วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้
สี่อย่างเหล่าไหนเล่า สี่อย่าง คือ

ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

และความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์







ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์




ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

กามตัณหา(ตัณหาในกาม)
ภวตัณหา(ตัณหาในความมีความเป็น)
วิภวตัณหา(ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์






ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น
ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์








ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้

ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
(ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง



ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า

นี้เป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด




หมายเหตุ;


ที่มีเกิดขึ้นมรรค ผล ในโสดาบัน
กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตบุคคล

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:


ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายก็เป็นทุกข์
การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นนั่น ก็เป็นทุกข์
กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ



ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ





ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร

เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ







ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้นั่นเอง กล่าวคือ

ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ




ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมอันเราแสดงแล้ว ว่าเหล่านี้ คือ อริยสัจทั้งหลายสี่ประการ ดังนี้
เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้
อันใด อันเรากล่าวแล้วข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงข้อความนี้ ดังนี้





หมายเหตุ;


ที่มีเกิดขึ้นมรรค ผล ในอนาคามี

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 22:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ทวยตานุปัสสนาสูตรที่ ๑๒

[๓๙๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี
ก็สมัยนั้นแล เมื่อราตรีเพ็ญมีพระจันทร์เต็มดวงในวันอุโบสถที่ ๑๕ ค่ำ พระผู้มีพระภาคอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับนั่งอยู่ในอัพโภกาส ทรงชำเลืองเห็นภิกษุสงฆ์สงบนิ่ง จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า จะมีประโยชน์อะไร เพื่อการฟังกุศลธรรมอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออกไป อันให้ถึงปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ แก่ท่านทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงตอบเขาอย่างนี้ว่า มีประโยชน์เพื่อรู้ธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างตามความเป็นจริง

ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า ท่านทั้งหลายกล่าวอะไรว่าเป็นธรรม ๒ อย่าง
พึงตอบเขาอย่างนี้ว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนืองๆ อย่างนี้
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ อรหัตตผลในปัจจุบันนี้ หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ฯ



พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๓๙๑]ชนเหล่าใดไม่รู้ทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ไม่มีส่วนเหลือ โดยประการทั้งปวง และไม่รู้มรรคอันให้ถึงความเข้าไประงับทุกข์ ชนเหล่านั้นเสื่อมแล้วจากเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เป็นผู้เข้าถึงชาติและชราแท้

ส่วนชนเหล่าใดรู้ทุกข์เหตุเกิดแห่งทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง และรู้มรรคอันให้ถึงความเข้าไประงับทุกข์ ชนเหล่านั้น ถึงพร้อมแล้วด้วยเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ เป็นผู้ควรที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ และเป็นผู้ไม่เข้าถึงชาติและชรา ฯ



[๓๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า การพิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนืองๆ
จะพึงมีโดยปริยายอย่างอื่นบ้างไหม พึงตอบเขาว่าพึงมี ถ้าเขาพึงถามว่า พึงมีอย่างไรเล่า
พึงตอบว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอุปธิปัจจัย นี้เป็นข้อ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะอุปธิทั้งหลายนี้เองดับไป เพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ทุกข์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีเป็นอันมากในโลก ย่อมเกิดเพราะอุปธิเป็นเหตุ
ผู้ใดแลไม่รู้ย่อมกระทำอุปธิ ผู้นั้นเป็นผู้เขลาย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆ
เพราะเหตุนั้น ผู้พิจารณาเห็นเหตุเกิดแห่งทุกข์เนืองๆ ทราบชัดอยู่ ไม่พึงทำอุปธิ ฯ



[๓๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า การพิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนืองๆ
พึงมีโดยปริยายอย่างอื่นบ้างไหม ควรตอบเขาว่า พึงมี

ถ้าเขาถามว่า พึงมีอย่างไรเล่า พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะอวิชชานั่นเองดับไปเพราะสำรอกโดยไม่มีเหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
อวิชชานั้นเอง เป็นคติของสัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงชาติมรณะและสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่นบ่อยๆ อวิชชา คือ ความหลงใหญ่นี้ เป็นความเที่ยงอยู่สิ้นกาลนาน สัตว์ทั้งหลายผู้ไปด้วยวิชชาเท่านั้น ย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่ ฯ



[๓๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะสังขารเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะสังขารทั้งหลายนั่นเองดับไป เพราะสำรอกโดยไม่มีเหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะสังขารเป็นปัจจัย เพราะสังขารทั้งหลายดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด
ภิกษุรู้โทษนี้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย ทุกข์จึงเกิดขึ้น เพราะความสงบแห่งสังขารทั้งมวล สัญญาทั้งหลายจึงดับ ความสิ้นไปแห่งทุกข์ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้

ภิกษุรู้ความสิ้นไปแห่งทุกข์นี้โดยถ่องแท้ บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นชอบผู้ถึงเวทย์ รู้โดยชอบแล้ว ครอบงำกิเลสเป็นเครื่องประกอบของมารได้แล้ว ย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่ ฯ



[๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะวิญญาณนั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เพราะวิญญาณดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด
ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้น เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยดังนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วเพราะความเข้าไปสงบแห่งวิญญาณ ฯ




[๓๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะผัสสะนั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ของชนทั้งหลายผู้อันผัสสะครอบงำแล้ว
ผู้แล่นไปตามกระแสแห่งภวตัณหา ผู้ดำเนินไปแล้วสู่หนทางผิด ย่อมอยู่ห่างไกล

ส่วนชนเหล่าใดกำหนดรู้ผัสสะด้วยปัญญา ยินดีแล้วในธรรมเป็นที่เข้าไปสงบ
ชนแม้เหล่านั้น เป็นผู้หายหิวดับรอบแล้ว เพราะการดับไปแห่งผัสสะ ฯ





[๓๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะเวทนาเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะเวทนานั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
ภิกษุรู้เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุขเวทนา หรือทุกขเวทนากับอทุกขมสุขเวทนา ที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกว่า
เวทนานี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ มีความสาปสูญไปเป็นธรรมดา มีความทรุดโทรมไปเป็นธรรมดา ถูกต้องด้วยอุทยัพพยญาณแล้ว เห็นความเสื่อมไปอยู่ ย่อมรู้แจ่มแจ้ง ความเป็นทุกข์ในเวทนานั้นอย่างนี้ เพราะเวทนาทั้งหลายสิ้นไปนั้นเองทุกข์จึงไม่เกิด ฯ



[๓๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะตัณหาเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะตัณหานั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน
ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่นไปได้

ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นผู้มีตัณหาปราศจากไปแล้ว ไม่ถือมั่น มีสติ พึงเว้นรอบ ฯ



[๓๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะอุปาทานนั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ภพย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย สัตว์ผู้เกิดแล้วย่อมเข้าถึงทุกข์ ต้องตาย นี้เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตทั้งหลายรู้แล้วโดยชอบ รู้ยิ่งความสิ้นไปแห่งชาติแล้ว ย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่ เพราะความสิ้นไปแห่งอุปาทาน ฯ



[๔๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะความริเริ่มเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะการริเริ่มนั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะความริเริ่มเป็นปัจจัย เพราะความริเริ่มดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด

ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะความริเริ่มเป็นปัจจัยดังนี้แล้ว สละคืนความริเริ่มได้ทั้งหมดแล้ว น้อมไปในนิพพานทีไม่มีความริเริ่ม ถอนภวตัณหาขึ้นได้แล้ว มีจิตสงบมีชาติสงสารสิ้นแล้ว ย่อมไม่มีภพใหม่ ฯ


[๔๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะอาหารทั้งหมดนั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นปัจจัย เพราะอาหารทั้งหลายดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด

ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้ถึงเวทย์ รู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นปัจจัย ดังนี้แล้ว กำหนดรู้อาหารทั้งปวง
เป็นผู้อันตัณหาไม่อาศัยในอาหารทั้งหมด รู้โดยชอบซึ่งนิพพานอันไม่มีโรค พิจารณาแล้วเสพปัจจัย ๔ ย่อมไม่เข้าถึงการนับว่า เป็นเทวดาหรือมนุษย์ เพราะอาสวะทั้งหลายหมดสิ้นไป ฯ


[๔๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะความหวั่นไหวเป็นปัจจัย นี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความหวั่นไหวทั้งหลายนั่นเองดับไปเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะความหวั่นไหวเป็นปัจจัย
เพราะความหวั่นไหวดับไม่มีเหลือทุกข์จึงไม่เกิด

ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะความหวั่นไหวเป็นปัจจัย ดังนี้
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุสละตัณหาแล้ว ดับสังขารทั้งหลายได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหวไม่ถือมั่น แต่นั้นพึงเว้นรอบ ฯ



[๔๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ความดิ้นรนย่อมมีแก่ผู้อันตัณหา ทิฐิ และมานะอาศัยแล้ว นี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ผู้ที่ตัณหา ทิฐิ และมานะไม่อาศัยแล้ว ย่อมไม่ดิ้นรน นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ผู้อันตัณหา ทิฐิ และมานะไม่อาศัยแล้ว ย่อมไม่ดิ้นรน
ส่วนผู้อันตัณหา ทิฐิ และมานะอาศัยแล้ว ถือมั่นอยู่ ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้
และความเป็นอย่างอื่นไปได้

ภิกษุรู้โทษนี้ว่า เป็นภัยใหญ่ในเพราะนิสสัย คือ ตัณหา ทิฐิและมานะทั้งหลายแล้ว
เป็นผู้อันตัณหา ทิฐิและมานะไม่อาศัยแล้ว ไม่ถือมั่น มีสติ พึงเว้นรอบ ฯ



[๔๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า อรูปภพละเอียดกว่ารูปภพ นี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า นิโรธละเอียดกว่าอรูปภพ นี้เป็นข้อ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตว์เหล่าใดผู้เข้าถึงรูปภพ และตั้งอยู่ในอรูปภพ สัตว์เหล่านั้นเมื่อยังไม่รู้ชัดซึ่งนิพพานก็ยังเป็นผู้จะต้องมาสู่ภพใหม่
ส่วนชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปภพแล้ว (ไม่) ดำรงอยู่ด้วยดีในอรูปภพ ชนเหล่านั้นน้อมไปในนิพพานทีเดียว เป็นผู้ละมัจจุเสียได้ ฯ

[๔๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายนามรูปที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า นามรูปนี้เป็นของจริง

พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นามรูปนั่นเป็นของเท็จ นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า นิพพานนี้เป็นของเท็จ

พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า
นิพพานนั้นเป็นของจริง นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๒


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ท่านผู้มีความสำคัญในนามรูป อันเป็นของมิใช่ตนว่าเป็นตน จงดูโลกพร้อมทั้งเทวโลก ผู้ยึดมั่นแล้วในนามรูป ซึ่งสำคัญนามรูปนี้ว่า เป็นของจริง

ก็ชนทั้งหลายย่อมสำคัญ (นามรูป)ด้วยอาการใดๆ นามรูปนั้น ย่อมเป็นอย่างอื่นไปจากอาการที่เขาสำคัญนั้นๆ นามรูปของผู้นั้นแล เป็นของเท็จ

เพราะนามรูป มีความสาปสูญไปเป็นธรรมดา นิพพานมีความไม่สาปสูญไปเป็นธรรมดา
พระอริยเจ้าทั้งหลายรู้นิพพานนั้นโดยความเป็นจริง พระอริยเจ้าเหล่านั้นแล เป็นผู้หายหิวดับรอบแล้ว เพราะตรัสรู้ของจริง ฯ


[๔๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า
การพิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างเนืองๆ โดยชอบ จะพึงมีโดยปริยายอย่างอื่นบ้างไหม พึงตอบเขาว่า พึงมี

ถ้าเขาถามว่าพึงมีอย่างไรเล่า พึงตอบเขาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายอิฏฐารมณ์ที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า เป็นสุข
พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่านั่นเป็นทุกข์ นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า นี้เป็นทุกข์
พระอริยะเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่า นั่นเป็นสุข นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนืองๆ อย่างนี้
ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันนี้หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ฯ


พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้วจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมารมณ์ล้วนน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีประมาณเท่าใด โลกกล่าวว่ามีอยู่ อารมณ์ ๖ อย่างเหล่านี้
โลกพร้อมทั้งเทวโลกสมมติกันว่าเป็นสุข แต่ว่าธรรมเป็นที่ดับอารมณ์ ๖ อย่างนี้ ชนเหล่านั้นสมมติกันว่าเป็นทุกข์
ความดับแห่งเบญจขันธ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลายเห็นว่าเป็นสุข ความเห็นขัดแย้งกันกับโลกทั้งปวงนี้ ย่อมมีแก่บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นอยู่

ชนเหล่าอื่นกล่าววัตถุกามใดโดยความเป็นสุข พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าววัตถุกามนั้นโดยความเป็นทุกข์
ชนเหล่าอื่นกล่าวนิพพานใดโดยความเป็นทุกข์ พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้รู้แจ้งกล่าวนิพพานนั้นโดยความเป็นสุข

ท่านจงพิจารณาธรรมที่รู้ได้ยาก ชนพาลทั้งหลายผู้ไม่รู้แจ้ง พากันลุ่มหลงอยู่ในโลกนี้
ความมืดตื้อย่อมมีแก่ชนพาลทั้งหลายผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ผู้ไม่เห็นอยู่

ส่วนนิพพาน เป็นธรรมชาติเปิดเผยแก่สัตบุรุษผู้เห็นอยู่ เหมือนอย่างแสงสว่าง ฉะนั้น

ชนทั้งหลายเป็นผู้ค้นคว้า ไม่ฉลาดต่อธรรม ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานที่มีอยู่ในที่ใกล้
ชนทั้งหลายผู้ถูกภวราคะครอบงำแล้ว แล่นไปตามกระแสภวตัณหา ผู้เข้าถึงวัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมารเนืองๆไม่ตรัสรู้ธรรมนี้ได้โดยง่าย นอกจากพระอริยเจ้าทั้งหลาย ใครหนอย่อมควรจะรู้บท คือ นิพพานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ดีแล้ว พระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีอาสวะเพราะรู้โดยชอบ ย่อมปรินิพพาน ฯ


[๔๐๗] พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ก็และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุประมาณ ๖๐ รูป หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ

จบทวยตานุปัสสนาสูตรที่ ๑๒
-----------------------------------------------------
รวมหัวข้อประจำเรื่องในพระสูตรนี้ คือ
สัจจะ อุปธิ อวิชชา สังขาร วิญญาณเป็นที่ ๕ ผัสสะ เวทนา
ตัณหา อุปาทาน อารัมภะ อาหาร ความหวั่นไหว ความดิ้นรน รูป และ
สัจจะกับทุกข์ รวมเป็น ๑๖ ฯ
จบมหาวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปัพพชาสูตร ๒. ปธานสูตร ๓. สุภาษิตสูตร ๔. สุนทริกสูตร
๕. มาฆสูตร ๖. สภิยสูตร ๗. เสลสูตร ๘. สัลลสูตร ๙. วาเสฏฐสูตร
๑๐. โกกาลิกสูตร ๑๑. นาลกสูตร ๑๒. ทวยตานุปัสสนาสูตร สูตร ๑๒
สูตรเหล่านี้ ท่านเรียกว่า มหาวรรค ดังนี้แล ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 22:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ก. สัทธานุสารี
ข. ธัมมานุสารีบุคคล

ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล

[๔๖๙] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จักษุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
จมูกไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา
กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้
เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน
ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย
ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด.
เราเรียกผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน
ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย
ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๑.






ค. โสตาปัตติยังคสูตร
โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ

[๑๖๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? คือ
การคบสัตบุรุษ ๑ การฟังธรรม ๑ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้แล.


นันทิยสูตร
อยู่ด้วยความประมาทและไม่ประมาท


[๑๖๐๒] ดูกรนันทิยะ ก็อริยสาวกผู้เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม
อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น
พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข
จิตของผู้มีความสุขย่อมเป็นสมาธิ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ
เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ อริยสาวกนั้น
ย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ...
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว พยายามให้ยิ่งขึ้นไป
เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข
จิตของผู้มีความสุข ย่อมเป็นสมาธิ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ
อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท

ดูกรนันทิยะ อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้แล.





walaiporn เขียน:



ปฏิปทาวรรคที่ ๒

http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... 083&Z=4299




ถ้าอ่านพระธรรมที่พุทธเจ้าทรงตรัสไว้ แล้วยังไม่เข้าใจอีก
จะบอกแค่ว่า พระธรรม ไม่ใช่แค่การท่องจำเพียงอย่างเดียว แต่ต้องปฏิบัติจนแจ้งแก่ตน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2019, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ทวยตานุปัสสนาสูตรที่ ๑๒

[๓๙๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี
ก็สมัยนั้นแล เมื่อราตรีเพ็ญมีพระจันทร์เต็มดวงในวันอุโบสถที่ ๑๕ ค่ำ พระผู้มีพระภาคอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับนั่งอยู่ในอัพโภกาส ทรงชำเลืองเห็นภิกษุสงฆ์สงบนิ่ง จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า จะมีประโยชน์อะไร เพื่อการฟังกุศลธรรมอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออกไป อันให้ถึงปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ แก่ท่านทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงตอบเขาอย่างนี้ว่า มีประโยชน์เพื่อรู้ธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างตามความเป็นจริง

ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า ท่านทั้งหลายกล่าวอะไรว่าเป็นธรรม ๒ อย่าง
พึงตอบเขาอย่างนี้ว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนืองๆ อย่างนี้
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ อรหัตตผลในปัจจุบันนี้ หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ฯ



พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๓๙๑]ชนเหล่าใดไม่รู้ทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ไม่มีส่วนเหลือ โดยประการทั้งปวง และไม่รู้มรรคอันให้ถึงความเข้าไประงับทุกข์ ชนเหล่านั้นเสื่อมแล้วจากเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เป็นผู้เข้าถึงชาติและชราแท้

ส่วนชนเหล่าใดรู้ทุกข์เหตุเกิดแห่งทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่ดับทุกข์ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง และรู้มรรคอันให้ถึงความเข้าไประงับทุกข์ ชนเหล่านั้น ถึงพร้อมแล้วด้วยเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ เป็นผู้ควรที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ และเป็นผู้ไม่เข้าถึงชาติและชรา ฯ



[๓๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า การพิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนืองๆ
จะพึงมีโดยปริยายอย่างอื่นบ้างไหม พึงตอบเขาว่าพึงมี ถ้าเขาพึงถามว่า พึงมีอย่างไรเล่า
พึงตอบว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอุปธิปัจจัย นี้เป็นข้อ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะอุปธิทั้งหลายนี้เองดับไป เพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ทุกข์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีเป็นอันมากในโลก ย่อมเกิดเพราะอุปธิเป็นเหตุ
ผู้ใดแลไม่รู้ย่อมกระทำอุปธิ ผู้นั้นเป็นผู้เขลาย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อยๆ
เพราะเหตุนั้น ผู้พิจารณาเห็นเหตุเกิดแห่งทุกข์เนืองๆ ทราบชัดอยู่ ไม่พึงทำอุปธิ ฯ



[๓๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า การพิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนืองๆ
พึงมีโดยปริยายอย่างอื่นบ้างไหม ควรตอบเขาว่า พึงมี

ถ้าเขาถามว่า พึงมีอย่างไรเล่า พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะอวิชชานั่นเองดับไปเพราะสำรอกโดยไม่มีเหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
อวิชชานั้นเอง เป็นคติของสัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงชาติมรณะและสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่นบ่อยๆ อวิชชา คือ ความหลงใหญ่นี้ เป็นความเที่ยงอยู่สิ้นกาลนาน สัตว์ทั้งหลายผู้ไปด้วยวิชชาเท่านั้น ย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่ ฯ



[๓๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะสังขารเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะสังขารทั้งหลายนั่นเองดับไป เพราะสำรอกโดยไม่มีเหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะสังขารเป็นปัจจัย เพราะสังขารทั้งหลายดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด
ภิกษุรู้โทษนี้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย ทุกข์จึงเกิดขึ้น เพราะความสงบแห่งสังขารทั้งมวล สัญญาทั้งหลายจึงดับ ความสิ้นไปแห่งทุกข์ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้

ภิกษุรู้ความสิ้นไปแห่งทุกข์นี้โดยถ่องแท้ บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นชอบผู้ถึงเวทย์ รู้โดยชอบแล้ว ครอบงำกิเลสเป็นเครื่องประกอบของมารได้แล้ว ย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่ ฯ



[๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะวิญญาณนั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เพราะวิญญาณดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด
ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้น เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยดังนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วเพราะความเข้าไปสงบแห่งวิญญาณ ฯ




[๓๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะผัสสะนั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ของชนทั้งหลายผู้อันผัสสะครอบงำแล้ว
ผู้แล่นไปตามกระแสแห่งภวตัณหา ผู้ดำเนินไปแล้วสู่หนทางผิด ย่อมอยู่ห่างไกล

ส่วนชนเหล่าใดกำหนดรู้ผัสสะด้วยปัญญา ยินดีแล้วในธรรมเป็นที่เข้าไปสงบ
ชนแม้เหล่านั้น เป็นผู้หายหิวดับรอบแล้ว เพราะการดับไปแห่งผัสสะ ฯ





[๓๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะเวทนาเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะเวทนานั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
ภิกษุรู้เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุขเวทนา หรือทุกขเวทนากับอทุกขมสุขเวทนา ที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกว่า
เวทนานี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ มีความสาปสูญไปเป็นธรรมดา มีความทรุดโทรมไปเป็นธรรมดา ถูกต้องด้วยอุทยัพพยญาณแล้ว เห็นความเสื่อมไปอยู่ ย่อมรู้แจ่มแจ้ง ความเป็นทุกข์ในเวทนานั้นอย่างนี้ เพราะเวทนาทั้งหลายสิ้นไปนั้นเองทุกข์จึงไม่เกิด ฯ



[๓๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะตัณหาเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะตัณหานั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน
ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่นไปได้

ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นผู้มีตัณหาปราศจากไปแล้ว ไม่ถือมั่น มีสติ พึงเว้นรอบ ฯ



[๓๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะอุปาทานนั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ภพย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย สัตว์ผู้เกิดแล้วย่อมเข้าถึงทุกข์ ต้องตาย นี้เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตทั้งหลายรู้แล้วโดยชอบ รู้ยิ่งความสิ้นไปแห่งชาติแล้ว ย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่ เพราะความสิ้นไปแห่งอุปาทาน ฯ



[๔๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะความริเริ่มเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะการริเริ่มนั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะความริเริ่มเป็นปัจจัย เพราะความริเริ่มดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด

ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะความริเริ่มเป็นปัจจัยดังนี้แล้ว สละคืนความริเริ่มได้ทั้งหมดแล้ว น้อมไปในนิพพานทีไม่มีความริเริ่ม ถอนภวตัณหาขึ้นได้แล้ว มีจิตสงบมีชาติสงสารสิ้นแล้ว ย่อมไม่มีภพใหม่ ฯ


[๔๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะอาหารทั้งหมดนั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นปัจจัย เพราะอาหารทั้งหลายดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด

ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้ถึงเวทย์ รู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นปัจจัย ดังนี้แล้ว กำหนดรู้อาหารทั้งปวง
เป็นผู้อันตัณหาไม่อาศัยในอาหารทั้งหมด รู้โดยชอบซึ่งนิพพานอันไม่มีโรค พิจารณาแล้วเสพปัจจัย ๔ ย่อมไม่เข้าถึงการนับว่า เป็นเทวดาหรือมนุษย์ เพราะอาสวะทั้งหลายหมดสิ้นไป ฯ


[๔๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะความหวั่นไหวเป็นปัจจัย นี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะความหวั่นไหวทั้งหลายนั่นเองดับไปเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะความหวั่นไหวเป็นปัจจัย
เพราะความหวั่นไหวดับไม่มีเหลือทุกข์จึงไม่เกิด

ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะความหวั่นไหวเป็นปัจจัย ดังนี้
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุสละตัณหาแล้ว ดับสังขารทั้งหลายได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหวไม่ถือมั่น แต่นั้นพึงเว้นรอบ ฯ



[๔๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ความดิ้นรนย่อมมีแก่ผู้อันตัณหา ทิฐิ และมานะอาศัยแล้ว นี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ผู้ที่ตัณหา ทิฐิ และมานะไม่อาศัยแล้ว ย่อมไม่ดิ้นรน นี้เป็นข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ผู้อันตัณหา ทิฐิ และมานะไม่อาศัยแล้ว ย่อมไม่ดิ้นรน
ส่วนผู้อันตัณหา ทิฐิ และมานะอาศัยแล้ว ถือมั่นอยู่ ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้
และความเป็นอย่างอื่นไปได้

ภิกษุรู้โทษนี้ว่า เป็นภัยใหญ่ในเพราะนิสสัย คือ ตัณหา ทิฐิและมานะทั้งหลายแล้ว
เป็นผู้อันตัณหา ทิฐิและมานะไม่อาศัยแล้ว ไม่ถือมั่น มีสติ พึงเว้นรอบ ฯ



[๔๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า อรูปภพละเอียดกว่ารูปภพ นี้เป็นข้อที่ ๑
การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า นิโรธละเอียดกว่าอรูปภพ นี้เป็นข้อ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตว์เหล่าใดผู้เข้าถึงรูปภพ และตั้งอยู่ในอรูปภพ สัตว์เหล่านั้นเมื่อยังไม่รู้ชัดซึ่งนิพพานก็ยังเป็นผู้จะต้องมาสู่ภพใหม่
ส่วนชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปภพแล้ว (ไม่) ดำรงอยู่ด้วยดีในอรูปภพ ชนเหล่านั้นน้อมไปในนิพพานทีเดียว เป็นผู้ละมัจจุเสียได้ ฯ

[๔๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายนามรูปที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า นามรูปนี้เป็นของจริง

พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นามรูปนั่นเป็นของเท็จ นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า นิพพานนี้เป็นของเท็จ

พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า
นิพพานนั้นเป็นของจริง นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๒


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบอย่างนี้ ฯลฯ
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ท่านผู้มีความสำคัญในนามรูป อันเป็นของมิใช่ตนว่าเป็นตน จงดูโลกพร้อมทั้งเทวโลก ผู้ยึดมั่นแล้วในนามรูป ซึ่งสำคัญนามรูปนี้ว่า เป็นของจริง

ก็ชนทั้งหลายย่อมสำคัญ (นามรูป)ด้วยอาการใดๆ นามรูปนั้น ย่อมเป็นอย่างอื่นไปจากอาการที่เขาสำคัญนั้นๆ นามรูปของผู้นั้นแล เป็นของเท็จ

เพราะนามรูป มีความสาปสูญไปเป็นธรรมดา นิพพานมีความไม่สาปสูญไปเป็นธรรมดา
พระอริยเจ้าทั้งหลายรู้นิพพานนั้นโดยความเป็นจริง พระอริยเจ้าเหล่านั้นแล เป็นผู้หายหิวดับรอบแล้ว เพราะตรัสรู้ของจริง ฯ


[๔๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจะพึงมีผู้ถามว่า
การพิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างเนืองๆ โดยชอบ จะพึงมีโดยปริยายอย่างอื่นบ้างไหม พึงตอบเขาว่า พึงมี

ถ้าเขาถามว่าพึงมีอย่างไรเล่า พึงตอบเขาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายอิฏฐารมณ์ที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า เป็นสุข
พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่านั่นเป็นทุกข์ นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า นี้เป็นทุกข์
พระอริยะเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่า นั่นเป็นสุข นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมเป็นธรรม ๒ อย่างโดยชอบเนืองๆ อย่างนี้
ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผลในปัจจุบันนี้หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ฯ


พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้วจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมารมณ์ล้วนน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีประมาณเท่าใด โลกกล่าวว่ามีอยู่ อารมณ์ ๖ อย่างเหล่านี้
โลกพร้อมทั้งเทวโลกสมมติกันว่าเป็นสุข แต่ว่าธรรมเป็นที่ดับอารมณ์ ๖ อย่างนี้ ชนเหล่านั้นสมมติกันว่าเป็นทุกข์
ความดับแห่งเบญจขันธ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลายเห็นว่าเป็นสุข ความเห็นขัดแย้งกันกับโลกทั้งปวงนี้ ย่อมมีแก่บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นอยู่

ชนเหล่าอื่นกล่าววัตถุกามใดโดยความเป็นสุข พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าววัตถุกามนั้นโดยความเป็นทุกข์
ชนเหล่าอื่นกล่าวนิพพานใดโดยความเป็นทุกข์ พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้รู้แจ้งกล่าวนิพพานนั้นโดยความเป็นสุข

ท่านจงพิจารณาธรรมที่รู้ได้ยาก ชนพาลทั้งหลายผู้ไม่รู้แจ้ง พากันลุ่มหลงอยู่ในโลกนี้
ความมืดตื้อย่อมมีแก่ชนพาลทั้งหลายผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ผู้ไม่เห็นอยู่

ส่วนนิพพาน เป็นธรรมชาติเปิดเผยแก่สัตบุรุษผู้เห็นอยู่ เหมือนอย่างแสงสว่าง ฉะนั้น

ชนทั้งหลายเป็นผู้ค้นคว้า ไม่ฉลาดต่อธรรม ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานที่มีอยู่ในที่ใกล้
ชนทั้งหลายผู้ถูกภวราคะครอบงำแล้ว แล่นไปตามกระแสภวตัณหา ผู้เข้าถึงวัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมารเนืองๆไม่ตรัสรู้ธรรมนี้ได้โดยง่าย นอกจากพระอริยเจ้าทั้งหลาย ใครหนอย่อมควรจะรู้บท คือ นิพพานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ดีแล้ว พระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีอาสวะเพราะรู้โดยชอบ ย่อมปรินิพพาน ฯ


[๔๐๗] พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ก็และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุประมาณ ๖๐ รูป หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ

จบทวยตานุปัสสนาสูตรที่ ๑๒
-----------------------------------------------------
รวมหัวข้อประจำเรื่องในพระสูตรนี้ คือ
สัจจะ อุปธิ อวิชชา สังขาร วิญญาณเป็นที่ ๕ ผัสสะ เวทนา
ตัณหา อุปาทาน อารัมภะ อาหาร ความหวั่นไหว ความดิ้นรน รูป และ
สัจจะกับทุกข์ รวมเป็น ๑๖ ฯ
จบมหาวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปัพพชาสูตร ๒. ปธานสูตร ๓. สุภาษิตสูตร ๔. สุนทริกสูตร
๕. มาฆสูตร ๖. สภิยสูตร ๗. เสลสูตร ๘. สัลลสูตร ๙. วาเสฏฐสูตร
๑๐. โกกาลิกสูตร ๑๑. นาลกสูตร ๑๒. ทวยตานุปัสสนาสูตร สูตร ๑๒
สูตรเหล่านี้ ท่านเรียกว่า มหาวรรค ดังนี้แล ฯ







๑. อาหารสูตร

[๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้วหรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ เป็นไฉน คือ
[๑] กวฬิงการาหารหยาบ หรือละเอียด
[๒] ผัสสาหาร
[๓] มโนสัญเจตนาหาร
[๔]วิญญาณาหาร อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ

[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร ๔ เหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด

อาหาร ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด

ก็ตัณหานี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นที่ตั้งขึ้น มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด

ก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด
มีอะไรเป็นแดนเกิด เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นที่ตั้งขึ้น มีผัสสะเป็นกำเนิด

มีผัสสะเป็นแดนเกิด ก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นที่ตั้งขึ้น มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด

ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นที่ตั้งขึ้น มีนามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด

ก็นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นที่ตั้งขึ้น มีวิญญาณเป็นกำเนิด มีวิญญาณเป็นแดนเกิด

ก็วิญญาณนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ มีสังขารเป็นที่ตั้งขึ้น มีสังขารเป็นกำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด

ก็สังขารเหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นที่ตั้งขึ้น มีอวิชชาเป็นกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ...
ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ


[๓๐] ก็เพราะอวิชชานั้นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2019, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. สีสปาวนสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่สีสปาวัน

[๑๑๐๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน เขตกรุงโกสัมพี
ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงหยิบใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบขึ้นมา แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราหยิบขึ้นมากับใบที่อยู่บนต้น อย่างไหนจะมากกว่ากัน”

ลำดับนั้นภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
“ใบที่อยู่บนต้นไม้นั้นแลมากกว่า ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่พระองค์ทรงหยิบขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า”

“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วแต่มิได้บอกเธอทั้งหลายก็มีมากเหมือนกัน
เพราะเหตุไร เราจึงมิได้บอก เพราะสิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์
ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ
ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงมิได้บอก

สิ่งอะไรเล่าที่เราบอกแล้ว คือ เราได้บอกว่า
‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’

เพราะเหตุไร เราจึงบอก
เพราะสิ่งนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพิ่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงบอก

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัด
ตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร