วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2019, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน หมายถึง ความดับกิเลส, ความดับทุกข์

อนัตตา หมายถึง ไม่มีตัวตน, ไม่ใช่ตัวตน

เริ่มต้น จะขอกล่าวถึง ความเป็นอนัตตาของเบญขันธ์ก่อน ว่าเป็นอนัตตาอย่างไร

ซึ่งมี พุทธพจน์ ที่ทรงแสดงไว้ในอนัตลักขณสูตร

ดังนี้ว่า

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ
เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา
ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ
เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย.

วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

......................................

ตรงนี้พระพุทธองค์ ทรงแสดง อนัตตลักษณะ ของเบญขันธ์
ว่ามีลักษณะอย่างไร

1. คือเป็นไปเพื่ออาพาธ หมายถึง เป็นไปเพื่อความดับ

2. และบุคคลไม่พึงได้ใน เบญจขันธ์ว่าขอเบญจขันธ์แต่ละอย่างๆ ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดอย่างเป็นอย่างอื่นเลย

หมายถึง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา

ไม่มีใครที่จะมีอำนาจให้สิ่งใดเกิด หรือจะห้ามไม่ให้สิ่งใดเกิด แต่เพราะมีปัจจัยต่างๆ ต่างหากที่อุปการะ ปรุงแต่งให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้น

เช่นการเห็น หรือ จักขุวิญญาณ ณ ขณะนี้ มีปัจจัยต่างๆ อุปการะให้เกิด เช่น
มีตา คือ จักขุปสาทเป็นปัจจัยโดยเป็นวัตถุหรือที่ตั้งให้จิตเห็นเกิด
มีกรรมที่กระทำไว้แล้วเป็นปัจจัย ให้จิตเห็นซึ่งเป็นวิบากจิตเกิด
มีอารมณ์คือ วรรณรูปที่มากระทบตาเป็นปัจจัยให้ จิตเห็นเกิดรู้อารมณ์ เป็นต้น
(มีแสดงไว้อย่างละเอียดยิ่งในมหาปัฏฐาน มี 24 ปัจจัย)

เมื่อเกิดแล้ว ก็ต้องดับ จะห้ามไม่ให้ดับก็ไม่ได้ เหมือนอย่างสุขเวทนา หรือรูปที่น่าใคร่น่าพอใจใดใด เกิดแล้วต้องดับ จะห้ามไม่ให้ดับก็ไม่ได้

เบญจขันธ์ จึงเป็นอนัตตา และมีอนัตตลักษณะ
คือ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา เกิดเพราะปัจจัย แล้วดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2019, 00:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคทรงแสดงต่อไป ในอนัตตลักขณสูตร ว่า

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

..............................................................................

พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า เบญจขันธ์ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ท่านทั้งหลายจะพึงเห็นทุกขอริยสัจจ์ ในที่นี้ ว่าตัวทุกข์ที่แท้จริงคือเบญจขันธ์ หรือ สังขาร

พระพุทธองค์ทรงแสดงต่อไปว่า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา

ซึ่งความยึดถือ ว่าเป็นเรา ว่าเป็นของเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา ก็คือความยึดถือด้วยอำนาจของ
ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ซึ่งก็มีมูลรากมาจากอวิชชาคือโมหะนั่นเอง ตรงนี้คือ สมุทยอริยสัจจ์

ปัญจวัคคีตอบว่าไม่ควรเห็นว่าเป็นเรา ของเรา ตัวตนของเรา ซึ่งเป็นการเจริญขึ้นของปัญญาตามลำดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2019, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด
อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย
พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึง
เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น
ไม่ใช่ตนของเรา.

สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย
พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย
พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

..................................................
รูป เป็นสักว่ารูป
เวทนา เป็นสักว่าเวทนา
สัญญา เป็นสักว่าสัญญา
สังขาร เป็นสักว่าสังขาร
วิญญาณ เป็นสักว่าวิญญาณ


ซึ่งถ้าไม่ได้ฟังมาก่อนก็จะยึดถือว่า ร่างกายของเรา เราเห็น เราคิด เราจำ เรารู้สึก เป็นต้น
ซึ่งแท้จริงแล้ว เป็นสักแต่ว่า สภาพธรรมแต่ละอย่างเท่านั้น ที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ มีลักษณะเฉพาะของตนๆแต่ละอย่าง แต่เพราะไม่รู้หรือโมหะ ก็ยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเราไปหมด

เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 26 ก.ค. 2019, 01:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2019, 00:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

..................................................
เป็นลำดับการเกิดขึ้นของวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ
แสดงถึง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์

และเพราะ นิพพานอันเป็นอารมณ์ของมรรคจิต ก็เป็นอันรู้แจ้งแล้ว
นี่คือ นิโรธอริยสัจจ์
..................................................

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์
พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2019, 01:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วนิพพานเป็น อนัตตาอย่างไร

เป็นอนัตตาในความหมายที่ว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
แต่เป็นธาตุ เป็นธรรม ที่เป็น อสังขตธาตุ หรือ อสังขตธรรม ที่มีลักษณะ ไม่เกิด ไม่ดับ อันเป็นธรรมไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง

กล่าวคือเป็นอนัตตาเพราะไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนแต่เป็นธาตุอย่างหนึ่งที่เรียกว่า อสังขตธาตุ
เป็นอนัตตาแต่ไม่มีอนัตตลักษณะเหมือนอย่างสังขตธาตุ ที่มีลักษณะเกิดเพราะปัจจัยแล้วดับ

ซึ่งทั้งหมดก็ไม่อยู่ในอำนาจ
หรือใครจะบันดลบันดาลให้นิพพานเป็นอย่างงั้นอย่างงี้ได้ตามใจชอบ

ทุกสิ่งไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน มาตั้งแต่ต้น แต่เป็นธาตุ เป็นธรรมแต่ละอย่าง
ทุกอย่างเป็นธรรมะและไม่อยู่ในอำนาจของใคร

นิพพานจึงเป็นอนัตตาด้วยเหตุนี้

..................

ข้อความบางตอนจาก

ยุคนัทธวรรค สัจจกถา นิทานในกถาบริบูรณ์ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

................................
...........

สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตาอย่างไร ฯ

สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตา
ด้วยอาการ ๔ คือ

สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน ๑
สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพมิใช่ตัวตน ๑
สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน ๑
สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพมิใช่ตัวตน ๑

สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง ด้วยความเป็นอนัตตา ด้วยอาการ ๔ นี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่ง
ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ


สาธุ :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร