วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 18:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2020, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้ที่พึงประสงค์ในพระพุทธศาสนา

ความรู้แบ่งได้เป็น ๒ ระดับกว้างๆ คือ ความรู้ระดับโลกียะ และความรู้ระดับโลกุตระ (อภิ.วิ. 35/796/420) ความรู้ระดับโลกียะนั้น หมายถึง ความรู้ทุกประเภท ตั้งแต่ความรู้ขั้นธรรมดาสามัญไปจนถึงความรู้ระดับญาณ หรือ การหยั่งรู้ที่ยังไม่ถึงขั้นทำให้เป็นพระอริยะ หรือ ยังไม่ถึงขั้นทำให้บรรลุอริยมรรค อริยผล ความรู้ระดับโลกุตระนั้น หมายถึง ความรู้ที่ทำให้เป็นพระอริยะ หรือทำให้บรรลุอริยมรรค อริยผล ดังคัมภีร์ฝ่ายพระอภิธรรมกล่าวไว้ว่า ตีสุ ภูมีสุ กุสลาพฺยกเต ปญฺเญ โลกิยา ปญฺญา จตูสุ มคฺเคสุ จตูสุ ผเลสุ ปญฺญา โลกุตฺตรา ปญฺญา (อภิ.วิ.35/803/434)

ใจความว่า ปัญญาที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ ๓ เป็นโลกียปัญญา ส่วนปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ เป็นโลกุตรปัญญา

พระพุทธศาสนาถือว่า ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชีวิตก็คือ ความรู้ที่ช่วยปกป้องตนเองให้ปลอดภัยจากหายนะด้านต่างๆ ของชีวิต หรือ ความรู้ที่ช่วยให้เอาตัวรอดจากทุกข์ภัยต่างๆ ได้ กล่าวสั้นสั้นๆ ก็คือ ความรู้ที่ทำมนุษย์ช่วยตนเองได้นั่นเอง ความรู้ประเภทนี้ พระพุทธศาสนาเรียกว่า นิปกปัญญา หรือ เนปักกปัญญา ซึ่งความหมายว่า ปัญญารักษาตน หรือ รู้รักษาตัวรอด (ขุ.ม.29/921/587)

ฉะนั้น ความรู้ที่ควรมีหรือควรแสวงหาตามหลักของพระพุทธศาสนา ก็คือปัญญาประเภทนี้ เพราะเป็นปัญญาที่มีคุณค่าหรือมีประโยชน์เสมอไป ความรู้บางอย่างเท่านั้นที่มีคุณค่าหรือมีประโยชน์ และความรู้ที่มีคุณค่าหรือมีประโยชน์ก็คือ ความรู้ประเภทนิปกปัญญา หรือ เนปักกปัญญา ดังกล่าวแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2020, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ในเรื่องของความรู้ที่ควรรู้ หรือ ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชีวิตนั้น พระพุทธศาสนาแสดงไว้ ๓ ประเภท คือ

- อายโกศล ความรู้ความฉลาดในสิ่งที่ดี ที่ควรทำ
- อปายโกศล ความรู้ความฉลาดในสิ่งที่ชั่ว ที่ควรละ
- อุปายโกศล ความรู้ความฉลาดที่จะทำให้บรรลุถึงสิ่งที่ดีและรอดพ้นจากสิ่งที่ชั่ว
(ที.ปา. 11/228/231)

ความรู้ทั้ง ๓ ลักษณะนี้ กล่าวสั้นๆ ก็คือ รู้ว่าอะไรดี รู้ว่าอะไรชั่ว และรู้วิธีที่จะช่วยให้ทำดีเว้นชั่วได้อย่างสมบูรณ์

ความรู้ทั้ง ๓ ลักษณะนี้ มีความหมายคลุมทั้งความรู้ระดับโลกียะ และระดับโลกุตตระ เพราะความรู้ทุกอย่างหรือทุกระดับ จะสำเร็จประโยชน์หรือมีผลทางปฏิบัติได้ เราจะต้องรู้ทั้งเนื้อหา และวิธีการอย่างถูกต้อง เพราะถ้าเรารู้แต่เนื้อหา แต่ไม่รู้วิธีใช้หรือวิธีทำ ก็คงจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้

ในบางพระสูตร (สํ.ข.17/60/35) ท่านกล่าวไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้ที่พึงประสงค์ คือ รู้คุณรู้โทษ และรู้วิธีที่จะสลัดตนออกจากสิ่งเหล่านั้น เรียกว่า รู้อัสสาทะ อาทีนวะ และ นิสสรณะ ในสิ่งนั้น ๆ ซึ่งเมื่อเทียบกับความรู้ทั้ง ๓ แบบแรกก็ความหมายเดียวกัน ดังนี้

เนื้อหา
- อายโกศล, อปายโกศล
- อัสสาทะ, อาทีนวะ

อุปายโกศล - วิธีการ - นิสสรณะ

ในบางพระสูตร (ที.สํ. 9/38/32) ได้แสดงความรู้ที่พึงประสงค์ หรือ ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชีวิตละเอียดออกไป เป็น ๕ ประเด็น คือ

- รู้ความเกิด (สมุทัย)
- รู้ความดับ (อัตถังคมะ)
- รู้คุณ (อัสสาทะ)
- รู้โทษ (อาทีนวะ)
- รู้วิธีสลัดออก (นิสสรณะ)

เพราะการรู้ใน ๕ ประเด็นสำคัญนี้เอง จึงทำให้สามารถแก้ปัญหาขั้นเด็ดขาด (วิมุติ) ได้ (สํ.ข.17/60/35)

หากพิจารณาดูก็จะเห็นได้ว่า ใน ๒ ประเด็นแรกนั้น เป็นการรู้ถึงกระบวนการหรือธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ
ส่วน ๒ ประเด็นต่อมา เป็นการรู้คุณและโทษของสิ่งนั้น ซึ่งก็คล้ายกับอายโกศลและอปายโกศล
ประเด็นสุดท้าย เป็นการรู้วิธีการ ซึ่งคล้ายกับอุปายโกศลนั่นเอง

ในมงคลสูตร (ขุ.สุ.25/318/376) สรุปความรู้เป็น ๒ ลักษณะ คือ

๑) ความรู้เชิงปริยัติหรือเชิงทฤษฎี เรียกว่า พาหุสัจจะ ที่แปลกันว่า ความเป็นพหูสูต คือ ได้เรียนได้ฟังมามาก และ
๒) ความรู้เชิงปฏิบัติ เรียกว่า สิปปะหรือศิลปะ ซึ่งก็ได้แก่ความชำนิชำนาญในการประกอบการ

ความรู้ทั้ง ๒ ลักษณะนี้ พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นเหตุแห่งความเจริญ หรือ ที่เรียกว่ามงคล ในประเด็นนี้ก็หมายความว่า ความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือนำไปสู่ความสำเร็จในกิจกรรมต่างๆได้นั้น จะต้องรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง คือ ต้องรู้ด้วย และทำได้ด้วย กิจการทุกอย่างต้องการความรู้ทั้ง ๒ ลักษณะ

พระพุทธศาสนาถือว่า สุดยอดของความรู้คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นทุกข์ ดังที่กล่าวไว้ในพระสูตรหนึ่งว่า
“พรหมจรรย์นี้ ... มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์...มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์...แต่มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบเป็นประโยชน์เป็นสาระเป็นผลสุดท้าย”
(ม.มู.12/352/373)

และในอีกพระสูตรหนึ่งกล่าวไว้ตรงๆว่า

สุดยอดของปัญญา คือ ความรู้ในความสิ้นทุกข์ (ปรมา อริยา ปญฺญา ยทิทํ สพฺพทุกฺขเย ญาณํ) (ม.อุ. 14/692/445)

ตามความพุทธพจน์ที่กล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า แม้การรู้ความจริงตามเป็นจริงหรืออย่างถูกต้อง ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ขั้นวิสามัญ ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ นั้น พระพุทธศาสนาก็ยังถือว่ามิใช่ความรู้ขั้นสุดท้าย หรือ ความรู้สูงสุด แต่เป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความรู้ขั้นสุดท้าย คือ สัพพทุกขขยญาณ ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ขั้นสุดยอด คือ ปรมอริยปัญญา


ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า ความรู้ที่แท้จริงตามหลักพระพุทธศาสนานั้น คือ รู้ถึงสภาวะอันแท้จริงของธรรมชาติ มิใช่เป็นเพียงการรู้ปรากฏการณ์ของธรรมชาติ ซึ่งเป็นเสมือนเงาหรือภาพลวงตาของธรรมชาติเท่านั้น
ฉะนั้น การรู้ภาวะอันแท้จริงของธรรมชาติ จึงต้องอาศัยเครื่องมือที่พิเศษไปกว่าประสาทสัมผัสธรรมดาของมนุษย์ นั่นคือ ญาณ และญาณที่จะนำไปสู่การหยั่งรู้สภาวะธรรมชาติได้อย่างถูกต้องนั้น ก็มิใช่เพียงญาณทัสสะเท่านั้น แต่ต้องเป็นญาณประเภท ยถาภูตญาณทัสสะ จึงจะนำไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายของความรู้ คือ สัพพทุกขขยญาณ หรือ วิมุตติญาณทัสสะ ได้

จะเห็นได้ว่า ลักษณะสำคัญของความรู้ที่แท้จริงหรือความรู้ที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนาก็คือ เมื่อเกิดความรู้ขึ้นความชั่วย่อมลงลด หรือ กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ว่า ยิ่งรู้มากเท่าไร ความชั่วยิ่งลดลงมากเท่านั้น ฉะนั้น ความรู้ตามนัยของพระพุทธศาสนา จึงมิใช่เพียงการรู้เพื่อรู้ แต่เป็นการรู้เพื่อลดละกิเลส นั่นคือ เกิดความรู้ที่แท้จริงในสิ่งใด ย่อมลดละกิเลสในสิ่งนั้นได้

ฉะนั้น ความลดละกิเลสได้ จึงอาจถือได้ว่าเป็นมาตรการสูงสุดสำหรับพิสูจน์ ความจริง หรือ ความถูกต้อง ของความรู้ในเรื่องนั้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2020, 22:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ต่อ

ในเรื่องของความรู้ที่ควรรู้ หรือ ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชีวิตนั้น พระพุทธศาสนาแสดงไว้ ๓ ประเภท คือ

- อายโกศล ความรู้ความฉลาดในสิ่งที่ดี ที่ควรทำ
- อปายโกศล ความรู้ความฉลาดในสิ่งที่ชั่ว ที่ควรละ
- อุปายโกศล ความรู้ความฉลาดที่จะทำให้บรรลุถึงสิ่งที่ดีและรอดพ้นจากสิ่งที่ชั่ว
(ที.ปา. 11/228/231)

ความรู้ทั้ง ๓ ลักษณะนี้ กล่าวสั้นๆ ก็คือ รู้ว่าอะไรดี รู้ว่าอะไรชั่ว และรู้วิธีที่จะช่วยให้ทำดีเว้นชั่วได้อย่างสมบูรณ์

ความรู้ทั้ง ๓ ลักษณะนี้ มีความหมายคลุมทั้งความรู้ระดับโลกียะ และระดับโลกุตตระ เพราะความรู้ทุกอย่างหรือทุกระดับ จะสำเร็จประโยชน์หรือมีผลทางปฏิบัติได้ เราจะต้องรู้ทั้งเนื้อหา และวิธีการอย่างถูกต้อง เพราะถ้าเรารู้แต่เนื้อหา แต่ไม่รู้วิธีใช้หรือวิธีทำ ก็คงจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้

ในบางพระสูตร (สํ.ข.17/60/35) ท่านกล่าวไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้ที่พึงประสงค์ คือ รู้คุณรู้โทษ และรู้วิธีที่จะสลัดตนออกจากสิ่งเหล่านั้น เรียกว่า รู้อัสสาทะ อาทีนวะ และ นิสสรณะ ในสิ่งนั้น ๆ ซึ่งเมื่อเทียบกับความรู้ทั้ง ๓ แบบแรกก็ความหมายเดียวกัน ดังนี้

เนื้อหา
- อายโกศล, อปายโกศล
- อัสสาทะ, อาทีนวะ

อุปายโกศล - วิธีการ - นิสสรณะ

ในบางพระสูตร (ที.สํ. 9/38/32) ได้แสดงความรู้ที่พึงประสงค์ หรือ ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชีวิตละเอียดออกไป เป็น ๕ ประเด็น คือ

- รู้ความเกิด (สมุทัย)
- รู้ความดับ (อัตถังคมะ)
- รู้คุณ (อัสสาทะ)
- รู้โทษ (อาทีนวะ)
- รู้วิธีสลัดออก (นิสสรณะ)

เพราะการรู้ใน ๕ ประเด็นสำคัญนี้เอง จึงทำให้สามารถแก้ปัญหาขั้นเด็ดขาด (วิมุติ) ได้ (สํ.ข.17/60/35)

หากพิจารณาดูก็จะเห็นได้ว่า ใน ๒ ประเด็นแรกนั้น เป็นการรู้ถึงกระบวนการหรือธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ
ส่วน ๒ ประเด็นต่อมา เป็นการรู้คุณและโทษของสิ่งนั้น ซึ่งก็คล้ายกับอายโกศลและอปายโกศล
ประเด็นสุดท้าย เป็นการรู้วิธีการ ซึ่งคล้ายกับอุปายโกศลนั่นเอง

ในมงคลสูตร (ขุ.สุ.25/318/376) สรุปความรู้เป็น ๒ ลักษณะ คือ

๑) ความรู้เชิงปริยัติหรือเชิงทฤษฎี เรียกว่า พาหุสัจจะ ที่แปลกันว่า ความเป็นพหูสูต คือ ได้เรียนได้ฟังมามาก และ
๒) ความรู้เชิงปฏิบัติ เรียกว่า สิปปะหรือศิลปะ ซึ่งก็ได้แก่ความชำนิชำนาญในการประกอบการ

ความรู้ทั้ง ๒ ลักษณะนี้ พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นเหตุแห่งความเจริญ หรือ ที่เรียกว่ามงคล ในประเด็นนี้ก็หมายความว่า ความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือนำไปสู่ความสำเร็จในกิจกรรมต่างๆได้นั้น จะต้องรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง คือ ต้องรู้ด้วย และทำได้ด้วย กิจการทุกอย่างต้องการความรู้ทั้ง ๒ ลักษณะ

พระพุทธศาสนาถือว่า สุดยอดของความรู้คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นทุกข์ ดังที่กล่าวไว้ในพระสูตรหนึ่งว่า
“พรหมจรรย์นี้ ... มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์...มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์...แต่มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบเป็นประโยชน์เป็นสาระเป็นผลสุดท้าย”
(ม.มู.12/352/373)

และในอีกพระสูตรหนึ่งกล่าวไว้ตรงๆว่า

สุดยอดของปัญญา คือ ความรู้ในความสิ้นทุกข์ (ปรมา อริยา ปญฺญา ยทิทํ สพฺพทุกฺขเย ญาณํ) (ม.อุ. 14/692/445)

ตามความพุทธพจน์ที่กล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า แม้การรู้ความจริงตามเป็นจริงหรืออย่างถูกต้อง ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ขั้นวิสามัญ ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ นั้น พระพุทธศาสนาก็ยังถือว่ามิใช่ความรู้ขั้นสุดท้าย หรือ ความรู้สูงสุด แต่เป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความรู้ขั้นสุดท้าย คือ สัพพทุกขขยญาณ ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ขั้นสุดยอด คือ ปรมอริยปัญญา


ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า ความรู้ที่แท้จริงตามหลักพระพุทธศาสนานั้น คือ รู้ถึงสภาวะอันแท้จริงของธรรมชาติ มิใช่เป็นเพียงการรู้ปรากฏการณ์ของธรรมชาติ ซึ่งเป็นเสมือนเงาหรือภาพลวงตาของธรรมชาติเท่านั้น
ฉะนั้น การรู้ภาวะอันแท้จริงของธรรมชาติ จึงต้องอาศัยเครื่องมือที่พิเศษไปกว่าประสาทสัมผัสธรรมดาของมนุษย์ นั่นคือ ญาณ และญาณที่จะนำไปสู่การหยั่งรู้สภาวะธรรมชาติได้อย่างถูกต้องนั้น ก็มิใช่เพียงญาณทัสสะเท่านั้น แต่ต้องเป็นญาณประเภท ยถาภูตญาณทัสสะ จึงจะนำไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายของความรู้ คือ สัพพทุกขขยญาณ หรือ วิมุตติญาณทัสสะ ได้

จะเห็นได้ว่า ลักษณะสำคัญของความรู้ที่แท้จริงหรือความรู้ที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนาก็คือ เมื่อเกิดความรู้ขึ้นความชั่วย่อมลงลด หรือ กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ว่า ยิ่งรู้มากเท่าไร ความชั่วยิ่งลดลงมากเท่านั้น ฉะนั้น ความรู้ตามนัยของพระพุทธศาสนา จึงมิใช่เพียงการรู้เพื่อรู้ แต่เป็นการรู้เพื่อลดละกิเลส นั่นคือ เกิดความรู้ที่แท้จริงในสิ่งใด ย่อมลดละกิเลสในสิ่งนั้นได้

ฉะนั้น ความลดละกิเลสได้ จึงอาจถือได้ว่าเป็นมาตรการสูงสุดสำหรับพิสูจน์ ความจริง หรือ ความถูกต้อง ของความรู้ในเรื่องนั้นๆ

คริคริ

ยอดกว่า ปรมปัญญาขันธ์

คืออาไรหรอคะ

tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2020, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ต่อ

ในเรื่องของความรู้ที่ควรรู้ หรือ ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชีวิตนั้น พระพุทธศาสนาแสดงไว้ ๓ ประเภท คือ

- อายโกศล ความรู้ความฉลาดในสิ่งที่ดี ที่ควรทำ
- อปายโกศล ความรู้ความฉลาดในสิ่งที่ชั่ว ที่ควรละ
- อุปายโกศล ความรู้ความฉลาดที่จะทำให้บรรลุถึงสิ่งที่ดีและรอดพ้นจากสิ่งที่ชั่ว
(ที.ปา. 11/228/231)

ความรู้ทั้ง ๓ ลักษณะนี้ กล่าวสั้นๆ ก็คือ รู้ว่าอะไรดี รู้ว่าอะไรชั่ว และรู้วิธีที่จะช่วยให้ทำดีเว้นชั่วได้อย่างสมบูรณ์

ความรู้ทั้ง ๓ ลักษณะนี้ มีความหมายคลุมทั้งความรู้ระดับโลกียะ และระดับโลกุตตระ เพราะความรู้ทุกอย่างหรือทุกระดับ จะสำเร็จประโยชน์หรือมีผลทางปฏิบัติได้ เราจะต้องรู้ทั้งเนื้อหา และวิธีการอย่างถูกต้อง เพราะถ้าเรารู้แต่เนื้อหา แต่ไม่รู้วิธีใช้หรือวิธีทำ ก็คงจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้

ในบางพระสูตร (สํ.ข.17/60/35) ท่านกล่าวไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้ที่พึงประสงค์ คือ รู้คุณรู้โทษ และรู้วิธีที่จะสลัดตนออกจากสิ่งเหล่านั้น เรียกว่า รู้อัสสาทะ อาทีนวะ และ นิสสรณะ ในสิ่งนั้น ๆ ซึ่งเมื่อเทียบกับความรู้ทั้ง ๓ แบบแรกก็ความหมายเดียวกัน ดังนี้

เนื้อหา
- อายโกศล, อปายโกศล
- อัสสาทะ, อาทีนวะ

อุปายโกศล - วิธีการ - นิสสรณะ

ในบางพระสูตร (ที.สํ. 9/38/32) ได้แสดงความรู้ที่พึงประสงค์ หรือ ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชีวิตละเอียดออกไป เป็น ๕ ประเด็น คือ

- รู้ความเกิด (สมุทัย)
- รู้ความดับ (อัตถังคมะ)
- รู้คุณ (อัสสาทะ)
- รู้โทษ (อาทีนวะ)
- รู้วิธีสลัดออก (นิสสรณะ)

เพราะการรู้ใน ๕ ประเด็นสำคัญนี้เอง จึงทำให้สามารถแก้ปัญหาขั้นเด็ดขาด (วิมุติ) ได้ (สํ.ข.17/60/35)

หากพิจารณาดูก็จะเห็นได้ว่า ใน ๒ ประเด็นแรกนั้น เป็นการรู้ถึงกระบวนการหรือธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ
ส่วน ๒ ประเด็นต่อมา เป็นการรู้คุณและโทษของสิ่งนั้น ซึ่งก็คล้ายกับอายโกศลและอปายโกศล
ประเด็นสุดท้าย เป็นการรู้วิธีการ ซึ่งคล้ายกับอุปายโกศลนั่นเอง

ในมงคลสูตร (ขุ.สุ.25/318/376) สรุปความรู้เป็น ๒ ลักษณะ คือ

๑) ความรู้เชิงปริยัติหรือเชิงทฤษฎี เรียกว่า พาหุสัจจะ ที่แปลกันว่า ความเป็นพหูสูต คือ ได้เรียนได้ฟังมามาก และ
๒) ความรู้เชิงปฏิบัติ เรียกว่า สิปปะหรือศิลปะ ซึ่งก็ได้แก่ความชำนิชำนาญในการประกอบการ

ความรู้ทั้ง ๒ ลักษณะนี้ พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นเหตุแห่งความเจริญ หรือ ที่เรียกว่ามงคล ในประเด็นนี้ก็หมายความว่า ความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือนำไปสู่ความสำเร็จในกิจกรรมต่างๆได้นั้น จะต้องรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง คือ ต้องรู้ด้วย และทำได้ด้วย กิจการทุกอย่างต้องการความรู้ทั้ง ๒ ลักษณะ

พระพุทธศาสนาถือว่า สุดยอดของความรู้คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นทุกข์ ดังที่กล่าวไว้ในพระสูตรหนึ่งว่า
“พรหมจรรย์นี้ ... มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์...มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์...แต่มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบเป็นประโยชน์เป็นสาระเป็นผลสุดท้าย”
(ม.มู.12/352/373)

และในอีกพระสูตรหนึ่งกล่าวไว้ตรงๆว่า

สุดยอดของปัญญา คือ ความรู้ในความสิ้นทุกข์ (ปรมา อริยา ปญฺญา ยทิทํ สพฺพทุกฺขเย ญาณํ) (ม.อุ. 14/692/445)

ตามความพุทธพจน์ที่กล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า แม้การรู้ความจริงตามเป็นจริงหรืออย่างถูกต้อง ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ขั้นวิสามัญ ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ นั้น พระพุทธศาสนาก็ยังถือว่ามิใช่ความรู้ขั้นสุดท้าย หรือ ความรู้สูงสุด แต่เป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความรู้ขั้นสุดท้าย คือ สัพพทุกขขยญาณ ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ขั้นสุดยอด คือ ปรมอริยปัญญา


ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า ความรู้ที่แท้จริงตามหลักพระพุทธศาสนานั้น คือ รู้ถึงสภาวะอันแท้จริงของธรรมชาติ มิใช่เป็นเพียงการรู้ปรากฏการณ์ของธรรมชาติ ซึ่งเป็นเสมือนเงาหรือภาพลวงตาของธรรมชาติเท่านั้น
ฉะนั้น การรู้ภาวะอันแท้จริงของธรรมชาติ จึงต้องอาศัยเครื่องมือที่พิเศษไปกว่าประสาทสัมผัสธรรมดาของมนุษย์ นั่นคือ ญาณ และญาณที่จะนำไปสู่การหยั่งรู้สภาวะธรรมชาติได้อย่างถูกต้องนั้น ก็มิใช่เพียงญาณทัสสะเท่านั้น แต่ต้องเป็นญาณประเภท ยถาภูตญาณทัสสะ จึงจะนำไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายของความรู้ คือ สัพพทุกขขยญาณ หรือ วิมุตติญาณทัสสะ ได้

จะเห็นได้ว่า ลักษณะสำคัญของความรู้ที่แท้จริงหรือความรู้ที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนาก็คือ เมื่อเกิดความรู้ขึ้นความชั่วย่อมลงลด หรือ กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ว่า ยิ่งรู้มากเท่าไร ความชั่วยิ่งลดลงมากเท่านั้น ฉะนั้น ความรู้ตามนัยของพระพุทธศาสนา จึงมิใช่เพียงการรู้เพื่อรู้ แต่เป็นการรู้เพื่อลดละกิเลส นั่นคือ เกิดความรู้ที่แท้จริงในสิ่งใด ย่อมลดละกิเลสในสิ่งนั้นได้

ฉะนั้น ความลดละกิเลสได้ จึงอาจถือได้ว่าเป็นมาตรการสูงสุดสำหรับพิสูจน์ ความจริง หรือ ความถูกต้อง ของความรู้ในเรื่องนั้นๆ

คริคริ

ยอดกว่า ปรมปัญญาขันธ์

คืออาไรหรอคะ

tongue


อ้างคำพูด:
ปรมปัญญาขันธ์ คืออาไรหรอคะ


เอาตรงไหนมา

อ้างคำพูด:
- รู้คุณ (อัสสาทะ)
- รู้โทษ (อาทีนวะ)
- รู้วิธีสลัดออก (นิสสรณะ)


การปฏิบัติจะไม่ติดไม่ตัน ต้องมีสามอย่างนี่ครบ คือ เห็นคุณ เห็นโทษ และเห็นทางออก ไปได้เลย

ถ้ารู้คุณ เห็นโทษ แต่ไม่เห็นไม่รู้ทางออกทางไป ก็ตัน ดิ้นวนอยู่นั่น ตอนประสบสุขเห็นคุณก็สนุกเพลินไป พอถึงโทษเห็นโทษประสบทุกข์ ก็เบื่อ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น อยากทำลาย อยากตาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2020, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ต่อ

ในเรื่องของความรู้ที่ควรรู้ หรือ ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชีวิตนั้น พระพุทธศาสนาแสดงไว้ ๓ ประเภท คือ

- อายโกศล ความรู้ความฉลาดในสิ่งที่ดี ที่ควรทำ
- อปายโกศล ความรู้ความฉลาดในสิ่งที่ชั่ว ที่ควรละ
- อุปายโกศล ความรู้ความฉลาดที่จะทำให้บรรลุถึงสิ่งที่ดีและรอดพ้นจากสิ่งที่ชั่ว
(ที.ปา. 11/228/231)

ความรู้ทั้ง ๓ ลักษณะนี้ กล่าวสั้นๆ ก็คือ รู้ว่าอะไรดี รู้ว่าอะไรชั่ว และรู้วิธีที่จะช่วยให้ทำดีเว้นชั่วได้อย่างสมบูรณ์

ความรู้ทั้ง ๓ ลักษณะนี้ มีความหมายคลุมทั้งความรู้ระดับโลกียะ และระดับโลกุตตระ เพราะความรู้ทุกอย่างหรือทุกระดับ จะสำเร็จประโยชน์หรือมีผลทางปฏิบัติได้ เราจะต้องรู้ทั้งเนื้อหา และวิธีการอย่างถูกต้อง เพราะถ้าเรารู้แต่เนื้อหา แต่ไม่รู้วิธีใช้หรือวิธีทำ ก็คงจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้

ในบางพระสูตร (สํ.ข.17/60/35) ท่านกล่าวไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้ที่พึงประสงค์ คือ รู้คุณรู้โทษ และรู้วิธีที่จะสลัดตนออกจากสิ่งเหล่านั้น เรียกว่า รู้อัสสาทะ อาทีนวะ และ นิสสรณะ ในสิ่งนั้น ๆ ซึ่งเมื่อเทียบกับความรู้ทั้ง ๓ แบบแรกก็ความหมายเดียวกัน ดังนี้

เนื้อหา
- อายโกศล, อปายโกศล
- อัสสาทะ, อาทีนวะ

อุปายโกศล - วิธีการ - นิสสรณะ

ในบางพระสูตร (ที.สํ. 9/38/32) ได้แสดงความรู้ที่พึงประสงค์ หรือ ความรู้ที่มีคุณค่าต่อชีวิตละเอียดออกไป เป็น ๕ ประเด็น คือ

- รู้ความเกิด (สมุทัย)
- รู้ความดับ (อัตถังคมะ)
- รู้คุณ (อัสสาทะ)
- รู้โทษ (อาทีนวะ)
- รู้วิธีสลัดออก (นิสสรณะ)

เพราะการรู้ใน ๕ ประเด็นสำคัญนี้เอง จึงทำให้สามารถแก้ปัญหาขั้นเด็ดขาด (วิมุติ) ได้ (สํ.ข.17/60/35)

หากพิจารณาดูก็จะเห็นได้ว่า ใน ๒ ประเด็นแรกนั้น เป็นการรู้ถึงกระบวนการหรือธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ
ส่วน ๒ ประเด็นต่อมา เป็นการรู้คุณและโทษของสิ่งนั้น ซึ่งก็คล้ายกับอายโกศลและอปายโกศล
ประเด็นสุดท้าย เป็นการรู้วิธีการ ซึ่งคล้ายกับอุปายโกศลนั่นเอง

ในมงคลสูตร (ขุ.สุ.25/318/376) สรุปความรู้เป็น ๒ ลักษณะ คือ

๑) ความรู้เชิงปริยัติหรือเชิงทฤษฎี เรียกว่า พาหุสัจจะ ที่แปลกันว่า ความเป็นพหูสูต คือ ได้เรียนได้ฟังมามาก และ
๒) ความรู้เชิงปฏิบัติ เรียกว่า สิปปะหรือศิลปะ ซึ่งก็ได้แก่ความชำนิชำนาญในการประกอบการ

ความรู้ทั้ง ๒ ลักษณะนี้ พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นเหตุแห่งความเจริญ หรือ ที่เรียกว่ามงคล ในประเด็นนี้ก็หมายความว่า ความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือนำไปสู่ความสำเร็จในกิจกรรมต่างๆได้นั้น จะต้องรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง คือ ต้องรู้ด้วย และทำได้ด้วย กิจการทุกอย่างต้องการความรู้ทั้ง ๒ ลักษณะ

พระพุทธศาสนาถือว่า สุดยอดของความรู้คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นทุกข์ ดังที่กล่าวไว้ในพระสูตรหนึ่งว่า
“พรหมจรรย์นี้ ... มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์...มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์...แต่มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบเป็นประโยชน์เป็นสาระเป็นผลสุดท้าย”
(ม.มู.12/352/373)

และในอีกพระสูตรหนึ่งกล่าวไว้ตรงๆว่า

สุดยอดของปัญญา คือ ความรู้ในความสิ้นทุกข์ (ปรมา อริยา ปญฺญา ยทิทํ สพฺพทุกฺขเย ญาณํ) (ม.อุ. 14/692/445)

ตามความพุทธพจน์ที่กล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า แม้การรู้ความจริงตามเป็นจริงหรืออย่างถูกต้อง ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ขั้นวิสามัญ ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ นั้น พระพุทธศาสนาก็ยังถือว่ามิใช่ความรู้ขั้นสุดท้าย หรือ ความรู้สูงสุด แต่เป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความรู้ขั้นสุดท้าย คือ สัพพทุกขขยญาณ ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ขั้นสุดยอด คือ ปรมอริยปัญญา


ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า ความรู้ที่แท้จริงตามหลักพระพุทธศาสนานั้น คือ รู้ถึงสภาวะอันแท้จริงของธรรมชาติ มิใช่เป็นเพียงการรู้ปรากฏการณ์ของธรรมชาติ ซึ่งเป็นเสมือนเงาหรือภาพลวงตาของธรรมชาติเท่านั้น
ฉะนั้น การรู้ภาวะอันแท้จริงของธรรมชาติ จึงต้องอาศัยเครื่องมือที่พิเศษไปกว่าประสาทสัมผัสธรรมดาของมนุษย์ นั่นคือ ญาณ และญาณที่จะนำไปสู่การหยั่งรู้สภาวะธรรมชาติได้อย่างถูกต้องนั้น ก็มิใช่เพียงญาณทัสสะเท่านั้น แต่ต้องเป็นญาณประเภท ยถาภูตญาณทัสสะ จึงจะนำไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายของความรู้ คือ สัพพทุกขขยญาณ หรือ วิมุตติญาณทัสสะ ได้

จะเห็นได้ว่า ลักษณะสำคัญของความรู้ที่แท้จริงหรือความรู้ที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนาก็คือ เมื่อเกิดความรู้ขึ้นความชั่วย่อมลงลด หรือ กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ว่า ยิ่งรู้มากเท่าไร ความชั่วยิ่งลดลงมากเท่านั้น ฉะนั้น ความรู้ตามนัยของพระพุทธศาสนา จึงมิใช่เพียงการรู้เพื่อรู้ แต่เป็นการรู้เพื่อลดละกิเลส นั่นคือ เกิดความรู้ที่แท้จริงในสิ่งใด ย่อมลดละกิเลสในสิ่งนั้นได้

ฉะนั้น ความลดละกิเลสได้ จึงอาจถือได้ว่าเป็นมาตรการสูงสุดสำหรับพิสูจน์ ความจริง หรือ ความถูกต้อง ของความรู้ในเรื่องนั้นๆ

คริคริ

ยอดกว่า ปรมปัญญาขันธ์

คืออาไรหรอคะ

tongue


อ้างคำพูด:
ปรมปัญญาขันธ์ คืออาไรหรอคะ


เอาตรงไหนมา

อ้างคำพูด:
- รู้คุณ (อัสสาทะ)
- รู้โทษ (อาทีนวะ)
- รู้วิธีสลัดออก (นิสสรณะ)


การปฏิบัติจะไม่ติดไม่ตัน ต้องมีสามอย่างนี่ครบ คือ เห็นคุณ เห็นโทษ และเห็นทางออก ไปได้เลย

ถ้ารู้คุณ เห็นโทษ แต่ไม่เห็นไม่รู้ทางออกทางไป ก็ตัน ดิ้นวนอยู่นั่น ตอนประสบสุขเห็นคุณก็สนุกเพลินไป พอถึงโทษเห็นโทษประสบทุกข์ ก็เบื่อ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น อยากทำลาย อยากตาย


อ่อ เขียนตกไป ปรมอริยปัญญา
แล้วเขียนเพิ่มไป ขันธ์


ตอบให้ก็ได้นะคะ

ที่เหนือกว่า ปรมอริยะปัญญา คือ

อรหัตตผล ค่ะ

คริคริ
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2020, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:

อ่อ เขียนตกไป ปรมอริยปัญญา
แล้วเขียนเพิ่มไป ขันธ์


ตอบให้ก็ได้นะคะ

ที่เหนือกว่า ปรมอริยะปัญญา คือ

อรหัตตผล ค่ะ

คริคริ
tongue


อ้างคำพูด:
ปรมอริยะปัญญา


ปรมะ เท่ากับบอกว่าสุดแล้ว :b1: (ปรมอริยปัญญา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2020, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:

อ่อ เขียนตกไป ปรมอริยปัญญา
แล้วเขียนเพิ่มไป ขันธ์


ตอบให้ก็ได้นะคะ

ที่เหนือกว่า ปรมอริยะปัญญา คือ

อรหัตตผล ค่ะ

คริคริ
tongue


อ้างคำพูด:
ปรมอริยะปัญญา


ปรมะ เท่ากับบอกว่าสุดแล้ว :b1: (ปรมอริยปัญญา)

คริคริ
อรหัตตผลตะหาก สุดของสุด
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2020, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:

อ่อ เขียนตกไป ปรมอริยปัญญา
แล้วเขียนเพิ่มไป ขันธ์


ตอบให้ก็ได้นะคะ

ที่เหนือกว่า ปรมอริยะปัญญา คือ

อรหัตตผล ค่ะ

คริคริ
tongue


อ้างคำพูด:
ปรมอริยะปัญญา


ปรมะ เท่ากับบอกว่าสุดแล้ว :b1: (ปรมอริยปัญญา)

คริคริ
อรหัตตผลตะหาก สุดของสุด
tongue


นู๋เมไม่เข้าใจภาษาของเขา ปรมะนั่นแหละสุดยอดอริยะแล้ว ปรมอริยะ คิกๆๆ ไม่เกินไปกว่านั้นแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2020, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:

อ่อ เขียนตกไป ปรมอริยปัญญา
แล้วเขียนเพิ่มไป ขันธ์


ตอบให้ก็ได้นะคะ

ที่เหนือกว่า ปรมอริยะปัญญา คือ

อรหัตตผล ค่ะ

คริคริ
tongue


อ้างคำพูด:
ปรมอริยะปัญญา


ปรมะ เท่ากับบอกว่าสุดแล้ว :b1: (ปรมอริยปัญญา)

คริคริ
อรหัตตผลตะหาก สุดของสุด
tongue


นู๋เมไม่เข้าใจภาษาของเขา ปรมะนั่นแหละสุดยอดอริยะแล้ว ปรมอริยะ คิกๆๆ ไม่เกินไปกว่านั้นแล้ว

คริคริ

ลุงกัชกาย กะภาษา ไม่เข้าใจ ธรรมะ
ปรมอริยะปัญญาน่ะ มีสูงสุดแต่ละขั้น เป็นมรรค ตั้งแต่โสดาบัน สกิทามี อนาคามี และอรหัตตมรรค

ไม่ใช่เป็นผล แบบอรหัตตผล จร้า

tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2020, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:

อ่อ เขียนตกไป ปรมอริยปัญญา
แล้วเขียนเพิ่มไป ขันธ์


ตอบให้ก็ได้นะคะ

ที่เหนือกว่า ปรมอริยะปัญญา คือ

อรหัตตผล ค่ะ

คริคริ
tongue


อ้างคำพูด:
ปรมอริยะปัญญา


ปรมะ เท่ากับบอกว่าสุดแล้ว :b1: (ปรมอริยปัญญา)

คริคริ
อรหัตตผลตะหาก สุดของสุด
tongue


นู๋เมไม่เข้าใจภาษาของเขา ปรมะนั่นแหละสุดยอดอริยะแล้ว ปรมอริยะ คิกๆๆ ไม่เกินไปกว่านั้นแล้ว

คริคริ

ลุงกัชกาย กะภาษา ไม่เข้าใจ ธรรมะ
ปรมอริยะปัญญาน่ะ มีสูงสุดแต่ละขั้น เป็นมรรค ตั้งแต่โสดาบัน สกิทามี อนาคามี และอรหัตตมรรค

ไม่ใช่เป็นผล แบบอรหัตตผล จร้า

tongue


อ้างคำพูด:
ปรมอริยะปัญญา


เอายังงั้น ก็เอา อรหัตผลปัญญา ใส่แทนปรมะเข้าไปสิ ต้องให้บอกไปทุกเรื่องทุกอย่าง ปรมอริยปัญญา ปรม บอกอยู่แล้วว่า อริยปัญญาขั้นสูงสุดแล้ว :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2020, 01:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:

อ่อ เขียนตกไป ปรมอริยปัญญา
แล้วเขียนเพิ่มไป ขันธ์


ตอบให้ก็ได้นะคะ

ที่เหนือกว่า ปรมอริยะปัญญา คือ

อรหัตตผล ค่ะ

คริคริ
tongue


อ้างคำพูด:
ปรมอริยะปัญญา


ปรมะ เท่ากับบอกว่าสุดแล้ว :b1: (ปรมอริยปัญญา)

คริคริ
อรหัตตผลตะหาก สุดของสุด
tongue


นู๋เมไม่เข้าใจภาษาของเขา ปรมะนั่นแหละสุดยอดอริยะแล้ว ปรมอริยะ คิกๆๆ ไม่เกินไปกว่านั้นแล้ว

คริคริ

ลุงกัชกาย กะภาษา ไม่เข้าใจ ธรรมะ
ปรมอริยะปัญญาน่ะ มีสูงสุดแต่ละขั้น เป็นมรรค ตั้งแต่โสดาบัน สกิทามี อนาคามี และอรหัตตมรรค

ไม่ใช่เป็นผล แบบอรหัตตผล จร้า

tongue


อ้างคำพูด:
ปรมอริยะปัญญา


เอายังงั้น ก็เอา อรหัตผลปัญญา ใส่แทนปรมะเข้าไปสิ ต้องให้บอกไปทุกเรื่องทุกอย่าง ปรมอริยปัญญา ปรม บอกอยู่แล้วว่า อริยปัญญาขั้นสูงสุดแล้ว :b32:

คริคริ
มั่วอีกแล้วค่ะลุงกรัชกาย
อริยปัญญาน่ะ เป็นมรรค ยังมีหลายขั้นนะคะ

อรหัตผลน่ะ คือผล
เหนืออรหัตตผลน่ะ ยังมีสูงกว่านี้อีก

สูงสุดๆๆๆๆ จะไส่ว่า อรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้า ค่ะ

tongue


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 138 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร