วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่บอร์ดเก่าลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18122

ได้โพสต์ข้อธรรมความสุข 10 ขั้นค้างไว้ จึงนำมาลงต่อที่นี่ :b3:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 เม.ย. 2011, 16:40, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทบทวนของเดิม

คัมภีร์อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ท่านจำแนกความสุขออกไปทั้งโดยประเภท และโดยระดับเป็นคู่ๆ

มากมายหลายคู่ เช่น สุขของคฤหัสถ์กับสุขของบรรพชิต

กามสุขกับเนกขัมมสุข

โลกียสุขกับโลกุตรสุข

สุขของพระอริยะกับสุขของปุถุชน เป็นต้น


แต่วิธีแบ่งที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน ละเอียด และดูง่ายไม่ซับซ้อน

น่าจะได้แก่วิธีแบ่งเป็น 10 ขั้น หรือความสุข 10 ขั้น ซึ่งมีที่มาหลายแห่งแบ่ง

(ม.ม. 13/100/96 ฯลฯ) ดังนี้

1. กามสุข - สุขเนื่องด้วยกาม ได้แก่ ความสุขโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอาศัยกามคุณ 5

2. ปฐมฌานสุข - สุขเนื่องด้วยปฐมฌาน ซึ่งสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย

ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา

3. ทุติยฌานสุข - สุขเนื่องด้วยทุติยฌาน ซึ่งประกอบด้วย ปีติ สุข และเอกัคคตา

4. ตติยฌานสุข - สุขเนื่องด้วยตติยฌาน ซึ่งประกอบด้วย สุข และเอกัคคตา

5. จตุตถฌานสุข - สุขเนื่องด้วยจตุตถฌาน ซึ่งประกอบด้วย อุเบกขาและเอกัคคตา

6. อากาสานัญจายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ซึ่งล่วงพ้นรูปสัญญาได้

โดยสิ้นเชิง ปฏิฆสัญญาล่วงลับไปหมด ไม่มนสิการนานัตตสัญญา นึกถึงแต่อวกาศอันอนันต์เป็น

อารมณ์

7. วิญญาณัญจายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ซึ่งคำนึงวิญญาณอันอนันต์

เป็นอารมณ์

8. อากิญจัญญายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ซึ่งคำนึงภาวะที่ไม่มีอะไรเลย

เป็นอารมณ์

9. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อันถึงภาวะ

ที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

10. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ อันถึงภาวะที่ดับสัญญา

และเวทนาทั้งหมด


ถ้าจะจัดให้ย่อเข้า สุข 10 ข้อนี้ ก็รวมเข้าได้เป็น 3 ระดับ คือ

1. กามสุข - สุขเนื่องด้วยกาม

2. ฌานสุข หรือ (อัฏฐ) สมาปัตติสุข -สุขเนื่องด้วยฌาน หรือ สุขเนื่องด้วยสมาบัติ 8

แยกเป็น 2 ระดับย่อย

2.1 สุขในรูปฌาน หรือสุขเนื่องด้วยรูปฌาน 4

2.2 สุขในอรูปฌาน หรือสุขเนื่องด้วยอรูปฌาน 4

3. นิโรธสมาปัตติสุข สุขเนื่องด้วยนิโรธสมาบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 10:33, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา สาธุครับ ท่านกรัชกาย

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



บอร์ดเก่าลงข้อความถึงตรงนี้ =>



สุขทั้ง 10 ขั้นนี้ ท่านยอมรับว่าเป็นความสุขทั้งนั้น หากแต่เป็นความสุขที่ดีกว่าประณีต

ลึกซึ้งยิ่งกว่ากันขึ้นไปตามลำดับขั้น เพราะความสุขขั้นต้นๆ มีส่วนเสียหรือแง่ที่เป็นทุกข์แทรกอยู่ด้วยมาก เมื่อ

เป็นสุขขั้นสูงขึ้นไป ก็ยิ่งประณีตบริสุทธิ์มากขึ้น


ท่านสอนให้มองความสุขเหล่านั้นตามความเป็นจริง ทั้งด้านที่เป็นสุขและด้านที่มีทุกข์เข้ามาปน

คือมองทั้งส่วนดีและส่วนเสีย หรือทั้งแง่ที่เป็นคุณและแง่ที่เป็นโทษ- (เรียกเป็นศัพท์ว่าทั้ง

อัสสาทะ และ อาทีนวะ) นอกจากนั้น ยังให้รู้จักทางออก ทางรอดพ้นหรือภาวะเป็น

อิสระที่ดีกว่าซึ่งไม่ขึ้นต่อส่วนดีส่วนเสียนั้นด้วย - (เรียกเป็นศัพท์ว่า นิสสรณะ) เมื่อเห็นโทษของ

สุขที่หยาบ ก็จะหน่ายหายติด และโน้มใจไปหาสุขที่ประณีตยิ่งกว่า เมื่อรู้จักและได้ประสบความสุขที่

ประณีตประจักษ์กับตัวแล้ว ก็จะละความสุขที่หยาบกว่าเสียได้ มุ่งบรรลุสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไปตาม

ลำดับ อย่างน้อยก็จะไม่มัวเมาหมกมุ่นในสุขที่หยาบนั้นจนเกินไป

เมื่อใดจิตหลุดพ้นเด็ดขาดแล้วตัดเยื่อใยได้สิ้น ก็จะไม่วกเวียนกลับมาหาความสุข

ที่หยาบอีกต่อไป * คงเสวยแต่สุขที่ประณีตสำหรับจิตที่เป็นอิสระอย่างเดียว

ข้อนี้ก็เป็นลักษณะด้านหนึ่งของความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

* จะเห็นได้ในตอนต้นๆแล้วว่า ผู้ได้สุขในฌานสมาบัติ ที่วกเวียนกลับมาหากามสุขอีก

มีตัวอย่างเป็นอันมาก

และหลายท่านได้สุขในฌานสมาบัติทั้งที่ยังอยู่ครองเรือน จึงเสพเสวยสุขทั้งสองอย่างไปด้วยกัน

อย่างไรก็ดี ท่านเหล่านี้ ทั้งสองพวก ย่อมมีพื้นความพร้อมมากกว่าคนทั่วไป

ที่จะสลัดกามสุขและเดินหน้าในการปฏิบัติธรรมที่สูงขึ้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 ต.ค. 2009, 18:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



(ความต่อจาก คห. ข้างบน)



เพื่อเสริมความเข้าใจในด้านนี้ จึงนำคำชี้แจงทางธรรม ที่ควรทราบเกี่ยวกับความสุขเหล่านี้ มาแสดง

ตามสมควร ดังนี้



“ภิกษุทั้งหลาย กามคุณมี 5 อย่างดังนี้คือ

รูปทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยตา...

เสียงทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยหู...

กลิ่นทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยจมูก...

รสทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยลิ้น...

โผฏฐัพพะทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้อยากได้

ชวนให้กำหนัด เหล่านี้แล คือ กามคุณ5

อาศัยกามคุณ 5 ประการเหล่านี้ มีความสุขความฉ่ำใจ (โสมนัส) ใดเกิดขึ้น นี้คือ

ส่วนดี ของกามทั้งหลาย” -(ม.มู.12/197/168)

“นี่เรียกว่า กามสุข” - (ม.ม. 13/398/371 ฯลฯ )



“คำว่า กาม โดยหัวข้อ ได้แก่ กาม 2 อย่าง คือ วัตถุกาม 1 กิเลสกาม 1

“วัตถุกาม เป็นไฉน ?

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชื่นชอบใจ เครื่องลาด เครื่องห่ม ทาสี

ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง

บ้าน นิคม ราชธานี รัฐ ประเทศ กองทัพ คลังหลวง

วัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ชื่อว่า วัตถุกาม

ฯลฯ


“กิเลสกาม เป็นไฉน ?

ความพอใจก็เป็นกาม ราคะก็เป็นกาม ความชอบใจติดใคร่ก็เป็นกาม

ความดำริก็เป็นกาม ราคะก็เป็นกาม ความครุ่นคิดติดใคร่ก็เป็นกาม กามฉันท์

กามราคะ กามนันทิ กามตัณหา กามเสน่หา ความเร่าร้อน ความหลงใหลกาม

ความหมกมุ่นกาม กามท่วมใจ กามผูกรัดใจ ความถือมั่นในกาม

นิวรณ์ คือ กามฉันท์ กามในข้อความว่า

“นี่แน่ะกาม เราเห็นรากเหง้าของเจ้าแล้วว่า เจ้าเกิดขึ้นมาจาก

ความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้าละ เมื่อทำอย่างนี้ เจ้าก็จักไม่มี “ เหล่านี้

เรียกว่า กิเลสกาม”

(ขุ.ม.29/2/1: 34/31)


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

-วัตถุกาม - วัตถุอันน่าใคร่ สิ่งที่อยากได้

-กิเลสกาม - กิเลสที่ทำให้ใคร่ ความอยากที่เป็นตัวกิเลส

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 10:46, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมแห่งปัจจัย 3 ประการ จึงมีการตั้งครรภ์...เมื่อใดมารดา

บิดาอยู่ร่วมกัน มารดามีระดู ทั้งสัตว์ที่จะเกิดก็ปรากฏ เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย 3

ประการอย่างนี้ ย่อมมีการตั้งครรภ์ มารดาอุ้มท้องประคับประคองครรภ์นั้นตลอดเวลา 9 เดือน

บ้าง 10 เดือนบ้าง ด้วยความเสี่ยงชีวิตเป็นอย่างมาก ทั้งเป็นภาระอันหนัก ครั้นล่วงเวลา

9 เดือนหรือ 10 เดือนแล้ว มารดาก็คลอดทารกในครรภ์ด้วยความเสี่ยงชีวิตเป็นอันมาก

อย่างเป็นภาระอันหนัก แล้วเลี้ยงทารกทีเกิดนั้นด้วยโลหิตของตน ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมเนียม

ของอริยชนถือน้ำนมของมารดานี้ว่า คือโลหิต”


“เด็กอ่อน ไร้เดียงสา นอนแบหงายอยู่ ย่อมเล่น (แม้แต่) อุจจาระปัสสาวะของตนเอง

เธอจะเห็นประการใด ความสนุกนี้ เป็นความสนุกของเด็กอ่อนอย่างเต็มที่สิ้นเชิง

ใช่หรือไม่ ?”

“เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”


“สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญเติบโต อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าขึ้น ย่อมเล่นเครื่อง

เล่นทั้งหลายสำหรับเด็ก คือ เล่นไถน้อยๆ เล่นตีไม้หึ่ง เล่นหกคะเมน เล่นกังหันน้อยๆ

เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ เธอจะเห็นประการใด ความสนุกนี้ ดีกว่าและประณีตกว่า

ความสนุกอย่างก่อน ใช่หรือไม่?”


“เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”


“สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญเติบโต อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าขึ้น มีกามคุณ 5

พรั่งพร้อม บริบูรณ์ ย่อมบำเรอตนด้วยรูปทั้งหลาย...ด้วยเสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ

ทั้งหลาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้อยากได้ ชวนให้กำหนัด

เธอจะเห็นประการใด

ความสนุกนี้ ดีกว่าและประณีตกว่าความสนุกอย่างก่อนๆ ใช่หรือไม่ ?”

“เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 10:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2008, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




01(1).jpg
01(1).jpg [ 92.35 KiB | เปิดดู 8981 ครั้ง ]
บุคคลผู้เลิศประเสริฐสุดในโลกมนุษย์ทางฝ่ายคฤหัสถ์ ก็คือพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจ

มากที่สุด เพียบพร้อมด้วยโภคสมบัติทุกประการ และตามคติพระพุทธศาสนาถือว่า

จะต้องเป็นผู้ทรงคุณธรรมอย่างสูงเยี่ยมด้วย

โดยนัยนี้ พระเจ้าจักรพรรดิจึงนับว่าเป็นผู้มีความสุขมากที่สุดเหนือกว่ามนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

พระพุทธเจ้าทรงยกเอาความสุขของพระเจ้าจักรพรรดิ ขึ้นมาบรรยายเป็นตัวอย่างแสดงความสุข

อย่างสมบูรณ์ที่สุดของมนุษย์ เพื่อเปรียบเทียบกับความสุขประเภทและระดับอื่นๆ

ให้เห็นลำดับขั้นความประณีตของความสุขทั้งหลาย

พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงมีรัตนะ 7 และฤทธิ์ 4 ประการ


รัตนะ 7 คือ ทรงมีจักรแก้ว อันแสดงถึงพระราชอำนาจที่เกิดขึ้นโดยธรรมและประกอบ

ด้วยความชอบธรรม ทำให้พระองค์แผ่ขยายอาณาจักรแห่งความร่มเย็นออกไปได้ทั่ว

ผืนแผ่นดินจดขอบมหาสมุทรทั้งสี่ทิศ ด้วยธรรมวิธี และโดยความชื่นชมยินดีของผู้ยอมรับ

พระราชอำนาจนั้น

ทรงมีช้างแก้วและม้าแก้ว ซึ่งสามารถนำพระองค์เสด็จตรวจดูพระราชอาณาเขตทั่วผืน

แผ่นดินได้หมดสิ้นภายในเวลารวดเร็ว

ทรงมีแก้มณี ซึ่งทรงพลังส่องแสงสว่างกว้างไกล จะให้ยกทัพใหญ่ไปยามราตรีหรือให้ราษฎร

ทำงานในยามค่ำคืนดุจเวลากลางวันก็ได้

ทรงมีนางแก้ว ซึ่งนอกจากจะมีรูปร่างผิวพรรณงดงามเหนือกว่าสตรีมนุษย์ไม่ว่านางใด

แล้วยังมีสัมผัสกายอันแสนวิเศษ ดังท่านพรรณนาว่า

นุ่มนวลละมุนดังสำลีหรือปุยนุ่น

ยามหนาว กายนางก็อุ่น ยามร้อน กายนางก็เย็น กลิ่นกายหอมดังกลิ่นจันทร์

กลิ่นปากก็หอมดังกลิ่นบัว

อีกทั้งพูดเพราะ รู้จักปรนนิบัติ ถูกพระทัยทุกประการ

ทรงมีขุนคลังแก้ว ผู้มีตามทิพย์มองเห็นแหล่งทรัพย์สินทั่วไป สามารถหาเงินทองมาให้พระองค์ใช้ได้

ตามพระทัยปรารถนา

และทรงมีปริณายกแก้ว ผู้มีความสามารถยอดเยี่ยมในการปกครอง ไม่แต่เพียงถวาย

คำแนะนำในข้อราชการต่างๆ ได้ถูกต้องเท่านั้น ยังสามารถบัญชางานสั่งราชาการแทนพระองค์

ได้ทุกอย่างทุประการอีกด้วย


ส่วนฤทธิ์หรือสัมฤทธิคุณ 4 ประการ ก็คือ พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระรูปโฉมงามสง่าเหนือกว่ามนุษย์

ทั้งหลายอื่น

ทรงมีพระชนมายุยืนยาวยิ่งกว่ามนุษย์อื่น

ทรงมีสุขภาพแข็งแรง มีพระโรคน้อย

และประการสุดท้ายทรงเป็นที่รักของประชาราษฎร์ ซึ่งจงรักภักดีต่อพระองค์ดังลูกรักพ่อ

และพระองค์ก็รักประชาราษฎร์ดังพ่อรักลูก

เมื่อยามเสด็จไป ณ ที่ไหนๆ ประชาราษฎร์จะเฝ้ารับเสด็จและอยากเห็นพระองค์นานๆไม่จืดตา

และพระองค์ก็ทรงปรารถนาจะพบปะกับประชาราษฎร์นานๆ เช่นเดียวกัน


ความสุขของพระเจ้าจักรพรรดิเช่นนี้ย่อมดีกว่าเยี่ยมกว่าความสุขของเด็กหนุ่มที่กล่าวมาแล้ว

ตลอดจนความสุขของมนุษย์ทั้งหลายทั่วไป

:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าตรัสว่า

แม้พระเจ้าจักรพรรดิจะทรงมีความสุขสมบูรณ์ถึงเพียงนี้ แต่เมื่อเทียบกับความสุขอันเป็นทิพย์ในสวรรค์

แล้ว ความสุขของพระเจ้าจักรพรรดิก็เป็นของเล็กน้อยเหลือเกิน ไม่ถึงแม้แต่เศษเสี้ยว

เหมือนนำเอาก้อนหินเล็กๆ ก้อนเท่าฝ่ามือไปวางเทียบกับภูเขาหิมาลัย -

(ม.อุ. 14/490-501/324-332)

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

ผู้ต้องการทราบคติธรรมจากความรุ่งเรืองของพระเจ้าจักรพรรดิเพิ่มอีก

พึงดู มหาสุทัสสนสูตร ที.ม.10/163-186/196-228 มันธาตุราชชาดก.

ชา.อ.4/47

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 10:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2008, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
สาธุครับ

ผมเคยได้รู้มาว่า ท่านพระสารีบุตรเกิดความสุขแบบโลกุตระเมื่อท่านได้สำเร็จโสดาบันเมื่อได้ฟังธรรมเพียงน้อยนิด ความสุขที่เกิดขึ้นนี้จัดอยู่ในความสุขข้อใดใน 10 ข้อครับ และหากเป็นไปได้ช่วยอธิบายว่าความสุขในระดับโลกุตระสุขกว่าสุขแบบปกติอย่างไร เพราะบางครั้งเหมือนปฏิบัติไปมิได้รู้เลยว่าสุขกว่าอย่างไร ใจไม่ชุ่มชื่น เหมือนกับสุขจากสมาธิ แต่ว่าใจเฉยๆ นิ่งๆ ผ่องใสอยู่ ไม่ปรุงแต่งใดๆ แต่ใจไม่ชุ่มชื้น สุขแบบโสกุตระเป็นอย่างนี้หรือเปล่าครับ (บางท่านอาจกล่าวทำนองว่างั้นปฏิบัติไปเพื่อนิพพาน ละกิเลส ก็เป็นอะไรที่น่าเบื่อ (แต่จำเป็นต้องทำเท่านั้น) จะได้อธิบายให้กับท่านอื่นเข้าใจใด้ว่าดีกว่าอย่างไร หากได้อุปมา ยกตัวอย่างเปรียบเทียบได้จะดีมากครับ)

รบกวนด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



เมื่อตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบกับรส กายสัมผัส

คุณศิรัสพลเคยรู้สึกว่ามีความสุขบ้างไหมครับ

ถ้าเคยนั่น คือ กามสุข จัดเป็นความสุขขั้นที่ 1 หนึ่งในจำนวน 10 ขั้น

แต่ตั้งแต่ขั้นที่ 2 เป็นต้นไป เป็นความสุขที่พ้นจากสัมผัสจากประสาททั้ง 5 ข้างต้น

เป็นความสุขจากภายใน

สังเกตความสุขที่ว่า จากบุคคลตัวอย่างนี้


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:



ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆเลย จนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์

รูปหนึ่ง ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ ท่านก็ไม่ตอบอะไร

ยื่นหนังสือของท่านให้สามเล่ม เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางในอานาปานสติสูตร

หลังจากได้หนังสือมาแล้ว ผมก็อ่านแค่เล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรกคือ ให้กำหนดรู้

ลมหายใจให้ตลอด ในชีวิตประจำวัน ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าเรา

ทำอะไรอยู่

ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร

หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน ฯลฯ

หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน

แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเรา

สงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่าผมเลยเปลี่ยนวิธี

กำหนดในใจเป็นแบบอัปปมัญญา

แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจ แผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า จากนั้นก็

เบื้องหลัง ฯลฯ พอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนด

แผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น

จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกาย

ขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย กายขยายไปทุกทิศจนรู้สึกว่ากายหายไป คือไม่มีกาย

เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือน จุ่มอยู่ในปิติ มีแต่ความสุขไปหมด

ผมก็คิดขึ้นมาว่า

"มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลก

ที่เราเคยพบมาทั้งหมด

โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำ

ทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความ

สงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับ

ไม่รู้"


ผมสังเกตลมหายใจก็รู้สึกว่า ลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก

ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลม

หายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง

ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปิติ คือปิติเกิดค้างอยู่

แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้นเลยนะครับ

แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่

จากนั้นผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเรา

หรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง

ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 17:10, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




7g9kl.gif
7g9kl.gif [ 4.27 KiB | เปิดดู 8979 ครั้ง ]
กล่าวโดยสัมพันธ์กับบุคคลผู้เสพเสวยความสุขเหล่านี้ จะเป็นดังนี้

1. กามสุข ผู้เสพเสวย ได้แก่ มนุษย์ปุถุชนและอริยบุคคลชั้นโสดาบันและสกทาคามี

2. ฌานสุข ผู้เสพเสวย ได้แก่ มนุษย์ปุถุชนและอริยบุคคลทุกชั้นตั้งแต่พระโสดาบันจนถึง

พระอรหันต์ เฉพาะท่านที่เจริญฌานชั้นนั้นๆได้แล้ว

3. นิพพานสุข ผู้เสพเสวย ได้แก่ พระอริยบุคคลทั้งหลาย ตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ -
(แต่ต้องแยกออกไปอีก ถ้าเป็นผลสมาบัติสุข ก็ได้สำหรับผู้บรรลุผลขั้นนั้นๆ

ถ้าเป็นนิโรธสมาบัติสุข ก็ได้เฉพาะพระอนาคามีและพระอรหันต์ ที่ได้สมาบัติ 8 แล้ว)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 11:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกุตรสุข ได้แก่ มรรคสุข ผลสุข และนิพพานสุข

(สุตฺต.อ.2/166)

และในคำว่า ผลสุข ให้รวมถึงผลสมาบัติสุข ซึ่งคลุมเอาวิมุตติสุขเข้าด้วย

(ผลสมาบัติสุข เป็นโลกุตรสุข - ตาม อุ.อ.43 ปฏิสํ.อ.322 วิสุทธิ. 3/358)


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 17:05, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณศิรัสพลพิจารณาพุทธพจน์ที่เทียบความรู้สึกว่าเป็นสุข ของมนุษย์ตั้งแต่เด็กจน

ถึงวัยหนุ่มสาว สังเกตครับ



:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


“เด็กอ่อน ไร้เดียงสา นอนแบหงายอยู่ ย่อมเล่น (แม้แต่) อุจจาระปัสสาวะของตนเอง

เธอจะเห็นประการใด

ความสนุกนี้ เป็นความสนุกของเด็กอ่อน อย่างเต็มที่สิ้นเชิง ใช่หรือไม่ ?”

“เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”


“สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญเติบโต อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าขึ้น

ย่อมเล่นเครื่องเล่นทั้งหลายสำหรับเด็ก คือ เล่นไถน้อยๆ เล่นตีไม้หึ่ง เล่นหกคะเมน เล่นกังหันน้อยๆ

เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ เธอจะเห็นประการใด

ความสนุกนี้ ดีกว่าและประณีตกว่าความสนุกอย่างก่อน ใช่หรือไม่?”

“เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”


“สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญเติบโต อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าขึ้น มีกามคุณ 5

พรั่งพร้อม บริบูรณ์ ย่อมบำเรอตนด้วยรูปทั้งหลาย...ด้วยเสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ

ทั้งหลาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้อยากได้ ชวนให้กำหนัด

เธอจะเห็นประการใด

ความสนุกนี้ ดีกว่าและประณีตกว่าความสนุกอย่างก่อนๆ ใช่หรือไม่ ?”

“เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 17:09, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



กระทู้นี้ยังไม่จบ คุณศิรัสพลอ่านต่อแล้วพิจารณาที่ท่านเปรียบเทียบความสุขแต่ขั้นๆ

แต่ก็อย่างว่านะครับ ความสุขเป็นนามธรรม ผู้ใดได้สัมผัส ผู้นั้นจึงจะรู้สึกถึงสุขนั้นๆได้


(โพสต์ต่อ)


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

ถึงแม้ทิพยสุขในสรวงสวรรค์จะเป็นกามสุขที่ล้ำเลิศ ยอดเยี่ยมกว่ากามสุขของมนุษย์

อย่างมากมาย

แต่ก็ยังมีความสุขที่ประณีตล้ำลึกยิ่งกว่าทิพยสุขนั้นขึ้นไปอีก และเป็นความสุขที่ไม้ต้องอาศัยกาม

ไม่ต้องพึงสิ่งเสพเสวยจากภายนอก

ผู้ที่ได้ประสบความสุขอย่างนี้ประจักษ์กับตัวแล้ว ถึงแม้มาเห็นมนุษย์ที่มีคามสุขพรั่งพร้อมบริบูรณ์

กำลังเสพเสวยความสุขอยู่ ก็จะไม่รู้สึกอิจฉามนุษย์นั้น หรือนึกอยากได้ความสุขอย่างนั้นบ้าง

แต่ประการใดเลย

เหมือนเทวดาที่เสวยทิพยสุขมาเห็นมนุษย์เสพสุขที่ทรามกว่า จะไม่รู้สึกอิจฉาหรือนึกยินดีอยากได้

แต่อย่างใด และมิใช่เพียงกามสุขของมนุษย์เท่านั้น แม้แต่ทิพยสุขของเทวดา

ท่านก็ไม่ปรารถนา เพราะท่านได้พบความสุขที่ดีกว่าสูงกว่าแล้ว


ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าเล่ากรณีของพระองค์เองเป็นตัวอย่าง ดังบาลีว่า


“ดูก่อนมาคัณฑิยะ เรานี้แหละ ครั้งก่อนเมื่อยังครองเรือนอยู่ มีกามคุณทั้ง 5 พรั่งพร้อม

เต็มที่ บำรุงบำเรอด้วยรูป...เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะทั้งหลาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่

น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยความยั่วยวน ชวนให้กำหนัด

เรามีปราสาทถึง 3 แห่ง ปราสาทหนึ่งสำหรับฤดูฝน

ปราสาทหนึ่งสำหรับฤดูหนาว

ปราสาทหนึ่งสำหรับฤดูร้อน

เรานั้นได้รับการบำเรอด้วยดนตรีทั้งหลาย ที่ล้วนแต่สตรีไม่มีบุรุษเจือปนเลย

อยู่ในปราสาทประจำฤดูฝน ไม่ต้องลงจากปราสาทเลยตลอดเวลาสี่เดือน

สมัยต่อมา เรานั้นได้ล่วงรู้ถึงความเกิดขึ้น ความคงอยู่ไม่ได้ คุณและโทษของกามทั้งหลาย

กับทั้งทางออก หรือ ภาวะรอดพ้นของมันตามความเป็นจริง


จึงละกามตัณหา บรรเทาความร่านรน เพราะกามเสียได้ หมดความกระหายอยาก

เป็นอยู่โดยมีจิตสงบระงับในภายใน

เรานั้น มองเห็นสัตว์ทั้งหลายอื่น ผู้ยังไม่หมดราคะในกามทั้งหลาย ถูกกามตัณหาเกาะกิน

ถูกแผดเผาด้วยความเร่าร้อนแห่งกาม เสพเสวยกามทั้งหลายอยู่ ก็มิได้นึกใฝ่ทะยาน

ต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่รู้สึกยินดีในกามนั้น

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ก็เพราะว่าเรารื่นรมย์อยู่ด้วยความชื่นชมยินดีที่ไม่ต้องมีกาม ไม่ต้องมีอกุศลธรรม

ทั้งหลาย จึงไม่ใฝ่ทะยานถึงความสุขที่ทรามกว่า ไม่นึกยินดีในความสุขที่ทรามกว่านั้น


“ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนว่า คฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี ผู้มั่งคั่ง ร่ำรวยทรัพย์ มีโภคะ

มาก มีกามคุณทั้ง 5 พรั่งพร้อมบริบูรณ์ ได้รับการบำรุงบำเรอ...เขาประพฤติสุจริต..เข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์ ในหมู่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรนั้น แวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสร มีกามคุณ 5

อันเป็นทิพย์ พรั่งพร้อมบริบูรณ์ ปรนเปรออยู่

เทพบุตรนั้น มองเห็นคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีมีกามคุณทั้ง 5 พรั่งพร้อมบริบูรณ์บำรุงบำเรออยู่

เธอจะเห็นประการใด ?

เทพบุตรนั้น...จะนึกอิจฉาต่อคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี หรือใฝ่ทะยานต่อกามคุณทั้ง 5 อย่าง

ของมนุษย์ หรือจะประหวัดใจถึงกามทั้งหลายอย่างมนุษย์หรือหาไม่



“ไม่เลยพระโคดมผู้เจริญ เพราะเหตุใด ก็เพราะกามทั้งหลายที่เป็นทิพย์ ดีเยี่ยมกว่า

ประณีตกว่ากามทั้งหลายอย่างของมนุษย์


“ดูก่อนมาคัณฑิยะ ฉันนั้นเหมือนกัน เรานั้น...ไม่นึกใฝ่ทะยานต่อสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น

ไม่รู้สึกยินดีในกามนั้น...ก็เพราะเรารื่นรมย์อยู่ด้วยความชื่นชมยินดีที่ไม่ต้องมีกาม

ไม่ต้องอาศัยอกุศลธรรม อีกทั้งเป็นสุขเหนือกว่าทิพยสุข จึงไม่ใฝ่ทะยานต่อสุขที่ทรามกว่า

ไม่นึกยินดีในความสุขที่ทรามกว่านั้น”

(ม.ม.13/281-2/274-6)


:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 17:08, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามสุข คือสุขทางประสาททั้ง 5 หรือสุขทางเนื้อหนังนั้นก็มีมากมายหลายอย่าง

และหลายระดับ ที่ล้ำเลิศก็มี ที่เป็นทิพย์ก็มี และท่านก็ยอมรับว่าเป็นความสุข



แต่กามสุขทั้งหมดนั้น มีข้อบกพร่องอย่างไร และความสุขที่ว่าประณีตยิ่งขึ้นไปอีกนั้นดี

อย่างไร

ทำไมท่านผู้ได้ประสบรู้จักสุขประณีตนั้นแล้ว จึงว่าสุขประเภทนั้นดีเยี่ยมกว่ากามสุข

ถึงกับยอมละเลิกกามสุขไปเสียทีเดียว

ส่วนเสีย คือโทษและข้อบกพร่องต่างๆของกามนี้ กล่าวโดยย่อมองได้ 3 ด้าน หรือมี 3

ตำแหน่ง คือ

มองที่ภายในตัวบุคคล

มองที่ตัวกามนั้นเอง

และมองที่ปฏิบัติการของผู้เสพเสวยกามในสังคมหรือในโลก


อย่างแรกมองที่ภายในตัวบุคคล

หมายถึงมองที่กระบวนการก่อทุกข์ภายในตัวบุคคล คือการที่บุคคลปฏิบัติผิดต่อโลกและชีวิต

ทำให้สิ่งทั้งหลายกลายเป็นกามแล้วก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง

อย่างที่สองมองที่ตัวกาม

หมายถึงมองที่สิ่งซึ่งได้ชื่อว่า กามที่มนุษย์พากันแสวงหามาเสพเสวย หรือมองที่รสของกาม

มองดูความสุขความพึงพอใจอันจะได้จากกามนั้นเองว่ามีจุดบกพร่องอย่างไร


อย่างที่สาม

มองที่ปฏิบัติการในโลก หมายถึงมองดูที่ผลอันเกิดจากความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นต้นของมนุษย์

ทั้งหลายผู้แสวงหาและเสพเสวยกาม

ความจริงทั้งสามอย่างสัมพันธ์อาศัยกัน แต่แยกมองเพื่อเห็นลักษณะที่เป็นไปในด้านต่างๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 17:06, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2008, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ด้านที่ 1 มองที่ภายในตัวบุคคล ได้แก่กระบวนการก่อทุกข์ตามหลักปฏิจจสมุปบาท

เริ่มแต่การรับรู้ประสบการณ์ต่างๆ แล้ววางท่าทีต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างผิดพลาด

ปล่อยให้กระแสกระบวนธรรมดำเนินไปตามแนวทางอวิชชา- ตัณหาอยู่เสมอจนกลาย

เป็นการสั่งสมอันเคยชิน

จะเรียกง่ายๆว่า การสั่งสมความพร้อมที่จะมีทุกข์หรือความพร้อมที่จะมีและก่อปัญหาก็ได้

กระบวนการนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในเรื่องพัฒนาการของบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่เกิดในครรภ์

จนเติบโต ดังที่เล่ามาส่วนหนึ่งแล้ว จึงจะเล่าต่อจากส่วนนั้นต่อไป



“สมัยต่อมา เด็กนั้นอาศัยความเจริญเติบโต อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าขึ้น มีกามคุณทั้ง 5

พรั่งพร้อมบริบูรณ์ ย่อมปรนเปรอตน...เขาเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมติดใจในรูปที่น่ารัก ย่อมขัดใจ

ในรูปที่ไม่น่ารัก...

ฟังเสียงด้วยหู....ดมกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...

ทราบธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมติดใจในเสียง...กลิ่น...รส... โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์

ที่น่ารัก

ย่อมขัดใจในเสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ... ธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก

มิได้มีสติไว้คอยกำกับตัว เป็นอยู่โดยมีจิตคับแคบ ไม่รู้จักตามเป็นจริง ซึ่งภาวะหลุดรอดปลอด

พ้นของจิต และ ภาวะหลุดรอดปลอดพ้นด้วยปัญญา ที่จะทำให้บาปอกุศลธรรมซึ่งเกิดขึ้นแล้ว

แก่ตัวเขา ดับไปได้โดยไม่เหลือ

เขาคอยประกอบเอาความยินดียินร้ายเข้าไว้อย่างนี้แล้ว พอเสวยเวทนาอย่างหนึ่งอย่างใด

เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ตาม

เขาย่อมครุ่นคำนึง ย่อมบ่นถึงย่อมหมกใจอยู่กับเวทนานั้น

เมื่อเขาครุ่นคำนึงเฝ้าบ่นถึง หมกใจอยู่กับเวทนานั้น ความติดใจอยาก (นันทิ ความเพลิด

เพลิน) ย่อมเกิดขึ้น

ความติดใจอยากในเวทนาทั้งหลาย (กลาย) เป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

เขาก็มีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย ก็มีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัย ก็มีชรามรณะ ความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์ ความเสียใจ

ความคับแค้นผิดหวัง ก็มีพรั่งพร้อม ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จึงมีได้ด้วยประการฉะนี้” *

(ม.มู.12/453/488: )


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

*พึงระลึกถึงพุทธพจน์ที่ว่า “อารมณ์วิจิตรทั้งหลายในโลกหาใช่เป็นกามไม่ ราคะที่เกิดจาก

ความคิดของคน (ต่างหาก) เป็นกาม อารมณ์ วิจิตรทั้งหลายในโลกย่อมดำรงอยู่

(ตามสภาพของมัน) อย่างนั้นเอง ดังนั้น ธีรชนทั้งหลายจึงขจัด (แต่เพียง)

ตัวความอยาก (ตัณหาฉันทะ) ในอารมณ์วิจิตรเหล่านั้น (คือมิใช่กำจัดอารมณ์วิจิตร)


องฺ.ฉกฺก.22/334/460

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ธ.ค. 2010, 17:07, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร