วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระราชาทรงบูชาแล้ว เป็นผู้งดงามยิ่งนัก ได้มา
ปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระราชา ผู้เป็นใหญ่
กว่าหมู่ชน แล้วกราบทูลว่า ข้าพระองค์เป็น
เทวดา มีฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยมแล้ว มนุษย์ทั้งหลาย
ผู้มีฤทธิ์เสมอด้วยข้าพระองค์ไม่มี ขอพระองค์
ทรงทอดพระเนตรดูอานุภาพอันหาประมาณมิได้
ของข้าพระองค์นี้เถิด ซึ่งเกิดจากผลที่พระองค์

ทรงถวายทาน อันจะนับมิได้แก่สงฆ์ อุทิศส่วน
พระราชกุศลให้แก่ข้าพระองค์ ด้วยทรงอนุ-
เคราะห์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเทพแห่งมนุษย์
ข้าพระองค์เป็นผู้อันพระองค์ ยังพระอริยสงฆ์
ให้อิ่มหนำ ด้วยไทยธรรมมีข้าวและน้ำ และ
ผ้าผ่อนเป็นต้น เป็นอันมาก จึงได้อิ่มหนำแล้ว
เนือง ๆ บัดนี้ ข้าพระองค์มีความสุขแล้ว จึง
ขอทูลลาพระองค์ไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมโวจ ราชา ความว่า พระเจ้า-
อชาตศัตรูได้ตรัสสั่งเปรตนั้น ผู้ยืนกล่าวอยู่อย่างนั้น. บทว่า
อนุภวิยาน ตมฺปิ ความว่า เสวยทานแม้นั้นที่ธิดาของท่านเข้าไป
ตั้งไว้. บทว่า เอยฺยาสิ แปลว่า พึงมา. บทว่า กริสฺสํ แปลว่า จัก
กระทำ. บทว่า อาจิกฺข เม ตํ ยทิ อตฺถิ เหตุ ความว่า ถ้าคำอะไร

มีเหตุที่ควรเชื่อได้จงบอกเล่าแก่เรา. บทว่า สทฺธายิตํ แปลว่า
ควรเชื่อได้. บทว่า เหตุวโจ ได้แก่ คำที่ควรแก่เหตุ. อธิบายว่า
ท่านจงกล่าวคำที่มีเหตุว่า เมื่อบำเพ็ญทานในที่ชื่อโน้น โดยประการ
โน้น จะสำเร็จแก่เรา.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ตถาติ วตฺวา ความว่า จูฬเศรษฐีเปรตทูลรับพระ-
ดำรัสแล้ว. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในที่เป็นที่อังคาสในอันธกวินทนคร
นั้น. บทว่า ภุญฺชึสุ ภตฺตํ น จ ทกฺขิณารหา ความว่า พราหมณ์
ผู้ทุศีลบริโภคภัตตาหารแล้ว แต่ว่าพราหมณ์ผู้บริโภคนั้น เป็นผู้ไม่ควร
ทักษิณา ไม่มีศีล. บทว่า ปุนาปรํ ความว่า ภายหลังจูฬเศรษฐีเปรต
กลับมายังกรุงราชคฤห์อีก.

บทว่า กึ ททามิ ความว่า พระราชาตรัสถามเปรตนั้นว่า
เราจักให้ทานเช่นไรแก่ท่าน. บทว่า เยน ตุวํ ความว่า ท่านให้
อิ่มหนำด้วยเหตุใด. บทว่า จิรตรํ แปลว่า ตลอดกาลนาน. บทว่า
ปิณิโต ความว่า ถ้าท่านอิ่มหนำแล้วท่านจงบอกข้อนั้น.

บทว่า ปริวิสิยาน แปลว่า ให้บริโภค. จูฬเศรษฐีเปรตเรียก
พระเจ้าอชาตศัตรูว่า ราชา. บทว่า เม หิตาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์
เกื้อกูลแก่ข้าพระองค์ คือ เพื่อให้ข้าพระองค์พ้นจากความเป็นเปรต.

บทว่า ตโต แปลว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะคำนั้น. อีก
อย่างหนึ่ง บทว่า ตโต แปลว่า จากปราสาทนั้น. บทว่า นิปติตฺวา
แปลว่า ออกไปแล้ว. บทว่า ตาวเท ได้แก่ ในกาลนั้นเอง คือ
ในเวลาอรุณขึ้น, อธิบายว่า พระราชาได้ถวายทานเฉพาะในเวลา
ก่อนภัตรที่เปรตกลับมาแสดงตนแก่พระราชา. บทว่า สหตฺถา

แปลว่า ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์. บทว่า อตุลํ แปลว่า ประมาณ
ไม่ได้ คือ ประณีตยิ่ง. บทว่า ทตฺวา สงฺเฆ ได้แก่ ถวายแก่สงฆ์.
บทว่า อาโรเจสิ ปกตํ ตถาคตสฺส ความว่า พระราชากราบทูล
เรื่องราวนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทาน

นี้หม่อมฉันได้บำเพ็ญมุ่งหมายอุทิศเปรตตนหนึ่ง. ก็แลครั้นกราบทูล
แล้ว ทานนั้นก็สำเร็จแก่เปรตนั้น โดยประการนั้น และข้าพระองค์
ถวายอุทิศส่วนบุญแก่เปรตนั้น ด้วยประการฉะนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2019, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า โส ได้แก่ เปรตนั้น. บทว่า ปูชิโต ได้แก่ ผู้อัน
พระราชาทรงบูชาด้วยทักษิณาที่ทรงอุทิศให้. บทว่า อติวิย
โสภมาโน. แปลว่า เป็นผู้งดงามยิ่งนักด้วยอานุภาพของเทวดา.
บทว่า ปาตุรโหสิ แปลว่า ปรากฏแล้ว คือ แสดงตนเฉพาะ
พระพักตร์ของพระราชา. บทว่า ยกฺโขหมสฺมิ ความว่า ข้าพระองค์

พ้นจากความเป็นเปรตกลายเป็นเทวดา คือ ถึงความเป็นเทพ. บทว่า
น มยฺหมตฺถิ สมา สทิสา มานุสา ความว่า มนุษย์ทั้งหลายผู้เสมอ
ด้วยอานุภาพสมบัติ หรือเสมือนโภคสมบัติของข้าพเจ้าไม่มี.

บทว่า ปสฺสานุภาวํ อปริมิตํ มมยิทํ ความว่า จูฬเศรษฐีเปรต
กราบทูลแสดงสมบัติของตนแก่พระราชาโดยประจักษ์ว่า ขอ
พระองค์โปรดทอดพระเนตรดูอานุภาพแห่งเทวดาอันหาประมาณ
มิได้นี้ของข้าพระองค์เถิด. บทว่า ตยานุทิฏฺ€ํ อตุลํ ทตฺวา สงฺเฆ
ความว่า ซึ่งพระองค์ถวายทานอันโอฬารหาสิ่งเปรียบปานมิได้

แด่พระอริยสงฆ์ แล้วทรงอุทิศด้วยความอนุเคราะห์ข้าพระองค์.
บทว่า สนฺตปฺปิโต สตตํ สทา พหูหิ ความว่า ข้าพระองค์เมื่อให้
พระอริยสงฆ์อิ่มหนำด้วยไทยธรรมเป็นอันมากมีข้าว น้ำ และผ้า
เป็นต้น ชื่อว่าให้อิ่มหนำติดต่อกัน คือ ไม่ขาดระยะ แม้ในที่นั้น
ทุกเมื่อ คือทุกเวลา ตลอดชีวิต. บทว่า ยามิ อหํ สุขิโต มนุสฺสเทว

ความว่า จูฬเศรษฐีเปรตทูลถามพระราชาว่า ข้าแต่มหาราชผู้เป็น
เทพของมนุษย์ เพราะฉะนั้น บัดนี้ ข้าพระองค์มีความสุขแล้ว
ขอกลับไปยังที่ตามที่ปรารถนา.

เมื่อเปรตทูลลากลับไปอย่างนี้ พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสบอก
ความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้วกราบทูลความนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ
เรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อม
แล้ว มหาชนฟังธรรมนั้นแล้ว ละมลทินคือความตระหนี่ ได้เป็น
ผู้ยินดียิ่งในบุญมีทานเป็นต้นแล.
จบ อรรถกถาจูฬเสฏฐิเปตวัตถุที่ ๘

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาอังกุรเปตวัตถุที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ
อังกุรเปรต จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺส อตฺถาย
คจฺฉาม. ก็ในที่นี้ ไม่มีอังกุรเปรตก็จริง แต่เพราะความประพฤติ
ของอังกุรเปรตนั้นเกี่ยวเนื่องด้วยเปรต ฉะนั้น ความประพฤติ
ของอังกุรเปรตนั้น ท่านจึงกล่าวว่าอังกุรเปตวัตถุ.

ในข้อนั้นมีสังเขปกถาดังต่อไปนี้ :- ยังมีกษัตริย์ ๑๑
พระองค์ คือ พระนางอัญชนเทวี และน้องชาย ๑๐ พระองค์ คือ
วาสุเทพ พลเทพ จันทเทพ สุริยเทพ อัคคิเทพ วรุณเทพ อัชชุนะ
ปัชชุนะ ฆฏบัณฑิต และอังกุระ อาศัยครรภ์ของพระนางเทวคัพภา
ผู้พระธิดาของพระเจ้ามหากังสะ ในอสิตัญชนนคร ซึ่งพระเจ้ากังสะ
ปกครองในอุตตราปถชนบท เพราะอาศัยเจ้าอุปสาครผู้โอรส

ของพระเจ้ามหาสาครผู้เป็นใหญ่ในอุตตรมธุรชนบท บรรดา
กษัตริย์เหล่านั้น กษัตริย์ผู้น้องชายมีวาสุเทพเป็นต้น ใช้จักรปลง
พระชนมชีพพระราชาทั้งหมด ๖๓,๐๐๐ นคร ทั่วชมพูทวีป นับ
ตั้งต้นแต่อสิตัญชนนครจนถึงกรุงทวารวดีเป็นที่สุด แล้วประทับ
อยู่ในทวารวดีนคร แบ่งรัฐออกเป็น ๑๐ ส่วน แต่ไม่ได้นึกถึง

พระนางอัญชนเทวี ผู้เป็นพระเชษฐภคินี แต่เมื่อระลึกขึ้นได้จึง
กล่าวว่า เราจะแบ่งเป็น ๑๑ ส่วน เจ้าอังกุระน้องชายคนสุดท้อง
ของกษัตริย์เหล่านั้นกล่าวว่า ท่านจงแบ่งส่วนของหม่อมฉันให้แก่
พระเชษฐภคินีเถิด หม่อมฉันจะทำการค้าขายเลี้ยงชีพ ท่านทั้งหลาย

จงสละส่วยในชนบทของตน ๆ ให้แก่หม่อมฉัน กษัตริย์เหล่านั้น
รับพระดำรัสแล้วจึงเอาส่วนของเจ้าอังกุระให้แก่พระเชษฐภคินี
พระราชาทั้ง ๙ พระองค์ประทับอยู่ในกรุงทวารวดี.

ส่วนอังกุรประกอบการค้า บำเพ็ญมหาทานเป็นนิตยกาล
ก็อังกุระนั้นมีทาสผู้หนึ่ง เป็นเจ้าหน้าที่คลังมุ่งหวังประโยชน์
ท่านอังกุระชอบใจ ได้ขอกุลธิดาคนหนึ่งมาให้เขา เมื่อตั้งครรภ์
บุตรเท่านั้น เขาก็ตายไป เมื่อบุตรคนนั้นเกิดแล้ว ท่านอังกุระได้เอา
ค่าจ้างที่ได้ให้แก่บิดาของเขาให้แก่เขา ครั้นเมื่อเด็กนั้นเจริญวัย
จึงเกิดการวินิจฉัยขึ้นในราชสกุลว่า เขาเป็นทาสหรือไม่. พระนาง

อัญชนเทวีได้สดับดังนั้นจึงตรัสเปรียบเทียบโดยแม่โคนม แล้ว
ตรัสว่า แม้บุตรของมารดาผู้เป็นไท ก็ต้องเป็นไทเท่านั้น ดังนี้
แล้วจึงให้พ้นจากความเป็นทาสไป.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
แต่เพราะความอาย เด็กจึงไม่อาจอยู่ในที่นั้นได้ จึงได้ไป
ยังโรรุวนคร พาธิดาของช่างหูกคนหนึ่งในนครไป เลี้ยงชีพด้วย
การทอผ้ า สมัยนั้น เขาได้เป็นมหาเศรษฐี ชื่อว่า อสัยหะ ใน
โรรุวนคร เขาได้ให้มหาทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คน
เดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย. ช่างหูกนั้นเกิดปีติและโสมนัส
เหยียดแขนขวาออกชี้ให้ดูนิเวศน์ของอสัยหเศรษฐีแก่ชนผู้ไม่รู้จัก
เรือนของเศรษฐีว่า ขอคนทั้งหลายจงไปในที่นั่นแล้วจะได้สิ่งที่
ควรได้. กรรมของเขามาแล้วในพระบาลีนั่นแล.

สมัยต่อมา เขาทำกาละแล้ว. บังเกิดเป็นภุมเทพยดาที่ต้นไทร
ต้นหนึ่งในมรุภูมิ มือขวาของเขาได้ให้สิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่าง ก็ใน
โรรุวนครนั้นนั่นเอง มีบุรุษคนหนึ่ง เป็นคนขวนขวายในทานของ
อสัยหเศรษฐี แต่ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ไม่เอื้อเฟื้อต่อการบำเพ็ญบุญ ทำกาละแล้วบังเกิดเป็นเปรต ไม่
ไกลแต่ที่อยู่ของเทพบุตรนั้น. ก็กรรมที่เขาทำมาแล้วในพระบาลี
นั่นแล ฝ่ายอสัยหมหาเศรษฐีทำกาละแล้ว เข้าถึงความเป็นสหาย
ของท้าวสักกเทวราชในภพดาวดึงส์.

ครั้นสมัยต่อมา เจ้าอังกุระบรรทุกสินค้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม
และพราหมณ์คนหนึ่งบรรทุกสินค้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม รวมความ
ว่า ชนทั้ง ๒ คน บรรทุกสินค้าด้วยเกวียน ๑,๐๐๐ เล่ม เดินไป
ตามทางมรุกันดาร พากันหลงทาง เที่ยวอยู่ในที่นั้นนั่นเองหลายวัน
จนหมดหญ้า น้ำ และอาหาร เจ้าอังกุระให้ทูตม้าแสวงหาน้ำดื่ม
ทั้ง ๔ ทิศ. ลำดับนั้น เทพผู้มีมืออันให้สิ่งที่ต้องการองค์นั้น เห็นชน

เหล่านั้นได้รับความวอดวายอันนั้น จึงคิดถึงอุปการะที่เจ้าอังกุระ
ได้กระทำไว้แก่ตนในกาลก่อน จึงคิดว่าเอาเถอะ บัดนี้เราจักพึง
เป็นที่พึ่งของเจ้าอังกุระนี้ ดังนี้แล้วจึงได้ชี้ให้ดูต้นไทรอันเป็นที่อยู่
ของตน. ได้ยินว่า ต้นไทรนั้น สมบูรณ์ด้วยกิ่งและค่าคบ มีใบทึบ

มีร่มเงาสนิท มีย่านหลายพันย่าน ว่าโดยความยาวกว้างและสูง
ประมาณ ๑ โยชน์. เจ้าอังกุระเห็นดังนั้นแล้ว เกิดความหรรษา
ร่าเริง ให้ตั้งข่ายภายใต้ต้นไทรนั้น. เทวดา เหยียดหัตถ์ขวาของ
ตนออก ให้คนทั้งหมดอิ่มหนำด้วยน้ำดื่มเป็นอันดับแรกก่อน ต่อ
แต่นั้น จึงได้ให้สิ่งที่เขาปรารถนาแก่เขา.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อมหาชนนั้น อิ่มหนำตามความต้องการ ด้วยข้าวและน้ำ
เป็นต้นนานาชนิดอย่างนี้ ภายหลัง เมื่ออันตรายในหนทางสงบลง
พราหมณ์ผู้เป็นพ่อค้านั้น ใส่ใจโดยไม่แยบคาย คิดอย่างนี้ว่า เรา
จากนี้ไปยังแคว้นกัมโพชะแล้ว จักกระทำอะไร เพื่อให้ได้ทรัพย์.
แต่เราจะพาเทพนี้แหละไปด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นสู่ยาน
ไปยังนครของเราเอง ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว เมื่อจะบอกความนั้น
แก่เจ้าอังกุระ จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

เราทั้งหลายเที่ยวหาทรัพย์ไปสู่แคว้น
กัมโพชะ เพื่อประโยชน์ใด เทพบุตรนี้เป็นผู้ให้สิ่ง
ที่เราอยากได้นั้น พวกเราจักนำเทพบุตรนี้ไป.
หรือจักจับเทพบุตรนี้ ข่มขี่เอาด้วยการวิงวอน
หรือ อุ้มใส่ยาน นำไปสู่ทวารกนครโดยเร็ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส อตฺถาย แปลว่า เพราะเหตุ
แห่งประโยชน์ใด. บทว่า กมฺโพชํ ได้แก่ แคว้นกัมโพชะ. บทว่า
ธนหารกา ได้แก่ ผู้หาทรัพย์ที่ได้มาด้วยการค้าขายสินค้า. บทว่า
กามทโท ได้แก่ ผู้ให้สิ่งที่ปรารถนาต้องการ. บทว่า ยกฺโข ได้แก่

เทพบุตร. บทว่า นยามเส ได้แก่ จักนำไป. บทว่า สาธุเกน แปลว่า
ด้วยการอ้อนวอน. บทว่า ปสยฺห ได้แก่ ข่มขี่เอาตามอำเภอใจ.
บทว่า ยานํ ได้แก่ ยานอันนำมาซึ่งความสุขสบาย. บทว่า ทฺวารกํ
ได้แก่ทวารวดีนคร. ข้ออธิบาย ในหนหลัง มีดังต่อไปนี้ พวกเรา
ปรารถนาจะจากที่นี้ไปยังแคว้นกัมโพชะ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์

ที่จะพึงให้สำเร็จด้วยการไปนั้น ย่อมสำเร็จในที่นี้เอง. เพราะ
เทพบุตรนี้ เป็นผู้ให้สมบัติที่น่าใคร่ เพราะฉะนั้น เราจึงขออ้อนวอน
เทพบุตรนี้ แล้วอุ้มเทพบุตรนี้ ขึ้นสู่ยาน ตามอนุมัติของเทพบุตร
นั้น หรือถ้าไม่ไปตามที่ตกลงกันไว้ จะข่มขี่เอาตามพลการแล้ว
จับเทพบุตรนั้นมัดแขนไพล่หลังไว้ในยาน ออกจากที่นี้แล รีบไปยัง
ทวารวดีนคร.

ฝ่ายเจ้าอังกุระ อันพราหมณ์พูดอย่างนี้แล้ว ตั้งอยู่ใน
สัปปุริสธรรม เมื่อจะปฏิเสธคำจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด
ไม่ควรหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะการ
ประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ภญฺเชยฺย แปลว่า ไม่พึงตัด.
บทว่า มิตฺตทุพฺโภ ได้แก่ การประทุษร้ายมิตร คือ นำความพินาศ
ให้เกิดแก่มิตรเหล่านั้น. บทว่า ปาปโก ได้แก่ คนไม่ดี คือ คนมัก
ประทุษร้ายต่อมิตร. จริงอยู่ ต้นไม้ที่มีร่มเงาเยือกเย็นอันใด ย่อม
บันเทาความกระวนกระวาย ของคนผู้ถูกความร้อนแผดเผา ใคร ๆ

ไม่ควรคิดร้ายต่อต้นไม้นั้น. ก็จะป่วยกล่าวไปใยถึงหมู่สัตว์เล่า.
ท่านแสดงว่า เทพบุตรนี้ เป็นสัตบุรุษ เป็นบุรพการีบุคคล ผู้บันเทา
ทุกข์ ผู้มีอุปการะมากแก่เราทั้งหลาย เราไม่ควรคิดร้ายอะไร ๆ
ต่อเทพบุตรนั้น โดยที่แท้เทพบุตรนั้นเราควรบูชาทีเดียว

พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น คิดว่า มูลเหตุของประโยชน์ เป็นเหตุ
กำจัดความคดโกง ดังนี้แล้ว อาศัยทางอันเป็นแบบแผน ตั้งอยู่ใน
ฝ่ายขัดแย้งต่อเจ้าอังกุระ จึงกล่าวคาถาว่า :-

บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด
พึงตัดแม้ลำต้นของต้นไม้นั้นได้ ถ้ามีความต้อง
การเช่นนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺโถ เจ ตาทิโส สิยา ความว่า
ถ้าพึงมีความต้องการด้วยทัพพสัมภาระเช่นนั้น, อธิบายว่า แม้
ลำต้นของต้นไม้นั้นก็ควรตัด จะป่วยกล่าวไปใยถึงกิ่งเป็นต้นเล่า.
เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว เจ้าอังกุระเมื่อจะประคอง
เฉพาะสัปปุริสธรรม จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บุคคลอาศัยนั่งนอน ที่ร่มเงาของต้นไม้ใด
ไม่พึงทำลายแม้ใบของต้นไม้นั้น เพราะการ
ประทุษร้ายต่อมิตร เป็นความเลวทราม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตสฺส ปตฺตํ ภินฺเทยฺย ความว่า
ไม่พึงทำแม้เพียงใบใบหนึ่ง ของต้นไม้นั้นให้ตกไป จะป่วยกล่าว
ไปใย ถึงกิ่งเป็นต้นเล่า.

พราหมณ์เมื่อจะประคองวาทะของตนแม้อีก จึงกล่าวคาถา
ว่า :-
บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด
พึงถอนต้นไม้นั้นพร้อมทั้งรากได้ ถ้าพึงประสงค์
เช่นนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมูลมฺปิ ตํ อพฺพุเห ความว่า
พึงถอน คือพึงรื้อขึ้นซึ่งต้นไม้นั้นพร้อมทั้งราก คือ พร้อมด้วยราก
ในที่นั้น.

เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว เจ้าอังกุระมีความประสงค์
จะทำแบบแผนนั้นให้ไร้ประโยชน์อีก จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถา
เหล่านี้ว่า :-

ก็บุรุษพึงพักอยู่ในเรือนของบุคคลใด
ตลอดราตรีหนึ่ง หรือพึงได้ข้าวน้ำในที่ใด ไม่ควร
มีจิตคิดร้ายต่อบุคคลนั้น. ความเป็นผู้กตัญญู อัน
สัตบุรุษทั้งหลาย สรรเสริญแล้ว บุคคลพึงพัก
อาศัย ในเรือนของบุคคลใด แม้เพียงคืนเดียว

พึงได้รับการบำรุงด้วยข้าวและน้ำ ไม่ควรมีจิต
คิดประทุษร้าย ต่อบุคคลนั้น บุคคลมีมือไม่
เบียดเบียน ย่อมแผดเผาบุคคลผู้ประทุษร้ายมิตร
บุคคลใด ทำความดีไว้ในปางก่อน ภายหลัง
เบียดเบียนด้วยความชั่ว ผู้นั้นชื่อว่า เป็นคน
อกตัญญู ย่อมไม่พบเห็นความเจริญทั้งหลาย.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส แปลว่า ต่อบุคคลใด. บทว่า
เอกรตฺติมฺปิ ความว่า พึงอยู่อาศัยในเรือนอย่างเดียว แม้เพียงราตรี
เดียว. บทว่า ยตฺถนฺนปานํ ปุริโส ลเภถ ความว่า บุรุษบางคน พึงได้
โภชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นข้าวหรือน้ำ ในสำนักของ
ผู้ใด. บทว่า น ตสฺส ปาปํ มนสาปิ จินฺตเย ความว่า บุคคลไม่พึง

มีจิตคิดร้ายต่อสิ่งที่ไม่ดี คือสิ่งที่ไร้ประโยชน์ต่อบุคคลนั้น ได้แก่
เป็นผู้ไม่รักใคร่ จะป่วยกล่าวไปใยถึงกายและวาจาเล่า. หากมี
คำถามว่า ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะความเป็นผู้
กตัญญู อันสัตบุรุษทั้งหลาย สรรเสริญแล้ว อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า
ความเป็นผู้กตัญญู อันบุรุษผู้สูงสุด มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญ
แล้ว.

บทว่า อุปฏฺ€ิโต แปลว่า พึงให้เข้าไปนั่งใกล้ คือ พึง
อุปัฏฐากด้วยข้าวและน้ำ เป็นต้นว่า ท่านจงรับสิ่งนี้ ท่านจงบริโภค
สิ่งนี้. บทว่า อทุพฺภปาณี ได้แก่ ผู้มีมือไม่เบียดเบียน คือ ผู้สำรวม
มือ. บทว่า ทหเต มิตฺตทุพฺภึ ความว่า ย่อมแผดเผาคือ ย่อมทำ
บุคคลผู้มักประทุษร้ายต่อมิตรนั้นให้พินาศ ว่าโดยอรรถ ชื่อว่า

ย่อมแผดเผา ย่อมแผดเผาบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้อันคนอื่น
กระทำความผิดในบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอัธยาศัยที่เป็นประโยชน์
ผู้ไม่ประทุษร้าย คือ นำมาซึ่งความพินาศแก่บุคคลนั้นนั่นแล โดย
ไม่แปลกกัน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า :-

ผู้ใด ประทุษร้ายต่อนรชนผู้ไม่ประทุษ
ร้าย ผู้เป็นคนบริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
ความชั่วย่อมกลับมาถึงผู้นั้น ซึ่งเป็นคนพาลแน่
แท้ เหมือนธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลม
ฉะนั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ ความว่า บุคคลใด มีความดี
อันบุคคลดีบางคน กระทำให้ คือ กระทำอุปการะให้. บทว่า
ปจฺฉา ปาเปน หึสติ ความว่า ต่อมาภายหลัง เบียดเบียนบุคคลนั้น
ผู้กระทำอุปการะก่อน ด้วยกรรมชั่ว คือ กรรมไม่ดี ได้แก่ ด้วย
กรรมที่ไร้ประโยชน์. บทว่า อลฺลปาณิหโต โปโส ความว่า ผู้มี
ฝ่ามืออันชุ่ม คือ ผู้มีฝ่ามืออันเปียก ได้แก่ มีฝ่ามืออันล้างสะอาดแล้ว

เป็นผู้กระทำอุปการะก่อน เพราะกระทำอุปการะ เบียดเบียนคือ
บีบคั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง อีกอย่างหนึ่ง ถูกเบียดเบียน
ด้วยการเบียดเบียนบุคคลผู้กระทำอุปการะก่อนนั้น ชื่อว่า ผู้มีฝ่ามือ
อันเปียกเบียดเบียน ได้แก่ คนอกตัญญู. บทว่า น โส ภทฺรานิ
ปสฺสติ ความว่า บุคคลนั้น คือ บุคคลตามที่กล่าวแล้ว ย่อมไม่เห็น
ย่อมไม่ประสบ คือ ย่อมไม่ได้ในโลกนี้ และในบัดนี้.

พราหมณ์นั้น ถูกเจ้าอังกุระผู้ยกย่องสัปปุริสธรรม กล่าว
ข่มขู่อย่างนี้ ได้เป็นผู้นิ่งเงียบ. ฝ่ายเทพบุตร ฟังคำและคำโต้ตอบ
ของคนทั้ง ๒ นั้น แม้จะโกรธต่อพราหมณ์ ก็คิดเสียว่า ช่างเถอะ
ภายหลังเราจักรู้กรรมที่ควรทำแก่พราหมณ์ ผู้ประทุษร้ายนี้
เมื่อจะแสดงภาวะที่ตนอันใคร ๆ ข่มขู่มิได้ เป็นอันดับแรก จึงกล่าว
คาถาว่า :-

ไม่เคยมีเทวดา หรือมนุษย์ หรืออิสรชน
คนใด จะมาข่มขู่เราได้โดยง่าย เราเป็นเทพเจ้า
ผู้มีอิทธิฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้ไปได้ไกล
สมบูรณ์ด้วยรัศมีและกำลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทเวน วา ได้แก่ จะเป็นเทพ
องค์ใด องค์หนึ่งก็ตามที. แม้ในบทว่า มนุสฺเสน วา นี้ ก็นัยนี้
เหมือนกัน. บทว่า อิสฺสริเยน วา ความว่า อันผู้เป็นใหญ่ในหมู่เทพ
ก็ดี อันผู้เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์ก็ดี. ในความเป็นใหญ่ ๒ อย่างนั้น
ชื่อว่า ความเป็นใหญ่ในหมู่เทพ ได้แก่เทวฤทธิ์ ของท้าวจาตุมหาราช

ท้าวสักกะ และท้าวสุยามะ เป็นต้น, ชื่อว่า ความเป็นใหญ่ในหมู่
มนุษย์ได้แก่บุญฤทธิ์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นต้น. เพราะฉะนั้น
ท่านจึงสงเคราะห์เอาเทวดาและมนุษย์ผู้มีอานุภาพมากด้วย
อิสริยศักดิ์. จริงอยู่ เทพแม้ผู้มีอานุภาพมาก เมื่อไม่มีมนุษย์

ผู้อันผลแห่งบุญสนับสนุนตน ย่อมไม่อาจเพื่อจะครอบงำความวิบัติ
ในการประกอบความเพียร จะป่วยกล่าวไปใยถึงบุคคลนอกนี้
เล่า. ศัพท์ว่า หํ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า อดทนไม่ได้. บทว่า
น สุปฺปสยฺโห แปลว่า อันใคร ๆ กำจัดไม่ได้. บทว่า ยกฺโขหมสฺมิ
ปรมิทฺธิปตฺโต ความว่า เพราะผลแห่งบุญของตนเราจึงเข้าถึง
ความเป็นเทพบุตร คือ เราเป็นเทพบุตรแท้ ๆ ไม่ใช่เทพบุตร

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เทียม. โดยที่แท้ เรามีฤทธิ์อย่างยิ่ง คือ ประกอบด้วยฤทธิ์ของ
เทพบุตรอันสูงยิ่ง. บทว่า ทูรงฺคโม ได้แก่ สามารถ เพื่อจะไป
ยังที่ไกลโดยทันทีทันใด. ด้วยคำว่า วณฺณพลูปปนฺโน นี้ เทพบุตร
แสดงเฉพาะภาวะที่ตนไม่ถูกใคร ๆ ข่มขู่ด้วยการประกอบมนต์
เป็นต้น ด้วยบททั้ง ๓ ว่า เข้าถึง คือประกอบด้วยรูปสมบัติและ

ด้วยพลังกาย. จริงอยู่ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยรูป เป็นผู้อันบุคคล
เหล่าอื่นนับถือมาก. เพราะอาศัยรูปสมบัติ จึงไม่ถูกวัตถุที่เป็น
ข้าศึกต่อกัน ฉุดคร่าไปได้เลย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าว วรรณ-
สมบัติว่า เป็นเหตุที่ใคร ๆ ข่มขู่ไม่ได้.

เบื้องหน้าแต่นี้ไป อังกุระพ่อค้า และเทพบุตร ได้ทำถ้อยคำ
และการโต้ตอบกันว่า :-
ฝ่ามือของท่าน มีสีดังทองคำทั่วไป ทรง
ไว้ซึ่งวัตถุที่บุคคลอื่นปรารถนา ด้วยนิ้วทั้ง ๕
เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย วัตถุมีรส
ต่าง ๆ ย่อมไหลออกจากฝ่ามือของท่าน ข้าพเจ้า
เข้าใจว่า ท่านเป็นท้าวสักกะ
รุกขเทวดาตอบว่า :-

เราไม่ใช่เทพเจ้า ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่
ท้าวสักกะปุรินททะ ดูก่อนเจ้าอังกุระ ท่านจงทราบ
ว่า เราเป็นเปรต จุติจากโรรุวนคร มาอยู่ที่ต้นไทร
นี้.
อังกุระพ่อค้าถามว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อก่อน ท่านอยู่ในโรรุวนคร ท่านมีปกติ
อย่างไร มีความประพฤติอย่างไร ผลบุญสำเร็จ
ที่ฝ่ามือของท่าน เพราะพรหมจรรย์อะไร
รุกขเทวดาตอบว่า :-

เมื่อก่อนเราเป็นช่างหูก อยู่ในโรรุวนคร
เป็นคนกำพร้า เลี้ยงชีพโดยความลำบากนัก เรา
ไม่มีอะไรจะให้ทาน เรือนของเราอยู่ใกล้เรือน
ของอสัยหเศรษฐี ซึ่งเป็นคนมีศรัทธา เป็นทานบดี
มีบุญอันทำแล้ว เป็นผู้ละอายต่อบาป พวกยาจก
วณิพก มีนามและโคตรต่าง ๆ กัน ไปบ้านของ

เรานั้น พากันถามถึงเรือนของอสัยหเศรษฐีกะเรา
ว่า ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย พวกเรา
จะไปทางไหน ทานเขาให้กันที่ไหน เราถูกพวก
ยาจกวณิพกถามแล้ว ได้ยกมือเบื้องขวาชี้บอก
เรือนอสัยหเศรษฐีแก่ยาจกวณิพกเหล่านั้นว่า
ท่านทั้งหลาย จงไปทางนี้ ความเจริญจักมีแก่ท่าน

ทั้งหลาย ทานเขาให้อยู่ที่นั่น เพราะเหตุนั้น ฝ่ามือ
ของเรา จึงให้สิ่งที่น่าปรารถนา เป็นที่ไหลออก
แห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญย่อมสำเร็จ ที่ฝ่ามือ
ของเรา เพราะพรหมจรรย์นั่น.
อังกุระพ่อค้าถามว่า :-

ได้ยินว่า ท่านไม่ได้ให้ทานแก่ใคร ๆ ด้วย
มือทั้งสองของตน เป็นแต่เพียงอนุโมทนาทาน
ของคนอื่น ยกมือชี้บอกทางให้ เพราะเหตุนั้น
ฝ่ามือของท่าน จึงให้สิ่งที่น่าใคร่ เป็นที่ไหลออก
แห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือของ

ท่าน เพราะพรหมจรรย์นั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
อสัยหเศรษฐีผู้เลื่อมใสได้ให้ทานด้วยมือทั้งสอง
ของตน ละร่างกายมนุษย์แล้ว ไปทางทิศไหน
หนอ.
รุกขเทวดาตอบว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เราไม่รู้ทางไปหรือทางมาของอสัยห-
เศรษฐี ผู้เป็นเจ้าของแห่งทาน ผู้มีรัศมีซ่านออก
จากตน แต่เราได้ฟังมาในสำนักของท้าวเวส-
วัณว่า อสัยหเศรษฐี ถึงความเป็นสหายแห่ง
ท้าวสักกะ
อังกุระพ่อค้ากล่าวว่า :-

บุคคลควรทำความดีแท้ ควรให้ทานตาม
สมควร ใครได้เห็นฝ่ามือ อันให้สิ่งที่น่าใคร่แล้ว
จักไม่ทำบุญเล่า เราไปจากที่นี้ ถึงทวารกะนคร
แล้ว จักรีบให้ทานอันจักนำความสุขมาให้แก่เรา
แน่แท้ เราจักให้ข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ บ่อน้ำ
และสะพานในที่เดินไปได้ยาก เป็นทานดังนี้.

รวมเป็นคาถากล่าวและกล่าวโต้ตอบกัน มีอยู่ ๑๕ คาถา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาณิ เต ได้แก่ ฝ่ามือขวาของท่าน.
บทว่า สพฺพโส วณฺโณ ได้แก่ มีวรรณะดุจทองคำทั้งหมด. บทว่า
ปญฺจธาโร ความว่า ชื่อว่า ปัญจธาระ เพราะมีการทรงไว้ซึ่ง
วัตถุอันบุคคลเหล่าอื่นปรารถนาด้วยนิ้วทั้ง ๕. บทว่า มธุสฺสโว
แปลว่า เป็นที่หลั่งออกซึ่งรสอันอร่อย. ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงกล่าวว่า

นานารสา ปคฺฆรนฺติ ความว่า เป็นที่ไหลออกแห่งรสต่าง ๆ ต่าง
ด้วยรสมี รสหวาน รสขม และรสฝาด เป็นต้น. จริงอยู่ ท่านกล่าว
ไว้ว่า รสมีรสหวานเป็นต้น ย่อมไหลออกจากมือ ที่หลั่งซึ่งของเคี้ยว
และของบริโภคต่าง ๆ อันสมบูรณ์ด้วยรส มีรสหวานเป็นต้น อัน
ให้ซึ่งความปรารถนาของเทพบุตร. บทว่า มฺเหํ ตํ ปุรินฺททํ

ความว่า ข้าพเจ้า เข้าใจว่า ท่านเป็นท้าวสักกะ, อธิบายว่า ข้าพเจ้า
เข้าใจว่า ท่าน เป็นท้าวสักกะเทวราช ผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า นามฺหิ เทโว ความว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่เทพเจ้าที่ปรากฏ
มีท้าวเวสวัณ เป็นต้น. บทว่า น คนฺธพฺโพ ความว่า ทั้งไม่ใช่
ข้าพเจ้าเป็นคนธรรพ์. บทว่า นาปิ สกฺโก ปุรินฺทโท ความว่า
ทั้งไม่ใช่ ข้าพเจ้า เป็นท้าวสักกะเทวราชอันใด นามว่า ปุรินททะ
เพราะได้เริ่มตั้งทาน ในอัตตภาพก่อน คือในกาลก่อน. เพื่อจะ
หลีกเลี่ยงคำถามว่า ก็ท่านเป็นอะไร รุกขเทวดา จึงกล่าวคำมี

อาทิว่า ดูก่อน อังกุระท่านจงทราบว่า เราเป็นเปรต, ดูก่อน
อังกุระ ท่านจงรู้ว่า ข้าพเจ้าตกอยู่ในหมู่เปรต คือ ท่านจงทรงจำ
ข้าพเจ้าว่า เป็นเปรตผู้มีฤทธิ์มากตนหนึ่ง. บทว่า โรรุวมฺหา อิธาคตํ
ความว่า ข้าพเจ้า จุติจากโรรุวนครแล้วมาในที่นี้ คือที่ต้นไทรนี้
ในทางทรายกันดารด้วยการอุบัติ คือ บังเกิด ในที่นี้.

บทว่า กึ สีโล กึ สมาจาโร โรรุวสฺมึ ปุเร ตฺวํ ความว่า
เมื่อก่อนคือ ในอัตตภาพก่อน ท่านอยู่ที่โรรุวนคร เป็นผู้มีปกติ
อย่างไร มีความประพฤติอย่างไร คือ ท่านสมาทานศีลเช่นไร ซึ่ง
มีลักษณะให้กลับจากบาป มีความประพฤติเช่นไร ด้วยการประพฤติ
มีลักษณะบำเพ็ญบุญที่ให้เป็นไปแล้ว อธิบายว่า ท่านเป็นผู้ประพฤติ

เช่นไร ในการบำเพ็ญกุศลมีทานเป็นต้น. บทว่า เกน เต พฺรหฺมจริเยน
ปุฺํ ปาณิมฺหิ อิชฺฌติ ความว่า ผลบุญในฝ่ามือของท่านนี้ คือ
เห็นปานนี้ ย่อมสำเร็จ คือ ย่อมเผล็ดผลในบัดนี้ เพราะความ
ประพฤติประเสริฐเช่นไร ท่านจงบอกเรื่องนั้น. จริงอยู่ ผลบุญ
ท่านประสงค์เอาว่า บุญในที่นี้ ด้วยการลบบทเบื้องหลัง. จริงอยู่

ต่อแต่นั้นผลบุญนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า บุญ ในประโยค
มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญนี้ ย่อมเจริญอย่างนี้ เพราะเหตุ
แห่งการสมาทานกุศลธรรม.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2019, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ตุนฺนวาโย แปลว่า เราเป็นนายช่างหูก. บทว่า
สุกิจฺฉวุตฺตี ได้แก่ เป็นผู้เลี้ยงชีพโดยความลำบากนัก คือ เป็นผู้
เลี้ยงชีพโดยความลำบากอย่างยิ่ง. บทว่า กปโณ แปลว่า เป็นคน
กำพร้า อธิบายว่า เป็นคนยากไร้. บทว่า น เม วิชฺชติ ทาตเว
ความว่า เราไม่มีอะไร ที่ควรจะพึงให้ เพื่อจะให้แก่สมณะพราหมณ์
ผู้เดินทาง, แต่เรามีความคิดที่จะให้ทาน.

บทว่า นิเวสนํ แปลว่า เรือน, หรือ ศาลาพักทำการงาน.
บทว่า อสยฺหสฺส อุปนฺติเก ได้แก่ ใกล้เรือนของมหาเศรษฐี
ชื่อว่า อสัยหะ. บทว่า สทฺธสฺส ความว่า ประกอบด้วยความเชื่อ
กรรมและผลแห่งกรรม. บทว่า ทานปติโน ความว่า เป็นผู้เป็นใหญ่
ในทาน ด้วยสมบัติเป็นเหตุบริจาคไม่ขาดระยะ และด้วยการครอบงำ
ความโลภ. บทว่า กตปุฺสฺส ได้แก่ ผู้มีสุจริตกรรมที่ทำไว้ใน
กาลก่อน. บทว่า ลชฺชิโน ได้แก่ ผู้มีความละอายต่อบาปเป็นสภาพ.

บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในเรือนของเรานั้น. บทว่า ยาจนกา
ยนฺติ ความว่า คนยาจก ปรารถนาจะขออะไร ๆ กะอสัยหเศรษฐี
จึงพากันมา. บทว่า นานาโคตฺตา ได้แก่ ผู้แสดงอ้างถึงโคตร
ต่าง ๆ. บทว่า วณิพฺพกา ได้แก่ พวกวณิพก. ชนเหล่าใด เที่ยว
ประกาศถึงผลบุญเป็นต้นของทายก และความที่ตนมีความต้องการ

โดยมุ่งถึงเกียรติคุณเป็นต้น. บทว่า ตตฺถ ในบทว่า เต จ มํ ตตฺถ
ปุจฺฉนฺติ นั้น เป็นเพียงนิบาต. คนยาจกเป็นต้นเหล่านั้น พากัน
ถามถึงเรือนของอสัยหเศรษฐีกะเรา. จริงอยู่ ท่านผู้คิดอักษรย่อม
ปรารถนากรรมทั้ง ๒ อย่าง ในฐานะเช่นนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร