วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2019, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-3720.jpg
Image-3720.jpg [ 63.34 KiB | เปิดดู 1325 ครั้ง ]
เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้

๑.สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ
ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา

๒.สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
เธอเมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน

๓.สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน
ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
ปีติปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้น แก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว

๔.สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว
ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้

๕.สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น

๖.สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุขย่อมตั้งมั่น
ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้ว เช่นนั้น ได้เป็นอย่างดี

๖.สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้ เป็นอย่างดี
ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2019, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20190425_165219.png
20190425_165219.png [ 222.5 KiB | เปิดดู 1312 ครั้ง ]
........

โพชฌงค์ ๗

คำว่า โพชฌงค์ นั้นตามศัพท์แปลว่าองค์คุณ หรือองค์สมบัติแห่งความตรัสรู้

พระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายไว้ว่า เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ คือธรรมะที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้
เรียกว่าโพชฌงค์ ซึ่งมี ๗ ประการ อันได้แก่

๑.สติโพชฌงค์ หรือ สติสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือสติ
ได้แก้ สติปัฏฐาน ๔ สตินทรีย์ ๑ สติพละ ๑ สติสัมโภชฌงค์ ๑ สัมมาสติ ๑

๒.ธัมมวิจยโพชฌงค์ หรือ ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือธัมมวิจยะเลือกเฟ้นธรรม
ได้แก่ สัมมัปปธาน ๔ วิริยิทธิบาท ๑ วิริยินทรีย์ ๑ วิริยะพละ ๑ วิริยะสัมโภชฌงค์ ๑

๓.วิริยะโพชฌงค์ หรือ วิริยะสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือวิริยะความเพียร
ได้แก่ วิมังสิทธิบาท ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ปัญญาพละ ๑ สัมมาทิฏฐิ ๑

๔.ปีติโพชฌงค์ หรือ ปีติสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือปีติความอิ่มเอิบใจ
ได้แก่ ปิติสัมโภชฌงค์ ๑

๕.ปัสสัทธิโพชฌงค์ หรือ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือปัสสัทธิความสงบรำงับ
ได้แก่ ปัสสัทธิสัมโภชฌงค์ ๑

๖.สมาธิโพชฌงค์ หรือ สมาธิสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือ สัมโพชฌงค์คือสมาธิความตั้งใจมั่น
ได้แก่ สมาธินทรีย์ ๑ สมาธิพละ ๑ สมาธิสัมโภชฌงค์ ๑ สัมมาสมาธิ ๑

๗.อุเบกขาโพชฌงค์ หรือ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก หรือ สัมโพชฌงค์ คืออุเบกขาความเข้าไปเพ่งเฉยอยู่ สงบอยู่ในภายใน ได้แก่ อุเบกขาสัมโภชฌงค์
รวมทั้ง ๗ ประการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2019, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20190425_163027.png
20190425_163027.png [ 538.09 KiB | เปิดดู 1306 ครั้ง ]
๑. สติสัมโพชฌงค์ เป็นคู่ปรับกับอวิชชา
๒. ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์เป็นคู่ปรับกับทิฏฐิ(สักกายทิฏฐิและสีลัพพัตปรามาส)
๓. วิริยะสัมโพชฌงค์เป็นคู่ปรับกับวิจิกิจฉา
๔. ปีติสัมโพชฌงค์เป็นคู่ปรับกับปฏิฆะ
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นคู่ปรับกับกามราคะ
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นคู่ปรับกับภวราคะ(รูปราคะ อรูปราคะ (ภพที่สงบ)กับ อุทธัจจะกุกกุจจะ(ภพที่ไม่สงบ))
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นคู่ปรับกับมานะ

ธัมมวิจยะและวิริยะ ทำลายทิฏฐิและวิจิกิจฉาอนุสัย บรรลุเป็นพระโสดาบันและหรือพระสกทาคามี
ปีติและปัสสัทธิ ทำลายปฏิฆะและกามราคะอนุสัย บรรลุเป็นพระอนาคามี
สมาธิ อุเบกขาและสติ ทำลายรูปราคะ อรูปราคะ อุทธัจจกุกกุจจะ มานะ อวิชชาอนุสัย บรรลุเป็นพระอรหันต์
.......
https://m.youtube.com/watch?v=ZzkvS0qXaz4

http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... 924&Z=4181

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2019, 11:11 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร