วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2020, 04:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




9dc638c34e8a4e620c25ea3489032e44.png
9dc638c34e8a4e620c25ea3489032e44.png [ 152.67 KiB | เปิดดู 1878 ครั้ง ]
ยกสังขาร ๓ ถามว่า คืออะไร
กายสังขาร(เครื่องปรุงแต่งกาย)
วจีสังขาร(เครื่องปรุงแต่งวาจา)
จิตตสังขาร(เครื่องปรุงแต่งจิต)

ลมหายใจเข้าออก เป็นกายสังขาร: ความตรึก ความตรอง (วิตก.วิจาร)เป็นวจีสังขาร
ความจำได้หมายรู้ และความรู้สึกอารมณ์(เวทนา.สัญญา)เป็นจิตตสังขาร

ถามว่า; เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
ตอบว่า; เพราะลมหายใจเข้าออก เป็นทางกาย เนื่องด้วยกาย จึงเป็นเครื่องปรุงกาย;
คนตรึกแล้ว ตรองแล้วก่อน จึงเปล่งวาจา ความตรึก ความตรอง จึงเป็นเครื่องปรุงแต่งวาจา
สัญญา เวทนา; เป็นไปทางจิต จึงเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต

การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ(สมาบัติอันดับสัญญาและเวทนา) เป็นอย่างไร
ตอบว่า: ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ต้องคิดว่า เราจักเข้า เรากำลังเข้า
หรือเราเข้าแล้ว สู่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นการอบรมเช่นนั้นไว้ก่อน
น้อมจิตไปเพื่อทำเช่นนั้น ภิกษุผู้เข้าสัญญเวทยิตนิโรธสมาบัติสังขารอะไรละก่อน
ตอบว่า; วจีสังขารละก่อน.ต่อจากนั้นกายสังขาร ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ

การออกจากสัญญเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นอย่างไร
ตอบว่า; ภิกษุผู้ออกจากสัญญเวทยิตนิโรธสมาบัติไม่ต้องเราจักออก เรากำลังออก
เราออกแล้วจากสัญญเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นแต่การอบรมณ์จิตเช่นนั้นไว้ก่อนแล้ว
น้อมจิตเพื่อเป็นการเช่นนั้น เมื่อภิกษุออกจากสัญญเวทยิตนิโรธสมาบัติ สังขารอะไรเกิดก่อน

ตอบว่า ; จิตตสังขารเกิดก่อน ต่อจากนั้นกายสังขาร ต่อจากนั้นวจีสังขารจึงเกิด
ผัสสะอะไรบ้าง ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญเวทยิตนิโรธสมาบัติ
ตอบว่า; ผัสสะ คือสุญญผัสสะ(ความถูกต้องความสูญหรือความว่าง
อนิมิตตผัสสะ(ความถูกต้องที่ไม่มีนิมิตหรือเครื่องกำหนดหมาย)
อัปปณิหิตผัสสะ(ความถูกต้องที่ไม่มีที่ตั้ง)จิตของพระภิกษุผู้ออกจากสัญญเวทยิตนิโรธสมาบัติ
น้อมทำอะไร ตอบว่า; น้อมไปหาทางวิเวก(ความสงัด)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2020, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิโรธ ความดับทุกข์ คือ ดับตัณหาได้สิ้นเชิง, ภาวะปลอดทุกข์เพราะไม่มีทุกข์ที่จะเกิดขึ้นได้ หมายถึง พระนิพพาน

นิโรธสัญญา ความสำคัญหมายในนิโรธ คือ กำหนดหมายการดับตัณหาอันเป็นอริยผลว่า เป็นธรรมละเอียดประณีต

อนุปุพพวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ, ธรรมเป็นเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ มี ๙ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)

นิโรธสมาบัติ การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนาการเสวยอารมณ์ เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ, พระอรหันต์ และพระอนาคามีที่ได้สมาบัติ ๘ (=รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔) แล้วจึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้


สมาบัติ ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง; สมาบัติมีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ อนุปุพพวิหารสมาบัติ เป็นต้น สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อย คือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ ๘ อันได้แก่ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ถ้าเพิ่มนิโรธสมาบัติ ต่อท้ายสมาบัติ ๘ นี้ รวมเรียกว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2020, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
นิโรธ ความดับทุกข์ คือ ดับตัณหาได้สิ้นเชิง, ภาวะปลอดทุกข์เพราะไม่มีทุกข์ที่จะเกิดขึ้นได้ หมายถึง พระนิพพาน

นิโรธสัญญา ความสำคัญหมายในนิโรธ คือ กำหนดหมายการดับตัณหาอันเป็นอริยผลว่า เป็นธรรมละเอียดประณีต

อนุปุพพวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ, ธรรมเป็นเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ มี ๙ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)

นิโรธสมาบัติ การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนาการเสวยอารมณ์ เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ, พระอรหันต์ และพระอนาคามีที่ได้สมาบัติ ๘ (=รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔) แล้วจึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้


สมาบัติ ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง; สมาบัติมีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ อนุปุพพวิหารสมาบัติ เป็นต้น สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อย คือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ ๘ อันได้แก่ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ถ้าเพิ่มนิโรธสมาบัติ ต่อท้ายสมาบัติ ๘ นี้ รวมเรียกว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙


สาธุครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2020, 09:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 702

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาสาธุนะครับ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron