วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 08:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2020, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


...เราต้องฝึกทำใจให้มีเหตุมีผล
“อย่าไปรัก อย่าไปชังกับอะไร”

.เพราะรู้ว่า
ทุกอย่างมันก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน
สิ่งที่เราไม่ชอบ..
เดี๋ยวมันก็จากเราไปเหมือนกัน
เราไม่ต้องไปกังวลกับมัน
ไม่ต้องไปวุ่นวายกับมัน

.เหมือนกับสิ่งที่เราชอบ
เดี๋ยวมันก็จากเราไปเหมือนกัน
มันมาแล้วมันก็ไป
เหมือนๆกันทั้งนั้น.

...........................................
ธรรมะโดนใจเล่ม 2 หน้า 17
ธรรมะในศาลา 24/11/2550
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี









#หลวงปู่มั่นสอนกรรมฐานหลวงปู่แหวน

ภาวนาให้เห็นผลหัวใจของการปฏิบัติ
เรียบง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ

"ครั้งหนึ่งหลวงปู่แหวน สุจิณโณ"
ได้รับการสั่งสอนในเรื่องการปฏิบัติกรรมฐานจากหลวงปู่มั่น ซึ่งในการสอนครั้งนั้นเป็นไปแบบเรียบง่ายไม่เน้นการอธิบาย แต่เน้นไปที่เรื่องปฏิบัติแบบเรียบง่ายสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการติดในรูปแบบของสัญญาที่จะเกิดจากการอธิบายธรรมแบบพิสดารเกินไป
โดยท่านหลวงปู่มั่นอธิบายว่า...
หลวงปู่มั่นนั้น เวลาแนะนำสั่งสอนศิษย์ ท่าน
ไม่ค่อยอธิบายธรรมะให้พิสดารมากนัก
โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าอธิบายไปมากผู้ปฏิบัติมักไปติดคำพูดกลายเป็นสัญญา

"ต้องปฏิบัติให้รู้ให้เกิดแก่จิตแก่ใจของตนเอง"
จึงจะรู้ได้ว่า
คำว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไร..!!
คำว่าสุขนั้นเป็นอย่างไร..!!
คำว่าพุทธะ ธรรมะ สังฆะนั้นมีความหมายเป็นอย่างไร..!!

#สมาธิอย่างหยาบเป็นอย่างไร
#สมาธิอย่างละเอียดเป็นอย่างไร
#ปัญญาที่เกิดจากปัญญาเป็นอย่างไร
#ปัญญาเกิดจากภาวนาเป็นอย่างไร

เหล่านี้ผู้ปฏิบัติต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น ในตนของตนจึงจะรู้ ถ้ามัวถือเอาแต่คำอธิบาย ของครูอาจารย์แล้วจิตก็จะติดอยู่ในสัญญา ไม่ก้าวหน้าในการภาวนา เพราะเหตุนั้น จึงไม่อธิบายให้พิศดารมากมาย แนะนำให้รู้ทางแล้วต้องทำเอง เมื่อเกิดความขัดข้องจึงมารับคำแนะนำอีกครั้งหนึ่ง การปฏิบัติเช่นนี้เป็นผลดีแก่ศิษย์ ผู้มุ่งปฏิวัติ เพื่ออรรถ เพื่อธรรมอย่างแท้จริง...

ดังนั้นการบำเพ็ญสมาธิภาวนาในพรรษานั้น
จึงได้เร่งความเพียรอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ได้รับความเยือกเย็น ทางด้านจิตใจมากเป็นพิเศษ
ทั้งนี้เพราะความเพียร เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลวงปู่มั่น เป็นตัวอย่างในการทำความเพียร
โดยปกติ องค์ท่านจะทำความเพียรประจำอิริยาบถ
ไม่ว่าท่านจะอยู่ในอิริยาบถใด​ๆ ต้องอยู่ด้วยภาวนาทั้งสิ้น เรื่องนี้ท่านย้ำเตือนเสมอ ไม่ให้ศิษย์ประมาทละความเพียร เราอยู่ร่วมกับท่าน ต้องเอาองค์ท่านเป็นตัวอย่าง ถึงแม้จะทำไม่ได้อย่างท่าน แต่ก็เป็นศิษย์ที่มีครู มีแบบแผน มีแบบอย่าง มีตัวอย่างเป็นทางดำเนิน

#หลวงปู่มั่น_ภูริทัตโต
#สอนกรรมฐาน
#หลวงปู่แหวน_สุจิณโณ










พระพุทธเจ้าทรงสอนแต่​
#ให้ทำดีด้วยตัวเอง
ย่อมได้ผลดีด้วยตัวเอง
คือสิ่งที่เป็นมงคล
#ไม่ได้สอนให้คนอื่นทำให้
หรือทำให้คนอื่น

#โอวาทธรรม​ค​ำ​สอน​พ่อแม่​ครู​บา​อาจารย์
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
จากหนังสือ เทสโกวาท











ธรรมะ พระอาจารย์ บัณฑิต สุปณฺฑิโต

"ความเป็นปฏิกูลของร่างกาย"

ตัวเราก็เหมือนเป็นถังขยะนะแหละ
เป็นปฏิกูลดีๆ นี่แหละ
รับเข้าไปแล้ว ก็มีแต่ออกมา
เป็นแต่สกปรกทั้งนั้นเลย
ไม่มีอะไรเลย ผ่าเข้าไปตัวเรา
แล้วออกมาไปเป็นทองคำขึ้นมา
หรือเป็นของหอมขึ้นมา เป็นของสะอาดขึ้นมาได้
ไม่มีสักชิ้นส่วนไม่มีสักแห่งหนเลย

สิ่งต่างๆเข้าไปเกลือกกลั้วกับร่างกายนี้แล้ว
จะเป็นเสื้อผ้าก็ดี จะเป็นที่หลับที่นอนก็ดี หมอนมุ้งก็ดี
สะอาดสะอ้านซักมาใหม่อย่างดีหมด
นั่นแหละสัมผัสกับร่างกายนี้ไปแล้วก็สกปรก
ต้องซักต้องล้างทั้งนั้นแหละ
ทุกอย่างก็มาจากนี้แหละ
ความเป็นปฏิกูลของร่างกายนี้แหละ
มันก็เรายังสำคัญว่าเรายังสวยอยู่ มันงามอยู่
นั่นแหละเพลิดเพลินยินดีกับมันอยู่
มันต้องเรียกว่าหลง

ถ้าเราหลงอย่างนี้แล้ว จิตมันก็ไม่สงบ
จิตมันก็ฟุ้งซ่าน ปรุงแต่งอยู่กับความสวยความงาม
นั่นแหละพิถีพิถันในร่างกายแล้วก็ออกไป
มันออกไปเป็นส่วนประกอบต่างๆ
เป็นเสื้อผ้าเป็นเครื่องประดับ
เป็นเครื่องลูบทาลูบไล้
เป็นเครื่องน้ำหงน้ำหอม
เป็นพวกแป้งเป็นพวกสารพัด
ประดับประดาแต่งแต้มให้มันสวย
ซึ่งก็เทียบเหมือนกับหีบศพนะแหละ
ถึงจะวิจิตรแค่ไหนข้างนอก ประดับมุกก็ตาม
ทาทองอะไรก็ตาม ข้างในมันก็เป็นซากศพอยู่ดี
ถึงจะวิจิตรพิสดารแค่ไหนก็ตาม
ท่านก็เทียบเหมือนกับโลงศพ
ไอ้ที่เราเห็นอยู่นี้ก็ตาม
วิจิตรแค่ไหนก็ตามดูเหมือนอันนั้นก็ตาม
มันก็คือโลงศพนะ
เปิดโลงออกไปก็มีแต่ศพนะ
นั่นแหละเรียงร้อยให้เป็นเรื่องเป็นราว เป็นธรรมะ
ถ้าจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งเหล่านั้นต้องเบื่อต้องหน่าย
ต้องสะอิดสะเอียน ต้องเห็นโทษ
เห็นความสกปรก พร้อมกันนั้นก็เห็นความทุกข์
ทุกข์ที่เราต้องแบกหามภาระอันนี้
ตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
ภาระไหนก็ไม่เท่าภาระที่แบกหามร่างกายนี้หรอก
ป้อนข้าวป้อนน้ำดูแลเช็ดถูทำความสะอาดอยู่ตลอด
มันก็ไม่ฟังเรา มันจะดื้อ เดี๋ยวมันก็ป่วย
เดี๋ยวมันก็ไม่สบาย เดี๋ยวมันก็แก่ มันก็หิว
กินแล้วก็หิวอีก เดี๋ยวก็หนาวเดี๋ยวก็ร้อน
สารพัดที่มันจะแสดงอาการของความที่มันไม่สบายเกิดขึ้น
ความเดือดร้อนเกิดขึ้นประคบประหงมทะนุบำรุง
สารพัดด้วยปัจจัย ๔ ด้วยเครื่องวิเศษ
เสื้อผ้าอาภรณ์ อาหารการกิน
ที่อยู่ที่อาศัยบำรุงบำเรอมันดีสุด
มันก็ไม่ฟังเรา นั่นแหละ
จะเล็กจะน้อยอยู่ในท้องแม่คืบคลานออกมา
โตใหญ่ขึ้นมา เปลี่ยนไปเรื่อย
ถ้าดูให้ดีแล้วท่านถึงว่า
มันไม่ใช่ตัวเราจริงๆแหละ
มันเปลี่ยนของมันไปเรื่อย
มันแก่ไปข้างหน้า
แล้วสุดท้ายมันก็ไปตายจากกันไป
พลัดพรากจากกันไป
ที่เรายึดมั่นหมายมั่นว่ามันเป็นตัวเราของเรา
ท่านว่าที่เราทุกข์อยู่ทุกวันนี้ก็เพราะตรงนี้แหละ
เพราะว่าความหลงความไม่รู้ของเรา
สำคัญมั่นหมายว่ามันเป็นตัวเราเป็นของเรา

ฉะนั้นกรรมฐาน ๕
ถึงเราจะพิจารณาทั้งหลายทั้งปวง
มันก็ทิ้งลงตรงนี้
ทิ้งลงตรงความเห็นที่มันถูกต้อง
ทิ้งลงในความเป็นปฏิกูล
ในความที่มันไม่ใช่เราเขาสัตว์
บุคคล ทิ้งลงในความทุกข์
ทิ้งลงในความเปลี่ยนแปลง
ทิ้งอยู่อย่างนั้นแหละ
ซ้ำๆ อยู่อย่างนั้นแหละ
ให้มันดูอยู่เรื่อยๆ อย่างนั้นแหละ
ดูแล้วดูเล่าอยู่อย่างนั้นแหละ
เห็นครั้งหนึ่งก็เหมือนเห็นแล้วหรือรู้จักแล้ว
แต่อย่าไปวาง ดูอย่างนั้นแหละดูไปเรื่อย
จะไปถึงไหนก็ช่างมัน
ไม่ต้องขี้เกียจ ไม่ต้องหยุด
ถ้ามันเกิดอาการต่างๆ
ขึ้นมาสารพัดที่มันจะแสดงอาการ
ก็ชำระเข้าไป
ละเอียดเข้ามันก็มีอาการอย่างที่ว่า ปีติ
มันจะร้องห่มร้องไห้มันจะสลดสังเวชใจ
มันจะเกิดความรู้สึกประหลาดขึ้นมา
เกิดแสงเกิดเสียงเกิดอะไรขึ้นมา
ก็ให้รู้จักเรื่องมัน นั่นแหละ
อย่าไปสำคัญมั่นหมายว่ามันถึงที่ถึงทางแล้ว
สำคัญว่ามันใช่แล้ว ก็ให้รู้จักเรื่องมัน ว่าอาการ
ให้รู้จักเรื่องมัน ไม่ไปสำคัญมัน
รู้จักแล้วก็ทำต่อนั่นแหละ
ทำอยู่อย่างนั้นแหละไม่ต้องหยุด
มันจะหยุดมันจะพอมันเองแหละ ก็รู้จักเองแหละ
ตราบใดถ้ามันยังไม่ถึงความพอแล้วก็อย่าไปหยุด
อย่าไปปล่อยไม้ปล่อยมือในความพากเพียร


ถ้ามันยังมีความสงสัยอยู่ก็ดี
ยังมีความทุกข์อยู่ก็ดี
ก็ยกประโยชน์ไว้เลยว่ามันไม่ใช่
ยังไม่ถึงที่หมาย
ทำอยู่อย่างนั้นแหละ
ถ้ามันยังมีความกังขาอยู่
ยังมีความทุกข์เหลืออยู่
ยังมีความไม่เข้าใจเหลืออยู่
นั่นก็ไม่ใช่ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลทั้งหลาย
ตัวตัดสินกันจริงๆ แล้วคืออริยสัจ อริยสัจ ๔ นี้
การปฏิบัติทั้งหลาย ถ้าเรายังไม่เข้าใจอริยสัจ ๔
มันยังไม่เห็นชัด ยังไม่เห็นรอบ
มันก็ยังเป็นความรู้ที่เป็นบางส่วน
มันก็ไม่พอเพียงที่ประหารกิเลสให้ขาดสะบั้น
มันก็ไปบั่นทอนไปตัดกำลัง
ไปทำให้มันอ่อนกำลังลง
ทำซ้ำๆ นี้ที่มันอ่อนกำลังเรื่อยๆๆ
สุดท้ายก็ขาดออกไป
ด้วยสติปัญญาด้วยความเพียร

พระอาจารย์บัณฑิต


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร