วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 23:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
พิจาณาสิคะจิตเห็นสีไม่ใช่เห็นตัวอักษร
น้อมมาที่ตาตัวเองที่กำลังดูเนี่ยๆๆๆเห็นผิดยุ่
จิตเห็นสีดับมืดทันทีจึงส่งต่ออารมณ์รู้สีในมืดคือ
คิดถึงสีที่ดับตะกี้นี้ส่งไปดับทางมโนทวารมืดสนิทเลย...ละไม่รู้ที่ยังมีตัวตนเต็มๆไม่ได้ไงคะ/ดับ=ไม่มี
:b12:
:b32: :b32:


ดับไม่มี แล้วนี่อะไร ?

http://www.thairicemilk.com/picture/143 ... jqswx2.jpg

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนหญิงเปรตนี้ได้เป็น
ภรรยาของข้าพเจ้า ไม่ให้ทาน มีความตระหนี่
เหนียวแน่น นางได้ด่าและบริภาษข้าพเจ้าผู้
กำลังให้ทานแก่สมณะพราหมณ์ทั้งหลายว่า
จงกินคูถ มูตร เลือด และหนองอันไม่สะอาด
ตลอดกาลทุกเมื่อ คูถ มูตร เลือด และหนองนั้น
จงเป็นอาหารของท่านในปรโลก แผ่นเหล็กจง
เป็นผ้าของท่าน นางมาเกิดในที่นี้ กินแต่คูถและ
มูตร เป็นต้นตลอดกาลนาน เพราะประพฤติชั่ว
เช่นนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทายิกา ได้แก่ มีปกติไม่ให้ทาน
แม้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ. บทว่า มจฺฉรินี กทริยา ความว่า ชื่อว่ามี
ความตระหนี่ เพราะชั้นแรกมีมลทิน คือความตระหนี่เป็นสภาวะ
และชื่อว่ามีความตระหนี่เหนียวแน่น เพราะมีการเสพคุ้นบ่อย ๆ
ซึ่งความตระหนี่นั้น. มีวาจาประกอบความว่า นางได้เป็นผู้มีความ
ตระหนี่ ด้วยความตระหนี่เหนียวแน่นนั้น. บัดนี้เทพบุตรเมื่อจะ

แสดงความที่นางเป็นผู้มีความตระหนี่นั้นนั่นแล จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
สามํ ททนฺตํ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตาทิสํ ได้แก่ ประพฤติ
วจีทุจริต เป็นต้นตามที่กล่าวแล้วเห็นปานนั้น. บทว่า อิธาคตา
ได้แก่ มายังเปตโลกนี้ คือเข้าถึงอัตภาพแห่งเปรต. บทว่า
จิรรตฺตาย ขาทติ ได้แก่ เคี้ยวกินแต่คูถเท่านั้น ตลอดกาลนาน.
จริงอยู่ นางด่าโดยอาการใดผลก็เกิดโดยอาการนั้นเหมือนกัน

นางด่าเจาะจงผู้ใด จากผู้นั้นไป ก็ตกลงเบื้องบนตัวเหมือนอสนีบาต
ตกลงในที่สุด คือกระหม่อมในแผ่นดิน.

เทวบุตรนั้น ครั้นแสดงกรรมที่นางเปรตกระทำไว้ในชาติก่อน
อย่างนี้แล้ว จึงได้กล่าวกะภิกษุนั้นอีกว่า ท่านขอรับ ก็อุบายอะไร ๆ
ที่จะทำให้นางเปรตนี้พ้นจากเปตโลกมีอยู่หรือ. และเมื่อภิกษุนั้น
กล่าวว่ามีอยู่ จึงกล่าวว่า จงแสดงเถิด ขอรับ. ภิกษุกล่าวว่า ถ้า
ท่านถวายทานแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า และแก่พระอริยสงฆ์ หรือ

แก่ภิกษุรูปเดียวเท่านั้น แล้วอุทิศให้นางเปรตนี้ ทั้งนางเปรตนี้
ได้อนุโมทนาทานนั้น ด้วยอาการอย่างนี้ นางก็จะพ้นจากความทุกข์
นี้ไปได้. เทพบุตรได้ฟังดังนั้น จึงได้ถวายข้าวและน้ำอันประณีต
แก่ภิกษุนั้น แล้วให้ทักษิณานั้นอุทิศแก่นางเปรตนั้น. ทันใดนั้นเอง
นางเปรตนั้นมีใจอิ่มเอิบ มีอินทรีย์กระปรี้กระเปร่า ได้เป็นผู้อิ่ม
ด้วยอาหารอันเป็นทิพย์ เทพบุตรนั้นได้ถวายคู่ผ้าทิพย์ในมือของ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ภิกษุนั้นอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วและอุทิศทักษิณานั้นแก่
นางเปรต ก็ในขณะนั้นนั่นเอง นางนุ่งผ้าทิพย์ ประดับเครื่องประดับ
อันเป็นทิพย์ พรั่งพร้อมด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวง ได้เป็นผู้
มีส่วนเปรียบด้วยนางเทพอัปสร. และภิกษุนั้นก็ได้ถึงกรุงสาวัตถี
ในวันนั้นเอง ด้วยฤทธิ์ของเทพบุตรนั้น เข้าไปยังพระเชตวันแล้ว
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ได้ถวายคู่ผ้าสาฎก
นั้นแล้ว กราบทูลเรื่องนั้น. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ
เรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แสดงธรรมแก่บริษัทผู้ประชุมกัน
อยู่พร้อมแล้ว เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชนแล.
จบ อรรถกถามหาเปสการเปติวัตถุที่ ๙


อรรถกถาขัลลาฏิยะเปติวัตถุที่ ๑๐
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ
นางเปรตขัลลาฏิยะตนหนึ่ง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า กา นุ อนฺโต
วิมานสฺมึ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี ยังมีหญิงผู้อาศัยรูป
เลี้ยงชีพคนหนึ่ง รูปร่างสวย น่าดู น่าชม ประกอบด้วยผิวพรรณ
อันงดงามยิ่งนัก มีกำแห่งผมน่ารื่นรมย์ใจ. จริงอยู่ ผมของนางดำ
ยาว ละเอียด อ่อนนุ่ม สนิท มีปลายตวัดขึ้น เกล้าเป็นสองแฉก
สยาย ห้อยย้อยลงจนถึงสายรัดเอว. คนหนุ่มเห็นความงามแห่ง
เส้นผมของนางนั้น โดยมากมีจิตปฏิพัทธ์ในนาง. ลำดับนั้น หญิง

๒-๓ คน ถูกความริษยาครอบงำ ทนต่อความงามของผมนางนั้น
ไม่ได้ จึงพากันปรึกษา เอาสิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ล่อหญิงคนใช้
ของนางนั่นเอง ให้หญิงคนใช้ให้ยาอันเป็นเหตุทำเส้นผมของนาง
ให้หลุดร่วงไป. ได้ยินว่า หญิงคนใช้นั้น ประกอบยานั้นกับผง

สำหรับอาบน้ำ ในเวลานางไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา ก็ได้ให้แก่นาง.
นางเอาผงนั้นจุ่มที่รากผมแล้วดำลงไปในน้ำ. พอนางดำน้ำเท่านั้น
เส้นผมพร้อมทั้งรากผม ได้หลุดร่วงไป และศีรษะของนางได้เป็น
เช่นกับกระโหลกน้ำเต้าขม. ลำดับนั้น นางหมดเส้นผมโดยประการ
ทั้งปวง เหมือนนกพิราบถูกถอนขนหัว ฉะนั้น น่าเกลียดพิลึก

เพราะความละอาย จึงไม่อาจเข้าไปในเมือง เอาผ้าคลุมศีรษะ
สำเร็จการอยู่ในที่แห่งหนึ่งนอกเมือง พอ ๒-๓ วันผ่านไป นางหมด
ความละอาย กลับจากที่นั้นบีบเมล็ดงา กระทำการค้าน้ำมัน และ
ทำการค้าสุรา เลี้ยงชีพ. วันหนึ่ง เมื่อคน ๒-๓ คน เมาสุราหลับสนิท
นางจึงลักเอาผ้าที่คนเหล่านั้นนุ่งไว้หลวม ๆ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ภายหลังวันหนึ่ง นางเห็นพระขีณาสพเถระรูปหนึ่ง กำลัง
เที่ยวบิณฑบาต มีจิตเลื่อมใสจึงนำท่านไปยังเรือนของตน ให้นั่ง
บนอาสนะที่ตบแต่งไว้ ได้ถวายแป้งที่บีบในรางผสมกับน้ำมันงา.
เพื่อจะอนุเคราะห์นาง พระเถระจึงรับประเคนแป้งผสมน้ำมันงา
นั้นฉัน. นางมีจิตเลื่อมใส ได้ยืนกั้นร่ม. และพระเถระนั้น เมื่อจะ

ทำนางให้มีจิตร่าเริง จึงทำอนุโมทนากถาแล้วหลีกไป. ก็ในเวลา
ที่อนุโมทนานั่นแหละ หญิงนั้น ได้ตั้งความปรารถนาว่า พระคุณเจ้า
ขอให้เส้นผมของดิฉันยาวละเอียด นุ่มสนิท ตวัดปลายเถิด.

กาลต่อมา นางถึงแก่กรรม เพราะผลของกรรมที่คละกัน
จึงเกิดเป็นหญิงอยู่โดดเดี่ยวในวิมานทอง ท่ามกลางมหาสมุทร.

เส้นผมของนางสำเร็จตามอาการที่เธอปรารถนานั้นแหละ. แต่
เพราะนางลักเอาผ้าของพวกมนุษย์ นางจึงได้เป็นหญิงเปลือย.
นางเกิดบ่อย ๆ ในวิมานทองนั้น เป็นหญิงเปลือยอยู่ตลอดพุทธันดร
หนึ่ง.

ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา เสด็จอุบัติ
ในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี
โดยลำดับ พ่อค้าชาวกรุงสาวัตถี ๗๐๐ คน แล่นเรือไปสู่มหาสมุทร
มุ่งไปยังสุวรรณภูมิ. นาวาที่พวกพ่อค้านั้นขึ้นไป ถูกกำลังลม
พัดผันให้ปั่นป่วน จึงหมุนไปข้างโน้นข้างนี้ จนถึงประเทศที่นาง

เวมานิกเปรตนั้นอยู่. ลำดับนั้นนางเวมานิกเปรตนั้น จึงแสดงตนแก่
พวกพ่อค้านั้น พร้อมด้วยวิมาน. หัวหน้าพ่อค้าเห็นดังนั้น เมื่อจะถาม
จึงกล่าวคาถาว่า :-
น้องสาวเป็นใครหนอ อยู่ในวิมานนี้ ไม่
ยอมออกจากวิมานเลยนี่ น้องสาว จงออกมาเถิด
น้อง พี่อยากจะเห็นน้องข้างนอก.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กา นุ อนฺโตวิมานสฺมึ ติฏฺ€นฺตี
ความว่า หัวหน้าพ่อค้าถามว่า น้องอยู่ภายในวิมาน เป็นใครหนอ
เป็นหญิงมนุษย์ หรืออมนุษย์. บทว่า นูปนิกฺขมิ ความว่า น้อง
ไม่ยอมออกจากวิมานเลย. บทว่า อุปนิกฺขมสฺสุ ภทฺเท ปสฺสาม ตํ
พหิฏฺ€ิตํ ความว่า น้อง พวกเราปรารถนาจะเห็นน้องออกมา
อยู่ข้างนอก เพราะฉะนั้น น้องจงออกมาจากวิมานเถิด. บาลีว่า
อุปนิกฺขมสฺสุ ภทฺทนฺเต ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ขอความเจริญจงมี
แก่น้องสาวเถิด.

ลำดับนั้น นางเวมานิกเปรตนั้น เมื่อจะประกาศ ตามที่ตน
ไม่อาจจะออกไปข้างนอกแก่พ่อค้านั้น จึงกล่าวคาถาว่า :-
ดิฉัน เป็นหญิงเปลือยกาย มีแต่ผมปิดบัง
ไว้ อึดอัด ละอาย ที่จะออกไปข้างนอก ดิฉันได้
ทำบุญไว้น้อยนัก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฏียามิ ความว่า ดิฉันเป็น
หญิงเปลือยกาย อึดอัดใจ ลำบากที่จะออกไปข้างนอก. บทว่า
หรายามิ แปลว่า ละอาย. บทว่า เกเสหมฺหิ ปฏิจฺฉนฺนา ความว่า
ดิฉันมีเส้นผมปิดบังไว้ คือ มีผมคลุมร่างกาย. บทว่า ปุฺํ เม
อปฺปกํ กตํ ความว่า ดิฉันทำกุศลกรรมไว้น้อย คือ เล็กน้อย อธิบาย
ว่า เพียงถวายแป้งผสมน้ำมันเท่านั้น.

ลำดับนั้น พ่อค้า ประสงค์จะให้ผ้าห่มของตนแก่นางเวมานิก
เปรตนั้น จึงกล่าวคาถาว่า :-
แน่ะ น้องสาว คนสวย เอาเถอะ พี่จะให้
ผ้าห่มเนื้อดีแก่น้อง เชิญน้องนุ่งผ้าผืนนี้แล้ว จง
ออกมาข้างนอก เชิญออกมาข้างนอกวิมานเถิด
น้อง พี่จะขอพบน้องข้างนอก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หนฺท แปลว่าเชิญเถิด. บทว่า
อุตฺตรียํ แปลว่า ผ้าคลุมกาย. อธิบายว่า ผ้าห่ม. บทว่า ททามิ เต
แปลว่า พี่จะให้แก่น้อง. บทว่า อิทํ ทุสฺสํ นิวาสย ได้แก่ น้องจง
นุ่งผ้าห่มผืนนี้ของพี่เถิด. บทว่า โสภเณ แปลว่า แน่ะน้องผู้มี
รูปร่างสวย.

ก็แล พ่อค้า ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงนำเอาผ้าห่มของตน
ไปให้แก่นาง. นางเวมานิกเปรต เมื่อจะแสดงความที่พ่อค้าผู้มอบ
ผ้าห่มให้อย่างนั้น เป็นการอนุเคราะห์แก่ตน และการที่พ่อค้าให้
ผ้าห่มอย่างนั้น สำเร็จประโยชน์ จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-

ผ้านั้น ถึงพี่จะให้ที่มือของดิฉันเอง ด้วย
มือของพี่ ก็ไม่สำเร็จแก่น้องได้ดอก ถ้าในหมู่
มนุษย์นี้ มีอุบาสกผู้มีศรัทธา เป็นพระสาวกของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอพี่จงให้แก่อุบาสกนั้น
นุ่งห่มผ้าที่พี่จะให้แก่น้องแล้ว ค่อยอุทิศส่วนกุศล
ให้น้อง เมื่อพี่ทำอย่างนั้น น้องก็จะได้นุ่งห่มผ้านี้
ตามปรารถนา ประสพความสุข.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺเถน หตฺเถ เต ทินฺนํ น มยฺหํ
อุปกปฺปติ ความว่า ดูก่อน ท่านผู้นิรทุกข์ ทานที่พี่ให้ในมือของน้อง
ย่อมไม่สำเร็จ คือ ย่อมไม่เผล็ดผล ได้แก่ ไม่ควรเป็นเครื่องอุปโภค
แก่ดิฉัน. บทว่า เอเสตฺถุปาสโก สทฺโธ ความว่า ผู้นี้ชื่อว่า อุบาสก
เพราะถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และชื่อว่า ผู้มีศรัทธา เพราะ
ประกอบด้วยความเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม ย่อมมีอยู่ในที่นี้ คือ

ในหมู่ประชุมชนนี้. บทว่า เอตํ อจฺฉาทยิตฺวาน มม ทกฺขิณมาทิสา
ความว่า หัวหน้าพ่อค้า ให้อุบาสกนั้นนุ่งห่มผ้า ที่จะให้แก่เรา แล้ว
ให้ทักษิณานั้น คือ ปัตติทานมัย อุทิศถึงฉัน. บทว่า ตถาหํ สุขิตา
เหสฺสํ ความว่า เมื่อท่านทำอย่างนั้น ดิฉันก็จะมีความสุข นุ่งห่ม
ผ้าทิพย์ จักได้รับความสุข.

พวกพ่อค้าได้ฟังดังนั้น จึ งให้อุบาสกนั้นอาบลูบไล้แล้วให้
นุ่งผืนหนึ่งห่มผืนหนึ่ง. พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะประกาศ
ข้อความนั้น จึงได้กล่าว ๓ คาถาว่า :-

ก็พ่อค้าเหล่านั้น ยังอุบาสกนั้นให้อาบน้ำ
ลูบไล้ด้วยของหอม แล้วให้นุ่งห่มผ้า อุทิศส่วน
กุศลไปให้นางเวมานิกเปรตนั้น ในทันตาเห็นนั่น
เอง วิบากย่อมเกิดขึ้นแก่นางเวมานิกเปรตนั้น
โภชนะเครื่องนุ่งห่ม และน้ำดื่ม ย่อมเกิดขึ้น นี้
เป็นผลแห่งทักษิณา ในลำดับนั้น นางมีร่างกาย
บริสุทธิ์ นุ่งห่มผ้าอันสะอาด งามกว่าผ้าแคว้น
กาสี เดินยิ้มออกมาจากวิมานประเทศว่า นี้เป็น
ผลแห่งทักษิณา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ ได้แก่ ยังอุบาสกนั้น. จ ศัพท์
เป็นเพียงนิบาต. มีวาจาประกอบความว่า บทว่า เต ได้แก่ พ่อค้า
เหล่านั้น. บทว่า วิลิมฺเปตฺวาน ได้แก่ ไล้ทาด้วยของหอมชนิดดีเลิศ.
บทว่า วตฺเถหจฺฉาทยิตฺวาน ความว่า ให้บริโภคโภชนะพร้อมทั้ง

กับข้าว อันสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส แล้วให้นุ่งห่มผ้า คือ
ให้นุ่งผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ได้แก่ ให้ผ้า ๒ ผืน. บทว่า ตสฺสา
ทกฺขิณมาทิสุํ ได้แก่ อุทิศส่วนบุญแก่นางเวมานิกเปรตนั้น.

บทว่า อนุ ในบทว่า สมนนฺตภนุทฺทิฏฺเ€ นี้ เป็นเพียงนิบาต,
อธิบายว่า ในทันใดที่ได้เห็นทักษิณานั้นนั่นแล. บทว่า วิปาโก
อุปปชฺชถ ความว่า วิบาก คือผลแห่งทักษิณา ได้เกิดขึ้นแก่
นางเวมานิกเปรตนั้น. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า วิบากเป็นเช่นไร
นางเวมานิกเปรตจึงกล่าวว่า โภชนะเครื่องนุ่งห่ม และน้ำดื่ม เกิด

ขึ้นแล้ว. มีวาจาประกอบความว่า โภชนะอันเช่นกับโภชนะทิพย์
มีประการต่าง ๆ ผ้าอันเช่นกับผ้าทิพย์ ซึ่งรุ่งโรจน์ด้วยสีหลายหลาก
และน้ำดื่มมีหลายชนิด ผลเช่นนี้ย่อมเกิดเพราะทักษิณา.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ตโต ได้แก่ ภายหลังแต่การได้รับวัตถุมีโภชนะ
ตามที่ได้กล่าวแล้ว. บทว่า สุทฺธา ได้แก่ มีร่างกายสะอาด ด้วย
การอาบน้ำ. บทว่า สุจิวสนา ได้แก่ นุ่งห่มผ้าอันสะอาดดี. บทว่า
กาสิกุตฺตมธารินี ได้แก่ นุ่งห่มผ้าชนิดดี แม้กว่าผ้าของชาวกาสี.
บทว่า หสนฺตี ความว่า นางเวมานิกเปรต พลางยิ้มแย้มออกมาจาก
วิมาน พร้อมการประกาศว่า ดูซิ ท่านทั้งหลาย นี่เป็นผลพิเศษ
แห่งทักษิณาของพวกท่านเป็นอันดับแรก.

ลำดับนั้น พวกพ่อค้านั้น ได้เห็นผลบุญโดยประจักษ์
อย่างนี้ จึงเกิดอัศจรรย์จิต อย่างไม่เคยมีมาก่อน เกิดความเคารพ
นับถือมาก ในอุบาสกนั้น พากันกระทำอัญชลีกรรมเข้าไปนั่งใกล้
อุบาสกนั้น. ฝ่ายอุบาสก ให้พ่อค้าเหล่านั้น เลื่อมใสในธรรมกถา
โดยประมาณยิ่ง และให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีล. พวกพ่อค้านั้นจึง
ถามถึงกรรมที่นางเวมานิกเปรตนั้นกระทำไว้ ด้วยคาถานี้ว่า :-

วิมานของท่านช่างงดงาม มีรูปภาพอัน
วิจิตรด้วยดี สว่างไสว ดูก่อนนางเทพธิดา อัน
พวกข้าพเจ้าทั้งหลายถามแล้ว ขอท่านจงบอก
เถิดว่า นี้เป็นผลของกรรมอะไร?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุจิตฺตรูปํ ได้แก่ มีรูปภาพอันวิจิตร
ที่เขาจัดแจงไว้ด้วยดีแล้ว โดยเป็นรูปช้าง ม้า สตรี และบุรุษเป็นต้น
และโดยมาลากรรมและลดากรรมเป็นต้น. บทว่า รุจิรํ ได้แก่ น่า
รื่นรมย์ น่าชมเชย. บทว่า กิสฺส กมฺมสฺสิทํ ผลํ ความว่า นี้เป็นผล
ของกรรมเช่นไร คือ เป็นผลของทานมัย หรือของศีลมัย.

นางเทพธิดานั้น ถูกพวกพ่อค้านั้นถามอย่างนี้แล้ว เมื่อจะ
บอกผลกรรมทั้ง ๒ อย่างนั้นว่ า นี้เป็นผลของกุศลกรรมนิดหน่อย
ที่ดิฉันกระทำไว้เป็นอันดับแรก แต่สำหรับอกุศลกรรม จักเป็นเช่นนี้
ในนรกต่อไป ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อดิฉันเป็นมนุษย์อยู่นั้น มีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายแป้งคั่วอันเจือด้วยน้ำมัน แก่ภิกษุผู้เที่ยว
บิณฑบาต มีจิตซื่อตรง ดิฉันได้เสวยวิบากแห่ง
กุศลกรรมนั้น ในวิมานนี้ สิ้นกาลนาน ก็ผลบุญ
นั้น เดี๋ยวนี้ ยังเหลืออยู่นิดหน่อย พ้น ๔ เดือนไป
แล้ว ดิฉันจักจุติจากวิมานนี้ จักไปตกนรกอันเร่า
ร้อนแสนสาหัส มี ๔ เหลี่ยม ๔ ประตู แบ่งเป็น
ห้อง ๆ ล้อมด้วยกำแพงเหล็ก ครอบด้วยแผ่น

เหล็ก พื้นแห่งนรกนั้น ล้วนแล้วด้วยเหล็กแดง
ลุกเป็นเปลวเพลิง ประกอบด้วยความร้อน แผ่ไป
ตลอด ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ ดิฉันจัก
ต้องเสวยทุกขเวทนาในนรกนั้น ตลอดกาลนาน
ก็การเสวยทุกข์เช่นนี้ เป็นผลของกรรมชั่ว เพราะ
ฉะนั้นดิฉันจึงเศร้าโศกอย่างแรงกล้า ที่จะไปเกิด
ในนรกนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขุโน จรมานสฺส ได้แก่ แก่
ภิกษุผู้ทำลายกิเลสรูปหนึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาต. บทว่า โทณินิมฺ-
มชฺชนํ ซึ่งแป้งคั่วมีน้ำมันซึมซาบอยู่. บทว่า อุชุภูตสฺส ความว่า
ชื่อว่าถึงความเป็นผู้ซื่อตรง เพราะไม่มีกิเลสเครื่องทำความคดโกง
แห่งจิต. บทว่า วิปฺปสนฺเนน เจตสา ความว่า ผู้มีจิตเลื่อมใสดี
ด้วยการเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม.

ม อักษรในบทว่า ทีฆมนฺตรํ นี้กระทำการต่อบท, อธิบายว่า
ระยะกาลนาน คือตลอดกาลนาน. บทว่า ตญฺจ ทานิ ปริตฺตกํ ความว่า
ผลบุญ ๕ อย่าง บัดนี้ มีนิดหน่อย คือเหลืออยู่น้อย เพราะวิบาก
แห่งกรรมมีผลสุกงอม ไม่นานนักก็จากที่นี้ไป. ด้วยเหตุนั้นท่านจึง
กล่าวว่า พ้น ๔ เดือนไปแล้ว ดิฉันจักจุติจากวิมานนี้ ดังนี้เป็นต้น.

นางเปรตชี้แจงว่า พ้นจาก ๔ เดือน คือ ในเดือนที่ ๕ ถัดจาก ๔ เดือน
ไป ดิฉันจักจุติจากวิมานนี้. บทว่า เอกนฺตกุฏกํ ความว่า จักมีทุกข์
แสนสาหัส เพราะจะต้องรับผลที่ไม่น่าปรารถนาอย่างแสนสาหัส
นั่นแล. บทว่า โฆรํ แปลว่า ร้ายแรง. บทว่า นิรยํ ความว่า นรก
อันได้นามว่า นิรยะ เพราะทำวิเคราะห์ว่า เป็นที่ไม่มีความเจริญ

คือความสุข. บทว่า ปปติสฺสหํ ตัดเป็น ปปติสฺสามิ อหํ ข้าพเจ้า
จักตกนรก. ก็ท่านกล่าวว่า จตุกฺกณฺณํ ดังนี้เป็นต้น เพื่อจะแสดง
นรกนั้นโดยสรุป เพราะท่านแสดงถึงอเวจีมหานรก ในคำว่า นริยํ
นี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุกฺกณฺณํ แปลว่า ๔ เหลี่ยม. บทว่า

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
จตุทฺวารํ ได้แก่ ประกอบด้วยประตู ๔ ด้าน ใน ๔ ทิศ. บทว่า
วิภตฺตํ แปลว่า จำแนกด้วยดี. บทว่า ภาคโส แปลว่า โดยจำแนก.
บทว่า มิตํ แปลว่า เป็นห้อง ๆ บทว่า อโยปาการปริยนฺตํ แปลว่า
ล้อมด้วยกำแพงที่ทำด้วยเหล็ก. บทว่า อยสา ปฏิกุชฺชิตํ แปลว่า
ครอบแผ่นเหล็กล้วน ๆ.

บทว่า เตชสา ยุตา ได้แก่ มีเปลวไฟลุกโพลงอยู่ไม่ขาดระยะ
ด้วยไฟกองใหญ่ที่โพลงรอบด้าน. บทว่า สมนฺตา โยชนสตํ ได้แก่
แผ่ไปตั้ง ๑๐๐ โยชน์ ในทุกทิศภายนอกโดยรอบอย่างนี้. บทว่า
สพฺพทา แปลว่า ตลอดกาลทุกเมื่อ. บทว่า ผริตฺวา ติฏฺ€ติ แปลว่า
ซึมซาบตั้งอยู่. บทว่า ตตฺถ โยค มหานรกนั้น. บทว่า เวทิสฺสํ
แปลว่า จักได้รับ คือจักได้เสวย. บทว่า ผลญฺจ ปาปกมฺมสฺส
ความว่า การเสวยทุกข์เช่นนี้นี้ เป็นผลของกรรมชั่ว ที่ฉันได้ทำไว้.

เมื่อนางเทพธิดานั้น ประกาศผลแห่งกรรมที่ตนได้ทำไว้
และภัยที่จะตกนรกในอนาคต อย่างนี้แล้ว อุบาสกนั้นมีความกรุณา
เตือนใจ ให้คิดว่า เอาเถอะเราจักเป็นที่พึ่งของนาง แล้วกล่าวว่า
ดูก่อนแม่เทพธิดา เธอสำเร็จความปรารถนาทุกอย่าง กลายเป็น
ผู้ประกอบด้วยสมบัติอันยิ่ง ด้วยอำนาจทานของเราผู้เดียวเท่านั้น

แต่บัดนี้ เจ้าให้ทานแก่อุบาสกเหล่านี้แล้ว หวนระลึกถึงคุณแห่ง
พระศาสดา จักหลุดพ้นจากความเกิดในนรกได้. นางเปรตนั้น มีใจ
ร่าเริง ยินดีกล่าวว่า ดีละ แล้วให้อุบาสกเหล่านั้น อิ่มหนำด้วยข้าว
และน้ำอันเป็นของทิพย์ ได้ให้ผ้าทิพย์ และแก้วหลากชนิด. นางได้
ถวายคู่ผ้าทิพย์ มุ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ในมือของอุบาสกเหล่านั้น

แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นางเวมานิกเปรตตนหนึ่ง ขอฝาก
ไหว้ด้วยเศียรเกล้าแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล้ว
จึงไปกรุงสาวัตถีแล้วส่งการถวายบังคมไปถึงพระศาสดาว่า ขอ
ท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระศาสดา ตามคำของเราเถิด. และ
ในวันนั้นนั่นเอง นางได้นำเอาเรือนั้นไปจอดยังท่าที่อุบาสกเหล่านั้น
ปรารถนา ด้วยอิทธานุภาพของตน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พ่อค้าเหล่านั้น ออกจากท่านั้นแล้ว ถึงกรุงสาวัตถี
โดยลำดับ เข้าไปยังพระเชตวัน ถวายคู่ผ้านั้นแด่พระศาสดา และ
ได้ให้พระองค์ทรงทราบถึงการฝากไหว้ของนางแล้วกราบทูล
เรื่องนั้น ตั้งแต่ต้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงกระทำ
เรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว ทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร

แก่บริษัทผู้พรั่งพร้อมกันอยู่. พระธรรมเทศนานั้น ได้มีประโยชน์
แก่มหาชน. ก็ในวันที่ ๒ อุบาสกเหล่านั้น ได้ถวายมหาทาน แก่
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแล้ว อุทิศส่วนบุญให้แก่นาง
เปรตนั้น. และนางได้จุติจากเปตโลกนั้นแล้ว บังเกิดในวิมานทอง
ในภพชั้นดาวดึงส์ อันโชติช่วงไปด้วยรัตนะต่าง ๆ มีนางอัปสร
๑๐๐๐ นางเป็นบริวาร.
จบ อรรถกถาขัลลาฏิยะเปติวัตถุที่ ๑๐

อรรถกถานาคเปตวัตถุที่ ๑๑
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระวิหารชื่อว่า เชตวัน ทรง
พระปรารภพราหมณ์เปรต ๒ ตน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า ปุรโต ว เสเตน ปเลติ หตฺถินา ดังนี้.

ได้ยินว่า ท่านสังกิจจะ ผู้มีอายุได้ ๗ ขวบ บรรลุพระอรหัต
ในขณะจรดมีดโกนที่ปลายผมนั่นแล ดำรงอยู่ในภูมิสามเณร อยู่ใน
ราวป่าพร้อมกับภิกษุประมาณ ๓๐ รูป ห้ามความตายที่มาถึงแก่
ภิกษุเหล่านั้น จากมือของพวกโจร ๕๐๐ คน และฝึกโจรเหล่านั้น
แล้ว ให้บรรพชา ได้พาไปยังสำนักของพระศาสดา. พระศาสดา

ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น. ในเวลาจบพระธรรมเทศนา
ภิกษุเหล่านั้น ก็ได้บรรลุพระอรหัต. ลำดับนั้น ท่านสังกิจจะ มี
พรรษาครบ ได้อุปสมบทแล้ว พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป เหล่านั้น
พากันไปยังกรุงพาราณสี อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน. พวก

มนุษย์พากันไปหาพระเถระ ได้ฟังธรรมแล้ว มีจิตเลื่อมใส ได้
ถวายอาคันตุกทาน เป็นพวก ๆ ตามลำดับถนน. ในบรรดามนุษย์
เหล่านั้น มีอุบาสกคนหนึ่ง ได้ชักชวนพวกมนุษย์ในนิตยภัตร.
มนุษย์เหล่านั้น ได้เริ่มตั้งนิตยภัตตามกำลัง.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ก็สมัยนั้น ในกรุงพาราณสี มีพราหมณ์มิจฉาทิฏฐิคนหนึ่ง
ได้มีบุตรชาย ๒ คน บุตรหญิง ๑ คน. ในบุตรเหล่านี้ บุตรคนโต
ได้มีอุบาสกเป็นมิตร. อุบาสกนั้น พาบุตรคนโต (ของพราหมณ์)
นั้น ไปหาท่านสังกิจจะ. ท่านสังกิจจะแสดงธรรมแก่เธอ. เธอได้
เป็นผู้มีจิตอ่อน. ลำดับนั้น อุบาสกนั้นกล่าวกะเธอว่า เธอจงให้
นิตยภัตรแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. บุตรพราหมณ์กล่าวว่า พวกเราผู้เป็น

พราหมณ์ไม่เคยประพฤตินิตยภัตรทานแก่พระสมณผู้ศากยบุตร
เลย เพราะฉะนั้น เราจักไม่ยอมให้. อุบาสกกล่าวว่า ถึงเราท่าน
ก็จักไม่ให้ภัตรบ้างหรือ บุตรพราหมณ์กล่าวว่า ทำไม ฉันจักไม่ให้.
อุบาสกพูดว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น สิ่งที่เธอจะให้เรา เธอจงถวาย
แก่ภิกษุรูปหนึ่งเถิด. เขารับคำแล้ว ในวันที่ ๒ ได้ไปยังวิหารแต่
เช้าตรู่ นิมนต์ภิกษุมารูปหนึ่งให้ฉันแล้ว.

เมื่อเวลาผ่านไปอย่างนี้ น้องชายและน้องสาวของเขา เห็น
การปฏิบัติของภิกษุทั้งหลาย และได้ฟังธรรมแล้ว มีความเลื่อมใส
ยิ่งในพระศาสนา และได้มีความยินดีในบุญกรรม. ชนทั้ง ๓ คน
เหล่านั้น เมื่อให้ทานตามกำลังทรัพย์อย่างนี้ ได้สักการะเคารพ
นับถือบูชา สมณพราหมณ์ทั้งหลาย. ส่วนมารดาและบิดาของ

พวกเรา เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส ไม่เคารพในสมณ-
พราหมณ์ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่พอใจในการบำเพ็ญบุญ. พวกญาติจึงได้
ขอเด็กหญิงผู้เป็นธิดา แห่งมารดาบิดาเหล่านั้น มาเพื่อประโยชน์
แก่บุตรของลุง. ก็บุตรคนโตนั้น ฟังธรรมในสำนักของท่านสังกิจจะ
แล้วเกิดความสังเวช บรรพชาแล้ว ไปยังเรือนของมารดาตน

เพื่อฉันเป็นนิตย์. มารดาปลอบใจเธอด้วยเด็กรุ่นสาว ผู้เป็นมารดา
ของพี่ชายตน. ด้วยเหตุนั้น เธอเป็นผู้กลุ้มใจจึงเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์
เรียนว่า ท่านครับ ผมจักสึก ขอท่านจงอนุญาตให้ผมสึกเถิด.
พระอุปัชฌาย์ เห็นเธอผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย จึงกล่าวว่า พ่อ

สามเณร รอสักเดือนก่อนเถอะ. สามเณรรับคำท่านแล้ว ผ่านไปได้
เดือนหนึ่ง จึงได้แจ้งให้ทราบอย่างนั้นเหมือนกัน. พระอุปัชฌาย์
ก็กล่าวซ้ำอีกว่ากึ่งเดือนเถิด. พอกึ่งเดือนผ่านไป เมื่อสามเณรกล่าว
อย่างนั้น พระเถระก็กล่าวอีกว่า รอสัก ๗ วัน เถอะ. สามเณร

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
รับคำแล้ว. ครั้นภายใน ๗ วันนั้น เรือนของน้าหญิงสามเณร
หลังพังไป ทรุดโทรม ฝาเรือนชำรุด ถูกลมพัดและฝนสาดเข้า
ก็พังลง. ในคนเหล่านั้น ท่านพราหมณ์ พราหมณี ลูกชาย ๒ คน
ลูกหญิง ๑ คน ถูกเรือนพังทับตายไปหมด. ในคนที่ตายไปเหล่านั้น
พราหมณ์ และนางพราหมณี บังเกิดในกำเนิดเปรต. ลูกชาย ๒ คน

ลูกหญิง ๑ คน บังเกิดในภุมมเทวดา. ในบุตรเหล่านั้น บุตรคนโต
เกิดมีช้างเป็นพาหนะ. บุตรคนเล็กเกิดมีรถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดร.
บุตรหญิงมีวอทองคำเป็นเครื่องแห่แหน. พราหมณ์และนาง
พราหมณี ถือเอาฆ้อนเหล็กชนิดใหญ่มาทุบกัน. ที่ที่ถูกทุบแล้ว

มีฝีประมาณเท่าหม้อลูกใหญ่ ผุดขึ้นครู่เดียวเท่านั้น หัวฝีก็แก่เต็มที่
แล้วแตกผุพังไป. พราหมณ์สองผัวเมียนั้น ต่างช่วยกันผ่าฝีของกัน
และกัน ถูกความโกรธครอบงำ ไร้ความกรุณาตะคอกด้วยวาจา
หยาบ พากันดื่มหนองและเลือด, และไม่ได้รับความอิ่ม.

ลำดับนั้น สามเณร ถูกความกลุ้มใจกลุ้มรุมจึงเข้าไปหา
พระอุปัชฌาย์ เรียนว่า ท่านครับ กระผมผ่านวันปฏิญญาณไป
แล้ว ผมจักกลับไปเรือน ขอท่านจงอนุญาตผมเถิด. ลำดับนั้น
พระอุปัชฌาย์กล่าวแก่เธอว่า เมื่อถึงวันแรม ๑๔ ค่ำ เวลาพระ-
อาทิตย์ตกดิน เธอจงมาเถิด. ดังนี้แล้ว ได้เดินไปหน่อยหนึ่งแล้ว

ยืนอยู่ด้านอิสิปตนวิหาร. ก็สมัยนั้น เทพบุตร ๒ องค์นั้น พร้อมด้วย
น้องสาว เดินผ่านไปทางนั้นนั่นแล เพื่อจะอวดอ้างสมาคมยักษ์.
ฝ่ายมารดาบิดาของพวกเขา ต่างก็ถือไม้ฆ้อน พูดวาจาหยาบ
รูปร่างดำ มีเส้นผมยุ่งรุงรังเศร้าหมองยาว เช่นกับต้นตาลที่ถูก
ไฟไหม้ มีหนองและโลหิตไหล มีตัวหดเหี่ยวเห็นเข้าน่าเกลียด
น่ากลัวพิลึก ติดตามพวกบุตรไป.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น ท่านสังกิจจะสำแดงฤทธิ์โดยประการที่สามเณร
นั้นจะได้พบเห็นพวกเหล่านั้น ผู้กำลังเดินไปทั้งหมดแล้วกล่าวกะ
สามเณรว่า เห็นไหม ? พ่อสามเณร พวกเหล่านี้กำลังเดินไป.
สามเณรเรียนว่า เห็นขอรับ. ท่านสังกิจจะกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น
เธอจงสอบถามถึงกรรมที่พวกเหล่านี้ กระทำไว้เถิด. สามเณร
สอบถามพวกที่ไปด้วยยานช้างเป็นต้น ตามลำดับ. คนเหล่านั้น
กล่าวว่า ท่านจงสอบถามพวกเปรตที่มาภายหลังเถิด. สามเณร
กล่าวกะเปรตเหล่านั้น ด้วยคาถาทั้งหลายว่า :-

คนหนึ่งขี่ช้างเผือกไปข้างหน้า คนหนึ่ง
ขี่รถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดร ไปในท่ามกลาง
นางสาวน้อยขึ้นวอไปข้างหลัง เปล่งรัศมีสว่าง
ไสวไปทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ ส่วนท่านทั้งหลาย มือถือ
ฆ้อนเดินร้องไห้ มีใบหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา มีตัว
เป็นแผลแตกพัง ท่านเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำกรรม
ชั่วอะไรไว้ ท่านทั้งหลายดื่มกินโลหิตของกัน
และกัน เพราะกรรมอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุรโต ได้แก่ก่อนเขาทั้งหมด.
บทว่า เสเตน แปลว่า ขาว. บทว่า ปเลติ แปลว่า เดินไป. บทว่า
มชฺเฌ ปน ได้แก่ ในระหว่างเทพบุตรผู้ขึ้นช้าง และเทพธิดา
ผู้ขึ้นวอ. มีวาจาประกอบความว่า บทว่า อสฺสตรีรเถน ความว่า
ไปด้วยรถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดร. บทว่า นียติ แปลว่า นำไป.

บทว่า โอภาสยนฺติ ทส สพฺพโส ทิสา ความว่า เปล่งรัศมีสว่าง
ไสวไปทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ โดยรอบ ด้วยรัศมีแห่งสรีระของตน และด้วย
รัศมีแห่งผ้าและเครื่องอาภรณ์เป็นต้น. บทว่า มุคฺครหตฺถปาณิโน
ได้แก่ ส่วนท่านทั้งหลายมีมือถือไม้ฆ้อน. ฝ่ามือนั่นแหละ แปลกออก

ไปกว่าศัพท์ว่า มือ เพราะได้โวหารว่าฝ่ามือ ในกิจที่จะพึงทำ
พื้นดินให้ละเอียดเป็นต้น. บทว่า ฉินฺนปภินฺนคตฺตา ได้แก่ มีตัว
เป็นแผลแตกพังในที่นั้น ๆ ด้วยการใช้ไม้ฆ้อนทุบ. บทว่า ปิวาถ
แปลว่า ขอท่านทั้งหลาย จงดื่มกินเถิด.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เปรตเหล่านั้น ถูกสามเณร ถามอย่างนั้น จึงได้กล่าวตอบ
เรื่องนั้นทั้งหมด ด้วย ๔ คาถาว่า :-
ผู้ใดขี่ช้างเผือกชาติกุญชร มี ๔ เท้า ไป
ข้างหน้า คนนั้นเป็นบุตรหัวปีของข้าพเจ้าทั้ง ๒
เมื่อเป็นมนุษย์ เขาได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ จึง
ได้รับความสุข บันเทิงใจ ผู้ใดขี่รถเทียมด้วย
แม่ม้าอัสดร ๔ ม้า แล่นเรียบไปท่ามกลาง ผู้นั้น
เป็นบุตรคนกลาง ของข้าพเจ้าทั้ง ๒ เมื่อเขาเป็น

มนุษย์ เขาเป็นคนไม่ตระหนี่ เป็นทานบดีรุ่งเรือง
อยู่ นารีใดที่มีปัญญา มีดวงตากลมงดงาม รุ่งเรือง
ดุจตาเนื้อ ขึ้นวอมาข้างหลัง นารีนั้นเป็นธิดาคน
สุดท้าย ของข้าพเจ้าทั้ง ๒ นางมีความสุขเบิก
บานใจ เพราะส่วนแห่งทานกึ่งส่วน เมื่อก่อนเขา
ทั้ง ๓ คน มีจิตเลื่อมใส ได้ให้ทานแก่สมณ-

พราหมณ์ทั้งหลาย ส่วนข้าพเจ้าทั้ง ๒ เป็นคน
ตระหนี่ บริภาษสมณพราหมณ์ทั้งหลาย เขาทั้ง
๓ คนนี้ ถวายทานแล้วบำรุงบำเรอ ด้วยกามคุณ
อันเป็นทิพย์ ส่วนข้าพเจ้าทั้ง ๒ ซูบซีดอยู่เหมือน
ไม้อ้อที่เขาตัดทิ้งไว้ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุรโต ว โย คจฺฉติ ความว่า
บรรดาคนที่เดินไปเหล่านี้ ผู้ที่เดินไปข้างหน้า. บาลีว่า โยโส
ปุรโต คจฺฉติ ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า ผู้ที่ไปข้างหน้านั้น. บทว่า
กุญฺชเรน ได้แก่ ช้างอันได้นามว่า กุญชร เพราะอรรถว่า ยังพื้น
ปฐพี คือแผ่นดินให้เจริญขึ้น หรือเพราะยินดี คือเที่ยวไปในท้อง

ภูเขาที่สะสมด้วยหญ้าและเถาวัลย์เป็นต้น. บทว่า นาเคน ได้แก่
ชื่อว่า นาค เพราะเป็นสัตว์ไม่ควรล่วงละเมิด ไม่ควรดูหมิ่น.
ด้วยช้างเชือกประเสริฐนั้น. บทว่า จตุกฺกเมน ได้แก่ มี ๔ เท้า.
บทว่า เชฏฺ€โก แปลว่า ผู้เกิดก่อน.


ฝึกฝนการอ่านด้วยการอ่านทีละน้อย วันละหลายๆครั้ง
หลายรอบ ทำทุกวันทำบ่อยๆไม่นานท่านก็จะกลายเป็นนัก
อ่านหนังสือ หรือจะเรียกว่าหนอนนั้นเอง ทุกคนสามารถที่
จะเป็นคนเก่งและดีได้ หากมีความขยันหมั่นเพียรและตั้งใจจริง

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2019, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า จตุพฺภิ ได้แก่ ด้วยแม่ม้าอัสดร ๔ ม้า. บทว่า
สุวคฺคิเตน ได้แก่ ซึ่งมีการแล่นเรียบ คือ แล่นไปอย่างสวยงาม.
บทว่า มิคมนฺทโลจนา ได้แก่ ผู้มีดวงตางามดุจดวงตาเนื้อ. บทว่า
ภาคฑฺฒภาเคน ได้แก่ เพราะส่วนแห่งทานกึ่งส่วน คือ เพราะทาน
กึ่งส่วนจากส่วนแห่งทานที่ตนได้แล้วเป็นเหตุ. บทว่า สุขี แปลว่า
ได้รับความสุข. จริงอยู่ คำว่า สุขี นี้ ท่านกล่าวโดยเป็นลิงควิปลาส.

บทว่า ปริภาสกา แปลว่า ผู้ด่า. บทว่า ปริจารยนฺติ ความว่า
ชนเหล่านั้น ย่อมยังอินทรีย์ของตนให้เที่ยวไปในกามคุณอันเป็นทิพย์
ตามความสุข ทั้งข้างโน้น ข้างนี้, หรือ ยังชนผู้เป็นบริวารให้ทำการ
บำเรอตน ด้วยวิบากเป็นเครื่องไหลออกแห่งบุญญานุภาพของตน.
บทว่า มยญฺจ สุสฺสาม นโฬว ฉินฺโน ความว่า ส่วนข้าพเจ้าทั้ง ๒

ซูบซีดอยู่เหมือนไม้อ้อที่เขาตัดทิ้ง คือ ที่เขาโยนไปกลางแดด ฉะนั้น
ได้แก่ เป็นผู้เหือดแห้ง แห้งผาก ด้วยความหิวกระหายและด้วยการ
ใช้ไม้ทำร้ายกัน.

เปรตเหล่านั้น ครั้นประกาศความชั่วของตนอย่างนี้แล้ว
จึงแจ้งว่า พวกเราเป็นลุงและป้าของท่าน. สามเณรได้ฟังดังนั้นแล้ว
เกิดความสลดใจ เมื่อจะถามว่า ทำอย่างไรหนอ โภชนะจึงจะสำเร็จ
แก่พวกคนทำความชั่วเห็นปานนี้ได้ จึงกล่าวคาถานี้ว่า

อะไรเป็นโภชนะของท่าน อะไรเป็นที่
นอนของท่าน และท่านมีบาปธรรมเป็นอย่างยิ่ง
ยังอัตภาพให้เป็นไปอย่างไรได้ และโภคะเป็น
อันมากมีอยู่ไม่น้อย ท่านเบื่อหน่ายความสุข ได้
ประสบทุกข์ในวันนี้.


อยากได้อยากเป็นต้องทำเอง เมื่อคุณหิวจะให้ใครอื่นกินแทนเราได้เล่า
นอกเสียตนนั้นแลกินเองถึงจะได้ความอิ่มเอง

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 356 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร