วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 14:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2008, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ผู้ปฏิบัติถูกต้องต่อกามสุข ย่อมก้าวหน้าไปสู่สุขที่ประณีตได้ง่ายขึ้น เมื่อประสบสุขประณีตแล้ว

สุขประณีตนั้น ก็กลับเป็นเครื่องช่วยควบคุมการแสวงหา และการเสพเสวยกามสุขให้อยู่ในขอบเขต

แห่งความดีงาม เพราะบุคคลผู้นั้นเห็นคุณค่าของสุขประณีตสูงกว่า และความสุขประณีตต้องอาศัย

กุศลธรรม

ครั้นบุคคลนั้นบรรลุภูมิธรรมสูงยิ่งขึ้นไปอีก ประสบสุขประณีตยิ่งขึ้นไปอีก ในที่สุดก็จะไม่วกเวียนมาหา

กามสุขอีกเลย


จากนี้ พึงทราบความสุขประณีตในระดับตั้งแต่ฌานสุขขึ้นไป ว่ามีเค้าความรู้สึกอย่างไร

ดังที่ท่านแสดงไว้โดยอุปมา สรุปมาพิจารณากันดูต่อไปนี้

ก้าวสุดท้าย ก่อนจะบรรลุฌาน ก็คือการละนิวรณ์ 5 (กามฉันท์ (=อภิชฌา)

พยาบาท ถีนมิทธะ อุทฮัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา) ได้

ผู้ละนิวรณ์แล้ว จะมีความรู้สึกปลอดโปร่งโล่งเบาสบายและอิ่มใจเกิดขึ้นเป็นพื้นนำของการจะได้

ความสุขในฌานต่อไป

ดังที่ท่านอุปมาไว้ 5 ประการ


1. เปรียบเหมือนการเกิดความปราโมทย์มีโสมนัสชื่นฉ่ำใจของคนที่เคยกู้ยืมเงินคนอื่น

มาประกอบการงาน แล้วประสบความสำเร็จ ใช้หนี้สินได้หมดแล้วและยังมีเงินเหลือไว้

เลี้ยงครอบครัว

2. เปรียบเหมือนการเกิดความปราโมทย์มีโสมนัสชื่นฉ่ำใจของคนที่ฟื้นหายจากความเจ็บป่วย

เป็นไข้หนักกินข้าวกินปลาได้ มีกำลังกายแข็งแรง

3. เปรียบเหมือนการเกิดความปราโมทย์มีโสมนัสชื่นฉ่ำใจของคนที่พ้นจากการถูกจองจำไปได้

โดยสวัสดี ไม่มีภัย และไม่ต้องเสียทรัพย์สิน

4. เปรียบเหมือนการเกิดความปราโมทย์มีโสมนัสชื่นฉ่ำใจของคนที่หลุดพ้นจากความเป็นทาส

อาศัยตนเองได้ ไม่ขึ้นกับคนอื่น เป็นไทแก่ตัว จะไปไหนก็ไปได้ตามใจปรารถนา

5. เปรียบเหมือนการเกิดความปราโมทย์มีโสมนัสชื่นฉ่ำใจของคนมั่งมีทรัพย์ ผู้เดินทางข้ามพ้น

หนทางไกลกันดาร ที่หาอาหารได้ยากและเต็มไปด้วยภยันตราย มาถึงถิ่นบ้านอันเกษม

ปลอดภัยโดยสวัสดี




ต่อแต่นั้น ก็จะได้ประสบความสุขสบายในฌานที่ประณีตดียิ่งกว่านั้นขึ้นไปอีกตามลำดับ

กล่าวคือ

ในฌานที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ผู้ปฏิบัติทำกายของตน

ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและความสุข ไม่มีส่วนใดของกายทั่วทั้งตัว ที่ปีติและ

ความสุขจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนแป้งสีกายที่เขาเทใส่ภาชนะสำริด เอาน้ำพรมปล่อย

ไว้ พอถึงเวลาเย็น ก็มียางซึมไปจับติดถึงกันทั่วทั้งหมด ไม่กระจายออก


ในฌานที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยปีติ สุข และเอกัคคตา ผู้ปฏิบัติทำกายให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบ

ซ่านด้วยปีติและความสุขที่เกิดจากสมาธิ อย่างทั่วไปหมดทั้งตัว เปรียบเหมือนห้วงน้ำ

ลึก ที่น้ำผุดขึ้นภายใน ไม่มีน้ำไหลจากที่อื่นหรือแม้แต่น้ำฝนไหลเข้ามาปน กระแสน้ำเย็น

ผุดพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้น ทำให้ห้วงน้ำนั้นเองชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมเยือกเย็นทั่วไปหมดทุกส่วน


ในฌานที่ 3 ซึ่งประกอบด้วยสุข และเอกัคคตา ผู้ปฏิบัติทำกายให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน

ด้วยความสุขที่ปราศจากปีติทั่วไปหมดทุกส่วน เปรียบเหมือนกอบัวเหล่าต่างๆ ที่เติบโตขึ้นมา

ในน้ำ แช่อยู่ในน้ำและน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ย่อมชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นทั่วไปหมด

ทุกส่วน ตั้งแต่ยอดตลอดเหง้า


ในฌานที่ 4 ซึ่งประกอบด้วยอุเบกขาและเอกัคคตา ผู้ปฏิบัติแผ่จิตอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไปทั่ว

ทั้งกาย เหมือนเอาผ้าขาวล้วนบริสุทธิ์มานุ่งห่มตัวตลอดหมดทั้งศีรษะ

(ที.สี.9/126-130/96-100 ฯลฯ)

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

ต่อจากความสุขในฌาน 4 นี้ไป ก็มีความสุขในอรูปฌานอีก 4 ขั้น ซึ่งประณีตยิ่งขึ้นไปตาม

แนวเดียวกันนี้โดยลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ก.ย. 2010, 08:44, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2008, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้ว่า ฌานสุขทั้งหลาย จะประณีตลึกซึ้งดีเยี่ยมกว่า กามสุข แต่ก็ยังมีข้อบกพร่อง

หลายอย่าง มิใช่ความสุขที่สมบูรณ์

มีพุทธพจน์ตรัสว่า ในอริยวินัย เรียก กามคุณ 5 ว่าเป็นโลก หรือว่าโลกก็คือกามคุณ 5 นั่นเอง

ผู้ยังติดอยู่ในกามสุข ก็คือติดข้องอยู่ในโลก

ผู้ใดเข้าถึงฌาน จะเป็นรูปฌานหรืออรูปฌานก็ตาม ท่านเรียกผู้นั้นว่า ได้มาถึงที่สุดโลกแล้ว

และอยู่ ณ ที่สุดแห่งโลก

แต่ยังเป็นผู้เนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตัวไม่พ้นจากโลก


ส่วนผู้ใดก้าวล่วงอรูปฌานขั้นสุดท้ายไปได้แล้ว เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ และเป็นผู้หมด

อาสวะ เพราะเห็น (สัจธรรม) ด้วยปัญญา

ผู้นี้จึงจะเรียกได้ว่า ได้มาถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว อยู่ ณ ที่สุดแห่งโลก และทั้งได้ข้ามพ้นโยงใย

ที่เหนี่ยวพันให้ติดอยู่ในโลกไปได้แล้ว*

(* พ้นจากตัณหาเป็นเครื่องข้อง- องฺ.นวก.23/242/448 ) นี้คือการมาถึงความสุขขั้นสุดท้าย

หรือ สุขที่สมบูรณ์ของผู้มีจิตใจเป็นอิสระ ได้แก่ สุขของผู้บรรลุนิพพานแล้ว ซึ่งรวมถึงสุขเนื่อง

ด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ อันเป็นสุขขั้นที่ 10 ในบรรดาสุข 10 ขั้น ที่กล่าวถึงมาโดยลำดับ


ข้อบกพร่อง ซึ่งทำให้ฌานสุขไม่สมบูรณ์ เฉพาะที่สำคัญคือ ภาวะในฌานยับไม่โปร่งโล่ง

เต็มที่ ยังถูกจำกัด

มีความคับแคบด้วยสัญญาและองค์ธรรมอื่นๆ ที่เนื่องอยู่ในฌานนั้นๆ ยังมีความคำนึงนึกด้วยสัญญา

เกี่ยวกับฌานขั้นต่ำกว่าฟุ้งขึ้นมาในใจได้ จึงยังนับว่ามีสิ่งรบกวนหรือมีความบีบเบียน

ถึงแม้จะจัดเป็นนิรามิสสุข แต่ก็ยังเป็นเหตุให้ติดให้ยึดเกิดความถือมั่น คืออุปาทานได้

อาจกลายเป็นเครื่องขัดขวางการบรรลุนิพพาน หรือขัดขวางความสุขสมบูรณ์ที่สูงขึ้นไป

จึงยังเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอ ยังต้องก้าวข้ามหรือละไปเสียให้ได้ เป็นภาวะปรุงแต่งถูกปัจจัย

ทางจิตสรรค์สร้างขึ้นมา ไม่เที่ยงแท้ จะต้องดับไปตามสภาวะ และเป็นภาวะเสื่อมถอยได้


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของฌานสุขคือ ยังเป็นสุขระดับเวทนา

หมายความว่า เป็นสุขที่

เกิดจากการเสวยอารมณ์ หรือเสพรสอารมณ์ ถ้ามองในแง่นี้ ฌานสุขก็ยังมีลักษณะร่วม

อย่างหนึ่งกับกามสุข คือเป็นสุขเวทนา

โดยนัยนี้ สุข 9 ขั้นต้น จึงอาจจัดเข้าเป็นประเภทเดียวกันคือสุขอาศัยการเสพรสอารมณ์

เหลือแต่สุขขั้นสุดท้ายคือข้อที่ 10 อย่างเดียว ที่ต่างออกไป

โดยเป็นสุขแต่ไม่เป็นเวทนา หรือเป็นสุขได้โดยไม่ต้องมีการเสวยอารมณ์ จะเรียกว่าสุขเหนือ

เวทนาก็ได้

ตามที่ท่านแสดงไว้ มุ่งเอาสุขเนื่องด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธ

สัญญาเวทยิตนิโรธนี้เป็นสมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา จึงเป็นธรรมดาที่จะไม่มีเวทนา




อาจมีผู้สงสัยว่า ถ้าไม่มีเวทนาจะเป็นสุขได้อย่างไร เพราะความสุขเป็นเวทนาอย่างหนึ่ง

แต่ตามความเป็นจริง ความสุขที่ไม่เป็นเวทนาก็มี

ดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในเรื่องนี้ว่า

“อานนท์ ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าถึง

สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้แลคือความสุขอื่นที่ดีเยี่ยมกว่าและประณีตกว่าความสุข

(ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้น”

“อาจเป็นไปได้ที่อัญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงกล่าวว่า พระสมณโคดมตรัสสัญญาเวทยิตนิโรธไว้

และทรงบัญญัติ (จัดเอา) สัญญาเวทยิตนิโรธนั้นเข้าในความสุขด้วย ข้อนั้นคืออะไรกัน

ข้อนั้นเป็นได้อย่างกัน

ท่านพึงกล่าวชี้แจงกะอัญเดียรถีย์ปริพาชกที่พูดอย่างนั้นว่า นี่แน่ะท่าน พระผู้มีพระภาคจะ

ทรงบัญญัติในความสุข หมายเอาเฉพาะสุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ในที่ใดๆหา

ความสุขได้ ในภาวะใดๆมีความสุข พระตถาคตย่อมทรงบัญญัติฐานะภาวะนั้นๆ

ในความสุข (คือจัดเอาฐานะหรือภาวะนั้นๆเข้าเป็นความสุข)”

(ม.ม.13/102/98 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 เม.ย. 2011, 17:49, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2008, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
สาธุครับ ท่านกรัชกาย ติดตามอ่านจนจบแล้วครับ

ก่อนอื่นที่ท่านกรัชกายได้แสดงความเห็นในเรื่องของนักกายกรรม ผมคิดว่าเป็นอย่างนั้นก็ได้เช่นกันครับ เพราะเนื้อความผมเห็นว่าสามารถตีความได้หลายอย่าง ขึ้นอยู่กับตีความไปทางด้านใด ที่ผมตอบไปก็มุ่งด้านคุณค่าทางจริยธรรม คือ ประโยชน์ต่อเรา-ผู้อื่น สังคม ส่วนท่านกรัชกายจะมุ่งในแง่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรบ้าง คือ ประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและชาติต่อๆ ไป แต่อย่างไรมีจุดเหมือนกัน คือ มุ่งให้เจริญสติปัฏฐานสี่เหมือนกัน...

ต่อมาผมได้อ่านธรรมะที่ท่านได้นำมาลงจบแล้ว เกิดต้องการทราบความคิดเห็นจากท่านกรัชกายบางประการ รบกวนถามท่านกรัชกายช่วยแสดงความคิดเห็น หรือช่วยตอบเป็นความรู้ด้วยนะครับ :b10:

1.สุขจากผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ กับสุขจากการบรรลุนิพพานของผู้ไม่ที่ยังได้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือไม่ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ เหมือนกันหรือไม่ครับ

2. ท่านกรัชกายคิดว่าผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เหมือนกับสภาวะของพระอรหันต์ที่มรณภาพแล้วหรือไม่ครับ

3. ผมเคยได้ยินมีผู้กล่าวว่า ใน 1 ปีจะมีช่วงการไปเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธประมาณ 3 เดือน คือได้ยินเขาเรียกย่อๆ ว่า "ไปเข้านิโรธ" อันนั้น คือ เหมือนกันกับสัญญาเวทยิตนิโรธที่ท่านกรัชกายกล่าวถึงไปหรือไม่ครับ เพราะเท่าที่ผมทราบผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธจะเข้าได้นานที่สุดไม่เกิน 7 วันครับ

4. ผู้ที่เข้าฌานสมาบัติ ที่ไม่ใช่สัญญาเวทยิตนิโรธ จะอยู่ในฌานสมาบัติได้โดยไม่กินอะไรเป็นปีๆ ได้หรือเปล่าครับ ทรงอยู่ในฌานสมาบัตินานกว่าเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอีกหรือเปล่าครับ

รบกวนท่านกรัชกายด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2008, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ก่อนอื่นที่ท่านกรัชกายได้แสดงความเห็นในเรื่องของนักกายกรรม ผมคิดว่าเป็นอย่างนั้นก็ได้เช่นกันครับ เพราะเนื้อความผมเห็นว่าสามารถตีความได้หลายอย่าง ขึ้นอยู่กับตีความไปทางด้านใด ที่ผมตอบไปก็มุ่งด้านคุณค่าทางจริยธรรม คือ ประโยชน์ต่อเรา-ผู้อื่น สังคม

ส่วนท่านกรัชกายจะมุ่งในแง่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรบ้าง คือ ประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและชาติต่อๆ ไป แต่อย่างไรมีจุดเหมือนกัน คือ มุ่งให้เจริญสติปัฏฐานสี่เหมือนกัน...


ที่คุณ ศิรัสพล วิจารณ์ธรรมคลุมหมดแล้ว
แต่กรัชกายเน้นในแง่ว่า ผู้ฝึกสติอย่างถูกวิธี คุณธรรมนั้นๆจะเกิดอยู่ภายในของผู้นั้นเอง ใครทำใครได้ แล้วคุณธรรมมีสติเป็นต้น ยังส่งผลถึงการดำรงชีวิตประจำวัน หรือในการทำหน้าที่ของตนๆในแต่ละวันๆด้วย นี่เรียกว่าโลกียธรรม หรือจะเรียกว่าจริยธรรมก็ได้

ส่วนโลกุตรธรรมก็คือคุณธรรมที่สูงขึ้น คือเจริญยิ่งขึ้นไปจนถึงการกำจัดทุกข์โทมนัสเป็นต้นในชาตินี้เองได้ด้วย โดยไม่ต้องรอถึงชาติหน้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2008, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณศิรัสพลอ่านแล้วพิจารณาต่อไปอีก สัก 2-3 คห. ก็จะเห็นคำตอบ


สัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นภาวะคล้ายนิพพาน และสุขโดยไม่มีการเสวยอารมณ์หรือสุขไม่เป็น

เวทนาแห่งสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็เป็นประดุจนิพพานสุข

(ดูวิสุทธิ.3/365 ฯลฯ)

เรื่องนี้ พระสารีบุตรก็เคยอธิบายไว้ในนิพพานสูตร

(องฺ.นวก.23/238/429)

ความย่อว่า ครั้งหนึ่งท่านได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข

นิพพานนี้เป็นสุข”

และพระอุทายีได้ถามท่านว่า จะมีความสุขได้อย่างไรในภาวะที่ไม่มีการเสวยอารมณ์

พระสารีบุตรตอบว่า นิพพานที่ไม่มีการเสวยอารมณ์ (ไม่มีเวทนา) นี่แหละเป็นสุข

จากนั้น ท่านได้อธิบาย ด้วยวิธียกตัวอย่างภาวะในสมาบัติเป็นเครื่องเทียบเคียงให้เข้าใจโดยนัยอ้อม

ตามคำอธิบายของพระสารีบุตรนั้น

ท่านมิได้ใช้เฉพาะแต่สัญญาเวทยิตนิโรธอย่างเดียวเท่านั้นเป็นเครื่องเทียบ

ท่านใช้ภาวะในฌานทุกชั้น ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปทีเดียว เป็นเครื่องแสดงให้เห็นแง่ที่จะเทียบเครื่อง

เข้าใจความสุขแห่งภาวะนิพพานได้ กล่าวคือ ในฌานแต่ละขั้นตามปกติ

จะมีสัญญามนสิการ (ความคำนึกนึกด้วยสัญญา) ที่เกี่ยวข้องกับฌานชั้นต่ำกว่าที่ถัดลงไป

ฟุ้งขึ้นมาในใจได้

เช่นผู้ที่บรรลุฌานที่ 3 ซึ่งปราศจากปีติ มีเฉพาะสุขและเอกัคคตา ก็ยังมีสัญญามนสิการที่ประกอบ

ด้วยปีติคอยฟุ้งเข้ามาในใจได้

การที่สัญญามนสิการเช่นนี้ฟุ้งขึ้นมา นับว่าเป็นอาการรบกวน เป็นสิ่งบีบคั้น ทำให้ไม่สบายสำหรับ

ผู้ที่กำลังอยู่ในฌานนั้นๆ-

(คำว่ารบกวนบีบคั้นทำให้ไม่สบายนี้ ท่านใช้คำว่า อาพาธ ที่ปกติแปลกันว่า ความเจ็บไข้หรือ

ป่วย)

อาการรบกวน บีบคั้น ทำให้ไม่สบายนี้เอง คือสิ่งที่เรียกว่าความทุกข์ เหมือนกับคนที่มีความสุข

ถ้าจะเกิดมีทุกข์ก็คือเกิดสิ่งที่รบกวนบีบคั้นทำให้ไม่สบาย

โดยนัยนี้ เมื่อไม่มีสัญญามนสิการฟุ้งขึ้นรบกวน ผู้อยู่ในฌานใด ก็ดื่มด่ำในฌานนั้นเต็มที่

ดังนั้น ภาวะในฌานตามปกติของมันเอง

แม้ไม่มองในแง่ของเวทนา ก็นับว่าเป็นความสุขอยู่แล้วในตัว


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

พูดอีกนัยหนึ่งว่า จะเห็นว่าภาวะของฌานเป็นความสุข ก็เมื่อเอาอาการรบกวนบีบคั้นเข้ามา

เทียบ ภาวะโปร่งโล่งเต็มอิ่มสมบูรณ์ตามปกติเช่นที่เป็นไปในฌานต่างๆ ในเมื่อไม่มี

สัญญามนสิการฟุ้งขึ้นรบกวนบีบเบียนนี้แหละ พอจะเป็นเครื่องเทียบให้เข้าใจได้โดยอ้อม

ถึงความสุขแห่งนิพพาน หรือว่าสุขแห่งนิพพาน ก็คือภาวะที่โปร่งโล่งเป็นอิสระเต็มเปี่ยม

สมบูรณ์ที่ไม่มีอะไรๆรบกวนบีบคั้นกดดันแต่อย่างใดเลย



วิธีอธิบายของพระสารีบุตรอย่างนี้ นับว่าเป็นวิธีให้เข้าใจความสุขโดยเอาความทุกข์เข้า

เทียบ คือเมื่อสมบูรณ์ดีเป็นปกติ ไม่มีทุกข์ ก็เป็นสุข

ที่ว่าไม่มีทุกข์นั้นเป็นไปได้ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ

ในทางลบคือ ถูกบีบคั้นบั่นรอนกดดันเหมือนถูกกดให้ยุบลงไปหรือทำให้ขาดให้พร่อง

ต้องแก้ด้วยให้พ้นจากสิ่งกดบีบหรือเติมให้เต็มถึงสภาพสมบูรณ์ปกติอย่างเดิม


ในทางบวก คือถูกเร้าถูกลนให้ยึดพองเป่งบวม ก็เป็นภาวะเสมือนบกพร่องขาดแคลนเช่นเดียว

กัน ต้องแก้ไขให้กลับคืนสภาพสมบูรณ์เป็นปกติอย่างเดิมอีก การสนองความต้องการโดย

แก้ไขสภาพที่ผิดปกติไปอย่างนี้ ภาษาปุถุชนอาจเรียกว่าเป็นการแสวงหาความสุข หรือการได้

เสวยความสุข แต่โดยสภาวะที่แท้แล้วก็คือการเกิดทุกข์ขึ้น แล้วแก้ไขทุกข์ ทำให้ทุกข์ระงับ

ไป หรือทำให้คืนสภาพสมบูรณ์เป็นปกติเดิมนั่นเอง

วิธีอธิบายแนวนี้ ก็ตรงกับความหมายของนิพพานในแง่ที่เป็นภาวะไร้โรค มีสุขภาพดี สมบูรณ์

แข็งแรงอย่างที่กล่าวข้างต้น

ความมีสุขภาพดี มีความแข็งแรงสบายเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ตามปกติอาจไม่รู้สึก

ว่าเป็นความสุข เพราะไม่ได้เสพเสวยอารมณ์อะไร แต่จะรู้สึกได้ว่าเป็นความสุขยิ่งใหญ่

สำคัญที่สุดเมื่อเอาอาพาธคือโรคหรือความเจ็บไข้เข้ามาเทียบ

พูดอีกนัยหนึ่งว่า เมื่อเจ็บไข้จึงจะรู้ว่าความมีสุขภาพดีหรือภาวะไร้โรค เป็นความสุขอันยิ่ง

ใหญ่


อีกอย่างหนึ่ง จิตใจที่ปราศจากสิ่งมัวหมองรบกวน ไม่มีอะไรคั่งค้างกังวล ไม่เกาะเกี่ยวพัวพัน

อยู่กับอารมณ์ที่เสพเสวยอย่างใดๆ ย่อมปลอดโรงเปิดกว้าง แผ่ออกไปได้อย่างไร้ขีด

จำกัด มีลักษณะอย่างที่ท่านเรียกว่า “มีจิตไร้เขตแดน”

(ม.อุ. 14/156/117 ฯลฯ )

ภาวะจิตเช่นนี้ จะให้เกิดความรู้สึกอย่างไร จะเป็นสุข ผ่องใสเบิกบาน โปร่งโล่งอย่างไร

เป็นประสบการณ์เฉพาะที่ผู้หลุดพ้นแล้วมีเป็นพิเศษต่างหากจากปุถุชนทั้งหลาย ซึ่งปุถุชนไม่เคย

ได้ประสบ จึงยากที่จะนึกคิดคาดคะเนให้แจ้งแก่ใจ

แต่ก็คงจะพอนึกถึงได้ว่าจะต้องเป็นภาวะที่เลิศล้ำอย่างหนึ่ง

เมื่อมองให้ถึงตัวสภาวะ สุขที่ยังเป็นเวทนาหรือสุขที่ยังอาศัยการเสวยอารมณ์ ล้วนเป็นทุกข์

ทั้งสิ้น เพราะสุขเวทนาก็เช่นเดียวกับเวทนาอื่นๆ (คือทุกข์และอทุกขมสุข)

ล้วนเป็นสังขารธรรม (หมายถึงสังขารในความหมายของสังขตธรรม ไม่ใช่สังขารในขันธ์ 5)

จึงย่อมเป็นทุกข์ทั้งสิ้น (หมายถึงทุกข์ในไตรลักษณ์)

ดังพุทธพจน์ตรัสชี้แจงแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดังนี้

ภิกษุ: เมื่อข้าพระองค์หลีกเร่นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความครุ่นคิดในใจอย่างนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาไว้ 3 อย่างคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุข

เวทนา.... แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสข้อความนี้ไว้ด้วยว่า การเสวยอารมณ์ (เวทนา)

ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด ล้วนจัดเข้าในทุกข์

ข้อที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าการเสวยอารมณ์ไม่ว่า อย่างหนึ่งอย่างใดล้วนจัดเข้าในทุกข์ดังนี้

พระองค์ตรัสหมายถึงอะไร หนอ ?”

พระพุทธเจ้า: ถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ

เรากล่าวเวทนาไว้ 3 อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา...

แต่เราก็ได้กล่าวข้อความนี้ไว้ด้วยว่า การเสวยอารมณ์ ไม่ว่า อย่างหนึ่งอย่างใด ล้วนจัดเข้า

ในทุกข์ ความข้อ (หลัง) นี้... เรากล่าวหมายถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายนั่นแลเป็นสิ่งไม่เที่ยง...

เรากล่าวหมายถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายนั่นแลมีความสิ้น

ความสลาย ความจางหาย ความดับ ความแปรปรวนไปได้เป็นธรรมดา” -

(สํ.สฬ. 18/393/268


เมื่อใด รู้เข้าใจตามเป็นจริงว่าเวทนาทั้ง 3 คือ สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี อทุกขมสุขก็ดี

ล้วนไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยต่างๆปรุงแต่งขึ้น เป็นของอาศัยกันๆเกิดขึ้น มีอันจะต้องสิ้น

ต้องสลาย ต้องจางหาย ต้องดับไปเป็นธรรมดา แล้วหมดใคร่หายติดในเวทนาทั้ง 3 นั้น

จนจิตหลุดพ้นเป็นอิสระแล้ว -

(ม.ม. 13/273/267)

เมื่อนั้น จึงจะประสบสุขเหนือเวทนา หรือ สุขที่ไม่เป็นเวทนา ไม่อาศัยการเสวยอารมณ์

ที่เป็นขั้นสูงสุด


:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

ข้อที่เวทนาเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนได้เป็นธรรมดา นี้เป็นข้อเสีย

(อาทีนวะ) ของเวทนาทั้งหลาย -

ม.มู.12/206/177

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 19:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2008, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนาจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยผัสสะ คือการรับรู้ที่เกิดจากอายตนะมีตาเป็นต้น ประจวบกับ

อารมณ์ มีรูปเป็นต้น แล้วเกิดการเห็น การได้ยินเป็นต้น

พูดง่ายๆ แง่หนึ่งว่า เวทนาต้องอาศัยอารมณ์

ถ้าไม่มีอารมณ์ เวทนาก็เกิดไม่ได้ เวทนาจึงแปลว่าการเสวยอารมณ์ หรือเสพรสอารมณ์

เมื่อเวทนาต้องอาศัยอารมณ์ สุขที่เป็นเวทนา ก็ต้องอาศัยอารมณ์

ฌานสุขอาศัยเฉพาะธรรมารมณ์อย่างเดียว


แต่กามสุขต้องอาศัยอารมณ์ทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์ 5 อย่างต้น ที่เรียกว่า

กามคุณซึ่งเป็นอามิส

โลกียปุถุชนดำเนินชีวิตโดยมุ่งแสวงหากามสุข จึงเท่ากับฝากความสุขความทุกข์

ฝากชีวิตของตนไว้กับอารมณ์เหล่านั้น

คราวใดกามคุณารมณ์พรั่งพร้อมอำนวย ก็สนุกสนานร่าเริง

คราวใดกามคุณารมณ์เหล่านั้นผันผวน ปรวนแปรไป หรือขาดแคลน ไม่มีอารมณ์

จะเสพเสวย ก็ซบเซาเศร้าสร้อยหงอยละเหี่ย

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:


ต่างจากท่านผู้รู้จักความสุขที่ประณีตสูงขึ้นไป เฉพาะอย่างยิ่งสุขที่ไม่อาศัยเวทนา ซึ่งไม่ฝาก

ชีวิตไว้กับอารมณ์เหล่านั้น ถึงแม้กามคุณอารมณ์จะเสื่อมสลายปรวนแปรไป ก็ยังคงเป็นสุขอยู่

ได้ ดังพุทธพจน์ว่า

“เทพและมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นที่ยินดี รื่นรมย์ด้วยรูป บันเทิงด้วยรูป...บันเทิงด้วยเสียง...

บันเทิงด้วยกลิ่น...บันเทิงด้วยรส...บันเทิงด้วยสัมผัสทางกาย...บันเทิงด้วยธรรมารมณ์

เพราะรูป...เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ แปรปรวน เลือนหาย ดับสลายไป

เทพและมนุษย์ทั้งหลายย่อมอยู่เป็นทุกข์

ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ทราบตามความเป็นจริงแล้ว ซึ่งความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่

ไม่ได้ คุณ โทษ ของรูป...เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์

พร้อมทั้งทางออก จึงไม่เป็นผู้มีรูปเป็นที่ยินดี ไม่รื่นรมย์อยู่ด้วยรูป ไม่บันเทิงอยู่ด้วยรูป...ฯลฯ

ธรรมารมณ์ เพราะรูป...เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ แปรปรวน

เลือนหาย ดับสลายไป ตถาคตก็อยู่เป็นสุขได้”

(สํ.สฬ.18/216-8/159-161 ฯลฯ)


ที่เป็นเช่นนี้ เพราะโลกียปุถุชนมีประสบการณ์จำกัด คับแคบ รู้จักแต่เพียงกามสุขอย่างเดียว

เวลาประสบสุขเวทนาสมปรารถนาก็เสวยสุขเวทนานั้นอย่างถูกมัดตัว ลุ่มหลงมัวเมาหมกมุ่น

ในกามสุข และในกามคุณยิ่งขึ้น

เวลาประสบทุกขเวทนา ก็โศกเศร้าหงอยเหงาหรือทุรนทุราย แล้วก็หันมาฝันใฝ่ครุ่นคำนึง

ฝากความหวังไว้กับกามสุขต่อไปอีก เพราะโลกียปุถุชนนั้น ไม่รู้ทางออกจากทุกขเวทนานอก

เหนือไปจากกามสุข

ส่วนอริยสาวกผู้รู้จักสุขประณีตกว่าแล้ว เมื่อประสบสุขเวทนาจากกามคุณารมณ์ ก็เสวยสุขเวทนา

นั้นอย่างไม่ถูกมัดตัว ไม่ลุ่มหลงมัวเมาหมกมุ่นตกเป็นทาสของกามคุณนั้น

ครั้นได้ประสบทุกขเวทนา ก็ไม่ซบเซาเศร้าทุรนทุราย และไม่หันไปใฝ่หากามสุข

เพราะรู้จัก นิสสรณะ คือทางออก หรือภาวะรอดพ้นเป็นอิสระที่ดีกว่า ซึ่งไม่ต้องอาศัยกาม

สุข คือมีประสบการณ์เกี่ยวกับความสุขที่กว้างขวางกว่า รู้จักความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า

ความสุขของท่านไม่ขึ้นต่อเวทนา ไม่จำเป็นต้องอาศัยการเสพอารมณ์เสมอไป-

(สํ.สฬ.18/363-371/254-9)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ธ.ค. 2010, 18:45, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสุขที่ไม่เป็นเวทนานี้ เป็นเรื่องยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจได้ เพราะไม่เคยประสบ

ตัวอย่างที่จะเทียบก็ไม่มี แต่กระนั้นก็อาจพูดให้เห็นเค้าว่า ตามปกติ

คนทั่วไปก็มีความสุขพื้นฐานอยู่อย่างหนึ่งซึ่งต่างจากความสุขจากการเสพรสอารมณ์

ความสุขพื้นฐานที่ว่านี้ เป็นทั้งความสุขโดยตัวของมันเอง และเป็นฐานรองรับที่ช่วยให้ได้รับ

ความสุขจากการเสพรสอารมณ์ต่างๆ ความสุขพื้นฐานนี้ได้แก่ภาวะที่จิตใจปลอดโปร่างผ่องใส

เจิดจ้า ไม่มีความมัวหมองวุ่นวายหรือเรื่องติดค้างกังวลใจใดๆ จะเรียกว่าจิตว่าง หรือ มีความ

สะอาดสว่างสงบหรืออย่างไรก็ตามที

ผู้ที่มีภาวะจิตเช่นนี้ย่อมเรียกได้ว่าเป็นผู้มีความสุข นี้เป็นขั้นที่หนึ่ง

ขั้นต่อไป ผู้มีความภาวะจิตใจเช่นนี้ ถ้าจะไปเสพเสวยอารมณ์ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นรูป เสียง กลิ่น

รส โผฏฐัพพะก็ตาม ก็จะได้รับความสุขจากการเสพเสวยอารมณ์นั้นๆเต็มที่

เรื่องนี้จะเห็นได้ชัดในทางตรงข้าม

เช่น คนผู้หนึ่งกำลังจะรับประทานอาหาร

ถ้าในเวลานั้นจิตใจของเขาไม่ปลอดโปร่งผ่องใส มีเรื่องโศกเศร้าหรือขุ่นมัวหรือกำลังกลัดกลุ้มกังวล

วุ่นวายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ว่าอาหารนั้นจะเป็นอาการอร่อยชนิดที่เขาเคยชอบ

แต่คราวนี้เขาอาจจะไม่รู้สึกอร่อยเลย อาจฝืนกินหรือถึงกับรับประทานไม่ลงก็ได้

แต่ถ้าจิตใจของเขาเบิกบานผ่องใส เขาจะรู้สึกรสอาหารเต็มที่

แม้บางทีอาหารไม่ดีนัก แต่เขาก็รับประทานได้อย่างอร่อย

:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:

ตัวอย่างเทียบในร่างกายก็มี นอกจากเรื่องร่างกายมีสุขภาพดีแข็งแรงอย่างที่กล่าวแล้ว พึงเห็นได้

เช่น คนมีร่างกายเปรอะเปื้อนฝุ่นหรือสิ่งสกปรกตัวเหนอะหนะด้วยเหงื่อ หรือเจ็บโน่นเจ็บนี่

ยุบยิบไป เขาจะลงนั่งฟังเพลงก็ไม่สบาย หรือจะลงมือทำงานอะไรที่ละเอียดก็ไม่ได้ผลดี

แต่ถ้าเขาได้ชำระล้างร่างกายให้สะอาดปลอดโปร่งโล่งเบาแล้ว จะเสพเสวยอารมณ์ใดก็ได้สุข

เต็มที่ จะลงมือทำงานที่ต้องการความประณีตใดๆก็จะทำได้ดี

เป็นอันว่า คนที่มีความสุขขั้นในหรือความสุขพื้นฐานแล้วยังจะเสวยความสุขชั้นนอก

หรือขั้นเสวยอารมณ์ได้ดีอีกด้วย

นอกจากผลดีในด้านความสุขแล้ว ยังจะได้ประสิทธิภาพในการทำงานของจิตเพิ่มเข้ามาอีก


ส่วนผู้ที่ขาดความสุขขั้นในแล้วก็เสียผลทั้งสองขั้น คือทุกข์ทั้งข้างในและข้างนอก ยิ่งกว่านั้น

ประสิทธิภาพในการทำงานของจิตก็เสียไปด้วย ความพื้นฐานขั้นในนี้ยังสามารถฝึกปรือให้บริสุทธิ์

เด่นชัด และประณีตลึกซึ้งขึ้นไปกว่าที่คนทั่วไปรู้ได้อีกมาก


ความสุขเนื่องด้วยนิพพาน ก็พึงนึกพอเป็นเค้าอย่างนี้

สรุปว่า นิพพานเป็นทั้งความสุขเอง และเป็นทั้งภาวะที่ทำให้พร้อมที่จะเสวยความสุข

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 17:14, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อคนวางใจถูกต้องต่อกาม คลายความติดพันในกามคุณ เลิกหมกมุ่นในกามสุขได้

เขาก็มีสิทธิ หรือ เป็นผู้พร้อมที่จะทำความรู้จักกับฌานสุขที่ประณีตลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป

เมื่อประสบฌานสุขแล้ว ถ้าเข้ายังต้องการเสพกามสุขอยู่

เขาก็จะเสพได้ตามปกติและมีความละเมียดละไม แต่เขาจะไม่ทำความชั่วเพราะเห็นแก่กามสุข

เพราะเขามองเห็นคุณค่าของฌานสุขสูงกว่า และฌานสุขนั้นก็ต้องอิงอาศัยความดีงาม

เมื่อเขาได้รับฌานสุขแล้ว จิตของเขาจะดื่มด่ำน้อมดิ่งไปในอารมณ์ของฌาน อันประณีต

ซึ่งมีหลายขั้นตอน ลึกซึ้งกว่ากันขึ้นไปโดยลำดับ จนถึงขั้นสูงสุดเป็นดังกลืนหายไปกับภาวะประณีต

ลึกซึ้งนั้น * ภูมิขั้นแห่งการบรรลุเช่นนี้นับว่าประเสริฐ สุดสูงสุดเลิศ ยากที่ใครๆ จะเข้าถึงได้


อย่างไรก็ตาม ผู้ใดสามารถปล่อยละความติดใจพัวพันในภาวะเลิศล้ำดื่มด่ำน้อมดิ่ง

ของฌานสมาบัติเหล่านี้ได้ คือถอนความติดในกามมาได้ขึ้นหนึ่งแล้ว ยังถอนความติดฌานสมาบัติ

ได้อีก ไม่มีความเกี่ยวเกาะติดพันในสิ่งใดๆเลย

เขาก็จะถึงภาวะหลุดพ้นเป็นอิสระโดยสมบูรณ์ นี้คือภาวะที่เรียกว่า นิพพาน เป็นภาวะที่ตรงข้าม

กันหมดกับภาวะที่กล่าวก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นกามหรือฌานสมาบัติก็ตาม เพราะในขณะที่ภาวะกาม

และฌานสมาบัติ ยังเป็นภาวะแห่งการเข้าหา เข้าไปยึด เข้าไปรวม

แต่นิพพานเป็นภาวะหลุดออกโปร่งโล่ง

แต่ทั้งที่เป็นภาวะตรงข้ามนี้แหละ ผู้ประจักษ์แจ้งนิพพานแล้วกลับเป็นผู้มีสิทธิหรือเป็นผู้พร้อม

ที่จะเสวยความสุขชนิดก่อนๆ ทั้งหมด ทั้งกามสุข และฌานสุข และเสวยได้อย่างดีที่สุด

โดยไม่มีพิษมีภัยอีกด้วย

การที่เขาปล่อยทิ้งหรือตัดใจจากฌานสมาบัติทั้งหมดมาได้ กลับทำให้เขาสามารถเข้าถึง

สมาบัติอื่นที่สูงยิ่งขึ้นไปกว่านั้นได้อีก

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


เป็นอันว่าผู้ประจักษ์นิพพาน ได้ทั้งความสุขของนิพพานเอง และสามารถเสวยสุขอย่างก่อนๆ

ที่ผ่านมาแล้วได้ทั้งหมด และได้รสแห่งการเสวยนั้นอย่างเต็มเปี่ยมที่สุดด้วย


ส่วนผู้ใด ไม่ได้ผ่านฌานสมาบัติมาโดยตลอด แต่ได้บรรลุนิพพาน

ผู้นั้นก็ขาดสิทธิที่จะเสวยสุขในฌานสมาบัติเหล่านั้นไปส่วนหนึ่ง

แต่กระนั้น เขาก็ยังได้ประสบนิพพานเสวยวิมุตติสุขที่ประเสริฐกว่า



สรุปว่า เมื่อเลิกติดกาม ก็มีสิทธิได้ฌานสุข

เมื่อเลิกติดกามสุข ก็มีสิทธิได้นิพพานสุข

เมื่อได้นิพพานสุข ก็กลับได้สุขหมดทุกอย่าง

ย้ำว่า จะได้นิพพาน ต้องละฌานสมาบัติได้ก่อน เมื่อละได้หมดแล้ว ก็ได้ทั้งหมด

:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:

*ภาวะอย่างนี้ คงพอเทียบได้หรือเป็นอย่างที่ฝรั่งเรียกว่าภาวะ mystic หรือ mystical state

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 17:15, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณท่านกรัชกายมากครับ :b8:
เท่าที่ท่านตอบมาผมพอเข้าใจครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2008, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางคนเป็นห่วงกามสุข กลัวว่าถ้าไปนิพพานเสียแล้ว เขาจะไม่ได้เสวยกามสุข

อาจบอกเขาว่าได้ว่า อย่ากลัวเลย

ถ้าท่านไปทางนิพพาน ท่านจะได้รู้จักความสุขมากอย่างยิ่งขึ้น มีความสุขที่ดีกว่า

เยี่ยมกว่าอีกด้วย

ท่านจะมีความสุขให้เลือกเสพได้มากขึ้น และเมื่อถึงเวลานั้น

ถ้าท่านยังอยากเสพกามสุข ท่านก็เสพได้ และจะเสพได้ดียิ่งกว่าเดี๋ยวนี้ เพราะจะไม่มีอะไรรบกวน

ให้เสียรสเลย

เมื่อว่าอย่างนี้

บางคนอาจค้านขึ้นโดยเป็นห่วงในทางตรงข้ามว่า จะให้คนบรรลุนิพพานแล้วเสพกามสุข

ได้อย่างไรกัน

พึงตอบว่า เรื่องนี้ไม่ต้องเป็นห่วง

เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเป็นไปเอง ไม่ต้องไปกังวล

คนที่ถึงนิพพานแล้ว เป็นผู้มีสิทธิและเป็นผู้พร้อมดีที่สุด ที่จะเสวยความสุขได้ทุกอย่าง

การที่เขาจะเสพความสุขอย่างใดหรือไม่เสพ ก็เป็นเรื่องสุดแต่ความพอใจของเขาเอง

แต่ทีนี้ ธรรมดามันปรากฏเป็นของมันเองว่า

ผู้ที่บรรลุนิพพานแล้วไม่เสพกามสุข

ที่เขาไม่เสพ มิใช่เพราะเขาเสพไม่ได้ แต่เป็นเพราะเขาไม่นึกอยากจะเสพ คือกิเลสที่เป็นเหตุให้อยาก

เสพไม่มี

เขาได้ประสบสิ่งอื่นที่ดีกว่า จนไม่เห็นกามคุณนั้นมีคุณค่า ที่เขาจะเกี่ยวข้องเสพเสวยเสียแล้ว



เรื่องนี้ก็คล้ายกันกับความคิดที่ว่า พระอรหันต์บรรลุญาณทัสสนะมองเห็นตามเป็นจริงว่า

สิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน คนเป็นเพียงส่วนประกอบต่างๆ

มีธาตุ 4 เป็นต้น มาประชุมกันเข้า ไม่มีนาย ก. นาง ข. เป็นต้น เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว ก็คงฆ่าคนได้

ไม่บาป

แต่ความจริง เมื่อมองเห็นอนัตตาเช่นนั้น กิเลสคือโทสะที่จะเป็นเหตุให้ทำการฆ่าก็หมดไปเสีย

แล้ว

การฆ่าก็เลยไม่มีทางที่จะเกิดมีขึ้นมาได้

ความเป็นจริงในเรื่องนี้ ปรากฏว่าผู้ได้นิพพานสุขแล้ว จะเสวยความสุขลงมาถึงชั้นฌานสุข

ดังที่ได้กล่าวว่าใช้ฌาน 4 เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร คือเป็นเครื่องพักผ่อนอยู่สบายในปัจจุบัน


เรื่องผู้บรรลุนิพพานไม่เสพกามสุขนี้ เปรียบอย่างหนึ่งเหมือนคนเคยอยู่ในที่คุมขัง

เขาได้อาศัยบางสิ่งบางอย่างในที่นั้น ช่วยทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เสมือนกลบ หรือ

ทำให้ลืมความคับแคบอึดอัดไปได้บ้าง

ต่อมาเมื่อมีโอกาสหลุดออกไปจากสถานที่นั้น

บางคนอาจติดใจสิ่งที่เคยให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน จนไม่ยอมออกไป

บางคนพะว้าพะวังลังเลอยู่

แต่คนที่ได้รู้จักอิสรภาพอย่างแท้จริงแล้ว จะค่อยๆตัดใจได้และไม่ช้าก็จะไม่ห่วงอาลัยที่คุมขัง

นั้นอีกต่อไป

ท่านที่แนะนำชักชวนทั้งหลาย เช่นพระพุทธเจ้า ได้เคยเริงรมย์ในกามสุขมาก่อนแล้ว

และต่อมาได้รู้จักสุขที่ประณีตขึ้นไปทั้งฌานสุขและนิพพานสุข เป็นอันว่าได้รู้จักความสุขทุกประเภท

การที่มาแนะนำ

ชักชวนนั้น ก็ย่อมเป็นไปด้วยความรู้จริง โดยได้ผ่านประสบการณ์จริง เป็นเครื่องยืนยัน

อย่างแน่นแฟ้นว่า

สุขใดที่ท่านว่าดี หรือไม่ดี หรือว่าอย่างไหนดีกว่า ก็ควรจะเป็นเช่นนั้นจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 21 ก.ย. 2009, 09:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




190.gif
190.gif [ 11.84 KiB | เปิดดู 2790 ครั้ง ]
ยาวแล้วต่อที่

viewtopic.php?f=2&t=19000&p=85949#p85949

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร