วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ Love J. คุณ แค่อากาศ วันหนึ่งมี 24 ชม.
ทำกรรมฐานวันละกี่ครั้ง และครั้งละกี่ชม.?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2019, 20:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
คุณ Love J. คุณ แค่อากาศ วันหนึ่งมี 24 ชม.
ทำกรรมฐานวันละกี่ครั้ง และครั้งละกี่ชม.?


กี่ครั้งไม่ต้องนับเพราะคงนับไม่ได้ แต่ละครั้งไม่นานนัก และไม่ได้เอาเป็นเอาตายอะไรครับ อันนี้ต้องปรับปรุง
ก็รู้ตัวอยู่ แต่จะลองจัดเต็มตอนบวชอีกไม่นานนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 10:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b20: :b20: :b20: หนูไม่ได้ทำเลยอะป้า กี่ครั้ง กี่ชั่วโมง s005 s005 หนูบ่ได้ทำ s007 s007

:b20: :b20: :b20: หนูขอโทษนะ !!!!

หนูแค่ทำตามสติกำลัง จะมากแค่ไหน น้อยยังไง พอใจที่ได้ทำสะสมเหตุไปเท่านั้นครับ ยินดีแต่ไม่ปารถนาในผล กล่าวคือ มีผลเป็นที่ยินดีในจุดหมาย พอใจที่ได้ทำ แต่ไม่กระสันจะเอาผล ทำให้เป็นที่สบายกายใจ แต่ทำบ่อยๆเนืองๆไม่ขาด สะสมเหตุไปพอมันเต็มมันได้เอง เหตุยังไม่ทำจะไปเอาผลได้อย่างไร :b12: :b12: :b12:

- ระลึกเสมอๆว่าชาตินี้ชาติแรกเราเพิ่งเริ่มต้นทำสะสม ทำให้ดี ให้ไม่ขาด สะสมเหตุไปเป็นพอ พอมันเต็มมันแสดงผลเอง ทางปฏิบัติที่ถูกดีมีอุปการะมาก คือที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว แต่เราแค่ปุถุชนคิดเองเออเองก็มั่วได้ การได้พบเจอครูบาอาจารย์พระอริยะสงฆ์สาวกมีอุปการะมาก พบเจอครูบาอาจารย์เรียนรู้กับท่าน เวลาทำก็พิจารณาดูความเป็นไปของตน สิ่งใดมากไปให้ลดลงหรือคงไว้ สิ่งใดน้อยไปให้เพิ่ม สิ่งใดที่พอดีแล้วให้คงสภาวะไว้ สิ่งนี้มันติดตามเราไปทุกชาติจนถึงพระนิพพาน

อิทธิบาท ๔ ผู้เริ่มสะสมเหตุ ของปุถุชนฝึกใช้ทั้งทางโลกและทางธรรม
อิทธิบาท ๔ ของคนที่ได้รู้เห็นจริงบ้างแล้วสะสมเหตุเพื่อให้เข้าถึงยิ่งๆขึ้น
อิทธิบาท ๔ ในองค์ธรรมเพื่อตรัสรู้

:b16: :b16: :b16: ธรรมพระพุทธเจ้ามี 3 ระดับเสมอ :b20: :b20: :b20:



-----------------------------------------------------

*แถมท้ายครับ*

หากจะกล่าวให้ปุถุชน..ไม่ว่าจะเป็นผมหรือใครให้คล้อยตามได้ หากผมถึงธรรม ผมจะจำแนกธรรมออกแสดงตามกาล

เบื้องต้นกล่าวถึงการทำสะสมเหตุของปุถุชน โดยชี้ให้เห็นว่าการเจริญแบบนี้ มีผลอย่างไรบ้าง หากทำได้ก็เข้าถึงสิ่งใด ธรรมใด แล้วอ้างอิงตามพระไตรว่าพระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยนี้ที่ได้บรรลุบทอันกระทำแล้วท่านเห็นอย่างนี้ มีอย่างนี้ๆ ได้อย่างนี้ ก็แลเมื่อการสะสมเหตุนั้นของปุถุชนนั้นแลย่อมเป็นไปย่อมเกื้อกูลย่อมถึงผลของความเป็นอย่างพระอริยะสาวกแบบนี้ๆ ประเภทนี้ๆ ระดับนี้ๆ ขั้นนี้ๆ ..กุลบุตร-กุลธิดาผู้ฉลาดควรกระทำตามกิจอันพระอริยะบรรลุบทอันกระทำแล้ว

- แนวทางไม่ยาก ทำได้ไม่ยาก สิ่งเข้าถึงอยู่แค่เอื้อม(ตรงนี้คนที่เข้าถึงธรรมแท้ฉลาดใธรรมสามารถแสดงได้) แต่ผลลัพธ์จากการปฏิบัติที่ทำได้คนทั่วไปที่ไม่รู้ทางจะไม่อาจเข้าถึงได้ แต่คนที่รู้ทางแล้วทำสามารถสะสมเหตุไปถึงผลได้ เมื่อน้อมระลึกทำที่ใจเมื่อไหร่ย่อมให้ผลได้ไม่จำกัดกาล นี่ทำให้พระธรรมของพระพุทธเจ้าทรงคุณค่ายิ่ง

อย่างนี้แม้ปุถุชนก็เห็นได้ รู้ได้ ทำได้ มีเป้าหมายกระทำ ธรรมอันที่ผมจำแนกอธิบายก็ชื่อว่าควรแก่การกล่าวกะผู้อื่นว่า..ท่านจงมาดูเถิด พระธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ได้เจาะจงจำเพราะพระอริยะเท่านั้น แต่เพื่อเกื้อกูลสัตว์ทั้งหลายให้เห็นทางพ้นทุกข์

:b16: :b16: :b16:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 17 เม.ย. 2019, 12:17, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 10:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
สาธุครับ :b8: :b8: :b8:

ว่าแต่ว่าท่านอ๊บกับท่านเอกอนหายไปไหนนะ หรือไปแอบอยู่ที่ไหนกันนี่


ทะแม่ง...ทะแม่ง...งัยไม่รู้..เลยมาส่องดู..

อุ้ย....มีคนพาดพิงถึงเราด้วย... :b4: :b4:

ม่ายรู้จะคุยอะไรครับ..

:b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 10:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
สาธุครับ :b8: :b8: :b8:

ว่าแต่ว่าท่านอ๊บกับท่านเอกอนหายไปไหนนะ หรือไปแอบอยู่ที่ไหนกันนี่


ทะแม่ง...ทะแม่ง...งัยไม่รู้..เลยมาส่องดู..

อุ้ย....มีคนพาดพิงถึงเราด้วย... :b4: :b4:

ม่ายรู้จะคุยอะไรครับ..

:b17: :b17: :b17:


คิดถึงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง
ท่านอ๊บ ท่านเอกอนสวัสดีปีใกหม่ไทยครับ คิดถึงๆๆๆๆ ไม่เจอนาน จุ๊บๆๆๆๆๆ :b15: :b15: :b15:

:b17: :b17: :b17:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 11:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
สาธุครับ :b8: :b8: :b8:

ว่าแต่ว่าท่านอ๊บกับท่านเอกอนหายไปไหนนะ หรือไปแอบอยู่ที่ไหนกันนี่


ทะแม่ง...ทะแม่ง...งัยไม่รู้..เลยมาส่องดู..

อุ้ย....มีคนพาดพิงถึงเราด้วย... :b4: :b4:

ม่ายรู้จะคุยอะไรครับ..

:b17: :b17: :b17:

:b32: :b32: :b32:
แค่อากาศ เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
สาธุครับ :b8: :b8: :b8:

ว่าแต่ว่าท่านอ๊บกับท่านเอกอนหายไปไหนนะ หรือไปแอบอยู่ที่ไหนกันนี่


ทะแม่ง...ทะแม่ง...งัยไม่รู้..เลยมาส่องดู..

อุ้ย....มีคนพาดพิงถึงเราด้วย... :b4: :b4:

ม่ายรู้จะคุยอะไรครับ..

:b17: :b17: :b17:


คิดถึงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง
ท่านอ๊บ ท่านเอกอนสวัสดีปีใกหม่ไทยครับ คิดถึงๆๆๆๆ ไม่เจอนาน จุ๊บๆๆๆๆๆ :b15: :b15: :b15:

:b17: :b17: :b17:

:b1: สวัสดีปีใหม่ไทยเช่นกัน :b1:

:b1: ไม่ได้ไปไหนไกลหรอก เอกอนก็มาดูพวกท่านสนทนากันนั่นล่ะ
แต่ตามทันบ้าง ไม่ทันบ้าง :b1:

ซึ่งบรรยากาศก็ยังคงดี ๆ อยู่
น้ำยังใสยังเห็นปลาว่ายไปว่ายมา
ก็นั่งดูไป ... :b12:
ขืนเอะอะไรไป เด๋วจะพลันเสียบรรยากาศ
:b1:

eragon_joe เขียน:
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 12:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
สาธุครับ :b8: :b8: :b8:

ว่าแต่ว่าท่านอ๊บกับท่านเอกอนหายไปไหนนะ หรือไปแอบอยู่ที่ไหนกันนี่


ทะแม่ง...ทะแม่ง...งัยไม่รู้..เลยมาส่องดู..

อุ้ย....มีคนพาดพิงถึงเราด้วย... :b4: :b4:

ม่ายรู้จะคุยอะไรครับ..

:b17: :b17: :b17:

:b32: :b32: :b32:
แค่อากาศ เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
สาธุครับ :b8: :b8: :b8:

ว่าแต่ว่าท่านอ๊บกับท่านเอกอนหายไปไหนนะ หรือไปแอบอยู่ที่ไหนกันนี่


ทะแม่ง...ทะแม่ง...งัยไม่รู้..เลยมาส่องดู..

อุ้ย....มีคนพาดพิงถึงเราด้วย... :b4: :b4:

ม่ายรู้จะคุยอะไรครับ..

:b17: :b17: :b17:


คิดถึงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง
ท่านอ๊บ ท่านเอกอนสวัสดีปีใกหม่ไทยครับ คิดถึงๆๆๆๆ ไม่เจอนาน จุ๊บๆๆๆๆๆ :b15: :b15: :b15:

:b17: :b17: :b17:

:b1: สวัสดีปีใหม่ไทยเช่นกัน :b1:

:b1: ไม่ได้ไปไหนไกลหรอก เอกอนก็มาดูพวกท่านสนทนากันนั่นล่ะ
แต่ตามทันบ้าง ไม่ทันบ้าง :b1:

ซึ่งบรรยากาศก็ยังคงดี ๆ อยู่
น้ำยังใสยังเห็นปลาว่ายไปว่ายมา
ก็นั่งดูไป ... :b12:
ขืนเอะอะไรไป เด๋วจะพลันเสียบรรยากาศ
:b1:

eragon_joe เขียน:
รูปภาพ



หูยท่านเอกอนโดนปะแป้งบ้างปะครับ :b32: :b32: :b32: ส่วนท่านอ๊บลูกหลายคงให้นั่งเก้าอี้เอาพวงมาลัยแช่น้ำอบรถน้ำไหว้แระ :b32: :b32: :b32:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 12:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:

หูยท่านเอกอนโดนปะแป้งบ้างปะครับ :b32: :b32: :b32: ส่วนท่านอ๊บลูกหลายคงให้นั่งเก้าอี้เอาพวงมาลัยแช่น้ำอบรถน้ำไหว้แระ :b32: :b32: :b32:


:b32: ...ปลอดภัยไร้กังวล... :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 12:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

:b32: ...ปลอดภัยไร้กังวล... :b32:



อย่างนี้ก็แสดงว่าไม่มีคนเข้าใกล้ปะแป้งเลยจิครับ อิอิอิ :b32: :b32: :b32:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 16:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
eragon_joe เขียน:

:b32: ...ปลอดภัยไร้กังวล... :b32:



อย่างนี้ก็แสดงว่าไม่มีคนเข้าใกล้ปะแป้งเลยจิครับ อิอิอิ :b32: :b32: :b32:


:b32: :b32: :b32:

เพราะไม่ได้ไปไหนเรยยยย
เก็บตัวอยู่บ้านอย่างมิดชิด

:b4: :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 16:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
แค่อากาศ เขียน:
eragon_joe เขียน:

:b32: ...ปลอดภัยไร้กังวล... :b32:



อย่างนี้ก็แสดงว่าไม่มีคนเข้าใกล้ปะแป้งเลยจิครับ อิอิอิ :b32: :b32: :b32:


:b32: :b32: :b32:

เพราะไม่ได้ไปไหนเรยยยย
เก็บตัวอยู่บ้านอย่างมิดชิด

:b4: :b4: :b4:



นึกว่าท่านเอกอน ออกจากบ้านทุกวันแต่ำไม่มีใครสาดน้ำ ปะแป้งเลย :b9: :b9: :b9:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2019, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์
ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์
นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ




ว่าด้วยเหตุเกิดของกรรม ๓ อย่าง

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้ มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

๓ ประการเหล่าไหนเล่า ?
๓ ประการ คือ :-

โลภะ (ความโลภ) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย,
โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย,
โมหะ (ความหลง) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทั้งหลาย ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูกทำลายด้วยลมและแดด
เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี อันบุคคลหว่านไปแล้ว ในพื้นที่ซึ่งมีปริกรรมอันกระทำดีแล้วในเนื้อนาดี.

อนึ่ง สายฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงถึงซึ่งความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์โดยแน่นอน, ฉันใด;
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือ

กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย อันใด;
กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.
กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง
ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่าง ในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า เป็นไปอย่าง ในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา)
หรือว่า เป็นไปอย่าง ในอปรปริยายะ (คือ ในเวลาต่อมาอีก) ก็ตาม.



กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย อันใด;
กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.
กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง
ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.


กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นสมุทัย อันใด;
กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.
กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง
ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการ เหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.
ติก. อํ. ๒๐/๑๗๑/๔๗๓.





สภาวะที่มีเกิดขึ้นในชีวิต จะเป็นแบบนี้


walaiporn เขียน:


ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายก็เป็นทุกข์
การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นนั่น ก็เป็นทุกข์
กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้
ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ) ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา) การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ) ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ(สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง









๙. นิพเพธิกสูตร

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม
เหตุเกิดแห่งกรรม
ความต่างแห่งกรรม
วิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรม
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม

ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี
ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี
ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี
ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี
ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี
นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม


ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ
คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑
กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑
กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑
นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม


ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้น
เพราะความดับแห่งผัสสะ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวก
ย่อมทราบชัดกรรม
เหตุเกิดแห่งกรรม
ความต่างแห่งกรรม
วิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรม
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ

เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์
อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส เป็นที่ดับกรรมนี้

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ



เหตุเกิดของกรรม ๓ อย่าง

ภิกษุทั้งหลาย! เหตุ ๓ ประการนี้ เป็นไป
เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.

เหตุ ๓ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ?
คือ ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ(ความรักใคร่ พอใจ) ที่เป็นอดีต ๑,
ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑,
ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑.

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น
ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้น ผูกไว้แล้ว
เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์ (เครื่องผูก)

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล.



ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างไรเล่า?
คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง
เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้น ผูกไว้แล้ว
เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล.


ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไรเล่า?
คือบุคคลตรึกตรองถึงธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า
เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว
เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.



ภิกษุทั้งหลาย! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
ภิกษุทั้งหลาย! (อีกอย่างหนึ่ง)เหตุ ๓ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
เหตุ ๓ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ?

คือ ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต ๑,
ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑,
ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑.

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างไร ?

คือ บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว
ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น
ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล.


ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างไรเล่า?
คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง
ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น
ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล.



ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไรเล่า?
คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า
ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น
ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.


ภิกษุทั้งหลาย! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.

ติก. อํ. ๒๐/๓๓๙/๕๕๒.





กายนี้ เป็น “กรรมเก่า”

ภิกษุทั้งหลาย ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคลเหล่าอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต),
เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต),
เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย).

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า

“ด้วยอาการอย่างนี้ :
เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี;
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี;
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงดับไป :

ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้น นั่นเทียว,
จึงมีความดับแห่งสังขาร, เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; … ฯลฯ …
ฯลฯ … ฯลฯ … เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ แล.

นิทาน. สํ. ๑๖/๗๗/๑๔๓.








ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย
ทั้งใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ และกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา. ….

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ (ตา) …. โสตะ (หู) …. ฆานะ (จมูก) …. ชิวหา (ลิ้น) …. กายะ (กาย) …. มนะ (ใจ)

อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า)
อภิสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น)
อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัย ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น)
เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด,
อันนี้เรียกว่า กรรมใหม่.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม)เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด,
อันนี้เรียกว่า กัมมนิโรธ.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัม ม นิโ รธค ามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค
(อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ(การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ(ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า)
กรรมเก่า เราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย กรรมใหม่เราก็แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เราก็ได้แสดงแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย,
กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.


ภิกษุทั้งหลาย ! นั่นโคนไม้, นั่นเรือนว่าง.
พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท,
อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.
นี้แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.

สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗-๒๓๑.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปหน่อยซิ. เรียนรู้อริยสัจ. สรุปอย่างไร ถึงจะกำจัดกิเลสได้จริง

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
walaiporn เขียน:
ก่อนที่มีพระธรรมคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เรื่อง สัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล



ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล

[๔๖๙] พระนครสาวัตถี.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

จักษุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

จมูกไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้

เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด.

เราเรียกผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้.

เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.







๙. เทวธาวิตักกสูตร

ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน

เรื่องวิตก

[๒๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

[๒๕๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนแต่ตรัสรู้ทีเดียว ได้คิดอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงแยกวิตกให้เป็น ๒ ส่วนๆ ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงแยก กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนหนึ่ง
และแยกเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้กามวิตกย่อมบังเกิดขึ้น
เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่ามันย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง
ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ
ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล ละเสีย บรรเทาเสีย
ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป




ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ พยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ

วิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
ทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลละเสีย บรรเทาเสีย
ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆได้ทำให้มันหมดสิ้นไป.



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงพยาบาทวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่พยาบาทวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในสรทสมัยเดือนท้ายแห่งปี
คนเลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายในที่คับคั่งด้วยข้าวกล้า
เขาต้องตี ต้อนโคทั้งหลายจากที่นั้นๆ กั้นไว้ ห้ามไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนเลี้ยงโคมองเห็นการฆ่า การถูกจำ การเสียทรัพย์ การถูกติเตียน
เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แลเห็นโทษ
ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย
และเห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้ว ของกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้
เนกขัมมวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่าเนกขัมมวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี
เราก็ยังมองไม่เห็นภัย อันจะบังเกิดแต่เนกขัมมวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดทั้งกลางคืน
และกลางวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย ก็แต่ว่าเมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป
ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่านเมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ




ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ
ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะปรารถนาไว้ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปแล้ว
อยู่อย่างนี้อัพยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ

อวิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า
อวิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย [คือตนและบุคคลอื่น]
เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดวันก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตนั้น ตลอดทั้งคืนและกลางวันก็ดี
เราก็ยังมองไม่เห็นภัยภัยจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย
ก็แต่ว่า เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย
เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ
ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?
เพราะหมายในใจว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลยดังนี้.




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก
เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆมาก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตกเสียได้
ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก เธอก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้
ทำอัพยาบาทวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาทวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก เธอก็จะละวิหิงสาวิตกเสียได้
ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็น้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน คนเลี้ยงโคจะต้องรักษาโคทั้งหลาย ในที่ใกล้บ้านในทุกด้าน
เมื่อเข้าไปสู่โคนต้นไม้ หรือไปสู่ที่แจ้ง จะต้องทำสติอยู่เสมอว่า นั้นฝูงโค [ของเรา] ดังนี้ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้น ต้องทำสติอยู่เสมอว่า เหล่านี้เป็นธรรม [คือกุศลวิตก] ดังนี้.







walaiporn เขียน:
๙. เทวธาวิตักกสูตร
ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน
เรื่องวิตก


ว่าด้วยวิชชา ๓

[๒๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้ปรารภความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อนแล้ว
มีสติมั่นคง ไม่เลอะเลือนแล้ว มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่ายแล้ว มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นอันเดียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ...
บรรลุจตุตถฌาน ... เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอักมาก
คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ
เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่หนึ่งนี้แล เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว
วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น
ก็เพราะเราไม่ประมาทมีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น


หมายเหตุ;

โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล






เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว
เราจึงโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย
เรานั้นย่อมเห็นสัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้

เราย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้


หมายเหตุ;

สกิทาคามรรค สกิทาคาผล






ดูกรภิกษุทั้งหลายวิชชาที่สองนี้แล เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี
เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงเกิดขึ้น
ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น


หมายเหตุ;

อนาคามิมรรค อนาคามิผล





เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควร แก่การงาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่สามนี้แล เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี
เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น
ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลสส่งตนไปอยู่ฉะนั้น.


หมายเหตุ;

อรหันตมรรค อรหันตผล











สุริยสูตร

[๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน ใกล้พระนครเวสาลี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม
นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์
หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์
มีกาลบางคราว ที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี

เมื่อฝนไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติที่ใช้เข้ายา ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด
สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ
เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ แม่น้ำลำคลองทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด
สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ
เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ
เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ
เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทร ลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี ๒๐๐ โยชน์ก็ดี
๓๐๐ โยชน์ก็ดี ๔๐๐ โยชน์ก็ดี ๕๐๐ โยชน์ก็ดี ๖๐๐ โยชน์ก็ดี ๗๐๐ โยชน์ก็ดี

ย่อมงวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่วต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี
๕ ชั่วต้นตาลก็มี ๔ ชั่วต้นตาลก็มี ๓ ชั่วต้นตาลก็มี ๒ ชั่วต้นตาลก็มี ชั่วต้นตาลเดียวก็มี
แล้วยังจะเหลืออยู่ ๗ ชั่วคน ๖ ชั่วคน ๕ ชั่วคน ๔ ชั่วคน ๓ ชั่วคน ๒ ชั่วคน ชั่วคนเดียว ครึ่งชั่วคน เพียงเอว
เพียงเข่า เพียงแค่ข้อเท้า เพียงในรอยเท้าโค

ดูกรภิกษุทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทร ยังเหลืออยู่เพียงในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ
เปรียบเหมือนในฤดูแล้ง เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ๆ ตกลงมา น้ำเหลืออยู่ในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ
ฉะนั้น เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรแม้เพียงข้อนิ้วก็ไม่มี ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ
เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้ และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น
เปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่ปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ
เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้ และขุนเขาสิเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน

เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชน ลมหอบเอาเปลวไฟฟุ้งไปจนถึงพรหมโลก

เมื่อขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชนกำลังทะลาย ถูกกองเพลิงใหญ่เผาท่วมตลอดแล้ว
ยอดเขาแม้ขนาด ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ย่อมพังทะลาย

เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า
เปรียบเหมือนเมื่อเนยใสหรือน้ำมันถูกไฟเผาผลาญอยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม
ควรจะเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ใครจะรู้ ใครจะเชื่อว่า แผ่นดินนี้และขุนเขาสิเนรุ
จักถูกไฟไหม้พินาศไม่เหลืออยู่ นอกจากอริยสาวกผู้มีบทอันเห็นแล้ว ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อสุเนตตะเป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม
ก็ศาสดาชื่อสุเนตตะนั้น มีสาวกอยู่หลายร้อย เธอแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก
และเมื่อสุเนตตศาสดาแสดงธรรมเพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก
สาวกเหล่าใดรู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป ก็เข้าถึงสุคติพรหมโลก

ส่วนสาวกเหล่าใดยังไม่รู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้นเมื่อตายไป
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล
บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งคฤหบดีมหาศาล ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดามีความคิดเห็นว่า การที่เราจะพึงเป็น
ผู้มีสติเสมอกับสาวกทั้งหลายในสัมปรายภพ ไม่สมควรเลย ผิฉะนั้นเราควรจะเจริญเมตตาให้ยิ่ง ขึ้นไปอีก

ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดาจึงได้เจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี แล้วไม่มาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ป
เมื่อโลกวิบัติ เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ

เมื่อโลกเจริญ เข้าถึงวิมานพรหมที่ว่าง ในวิมานนั้น สุเนตตศาสดาเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม
เป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้มีอำนาจมาก

เกิดเป็นท้าวสักกะจอมเทวดา ๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา
มีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ผู้ได้ชัยชนะสงคราม สถาปนาประชาชนไว้เป็นปึกแผ่นมั่นคง พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ หลายร้อยครั้ง

พระราชโอรสของพระเจ้าจักรพรรดินั้น ล้วนแต่องอาจ กล้าหาญ ชาญชัย ย่ำยีศัตรูได้
พระเจ้าจักรพรรดิ นั้นทรงปกครองปฐพีมณฑล อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ใช้ธรรมปกครอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุเนตตศาสดานั้นแล มีอายุยืนนาน ดำรงมั่นอยู่อย่างนี้
แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
เรากล่าวว่า ไม่พ้นจากทุกข์ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังไม่ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดธรรม ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ
อริยศีล ๑
อริยสมาธิ ๑
อริยปัญญา ๑
อริยวิมุติ ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยศีล
อริยสมาธิ
อริยปัญญา
อริยวิมุติ
เราตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว เราถอนตัณหา ในภพได้แล้ว
ตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ


พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุติอย่างยิ่ง
พระโคดมผู้มียศตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา ผู้มีพระจักษุ ทรงรู้ยิ่งด้วยประการดังนี้แล้ว
ตรัสบอกธรรม ๔ ประการแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงกระทำที่สุดทุกข์แล้ว ปรินิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๒

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2019, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์
ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์
การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์
นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ




ว่าด้วยเหตุเกิดของกรรม ๓ อย่าง

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้ มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

๓ ประการเหล่าไหนเล่า ?
๓ ประการ คือ :-

โลภะ (ความโลภ) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย,
โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย,
โมหะ (ความหลง) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทั้งหลาย ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูกทำลายด้วยลมและแดด
เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี อันบุคคลหว่านไปแล้ว ในพื้นที่ซึ่งมีปริกรรมอันกระทำดีแล้วในเนื้อนาดี.

อนึ่ง สายฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงถึงซึ่งความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์โดยแน่นอน, ฉันใด;
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือ

กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย อันใด;
กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.
กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง
ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่าง ในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า เป็นไปอย่าง ในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา)
หรือว่า เป็นไปอย่าง ในอปรปริยายะ (คือ ในเวลาต่อมาอีก) ก็ตาม.



กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย อันใด;
กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.
กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง
ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.


กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นสมุทัย อันใด;
กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.
กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง
ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการ เหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.
ติก. อํ. ๒๐/๑๗๑/๔๗๓.





สภาวะที่มีเกิดขึ้นในชีวิต จะเป็นแบบนี้


walaiporn เขียน:


ภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลายก็เป็นทุกข์
การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นนั่น ก็เป็นทุกข์
กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้
ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ) ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา) การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ) ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ(สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง









๙. นิพเพธิกสูตร

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม
เหตุเกิดแห่งกรรม
ความต่างแห่งกรรม
วิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรม
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม

ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี
ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี
ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี
ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี
ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี
นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม


ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ
คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑
กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑
กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑
นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม


ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้น
เพราะความดับแห่งผัสสะ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวก
ย่อมทราบชัดกรรม
เหตุเกิดแห่งกรรม
ความต่างแห่งกรรม
วิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรม
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ

เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์
อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส เป็นที่ดับกรรมนี้

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น
เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ



เหตุเกิดของกรรม ๓ อย่าง

ภิกษุทั้งหลาย! เหตุ ๓ ประการนี้ เป็นไป
เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.

เหตุ ๓ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ?
คือ ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ(ความรักใคร่ พอใจ) ที่เป็นอดีต ๑,
ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑,
ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑.

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างไรเล่า ?
คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น
ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้น ผูกไว้แล้ว
เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์ (เครื่องผูก)

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล.



ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างไรเล่า?
คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง
เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้น ผูกไว้แล้ว
เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล.


ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไรเล่า?
คือบุคคลตรึกตรองถึงธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า
เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว
เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์

ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.



ภิกษุทั้งหลาย! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
ภิกษุทั้งหลาย! (อีกอย่างหนึ่ง)เหตุ ๓ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
เหตุ ๓ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ?

คือ ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต ๑,
ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑,
ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑.

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างไร ?

คือ บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ล่วงไปแล้ว
ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น
ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล.


ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างไรเล่า?
คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง
ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น
ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล.



ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไรเล่า?
คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า
ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น
ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล.


ภิกษุทั้งหลาย! เหตุ ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.

ติก. อํ. ๒๐/๓๓๙/๕๕๒.





กายนี้ เป็น “กรรมเก่า”

ภิกษุทั้งหลาย ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคลเหล่าอื่น.
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต),
เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต),
เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย).

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่ง ปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า

“ด้วยอาการอย่างนี้ :
เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี;
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี;
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงดับไป :

ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้น นั่นเทียว,
จึงมีความดับแห่งสังขาร, เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; … ฯลฯ …
ฯลฯ … ฯลฯ … เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้ แล.

นิทาน. สํ. ๑๖/๗๗/๑๔๓.








ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย
ทั้งใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ และกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา. ….

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ (ตา) …. โสตะ (หู) …. ฆานะ (จมูก) …. ชิวหา (ลิ้น) …. กายะ (กาย) …. มนะ (ใจ)

อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า)
อภิสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น)
อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัย ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น)
เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด,
อันนี้เรียกว่า กรรมใหม่.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม)เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด,
อันนี้เรียกว่า กัมมนิโรธ.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัม ม นิโ รธค ามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค
(อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ(การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ(ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า)
กรรมเก่า เราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย กรรมใหม่เราก็แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เราก็ได้แสดงแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย,
กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.


ภิกษุทั้งหลาย ! นั่นโคนไม้, นั่นเรือนว่าง.
พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท,
อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.
นี้แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.

สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗-๒๓๑.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร