วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 11:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2008, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m208623.jpg
m208623.jpg [ 88.82 KiB | เปิดดู 5773 ครั้ง ]
:b20:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ก.พ. 2010, 10:20, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2008, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔.กรรมกับอนัตตาขัดกันหรือไม่


ปัญหาหนึ่ง ซึ่งแม้จะมีผู้ถามขึ้น เพียงบางครั้งบางคราว แต่เป็นความสงสัย ที่ค้างอยู่ในใจผู้เริ่มศึกษา

พระพุทธศาสนาจำนวนไม่น้อย คือ เรื่องที่ว่า หลักกรรม กับ อนัตตา ขัดกันหรือไม่ ?

ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา คนเราทั้งกายและใจเป็นอนัตตา กรรมจะมีได้อย่างไร ?

ใครจะเป็นผู้ทำกรรม ?

ใครจะรับผลกรรม ? ความสงสัยในเรื่องนี้ มิใช่มีแต่ในบัดนี้ แม้ในครั้งพุทธกาลก็ได้มีแล้ว

ดังเรื่องว่า



ภิกษุรูปหนึ่ง ได้เกิดความคิดสงสัยขึ้นว่า

“ทราบกันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา แล้วดังนี้

กรรมทั้งหลายที่อนัตตาทำ จักถูกต้องตัวได้อย่างไร ?”


ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงหยั่งทราบความคิดสงสัยของภิกษุนั้น

จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

“ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่คนเขลาบางคนในธรรมวินัยนี้ มีใจตกอยู่ในอวิชชา

ถูกตัณหาครอบงำ อาจสำคัญว่า

คำสอนของพระศาสดา เป็นสิ่งที่พึงคิดไกลล้ำเลยไปได้ว่า “ทราบว่า รูป เวทนา สัญญา

สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา แล้วดังนี้

กรรมทั้งหลายที่อนัตตาทำ จักถูกต้องตัวได้อย่างไร”

เธอทั้งหลาย อันเราแนะนำอย่างถี่ถ้วนด้วยการทวนถาม ในข้อธรรมทั้งหลาย

ในเรื่องราวทั้งหลายแล้ว จะสำคัญเห็นเป็นไฉน

รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?

“ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า”

“เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?“

“ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า”

“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะมองเห็นสิ่งนั้นว่า

“นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา ?”

“ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

“เพราะเหตุนั้นแล รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม

ฯลฯ ก็เป็นแค่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

เธอทั้งหลาย พึงมองเห็นตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญาอย่างนี้

อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ มองเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด

ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ ย่อมหลุดพ้น ฯลฯ กิจอื่นอีก

เพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่มี”


(ม.อุ. 14/129/106 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 ก.พ. 2010, 10:23, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2008, 10:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อความเข้าใจข้อธรรมต่อไปง่ายขึ้น พึงทราบข้อความต่อไปนี้สักเล็กน้อยก่อน

คำสอนของพระพุทธเจ้ามีสองด้าน คือ ด้านสมมุติ กับ ตัวสภาวะ

เมื่อเข้าใจอย่างนี้คู่สนทนาก็ตกลงกันว่า จะธรรมสากัจฉาในแง่มุมใด ก็ว่ากันไปตามแง่มุม

นั้น ไม่นำมาปะปนกัน

ตัวอย่าง เช่น จะพูดในแง่สมมุติหรือบัญญัติคนว่า นาย ก. นาง ข.

ว่าเรา ว่าเขา ก็ว่ากันไปตามแนวนี้เลย


แต่เมื่อพูดกันในแง่สภาวธรรม ก็ว่ากันในแง่สภาวะ ไม่มี นาย ก. นาง ข. เป็นแต่สภาวะ

หรือปรมัตถ์ หรือ ธรรมชาติ ที่เรียกว่ามัชเฌนธรรมเทศนา

ที่เกิดปัญหาในปัจจุบัน ก็เพราะนำสมมุติกับสภาวะมาสนทนาหรืออธิบายปนกัน

ทำให้ปฏิบัติผิดและเข้าใจธรรมะไขว่เขว



กรณีตัวอย่างของภิกษุดังกล่าวที่ว่า “ทราบกันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ เป็นอนัตตา แล้วดังนี้

กรรมทั้งหลายที่อนัตตาทำ จักถูกต้อง ตัว ได้อย่างไร ?”

ท่อนนี้=> รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา ท่านสอนในแง่

สภาวะ

ส่วนท่อนสุดท้ายเป็นบัญญัติ "ตัว" (ร่างกาย) ที่ภิกษุยึดถืออยู่ว่า ตัว, ว่าตน, (ว่าอัตตา)

ว่าเป็นเรา เมื่อเข้าใจสับสนปนกันอย่างนี้ จึงเกิดสงสัยดังกล่าว


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


อัตตา เป็นภาษาบาลี ไม่ใช่ภาษาไทยอย่างที่บางคนเข้าใจ

รูปสันสกฤต เป็นอาตมัน

แปลว่า ตัว,ตน,ตัวตน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ก.พ. 2010, 16:38, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2008, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




00067.gif
00067.gif [ 297.78 KiB | เปิดดู 6619 ครั้ง ]
พิจารณาข้อความเปรียบเทียบต่อไปนี้ น่าจะเข้าใจสภาวธรรมข้างหน้าง่ายขึ้น


(ต่อ)

ก่อนที่จะวิจารณ์ความตามบาลีที่อ้างข้างตน หรือพูดถึงเหตุผลต่างๆต่อไป

ขอให้พิจารณาข้อเปรียบเทียบต่อไปนี้

สมมุติว่า ขณะนี้ผู้อ่านและผู้เขียนกำลังยืนมองกระแสน้ำสายหนึ่งอยู่

กระแสน้ำไหลผ่านที่ราบ

เป็นส่วนมาก จึงไหลเอื่อยๆ ไม่สู้เชี่ยว

ดินที่ กระแสน้ำไหลผ่านส่วนมากเป็นสีแดง

กระแสน้ำสายนี้ จึงมีสีค่อนข้างแดง

นอกจากนั้น กระแสน้ำยังไหลผ่านถิ่นที่มีประชาชนอยู่หนาแน่นหลายแห่ง


คนได้ทิ้งขยะและของเสียต่างๆ ลงในแม่น้ำเป็นอันมากตลอดเวลา ทำให้น้ำสกปรก

ยิ่งในระยะหลังนี้ มีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งมากขึ้นและปล่อยน้ำเสียลงในน้ำทุกวัน

ทำให้เกิด

เป็นพิษ ไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัยของสัตว์น้ำ จึงมีปลา กุ้ง เป็นต้นไม่ชุม

สรุปแล้ว กระแสน้ำที่เรากำลังมองดูอยู่นี้สีค่อนข้างแดง สกปรก เจือปนด้วยน้ำพิษมาก

มีสัตว์น้ำไม่ชุม ไหลเอื่อยๆ ช้าๆ ผ่านที่นั้นที่นั้น

ทั้งหมดนี้ รวมกันเข้าเป็นลักษณะจำเพาะของกระแสน้ำนี้

ซึ่งลักษณะบางอย่าง ก็เหมือนกระแสน้ำโน้น

บางอย่างเหมือนกระแสน้ำนั้น

บางอย่างก็เหมือน

กระแสน้ำนู้น ฯลฯ แต่รวมทั้งหมดแล้วไม่เหมือนกระแสน้ำอื่นใด


ต่อมา มีผู้บอกเราว่า กระแสน้ำสายนี้ชื่อแม่น้ำเจ้าพระยา- (ในหนังสือท่านให้ชื่อว่าแม่น้ำ

ท่าวัง ...แต่เปลี่ยนเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ให้นึกเห็นภาพชัดขึ้น)

เขาบอกว่า กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นอย่างนั้นๆ

บางคนบอกว่า แม่น้ำเจ้าพระยามีน้ำสกปกรก ปลาไม่ชุม

บางคนบอกว่า กระแสน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ไหลเชี่ยว และเป็นอย่างนั้นๆ

บางคนบอกว่า แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านถิ่นที่มีดินสีแดงมาก จึงมีน้ำสีค่อนข้างแดง


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


เราเกิดความรู้สึกเป็นข้อสังเกตขึ้นมาว่า ความจริงกระแสน้ำที่เรามองดูอยู่ ก็มีภาวะสมบูรณ์

ในตัวตามสภาพของมันอยู่แล้ว

มันมีลักษณะต่างๆ เช่น ไหลช้า มีสีแดง สกปรกเป็นต้น ก็เพราะมันเกิดจากองค์ประกอบ

และความเป็นไปต่างๆที่เป็นเหตุเป็นผลอันทำให้มันต้องเป็นเช่นนั้น

เช่น เมื่อกระแสน้ำ กระทบละลายดินแดง ก็เกิดผลขึ้นแก่กระแสน้ำนั้นให้มีสีแดงเป็นต้น


ความเป็นไปต่างๆ ของมันมีผลต่อมันอยู่ในตัวเอง

ยิ่งกว่านั้น ขณะที่เรามองอยู่นั้น กระแสน้ำก็ไหลผ่านไปเรื่อยๆ

น้ำที่เราเห็นตรงหน้า เมื่อแรกมองกับเวลาต่อมา ก็ไม่ใช่น้ำเดียวกัน

และน้ำที่เห็นตอนต่อๆมา กับตอนท้าย ที่เราจะเลิกมองก็ไม่ใช่น้ำเดียวกัน

แต่กระนั้น ลักษณะจำเพาะที่

เรียกได้ว่า เป็นอย่างเดิม เพราะองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมเข้าเป็นกระแสน้ำนั้นนั้นยังคงเหมือนๆเดิม


แต่เมื่อมีคนบอกเราว่า แม่น้ำนี้ชื่อแม่น้ำเจ้าพระยา ยิ่งกว่านั้นยังบอกว่า แม่น้ำเจ้าพระยา

มีกระแสน้ำไม่เชี่ยว น้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาสกปรก ปลาน้อย

เรามองไม่เห็นว่า จะมีแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่ไหนต่างหาก

หรือนอกจากกระแสน้ำที่เรามองอยู่นั้น เรามองไม่เห็นตัวแม่น้ำเจ้าพระยาไหนที่มาเป็นเจ้าของกระแส

น้ำที่ไหลอยู่นั่น

ยิ่งกว่านั้น เขาบอกว่า แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านละลายดินแดง

ทำให้มันมีน้ำสีค่อนข้างแดง คล้ายกับว่า แม่น้ำเจ้าพระยาไปทำอะไรให้กับดินแดง

มันจึงได้รับผล ถูกเขาลงโทษให้มีน้ำสีแดง

เราเห็นอยู่ชัดๆว่า กระแสน้ำที่เรามองอยู่นั้น มีความเป็นไป เป็นกระบวนการแห่งเหตุและผลพร้อมอยู่

ในตัวของมัน

น้ำที่ไหลมากระทบเข้ากับดินแดง

ดินแดงละลายผสมกับน้ำเป็นเหตุเกิดขึ้น ผลก็เกิดขึ้น คือกระแสน้ำจึงมีสีค่อนข้างแดง

ไม่เห็นจะมีใครมาเป็นผู้ทำหรือเป็นผู้รับผลนั้นอีก

ยิ่งกว่านั้น เราไม่เห็นตัวแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นชิ้นเป็นอันอยู่ที่ไหนได้เลย

กระแสน้ำที่ไหลผ่าน

หน้าเราไปแล้ว ก็ไหลผ่านไปเลย

น้ำเก่าที่เราเห็นไม่มีอยู่นั่นแล้ว มีแต่น้ำใหม่มาแทนที่เรื่อยไป

เรากำหนดกระแสน้ำนั้นได้ ด้วยองค์ประกอบอาการและความเป็นไปต่างๆ ที่ประมวลกัน

ขึ้น ให้ปรากฏลักษณะอันจะถือเอาได้เช่นนั้นเท่านั้นเอง

และถ้ามีตัวตนของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นชิ้นเป็นอันแน่นอนตายตัวอยู่

กระแสน้ำก็คงจะเป็นไปตามองค์ประกอบและเหตุปัจจัยต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องไม่ได้

และในขั้นสุดท้าย เราเห็นว่าแม่น้ำเจ้าพระยานั่นแหละ เป็นส่วนเกินที่ไม่จำเป็น

เราพูดถึงกระแสน้ำนั้นได้เต็มตามกระบวนการของมัน โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับ

แม่น้ำเจ้าพระยาเลย

ว่าให้ถูกแล้ว แม่น้ำเจ้าพระยาไม่มีอยู่เลยด้วยซ้ำไป


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ต่อมาอีกนาน เราเดินทางไปถึงตำบลอื่น เราพบชาวตำบลนั้นหลายคน

คราวหนึ่งเราอยากจะเล่าให้เขาฟังเกี่ยวกับเรื่องกระแสน้ำ ที่เราได้มองดูคราวก่อนนั้น

แล้วเราก็เกิดความติดขัดขึ้นมาทันที

เราไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรดี เขาจึงจะเข้าใจตามที่เราต้องการจะบอกเขาได้

เรานึกขึ้นมาถึงคำที่เคยมีคนบอกเราว่า กระแสน้ำสายนั้นชื่อแม่น้ำเจ้าพระยา

จากนั้นเรา ก็สามารถเล่าให้ชาวบ้านฟังอย่างสะดวกคล่องแคล่ว และเขาก็ฟังด้วยความเข้าใจ

และสนใจเป็นอย่างดี

เราพูดด้วยว่า แม่น้ำเจ้าพระยาสกปรก มีปลาน้อยกระแสน้ำของแม่น้ำ

เจ้าพระยาไหลช้า แม่น้ำเจ้าพระยาไหลไปกระทบดินแดง ทำให้มันมีสีค่อนข้างแดง

ในเวลานั้น เราเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยว่า แม่น้ำเจ้าพระยาและบทบาทของมัน

ตามที่เราเล่านั้น เป็นเพียงถ้อยคำสมมุติ เพื่อสะดวกในการติดต่อสื่อสารกันในโลก

แม่น้ำเจ้าพระยาและบทบาทของมันตามคำสมมุติเหล่านี้ จะมีขึ้นมาหรือไม่มี และเราจะใช้มันหรือไม่ก็ตามที

จะไม่มีผลกระทบต่อกระแสน้ำนั้นเลย

กระแสน้ำนั้น ก็คงเป็นกระบวนการแห่งกระแสที่ไหลเนื่องไปตามองค์ประกอบและเหตุปัจจัยของมันอยู่นั่นเอง

เราแยกได้ระหว่างสมมุติกับสภาวะที่เป็นจริง บัดนี้ เราทั้งเข้าใจและสามารถใช้ถ้อยคำพูด

เหล่านั้นด้วยความสบายใจ



ที่สมมุติเรียกกันว่าคน ว่านาย ก. นาย ข. เรา เขานั้น โดยสภาวะที่แท้จริงแล้วก็คือ

กระบวนธรรมที่ไหลเนื่องเป็นกระแสสืบต่อกันไปไม่ขาดสาย มีองค์ประกอบต่างๆเข้ามาร่วมสัมพันธ์กันอยู่

มากมาย มีความเป็นไปปรากฏให้เห็นได้นานาประการสุดแต่เหตุปัจจัยทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง

ทั้งภายในกระบวนธรรมนั้นเอง และทั้งที่เนื่องด้วยภายนอก


เมื่อมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างหนึ่งเกิดเป็นเหตุขึ้นแล้ว ก็ย่อมก่อให้เกิดผลเป็นความเปลี่ยน

แปลงขึ้นในกระบวนธรรมนั้น

สิ่งที่เรียกว่า กรรมและวิบาก นั้นก็คือความเป็นไป ตามทางแห่งเหตุและผล ที่เกิดขึ้น

ในกระบวนธรรมที่กล่าวนี้ มีความสำเร็จพร้อมอยู่ในตัวกระบวนธรรมนั้นเอง

โดยไม่ต้องอาศัยตัวสมมุติ มี นาย ก. นาย ข. เรา เขา นายสิบ นายพัน มารับสมอ้าง

เป็นเจ้าของ เป็นผู้ทำหรือเป็นผู้รับผลแต่ประการใด

อันนี้เป็นส่วนตัวสภาวะความจริง อันเป็นไปอยู่ตามธรรมดาของมัน

แต่เพื่อความสะดวกในการสื่อสารให้เข้าใจกันในหมู่ชาวโลก

จะใช้พูดตามสมมุติก็ได้ โดยตั้งชื่อให้แก่กระบวนธรรมที่ไหลเวียนอยู่นั้นว่า นาย ก. นาย ข. เป็นต้น

เมื่อรับสมมุติเข้าแล้ว ก็ต้องยอมรับสมอ้างเป็นเจ้าของเป็นผู้ทำ และผู้ถูกทำไปตามเรื่อง

แต่ถึงจะสมมุติหรือไม่สมมุติ จะรับสมอ้างหรือไม่รับ

กระบวนธรรมที่เป็นตัวสภาวะความจริงก็เป็นไปตามกฎธรรมดา ตามเหตุปัจจัยมันนั่นเอง

ข้อสำคัญก็คือจะต้องรู้เท่าทัน

แยกสมมุติกับตัวสภาวะออกจากกันได้ ของอันเดียวกันนั่นแหละ เมื่อใดจะพูดถึงสภาวะ

ก็พูดไปตามสภาวะ

เมื่อใดจะใช้สมมุติ ก็พูดไปตามสมมุติ อย่าไขว้เขว อย่าสับสนปะปนกัน และต้องมีความเข้าใจ

สภาวะเป็นความรู้เท่าทันรับรองยืนเป็นพื้นอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ก.พ. 2010, 19:48, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 20:31 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2008, 00:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 เม.ย. 2008, 07:43
โพสต์: 567

ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
!!@ ธรรมะไม่กลับมา โลกาจะวินาศ มวลมนุยษ์จะลำบาก คนบาปจะครองเมื่อง @!! คำของท่านพุทธทาส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2008, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้งตัวสภาวะ และสมมุติ เป็นสิ่งจำเป็น

ตัวสภาวะ หรือ ที่นิยมเรียกว่า ปรมัตถ์ เป็นเรื่องของธรรมชาติ

ส่วนสมมุติเป็นเรื่องของประโยชน์สำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์


แต่ปัญหาเกิดขึ้น เพราะมนุษย์เอาสภาวะกับสมมุติมาสับสนกัน คือ เข้าใปยึดเอาตัวสภาวะ

จะให้เป็นไปตามสมมุติ จึงเกิดวุ่นวายขึ้น


ตัวสภาวะไม่วุ่น เพราะมันเป็นไปอย่างนั้นเอง ตามปกติธรรมดา ไม่เกี่ยวกับใครจะไปยึดหรือไม่

มนุษย์เป็นผู้วุ่นไปฝ่ายเดียวและเพราะมันไม่วุ่นด้วย มนุษย์จึงยิ่งวุ่นใหญ่ เพราะขัดความปรารถนา

ถูกบีบคั้นจึงเกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์เอง


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ตามเรื่องในบาลีที่ยกมาอ้างข้างต้นที่ว่า “ทราบกันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

เป็นอนัตตา แล้วดังนี้ กรรมทั้งหลายที่อนัตตาทำ จักถูกต้อง ตัว ได้อย่างไร ?”



เห็นได้ชัดว่า ภิกษุที่เกิดความสงสัยนั้น เอาความรู้เกี่ยวกับสภาวะตามที่ตนฟังมา เรียนมา

ไปสับสน กับ สมมุติ ที่ตนยึดถืออยู่
จึงเกิดความงุนงง

ตามข้อสงสัยของเธอ

ถ้าคงศัพท์สำคัญไว้ตามเดิมจะแปลได้ว่า “กรรมทั้งหลายที่อนัตตาทำ จะถูกต้อง

อัตตาได้อย่างไร ?”


ท่อนแรก (= รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา) เธอพูดตามความรู้

เกี่ยวกับตัวสภาวะ

ท่อนหลัง (= กรรมทั้งหลายที่อนัตตาทำ จักถูกต้องตัวได้อย่างไร)

เธอพูดตามสมมุติ ที่เธอยึดถืออยู่เอง จึงขัดกันเป็นธรรมดา :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ก.พ. 2010, 16:51, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2008, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณท่านในธรรมทาน สาธุ

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2008, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่กล่าวมาเป็นอันสรุปได้ว่า



-หลักอนัตตากับกรรมไม่ขัดกันเลย

ตรงข้ามอนัตตากลับสนับสนุนกรรม เพราะสิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตา กรรมจึงมีได้ กรรมจึงเป็นไปได้

กระแสสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยจึงจะดำเนินไปได้ ไม่ใช่มีอะไรมาเป็นตัวเที่ยงคงที่ ลอยทื่อกั้นขวาง

อยู่กลางกระแสจะไปไหนก็ไม่ไป จะเป็นไปอย่างไร ก็ไม่เป็นไป

ถ้ามีอัตตากรรมก็ไม่มี เพราะอัตตาไม่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีอะไรเข้าถึงเนื้อตัวมัน

อะไรจะเกิดขึ้น ก็ไม่มีผลให้เนื้อตัวอัตตาเปลี่ยนแปลงไป

ในที่สุด ก็จะต้องแยกคนออกเป็นสองชั้น อย่างลัทธิสัสสตทิฏฐิบางพวก ที่ว่า คนทำกรรม

รับผลกรรมกันไป อยู่แต่ชั้นนอก

ส่วนแก่นแท้หรืออัตตาอยู่ภายในเที่ยงคงที่ ถึงอะไรจะเป็นไปอย่างไร อัตตาก็คงเดิม

ไม่ถูกกระทบกระเทือน


-เท่าที่เราทำกรรมและรับผลกรรมกันอยู่ทุกวันนี้ ก็ทำและรับผลกรรมกันอยู่โดยไม่ต้องมีตัวผู้ทำกรรม

และไม่มีคนรับกรรมอยู่แล้ว

ในสิ่งทั้งหลาย ที่ประชุมกันอยู่และดำเนินไปเป็นกระบวนธรรมนั้น ต้องพิจารณาในแง่ที่ว่า

มีอะไรบ้างเข้าไปเป็นปัจจัย อะไรไปสัมพันธ์กับอะไร แล้วมีผลอะไรเกิดขึ้นในกระบวนธรรมนั้น

ทำให้กระบวนธรรมนั้นผันแปรเป็นไปอย่างไรๆ เมื่อมีเหตุที่เรียกว่า การกระทำเกิดขึ้นเป็นปัจจัยแล้ว

ก็ย่อมมีผลที่เรียกว่า วิบาก เกิดขึ้นในกระบวนธรรมนั้นเอง เรียกว่า มีการกระทำ และมีผล

การกระทำเกิดขึ้น โดยไม่มีเจ้าของกรรม ที่มาเป็นผู้กระทำกรรมและเป็นผู้รับผลกรรมนั้นอีกชั้น

หนึ่ง

กรรม คือ ความเป็นไปตามเหตุและผลในกระบวนธรรมนั้น อันต่างหากจากสมมุติที่เรา

เอาไปสวมใส่ครอบให้มัน

เมื่อตกลง จะสมมุติเรียกกระแสธรรมที่ดำเนินอยู่นั้นว่า เป็น นาย ก. นาย ข.

ก็ย่อมมี นาย ก. นาย ข. ที่เป็นเจ้าของกรรม เป็นผู้ทำกรรม และรับผลกรรม


แต่กระบวนธรรมที่เป็นตัวสภาวะ ก็ดำเนินไปตามปกติของมัน เป็นเหตุเป็นผลพร้อมอยู่ในตัว

โดยสมบูรณ์อยู่แล้ว


ไม่ต้องอาศัย นาย ก. นาย ข. จึงจะมีเหตุมีผลเกิดขึ้น

เมื่อจะพูดในแง่กระบวนธรรมว่า ดำเนินไปอย่างไร ด้วยเหตุปัจจัยอะไร เป็นผลอย่างไร

ก็พูดไป หรือจะพูดในแง่ นาย ก. นาย ข. ทำกรรมนั้นแล้ว รับผลกรรมอย่างนี้ ก็พูดไป

เมื่อพูดในแง่สมมุติ ก็ให้รู้ว่ากำลังพูดในแง่สมมุติ

เมื่อพูดในแง่สภาวะหรือปรมัตถ์ ก็ไห้รู้ว่ากำลังพูดในแง่สภาวะ

เมื่อรู้เท่าทันความเป็นจริง และความมุ่งหมายในการพูดแบบนั้นๆ ไม่เข้าไปยึดติดถือมั่น

ไม่เอามาปะปนกัน ก็เป็นอันใช้ได้
*


-ไม่ต้องพูดถึงมนุษย์ ซึ่งเป็นประชุมแห่งเหตุปัจจัยที่ซับซ้อนลึกซึ้งมาก เพราะมีองค์ประกอบฝ่ายจิตใจ

ร่วมอยู่ด้วย

แม้แต่พวกรูปธรรมที่มีองค์ประกอบฝ่ายวัตถุอย่างเดียว เช่น อย่างเรื่องแม่น้ำเจ้าพระยา

ที่กล่าวข้างต้น

คนจำนวนมาก ก็ยังติดในสมมุติ ยึดมั่นเอาเป็นตัวเป็นตนจริงจังไปได้


สำหรับองค์ประกอบฝ่าจิตใจ ละเอียดลึกซึ้งมาก

แม้แต่ความเป็นอนิจจัง บางคนก็มองไม่เห็น เช่น เคยมีบางคนกล่าวแย้งว่า

“ใครว่าสัญญาไม่เที่ยง ไม่แน่นอน ไม่คงที่

สัญญาต้องนับว่า เป็นของเที่ยง เพราะมันเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อใดก็เป็นสัญญาทุกครั้ง คงที่

ไม่เคยเปลี่ยนแปลง



คำแย้งนี้ บางคนอาจเห็นคล้อยไปตามได้

แต่ถ้าเปลี่ยนข้อความนี้ มาใช้กับวัตถุหรือรูปธรรม อาจมองเห็นข้อถูกข้อผิดได้ง่าย

และชัดเจนขึ้น คำแย้งข้างต้นนั้น เหมือนกันกับพูดว่า

“ใครว่าร่างกายไม่เที่ยง ร่างกายเป็นของเที่ยงแท้ คงที่ เพราะร่างกายเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร

ก็เป็นร่างกายอยู่นั่นเอง ไม่เปลี่ยนแปลง”

ข้อความสุดท้ายนี้มองเห็นแง่ผิดง่ายกว่า และร่างกายกับบัญญัติว่าร่างกาย

จะอธิบายว่า สัญญาและร่างกายเป็นของเที่ยง คงที่ แต่เหตุผลที่แสดงกลายเป็นพูดว่า

บัญญัติว่า สัญญา และ บัญญัติว่า ร่างกาย เที่ยงแท้คงที่



-การศึกษาหลักกรรม โดยจับเอาที่สมมุติ จะทำให้ได้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นเหตุ

เป็นผลในช่วงกว้างเกินไป เช่น

จับเอาว่า นาย ก. ทำกรรมชื่อนี้ ในวันนี้

ต่อมาอีกสิบปี เขาได้รับผลกรรมชั่วนั้น

ความเป็นผล ที่อธิบายมักจะเป็นแบบก้าวเดียว ข้ามเวลา 10 ปี ดังนั้น จึงยากที่จะให้มองเห็น

ความสัมพันธ์

ในทางเหตุผลได้ละเอียดชัดเจน เพราะไม่มองเห็นกระแสเหตุปัจจัยที่เป็นไปต่อเนื่องโดยตลอด

การศึกษากระบวนธรรมตามสภาวะ จึงจะช่วยให้มองเห็นกระแสความสัมพันธ์นั้นได้ละเอียด

ตลอดสายว่า

ความหมายของการได้รับผลนั้น ทีแท้จริงคืออะไร และเป็นเช่นนั้นได้อย่างไร ? **


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


* คัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวไว้น่าฟังว่า “ผู้ทำกรรมไม่มี ผู้เสวยผลก็ไม่มี

มีแต่ธรรมล้วนๆย่อมเป็นไป ความเห็นอย่างนี้จึงเป็นสัมมาทัศนะ” (วิสุทธิ.3/226)


** คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม รุ่นอรรถกถาฎีกา ชี้แจงว่า บัญญัติ (concept; name;

designation) เป็นกาลวินิมุต (พ้นจากกาล, ไม่ขึ้นกับกาลเวลา) เพราะไม่มีความพินาศ

แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่มีจริง กาลก็เป็นบัญญัติ ซึ่งมีขึ้นด้วยอาศัยปรากฏการณ์ (สงฺคณี อ.129;

สงฺคห.ฎีกา. 124)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ม.ค. 2013, 21:04, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณค่าทางจริยธรรม


กล่าวโดยสรุป ค่าที่ต้องการในทางจริยธรรมของหลัก กรรม มีดังนี้


1) ให้เป็นผู้หนักแน่ในเหตุผล รู้จักมองเห็นการกระทำและผลการกระทำ ตามแนวทาง

ของเหตุปัจจัย ไม่เชื่อสิ่งงมงาย ตื่นข่าว เช่น เรื่องแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น


2) ให้เห็นว่า ผลสำเร็จที่ตนต้องการ จุดหมายที่ปรารถนาจะเข้าถึง จะสำเร็จได้ด้วยการลงมือทำ

-จึงต้องพึ่งตน และทำความเพียรพยายาม

-ไม่รอคอยโชคชะตา หรือหวังผลด้วยการอ้อนวอนเซ่นสรวงต่อปัจจัยภายนอก


3)ให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ที่จะงดเว้นจากกรรมชั่ว และรับผิดชอบต่อผู้อื่น

ด้วยการกระทำความดีต่อเขา


4)ให้ถือว่า บุคคลมีสิทธิโดยธรรมชาติ ที่จะการต่างๆ เพื่อแก้ไขปรับปรุง สร้างเสริมตนเอง

ให้ดีขึ้นไป โดยเท่าเทียมกัน

สามารถทำตนให้เลวลงหรือให้ดีขึ้น ให้ประเสริฐจนถึงยิ่งกว่าเทวดา และพรหมได้ทุกๆคน


5)ให้ถือว่า คุณธรรม ความสามารถ ความประพฤติปฏิบัติ เป็นเครื่องวัดความทรามหรือประเสริฐ

ของมนุษย์ ไม่ให้มีการแบ่งแยกโดยชาติชั้นวรรณะ


6)ในแง่กรรมเก่า ให้ถือเป็นบทเรียน และรู้จักพิจารณาเข้าใจตนเองตามเหตุผล

ไม่ค่อยเพ่งโทษแต่ผู้อื่น มองเห็นพื้นฐานของตนเองที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุง

และวางแผนสร้างเสริมความเจริญก้าวหน้าต่อไปได้ถูกต้อง


7) ให้ความหวังในอนาคตสำหรับสามัญชนทั่วไป

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


คุณค่าเหล่านี้ พึงพิจารณาพุทธพจน์ต่อไปนี้ความหมายทั่วไป เช่น

“ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นเองเราเรียกว่ากรรม

บุคคลจงใจแล้ว จึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ"

(องฺ.ฉกฺก.22/334/463)


“สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์

มีกรรมเป็นที่พึงอาศัย

กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ทรามและประณีต”

(ม.อุ. 14/579/376)


“บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น

ผู้ทำดี ย่อมได้ดี ผู้ทำชั่ว ย่อมได้ชั่ว”

(สํ.ส. 15/903/333)


คำว่าดีว่าชั่ว แห่งคาถานี้ ศึกษารายละเอียดที่ลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15732


“บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี

บุคคลมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ย่อมเสพผลของกรรมใด กรรมนั้นทำแล้วไม่ดี

บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง

กรรมนั้นแล ทำแล้วเป็นดี”

(ขุ.ธ.25/15/23)


“บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง เสวยผลแห่งกรรมใด ด้วยใจแช่มชื่นเบิกบาน

กรรมนั้นทำแล้วเป็นการดี

บุคคลรู้กรรมใดว่า เป็นประโยชน์แก่ตน ควรรีบลงมือกระทำกรรมนั้นทีเดียว”

สํ.ส.15/281/81)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ม.ค. 2013, 21:04, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่อถืองมงาย เช่น


“คนพาลมีกรรมดำ (อกุศล) ถึงจะแล่นไปยัง (แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ต่างๆคือ) แม่น้ำพหุกา ท่าน้ำอธิกักกะ

ท่าน้ำคยา แม่น้ำสุนทริกา แม่น้ำสรัสวดี แม่น้ำปยาคะ และแม่น้ำพาหมดี เป็นนิตย์ ก็บริสุทธิ์ไม่ได้

แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำปยาคะ หรือ แม่น้ำพหุกา จักทำอะไรได้ จะชำระสรชนผู้มีเวร ผู้ทำกรรมอันหยาบช้า

ผู้มีกรรมชั่วนั้น ให้บริสุทธิ์ไม่ได้เลย

แต่ผัคคุณฤกษ์ (ฤกษ์ดีเยี่ยม) ย่อมสำเร็จทุกเมื่อ แก่บุคคลผู้บริสุทธิ์ อุโบสถก็สำเร็จทุกเมื่อ

แก่ผู้บริสุทธิ์

วัตรของบุคคลผู้หมดจดแล้ว มีการงานสะอาด ย่อมสำเร็จผลทุกเมื่อ

ดูกรพราหมณ์ ท่านจงอาบตนในคำสอนของเรานี้เถิด จงสร้างความเกษมแก่สัตว์ทั้งปวงเถิด

ถ้าท่านไม่กล่าวเท็จ ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ทำอทินนาทาน เป็นผู้มีศรัทธา หาความตระหนี่มิได้ไซร้

ท่านจะต้องไปท่าน้ำคยาทำไม แม้น้ำดื่มของท่านก็เป็นแม่น้ำคยาแล้ว”

(ม.มู.12/98/70)


“ถ้าแม้นบุคคลจะพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบน้ำ (ชำระบาป) กบ เต่า นาค จระเข้

และสัตว์เหล่าอื่นที่เที่ยวไปในแม่น้ำ ก็จะพากันไปสู่สวรรค์แน่นอน...

ถ้าแม่น้ำเหล่านี้ พึงนำบาปที่ท่านทำไว้แล้วในกาลก่อนไปได้ไซร้ แม่น้ำเหล่านี้ก็พึงนำบุญของท่านไปได้ด้วย”

(ขุ.เถรี.26/466/473)


“ความสะอาดจะมีเพราะน้ำ (ศักดิ์สิทธิ์) ที่คนจำนวนมากพากันไปอาบก็หาไม่

ผู้ใดมีสัจจะ มีธรรม ผู้นั้นจึงจะเป็นผู้สะอาด เป็นพราหมณ์”

(ขุ.อุ.25/46/81)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ผู้ใด ไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถืออุกกาบาต ไม่ถือความฝัน ไม่ถือลักษณะดีหรือชั่ว

ผู้นั้น ชื่อว่าล่วงพ้นโทษแห่งการถือมงคลตื่นข่าว ครอบงำกิเลสที่ผูกสัตว์ไว้ในภพ อันเป็นดุจคูกั้นเสียได้

ย่อมไม่กลับมาเกิดอีก”

(ขุ.ชา.27/87/28)

“ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้คอยนับฤกษ์อยู่ ประโยชน์เป็นตัวฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวจักทำอะไรได้”

(ขุ.ชา.27/49/16)

“บุคคลประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้น ได้ชื่อว่า เป็นฤกษ์ดี มงคลดี เป็นเช้าดี อรุณดี เป็นขณะดี ยามดี

และเป็นอันได้ทำบูชาดีแล้วในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย

แม้กายกรรมของเขา ก็เป็นสิทธิโชค

วจีกรรมก็เป็นสิทธิโชค

มโนกรรมก็เป็นสิทธิโชค

ประณิธานของเขาก็เป็นสิทธิโชค

ครั้นกระทำกรรมทั้งหลายที่เป็นเป็นสิทธิโชคแล้ว เขาย่อมได้ประสบแต่ผลที่มุ่งหมายอันเป็นสิทธิโชค”

(องฺ.ติก.20/595/379)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การลงมือทำ ไม่รอคอยความหวังจากการอ้อนวอนปรารถนา เช่น


“ไม่ควรหวนละห้อยถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่พึงเพ้อฝันถึงสิ่งที่อยู่ภายหน้า สิ่งใดเป็นอดีต สิ่งนั้นก็ผ่านไปแล้ว

สิ่งใดเป็นอนาคต สิ่งนั้นก็ยังไม่มาถึง

ส่วนผู้ใด เห็นประจักษ์ชัดสิ่งที่เป็นปัจจุบัน อันเป็นของแน่นอนไม่คลอนแคลน ขอให้ผู้นั้นครั้นเข้าใจ

ชัดแล้ว พึงเร่งขวนขวายปฏิบัติให้ลุล่วงไป ในที่นั้นๆ เร่งทำความเพียรเสียแต่วันนี้ ใครเล่าพึงรู้ว่าจะตาย

ในวันพรุ่ง เพราะว่า สำหรับพระยามัจจุบัน เจ้าทัพใหญ่นั้น เราทั้งหลายไม่มีทางผัดเพี้ยนเลย

ผู้ที่ดำรงชีวิตอยู่อย่างนี้ มีความเพียร ไม่เกียจคร้าน ทั้งกลางวันและกลางคืน ผู้นั้นแท้ พระสันตมุนี

ทรงขนานนามว่า ถึงอยู่ราตรีเดียวก็ประเสริฐ”

(ม.อุ.14/527/348 ฯลฯ)


“ดูกรคฤหบดี ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นของได้ยากในโลก คือ

อายุ...วรรณะ...สุข...ยศ...สวรรค์ ธรรม ๕ ประการนี้...เราไม่กล่าวว่าจะพึงได้มา

เพราะการอ้อนวอน หรือเพราะการตั้งปรารถนา

ถ้าการได้ธรรมทั้ง ๕ นี้ จะมีได้เพราะการอ้อนวอน หรือเพราะการตั้งปรารถนาแล้วไซร้ ใครในโลกนี้

จะพึงเสื่อมจากอะไร

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกผู้ปรารถนาอายุ (ยืน)ไม่พึงอ้อนวอนหรือมัวเพลิดเพลินกับอายุ เพราะการอยากได้อายุ

นั้นเลย

อริยสาวกผู้ปรารถนาอายุ พึงปฏิบัติข้อปฏิบัติที่จะเป็นใปเพื่ออายุ เพราะข้อปฏิบัติอันเป็นไปเพื่ออายุที่ปฏิบัติแล้ว

นั่นแหละ จึงจะเป็นไปเพื่อการได้อายุ

อริยสาวกนั้น ย่อมเป็นผู้ได้อายุ ไม่ว่าจะเป็นของทิพย์ หรือของมนุษย์ ...

ผู้ปรารถนาวรรณะ...สุข...ยศ...สวรรค์ ก็พึงปฏิบัติข้อปฏิบัติที่จะเป็นไปเพื่อวรรณะ...สุข...ยศ...

สวรรค์...”

(องฺ.ปญฺจก.22/43/51)


“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่หมั่นประกอบความเพียรในการฝึกอบรมจิต ถึงจะมีความปรารถนาว่า “ขอให้จิต

ของเราหลุดพ้นจากอาสวะเถิด” ดังนี้ จิตของเธอจะหลุดพ้นไปจากอาสวะได้ก็หาไม่ ...เหมือนไข่ไก่

๘ ฟองก็ตาม ๑๐ ฟองก็ตาม ๑๒ ฟองก็ตาม ที่แม่ไก่ไม่นอนทับ ไม่กก ไม่ฟัก

ถึงแม้แม่ไก่มีความปรารถนาว่า “ขอให้ลูกของเราใช้ปลายเล็บหรือจะงอยปาก ทำลายเปลือกไข่ออกมาโดย

สวัสดีเถิด” ดังนี้ ลูกไก่จะใช้ปลายเล็บ หรือจะงอยปาก ทำลายเปลือกไข่ออกมาได้ก็หาไม่”

(สํ.ข. 17/261/186)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ก.พ. 2010, 18:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การพึ่งตนเอง เช่น


“การเพียรพยายาม เป็นหน้าที่ที่ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกทาง”

(ขุ.ธ.25/30/51)

“ตนนั่นแหละเป็นที่พึงแห่งตน คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ ด้วยตนที่ฝึกไว้ดีแล้วนั่นแหละ บุคคลชื่อว่า

ได้ที่พึ่งที่หาได้ยาก”

(ขุ.ธ.25/22/36)

“ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน คนอื่นทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้”

(ขุ.ธ.25/22/37)

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงมีตนเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย จงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด

อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย”

(ที.ม.10/94/119 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ม.ค. 2013, 21:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2010, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การไม่ถือชาติชั้นวรรณะ ถือความประพฤติเป็นประมาณ เช่น


“ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ในหมู่มนุษย์

ผู้ใดอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นชาวนา มิใช่พราหมณ์

ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยศิลปะต่างๆ ผู้นั้นเป็นศิลปิน มิใช่พราหมณ์

ผู้ใดอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นพ่อค้า มิใช่พราหมณ์

ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยการรับใช้ผู้อื่น ผู้นั้นเป็นคนรับใช้ มิใช่พราหมณ์

ผู้ใดอาศัยการลักทรัพย์เลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นโจร มิใช่พราหมณ์ ฯลฯ ผู้ใดปกครองบ้านเมือง ผู้นั้นเป็นราชา

มิใช่พราหมณ์”


“เรามิได้เรียกคนเป็นพราหมณ์ ตามที่เกิดมาจากท้องมารดา ผู้นั้นยังมีกิเลส เป็นแต่สักว่าโภวาที

(ธรรมเนียมพราหมณ์เรียกทักทายคนอื่นว่า “โภ”) เท่านั้น เราเรียกคนที่ไม่มีกิเลส ไม่มีความยึดมั่น

ต่างหาก ว่าเป็นพราหมณ์”


“อันนามและโคตรที่กำหนดตั้งกันไว้นี้ เป็นแต่สักว่าโวหารในโลกเพราะเกิดมีขึ้นมาตามคำเรียกขานที่กำหนด

ตั้งกันไว้ในคราวนั้นๆ ตามทิฐิอันนอนเนื่องอยู่ในหทัยสิ้นกาลนานของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่รู้ สัตว์ทั้งหลาย ผู้ไม่รู้

ก็พร่ำกล่าวว่าคนเป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่บุคคลจะเป็นพราหมณ์เพราะชาติ (กำเนิด) ก็หาไม่

จะมิใช่พราหมณ์เพราะชาติก็หาไม่ จะชื่อว่าเป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม ไม่ใช่พราหมณ์ก็เพราะกรรม

เป็นชาวนาก็เพราะกรรม (การงานอาชีพที่ทำ)* เป็นศิลปินก็เพราะกรรม เป็นพ่อค้าก็เพราะกรรม

เป็นคนรับใช้ก็เพราะกรรม เป็นโจรก็เพราะกรรม ฯลฯ เป็นราชาก็เพราะกรรม

บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรมและวิบาก ย่อมเห็นกรรมนั้นแจ้งชัดตามความเป็นจริงว่า

โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม สัตว์ทั้งหลาย

ถูกผูกยึดกันไว้ด้วยกรรมเหมือนลิ่มสลักของรถที่กำลังแล่นไปฉะนั้น”

(ม.ม.13/707/644ฯลฯ)

(* กรรม แปลว่าการกระทำ แต่บางแห่งมีความหมายแคบลง หมายถึงการงานที่อาศัยเลี้ยงชีพ)


“ดูกรพราหมณ์ เราจะเรียกคนว่าประเสริฐ เพราะความเป็นผู้เกิดในตระกูลสูงก็หาไม่

เราจะเรียกคนว่าต่ำทราม เพราะความเป็นผู้เกิดในตระกูลสูงก็หาไม่

เราจะเรียกคนว่าประเสริฐ เพราะความเป็นผู้มีวรรณะใหญ่โตก็หาไม่

เราจะเรียกคนว่าต่ำทราม เพราะความเป็นผู้มีวรรณะใหญ่โตก็หาไม่

เราจะเรียกคนว่าประเสริฐ เพราะความเป็นผู้มีโภคะมากมายก็หาไม่

เราจะเรียกคนว่าต่ำทรามเพราะความเป็นผู้มีโภคะมากก็หาไม่

แท้จริงบุคคลบางคน แม้เกิดในตระกูลสูง ก็ยังเป็นผู้ชอบฆ่าฟัน ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม

พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดคำเพ้อเจ้อ เป็นคนละโมบ คิดเบียดเบียน เป็นมิจฉาทิฏฐิ”

(ม.ม.13/664/612)


“บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติ ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็นถ่อยเพราะกรรม

เป็นพราหมณ์เพราะกรรม (การกระทำ ความประพฤติ)”

(ขุ.สุ.25/306/352)

“วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร ออกบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว

ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย นับว่าเป็นสมณศากยบุตรทั้งสิ้น”

(องฺ.อฏฺฐก.23/109/205)

“บรรดาวรรณะทั้งสี่นี้ ผู้ใดเป็นภิกษุสิ้นกิเลสาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ตนจะต้องทำ

สำเร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ลุถึงประโยชน์ตนแล้ว หมดเครื่องผูกมัดไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้

ชอบ ผู้นั้นแล เรียกได้ว่าเป็นผู้เลิศกว่าวรรณะทั้งหมดนั้น”

(ขุ.ธ.25/30/51)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ก.พ. 2010, 21:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร