างไร (นำมาให้พิจารณา
ตัวอย่างหนึ่ง)


“ดูกรอัคคิเวสสนะ เรานั้นแล (ฉันอาหารหยาบ ให้กายได้กำลังแล้ว) สงัดจากกามทั้งหลาย สงัด
จากอกุศลทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน...บรรลุทุติยฌาน...บรรลุตติยฌาน...บรรลุจตุตถฌาน...อยู่

“เรานั้น ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีฝ้ามัว ปราศจากอุปกิเลส เป็นของนุ่มนวล ควรแก่งาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสนานุสติญาณ


“เรานั้น ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีฝ้ามัว ปราศจากอุปกิเลส เป็นของนุ่มนวล ควรแก่งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ

“เรานั้น ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีฝ้ามัว ปราศจากอุปกิเลส เป็นของนุ่มนวล ควรแก่
งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นรู้ชัดตามเป็นจริงว่า
นี่ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา รู้ชัดตามที่มันเป็นว่า
เหล่านี้อาสวะ นี่อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เรานั้น เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่
อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อหลุดพ้น
แล้วก็มีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ
แล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี”
(ม.มู.12/427-9/458 ฯลฯ)


ข้อความในวงเล็บว่า (ฉันอาหารหยาบ ให้กายได้กำลังแล้ว) บางแห่งเป็น “ความเพียรเราได้ระดมแล้ว
ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบระงับไม่กระสับกระส่าย จิตเป็นสมาธิมีอารมณ์หนึ่งเดียว”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2008, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัญญัติ คือ คำเรียกขาน ชื่อเรียก คำกำหนดที่วางไว้ เช่น ชื่อเรียกว่า พื้นดิน ภูเขา รถ คน ทิศ

เหนือ ทิศใต้ หลุม บ่อ เกาะ แหลม เป็นต้น ซึ่งตัวจริงของสิ่งที่บัญญัติเรียกนั้นเป็นของมีจริงก็มี

ไม่มีอยู่จริงก็มี แต่จะมีหรือไม่มีก็ตาม คำบัญญัตินั้น ก็เป็นกาลวินิมุต คือไม่ขึ้นต่อกาล และไม่

พินาศ เช่น ช่องว่างที่ลึกลงไปในแผ่นดินเราเรียกว่าหลุม ช่องนั้นมีที่ไหน เมื่อใด ก็เรียกว่า

หลุมคงที่เสมอไป แต่หลุมต่างหากจากช่องในแผ่นดินหามีไม่ และหลุมเองทุกๆหลุมย่อมตื้นเขิน ย่อม

พัง ย่อมเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นอื่นได้ หรือเช่น สิ่งที่เรียกว่าสัญญา ย่อมเกิดดับเสื่อมสลาย

ไป แต่บัญญัติว่าสัญญาหาเสื่อมสลายไม่ เพราะสิ่งที่มีภาวะเช่นนั้นเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อใด ก็เรียกว่า

สัญญาเสมอไป (ถ้าได้ตกลงไว้อย่างนั้น) หรือเช่น สิ่งที่เป็นร่างกายย่อมทรุดโทรมแตกสลายได้

แต่บัญญัติว่ากายย่อมคงที่ ของอย่างนั้น เกิดที่ไหนพบที่ไหน ก็เรียกว่าอย่างนั้นตามบัญญัติ

ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องบัญญัตินี้ อาจงงหรือสับสน เมื่อได้ฟังคำว่า เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง เป็น

ต้น โดยจับไม่ถูกว่าเนื้อตัวของเวทนาและสัญญาไม่เที่ยง หรือบัญญัติของเวทนาและสัญญาไม่เที่ยง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จขกท. หายไปไหนครับ ยังปฏิบัติอยู่ไหมครับ แล้วเป็นอย่างไรบ้าง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 15:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ต.ค. 2008, 15:05
โพสต์: 11


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ..คุณกรัชกายที่ยังถามหาเจ้าของกระทู้อยู่ค่ะ
ตอนแรกไม่รู้ว่า จขกท คืออะไร ??
แต่กลับไปนั่งคิดดูก็รู้ว่า หมายถึงเรานี่นา :b9:

ตัว Keiko เองก็ปฏิบัติไปเรื่อยๆค่ะ
แต่เมื่อเช้านี้ รู้สึกดีมาก ไม่คิดว่าจะทำสมาธิได้ เพราะตัวเองไม่ค่อยสบาย
ปวดท้อง แล้วก็หมดแรงมากๆ
แต่พอหลังจากเดินจงกรม แล้วก็ลองมานั่งดู ก็ปรากฎว่า...
พอนั่งเงียบๆได้สักพัก ก็รู้สึกว่า ตัวเองอุ่นๆขึ้น เหมือนกับไปอยู่อีกมิติหนึ่งค่ะ
ไม่เห็นอะไร มีแต่แสงจ้าสีทองอุ่นๆ ที่ให้ความอบอุ่นแก่เรา ที่น่าตกใจมากกว่านั้นคือ
Keiko ไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ เกิดขึ้นกับร่างกายเลย ค่ะ มันหายไปหมดเลย
รู้สึกไม่เจ็บปวดได้สักพัก ก็กลับมาที่ระดับเดิมค่ะ คือมีอาการเจ็บปวดที่ท้องเหมือนเดิม

เอ.... ไม่รู้ว่า เท่าที่ Keiko เล่าให้คุณกรัชกายฟังเนี่ย ตอนมีการพัฒนา สภาวะทางจิต ขึ้นในระดับไหนบ้างค๊ะ ????
:b20:
ขอบคุณค่ะ :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2008, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ Keiko ใช้กรรมฐานอะไรก็พึงกำหนดกรรมฐานนั้นเป็นหลัก ไม่พึงนั่งเฉยๆ เห็นแสงสีอะไร ก็พึง
กำหนดแสงสีนั้นตามที่เห็นตามที่เป็น (ยกตัวอย่างให้ดู "เห็นหนอๆๆ") รู้สึกอย่างไรจะเป็นทางกาย
ทางความคิด ก็ไม่พึงนิ่งเฉยเช่นกัน กำหนดลงไปตามที่มันเป็น แล้วจิตจะไม่ยึดไม่อุปาทานในสิ่งนั้นๆ คือหลุดพ้นไป

ลมเข้าลมออกรู้สึกตัวๆๆ เป็นอย่างไรให้กำหนดรู้ตามนั้น จิตก็จะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
นิมิตดังกล่าวบอกว่าสมาธิเกิดแล้ว แต่ไม่พึงยึดติดในนิมิต ด้วยวิธีกำหนดรู้ตามที่เห็นนั่น จิตรุดหน้า
ไปเรื่อยๆ รู้สิ่งที่เกิดขึ้นๆ เหมือนการเดินทาง หากเราหลงชมนิมิตอยู่ จิตก็จะวนอยู่
ตรงนั้น แต่เมื่อรู้แล้ว แล้วผ่านผ่านต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2008, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เดินจงกรมบ้างนะครับ คุณ puy

เริ่มต้นฝึกอบรมจิต ท่านให้ใช้นาฬิกากะเวลาให้ก่อน สมมุติเริ่มที่ 30 นาที ทั้งนั่งและเดินจงกรม แล้วค่อยขยับปรับขึ้นไปเรื่อยๆ ฯลฯ เมื่อถึงระดับหนึ่ง นาฬิกาไม่ต้องใช้ก็ได้ เพราะจิตจะรู้
ว่าถึงเวลาแล้ว สังเกตก็รู้ว่ามันเริ่มคลายตัวออกมาอันนี้เป็นธรรมดา เบื้องต้นขอให้ฝึกอย่างมีระเบียบก่อน

คุณ puy ครับ สิ่งดังกล่าวถือว่าเป็นผลพลอยได้เฉพาะตัว ใช้เมื่อยามคับขัน หรือยามจำเป็น เพราะเสื่อมหายได้ ตราบเท่าที่จิตยังมีโลภะเป็นต้นอยู่

ตอนนี้ประเด็นสำคัญอยู่ที่พุทธพจน์นี้

“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอกเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศก
และปริเทวะ เพื่อความดับทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
นี้ คือ สติปัฏฐาน ๔”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2008, 12:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ต.ค. 2008, 15:05
โพสต์: 11


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ... คุณกรัชกาย
ที่คอยให้คำปรึกษามาโดยตลอด :b8:

เรื่องกำหนดรู้ตามสภาวะ ต่างๆนั้น ไม่ต้องห่วงค่ะ
เพราะ Keiko กำหนดอยู่ตลอด ไม่ว่า จะมีอาการ ฟุ่งซ่าน คัน ร้อน หนาว หย่อน ตึง ฯลฯ
เพราะเคยไม่สนใจกำหนดมาแล้ว ปรากฏว่า ไม่สามารถพัฒนาจิต ขั้นต่อไปได้เลย
มันติดอยู่ในสภาวะนั้นนานมากค่ะ

ตอนนี้รู้แล้วว่า... ถ้ามีการฝึกจิตให้มากๆ ช่วยให้เรามีสติในการดำรงค์ชีวิตได้ดีขึ้น
ไม่ต้องไปพึ่งหมอดู หรือรบกวนคนอื่น ให้เป็นที่ปรึกษาปัญหาชีวิตของเรา
คอยสังเกตุตัวเองนะ ว่า...ถ้าทำอะไร โดยไม่เอาอารมณ์ หรือกิเลสเข้าไปร่วมในการตัดสินใจ
ทำอะไร รับรองการตัดสินใจเรื่องนั้นๆไม่พลาดแน่นอน

คุยมาขนาดนี้แล้ว คุณกรัชกาย มีความเห็นว่า การฝึกจิตของดิฉัน มาได้ถูกทางแล้วใช่ไหมค๊ะ ??

ปล. ตอนนี้ เวลาจะขึ้นกรรมฐาน ดิฉันได้รวมคุณกรัชกายไว้เป็นครูบาอาจารย์ด้วยค่ะ :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2008, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ
ตราบใดคุณ Keiko ยังกำหนดรู้ดูเข้าใจสภาวะที่กระทบทั้งถูกใจไม่ถูกใจทั้งทางกายทางใจอยู่
การฝึกอบรมจิตก็ยังดำเนินไปบนเส้นทางแห่งสัมมาปฏิปทาตราบนั้นครับ :b42: :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2008, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ข้อคิดจากหนังสือพุทธธรรม อ่านจับเอาสาระธรรมแต่ไม่พึงติดในอักษร)


เมื่อมองหาเหตุแห่งทุกข์ มนุษย์ชอบมองออกไปหาที่ซัดทอดในภายนอก หรือมองให้ไกลจาก
ความรับผิดชอบของตนเท่าที่จะเป็นไปได้ ฉันใด เมื่อจะแก้ไขทุกข์ มนุษย์ก็ชอบมองออกไปข้าง
นอก การกระทำทั้งสองนั้นก็คล้อยคลึงกันคือ เป็นการหลบหน้าความจริง ไม่กล้ามองทุกข์
และเลี่ยงหนีการเผชิญความรับผิดชอบเหมือนคนหนีภัยด้วยความขลาดกลัว หาที่พอปิดตาซุกหน้าไม่ให้เห็น
ภัยนั้น นึกเอาเหมือนว่าได้พ้นภัย ทั้งที่ทั้งร่างทั้งตัวถูกปล่อยไว้ในภยันตราย ท่าทีเช่นนี้
ทำให้เกิดนิสัยหวังพึ่งปัจจัยภายนอก เช่น การอ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การบนบานเซ่นสรวงสังเวย
การรอคอยการดลบันดาลเทพเจ้า หรือนอนคอยโชคชะตา
พระพุทธศาสนาสอนว่าสิ่งที่พึ่งเช่นนั้น หรือการปล่อยตัวตามโชคชะตาเช่นนั้นไม่เป็นทางแห่งความมั่นคง
ปลอดภัย ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์แท้จริง วิธีแก้ไขทุกข์ที่ถูกต้องคือ มีความมั่นใจในคุณ
พระรัตนตรัย ทำใจให้สงบและเข้มแข็ง แล้วใช้ปัญญา มองดูปัญหาอย่างมีใจเป็นกลาง ห้เห็นตาม
สภาวะของมัน และพิจารณาแก้ไขปัญหานั้นที่เหตุปัจจัย

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า รู้จักดำเนินวิธีแก้ไขปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 ประการ คือ กำหนดทุกข์
สืบสาวหาสาเหตุแห่งทุกข์ เล็งรู้ภาวะดับทุกข์ที่จะพึงบรรลุ แล้วปฏิบัติตามวิธีแก้ไขที่ตรงเหตุ
ซึ่งพอดีที่จะให้บรรลุจุดหมาย เรียกว่ามรรคมีองค์ 8 การปฏิบัติเช่นนี้ จึงจะเป็นทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง
ดังพุทธพจน์ว่า

“มนุษย์มากมายแท้ ถูกภัยคุกคามเข้าแล้ว พากันยึดเอา ภูเขาบ้าง ป่าบ้าง สวนและต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์
บ้างเป็นที่พึง สิ่งเหล่านั้นไม่เป็นที่พึ่งอันเกษมได้เลย นั่นไม่ใช่สรณะอันอุดม คนยึดเอาสรณะอย่างนั้น
จะพ้นไปจากสรรพทุกข์หาได้ไม่

“ส่วนผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ มองเห็นด้วยปัญญาโดยถ่องแท้
ซึ่งทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความก้าวล่วงทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ 8 อันให้ถึงความสงบระงับทุกข์ นี่แหละคือสรณะอันเกษม นี้คือสรณะอันอุดม คนถึงสรณะอย่างนี้แล้ว ย่อมปลอดพ้น
จากทุกข์ทั้งปวง” (ขุ.ธ. 25/24/40)


พระพุทธเจ้า เป็นที่ระลึกให้มั่นใจว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ มีสติปัญญาความสามารถที่อาจฝึกปรือ
หรือพัฒนาให้บริบูรณ์ได้ สามารถหยั่งรู้สัจธรรม บรรลุความหลุดพ้นเป็นอิสระไร้ทุกข์ ลอยเหนือโลกธรรม และมีความดีสูงเลิศที่แม้แต่เทพเจ้าและพรหมก็เคารพบูชา ดังพระบรมศาสดาเป็นองค์นำ มนุษย์ทั้งหลาย
ที่หวังพึ่งเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น ถ้ารู้จักฝึกอบรมตนให้ดีแล้ว ก็ไม่มีสิ่งใดที่เทวะและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่า
นั้น จะทำให้ได้เหมือนดังที่กรรมดีและจิตปัญญาของมนุษย์เองจะสามารถทำ

พระธรรม เป็นที่ระลึกให้มั่นใจว่า ความจริงหรือสัจธรรมเป็นภาวะที่ดำรงอยู่โดยธรรมดา สิ่งทั้งปวงเป็นไป
ตามเหตุปัจจัย ถ้ารู้จักมองดูรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามสภาวะที่มันเป็นจริง นำความรู้ธรรมคือความจริงนั้นมาใช้ประโยชน์ ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายด้วยความรู้เท่าทันสภาวะและกระทำการที่ตัวเหตุปัจจัย ก็จะแก้ไขปัญหาได้ดี
ที่สุด เข้าถึงธรรมและมีชีวิตที่ดีที่สุด

พระสงฆ์ เป็นที่ระลึกให้มั่นใจว่า สังคมดีงามมีธรรมเป็นรากฐาน ประกอบด้วยสมาชิกผู้มีจิตใจไร้หรือห่างทุกข์ เป็นอิสรเสรี แม้มีพัฒนาการแห่งจิตวิญญาณในระดับแตกต่างกัน แต่ก็อยู่ร่วมกันด้วยดี มีความสมเสมอกันโดยธรรม มนุษย์ทุกคนมีส่วนร่วมอยู่สร้างสังคมเช่นนี้ได้ ด้วยการรู้ธรรมและปฏิบัติตามธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2008, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลที่มีศรัทธาแน่วแน่ มั่นใจในพระรัตนตรัยโดยสมบูรณ์ เสียงชักจูงภายนอกหรือแม้แต่ความผันผวน
ปรวนแปรในชีวิตที่เรียกว่า โลกธรรมหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า โชคเคราะห์ทั้งหลาย ไม่อาจทำ
ให้หวั่นไหวคลอนแคลนได้ จิตใจของเขาเป็นเหมือนคนมีสุขภาพดี แข็งแรง ช่วยตัวเองได้ตลอดเวลา ไม่ต้องหวังพึ่งอำนาจดลบันดาลจากภายนอก หวังผลจากกรรมคือการกระทำด้วยความเพียรพยายามตามเหตุปัจจัยเท่านั้น ทั้งมีปัญญาเจริญถึงขั้นรู้เข้าใจหลักการแก้ไขปัญหาดับทุกข์ตามแนวทางแห่งสัจธรรมที่เรียกว่า อริยสัจ 4 ประการอย่างชัดเจน และดำเนินวิธีแก้ไขปัญหาดับทุกข์นั้นตามมรรคาทีเรียกว่าอารยอัษฎางคิกมรรคอย่างแน่วแน่
บุคคลเช่นนี้ ท่านเรียกว่าเป็นผู้เข้าสู่กระแสแห่งทางดับทุกข์ไปสู่ความเป็นอิสรเสรีที่แท้จริง เริ่มเข้าสังกัด
ในสังคมแห่งอารยชน เป็นคนมีการศึกษา เรียกว่า อริยบุคคลชั้นที่หนึ่ง มีชื่อเฉพาะว่า โสดาบัน

ส่วนคนทั้งหลายนอกจากนั้น ผู้ยังว่ายวนหมุนเวียนอยู่ใต้กระแสครอบงำของโลกธรรม หวั่นไหวไปตามโชคเคราะห์ มีศรัทธาที่ยังง่อนแง่น ไม่มั่นใจตนเองบนฐานแห่งคุณพระรัตนตรัย จิตใจเหมือนคน
ที่มักเจ็บไข้ออดแอด ช่วยตนเองไม่ค่อยได้ ต้องคอยอาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา อย่างเก่งยามดี
ก็เข้มแข็ง แต่พอถูกมรสุมชีวิตอย่างแรง ก็ทรงตัวไม่ไม่ไหว ต้องเลือกระหว่างการทนทุกข์ทรมาน
แสนสาหัส หรือหันไปหากามสุขที่แรงขึ้นมีสิ่งมึนเมาเสพติดเป็นต้น หรือยอมพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ขออำนาจดลบันดาลบ้าง หวังผลจากมงคลบ้าง พอกลบเกลื่อนชดเชยปลุกปลอบกันไป ด้วยไม่รู้ทางออกที่ถูกต้อง ยังไม่มองดูรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันตามสภาวะและตามเหตุปัจจัย
ทำใจให้ลอยพ้นกระแสโลกไม่ได้ แม้ดำเนินชีวิตก็เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง

ถ้าไม่อยู่ข้างมัวเมากามสุขเห็นแก่จะเสพเสวยบำรุงบำเรอตน ก็เฉียดไปข้างเข้มงวดบีบรัดตนเองด้วยระบบ
หรือแบบแผนวิธีที่ถือมั่นเอาไว้งมงาย ไม่ดำเนินตรงไปในมัชฌิมาปฏิปทา คนเหล่านี้มีชื่อเรียกว่าเป็นปุถุชน

ถ้าเป็นคนห่างไกลอารยธรรม มืดบอดเสียทีเดียว ไม่รู้จักดีชั่ว ดำเนินชีวิตสักว่าตัณหาพาไป ไม่ใช้
ความคิดไม่ใช้ปัญญา พร้อมที่จะเบียดเบียนไม่ว่าใครๆ เพื่อเห็นแก่ตน ก็เรียกว่า อันธพาลปุถุชน

แต่ถ้าเป็นผู้รู้จักอารยธรรม ได้แว่วเสียงกู่เรียกของของอริยบุคคลแล้ว เริ่มดำเนินชีวิตดีงาม
มีศีลธรรม ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ 10 ประการ หรืออย่างน้อยดำรงอยู่ในสาระแห่งศีล 5 ประการ
ก็ได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณปุถุชน คือ ปุถุชนดีงาม หรือ เป็นสุตวันต์อริยสาวก คือผู้สดับศาสน์แห่ง
อารยชน ตั้งต้นที่จะเดินเข้าใกล้อริยมรรคา

........

พระรัตนตรัย เป็นหลักใหญ่สามเส้าที่ชาวพุทธพึงระลึกตระหนักอยู่เสมอ คือ
พุทธ - มนุษย์ (ชี้ถึงศักยภาพสูงสุด ที่มีอยู่ในมนุษย์แต่ละบุคคล)
ธรรม - ธรรมชาติ (ธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย ที่รู้แล้วจะลุธรรมที่เหนือเหตุปัจจัย)
สงฆ์ - สังคม (สังคมอุดมคติแห่งอริยชนผู้ดำเนินอยู่ในชั้นต่างๆ แห่งการรู้ธรรมและก้าวตามวิถี
แห่งพุทธะ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร