วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 21:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2019, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระราชาตรัสว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันขอรับผิด ดิฉัน
ได้เบียดเบียนสมณะทั้งหลาย ดังคำที่ท่านพูด
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉัน มีความประสงค์จะล้อ
เล่น ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย แต่กรรมอันชั่วช้านี้
ดิฉันทำแล้ว เด็กหนุ่มเปลือยกาย มีโภคะน้อย
ได้สั่งสมบาป เพื่อจะล้อเล่น จึงต้องเสวยทุกข์

ก็ทุกข์อะไรเล่าที่เป็นทุกข์แก่ความเปลือยกาย
ย่อมมีแก่เปรตนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเห็น
เหตุอันน่าสังเวชและเศร้าหมองนั้นแล้ว จึงให้
ทาน เพราะเหตุนั้นเป็นปัจจัย ขอท่านจงรับผ้า
๘ คู่นี้ ทักษิณาที่ดิฉันถวายนี้ จงสำเร็จผลแก่
เปรตนั้น.

พระเถระทูลว่า :-
เพราะการให้ทาน นักปราชญ์ทั้งหลายมี
พระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญไว้โดยมากแท้
และเมื่อพระองค์ถวายทานวัตถุ จงอย่ามีความ
หมดเปลืองไปเป็นธรรม อาตมภาพรับผ้า ๘ คู่
ของมหาบพิตร ขอทักษิณาทานเหล่านี้ จงสำเร็จ
ผลแก่เปรตนั้น ลำดับนั้น พระเจ้าลิจฉวี ทรง
ชำระพระหัตถ์ และพระบาทแล้ว ทรงถวายผ้า

๘ คู่ แก่พระเถระ พอพระเถระรับประเคนผ้า
เหล่านั้นแล้ว พระราชาทรงเห็นเปรต นุ่งห่มผ้า
เรียบร้อย ลูบไล้ด้วยจุณจันทน์แดง มีผิวพรรณ
เปล่งปลั่งประดับประดา นุ่งผ้าดี ขี่ม้าอาชาไนย
มีบริวารห้อมล้อม สำเร็จมหิทธิฤทธิ์ของเทวดา
ครั้นทรงเห็นเช่นนั้นแล้ว ทรงปลื้มพระหฤทัย
เกิดปีติปราโมทย์ มีพระหฤทัยร่าเริง เบิกบาน

พระเจ้าลิจฉวีได้ทรงเห็นกรรมและวิบากแห่ง
กรรม แจ้งประจักษ์ด้วยพระองค์เองแล้ว จึง
เสด็จเข้าไปใกล้แล้วตรัสกะเปรตนั้นว่า เราจัก
ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เราควรให้
ทานทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ ดูก่อนเปรต ท่านมี
อุปการะแก่เรามาก.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2019, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เปรตนั้นกราบทูลว่า :-
ข้าแต่กษัตริย์ลิจฉวี ก็พระองค์ได้พระ-
ราชทานแก่ข้าพระองค์ส่วนหนึ่ง แต่การพระ-
ราชทานนั้น มิได้ไร้ผล ข้าพระองค์เป็นเทวดา
จักทำความเป็นสหายกับพระองค์ผู้เป็นมนุษย์.
พระราชาตรัสว่า :-

ท่านเป็นคติ เป็นเผ่าพันธุ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยว
เป็นมิตรและเป็นเทวดาของเรา ดูก่อนเปรต
เราขอทำอัญชลีท่าน ปรารถนาเพื่อจะเห็นท่าน
แม้อีก.
เปรตกราบทูลว่า :-

ถ้าพระองค์จักเป็นผู้ไม่มีศรัทธา มีความ
ตระหนี่ มีจิตไม่เลื่อมใส พระองค์จักไม่ได้เห็นข้า-
พระองค์และข้าพระองค์ก็จักไม่ได้เห็น ไม่ได้
เจรจากับพระองค์อีก ถ้าพระองค์จักทรงเคารพ
ธรรม ทรงยินดีในการบริจาคทาน ทรงสงเคราะห์
ทรงเป็นดังบ่อน้ำของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ด้วยอาการอย่างนี้ พระองค์ก็จักได้ทรงเห็น

ข้าพระองค์ และข้าพระองค์ จักได้เห็น ได้เจรจา
กับพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยบุรุษนี้
จากหลาวโดยเร็วเถิด เพราะการปล่อยบุรุษนี้
เราทั้งสองจักได้เป็นสหายกัน ข้าพระองค์เข้าใจ
ว่า เราทั้งสองจักได้เป็นสหายกันและกัน เพราะ
เหตุแห่งบุรุษผู้ถูกหลาวเสียบ ก็บุรุษผู้ถูกหลาว

เสียบนี้ อันพระองค์ทรงรีบปล่อยแล้ว ถึงเป็นผู้
ประพฤติธรรมโดยเคารพ พึงพ้นจากนรกนั้น
แน่นอน พึงพ้นจากกรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
พระองค์เสด็จเข้าไปหากัปปิตกภิกษุแล้ว ทรง
จำแนกทานกะท่าน ในเวลาที่สมควร จงเสด็จ
เข้าไปหาแล้ว ตรัสถามด้วยพระองค์เอง ท่าน
จงกราบทูลเนื้อความนั้น แก่พระองค์ ก็พระองค์

ทรงพระประสงค์บุญ มีจิตไม่ประทุษร้าย ก็เชิญ
เสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้นเถิด ท่านจักแสดงธรรม
ทั้งปวง ที่ทรงสดับแล้ว และยังไม่ได้ทรงสดับ
แก่พระองค์ ตามความรู้เห็น พระองค์ได้ทรงฟัง
ธรรมนั้นแล้ว จักทรงเห็นสุคติ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2019, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเจ้ารหัส ทรงเจรจาทำความเป็นสหาย
กับเทวดานั้นแล้ว เสด็จไป ส่วนเปรตนั้น ได้
กล่าวกะบริษัทแห่งกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย พร้อม
กับบุตรของตน ซึ่งนั่งประชุมกันอยู่ว่า ท่าน
ผู้เจริญทั้งหลาย ขอจงฟังคำอย่างหนึ่งของเรา
เราจักเลือกพร จักได้ประโยชน์ บุรุษที่ถูกเสียบ
ด้วยหลาว มีกรรมอันหยาบช้า มีอาชญาอันตั้ง

ไว้แล้ว ถูกหลาวร้อยจะตายหรือไม่ตาย ประมาณ
๒๐ ราตรีเท่านั้น เดี๋ยวนี้ เราจักปล่อยเขาตาม
ความชอบใจของเรา ขอหมู่ท่านจงอนุญาต จง
รีบปล่อยบุรุษนั้นและบุรุษอื่นที่พระราชารับสั่ง
ให้ลงอาชญา โดยเร็วเถิด ใครพึงบอกท่าน ผู้
ทำกรรมอย่างนั้น ท่านรู้อย่างไร จึงทำอย่างนั้น
หมู่ท่านย่อมอนุญาตตามชอบใจ พระเจ้าลิจฉวี

เสด็จเข้าไปสู่ประเทศนั้นแล้ว รีบปล่อยบุรุษที่
ถูกเสียบด้วยหลาว โดยเร็ว และได้ตรัสกะบุรุษ
นั้นว่า อย่ากลัวเลยเพื่อน และรับสั่งให้หมอ
พยาบาล แล้วเสด็จไปหากัปปิตกภิกษุแล้ว ทรง
ถวายทานกับท่านในเวลาอันสมควร มีพระ
ประสงค์จะทรงทราบเหตุ จึงเสด็จเข้าไปใกล้

แล้วตรัสถามด้วยพระองค์เองว่า บุรุษผู้ถูกเสียบ
ด้วยหลาว มีกรรมอันหยาบช้า มีอาชญาอันตั้ง
ไว้แล้ว ถูกหลาวร้อย จักตายหรือไม่ตาย ประ-
มาณ ๒๐ ราตรีเท่านั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้
ดิฉันปล่อยเขาไปแล้ว เขาไปบอกเปรตนั้น เหตุ
อะไร ๆ ที่จะไม่ต้องไปสู่นรกนั้น พึงมีหรือหนอ

ถ้ามีขอท่านโปรดบอกแก่ดิฉัน ดิฉันรอฟังเหตุ
ที่ควรเชื่อถือจากท่าน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2019, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
กัปปิตกภิกษุทูลว่า :-
ความพินาศแห่งกรรมเหล่านั้น ย่อมไม่มี
ความพินาศในโลกนี้ เกิดขึ้นเพราะความไม่รู้แจ้ง
ถ้าเขาพึงเป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรม
ทั้งหลาย โดยเคารพตลอดคืนและวัน เขาพึงพ้น
จากนรกนั้นได้แน่ กรรมอันเว้นจากการให้ผล
พึงมี.

พระราชาตรัสว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผู้มีปัญญากว้างขวาง
ประโยชน์ของบุรุษนี้ ดิฉันรู้ทั่วถึงแล้ว บัดนี้
ขอท่านอนุเคราะห์ดิฉันบ้าง ขอท่านได้กล่าว
ตักเตือนพร่ำสอนดิฉัน โดยวิธีที่ดิฉัน จะไม่พึง
ไปสู่นรกด้วยเถิด.

กัปปิตกภิกษุทูลว่า :-
วันนี้ ขอมหาบพิตร จงมีพระหทัยเลื่อมใส
ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็น
สรณะ จงทรงสิกขาบท ๕ อย่าให้ขาดและด่าง-
พร้อย จงทรงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของพระองค์ ไม่ทรง
พูดเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์ และทรงสมาทาน

อุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอัน
ประเสริฐ เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร จงทรงพระ-
ราชทานจีวร บิณฑบาต ที่นอนและที่นั่ง คิลาน-
ปัจจัย ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ของกิน ผ้า เสนาสนะ
ในภิกษุผู้มีจิตซื่อตรงทั้งหลาย บุญย่อมเจริญทุก
เมื่อ ทรงอังคาสภิกษุทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำ ด้วยข้าว
และน้ำ บุญย่อมเพิ่มพูนทุกเมื่อ เมื่อบุคคลเป็นผู้
ไม่ประมาท ประพฤติธรรมโดยเคารพ ตลอดคืน
และวันอย่างนี้ พึงพ้นจากนรกนั้น กรรมที่เว้น
จากการให้ผลพึงมี.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2019, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระราชาตรัสว่า :-
วันนี้ ดิฉันมีจิตเลื่อมใส ขอถึงพระ-
พุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ
ขอสมาทานสิกขาบท ๕ ประการ ไม่ให้ขาด
ไม่ให้ด่างพร้อย ของดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลัก-
ทรัพย์ ยินดีด้วยภรรยาของตน ไม่กล่าวคำเท็จ
ไม่ดื่มน้ำเมา และจักสมาทานอุโบสถศีล อัน
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐเป็น

กุศล มีสุขเป็นกำไร จักถวายจีวร บิณฑบาต
ที่นอน ที่นั่ง คิลานปัจจัย ข้าวน้ำ ของเคี้ยว
ของกิน ผ้าและเสนาสนะ แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้
สมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต
จักไม่กำหนัด ยินดีแล้วในศาสนา ของพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย. พระเจ้าลิจฉวี ทรงพระนาม
ว่า อัมพสักขระ ได้เป็นอุบาสกคนหนึ่ง ในเมือง

เวสาลี ทรงมีศรัทธา มีพระหทัยอ่อนโยน ทรง
ทำอุปการะแก่ภิกษุ ทรงบำรุงสงฆ์ โดยความ
เคารพ ในกาลนั้น บุรุษผู้ถูกเสียบด้วยหลาว
หายโรค เป็นสุขสบายดี เข้าถึงบรรพชา แม้ชน
ทั้งสองอาศัยกัปปิตกภิกษุผู้ประเสริฐ ได้บรรลุ
สามัญญผล การคบหาสัปบุรุษเช่นนี้ ย่อมมีผล
มากตั้งร้อย แก่วิญญูชนผู้รู้แจ้ง บุรุษผู้ถูกเสียบ

ด้วยหลาว ได้บรรลุผลอันยอดเยี่ยม ส่วนพระเจ้า
อัมพสักขระ ได้บรรลุโสดาปัตติผล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาสูปคจฺฉิตฺถ แปลว่า เข้าไปยัง
ที่ประทับ. บทว่า คิหิกิจฺจานิ ได้แก่ กิจแห่งขุมทรัพย์ที่ผู้ครองเรือน
พึงกระทำ. บทว่า วิเจยฺย ได้แก่ พึงเลือกถือเอาผ้าดี ๆ. บทว่า
ปฏิกฺกนฺตํ แปลว่า กลับจากบิณฑบาต. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
กลับจากโคจร. บทว่า อโวจ ความว่า ได้ตรัสคำมีอาทิว่า ท่าน
ผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเจ้าลิจฉวีในเมืองเวสาลี.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2019, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า วิทาลยนฺติ แปลว่า ย่อมฉีกทำลาย. บทว่า
ปาทกุ€าริกาหิ ได้แก่ จากเขียง คือเท้า. บทว่า ปาตยนฺติ แปลว่า
ย่อมตกลง.
บทว่า ติเณน แปลว่า แม้ด้วยปลายหญ้า. บทว่า มูฬฺหสฺส
มคฺคมฺปิ น ปาวทาสิ ความว่า พระองค์ไม่ได้บอกแม้ทางแก่คน
หลงทางว่า ด้วยคิดว่า บุรุษนี้จงวนเวียนไปทางโน้นทางนี้ ด้วยอาการ
อย่างนี้. จริงอยู่ พระราชานี้เป็นผู้มักล้อเล่น. บทว่า สยมาทิยาสิ
ความว่า ตนเองชิงเอาไม้เท้าจากมือของคนตาบอด. บทว่า สํวิภาคํ
กโรสิ ความว่า ทรงแบ่งส่วนหนึ่งจากวัตถุที่ตนบริโภคให้ไป.

ด้วยบทว่า ปจฺเจมิ ภนฺเต ยํ ตฺวํ วเทสิ นี้ พระราชาทรง
แสดงว่า ท่านผู้เจริญ ดิฉันรู้เฉพาะคำที่ท่านกล่าวโดยนัยมีอาทิว่า
บาตรแตก สิ่งนั้นทั้งหมดนั่นแหละ ดิฉันทำและให้ผู้อื่นทำ. บทว่า
เอตมฺปิ ได้แก่ สิ่งนี้ดิฉันแม้ทำก็โดยประสงค์จะล้อเล่น.

บทว่า ขิฑฺฑา แปลว่า ด้วยการล้อเล่น. บทว่า ปสวิตฺวา
แปลว่า ก่อแล้ว. บทว่า เวเทติ แปลว่า ย่อมเสวย. บทว่า
อสมตฺตโภคี แปลว่า ผู้มีโภคะไม่บริบูรณ์. เพื่อจะแสดงว่า เปรต
เป็นผู้มีโภคะไม่บริบูรณ์นั้นนั่นแหละ จึงตรัสว่า เด็กหนุ่ม เป็นต้น.
บทว่า นคฺคนิยสฺส แปลว่า เป็นคนเปลือย. บทว่า กึ สุ ตโต
ทุกฺขตรสฺส โหติ ความว่า ก็ทุกข์อะไรเล่าที่เป็นทุกข์กว่าความ

เป็นคนเปลือยของเปรตนั้น. บทว่า ยกฺขสฺสิมา คจฺฉนฺตุ ทกฺขิณาโย
ความว่า ขอทักษิณา คือผ้าที่ดิฉันให้นี้ จงสำเร็จแก่เปรต.
บทว่า พหุธา ปสตฺถํ ความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายมีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้น พรรณนาไว้โดยประการมากมาย. บทว่า
อกฺขยธมฺมมตฺถุ แปลว่า ขอทานวัตถุนี้ จงอย่าสิ้นไปเป็นธรรม.
บทว่า อาจมยิตฺวา ได้แก่ บ้วนปากก่อนล้างมือและล้างเท้า.

บทว่า จนฺทนสารลิตฺตํ แปลว่า ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์. บทว่า
อุฬารวณฺณํ แปลว่า มีรูปอันประเสริฐ. บทว่า ปวาริตํ แปลว่า
แวดล้อมด้วยบริพารผู้มีความประพฤติคล้อยตาม. บทว่า ยกฺข-
มหิทฺธิปตฺตํ ได้แก่ ผู้มียักขฤทธิ คือเทพฤทธิ์ใหญ่. บทว่า ตเมนมโวจ
ตัดเป็น ตเมนํ อโวจ ได้ตรัสคำนี้นั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2019, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ด้วยบทว่า เอกเทสํ อทาสิ ท่านกล่าวหมายถึงการให้ผ้า
อันเป็นส่วนหนึ่งในบรรดาปัจจัย ๔. บทว่า สกฺขึ ได้แก่ ความ
เป็นพยาน.
บทว่า มมาสิ ตัดเป็น เม อาสิ. บทว่า เทวตา เม มีวาจา
ประกอบความว่า ท่านได้เป็นเทวดาของเรา.
บทว่า วิปฺปฏิปนฺนจิตฺโต ได้แก่ ผู้มีจิตดำเนินตามมิจฉาทิฏฐิ
อธิบายว่า ผู้ละปฏิปทาอันชอบธรรม แล้วดำเนินปฏิปทาอันไม่
ชอบธรรม. บทว่า ยโตนิทานํ ได้แก่ มีสิ่งใดเป็นนิมิต คือ มายัง
สำนักของผู้ใดเป็นเหตุ.

บทว่า สํวิภชิตฺวา แปลว่า ทำการจำแนกทาน. บทว่า
สยํ มุเขนูปนิสชฺช ปุจฺฉ ความว่า ท่านจงอย่าส่งคนอื่นไป จงเข้า
ไปนั่งถามเฉพาะหน้าเลย.
บทว่า สนฺนิสินฺนํ แปลว่า นั่งประชุมกัน. บทว่า ลภิสฺสามิ
อตฺถํ ความว่า เราจักได้ประโยชน์แม้ที่เราปรารถนา. บทว่า
ปณิหิตทณฺโฑ แปลว่า ได้ตั้งอาญาในตัวไว้. บทว่า อนุสตฺตรูโป
ได้แก่ มีสภาวะเกี่ยวข้องในราชา. บทว่า วีสติรตฺติมตฺตา ความว่า
ล่วงไปประมาณ ๒๐ ราตรี. บทว่า ตาหํ ตัดเป็น ตํ อหํ. บทว่า
ยถามตึ แปลว่า ตามความชอบใจของเรา.

บทว่า เอตญฺจ อฺญฺจ ความว่า บุรุษนี้ที่ถูกเสียบหลาว
และบุรุษอื่นที่ถูกลงราชอาชญา. บทว่า ลหุํ ปมุญฺจ แปลว่า ปล่อย
โดยเร็ว. บทว่า โก ตํ วเทถ ตถา กโรนฺตํ ความว่า ใครใน
แคว้นวัชชีนี้พึงบอกผู้ทำกรรมอันชอบธรรมนั้นว่า จงอย่าปล่อย
อธิบายว่า ถึงใคร ๆ ก็ไม่ได้เพื่อจะกล่าวอย่างนั้น.
บทว่า ติกิจฺฉกานญฺจ ได้แก่ ผู้เยียวยา.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2019, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ยกฺขสฺส วโจ ได้แก่ คำของเปรต, ท่านแสดงว่า
ท่านผู้เจริญ ดิฉันได้กระทำอย่างนั้น ตามคำของเปรตนั้น.
บทว่า ธมฺมานิ ได้แก่ ธรรมคือบุญอันสามารถครอบงำ
กรรมชั่วที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อน. บทว่า กมฺมํ สิยา อฺตฺร
เวทนียํ ได้แก่ กรรมที่อำนวยผลให้เกิดในกรรมชั่วนั้น ชื่อว่า เป็น
อโหสิกรรม ส่วนกรรมที่อำนวยผลให้เกิดในภพต่อ ๆ ไป ย่อม
เป็นผลที่จะพึงเสวยในภพอื่น คือ ภพต่อ ๆ ไป ในเมื่อยังเป็นไป
ในสังสารวัฏ.

บทว่า อิมญฺจ พระเถระกล่าวเพราะกระทำอธิบายว่า คำ
ที่ตนกล่าว ใกล้หรือประจักษ์แก่สิกขานั้น. บทว่า อริยํ อฏฺ€งฺคว-
เรนุเปตํ ความว่า อุโบสถศีลอันสูงสุดอันเข้าถึง คือประกอบด้วย
องค์ ๘ มีเจตนาอันงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่าประเสริฐ
เพราะอรรถว่าบริสุทธิ์. บทว่า กุสลํ ได้แก่ ไม่มีโทษ. บทว่า
สุขุทฺริยํ แปลว่า มีสุขเป็นผล.

บทว่า สทา ปุฺํ ปวฑฺฒติ ความว่า เมื่อบุคคลทำบุญ
คราวเดียวแล้วไม่อิ่มใจว่า พอละด้วยบุญเพียงเท่านี้ แล้วจึงบำเพ็ญ
สุจริตต่อ ๆ ไป บุญของเขา ย่อมเจริญยิ่งตลอดกาล หรือเมื่อเขา
บำเพ็ญสุจริตต่อ ๆ มา ผลบุญ คือ บุญย่อมเจริญ คือ เต็มเปี่ยม
ยิ่ง ๆ ขึ้น.

เมื่อพระเถระกล่าวอย่างนี้ พระราชามีพระหทัยสะดุ้งจาก
ทุกข์ ในอบาย มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย และบุญธรรม
เจริญยิ่ง ต่อแต่นั้น จึงสมาทาน สรณะและศีล จึงตรัสคำมีอาทิว่า
ดิฉัน ขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะในวันนี้แหละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตาทิโส ได้แก่ มีรูปตามที่กล่าว
แล้วนี้. บทว่า เวสาลิยํ อฺตโร อุปาสโก ความว่า เป็นอุบาสก
คนหนึ่ง ในบรรดาอุบาสกหลายพันคนในเมืองเวสาลี. บทว่า สทฺโธ
เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงความที่พระเจ้าอัมพสักขระนั้น เป็น
โดยประการอื่นจากภาวะที่มีในก่อน เพราะอาศัยกัลยาณมิตร. จริงอยู่

ในกาลก่อน พระเจ้าอัมพสักขระนั้น เป็นผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคน
หยาบช้า ด่าภิกษุทั้งหลาย และไม่ใช่เป็นอุปัฏฐากของสงฆ์ แต่บัดนี้
เป็นผู้มีศรัทธาอ่อนโยน และอุปัฏฐากภิกษุสงฆ์ในกาลนั้น โดย
เคารพ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า การกโร ได้แก่ผู้กระทำอุปการะ.

บทว่า อุโภปิ ได้แก่ ชนทั้ง ๒ คน คือ บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบ
และพระราชา. บทว่า สามฺผลานิ อชฺฌคุํ ได้แก่ ผู้บรรลุ
สามัญญผลตามสมควร. เพื่อจะแสดงตามสมควร ท่านจึงกล่าวคำนี้
ไว้ว่า บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบ ได้บรรลุพระอรหัตตผล ส่วนพระเจ้า
อัมพสักขระ ได้บรรลุผลน้อยกว่า. ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วย
บทว่า ผลํ กนิฏฺ€ํ ท่านกล่าวหมายถึงโสดาปัตติผล แต่ในที่นี้ เมื่อ
ว่าโดยอรรถ คำที่ท่านไม่ได้จำแนกไว้ รู้ได้ง่ายทีเดียว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2019, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท่านพระกัปปิตก ได้ไปถึงกรุงสาวัตถี เพื่อถวายบังคม
พระศาสดา จึงได้กราบทูลความที่พระราชา เปรต และตน กล่าว
แล้วอย่างนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดา ทรงกระทำ
เรื่องนั้น ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึง
พร้อมแล้ว เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชน ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอัมพสักขรเปตวัตถุที่ ๑

อรรถกถาเสรีสกเปตวัตถุที่ ๒
เรื่องเสรีสกเปรตนี้ มีคำเริ่มต้น สุโณถ ยกฺขสฺส วาณิชามญฺจ
ดังนี้. เพราะเหตุที่เรื่องนั้น ไม่พิเศษไปกว่าเรื่องเสรีสกวิมาน
ฉะนั้น คำที่ควรจะกล่าวในอัตถุปปัตติเหตุ และในคาถานั้น พระ-
อรรถกถาจารย์ ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาวิมานวัตถุ ชื่อ
ปรมัตถทีปนี ฉะนั้น พึงทราบโดยนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถา
วิมานวัตถุนั้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาเสรีสกเปตวัตถุที่ ๒

อรรถกถานันทกเปตวัตถุที่ ๓
เรื่องนันทกเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ราชา ปิงฺคลโก นาม
ดังนี้. การอุบัติขึ้นของเรื่องนั้น เป็นอย่างไร?
นับแต่พระศาสดาปรินิพพาน ล่วงไปได้ ๒๐๐ ปี ในสุรัฐวิสัย
ได้มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า ปิงคละ. เสนาบดี
ของพระราชานั้น ชื่อว่า นันทกะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความผิดแปลก
เที่ยวยกย่องการถือผิด ๆ โดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ทายกถวายแล้ว
ไม่มีผล ดังนี้. ธิดาของนายนันทกะนั้น เป็นอุบาสิกา ชื่อว่า อุตตรา
เขาได้ยกให้แต่งงานในตระกูลที่เสมอกัน. ฝ่ายนันทกเสนาบดี

ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเวมานิกเปรต ที่ต้นไทรใหญ่ ในดงไฟไหม้.
เมื่อนันทกเสนาบดีนั้น ทำกาละแล้ว นางอุตตรา ได้ถวายหม้อน้ำดื่ม
เต็มด้วยน้ำหอมสะอาดและเยือกเย็น และขันอันเต็มด้วยขนม เพียบ
พร้อมด้วยสีกลิ่นและรส ที่ปรุงด้วยขนมกุมมาส แด่พระขีณาสพ-
เถระรูปหนึ่ง แล้วอุทิศว่า ขอทักษิณานี้จงสำเร็จแก่บิดาของเรา
เถิด. น้ำดื่มอันเป็นทิพย์ และขนมอันหาประมาณมิได้ ปรากฏแก่

เปรตนั้น เพราะทานนั้น. เขาเห็นดังนั้น จึงคิดอย่างนี้ว่า เราทำ
กรรมอันลามกหนอ ที่ให้มหาชนถือเอาผิด ๆ โดยนัยมีอาทิว่า
ทานที่ทายกถวายแล้ว ย่อมไม่มีผล ดังนี้ ก็บัดนี้ พระเจ้าปิงคละ
เสด็จไปโอวาทแด่พระเจ้าธรรมาโศก, พระองค์ประทานโอวาทแล้ว
จักเสด็จกลับมา เอาเถอะ เราจักบันเทานัตถิกทิฏฐิ. ไม่นานนัก
พระเจ้าปิงคละ ได้ให้โอวาทแด่พระเจ้าธรรมาโศก เมื่อจะเสด็จ
กลับ จึงทรงดำเนินไปทางนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2019, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น เปรตนั้น นิรมิตรหนทางนั้น ให้บ่ายหน้าไปยัง
ที่อยู่ของตน. ในเวลาเที่ยงตรง พระราชา เสด็จไปตามทางนั้น. เมื่อ
พระองค์เสด็จไป หนทางข้างหน้าปรากฏอยู่ แต่หนทางข้างหลัง
ไม่ปรากฏแก่พระองค์. บุรุษผู้ไปหลังเขาทั้งหมด เห็นทางหายไป
จึงกลัว ร้องลั่น วิ่งไปกราบทูลแด่พระราชา, พระราชาทรงสดับ
ดังนั้น จึงตกพระหทัย มีพระหทัยสลด ประทับอยู่บนคอช้าง ตรวจดู

ทิศทั้ง ๔ เห็นต้นไทรอันเป็นที่อยู่ของเปรต จึงได้เสด็จบ่ายพระพักตร์
ไปยังต้นไทรนั้น พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา. ครั้นพระราชาเสด็จ
ถึงที่นั้น โดยลำดับ เปรตประดับด้วยอาภรณ์ทั้งปวง เข้าไปเฝ้า
พระราชา กระทำปฏิสันถาร ได้ถวายขนมและน้ำดื่ม. พระราชา
พร้อมด้วยข้าราชบริพาร ทรงสงสนาน เสวยขนมแล้วดื่มน้ำ ระงับ

ความเหน็ดเหนื่อยในหนทาง จึงตรัสถามเปรตโดยนัยมีอาทิว่า
ท่านเป็นเทวดา หรือเป็นคนธรรพ์. เปรตได้กราบทูลเรื่องของตน
ตั้งแต่ต้น จึงปลดเปลื้องพระราชา จากความเป็นมิจฉาทิฏฐิ ให้
ดำรงอยู่ในสรณะและศีล. เพื่อจะแสดงเรื่องนั้น พระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาทั้งหลายว่า :-

ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนาม
ว่า ปิงคล ได้เป็นใหญ่ในสุรัฐประเทศ เสด็จ
ไปเฝ้าพระโมริยะแล้ว กลับมายังสุรัฐประเทศ
เสด็จมาถึงที่มีเปือกตม ในเวลาเที่ยง ซึ่งเป็น
เวลาร้อน ได้ทอดพระเนตรเห็นทางอันน่ารื่นรมย์
เป็นทางที่เปรตนิรมิตรไว้ จึงตรัสบอกนายสารถี
ว่า ทางนี้น่ารื่นรมย์ เป็นทางปลอดภัย มีความ
สวัสดี ไม่มีอุปัทวันตราย ดูก่อน นายสารถี

ท่านจงตรงไปทางนี้แหละ เมื่อเราไปโดยทางนี้
จักถึงเขตเมืองสุรัฐเร็วทีเดียว พระเจ้าสุรัฐได้
เสด็จไปโดยทางนั้น พร้อมด้วยจตุรงคเสนา
บุรุษคนหนึ่งสะดุ้งตกใจกลัว ได้กราบทูลพระเจ้า
สุรัฐว่า พวกเราเดินทางผิด เป็นทางน่ากลัว
ขนพองสยองเกล้า เพราะทางปรากฏเฉพาะข้าง

หน้า แต่ข้างหลังไม่ปรากฏ พวกเราเดินทางผิด
เสียแล้ว พวกเราเห็นจะเดินมาใกล้สำนักพวก
อมนุษย์ กลิ่นอมนุษย์ฟุ้งไป ข้าพระองค์ได้ยิน
เสียงอันพิลึกน่าสะพึงกลัว พระเจ้าสุรัฐ ทรง
สะดุ้งพระหทัย ตรัสกะนายสารถีว่า พวกเรา
เดินทางผิดเสียแล้ว เป็นทางน่ากลัว ขนพอง
สยองเกล้า เพราะทางปรากฏเฉพาะหน้า แต่
ข้างหลังไม่ปรากฏ พวกเราเดินทางผิด พวกเรา
เห็นจะเดินมาใกล้สำนักพวกอมนุษย์ กลิ่น

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2019, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อมนุษย์ย่อมฟุ้งไป เราได้ยินเสียงน่าสะพึงกลัว
แล้วเสด็จขึ้นสู่คอช้าง ทอดพระเนตรไปในทิศ
ทั้ง ๔ ได้ทรงเห็นต้นไทรต้นหนึ่ง มีร่มเงาชิด
สนิทดี เขียวชะอุ่มดุจสีเมฆ มีสีและสัณฐาน
คล้ายเมฆ จึงรับสั่งกะนายสารถีว่า ป่าใหญ่เขียว
ชะอุ่มดุจสีเมฆ มีสีและสัณฐานคล้ายเมฆปรากฏ
อยู่นั่นใช่ไหม ?
นายสารถีกราบทูลว่า :-

ข้าแต่มหาราช นั่นเป็นต้นไทร มีร่มเงา
ชิดสนิทดี เขียวชะอุ่ม มีสีและสัณฐานคล้ายเมฆ
พระเจ้าสุรัฐ เสด็จเข้าไปจนถึงต้นไทรใหญ่ที่
ปรากฏอยู่แล้ว เสด็จลงจากคอช้าง เข้าไปสู่
ต้นไทร ประทับนั่งที่โคนต้น พร้อมด้วยหมู่
อำมาตย์ราชบริพาร ได้ทอดพระเนตรเห็นขันน้ำ
มีน้ำเต็ม และขนมอันหวานอร่อย บุรุษมีเพศดัง

เทวดา ประดับด้วยอาภรณ์ทั้งปวง เข้าไปเฝ้า
พระเจ้าสุรัฐแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช
พระองค์ เสด็จมาดีแล้วและพระองค์ไม่ได้เสด็จ
มาร้าย ข้าแต่พระองค์ ผู้กำจัดศัตรู เชิญพระองค์
เสวยน้ำและขนมเถิดพระเจ้าข้า พระเจ้าสุรัฐ
พร้อมด้วยอำมาตย์และข้าราชบริพาร พากันดื่ม

น้ำและขนมแล้ว จึงถามว่า ท่านเป็นเทพ เป็น
คนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกะปุรินททะ พวกเรา
ไม่รู้จักท่าน จักขอถาม พวกเราจะพึงรู้จักท่าน
ได้อย่างไร?
นันทกเปรตกราบทูลว่า :-

ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ไม่ใช่
เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกะปุรินททะ
ข้าพระองค์เป็นเปรต จากประเทศสุรัฐ มาอยู่
ที่นี่.
พระราชาตรัสถามว่า :-
เมื่อก่อนท่านอยู่ในประเทศสุรัฐมีปกติ
อย่างไร มีความประพฤติอย่างไร ท่านมีอานุภาพ
อย่างนี้ เพราะพรหมจรรย์อย่างไร?
นันทกเปรตตอบว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2019, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้กำจัดหมู่ศัตรู ผู้ผดุง
รัฐให้เจริญ ขอพระองค์ อำมาตย์ราชบริพาร และ
พราหมณ์ปุโรหิต จงสดับฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้
ประเสริฐ เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นบุรุษอยู่ใน
เมืองสุรัฐ เป็นคนใจบาป เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น
คนทุศีล เป็นคนตระหนี่ บริภาษสมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ห้ามปรามมหาชน ซึ่งพากันทำบุญให้
ทาน ทำอันตรายแก่หมู่ชนเหล่าอื่น ผู้กำลังให้
ทาน ได้ห้ามว่า ผลแห่งทาน ไม่มี ผลแห่งการ
สำรวม จักมีแต่ที่ไหน ใคร ๆ ผู้ชื่อว่า เป็น

อาจารย์ไม่มี ใครจักฝึกฝนบุคคล ผู้ไม่เคยฝึกฝน
แล้วได้เล่า สัตว์ทั้งหลายเป็นสัตว์เสมอกันทั้งสิ้น
การเคารพอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล จักมี
แต่ที่ไหน กำลังหรือความเพียรไม่มี ความพาก-
เพียรของบุรุษ จักมีแต่ที่ไหน ผลแห่งทานไม่มี
ทานและศีล ไม่ทำบุคคลผู้มีเวรให้หมดจดได้
สัตว์ย่อมได้ของที่ควรได้ สัตว์เมื่อจะได้สุข

หรือทุกข์ ย่อมได้สุขหรือทุกข์ อันเกิดแต่ที่น้อม
มาเอง มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย ไม่มี โลก
อื่นจากโลกนี้ ก็ไม่มี ทานอันบุคคลให้แล้ว
ย่อมไม่มีผล พลีกรรมไม่มีผล แม้ทานอันบุคคล
ตั้งไว้ดีแล้ว ก็ไม่มีผล บุรุษใด ฆ่าบุรุษอื่น และ
ตัดศีรษะบุรุษอื่น จะจัดว่าบุรุษนั้นทำลายชีวิต

ของผู้อื่น หาได้ไม่ ไม่มีใครฆ่าใคร เป็นแต่ศัตรา
ย่อมเข้าไปในระหว่างช่องกาย ๗ ช่องเท่านั้น
ชีพของสัตว์ทั้งหลายไม่ขาดสูญ ไม่แตกทำลาย
บางคราวมี ๘ เหลี่ยม บางคราวกลมเหมือนงบ
น้ำอ้อย บางคราวสูงตั้ง ๕๐๐ โยชน์ ใครเล่า

สามารถตัดชีพให้ขาดได้ เหมือนหลอดด้ายอัน
บุคคลซัดไปแล้วหลอดด้ายนั้น อันด้ายคลายอยู่
ย่อมกลิ้งไปได้ ฉันใด ชีพนั้น ก็ฉันนั้น ย่อม
แหวกหนีไปจากร่างได้ บุคคลผู้ออกไปจากบ้านนี้
ไปเข้าบ้านอื่นฉันใด ชีพนั้นก็ออกจากร่างนี้แล้ว
ไปเข้าร่างอื่นฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลออกจาก
เรือนหลังนี้ แล้วไปเข้าเรือนหลังอื่นฉันใด แม้

ชีพนั้น ก็ออกจากร่างนี้แล้ว ไปเข้าร่างอื่นฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อสิ้นกำหนด ๘,๔๐๐,๐๐๐ มหากัป
สัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นพาล ทั้งที่เป็นบัณฑิต
จักยังสงสารให้สิ้นไปแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์
ได้เอง สุขและทุกข์เหมือนตักตวงได้ ด้วย
ทะนานและกระเช้า พระชินเจ้า ย่อมรู้ทั่วถึง
สุขทุกข์ทั้งปวง สัตว์นอกนี้ ล้วนเป็นผู้ลุ่มหลง

เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนี้ จึง
ได้เป็นคนหลง ถูกโมหะครอบงำ เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ทุศีล ตระหนี่ บริภาษสมณพราหมณ์ ภายใน
๖ เดือน ข้าพระองค์จักทำกาลกิริยา จักตกไป
ในนรกอันเผ็ดร้อน ร้ายกาจ โดยส่วนเดียว นรก
นั้นมี ๔ เหลี่ยม ๔ ประตู จำแนกออกเป็นส่วน ๆ
ล้อมด้วยกำแพงเหล็ก ครอบด้วยแผ่นเหล็ก พื้น
นรกนั้น เป็นเหล็กแดง ลุกเป็นเปลวเพลิงโชติช่วง
แผ่ไป ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบตั้งอยู่ทุกเมื่อ ล่วงไป
แสนปี ในกาลนั้นข้าพระองค์จึงได้ยินเสียงใน

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2019, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นรกนั้นว่า แน่ะ เพื่อนยาก เมื่อพวกเราไหม้อยู่
ในนรกนี้ กาลประมาณแสนปีล่วงไปแล้ว ข้าแต่
มหาราชเจ้า แสนโกฏิปีเป็นกำหนดอายุของสัตว์
ผู้หมกไหม้อยู่ในนรก ชนทั้งหลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เป็นคนทุศีล ติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมหมกไหม้
อยู่ในนรก แสนโกฏิปี ข้าพระองค์จักเสวย
ทุกขเวทนาอยู่ในนรกนั้น ตลอดกาลนานนี้ เป็น
ผลแห่งกรรมชั่วของข้าพระองค์ เพราะฉะนั้น

ข้าพระองค์ จึงเศร้าโศกนัก ข้าแต่มหาราชเจ้า
ผู้กำจัดศัตรูเป็นที่ที่เจริญใจของชาวแว่นแคว้น
ขอพระองค์จงทรงสดับคำของข้าพระองค์ ขอ
ความเจริญจงมีแด่พระองค์ ธิดาของข้าพระองค์
ชื่อ อุตตรา ทำแต่ความดี ยินดีแล้วในนิจศีล
และอุโบสถศีล ยินดีในทาน และการจำแนกทาน
รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่

มีปกติทำไม่ให้ขาดในสิกขา เป็นลูกสะใภ้ใน
ตระกูลอื่น เป็นอุบาสิกาของพระมหาศากยมุนี
สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงศิริ ข้าแต่มหาราชเจ้า
ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ นางอุตตราได้
เห็นภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เข้าไปบิณฑบาตใน
บ้าน มีจักษุทอดลงแล้ว มีสติคุ้มครองทวาร

สำรวมดีแล้ว เที่ยวไปตามลำดับตรอก เข้าไป
สู่บ้านนั้น นางได้ถวายน้ำขันหนึ่ง และขนมมี
รสหวาน อร่อยแล้ว อุทิศส่วนกุศลให้ข้าพระองค์
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอผลทานที่ดิฉันถวายนี้
จงพลันสำเร็จแก่บิดาของดิฉัน ที่ตายไปแล้วเถอะ
ในทันใดนั้น ผลแห่งทานก็บังเกิด แก่ข้าพระองค์

ข้าพระองค์มีความประสงค์ สำเร็จได้ดังความ
ปรารถนา บริโภคกามสุข เหมือนดังท้าวเวส-
วัณมหาราช ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้กำจัดศัตรู
เป็นที่เจริญใจของชาวแว่นแคว้น ขอพระองค์

จงทรงสดับคำของข้าพระองค์
พระพุทธเจ้าอันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เลิศ
แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก ขอพระองค์พร้อมด้วย
พระโอรสและพระอัครมเหสี จงถึงพระพุทธเจ้า
พระองค์นั้นเป็นสรณะเถิด ชนทั้งหลายย่อม
บรรลุอมตะ ด้วยมรรคมีองค์ ๘ ขอพระองค์
พร้อมด้วยพระโอรส และพระอัครมเหสี จงถึง
มรรคมีองค์ ๘ และอมตะบท ว่าเป็นสรณะเถิด
พระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติอยู่ในมรรค ๔ จำพวก

ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก นี้เป็นพระสงฆ์ผู้
ปฏิบัติ ซื่อตรง ประกอบด้วยปัญญาและศีล ขอ
พระองค์พร้อมด้วยพระโอรสและพระอัคร-
มเหสี จงถึงพระสงฆ์นั้นเป็นสรณะเถิด ขอ
พระองค์จงรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของพระองค์ ไม่ตรัส
คำเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์เถิด.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2019, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระราชาตรัสว่า :-
ดูก่อนเทวดา ท่านเป็นผู้ปรารถนาความ
เจริญแก่เรา ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา
เราจักทำตามคำของท่าน ท่านเป็นอาจารย์ของเรา
เราจักเข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์
อันยอดเยี่ยม กว่าเทวดาและมนุษย์ว่าเป็นสรณะ
เราจะรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และ
ยินดีด้วยพระมเหสีของตน จะไม่พูดเท็จ จะไม่

ดื่มน้ำเมา เราจะคลายความเห็นอันชั่วช้า เหมือน
โปรยแกลบอันลอยไปตามลมอันแรง เหมือน
ทั้งหญ้าและใบไม้ ลอยไปในแม่น้ำ มีกระแสอัน
เชี่ยว จักเป็นผู้ยินดีในพระพุทธศาสนา พระเจ้า-
สุรัฐ ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงงดเว้นจากความ
เห็นอันชั่วช้า ทรงนอบน้อมต่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่ง บ่าย
พระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก กลับคืนสู่
พระนคร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชา ปิงฺคลโก นาม สุรฏฺ€านํ
อธิปติ อหุ ความว่า ได้มีพระราชาพระองค์หนึ่ง เป็นอิสระแห่ง
สุรัฐประเทศ ปรากฏพระนามว่า ปิงคละ เพราะมีจักษุเหลือง.
ด้วยบทว่า โมริยานํ ท่านกล่าวหมายถึงพระเจ้าโมริยธรรมาโศก.
บทว่า สุรฏฺ€ํ ปุนราคมา ความว่า ได้เสด็จกลับมาตามทางเป็นที่

ไปยังสุรัฐประเทศ มุ่งที่อยู่แห่งสุรัฐประเทศ. บทว่า ปงฺกํ ได้แก่
ภูมิภาคอันอ่อนนุ่ม. บทว่า วณฺณุปถํ ได้แก่ หนทางมีทรายที่
เปรตนิรมิตรไว้.

บทว่า เขโม แปลว่า ปลอดภัย. บทว่า โสวตฺถิโก แปลว่า
นำมาซึ่งความสวัสดี. บทว่า สิโว แปลว่า ไม่มีอุปัทวันตราย.
บทว่า สุรฏฺ€านํ สนฺติเก อิโต ได้แก่ พวกเราเมื่อไปตามหนทาง
เส้นนี้ จักถึงที่ใกล้เมืองสุรัฐที่เดียว.

บทว่า สุรฏฺโ€ ได้แก่ ผู้เป็นใหญ่ในสุรัฐประเทศ. บทว่า
อุพฺพิคฺครูโป ได้แก่ ผู้มีความสะดุ้งเป็นสภาวะ. บทว่า ภึสนํ ได้แก่
เกิดความกลัวขึ้น. บทว่า โลมหํสนํ ได้แก่ เกิดขนพองสยองเกล้า
เพราะเป็นหนทางน่ากลัว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2019, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ยมปุริสาน สนฺติเก ได้แก่ อยู่ในที่ใกล้พวกเปรต.
บทว่า อมานุโส วายติ คนฺโธ ความว่า กลิ่นตัวของพวกเปรต
ย่อมฟุ้งไป. บทว่า โฆโส สุยฺยติ ทารุโณ ความว่า ข้าพระองค์
ได้ยินเสียงอันพิลึกน่าสะพึงกลัวของเหล่าสัตว์ ผู้กระทำเหตุใน
นรกโดยเฉพาะ.

บทว่า ปาทปํ ได้แก่ ต้นไม้อันมีชื่อว่า ปาทปะ เพราะเป็น
ที่ดื่มน้ำทางลำต้นเช่นกับราก. บทว่า ฉายาสมฺปนฺนํ แปลว่า
มีร่มเงาสนิทดี. บทว่า นีลพฺภวณฺณสทิสํ ได้แก่ มีสีเขียวชอุ่ม ดัง
สีเมฆ. บทว่า เมฆวณฺณสิรีนิภํ ได้แก่ ปรากฏมีสีและสัณฐาน
คล้ายเมฆ.

บทว่า ปูรํ ปานียสรกํ ได้แก่ ภาชนะน้ำดื่มอันเต็มด้วยน้ำดื่ม.
บทว่า ปูเว ได้แก่ ของเคี้ยว. บทว่า วิตฺเต ความว่า นายสารถี
ได้เห็นขนมที่วางไว้เต็มขันนั้น ๆ อันให้เกิดความปลื้มใจ มีรส
อร่อย เป็นที่ฟูใจ.

ศัพท์ อโถ ในบทว่า อโถ เต อทุราคตํ นี้ เป็นเพียงนิบาต
หรือว่า บทว่า อโถ ใช้ในอรรถแห่งอวธารณะ, อธิบายว่า พวก
เรารับด้วยความประสงค์ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดี
มิใช่เสด็จมาร้าย โดยที่แท้ พระองค์เสด็จมาดีทีเดียว. บทว่า
อรินฺทม ได้แก่ ผู้มักกำจัดข้าศึก.

บทว่า อมจฺจา ปาริสชฺชา มีวาจาประกอบความว่า พวก
อำมาตย์และปุโรหิตจงฟังคำ และพราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตของท่าน
จงฟังคำนั้นเถิด.
บทว่า สุรฏฺ€สฺมึ อหํ แก้เป็น สุรฏฺ€เทเส อหํ เรา... ใน
สุรัฐประเทศ. นายสารถี เรียกพระราชาว่า เทวะ. บทว่า
มิจฺฉาทิฏฺ€ แปลว่า ผู้เห็นผิดแปลกด้วยนัตถิกทิฏฐิ. บทว่า
ทุสฺสีโล ได้แก่ ผู้ไม่มีศีล. บทว่า กทริโย แปลว่า ผู้มีความตระหนี่
เหนียวแน่น. บทว่า ปริภาสโก ได้แก่ ผู้ด่าสมณพราหมณ์.

บทว่า วารยิสฺสํ แปลว่า ได้ห้ามแล้ว. บทว่า อนฺตรายกโร อหํ
มีวาจาประกอบความว่าเรา เป็นผู้กระทำอันตราย ต่อชนผู้กำลัง
ให้ทาน ผู้ทำอุปการะ และเราห้ามปรามชนเป็นอันมาก จากบุญ
อันสำเร็จด้วยทานของชนเหล่าอื่น ผู้กำลังให้ทาน.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: sakchai-98 และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร