วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 94 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กท.นี้ จะว่าด้วยอายตนะ ตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อให้คุณโรสเทียบกับ คคห.ตนเองนี้

อ้างคำพูด:
Rosarin
คุณกรัชกายมีทั้งสมองแล้วก็ตาไม่ได้บอด ไม่รู้จักคิดถึงความปกติตามคำสอน

เนี่ยคุณ มีครบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กำลังเกิดสลับกันครบทั้ง 6 ทาง

ตามปกติตามเหตุตามปัจจัย มีแล้วไม่ได้มีใครทำขึ้นมา มันมีเป็นขันธ์ห้าครบแล้ว

คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้

ทรงรู้ถึงนิพพาน และแสดงความจริง ให้เข้าใจถูกว่ามันดับแล้วถึง 1 ล้านดวงจิตแสนครั้งแล้ว

ไม่เข้าใจ หรือคะ ว่า จิต 89-121 ประเภท

กำลังมีและกำลังวิปลาสคลาดเคลื่อนไปต่างๆกัน
ทุกคนที่คิดเห็นผิดไม่ได้คิดตามคำสอนอยู่ต้องคิดตามอยู่
ถ้าคุณไม่ได้กำลังคิดตามคำสอนแสดงว่าคุณคิดตามตาเนื้อคุณเห็นผิด
เห็นขณะแรก ที่มีแสงสลับ กับ จิต ที่ไม่เห็นอีก 5 ทาง ในความมืด มันสว่าง 1 มืด ต่อ อีก 5
ดูไม่ชัดเหรอคุ๊น คุณเห็นสว่างตา แต่จิตคิดนึกมันมืด ก็คุณคิดผิดว่า คุณเห็น+คิด/เห็น กับ คิดคนละขณะจิตเด่วนี้

viewtopic.php?f=1&t=57466&p=445386#p445386



ถ้าจะพูดให้เห็นภาพก็ คุณโรสเปรียบเหมือนลูกนกที่ไปตกอยู่ในดงโจร คิกๆๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


อายตนะ ที่ติดต่อ, เครื่องติดต่อ, แดนต่อความรู้, เครื่องรู้ และสิ่งที่ถูกรู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่ถูกรู้, หูเป็นเครื่องรู้ เสียงเป็นสิ่งที่ถูกรู้ เป็นต้น จัดเป็น ๒ ประเภท คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖

อายตนะภายนอก เครื่องต่อภายนอก, สิ่งที่ถูกรู้ มี ๖ คือ
๑. รูป สี
๒. สัททะ เสียง
๓. คันธะ กลิ่น
๔. รส รส
๕. โผฏฐัพพะ สิ่งกระทบกาย
๖. ธัมมะ ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ หรือสิ่งที่ใจรู้ อารมณ์ ๖ ก็เรียก

อายตนะภายใน เครื่องต่อภายใน, เครื่องรับรู้ มี ๖ คือ
๑.จักขุ ตา
๒. โสต หู
๓. ฆานะ จมูก
๔. ชิวหา ลิ้น
๕. กาย กาย
๖. มโน ใจ อินทรีย์ ๖ ก็เรียก

อารมณ์ เครื่องยึดหน่วงของจิต, สิ่งที่จิตยึดหน่วง, สิ่งที่ถูกรู้ หรือ ถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์
ในภาษาไทย ความหมายเลือนไปเป็นความรู้สึก หรือความเป็นไปแห่งจิตใจ ในขณะ หรือช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นว่า อย่าทำตามอารมณ์ วันนี้อารมณ์ดี อารมณ์เสีย เป็นต้น

(หากต้องการเข้าใจพุทธธรรม พึงวางภาษาไทยลงก่อน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทความต่อไปนี้ อ่านแล้วไม่ต้องถามใคร อ่านให้เข้าใจ แล้วถามตัวเองรู้จักตนเองเท่าใด ไม่ต้องถึงฝ่ายจิตฝ่ายนามธรรมซึ่งยากเข้าใจดอก เอาแค่การทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายเช่นตับ ปอด หัวใจ เป็นต้น ซึ่งเห็นๆของตนเองเนี่ยเรารู้จักมันแค่ไหนเพียงไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 05:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อายตนะ ๖ แดนรับรู้ และเสพเสวยโลก

แม้ว่าชีวิตจะประกอบด้วยขันธ์ ๕ ซึ่งแบ่งซอยออกไปเป็นหน่วยย่อยต่างๆ มากมาย

แต่ในทางปฏิบัติ คือ ในการดำเนินชีวิตทั่วไป มนุษย์ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนประกอบเหล่านั้นโดยทั่วถึงแต่อย่างใด
ส่วนประกอบหลายอย่างมีอยู่ และทำหน้าที่ของมันไปโดยที่มนุษย์ไม่รู้จัก หรือแม้รู้จัก ก็แทบไม่ได้นึกถึงเลย เช่น ในด้านรูปธรรม หรือร่างกาย อวัยวะภายในร่างกายหลายอย่าง ทำหน้าที่ของมันอยู่โดยที่มนุษย์ ผู้เป็นเจ้าของไม่รู้ และไม่ได้ใส่ใจที่จะรู้ จนบางคราวมันเกิดความวิปริต หรือทำหน้าที่บกพร่องเจ็บป่วยขึ้น มนุษย์จึงจะหันมาสนใจ
แม้องค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนการฝ่ายจิต ก็เป็นเช่นเดียวกัน

การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ และกระบวนการทำงานทางร่างกาย เราปล่อยให้เป็นภาระของนักศึกษาแพทยศาสตร์ และชีววิทยา
ส่วนการศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบ และกระบวนการทำงานด้านจิตใจ ก็ปล่อยให้เป็นภาระของนักจิตวิทยา

แต่สำหรับคนทั่วไป ความหมายของชีวิตอยู่ที่ชีวิตในทางปฏิบัติ หรือ ชีวิตที่ดำเนินอยู่เป็นประจำ ในแต่ละวัน ซึ่งได้แก่การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลก สิ่งที่ให้ความหมายแก่ชีวิต ก็คือ การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลก
พูดสั้นๆว่า ชีวิตตามความหมายของมนุษย์ คือ ชีวิตโดยความสัมพันธ์ กับ โลก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อายตนะ ๖ แดนรับรู้ และเสพเสวยโลก

แม้ว่าชีวิตจะประกอบด้วยขันธ์ ๕ ซึ่งแบ่งซอยออกไปเป็นหน่วยย่อยต่างๆ มากมาย

แต่ในทางปฏิบัติ คือ ในการดำเนินชีวิตทั่วไป มนุษย์ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนประกอบเหล่านั้นโดยทั่วถึงแต่อย่างใด
ส่วนประกอบหลายอย่างมีอยู่ และทำหน้าที่ของมันไปโดยที่มนุษย์ไม่รู้จัก หรือแม้รู้จัก ก็แทบไม่ได้นึกถึงเลย เช่น ในด้านรูปธรรม หรือร่างกาย อวัยวะภายในร่างกายหลายอย่าง ทำหน้าที่ของมันอยู่โดยที่มนุษย์ ผู้เป็นเจ้าของไม่รู้ และไม่ได้ใส่ใจที่จะรู้ จนบางคราวมันเกิดความวิปริต หรือทำหน้าที่บกพร่องเจ็บป่วยขึ้น มนุษย์จึงจะหันมาสนใจ
แม้องค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนการฝ่ายจิต ก็เป็นเช่นเดียวกัน

การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ และกระบวนการทำงานทางร่างกาย เราปล่อยให้เป็นภาระของนักศึกษาแพทยศาสตร์ และชีววิทยา
ส่วนการศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบ และกระบวนการทำงานด้านจิตใจ ก็ปล่อยให้เป็นภาระของนักจิตวิทยา

แต่สำหรับคนทั่วไป ความหมายของชีวิตอยู่ที่ชีวิตในทางปฏิบัติ หรือ ชีวิตที่ดำเนินอยู่เป็นประจำ ในแต่ละวัน ซึ่งได้แก่การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลก สิ่งที่ให้ความหมายแก่ชีวิต ก็คือ การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลก
พูดสั้นๆว่า ชีวิตตามความหมายของมนุษย์ คือ ชีวิตโดยความสัมพันธ์ กับ โลก

:b32:
แดน
เห็นคำนี้คำเดียว
เห็นผิดจำผิดตีความต่ออีก
:b32:
ไม่ได้รู้อะไรเลย
เหมือนฝั่งมหาสมุทร
มี2ฝั่งคือ1ฝั่งรู้กับ2ฝั่งไม่รู้
ที่ไกลกันมากอ่านไปคิดไปเท๊อะ
ความจริงตามคำสอนไม่ใช่ความคิด
คิดว่ามีตัวอักษรมาเสนอหน้าให้เอาไปทำตาม
หลงคิดผิดว่ามีตัวเราอยากจะไปทำจนตัวสั่นลืมฟังคำสอนแล้ว
:b12:
อายตนะคือที่ประชุมรวมกันตรงที่มีจิตครองกายตนเอง
และตรงไหนที่ไม่มีจิตครองแต่ส่งออกไปรับสัญญาณภาพไม่ใช่สัจจะ
เพราะอริยสัจธรรมที่ตถาคตทรงแสดงพระธรรมให้เข้าใจถูกตามได้มีภายในจิตไม่มีตัวตน
https://youtu.be/lzuGTjph7BE
:b12:
:b20: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ :b16:

ชีวิตในทางปฏิบัติหรือชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลกนี้ แบ่งออกได้เป็น ๒ ภาค แต่ละภาคมีระบบการทำงาน ซึ่งอาศัยช่องทางที่ชีวิตจะติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกได้ ซึ่งเรียกว่า “ทวาร” (ประตู ช่องทาง) ดังนี้

๑. ภาครับรู้และเสพเสวยโลก อาศัยทวาร ๖ (sense-doors) (ผัสสทวาร) คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำหรับรับรู้ และเสพเสวยโลก ซึ่งปรากฏแก่มนุษย์โดยลักษณะ และอาการต่างๆ ที่เรียก ว่า อารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์

๒. ภาคแสดงออก หรือ กระทำต่อโลก อาศัยทวาร ๓ (channels of action) (กรรมทวาร) คือ กาย วาจา ใจ (กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร) สำหรับกระทำตอบต่อโลก โดยแสดงออกเป็น การทำ การพูด และการคิด (กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม)

ในภาคที่ ๑ มีข้อที่พึงย้ำเป็นพิเศษเพื่อสะดวกแก่การศึกษาต่อไปว่า คำว่า "ทวาร" (ในทวาร ๖) นั้น เมื่อกล่าวถึงในระบบการทำงานของกระบวนธรรมแห่งชีวิต ท่านนิยมเปลี่ยนไปใช้คำว่า “อายตนะ” ซึ่งแปลว่า แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือ ทางรับรู้ ดังนั้น ในการศึกษาเรื่องนี้ต่อไป จะใช้คำว่า “อายตนะ” แทนคำว่า “ทวาร”

ในภาคที่ ๒ พึงย้ำว่า กระบวนธรรมของชีวิตในภาคนี้ รวมอยู่ในขันธ์ที่ ๔ คือ สังขารขันธ์ ที่กล่าวมาแล้ว ในบทก่อน สังขารต่างๆ ในสังขารขันธ์ ซึ่งมีอยู่มากมาย แบ่งเป็นฝ่ายดี บ้าง ฝ่ายชั่ว บ้าง ฝ่ายกลางๆบ้าง จะปรากฏตัวออกมาปฏิบัติการโดยถูกเจตนาที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นตัวแทนเลือกชักจูงมา หรือ จัดแจงมอบหมายหน้าที่ให้ช่วยกันทำการปรุงแต่งการแสดงออก หรือ การกระทำทาง กาย วาจา ใจ เกิดเป็นกรรม คือ การทำ การพูด การคิด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2019, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรกความหมายคำว่า "โลก" ประเด็นที่กล่าวถึงหน่อยก่อน

มีพุทธพจน์ตรัสว่า ในอริยวินัย (ระบบอริยะ หรือแบบแผนของอารยชน) เรียก กามคุณ ๕ ว่าเป็นโลก หรือว่า โลกก็คือกามคุณ ๕ นั่นเอง ผู้ยังติดอยู่ในกามสุข ก็คือติดข้องอยู่ในโลก


ผู้ใดเข้าถึงฌาน จะเป็นรูปฌาน หรืออรูปฌานก็ตาม ท่านเรียกผู้นั้นว่า ได้มาถึงที่สุดของโลกแล้ว และอยู่ ณ ที่สุดแห่งโลก แต่ก็ยังเป็นผู้เนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตัวไม่พ้นจากโลก


ส่วนผู้ใด ก้าวล่วงอรูปฌานขั้นสุดท้ายไปได้แล้ว เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ และเป็นผู้หมดอาสวะ เพราะเห็นสัจธรรมด้วยปัญญา ผู้นี้ จึงจะเรียกได้ว่า ได้มาถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว อยู่ ณ ที่สุดแห่งโลก และทั้งได้ข้ามพ้นโยงใยที่เหนี่ยวพันให้ติดอยู่ในโลกไปได้แล้ว* (ดู องฺ.นวก.23/242/448 - โยงใยที่เหนี่ยวพันให้ติดอยู่ แปลเอาความจากคำว่า "วิสัตติกา" ซึ่งตามปกติท่านอธิบายว่า หมายถึง ตัณหา และแปลกันว่า ตัณหาเครื่องข้อง)


อารยะ คนเจริญ, คนมีอารยธรรม; พวกชนชาติ อริยกะ (ตรงกับบาลีว่า อริยะ แต่ในภาษาไทยใช้ในความหมายต่างกัน)

อารยชน ชนที่เจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงาม

อารยธรรม ธรรมอันดีงาม, ธรรมของอารยชน, ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงาม; ในทางธรรม หมายถึง กุศลกรรมบถ ๑๐

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ในกรณีนี้ สังขารจะถูกจัดประเภทเสียใหม่ให้สอดคล้องกับบทบาทของมัน โดยแบ่งตามทาง หรือ ทวารที่แสดงออก เป็นกายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร

เรียกตามชื่อหัวหน้า หรือ ตัวแทนว่า กายสัญเจตนา วจีสัญเจตนา และมโนสัญเจตนา หรือ

เรียกตามงานที่ทำออกมาว่า กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม

แสดงให้เห็นง่ายขึ้น ดังนี้

๑. กายสังขาร- - - - - - - - - = กายสัญเจตนา- - - - - - - - กายทวาร =>กายกรรม

(สภาพปรุงแต่งการกระทำทางกาย = ความจงใจ(แสดงออก)ทางกาย - - ทางกาย - - -การกระทำทางกาย)

๒.วจีสังขาร- - - - - - - - - - -= วจีสัญเจตนา - - - - - - - - - วจีทวาร=>วจีกรรม

(สภาพปรุงแต่งการกระทำทางวาจา = ความจงใจ(แสดงออก)ทางวาจา - ทางวาจา - - การกระทำทางวาจา)

๓. มโนสังขาร - - - - - - - - - = มโนสัญเจตนา - - - - - - - -มโนทวาร=> มโนกรรม

(สภาพปรุงแต่งการกระทำทางใจ = ความจงใจ(แสดงออก)ทางใจ- - - - ทางใจ - - - - การกระทำทางใจ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังขารในฐานะเครื่องปรุงแต่งคุณภาพ หรือ คุณสมบัติต่างๆของจิต ได้กล่าวแล้วในเรื่องขันธ์ ๕
ส่วนสังขารในฐานะกระบวนการปรุงแต่งแสดงออก และกระทำการต่างๆ ต่อโลก เป็นเรื่อง กิจกรรมของชีวิต ซึ่งจะแสดงเป็นพิเศษส่วนหนึ่งต่างหาก ในตอนว่าด้วยชีวิตเป็นไปอย่างไร (ตอน: ปฏิจจสมุปบาท)
ในที่นี้ จะมุ่งแสดงแต่สภาวะอันเนื่องอยู่ที่ตัวชีวิตเอง หรือ องค์ประกอบของชีวิต พร้อมทั้งหน้าที่ของมันตามสมควร จึงจะกล่าวเฉพาะภาคที่ ๑ คือ เรื่องอายตนะ ๖ (ผัสสทวาร) อย่างเดียว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้ คุณโรสมีอะไรตรงไหนเห็นแย้งเห็นต่างบ้าง :b10: เต็มเหนี่ยวหัวชนฝาไปเลยขอรับ :b12:

พึงวางความคิดแบบไทยๆลงก่อนจึงจะเข้าใจภาษาธรรม โดยเฉพาะคำว่า "กรรม" ในที่นี้ (กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวสภาวะ

อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หรือแดน หมายถึง ที่ต่อกันให้เกิดความรู้
แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือ แหล่งที่มาของความรู้ แปลอย่างง่ายๆว่า ทางรับ รู้ มี ๖ อย่าง ดังที่เรียกในภาษาไทย ว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ *

ที่ว่า ที่ต่อ หรือเชื่อมต่อ ให้เกิดความรู้นั้น ต่อ หรือ เชื่อมต่อกับ อะไร?

ตอบว่า เชื่อมต่อกับโลก คือ สภาพแวดล้อมภายนอก

แต่โลกนั้นปรากฏลักษณะอาการแก่มนุษย์เป็นส่วนๆ ด้านๆ ไป เท่าที่มนุษย์จะมีแดน หรือ เครื่องมือสำหรับรับรู้ คือ เท่าจำนวนอายตนะ ๖ ที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น
ดังนั้น อายตนะ ทั้ง ๖ จึงมีคู่ของมันอยู่ในโลกเป็นสิ่งที่ถูกรับรู้สำหรับแต่ละอย่างๆ โดยเฉพาะ

สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือ ลักษณะอาการ ต่างๆ ของ โลกเหล่านี้ เรียกชื่อว่า อายตนะ เหมือนกัน เพราะเป็นสิ่งที่ เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือเป็นแหล่งความรู้ เช่นเดียวกัน แต่เป็นฝ่ายภายนอก เพื่อแยกประเภทจากกันไม่ให้สับสน

ท่านเรียกอายตนะพวกแรก ว่า “อายตนะภายใน” (แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน) และ

เรียกอายตนะพวกหลังนี้ว่า “อายตนะภายนอก” (แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก)

อายตนะภายนอก ๖ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต้องกาย และสิ่งที่ใจนึก โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า “อารมณ์” แปล ว่า สิ่งอันเป็นที่สำหรับจิตมาหน่วงอยู่ หรือ สิ่งสำหรับยึดหน่วงของ จิต แปลง่ายๆว่า สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือ สิ่งที่ถูกรู้ นั่นเอง

เมื่ออายตนะ (ภายใน) ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์ (อายตนะภายนอก) * (คำว่า ทวาร นิยมใช้คู่กับอารมณ์,อายตนะภายใน คู่กับ อายตนะภายนอก แต่ในที่นี้ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาต่อไปจะเรียกอายตนะภายในว่า อายตนะ เรียกอายตนะภายนอกว่า อารมณ์) ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ก็จะเกิดความรู้จำเพาะด้าน ของอายตนะแต่ละอย่างๆ ขึ้น เช่น

ตา กระทบ รูป เกิดความรู้ เรียกว่า เห็น

หู กระทบเสียง เกิดความ รู้ เรียกว่าได้ยิน เป็นต้น

ความรู้จำเพาะแต่ละด้านนี้เรียก ว่า วิญญาณ แปลว่า ความรู้แจ้ง คือรู้อารมณ์

ดังนั้น จึงมีวิญญาณ ๖ อย่าง เท่ากับอายตนะและอารมณ์ ๖ คู่ คือ
วิญญาณทางตา ได้แก่ เห็น

วิญญาณทางหู ได้แก่ ได้ยิน

วิญญาณทางจมูก ได้แก่ ได้กลิ่น

วิญญาณทางลิ้น ได้แก่ รู้รส

วิญญาณทางกาย ได้แก่ รู้สิ่งต้องกาย

วิญญาณทางใจ ได้แก่ รู้อารมณ์ทางใจ หรือรู้เรื่องในใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2019, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิง * คคห.บน

* คำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์ “อายตนะ” มีความหมายหลายนัย เช่น แปลว่า เป็นที่สืบต่อแห่งจิตและเจตสิก คือ เป็นที่ที่จิตและเจตสิกทำหน้าที่กันง่วน
เป็นที่แผ่ขยายจิตและเจตสิกให้กว้างขวางออกไป
เป็นตัวการนำสังสารทุกข์อันยืดเยื้อให้ดำเนินสืบต่อไปอีก
เป็นบ่อเกิด แหล่ง ที่ชุมนุม เป็นต้น (วิสุทธิ.3/61ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปได้ว่า อายตนะ ๖ อารมณ์ ๖ และวิญญาณ ๖ (ที.ปา.11/304-306/255) มีชื่อในภาษาธรรม และมีความเกี่ยวเนื่องกัน ดังนี้

๑. จักขุ - ตา เป็นแดนรับรู้ รูป - - รูป - เกิดความรู้คือ จักขุวิญญาณ -เห็น

๒. โสตะ -หู ,, ---------,, สัททะ -เสียง ,,-------------,,โสตวิญญาณ-ได้ยิน

๓. ฆานะ -จมูก ,,--------,, คันธะ - กลิ่น ,,--------------,,ฆานวิญญาณ-ได้กลิ่น

๔. ชิวหา -ลิ้น ,,----------,, รส - - รส ,,---------------,,ชิวหาวิญญาณ-รู้รส

๕. กาย - กาย ,,--------,,โผฏฐัพพะ-สิ่งต้องกาย ,,-----,,กายวิญญาณ-รู้สิ่งต้องกาย

๖. มโน - ใจ ,,--------- ,, ธรรม * - เรื่องในใจ,,--------,, มโนวิญญาณ-รู้เรื่องในใจ

ที่อ้างอิง *
* นิมยมเรียก ธรรมารมณ์ เพื่อไม่ให้สับสนกับคำว่า ธรรม ที่ใช้ทั่วไป ซึ่งมีความหมายกว้างขวางมากหลายนัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พยายามจัดพยายามทำเพื่อให้คุณโรสเข้าใจ ไม่รู้จะเข้าใจมั่งป่าวไม่รู้ เบื้องต้นแยกคำบาลีกับคำแปลเป็นไทยให้ชัด ดูว่า ศัพท์ไหนซ้ำกันบ้าง รูป-รูป -รส-รส- กาย-กาย เป็นต้น ดังนั้นเวลาพูดถึงในใจต้องเข้าใจชัด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2019, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พยายามจัดพยายามทำเพื่อให้คุณโรสเข้าใจ ไม่รู้จะเข้าใจมั่งป่าวไม่รู้ เบื้องต้นแยกคำบาลีกับคำแปลเป็นไทยให้ชัด ดูว่า ศัพท์ไหนซ้ำกันบ้าง รูป-รูป -รส-รส- กาย-กาย เป็นต้น ดังนั้นเวลาพูดถึงในใจต้องเข้าใจชัด

:b12:
อายตนะ6กำลังมีและกำลังเกิดดับนับไม่ถ้วนถึงแสนโกฏิขณะ
ทำอะไรได้ไหมคะก็มันดับหมดแล้วนับไม่ถ้วนเลือกเอาสัก1ทาง
เพื่อคิดถูกตามตรงทางที่กำลังมีไม่ใช่ไปจำบัญญัติคำของตถาคต
เข้าใจให้ตรงทีละ1ทางเพราะแต่ละทางไม่เกิดปนกันและไม่เกิดพร้อมกัน
:b32: :b32:
https://youtu.be/IejmQhKH5rg


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 94 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 57 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร