วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 184 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2019, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
วางหลักไว้อีกที นี่ท่านจำแนกแนวพระสูตร


โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ ๕ พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรม ว่า เบญจขันธ์ คือ

๑. รูป ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสาร และพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น

๒. เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ

๓. สัญญา ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ นั้นๆได้

๔. สังขาร ได้แก่ องค์ประกอบ หรือ คุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดี หรือชั่ว หรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม

๕. วิญญาณ ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ

ข้อ ๑ เป็นรูปขันธ์ ๔ ข้อหลังเป็นนามขันธ์ เรียกสั้นๆว่า รูปนาม

:b32:
เขาเรียนจนถึงระดับม.ปลายแล้ว
คุณกรัชกายยังวนมาที่ประถมปีที่1
จิต(๕) + เจตสิก(๒,๓,๔) + รูป(๑) = จิต1ขณะ = ครบแล้วขันธ์ทั้ง5และอุปาทานว่าขันธ์เป็นตัวเอง555
...นิพพาน...
วางข้อที่คุณกรัชกายเขียนมาตรงหัวข้อแล้วที่ไม่มีคือปัญญารู้ถึงนิพพานเพราะขาดการฟังคำสอน
:b12:
:b4: :b4:


พ่ะน่ะ ว่า ม.ปลาย คิกๆๆ ครู/อาจารย์คนไหนนะ ให้เลือนชั้นไปได้ อนุบาลยังไม่ผ่านเลย :b32:

:b32:
555เชื่อตำราอ้างแต่ตำราอยู่นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้ตำรา

ตรงกับกาลามสูตรข้อไหนไปหามา
เออไม่เชื่อตาที่ตัวเองดูหูตัวเองที่ฟัง
บอกว่าทางหูน่ะมีแต่เสียงสูงหรือเสียงต่ำ
แต่ใจตัวเองไปหมายมั่นว่าเป็นเสียงอะไรแล้วนั้น
มันเป็นนิมิตเสียงต่างๆที่เกิดตามสัณฐานเสียงที่ดับนับไม่ถ้วน
ดูสิน่ะไม่เห็นเหรอคะกิเลสตัวเองดับไปแสนล้านขณะรอเกิดไปให้ผลในอนาคตแล้ว
กิเลสหนาขึ้นทุกแสนล้านขณะเดี๋ยวนี้ที่เข้าไม่ถึงความจริงที่กายใจตัวเองกำลังมีตรง1ทางตรงปัจจุบันขณะ


อ้างคำพูด:
555 เชื่อตำราอ้างแต่ตำราอยู่นั่นแหละ

พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้ตำรา

ตรงกับกาลามสูตรข้อไหนไปหามา


(เอาแค่นี้ให้ไปคิดก่อน)

พระพุทธศาสนาสอนว่า ไม่ควรปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำรา หรืออย่าเชื่อเพียงเพราะอ้างคัมภีร์ คือ อย่าเชื่อตำรางมไป บางท่านตีความเลยไปว่า พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้เชื่อตำรา หรืออย่าเชื่อตำรา

ความจริง ทั้งการเชื่อตำรา และการไม่เชื่อตำรา ถ้าทำโดยขาดวิจารณญาณ ก็สามารถเป็นความงมงายได้ด้วยกันทั้งคู่ คือ เชื่ออย่างงมงาย และไม่เชื่ออย่างงมงาย

ทางปฏิบัติที่รอบคอบ และไม่ผิด ในการไม่เชื่อตำรา ก็คือ ไม่ให้เป็นการไม่เชื่ออย่างเลื่อนลอย ก่อนจะตัดสินหรือแม้แต่ตัดขาดกับตำรา ควรศึกษาให้ชัดเจนตลอดก่อนว่า ตำราว่าอย่างไร ดูว่าท่านพูดไว้อย่างไรให้เต็มที่ก่อนแล้ว ต่อนั้น จะตีความ หรือเห็นต่างออกไปอย่างไร ก็ว่าของเราไป โดยเฉพาะ ท่านผู้เขียนคัมภีร์ทั้งหลายล้วนล่วงลับไปสิ้นแล้ว ท่านเสียเปรียบ ไม่มีโอกาสลุกขึ้นมาแสดงความเห็น หรือคอยตามโต้เถียงเรา เราจึงควรให้โอกาส โดยไปตามค้นหาแล้วพาท่านออกมาพูดเสียให้เต็มที่ เมื่อรับฟังท่านเต็มที่แล้ว เราจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ก็นับว่าได้ให้ความเป็นธรรมแก่ท่านแล้วพอสมควร


วิจารณญาณ ปัญญาที่ไตร่ตรองพิจารณาเหตุผล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2019, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:


555เชื่อตำราอ้างแต่ตำราอยู่นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้ตำรา
ตรงกับกาลามสูตรข้อไหนไปหามา
เออไม่เชื่อตาที่ตัวเองดูหูตัวเองที่ฟัง
บอกว่าทางหูน่ะมีแต่เสียงสูงหรือเสียงต่ำ
แต่ใจตัวเองไปหมายมั่นว่าเป็นเสียงอะไรแล้วนั้น
มันเป็นนิมิตเสียงต่างๆที่เกิดตามสัณฐานเสียงที่ดับนับไม่ถ้วน
ดูสิน่ะไม่เห็นเหรอคะกิเลสตัวเองดับไปแสนล้านขณะรอเกิดไปให้ผลในอนาคตแล้ว
กิเลสหนาขึ้นทุกแสนล้านขณะเดี๋ยวนี้ที่เข้าไม่ถึงความจริงที่กายใจตัวเองกำลังมีตรง1ทางตรงปัจจุบันขณะ


อ้างคำพูด:
555เชื่อตำราอ้างแต่ตำราอยู่นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้ตำรา


คุณโรสไม่เชื่อตำรา พ่ะน่ะ แล้วไปเอาจากไหนมาพูด ตอบสิ คิกๆๆ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีในตำราไหม ตอบหน่อย :b32:

พระไตรปิฎกเป็นตำราไหม ตอบ :b13:

เสร็จแน่งานนี้ แทบจะขายสำนักเลยแหละ

:b12:
กาลามสูตร10ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจ
คิดตรงทางตรงขณะก็ไม่เข้าใจนะ
แล้วจะเข้าใจหลักความจริงได้ยังไงคะ
คนเราเนี่ยมีปกติไม่รู้ว่าตัวเองมีกิเลสรู้ป่าว
ตถาคตสอนให้รู่จักกิเลสแล้วที่ก็อปแปะจำคำมากๆ
รู้ตัวไหมว่าเพิ่มกิเลสไม่ใช่เพิ่มปัญญาตามคำสอนนะคะ
คำสอนเป็นการสอนให้ละความไม่รู้ที่กำลังมีด้วยการอบรมจิตตอนกำลังฟัง
เข้าใจไหมแต่ละคนที่เขาฟังคำสอนเข้าใจเขาพาคนอื่นกลับมาเฝ้าฟังคำตถาคตจากพระโอษฐ์
ส่วนคนที่ไม่ชอบฟังคำสอนจากพระโอษฐ์เขาก็ไปเฝ้าเกจิอาจารย์อื่นๆค่ะ(เกจิแปลว่าอื่นๆ)เข้าใจไหมล่ะ
https://youtu.be/wstIXQTjxVs
:b12:
:b32: :b32:



ตอบตรงกับโจทก์สะที่ไหนน่า เขาถามว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในตำราพระไตรปิฎกมีไหม ตอบสิ บอกว่าไม่ให้เชื่อตำรา แล้วคุณโรสไปเอาจากไหน จำมาจากใครพูด คิดเองหรอ ไหนลองตอบตรงๆคำถามให้นอนตายตาหลับทีเอ้า :b32:


ไม่ตอบ เงียบไปเบยสงสัยไปเฝ้าอรรถกถูดูกี :b32:

ยืมคำฮิตเขามาพูดหน่อย "จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" ทีแรกก็คิดนะว่าจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แต่งานนี้คงต้องทิ้งคุณโรสไว้ข้างหลังสะแล้วละ :b13: :b32: บ๊ายบาย :b4:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2019, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาต่อไป พึงสังเกตสังขารที่อธิบายให้ขันธ์ ๕ กับ สังขารที่อธิบายในปฏิจจสมุปบาท


สังขาร หมายรวมทั้งเครื่องแต่งคุณภาพของจิต หรือเครื่องปรุงของจิต ซึ่งมีเจตนาเป็นตัวนำ และกระบวนการแห่งเจตจำนงที่ชักจูง เลือกรวบรวมเอาเครื่องแต่งคุณภาพเหล่านั้นมาประสมปรุงแต่งความนึกคิด การพูด การทำ ให้เกิดกรรมทางกาย วาจา ใจ

อย่างไรก็ตาม ในการอธิบาย (สังขาร) ตามแนวขันธ์ ๕ ท่านมุ่งแสดงตัวสภาวะให้เห็นว่า ชีวิตมีองค์ประกอบอะไรมากกว่าจะแสดงกระบวนธรรมที่กำลังดำเนินอยู่ว่าชีวิตเป็นไปอย่างไร
ดังนั้น คำอธิบายเรื่องสังขารในขันธ์ ๕ ตามปกติจึงพูดถึงแต่ในแง่เครื่องแต่งคุณภาพของจิต หรือเครื่องปรุงของจิต ว่ามีอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร เป็นต้น

ส่วนการอธิบายในแง่กระบวนการปรุงแต่ง ซึ่งเป็นขั้นออกโรงแสดง ท่านยกไปกล่าวในหลักปฏิจจสมุปบาท ที่ชี้ให้เห็นว่า ชีวิตเป็นไปอย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2019, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ดังนั้น ในหลักปฏิจจสมุปบาทความหมายของสังขาร จึงมีรูปร่างแบบปฏิบัติการ คือ จำแนกออกเป็น

กายสังขาร (การปรุงแต่งแสดงเจตจำนงออกทางกาย หรือเจตนาที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย)

วจีสังขาร (การปรุงแต่งแสดงเจตจำนงทางวาจา หรือเจตนาที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา) และ

จิตตสังขาร (การปรุงแต่งแสดงเจตจำนงทางใจ หรือเจตนาที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ)

ต่างจากการอธิบายแนวขันธ์ ๕ ซึ่งจำแนกสังขารเป็นองค์ธรรมเครื่องปรุงแต่งต่างๆ มี ศรัทธา สติ เมตตา กรุณา ปัญญา โลภะ โทสะ เจตนา สมาธิ เป็นต้น

ถ้าจะเปรียบเทียบกับเรื่องรถ คำอธิบายแนวขันธ์ ๕ ก็เหมือนรถที่ตั้งแสดงให้ดูส่วนประกอบต่างๆอยู่กับที่
ส่วนคำอธิบายแนวปฏิจจสมุปบาท เป็นเหมือนอธิบายเรื่องรถที่เดินเครื่องออกแล่นใช้งานจริง

(คุณโรสเถียงได้นะ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2019, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บรรดาเครื่องแต่งคุณภาพของจิตทั้งหลายนั้น เจตนาเป็นตัวนำ หรือ เป็นหัวหน้า ดังนั้น ไม่ว่าเครื่องแต่งคุณภาพกี่อย่างจะเกิดขึ้นทำหน้าที่ในคราวหนึ่งคราวใด จะต้องมีเจตนาร่วมอยู่ด้วยเป็นแกนนำเสมอไปทุกคราว บางครั้ง ท่านถึงกับใช้คำว่า เจตนาเป็นคำแทน หมายถึง สังขารทั้งหมดทีเดียว ด้วยเหตุนี้ จึงอาจให้ความหมาย คำว่า สังขาร ได้อีกอย่างหนึ่ง ว่า "สังขาร คือ เจตนาพร้อมทั้งสัมปยุตธรรม (ธรรมที่ประกอบร่วม หรือเครื่องประกอบ) ซึ่งแต่งจิตให้ดี ให้ชั่ว หรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิด การพูด การทำ ให้เกิดกรรมทางกาย วาจา ใจ”


บางครั้ง ท่านถึงกับใช้คำว่า เจตนาคำเดียวเป็นคำแทน หมายถึงสังขารทั้งหมด หรือแสดงความหมายทำนองจำกัดความคำว่า สังขาร ด้วยคำว่า เจตนา และเจตนาก็เป็นคำจำกัดความของคำว่า กรรม ด้วย ดังนั้น ในกรณีเช่นนี้ คำว่า สังขาร เจตนา และกรรม จึงมีความหมายอย่างคร่าวๆ เท่ากัน


นอกจากความสำคัญที่กล่าวมาแล้ว เจตนายังเป็นตัวแสดงลักษณะพิเศษของสังขาร ที่ทำให้สังขารขันธ์ต่างจากขันธ์อื่นๆ อีกด้วย เจตนา แปลว่า ความจำนง ความจงใจ ความตั้งใจ

ลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันระหว่างสังขารขันธ์ กับ นามขันธ์อื่น ก็คือ นามขันธ์อื่น อันได้แก่ เวทนา สัญญา และวิญญาณ ทำงาน กับ อารมณ์ ที่เข้ามาปรากฏอยู่แล้ว เป็นสภาพที่เนื่องด้วยอารมณ์ เกาะเกี่ยวกับอารมณ์ อาศัยอารมณ์จึงดำเนินไปได้ และเป็นฝ่ายรับ
แต่สังขาร มีการริเริ่มเองได้ จำนงต่ออารมณ์ และเป็นฝ่ายกระทำต่ออารมณ์ *

เมื่อเข้าใจหลักนี้แล้ว ก็จะมองเห็นเหตุผลว่า ทำไมความสบาย ไม่สบาย จัดเป็นเวทนา

แต่ความชอบใจ ไม่ชอบใจ ซึ่งเกิดถัดจากสบาย ไม่สบายนั้น จึงจัดเข้าในสังขาร

ทำไมสัญญา กับ สติ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องความจำด้วยกัน แต่กลับแยกอยู่คนละขันธ์ (สติอยู่ในสังขารขันธ์)

ทำไมปัญญา ซึ่งก็เป็นเรื่องของความรู้เช่นเดียวกับสัญญา และ วิญญาณ จึงแยกไปอยู่ในสังขารขันธ์

ที่อ้างอิง *

* ตามหลักไตรวัฏฏ์ (ใน ปฏิจจสมุปบาท) จัดเวทนา สัญญา และวิญญาณ เป็นวิบาก สังขารเป็นกรรม; อนึ่ง สังขารที่จัดเป็นกรรมนั้น ท่านหมายเอาเฉพาะในเวลาที่เจตนานำหน้าออกปฏิบัติการเท่านั้น ส่วนตัวเครื่องปรุงเครื่องแต่งทั้งหลาย (ในฝ่ายสังสารวัฏฏ์) ท่านจัดเป็นกิเลส

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2019, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
วางหลักไว้อีกที นี่ท่านจำแนกแนวพระสูตร


โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ ๕ พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า "สัตว์" "บุคคล" ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรม ว่า เบญจขันธ์ คือ

๑. รูป ได้แก่ ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสาร และพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติกรรมต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น

๒. เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ

๓. สัญญา ได้แก่ ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ นั้นๆได้

๔. สังขาร ได้แก่ องค์ประกอบ หรือ คุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดี หรือชั่ว หรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม

๕. วิญญาณ ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ

ข้อ ๑ เป็นรูปขันธ์ ๔ ข้อหลังเป็นนามขันธ์ เรียกสั้นๆว่า รูปนาม

:b32:
เขาเรียนจนถึงระดับม.ปลายแล้ว
คุณกรัชกายยังวนมาที่ประถมปีที่1
จิต(๕) + เจตสิก(๒,๓,๔) + รูป(๑) = จิต1ขณะ = ครบแล้วขันธ์ทั้ง5และอุปาทานว่าขันธ์เป็นตัวเอง555
...นิพพาน...
วางข้อที่คุณกรัชกายเขียนมาตรงหัวข้อแล้วที่ไม่มีคือปัญญารู้ถึงนิพพานเพราะขาดการฟังคำสอน
:b12:
:b4: :b4:


พ่ะน่ะ ว่า ม.ปลาย คิกๆๆ ครู/อาจารย์คนไหนนะ ให้เลือนชั้นไปได้ อนุบาลยังไม่ผ่านเลย :b32:

:b32:
555เชื่อตำราอ้างแต่ตำราอยู่นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้ตำรา

ตรงกับกาลามสูตรข้อไหนไปหามา
เออไม่เชื่อตาที่ตัวเองดูหูตัวเองที่ฟัง
บอกว่าทางหูน่ะมีแต่เสียงสูงหรือเสียงต่ำ
แต่ใจตัวเองไปหมายมั่นว่าเป็นเสียงอะไรแล้วนั้น
มันเป็นนิมิตเสียงต่างๆที่เกิดตามสัณฐานเสียงที่ดับนับไม่ถ้วน
ดูสิน่ะไม่เห็นเหรอคะกิเลสตัวเองดับไปแสนล้านขณะรอเกิดไปให้ผลในอนาคตแล้ว
กิเลสหนาขึ้นทุกแสนล้านขณะเดี๋ยวนี้ที่เข้าไม่ถึงความจริงที่กายใจตัวเองกำลังมีตรง1ทางตรงปัจจุบันขณะ


อ้างคำพูด:
555 เชื่อตำราอ้างแต่ตำราอยู่นั่นแหละ

พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้ตำรา

ตรงกับกาลามสูตรข้อไหนไปหามา


(เอาแค่นี้ให้ไปคิดก่อน)

พระพุทธศาสนาสอนว่า ไม่ควรปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำรา หรืออย่าเชื่อเพียงเพราะอ้างคัมภีร์ คือ อย่าเชื่อตำรางมไป บางท่านตีความเลยไปว่า พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้เชื่อตำรา หรืออย่าเชื่อตำรา

ความจริง ทั้งการเชื่อตำรา และการไม่เชื่อตำรา ถ้าทำโดยขาดวิจารณญาณ ก็สามารถเป็นความงมงายได้ด้วยกันทั้งคู่ คือ เชื่ออย่างงมงาย และไม่เชื่ออย่างงมงาย

ทางปฏิบัติที่รอบคอบ และไม่ผิด ในการไม่เชื่อตำรา ก็คือ ไม่ให้เป็นการไม่เชื่ออย่างเลื่อนลอย ก่อนจะตัดสินหรือแม้แต่ตัดขาดกับตำรา ควรศึกษาให้ชัดเจนตลอดก่อนว่า ตำราว่าอย่างไร ดูว่าท่านพูดไว้อย่างไรให้เต็มที่ก่อนแล้ว ต่อนั้น จะตีความ หรือเห็นต่างออกไปอย่างไร ก็ว่าของเราไป โดยเฉพาะ ท่านผู้เขียนคัมภีร์ทั้งหลายล้วนล่วงลับไปสิ้นแล้ว ท่านเสียเปรียบ ไม่มีโอกาสลุกขึ้นมาแสดงความเห็น หรือคอยตามโต้เถียงเรา เราจึงควรให้โอกาส โดยไปตามค้นหาแล้วพาท่านออกมาพูดเสียให้เต็มที่ เมื่อรับฟังท่านเต็มที่แล้ว เราจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ก็นับว่าได้ให้ความเป็นธรรมแก่ท่านแล้วพอสมควร


วิจารณญาณ ปัญญาที่ไตร่ตรองพิจารณาเหตุผล



กาลามสูตร สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผล
ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา, ด้วยการถือสืบๆกันมา, ด้วยการเล่าลือ, ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์, ด้วยตรรกะ, ด้วยการอนุมาน, ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล, เพราะเข้ากันได้กับทฤษฏีของตน, เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อถือ, เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละ หรือถือปฏิบัติตามนั้น เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตติยสูตร หรือ เกสปุตตสูตร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 05:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


สัญญา - สติ - ความจำ


มักมีความเข้าใจสับสนกันในเรื่องความจำ ว่า ตรงกับธรรมข้อใด คำว่า สัญญา ก็มักแปลกันว่า ความจำ
คำว่า สติ โดยทั่วไปแปลว่า ความระลึกได้ บางครั้งก็แปลว่า ความจำ และตัวอย่างที่เด่น เช่น พระอานนท์ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางทรงจำพุทธพจน์ คำบาลีในกรณีนี้ ท่านใช้คำว่า สติ ดังพุทธพจน์ว่า "อานนท์เป็นเลิศ กว่าประดาสาวกของเราผู้มีสติ"* (องฺ.เอก.20/149/32)

เรื่องนี้ในทางธรรมไม่มีความสับสน ความจำไม่ใช่กิจของธรรมข้อเดียว แต่เป็นกิจของกระบวนธรรม และในกระบวนธรรมแห่งความจำนี้ สัญญาและสติเป็นองค์ธรรมใหญ่ ทำหน้าที่เป็นหลัก มีบทบาทสำคัญที่สุด

สัญญาก็ดี สติก็ดี มีความหมายคาบเกี่ยว และเหลื่อมกันกับความจำ กล่าวคือ ส่วนหนึ่งของสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของความจำ อีกส่วนหนึ่งของสัญญา อยู่นอกเหนือความหมายของความจำ
แม้สติก็เช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งของสติเป็นส่วนหนึ่งของความจำ อีกส่วนหนึ่งของสติ อยู่นอกเหนือความหมายของกระบวนการทรงจำ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 05:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อที่พึงกำหนดหมาย และระลึกไว้อย่างสำคัญ คือ สัญญา และ สติ ทำหน้าที่คนละอย่างในกระบวนการทรงจำ

สัญญา กำหนดหมาย หรือหมายรู้อารมณ์ไว้ เมื่อประสบอารมณ์อีก ก็เอาข้อที่กำหนดหมายไว้นั้น มาจับเทียบหมายรู้ว่าตรงกันเหมือนกันหรือไม่ ถ้าหมายรู้ว่าตรงกัน เรียกว่า จำได้
ถ้ามีข้อต่างก็หมายรู้เพิ่มเข้าไว้ การกำหนดหมาย จำได้ หรือหมายรู้อารมณ์ไว้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ใช่นั่น ใช่นี่ (การเทียบเคียงและเก็บข้อมูล) ก็ดี
สิ่งที่กำหนดหมายไว้ (ตัวข้อมูลที่สร้างและเก็บไว้นั้น) ก็ดี เรียกว่า สัญญา ตรงกับความจำในแง่ที่เป็นการสร้างปัจจัยแห่งความจำ ลักษณะสำคัญของสัญญา คือ ทำงานกับอารมณ์ที่ปรากฏตัวอยู่แล้ว กล่าวคือ เมื่ออารมณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้า จึงกำหนดได้ หมายรู้ หรือจำได้ซึ่งอารมณ์นั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ * มีหน้าที่ดึงอารมณ์มาสู่จิต เหนี่ยวอารมณ์ไว้กับจิต คุมหรือกำกับจิตไว้กับอารมณ์ ตรึงเอาไว้ไม่ยอมให้ลอยผ่านหรือคลาดกันไป จะเป็นการดึงมาซึ่งอารมณ์ที่ผ่านไปแล้ว หรือดึงไว้ซึ่งอารมณ์ที่จะผ่านไปก็ได้

สติจึงมีขอบเขตความหมายคลุมถึง การระลึก นึกถึง นึกไว้ นึกได้ ระลึกได้ ไม่เผลอ

สติเป็นการริเริ่มเองจากภายใน โดยอาศัยพลังแห่งเจตนา หรือ เจตจำนง ในเมื่ออารมณ์อาจจะไม่ปรากฏอยู่ต่อหน้า เป็นฝ่ายจำนงต่ออารมณ์ จึงจัดอยู่ในพวกสังขาร

(*สติ ด้านหนึ่งแปลกันว่า recall, recollection อีกด้านหนึ่งว่า mindfulness)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 เม.ย. 2019, 05:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 05:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา บันทึกเก็บไว้ สติดึงออกมาใช้
สัญญาดี คือ รู้จักกำหนดหมายให้ชัดเจน เป็นระเบียบ สร้างขึ้นเป็นรูปร่างที่มีความหมายและเชื่อมโยงกันดี (ซึ่งอาศัยความใส่ใจเป็นต้นอีกต่อหนึ่ง) ก็ดี
สติดี คือมีความสามารถในการระลึก (ซึ่งอาศัยสัญญาดี และการหมั่นใช้สติ ตลอดจนสภาพจิตที่สงบผ่องใส ตั้งมั่น เป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี ย่อมเป็นองค์ประกอบ ที่ช่วยให้เกิดความจำดี

(ซึ่งต้องฝึกฝนพัฒนาทั้งนั้น)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างประกอบความเข้าใจ

นายแดง กับ นายดำ เคยรู้จักกันดี แล้วแยกจากกันไป

ต่อมาอีกสิบปี นายแดงพบนายดำอีก จำได้ว่า ผู้ที่ตนพบนั้นคือนายดำ แล้วระลึกนึกได้ต่อไปอีกว่าตน กับ นายดำ เคยไปเที่ยวด้วยกันที่นั่นๆ ได้ทำสิ่งนั้นๆ ฯลฯ การจำได้เมื่อพบนั้นเป็นสัญญา
การนึกได้ต่อไปถึงเรื่องราวที่ล่วงแล้ว เป็นสติ

วันหนึ่ง นาย ก. ได้พบปะสนทนา กับ นาย ข.

ต่อมาอีกหนึ่งเดือน นาย ก. ถูกเพื่อนถามว่า เมื่อเดือนที่แล้ววันที่เท่านั้นๆ นาย ก. ได้พบปะสนทนากับใคร
นาย ก. นึกทบทวนดู ก็จำได้ว่าพบปะสนทนากับ นาย ข. การจำได้ในกรณีนี้ เป็นสติ

เครื่องโทรศัพท์ตั้งอยู่มุมห้องข้างหนึ่ง สมุดหมายเลขโทรศัพท์อยู่อีกมุมห้องด้านหนึ่ง

นายเขียวเปิดสมุดหา เลขหมายโทรศัพท์ที่ตนต้องการ ระหว่างเดินไปก็นึกหมายเลขนั้นไว้ตลอด การอ่านและกำหนดหมายเลขที่สมุดโทรศัพท์ เป็นสัญญา
การนึกหมายเลขนั้นตั้งแต่ละจากสมุดโทรศัพท์ เป็นสติ

เมื่ออารมณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้าแล้ว ก็กำหนดหมายได้ทันที
แต่เมื่ออารมณ์ไม่ปรากฏอยู่ และถ้าอารมณ์นั้นเป็นธรรมารมณ์ (เรื่องในใจ) ก็ใช้สติดึงอารมณ์นั้นมาแล้วกำหนดหมาย
อนึ่ง สติสามารถระลึกถึงสัญญา คือดึงเอาสัญญาที่มีอยู่เก่ามาเป็นอารมณ์ของจิต แล้วสัญญาจะกำหนดหมายอารมณ์นั้น สำทับเข้าอีกให้ชัดเจนแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น หรือกำหนดหมายแนวใหม่เพิ่มเข้าไปตามวัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา - วิญญาณ - ปัญญา

สัญญา วิญญาณ ปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้ง ๓ อย่าง แต่เป็นองค์ธรรมต่างข้อกัน และอยู่คนละขันธ์
สัญญาเป็นขันธ์หนึ่ง วิญญาณเป็นขันธ์หนึ่ง ปัญญาอยู่ในสังขารก็อีกขันธ์หนึ่ง สัญญา และวิญญาณได้พูดมาแล้วพอเป็นพื้นความเข้าใจ

ปัญญา * แปลกันว่า ความรอบรู้ เติมเข้าอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง
ท่านอธิบายขยายความกันออกไปตางๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ

แปลกันอย่างง่ายๆ พื้นๆ ปัญญา คือความเข้าใจ (หมายถึงเข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้) เป็นการมองทะลุสภาวะ หรือ มองทะลุปัญหา
ปัญญาช่วยเสริมสัญญาและวิญญาณ ช่วยขยายขอบเขตของวิญญาณให้กว้างขวางออกไปและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ส่องทางให้สัญญามีสิ่งกำหนดหมายรวมเก็บได้มากขึ้น เพราะเมื่อเข้าใจเพียงใด ก็รับรู้และกำหนดหมายในวิสัยแห่งความเข้าใจเพียงนั้น เหมือนคิดโจทย์เลขคณิตข้อหนึ่ง เมื่อยังคิดไม่ออก ก็ไม่มีอะไรให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปได้ ต่อเมื่อเข้าใจ คิดแก้ปัญหาได้แล้ว ก็มีเรื่องให้รับรู้ และกำหนดหมายต่อไปอีก

ปัญญา ตรงข้ามกับโมหะ ซึ่งแปลว่าความหลง ความไม่รู้ ความเข้าใจผิด สัญญาและวิญญาณหาตรงข้ามกับโมหะไม่ อาจกลายเป็นเหยื่อของโมหะไปด้วยซ้ำ เพราะเมื่อหลง เข้าใจผิดไปอย่างใดก็รับรู้และกำหนดหมายเอาไว้ผิดๆอย่างนั้น ปัญญาช่วยแก้ไขให้วิญญาณและสัญญาเดินถูกทาง



ที่อ้างอิง *

* ปัญญา มักแปลกันว่า wisdom หรือ understanding

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา และ วิญญาณ อาศัยอารมณ์ที่ปรากฏอยู่จึงทำงานไปได้ สร้างภาพเห็นภาพขึ้นไปจากอารมณ์นั้น
แต่ปัญญาเป็นฝ่ายจำนงต่ออารมณ์ ริเริ่มกระทำต่ออารมณ์ (เพราะอยู่ในหมวดสังขาร) เชื่อมโยงอารมณ์นั้น กับ อารมณ์นี้ กับ อารมณ์โน้นบ้าง
พิเคราะห์ส่วนนั้น กับ ส่วนนี้กับส่วนโน้นของอารมณ์บ้าง
เอาสัญญาอย่างโน้นอย่างนี้มาเชื่อมโยงกัน หรือ พิเคราะห์ออกไปบ้าง
มองเห็นเหตุ เห็นผล เห็นความสัมพันธ์ ตลอดถึงว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร หาเรื่องมาให้วิญญาณ และสัญญารับรู้ และกำหนดหมายเอาไว้อีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2019, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสารีบุตร เคยตอบคำถามเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างวิญญาณ กับ ปัญญาว่า คนมีปัญญา รู้ (= รู้ชัด, เข้าใจ) ว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์

ส่วนวิญญาณ รู้ (= รู้แยกต่าง) ว่าเป็นสุข รู้ว่าเป็นทุกข์ รู้ว่าไม่ใช่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์

แต่ปัญญาและวิญญาณนั้น ก็เป็นองค์ธรรมที่ปนเคล้าหรือระคนกันอยู่ ไม่อาจแยกออกบัญญัติข้อแตกต่างกันได้

กระนั้นก็ตาม ความแตกต่างก็มีอยู่ในแง่ที่ว่า ปัญญาเป็นภาเวตัพพธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรฝึกอบรมทำให้เจริญขึ้น ให้เพิ่มพูนแก่กล้าขึ้น

ส่วนวิญญาณเป็นปริญไญยธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้หรือทำความรู้จักให้เข้าใจ รู้เท่าทันสภาวะและลักษณะของมันตามความเป็นจริง * ( ม.มู.๑๒/๔๙๔/๕๓๖)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 184 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร