วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2008, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

:b45: :b45: ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน
พระประธานในพระอุโบสถ วัดบางพลีใหญ่ใน (พระอารามหลวง)
ริมคลองสำโรง ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ


“หลวงพ่อโต” ได้ประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในพระอุโบสถ
วัดบางพลีใหญ่ใน
ริมคลองสำโรง ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (ปางชนะมาร, ปางสะดุ้งมาร) สมัยกรุงสุโขทัย ขัดสมาธิราบ
องค์พระเป็นทองสำริดทั้งองค์ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๑ คืบ ลืมพระเนตร
องค์หลวงพ่อได้รับการกล่าวขวัญถึงความศักดิ์สิทธิ์
เป็นที่เคารพสักการะของชาวบางพลีและพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นยิ่งนัก

ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ประมาณกาล ๒๐๐ กว่าปีล่วงมาแล้ว
ได้มีพระพุทธรูป ๓ องค์ ปาฏิหาริย์ลงมาจากทางเหนือ
ลอยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดมา
พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นี้ เข้าใจว่าปวงชนในกรุงศรีอยุธยา
คงอาราธนาท่านลงสู่แม่น้ำ เพื่อหลบหนีข้าศึก
ด้วยในสมัยนั้นบ้านเมืองได้เกิดสภาวะสงครามขึ้นกับพม่า

พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ได้แสดงอภินิหารลอยล่องมาตามลำแม่น้ำ
และบางครั้งก็แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ผุดให้ผู้คนเห็นตามลำดับ
จนเป็นที่โจษจันกันทั่ว ถึงอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน


ต่อมาภายหลังปรากฏว่า พระพุทธรูปองค์หนึ่งไปขึ้นประดิษฐาน
อยู่ที่ วัดบ้านแหลม (วัดเพชรสมุทรวรวิหาร) จ.สมุทรสงคราม

ในเวลาไล่เลี่ยกันพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง
ไปขึ้นประดิษฐานอยู่ที่ วัดโสธรเทพวราราม จ.ฉะเชิงเทรา

ส่วนอีกองค์หนึ่งได้ล่องลอยเรื่อยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา
ปาฏิหาริย์ลอยวกเข้ามาในลำคลองสำโรง
ประชาชนพบเห็นต่างโจษจันกันไปทั่ว พร้อมกับได้อาราธนา
ขึ้นที่ปากคลองสำโรง แต่พระพุทธรูปไม่ยอมขึ้น

ในที่นั้น มีผู้มีปัญญาดีคนหนึ่ง ได้ให้ความเห็นว่า
คงเป็นเพราะบุญญาอภินิหารของท่าน
แม้จะใช้จำนวนผู้คนสักเท่าไรอาราธนาฉุดท่านขึ้นบนฝั่งไม่สำเร็จเป็นแน่
ควรจะเสี่ยงทายต่อแพผูกชะลอกับองค์ท่าน
แล้วใช้เรือพายฉุดท่าน ให้ลอยตามลำน้ำสำโรงและอธิษฐานว่า
“หากท่านประสงค์จะขึ้นโปรดที่ใด
ก็ขอจงได้แสดงอภินิหารให้แพที่ลอยมาจงหยุด ณ ที่นั้นเถิด”


เมื่อประชาชนทั้งหลายได้เห็นพ้องดีกันดังนั้นแล้ว
ก็พร้อมใจกันทำแพผูกชะลอกับองค์ท่านแล้วใช้เรือ
ซึ่งสมัยนั้นเป็นเรือพายทั้งสิ้น ช่วยกันจ้ำพายจูงแพลอยเรื่อยมาตามลำคลอง
เรือที่ใช้ลากจูงแพมานั้นมีชื่อแปลกต่างๆ กัน เช่นชื่อ ม้าน้ำ
เป็ดน้ำ ตุ๊กแก และอื่นๆ เป็นต้น และจัดให้มีการละเล่นต่างๆ
มีละครเจ้ารำถวายมาตลอดทาง และการละเล่นอื่นๆ ครึกครื้นมาตลอดทั้งลำน้ำ

ครั้นแพลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดพลับพลาชัยชนะสงคราม
หรือวัดบางพลีใหญ่ใน แพที่ผูกชะลอองค์ท่านเกิดหยุดนิ่ง
พยายามจ้ำและพายกันอย่างเต็มที่เต็มกำลัง แพนั้นก็หาได้ขยับเขยื้อนไม่

ประชาชนที่มากับเรือและชาวบางพลี จึงได้พร้อมใจกัน
อาราธนาตั้งจิตอธิษฐานว่า “ถ้าหลวงพ่อจะโปรดคุ้มครอง
ชาวบางพลีให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขแล้ว
ก็ขออาราธนาอัญเชิญองค์ท่านให้ขึ้นจากน้ำได้โดยง่ายเถิด”


และเป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างมาก เพียงใช้คนไม่มากนัก
สามารถอาราธนาท่านขึ้นจากน้ำได้โดยง่าย
ทำให้ประชาชนต่างแซ่ซ้องในอภินิหารของท่านเป็นอย่างยิ่ง
และได้อาราธนาท่านขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในวิหารนั้นเรื่อยมา

ครั้นต่อมาได้รื้อวิหารนั้นอีกเพื่อสร้างเป็นพระอุโบสถที่ถาวร
จึงต้องชะลออาราธนาองค์ท่านมาพักไว้ยังศาลาชั่วคราว
จนกระทั่งได้สร้างพระอุโบสถสำเร็จแล้ว
จึงได้อาราธนาท่านไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ
เพื่อเป็นพระประธานของวัดบางพลีใหญ่ใน


เล่ากันว่า เมื่อคราวสร้างพระอุโบสถเสร็จใหม่ๆ
ได้วัดช่องประตูพระอุโบสถกับองค์หลวงพ่อโต
ปรากฏว่า ช่องประตูใหญ่กว่าองค์พระประมาณ ๕ นิ้ว
ซึ่งสามารถนำองค์หลวงพ่อโตผ่านเข้าไปได้

แต่พอถึงคราวอาราธนาจริง กลับปรากฏว่าองค์หลวงพ่อใหญ่กว่าประตูมาก
คณะกรรมการจำนวนหนึ่งเห็นว่าควรทุบช่องประตูทิ้ง
แต่อีกจำนวนหนึ่งเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต
จึงได้พร้อมใจกันอธิษฐานขอให้หลวงพ่อโตสามารถผ่านเข้าประตูได้
เพื่อเป็นมิ่งขวัญคุ้มครองชาวบางพลีสืบไป

เมื่ออธิษฐานเสร็จก็อาราธนาหลวงพ่อโตผ่านประตูได้โดยสะดวก


รูปภาพ

รูปภาพ

ที่ท่านได้พระนามว่า “หลวงพ่อโต” คงเป็นเพราะองค์ของท่านใหญ่โต
คือ ใหญ่โตกว่าองค์ที่ลอยน้ำมาด้วยกันทั้ง ๒ องค์
จึงถือเป็นนิมิตอันดีให้ประชาชนพากันถวายนามว่า “หลวงพ่อโต”
เป็นสิ่งที่เคารพสักการะของชาวบางพลี ตราบเท่าทุกวันนี้

ทั้งนี้ การลำดับว่าองค์ไหนเป็นองค์พี่ องค์กลาง และองค์น้อง
เนื่องจากลอยน้ำมาพร้อมกัน ซึ่งตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา
เข้าใจว่าคงจะนับเอาองค์ที่อาราธนาขึ้นจากน้ำได้ก่อนเป็นองค์พี่
ขึ้นจากน้ำองค์ที่ ๒ เป็นองค์กลาง ขึ้นจากน้ำองค์ที่ ๓ เป็นองค์น้อง ตามลำดับคือ

หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม
อาราธนาขึ้นจากน้ำองค์ที่ ๑

หลวงพ่อโสธร วัดโสธรเทพวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
อาราธนาขึ้นจากน้ำองค์ที่ ๒

หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ
อาราธนาขึ้นจากน้ำเป็นองค์ที่ ๓ เรียงกันตามลำดับ

นอกจากนี้ หลวงพ่อโตยังได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เจ็บป่วยทั้งหลาย
ที่มาบอกเล่าบนบานกราบนมัสการท่าน บางท่านได้นำน้ำมนต์หลวงพ่อไป
เพื่อความเป็นสิริมงคล ปรากฏว่าโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นนั้นหายวันหายคืน

แม้แต่กระทั่งรูปเหรียญหลวงพ่อโต ชาวบ้านทั้งใกล้ไกลต่างพากัน
ห้อยคอให้แก่บุตรหลานของตน เพราะเมื่อเด็กเผลอพลัดตกน้ำ
เด็กนั้นกลับลอยได้เป็นที่น่าอัศจรรย์ ตลอดทั้งพระเครื่องราง
ที่ทำเป็นรูปขององค์หลวงพ่อ ก็มีอภินิหารป้องกันภยันตรายต่างๆ ได้

ทุกวันนี้ชาวบางพลีต่างเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และบารมีของหลวงพ่อโต
ที่คุ้มครองชุมชนบางพลีให้ปลอดภัยจากอัคคีภัย
ในขณะที่ชุมชนโดยรอบ อาทิ ตลาดบางบ่อ ตลาดจระเข้
ตลาดคลองด่าน ล้วนแต่ประสบกับอัคคีภัยมาแล้วทั้งนั้น


:b44: คาถาบูชาหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน

(ตั้งนะโม ๓ จบ)
อิมินา สักกาเรนะ พุทธะมหานุภาโว
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมะมหานุภาโว
อิมินา สักกาเรนะ สังฆะมหานุภาโว
อิเมยันตา มหาเตชา มหานุภาตะชาติกา
มหามังคะละ สัมพุทตา อันตราเยวินาสะกา
สัพพะถะสุขะ สัมพุทตา อเนกาคุณันตานานับปะโก
สัพพะทุกขัง สัพพะภะยัง สัพพะโรคังวินาสสันติ
สัพพะลาภัง สัพพะสุขัง ภะวันตุเมฯ


ปัจจุบัน วัดบางพลีใหญ่ใน เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
เนื่องด้วยในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะวัดบางพลีใหญ่ใน จ.สมุทรปราการ
จากวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา
พร้อมกับวัดราษฎร์อื่นๆ ทั่วประเทศรวมจำนวน ๒๐ วัด


รูปภาพ
หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จ.สมุทรปราการ

รูปภาพ
ชุมชนหน้าวัดบางพลีใหญ่ใน จ.สมุทรปราการ


:b8: - หนังสือไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด
กองบรรณาธิการข่าวสด สำนักพิมพ์มติชน

- ตำนานหลวงพ่อลอยน้ำ ๕ พี่น้อง (พุทธปัญจภาคีวารีปาฏิหาริย์)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19593

:b8: ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ
http://www.klongdigital.com/webboard3/27486.html
https://www.facebook.com/ThaiBuddhism

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2013, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ความเป็นมาของประเพณีรับบัว (โยนบัว)
อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

:b50: :b45: :b50:

ในสมัยก่อนในแถบอำเภอบางพลี มีประชากรอาศัยอยู่ 3 พวก คือ คนไทย รามัญ และลาว แต่ละพวกจะมีหัวหน้าคอยควบคุมดูแลและทำมาหากินในอาชีพต่างๆ กัน ซึ่งชาวรามัญในสมัยนั้นจะขุดบ่อเลี้ยงปลาเป็นอาชีพ ต่อมาทั้งคนไทย รามัญ และลาว ทั้ง 3 พวกก็ปรึกษาหารือกันว่าสมควรจะช่วยกันหักล้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อทำไร่ทำสวนต่อไป บริเวณนี้แต่ก่อนเต็มไปด้วยป่าพงอ้อ พงแขม และไม้นานาชนิดขึ้นเต็มไปหมด ฝั่งทางตอนใต้ของลำคลองสำโรงก็เต็มไปด้วยป่าแสม น้ำก็เป็นน้ำเค็ม ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์ร้ายนานาชนิด ทางฝั่งตอนเหนือก็เต็มไปด้วยบึงขนาดใหญ่ ภายในบึงแต่ละบึงก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยดอกบัวหลวงมากมาย พวกคนไทย รามัญ และลาว ก็พยายามหักล้างถางพงเรื่อยมาจนกระทั่งถึงทางแยก 3 ทางคือ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นคลองสลุด ทางเหนือเป็นคลองชวดลากข้าว และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นคลองลาดกระบัง คนทั้ง 3 พวกก็ตกลงกันว่าควรจะแยกย้ายกันทำมาหากินคนละทางจะดีกว่า เพื่อที่จะได้รู้ภูมิประเทศว่าด้านไหนจะทำมาหากินได้คล่องดีกว่ากัน เมื่อตกลงดังนั้นแล้วจึงแยกทางกันไปทำมาหากิน โดยพวกลาวไปทางคลองสลุด ไทยไปทางคลองชวดลากข้าว และพวกรามัญไปทางคลองลาดกระบัง

พวกชาวรามัญทำมาหากินอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผลเพราะนก หนู ชุกชุมรบกวนพืชผลต่างๆ จนเสียหายมากมาย เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผล พวกชาวรามัญก็ปรึกษาเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นฐานเดิมที่ปากลัด (อำเภอพระประแดง) โดยเริ่มอพยพกันในตอนเช้ามืดของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 (ก่อนวันออกพรรษา 1 วัน ซึ่งตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ก่อนไปก็ได้ไปเก็บ “ดอกบัว” ในบึงบริเวณนี้มากมาย คนไทยที่คุ้นเคยกับพวกรามัญก็ไต่ถามว่าเก็บดอกบัวไปทำไมมากมายเพียงนี้ พวกชาวรามัญก็บอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพัน (เทศน์มหาชาติ) ที่ปากลัด และได้สั่งเสียกับคนไทยที่รักและสนิทสนมชิดชอบว่า ในปีต่อมาเมื่อถึงวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ให้ช่วยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ใน (วัดหลวงพ่อโต) นี้ด้วย พวกตนจะมาคอยรับ ด้วยนิสัยคนไทยนั้นชอบโอบอ้อมอารี รักพวกพ้องจึงตอบตกลง จากนั้นพวกชาวรามัญก็นมัสการองค์หลวงพ่อโต พร้อมทั้งขอน้ำมนต์องค์หลวงพ่อโตไปเพื่อเป็นสิริมงคล และลากลับถิ่นฐานเดิมที่ปากลัด และนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพัน (เทศน์มหาชาติ)

ครั้นปีต่อมาพอถึงกำหนดวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 คนไทยในแถบอำเภอบางพลีก็รวบรวมดอกบัวไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ใน (วัดหลวงพ่อโต) ตามคำขอร้องของชาวรามัญ พวกชาวรามัญก็จะมารับดอกบัวทุกปี การเดินทางมาจะมาในเวลากลางคืน มาโดยทางเรือขนาดจุ 50-60 คน จะมาถึงวัดประมาณตี 1-4 ของทุกครั้งที่มา และมีการตีฆ้องร้องเพลงตลอดทางอย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งมีการละเล่นต่างๆ ในเรือ ผู้ที่คอยต้อนรับก็พลอยสนุกสนานไปด้วยไมตรีจิตอันดียิ่ง คนไทยได้ทำอาหารคาวหวานต่างๆ เลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหารกัน เมื่ออิ่มหนำสำราญแล้วก็นำดอกบัวไปนมัสการองค์หลวงพ่อโต จากนั้นก็นำดอกบัวกลับไปบูชาพระคาถาพัน (เทศน์มหาชาติ) ที่ปากลัด


:b8: :b8: :b8: เรียบเรียงมาจาก : เอกสารเผยแพร่
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรปราการ กระทรวงวัฒนธรรม


:b44: วันออกพรรษา และประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=39799

:b44: มาปวารณากันเถิด (พระไพศาล วิสาโล)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=83&t=54503

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2015, 05:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 05:25
โพสต์: 621


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2015, 12:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 14:07
โพสต์: 278


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเพณีรับบัว (โยนบัว) และสักการะหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน เป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จะมีขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ก่อนวันออกพรรษา 1 วันค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2019, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2019, 09:13 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร