วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2019, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20190618_060546.png
20190618_060546.png [ 592.83 KiB | เปิดดู 2983 ครั้ง ]
กรรมฐาน ๔๐ วิธี เจริญให้เกิดสมาธิ

แบ่งออกเป็น ๗ หมวด ดังนี้


(๑) หมวดกสิน ๑๐ (เจริญได้ตั้งแต่ปฐมฌานถึงปัญจฌาน)

เป็นการทำสมาธิด้วยวิธีการเพ่ง
๑. ปฐวีกสิน เพ่งธาตุดิน
๒. อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ
๓. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
๔. วาโยกสิน เพ่งลม
๕. นีลกสิน เพ่งสีเขียว
๖. ปีตกสิน เพ่งสีเหลือง
๗. โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
๘. โอฑาตกสิณ เพ่งสีขาว
๙. อาโลกกสิณ เพ่งที่ว่างเปล่า
๑๐. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง

(๒) หมวดอสุภกรรมฐาน ๑๐ (เจริญได้ถึงปฐมฌานเท่านั้น)

๑. อุทธุมาตกอสุภ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป มีร่างกายบวมขึ้น พองไปด้วยลม ขึ้นอืด
๒. วินีลกอสุภ วีนีลกะ แปลว่า สีเขียว
เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว คละปนระคนกัน คือ มีสีแดงในที่มีเนื้อมาก มีสีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก มีสีเขียวในที่มีผ้าคลุมไว้ ฉะนั้นตามร่างกายของผู้ตาย จึงมีสีเขียวมาก
๓. วิปุพพกอสุภกรรมฐาน เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ
๔. วิฉิททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลางกาย
๕. วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกยื้อแย่งกัดกิน
๖. วิกขิตตกอสุภ เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจาย มีมือ แขน ขา ศีรษะ กระจัดพลัดพรากออกไปคนละทาง
๗. หตวิกขิตตกอสุภ คือ ซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
๘. โลหิตกอสุภ คือ ซากศพที่มีเลือดไหลออกเป็นปกติ
๙. ปุฬุวกอสุภ คือ ซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
๑๐. อัฏฐิกอสุภ คือ ซากศพที่มีแต่กระดูก กระจักระจายไป

(๓) อนุสสติกรรมฐาน ๑๐ (๑-๘ เจริญได้ไม่ถึงปฐมฌาน)

๑. พุทธานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
๒. ธัมมานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
๓. สังฆานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
๔. สีลานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
๕. จาคานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงผลของการบริจาคเป็นอารมณ์
๖. เทวตานุสสติเป็นกรรมฐาน ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
๗. อุปสมานุสสติกรรมฐาน ระลึกคุณของพระนิพพานเป็นอารมณ์ ที่มีสภาพสันติสุข คือความสงบจากกิเลส และความทุกข์ต่างๆ
๘. มรณานุสสติกรรมฐาน การระลึกถึงความตายที่ตนจะต้องประสบแล้ว เกิดความสังเวชสลดใจเนืองๆ
๙. กายคตาสติกรรมฐาน ระลึกเนืองๆ ถึงกายโกฏฐาส มี เกสา โลมา เป็นต้น (ได้ถึงปฐมฌาน)
๑๐. อานาปาณสติกรรมฐาน ระลึกถึงลมหายใจเข้า ลมหายใจออกเป็นอารมณ์(เจริญได้ถึงปัญจมฌาน)

(๔) อัปปมัญญา ๔(พรหมวิหาร ๔ ลำดับ๑-๓ เจริญได้ถึงจตุตถฌาน ลำดับ ๔เจริญได้ถึงปัญจมฌาน)

๑. เมตตา คุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน ให้มีความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มีอารมณ์เนื่องด้วยกามารมณ์ เมตตาสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นทุกข์ ไม่เลือกชั้นวรรณะ
๒. กรุณา ความสงสารปรานี มีประสงค์จะสงเคราะห์แก่ทั้งคนและสัตว์
๓. มุทิตา มีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ไม่มีจิตริษยาเจือปน
๔. อุเบกขา มีอารมณ์เป็นกลางวางเฉย ต่อสัตว์ทั้งหลาย

(๕) หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา๑(เจริญไม่ถึงปฐมฌาน)

๑. อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพ่งอาหารให้เห็นเป็นของน่าเกลียด บริโภคเพื่อบำรุงร่างกาย ไม่บริโภคเพื่อสนองกิเลส

(๖) จตุธาตุววัฏฐาน (เจริญไม่ถึงปฐมฌาน)

๑. จตุธาตุววัฏฐาน ๑ พิจารณาร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่มาประชุมกันเท่านั้น หาใช่ตัวตนแต่อย่างใดไม่

๗.อรูปฌาณ ๔ (กัมมัฏฐานที่ไม่มีรูป)

เป็นการปล่อยอารมณ์ ไม่ยึดถืออะไร มีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุขประณีต ในฌานที่ได้ ผู้จะเจริญอรูปฌาณ ๔ ต้องเจริญฌานในกสินให้ได้ฌาณ ๔ เสียก่อน แล้วจึงเจริญอรูปฌาณจนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

๑.. อากาสานัญจายตนะ ถือ อากาศเป็นอารมณ์ จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตย่อใหญ่เล็กได้ ทรงจิตรักษาอากาศไว้ กำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
๒. วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมด ต้องการจิตเท่านั้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
๓. อากิญจัญญายตนะ กำหนดความไม่มีอะไรเลย อากาศไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ถ้ามีอะไรสักหน่อยหนึ่งก็เป็นเหตุของภยันตราย ไม่ยึดถืออะไรจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งที่มีสัญญาอยู่ก็ทำเหมือนไม่มี ไม่รับอารมณ์ใด ๆ จะหนาว ร้อนก็รู้แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย ปล่อยตามเรื่อง เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์ บริกรรมว่า เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ สงบหนอ ประณีตหนอ ซึ่งสามารถให้เกิดเนวสัญญยตนฌานจิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2021, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่าจิตตวิสุทธิเรียกโดยการใช้จิตเป็นประธาน แต่ความจริงแล้วโดยตรง
หมายถึงสมาธิ คือ สมถสมาธิและวิปัสสนามีความแก่กล้าพอ นิวรณธรรมหรือนิวรณ์ทั้งหลาย
ที่มีการรับอารมณ์นั้นๆ ก็ไม่สามารถที่จะเข้ามาหรือเกิดขึ้นในระหว่างได้ สมาธิตั้งมั่นเพ่งอยู่
ในสมถะอารมณ์และวิปัสสนาอารมณ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและชัดเจนสมาธิดังกล่าว
ได้ชื่อว่าเป็นจิตตวิสุทธิโดยมุขยนัย หรือโดยตรง ก็ด้วยอำนาจของสมาธินี้แล แม่จิตเจตสิก
ที่เกิดร่วมกันหรือจิตเจตสิกที่ขึ้นมาด้วยกันกับสมาธินั้นย่อมหมดจดจากนิวรณ์ไปด้วย

สมาธิ ๓ ประการ

สมาธิที่ได้ชื่อว่า จิตตวิสุทธินี้แบ่งเป็น ๓ ประการ คือ
๑. อุปจารสมาธิ (สมาธิใกล้ฌาน)
๒. อัปปนาสมาธิ (สมาธิแนบแน่นในฌาน)
๓. ขณิกสมาธิ (สมาธิเคลื่อนไหว)
ในบรรดาสมาธิทั้ง ๓ ประการเหล่านั้น สำหรับบุคคลผู้เจริญสมถภาวนานั้นจิตปราศจากนิวรณ์
ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างแห่งการกำหนดนั้นแล้ว กามาวจรสมาธิ หรือสมาธิที่เป็นไปในกามาวจร
ก็จะเกิดขึ้น โดยมีปฏิภาคนิมิตก็ดี พระคุณมีพุทธคุณอันมีมีความบริสุทธิ์ผุดผ่องเป็นอย่างยิ่งเป็นต้นก็ดี
เป็นอารมณ์ กามาวจรสมาธินั้นได้ชื่อว่า เป็นอุปจารสมาธิ ซึ่งหมายถึง สมาธิที่เกิดขึ้น ในส่วนที่ใกล้กับ
อุปจารฌาน จึงเรียกว่าอุปจารสมาธิ

ในบรรดาสมาธิทั้งหลายเหล่านั้น สมาธิที่เป็นไปในลักษณะของกสิณ อสุภะ กายคตาสติ
อานาปานสติ พรหมวิหาร และอารุปปกรรมฐาน
ได้ชื่อว่าเป็นอุปจารสมาธิโดยมุขยนัย หรือโดยตรง
ส่วนสมาธิที่เรียกว่า อนุสติ ๘ ปฏิกูลสัญญา และธาตุววัฏฐาน ได้ชื่อว่าเป็นอุปจารสมาธิโดยอ้อม
เพราะไม่ใช่สมาธิที่เกิดขึ้นใกล้กับอัปปนาโดยตรงเป็นเพียงสมาธิที่มีลักษณะหมดจดจากนิวรณ์
เหมือนกับธรรมที่เป็นอุปจารสมาธิแท้เท่านั้นเองจึงชื่อว่า อุปจารสมาธิไปด้วย

รูปฌาน ๔ หรือฌาน ๕ และอรูปฌาน ๔ รวมแล้วเป็นสมาบัติ ๘ หรือ ๙ ได้ชื่อว่า อัปปนาสมาธิ หมายถึง
สมาธิที่ตั้งมั่นอย่างไม่คงอนแคลนใยอารมณ์ทั้งหลายมีกสิณเป็นต้น ราวกะว่าเข้าไปฝังอยู่ในอารมณ์
นั้นๆทีเดียว นี่คือลักษณะของอัปปนาสมาธิ

สำหรับบุคคลที่เจริญวิปัสสนาภาวนาแล้ว เมื่อศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญาแก่กล้าเต็มที่แล้ว
สมาธิของบุคคลนั้นย่อมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การกำหนดย่อมเป็นไปอย่างต่อเนื่องและชัดเจนมาก
นิวรณ์ที่จิตนาการยึดอารมณ์นั้นๆ ไม่สามารถที่จะโผล่เข้ามาระหว่างแห่งสมาธินั้นได้ ในช่วงเวลา
เช่นนั้นเอง สมาธิที่มีการเพ่งตั้งมั่นในอารมณ์รูปนามทุกๆครั้งที่โยคีกำหนด ย่อมแก่กล้าและปรากฏ
ชัดเจนอย่างเต็มที่ ก็สมาธิ เช่นนี้ท่านเรียกว่าขณิกสมาธิ หมายถึง สมาธิที่ตั้งมั่นอยู่ใน
ช่วงที่จิตอยู่ในการกำหนดเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2021, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตตวิสุทธิของสมถยานิกบุคคล

ในบรรดาสมาธิ ๓ ประการนั้น ไม่ว่าจะเป็นอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ โยคีที่กำหนดวิปัสสนา
โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานสมาธิทั้งสองนั้นท่านเรียกว่าสมถยานิกบุคคล หมายถึง บุคคลที่นำเอาสมถะ
เป็นเครื่องนำทาง หรือบุคคลผู้ไปสู่ทาง มรรค ผล นิพพาน โดยอาศัยสมถะเป็นยานพาหนะ ด้วยเหตุนี้
อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ จึงได้ชื่อว่า เป็นจิตตวิสุทธิ เป็นที่อาศัยของของบุคคลผู้เป็นสมถยานิกะ

จิตตวิสุทธิของวิปัสสนายานิกบุคคล

บุคคลผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ โดยมิได้อาศัยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิทั้งสอง ได้ชื่อว่าเป็น
วิปัสสนายานิกบุคคล หมายถึงบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ เป็นเครื่องนำทางหรือบุคคลผู้นำไปสู่
มรรค ผล นิพพานโดยอาศัยวิปัสสนาล้วนๆ เป็นยานพาหนะด้วยเหตุนี้ ขณิกสมาธิเท่านั้นเป็นจิตตวิสุทธิ
ซึ่งเป็นที่อาศัยของสุทธยานิกบุคคลนั้น

อนึ่งลำดับคำพูดข้างต้นทั้งหมดมีความสอดคล้องกับอรรถกถาและฎีกาดังต่อไปนี้
จิตฺตวิสุทฺธิ นาม สอุปจารา อฏฺฐสมปตฺติโย.
สมาบัติ ๘ พร้อมทั้งอุปจารสมาธิ ได้ชื่อว่า จิตตวิสุทธิ
(วิสุทธิ.๒/๒๒๒)

ข้อความในวิสุทธิมรรคที่ยกมาข้างต้นนี้ แม้จะไม่ได้กล่าวถึงขณิกสมาธิในฎีกาอรรถกถา
และพระไตรปิฎกทั้งหลายที่จะแสดงดังต่อไปนี้นั้น มีปรากฏอยู่นั่นเทียว เพราะฉะนั้นเกี่ยวกับเรื่องนี้
ผู้ปฏิบัติพึงจดจำไว้ดังนี้ว่า การที่ท่านไม่ได้แสดงขณิกสมาธิเป็นเอกเทศไว้ต่างหากนั้น เพราะเหตุผล
หลายประการ เช่น
๑.เพราะต้องการที่จะยกเาวิธีปฏิบัติของสมถยานิกะมาแสดงเป็นประธานหรือตัวอย่างเท่านั้น
๒. เพราะต้องการที่จะแสดงเพียงจิตตวิสุทธิอันจะเพียรพยายามปฏิบัติเป็นเอกเทศในลำดับแรก
๓. เพราะว่าขณิกสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่สงเตราะห์เข้าในวิปัสสนาจิตตุปบาท ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้น
ในส่วนที่เป็นเบื้องต้นอยู่แล้ว
๔. เพราะเป็นการแสดงขณิกสมาธิเป็นวิปัสสนาซึ่งมีลักษณะเหมือนอุปจารสมาธิในฐานะที่
เป็นสมาธิที่ปรารศจากนิวรณ์เช่นกันจึงถูกสงเคราะห์เข้าในอุปจารสมาธินั้นเอง
เหมือนกับในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรที่ว่าเสสานิ ทฺวาทสปิ อุปจารกมฺมฏฺฐานาเนว."ที่เหลือแท้ ๑๒ จัดเป็นอุปจารกรรมฐานนั้นเทียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2024, 15:26 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร