วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิล สีลวิสุทธิ อริยศีล


โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ

[๑๖๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? คือ
การคบสัตบุรุษ ๑
การฟังธรรม ๑
การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้แล

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สีลสัมปทาสูตรที่ ๑
สีลสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๓๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้นสิ่งที่ขึ้นก่อน
สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน
เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ
คือ ความถึงพร้อมแห่งศีล ฉันนั้นเหมือนกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล พึงหวังข้อนี้ได้ ฯลฯ


สีลสัมปทาสูตรที่ ๑
สีลสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๖๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง
ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความถึงพร้อมแห่งศีลเลย ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๒

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. โพชฌงคสังยุต

ปัพพตวรรค ที่ ๑
หิมวันตสูตร
ผู้เจริญโพชฌงค์ถึงความเป็นใหญ่ในธรรมทั้งหลาย

[๓๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกนาคอาศัยขุนเขาชื่อหิมวันต์ มีกายเติบโต มีกำลัง ครั้นกายเติบโต มีกำลังที่ขุนเขานั้นแล้ว ย่อมลงสู่บึงน้อย ครั้นลงสู่บึงน้อยแล้ว ย่อมลงสู่บึงใหญ่ ครั้นลงสู่บึงใหญ่แล้ว ย่อมลงสู่แม่น้ำน้อย ครั้นลงสู่แม่น้ำน้อยแล้ว ย่อมลงสู่แม่น้ำใหญ่ ครั้นลงสู่แม่น้ำใหญ่แล้ว ย่อมลงสู่มหาสมุทรสาคร นาคพวกนั้น ย่อมถึงความโตใหญ่ทางกายในมหาสมุทรสาครนั้น

แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗
กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.



[๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร จึงถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... วิริยสัมโพชฌงค์ ... ปีติสัมโพชฌงค์ ...ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... สมาธิสัมโพชฌงค์ ... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล จึงถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย.

จบ สูตรที่ ๑

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2019, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คิลานวรรคที่ ๒
ปาณูปมสูตร
อาศัยศีลเจริญโพชฌงค์ ๗

[๔๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งสำเร็จอิริยาบถ ๔ คือ
บางคราวก็เดิน บางคราวก็ยืน บางคราวก็นั่ง บางคราวก็นอน
สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด อาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงสำเร็จอิริยาบถ ๔ นั้น อย่างนั้นแหละ
แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗
ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ฉันนั้นเหมือนกัน.


[๔๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว
ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗
ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.

จบ สูตรที่ ๑

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2019, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สีลสูตร
การหลีกออก ๒ วิธี

[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ

การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไป นั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี แต่ละอย่างๆ
เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ
หลีกออกด้วยกาย ๑ หลีกออกด้วยจิต ๑ เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.


[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึงย่อมตรึกถึงธรรมนั้น
สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.


[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น
ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.


[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา
พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.

[๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติย่อมสงบระงับ.


[๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติย่อมสงบระงับ
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.


[๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นด้วยดี.


[๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้นด้วยดี
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2019, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์



[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?

[๓๘๒] คือ


(๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน



(๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย



(๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป



(๔)ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายีเพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป



(๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป



(๖) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป



(๗) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ
ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ๕ สิ้นไป


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.

จบ สูตรที่ ๓

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อานันทสูตรที่ ๑
ว่าด้วยปัญหาของพระอานนท์

[๑๓๘๐] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อ ให้บริบูรณ์
ธรรม ๔ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ข้อให้บริบูรณ์
ธรรม ๗ ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์ มีอยู่หรือหนอ?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอยู่ อานนท์.

[๑๓๘๑] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔
ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔ ข้อ ... ธรรม ๗ ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์เป็นไฉน?

พ. ดูกรอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง คือ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์.

[๑๓๘๒] ดูกรอานนท์ ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว ฯลฯ

ย่อมรู้ชัดว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก
ย่อมรู้ชัดว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า
ในสมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกาย
สังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า

ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่ง ในบรรดากายทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า
เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๘๓] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ
หายใจออก หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ...
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ...
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก ...
หายใจเข้า ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร?

เพราะเรากล่าวเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย
ซึ่งได้แก่การกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้า
เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาอยู่มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.


[๑๓๘๔] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้จิต
หายใจออก ... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ... หายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า จักตั้งจิตมั่นหายใจออก ... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ...
หายใจเข้า ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเราไม่กล่าวซึ่งการเจริญ
สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ สำหรับผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ
เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.


[๑๓๘๕] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า
จักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ...
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ...
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ...
หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ...
หายใจเข้า ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้เป็นอย่างดี
เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๘๖] ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.

[๑๓๘๗] ดูกรอานนท์ ก็สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์?

ในสมัยใด ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
ในสมัยนั้น สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม
ในสมัยใด สติของภิกษุตั้งมั่น ไม่หลงลืม ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ
ในสมัยนั้น เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา.

[๑๓๘๘] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา
ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ
เมื่อเธอค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา เป็นอันชื่อว่า ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน

[๑๓๘๙] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด เมื่อภิกษุค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา
เป็นอันชื่อว่า ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ
ปีติอันหาอามิสมิได้ ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.

[๑๓๙๐] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ปีติอันหาอามิสมิได้ ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ
แม้กายของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่มด้วยปีติก็ย่อมสงบ แม้จิตก็ย่อมสงบ.

[๑๓๙๑] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด แม้กายของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่มด้วยปีติก็ย่อมสงบ แม้จิตก็ย่อมสงบ
ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.

[๑๓๙๒] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มีความสุข ย่อมตั้งมั่น
ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี.

[๑๓๙๓] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี
ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ.

[๑๓๙๔] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ...
เห็นจิตในจิต ... เห็นธรรมในธรรม ในสมัยนั้น สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม.

[๑๓๙๕] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม
ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี.

[๑๓๙๖] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี
ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ.

[๑๓๙๗] ดูกรอานนท์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.


[๑๓๙๘] ดูกรอานนท์ ก็โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ...วิริยสัมโพชฌงค์ ... ปีติสัมโพชฌงค์ ... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูกรอานนท์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์.

จบ สูตรที่ ๓





[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี
เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑
หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑


๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ...
๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑


๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน
เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ๑


๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ...
๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่งเดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑


กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน
เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล

คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ

จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2019, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสมถะและวิปัสสนา


viewtopic.php?f=1&t=57440&p=444396#p444396

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2019, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน
คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น
นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ





ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2019, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ

เพราะอินทรีย์ ๕ ที่ยังคงอยู่ ไม่ดับไป ภิกษุนั้นจึงประสบอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เสวยสุขและทุกข์อยู่

ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะของภิกษุนั้น เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ"



หมายเหตุ;


"เพราะอินทรีย์ ๕ ที่ยังคงอยู่ ไม่ดับไป ภิกษุนั้นจึงประสบอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เสวยสุขและทุกข์อยู่"



๑๐. อินทริยภาวนาสูตร (๑๕๒)

[๘๕๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

ดูกรอานนท์ ก็การเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ เป็นอย่างไร

ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ

เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้

ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบอาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา

เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น


ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีตาดีกระพริบตา ฉะนั้น อุเบกขาย่อมดำรงมั่น

ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ




[๘๕๗] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ ขึ้นแล้วเช่นนี้

ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยการเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น

ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลัง ดีดนิ้วมือโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น

ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ




[๘๕๘] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้

ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบ ใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น

ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างหยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัว ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปสักน้อยหนึ่ง ฉะนั้น

ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ



[๘๕๙] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น แล้วเช่นนี้

ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น

ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลังตะล่อมก้อนเขฬะไว้ตรงปลายลิ้น แล้วถ่มไปโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น

ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ




[๘๖๐] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้

ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น

ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้โดยเร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น

ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ





[๘๖๑] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ เกิดทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้

ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น

ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบากอย่างนี้ เหมือนบุรุษมีกำลัง หยดหยาดน้ำสองหรือสามหยาดลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน ความหยดลงแห่งหยาดน้ำยังช้า ทันทีนั้น หยาดน้ำนั้นจะถึงความสิ้นไป แห้งไปเร็วทีเดียว ฉะนั้น

ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนอย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ





ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเป็นการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2019, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น
ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ"



หมายเหตุ;


"เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น
ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น"




๑๐. อินทริยภาวนาสูตร (๑๕๒)

[๘๖๓] ดูกรอานนท์ ก็พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างไร
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ

เธอถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆว่า เป็นของปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ
ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้ ฯ





[๘๖๔] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต ...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...

เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน เธอ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่
ก็ย่อมมีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ
ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้



ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2019, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับพระเสขะ(โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี) ผู้เจริญอินทรีย์


[๘๖๒] ดูกรอานนท์ ก็พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไร
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น
เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ

เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต ...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...

เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ...
เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น


ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2019, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. ทันตภูมิสูตร (๑๒๕)


[๓๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล สมณุทเทสอจิรวตะอยู่ในกระท่อมในป่า ครั้งนั้น พระราชกุมารชยเสนะ ทรงพระดำเนินทอดพระชงฆ์เที่ยวเล่นไปโดยลำดับ เข้าไปหาสมณุทเทสอจิรวตะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ตรัสทักทายปราศรัยกับสมณุทเทสอจิรวตะ ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ



[๓๘๙] พระราชกุมารชยเสนะ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้รับสั่งกะสมณุทเทสอจิรวตะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ
ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้ ฯ

สมณุทเทสอจิรวตะถวายพระพรว่า ดูกรพระราชกุมาร ข้อนั้นถูกต้องแล้วๆ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้ ฯ


ช. ดีแล้ว ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่ข้าพเจ้าเถิด ฯ



[๓๙๐] อ. ดูกรพระราชกุมาร อาตมภาพไม่อาจจะแสดงธรรม ตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระองค์ได้
เพราะถ้าอาตมภาพพึงแสดงธรรม ตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระองค์ และพระองค์ไม่ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพได้ ข้อนั้นจะเป็นความยาก จะเป็นความลำบากของอาตมภาพ ฯ


ช. ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรม ตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่ข้าพเจ้าเถิด
บางทีข้าพเจ้าจะพึงทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิเวสสนะได้ ฯ


อ. ดูกรพระราชกุมาร อาตมภาพจะพึงแสดงธรรม ตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระองค์
ถ้าพระองค์ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพได้นั่นเป็นความดี
ถ้าไม่ทรงทราบ ขอพระองค์พึงดำรงอยู่ในภาวะของพระองค์ตามที่ควรเถิด
อย่าได้ซักถามอาตมภาพในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไปเลย ฯ


ช. ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรม ตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่ข้าพเจ้าเถิด
ถ้าข้าพเจ้าทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิเวสสนะได้ นั่นเป็นความดี
ถ้าไม่ทราบ ข้าพเจ้าจักดำรงอยู่ในภาวะของตนตามที่ควร
ข้าพเจ้าจักไม่ซักถามท่านอัคคิเวสสนะในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไป ฯ



[๓๙๑] ลำดับนั้นแล สมณุทเทสอจิรวตะได้แสดงธรรม ตามที่ได้สดับตามที่ได้ศึกษามาแก่พระราชกุมารชยเสนะ
เมื่อสมณุทเทสอจิรวตะกล่าวแล้วอย่างนั้น พระราชกุมารชยเสนะได้ตรัสกะสมณุทเทสอจิรวตะดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ ข้อที่ภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส

ต่อนั้น พระราชกุมารชยเสนะ ทรงประกาศความไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส แก่สมณุทเทสอจิรวตะแล้ว ทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีกไป ฯ



ครั้งนั้นแล สมณุทเทสอจิรวตะ เมื่อพระราชกุมารชยเสนะเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลเรื่องราว เท่าที่ได้สนทนากับพระราชกุมารชยเสนะทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ฯ


[๓๙๒] เมื่อสมณุทเทสอจิรวตะกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะสมณุทเทสอจิรวตะดังนี้ว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ พระราชกุมารจะพึงได้ความข้อนั้นในภาษิตของเธอนี้แต่ที่ไหน ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ

แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา
ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้งความข้อนั้นได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ


[๓๙๓] ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนช้างที่ควรฝึก หรือม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่หนึ่งที่เขาฝึกดี หัดดีแล้ว อีกคู่หนึ่งเขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดเลย ดูกรอัคคิเวสสนะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ช้างที่ควรฝึก หรือม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่เขาฝึกดี หัดดีแล้วนั้น อันเขาฝึกแล้ว จึงเลียนเหตุการณ์ที่ฝึกแล้ว สำเร็จภูมิที่ฝึกแล้วได้ ใช่ไหม ฯ

อ. ใช่ พระพุทธเจ้าข้า ฯ


พ. ส่วนช้างที่ควรฝึก หรือม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดแล้วนั้น อันเขาไม่ได้ฝึกเลย จะเลียนเหตุการณ์ที่ฝึกแล้ว สำเร็จภูมิที่ฝึกแล้ว เหมือนอย่างคู่ที่ฝึกดี หัดดีแล้วนั้น ได้ไหม ฯ

อ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ


พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ แต่พระราชกุมารชยเสนะ ยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้งความข้อนั้นได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ



[๓๙๔] ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนภูเขาใหญ่ไม่ห่างไกลบ้าน หรือนิคม สหาย ๒ คนออกจากบ้านหรือนิคมนั้นไปยังภูเขาลูกนั้นแล้ว จูงมือกันเข้าไปยังที่ตั้งภูเขา ครั้นแล้วสหายคนหนึ่ง ยืนที่เชิงภูเขาเบื้องล่าง อีกคนหนึ่งขึ้นไปข้างบนภูเขา สหายที่ยืนตรงเชิงภูเขาข้างล่าง เอ่ยถามสหายผู้ยืนบนภูเขานั้นอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขานั้น เพื่อนเห็นอะไร

สหายคนนั้น ตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย เรายืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์

สหายข้างล่างกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน ข้อที่เพื่อนยืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสเลย

สหายที่ยืนบนภูเขา จึงลงมายังเชิงเขาข้างล่างแล้ว จูงแขนสหายคนนั้นให้ขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้น ให้สบายใจครู่หนึ่ง แล้วเอ่ยถามสหายนั้นว่า แน่ะเพื่อน เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขาแล้วเพื่อนเห็นอะไร สหายคนนั้น ตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย เรายืนบนภูเขาแล้วแลเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์

สหายคนขึ้นไปก่อนกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน เราเพิ่งรู้คำที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย ข้อที่เพื่อนยืนบนภูเขา แล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสเลย เดี๋ยวนี้เอง

และสหายคนขึ้นไปทีหลังก็พูดว่า เราก็เพิ่งรู้คำที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน เรายืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เดี๋ยวนี้เหมือนกัน

สหายคนขึ้นไปก่อนจึงพูดอย่างนี้ว่า สหายเอ๋ย ความเป็นจริง เราถูกภูเขาใหญ่ลูกนี้กั้นไว้ จึงไม่แลเห็นสิ่งที่ควรเห็น นี้ ฉันใด

ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล พระราชกุมารชยเสนะ ถูกกองอวิชชาใหญ่ ยิ่งกว่าภูเขาลูกนั้นกั้นไว้ บังไว้ ปิดไว้ คลุมไว้แล้ว พระราชกุมารชยเสนะนั้นแล ยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ หรือทรงเห็น หรือทรงทำให้แจ้ง ซึ่งความข้อที่เขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้


ดูกรอัคคิเวสสนะ ถ้าอุปมา ๒ ข้อนี้ จะพึงทำเธอให้แจ่มแจ้งแก่พระราชกุมารชยเสนะได้ พระราชกุมารชยเสนะจะพึงเลื่อมใสเธอ และเลื่อมใส แล้วจะพึงทำอาการของบุคคลผู้เลื่อมใสต่อเธออย่างไม่น่าอัศจรรย์ ฯ

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อุปมา ๒ ข้อนี้จักทำข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้ง แก่พระราชกุมารชยเสนะได้แต่ที่ไหน เพราะอุปมาอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ข้าพระองค์ไม่เคยได้สดับมาในก่อน เหมือนที่ได้สดับต่อพระผู้มีพระภาค ฯ



[๓๙๕] พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนพระราชามหากษัตริย์ ผู้ทรงได้มูรธาภิเษกแล้ว ตรัสเรียกพรานผู้ชำนาญป่าช้างมารับสั่งว่า มานี่แน่ะพ่อพรานเพื่อนยาก ท่านจงขี่ช้างหลวงเข้าไปยังป่าช้าง เห็นช้างป่าแล้ว จงคล้องมันไว้ ให้มั่นคงที่คอช้างหลวงเถิด

พรานผู้ชำนาญป่าช้างรับสนองพระราชโองการแล้ว จึงขึ้นช้างหลวงเข้าไปยังป่าช้าง เห็นช้างป่าแล้ว จึงคล้องไว้มั่นคงที่คอช้างหลวง ช้างหลวงจึงนำช้างป่านั้นออกมาสู่ที่กลางแจ้งได้

ดูกรอัคคิเวสสนะ เพียงเท่านี้แล ช้างป่าจึงมาอยู่กลางแจ้ง ธรรมดาช้างป่าทั้งหลายยังห่วงถิ่นคือป่าช้างอยู่
พรานจึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระราชามหากษัตริย์ว่า ขอเดชะ ช้างป่าของพระองค์มาอยู่ที่กลางแจ้งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า

พระราชามหากษัตริย์จึงตรัสเรียกควาญผู้ฝึกช้างมารับสั่งว่า มานี่แน่ะ ควาญช้างเพื่อนยาก ท่านจงฝึกช้างป่า จงไปแก้ไขปรกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปรกติที่มนุษย์ต้องการเถิด

ควาญช้างรับสนองพระราชโองการแล้ว จึงฝังเสาตะลุงใหญ่ในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปรกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปรกติที่มนุษย์ต้องการ

ควาญช้างย่อมร้องเรียกช้างป่าเชือกนั้นด้วยวาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนาและชอบใจเห็นปานนั้น ในเมื่อช้างป่าอันควาญช้างร้องเรียกอยู่ด้วยวาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนาและชอบใจเห็นปานนั้นแล้ว จึงสำเหนียกด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้

ควาญช้างจึงเพิ่มอาหาร คือ หญ้าและน้ำให้ช้างนั้นยิ่งขึ้น ในเมื่อช้างป่ารับอาหาร คือ หญ้าและน้ำของควาญช้าง ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า
คราวนี้ช้างป่าจักเป็นอยู่ได้ละ จึงให้ช้างนั้นทำการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคำว่า รับพ่อ ทิ้งพ่อ ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการรับและการทิ้ง ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทำการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคำว่า รุกพ่อ ถอยพ่อ ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการรุกและการถอย

ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทำการยิ่งขึ้นด้วยคำว่า ยืนพ่อ เท้าพ่อ
ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการยืนและการเท้า

ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทำการณ์ชื่ออาเนญชะยิ่งขึ้น คือ ผูกโล่ห์ใหญ่เข้าที่งวงช้างนั้น จัดบุรุษถือหอกซัด นั่งบนคอ จัดบุรุษถือหอกซัดหลายคนยืนล้อมรอบ และควาญช้างถือของ้าวยาว ยืนข้างหน้า ช้างนั้นถูกควาญช้างให้ทำการณ์ชื่ออาเนญชะอยู่ จึงไม่เคลื่อนไหวเท้าหน้า ไม่เคลื่อนไหวเท้าหลัง ไม่เคลื่อนไหวกายเบื้องหน้า ไม่เคลื่อนไหวกายเบื้องหลัง ไม่เคลื่อนไหวศีรษะ ไม่เคลื่อนไหวหู ไม่เคลื่อนไหวงา ไม่เคลื่อนไหวหาง ไม่เคลื่อนไหวงวง จึงเป็นช้างหลวงทนต่อการประหารด้วย หอก ดาบ ลูกศร และเครื่องประหารของศัตรูอื่น ทนต่อเสียงกึกก้องแห่งกลองใหญ่ บัณเฑาะว์ สังข์ และกลองเล็ก กำจัดโทษคดโกงทุกอย่างได้ หมดพยศ ย่อมถึงความนับว่า เป็นช้างสมควรแก่พระราชา อันพระราชาควรใช้สอย เป็นองค์สมบัติของพระราชา ฉันใด ฯ


[๓๙๖] ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม ทุกหมู่สัตว์ ทั้งสมณะ และพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ทั่ว แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

คฤหบดีก็ดี บุตรของคฤหบดีก็ดี คนที่เกิดภายหลังในสกุลใดสกุลหนึ่งก็ดี ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ย่อมได้ความเชื่อในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้ความเชื่อโดยเฉพาะนั้น จึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัยต่อมาเขาละโภคสมบัติน้อยบ้าง มากบ้าง และวงศ์ญาติเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต


ดูกรอัคคิเวสสนะ เพียงเท่านี้แล เขาชื่อว่าเป็นอริยสาวก อยู่ในโอกาสอันว่างแล้ว
ความจริง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังห่วงถิ่น คือ กามคุณทั้ง ๕ อยู่
ตถาคตจึงแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า


ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด

ดูกรอัคคิเวสสนะ ในเมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ ย่อมเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายได้ ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า

ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว จงอย่าถือโดยนิมิต ฯลฯ
เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว


ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ...
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต ...
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ



[๓๙๗] ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนควาญช้างฝังเสาตะลุงใหญ่ลงในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปรกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปรกติที่มนุษย์ต้องการ ฉันใด

ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สติปัฏฐาน ๔ นี้ ชื่อว่าเป็นหลักผูกใจของอริยสาวก เพื่อแก้ไขปรกติ ชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความดำริพล่านชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจชนิดอาศัยบ้าน เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ฯ



[๓๙๘] ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย
จงเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับเวทนา
จงเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับจิต
จงเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับธรรม

เธอย่อมเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ย่อมเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย

เข้าตติยฌาน ...

ย่อมเข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ



[๓๙๙] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส เครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว
ย่อมน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศเช่นนี้ ฯ


[๔๐๐] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส เครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว
ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเครื่องรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย มองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมทราบชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมเช่นนี้ ฯ


[๔๐๑] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว
ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์
รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับอาสวะ

เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ชัดว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ




[๔๐๒] ภิกษุนั้นเป็นผู้อดทน คือ มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน
ความหิว และความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน
ต่อ ทำนอง คำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว
อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้
เธอเป็นผู้กำจัดราคะ โทสะ โมหะทั้งปวงได้ หมดกิเลส เพียงดังน้ำฝาดแล้ว
เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักขิณาทาน
ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาแห่งอื่นเปรียบมิได้ ฯ




[๔๐๓] ดูกรอัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ ที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด
ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงแก่ ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ถ้าช้างหลวงปูน
ปานกลาง ที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูนปานกลาง
ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด ล้มลง ก็ถึง
ความนับว่า ช้างหลวงหนุ่ม ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ฉันใด



ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ถ้าภิกษุเถระยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่าภิกษุเถระทำกาละ ตายไปอย่างมิได้ฝึก
ถ้าภิกษุมัชฌิมะยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุมัชฌิมะทำกาละ ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก
ถ้าภิกษุนวกะยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะ ทำกาละ ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก ฯ




[๔๐๔] ดูกรอัคคิเวสสนะ
ถ้าช้างหลวงแก่ที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลงก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงแก่ล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว
ถ้าช้างหลวงปูนปานกลางที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูนปานกลางล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว
ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูนหนุ่มล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ฉันใด


ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
ถ้าภิกษุเถระสิ้นอาสวะแล้ว ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุเถระทำกาละ ตายอย่างฝึกแล้ว
ถ้าภิกษุมัชฌิมะสิ้นอาสวะแล้ว ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุมัชฌิมะทำกาละ ตายอย่างฝึกแล้ว
ถ้าภิกษุนวกะสิ้นอาสวะแล้ว ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะทำกาละ ตายอย่างฝึกแล้ว ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว สมณุทเทสอจิรวตะจึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ ทันตภูมิสูตร ที่ ๕

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2019, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เริ่มจากการฟัง/อ่านที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้

เหตุผลที่ควรศึกษาไว้

" สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม
นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ฯ"





สุริยสูตร

[๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน ใกล้พระนครเวสาลี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม
นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีกาลบางคราว ที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี

เมื่อฝนไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติที่ใช้เข้ายา ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด

สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม
นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ
เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ แม่น้ำลำคลองทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด
สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ
เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ
เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่
คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ
เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทร ลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี ๒๐๐ โยชน์ก็ดี ๓๐๐ โยชน์ก็ดี ๔๐๐ โยชน์ก็ดี ๕๐๐ โยชน์ก็ดี ๖๐๐ โยชน์ก็ดี ๗๐๐ โยชน์ก็ดี ย่อมงวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่วต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี ๕ ชั่วต้นตาลก็มี ๔ ชั่วต้นตาลก็มี ๓ ชั่วต้นตาลก็มี ๒ ชั่วต้นตาลก็มี ชั่วต้นตาลเดียวก็มี แล้วยังจะเหลืออยู่ ๗ ชั่วคน ๖ ชั่วคน ๕ ชั่วคน ๔ ชั่วคน ๓ ชั่วคน ๒ ชั่วคน ชั่วคนเดียว ครึ่งชั่วคน เพียงเอว เพียงเข่า เพียงแค่ข้อเท้า เพียงในรอยเท้าโค

ดูกรภิกษุทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทร ยังเหลืออยู่เพียงในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ เปรียบเหมือนในฤดูแล้ง เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ๆ ตกลงมา น้ำเหลืออยู่ในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ ฉะนั้น เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรแม้เพียงข้อนิ้วก็ไม่มี ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ
เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้ และขุนเขาสิเนรุ
ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น เปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่ปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ
เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้ และขุนเขาสิเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน

เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชน ลมหอบเอาเปลวไฟฟุ้งไปจนถึงพรหมโลก เมื่อขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชนกำลังทะลาย ถูกกองเพลิงใหญ่เผาท่วมตลอดแล้ว ยอดเขาแม้ขนาด ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ย่อมพังทะลาย

เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า
เปรียบเหมือนเมื่อเนยใสหรือน้ำมันถูกไฟเผาผลาญอยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม
ควรจะเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ใครจะรู้ ใครจะเชื่อว่า แผ่นดินนี้และขุนเขาสิเนรุ
จักถูกไฟไหม้พินาศไม่เหลืออยู่ นอกจากอริยสาวกผู้มีบทอันเห็นแล้ว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อสุเนตตะเป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม
ก็ศาสดาชื่อสุเนตตะนั้น มีสาวกอยู่หลายร้อย เธอแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก

และเมื่อสุเนตตศาสดาแสดงธรรมเพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก
สาวกเหล่าใดรู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้น
เมื่อตายไป ก็เข้าถึงสุคติพรหมโลก


ส่วนสาวกเหล่าใดยังไม่รู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้นเมื่อตายไป

บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี

บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี

บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต

บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา

บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์

บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช

บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล

บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล

บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งคฤหบดีมหาศาล ฯ




ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดามีความคิดเห็นว่า การที่เราจะพึงเป็นผู้มีสติเสมอกับสาวกทั้งหลายในสัมปรายภพ ไม่สมควรเลย ผิฉะนั้นเราควรจะเจริญเมตตาให้ยิ่ง ขึ้นไปอีก ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดาจึงได้เจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี แล้วไม่มาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ป เมื่อโลกวิบัติ เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ

เมื่อโลกเจริญ เข้าถึงวิมานพรหมที่ว่าง ในวิมานนั้น สุเนตตศาสดาเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้มีอำนาจมาก

เกิดเป็นท้าวสักกะจอมเทวดา ๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา มีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ผู้ได้ชัยชนะสงคราม สถาปนาประชาชนไว้เป็นปึกแผ่นมั่นคง พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ หลายร้อยครั้ง พระราชโอรสของพระเจ้าจักรพรรดินั้น ล้วนแต่องอาจ กล้าหาญ ชาญชัย ย่ำยีศัตรูได้

พระเจ้าจักรพรรดิ นั้นทรงปกครองปฐพีมณฑล อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต
ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ใช้ธรรมปกครอง





ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุเนตตศาสดานั้นแล มีอายุยืนนาน ดำรงมั่นอยู่อย่างนี้
แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส

เรากล่าวว่า ไม่พ้นจากทุกข์ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังไม่ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดธรรม ๔ ประการ

๔ ประการเป็นไฉน

คือ

อริยศีล ๑

อริยสมาธิ ๑

อริยปัญญา ๑

อริยวิมุติ ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุติ
เราตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว เราถอนตัณหา ในภพได้แล้ว
ตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุติอย่างยิ่ง
พระโคดมผู้มียศตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา ผู้มีพระจักษุ ทรงรู้ยิ่งด้วยประการดังนี้แล้ว
ตรัสบอกธรรม ๔ ประการแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงกระทำที่สุดทุกข์แล้ว ปรินิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๒

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2019, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า(โสดาบัน ที่มาเกี่ยวกับพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ)
ก่อนที่จะเกิดแล้วตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติปัจจุบัน(๙. เทวธาวิตักกสูตร)




๔. มหาสุทัสสนสูตร (๑๗)

-----------------------

[๑๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

ในสมัยใกล้เสด็จปรินิพพานคราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับในระหว่างไม้สาละ ในสาลวัน อันเป็นที่แวะพักของเหล่ามัลละกษัตริย์ เขตกรุงกุสินารา ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้า แล้วถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคอย่าเสด็จปรินิพพาน ในเมืองเล็ก เมืองดอน กิ่งเมืองนี้เลย นครใหญ่เหล่าอื่น มีอยู่คือเมืองจัมปา เมืองราชคฤห์ เมืองสาวัตถี เมืองสาเกต เมืองโกสัมพี เมืองพาราณสี ขอพระผู้มีพระภาคจงเสด็จปรินิพพานในเมืองเหล่านี้เถิด กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีมหาศาล ที่เลื่อมใสพระตถาคตอย่างยิ่ง มีอยู่มากในเมืองเหล่านี้ ท่านเหล่านั้นจักกระทำการบูชาพระสรีระของพระตถาคต ดังนี้ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า เมืองเล็ก เมืองดอน กิ่งเมือง ดังนี้เลย ดูกรอานนท์ แต่ปางก่อน มีพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงพระนามว่า มหาสุทัสสนะ เป็นกษัตริย์ผู้ได้มูรธาภิเษก เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง

ดูกรอานนท์ เมืองกุสินารานี้ มีนามว่า กุสาวดี เป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ โดยยาวด้านทิศบูรพาและทิศประจิม ๑๒ โยชน์ โดยกว้างด้านทิศอุดรและทิศทักษิณ ๗ โยชน์

ดูกรอานนท์ กุสาวดี ราชธานีเป็นเมืองที่มั่งคั่งรุ่งเรือง มีชนมาก มนุษย์หนาแน่นและมีภิกษาหาได้ง่าย

ดูกรอานนท์ เมืองอาลกมันทาราชธานี แห่งเทพเจ้าทั้งหลาย เป็นเมืองที่มั่งคั่งรุ่งเรือง มีชนมาก ยักษ์หนาแน่น และมีภิกษาหาได้ง่าย แม้ฉันใด เมืองกุสาวดีราชธานีก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นเมืองที่มั่งคั่งรุ่งเรือง มีชนมาก มนุษย์หนาแน่น และมีภิกษาหาได้ง่าย

ดูกรอานนท์ กุสาวดีราชธานี มิได้เงียบจากเสียง ๑๐ ประการ ทั้งกลางวันและกลางคืน คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงกังสดาล เสียงประโคม และเสียงเป็นที่ ๑๐ ว่า ท่านทั้งหลาย จงบริโภค จงดื่ม จงเคี้ยวกิน

ดูกรอานนท์ กุสาวดีราชธานี แวดล้อมด้วยกำแพง ๗ ชั้น คือ กำแพงแล้วด้วยทองชั้น ๑ แล้วด้วยเงินชั้น ๑ แล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ชั้น ๑ แล้วด้วยแก้วผลึกชั้น ๑ แล้วด้วยแก้วโกเมนชั้น ๑ แล้วด้วยบุษราคัมชั้น ๑ แล้วด้วยรัตนะทุกอย่างชั้น ๑

ดูกรอานนท์ เมืองกุสาวดีราชธานี มีประตูสำหรับวรรณะทั้ง ๔ คือ ประตู ๑ แล้วด้วยทอง ประตู ๑ แล้วด้วยเงิน ประตู ๑ แล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ประตู ๑ แล้วด้วยแก้วผลึก ในประตู ๑ๆ มีเสาระเนียดปักไว้ประตูละ ๗ เสา ปักลึก ๓ ชั่วบุรุษ โดยส่วนสูง ๑๒ ชั่วบุรุษ เสาระเนียดต้นหนึ่งแล้วด้วยทอง ต้นหนึ่ง แล้วด้วยเงิน ต้นหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ต้นหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก ต้นหนึ่งแล้วด้วยแก้วโกเมน ต้นหนึ่งแล้วด้วยบุษราคัม ต้นหนึ่งแล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง

ดูกรอานนท์ กุสาวดีราชธานีแวดล้อมด้วยต้นตาล ๗ แถว ต้นตาลแถวหนึ่งแล้ว ด้วยทอง แถวหนึ่งแล้วด้วยเงิน แถวหนึ่งแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ แถวหนึ่งแล้วด้วยแก้วผลึก แถวหนึ่งแล้วด้วยแก้วโกเมน แถวหนึ่งแล้ว ด้วยแก้วบุษราคัม แถวหนึ่งแล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง ต้นตาลที่แล้วด้วยทอง ลำต้นแล้วด้วยทอง ใบและผลแล้วด้วยเงิน ต้นตาลที่แล้วด้วยเงิน ลำต้นแล้วด้วยเงิน ใบและผลแล้วด้วยทอง ต้นตาลที่แล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ลำต้นแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ใบและผล แล้วด้วยแก้วผลึก ต้นตาลที่แล้วด้วยแก้วผลึก ลำต้นแล้วด้วยแก้วผลึก ใบและผลแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ต้นตาลที่แล้วด้วยแก้วโกเมน ลำต้นแล้วด้วยแก้วโกเมน ใบและผลแล้วด้วยแก้วบุษราคัม ต้นตาลที่แล้วด้วยแก้วบุษราคัม ลำต้นแล้วด้วยแก้วบุษราคัม ใบและผลแล้วด้วยแก้วโกเมน ต้นตาลที่แล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง ลำต้นแล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง ใบและผลแล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง

ดูกรอานนท์ แถวต้นตาลเหล่านั้น เมื่อต้องลมพัดแล้ว มีเสียงไพเราะยวนใจ ชวนให้ฟังและให้เคลิบเคลิ้ม

ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ ที่บุคคลปรับดีแล้ว ประโคมดีแล้ว บรรเลงโดยผู้เชี่ยวชาญ เสียงย่อมไพเราะยวนใจ ชวนให้ฟังและให้เคลิบเคลิ้มฉันใด เสียงแห่งแถวต้นตาลเหล่านั้น ที่ต้องลมพัดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไพเราะ ยวนใจ ชวนให้ฟัง และให้เคลิบเคลิ้ม

ดูกรอานนท์ ก็สมัยนั้น ในกุสาวดีราชธานี มีนักเลง นักเล่น และนักดื่ม พวกเขาบำเรอกัน ด้วยเสียงแห่งแถวต้นตาลที่ต้องลมเหล่านั้น ฯ

[๑๖๔] ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ และด้วยฤทธิ์ ๔ ประการ แก้ว ๗ ประการ เป็นไฉน ฯ

ดูกรอานนท์ เมื่อพระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงสนานพระเศียรในวัน ๑๕ ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถ ทรงรักษาอุโบสถ เสด็จขึ้นบนปราสาทอันประเสริฐ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีซี่พันหนึ่ง มีกง มีดุม พร้อมบริบูรณ์ โดยอาการทั้งปวง ได้ปรากฏขึ้น ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็น จึงทรงพระดำริว่า ก็เราได้สดับเรื่องนี้มาแล้วว่า ผู้ใดเป็นขัตติยราชผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว สนานพระเศียรในวัน ๑๕ ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถ ทรงรักษาอุโบสถ เสด็จขึ้นสู่ปราสาทอันประเสริฐ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีซี่พันหนึ่ง มีกง มีดุม พร้อมบริบูรณ์ โดยอาการทั้งปวงย่อมปรากฏขึ้น พระราชาผู้นั้น ย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิดังนี้ เราพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือหนอ

ดูกรอานนท์ ลำดับนั้นพระเจ้ามหาสุทัสสนะเสด็จลุกจากอาสนะ ทรงกระทำพระภูษาเฉวียงบ่า พระหัตถ์ซ้ายทรงจับพระเต้าทอง พระหัตถ์ขวาทรงชูจักรแก้วขึ้น ตรัสว่า จักรแก้วอันเจริญ จงเป็นไป จักรแก้วอันเจริญ จงชำนะวิเศษยิ่ง

ดูกรอานนท์ ครั้งนั้นแล จักรแก้วนั้นก็เป็นไปทางปุรัตถิมทิศ พระเจ้ามหาสุทัสสนะพร้อมด้วยจตุรงคเสนา ก็เสด็จตามไป

ดูกรอานนท์ จักรแก้วหยุดอยู่ในประเทศใด พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ก็เสด็จเข้าพักแรมพร้อมด้วยจตุรงคเสนา ในประเทศนั้น

ดูกรอานนท์ ก็ในปุรัตถิมทิศ พระราชาเหล่าใดเป็นปฏิปักษ์ พระราชาเหล่านั้นเข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จมาเถิด พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ราชสมบัติของหม่อมฉัน ย่อมเป็นของพระองค์ ขอพระองค์จงประทานพระบรมราโชวาท ฯ

พระเจ้ามหาสุทัสสนะจึงตรัสอย่างนี้ว่า พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงกล่าวเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงบริโภคตามเคยเถิด

ดูกรอานนท์ ก็ในปุรัตถิมทิศ พระราชาเหล่าใดเป็นปฏิปักษ์ พระราชาเหล่านั้นกลับอ่อนน้อม ต่อพระเจ้ามหาสุทัสสนะ

ดูกรอานนท์ ลำดับนั้นจักรแก้วก็ย่างเข้าสู่สมุทรด้านปุรัตถิมทิศ แล้วกลับเวียนไปทางทิศทักษิณ ย่างเข้าสู่สมุทรด้านทักษิณทิศแล้วกลับเวียนไปทางทิศปัศจิม ย่างเข้าสู่สมุทรด้านทิศปัศจิมแล้วกลับเวียนไปทางทิศอุดร พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงติดตามไปพร้อมด้วย จตุรงคเสนา

ดูกรอานนท์ ก็จักรแก้วหยุดอยู่ในประเทศใด พระเจ้ามหาสุทัสสนะก็เสด็จเข้าพักแรม พร้อมด้วยจตุรงคเสนาในประเทศนั้น

ดูกรอานนท์ ก็ในอุตตรทิศ พระราชาเหล่าใดเป็นปฏิปักษ์ พระราชาเหล่านั้น เข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จมาเถิด พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ราชสมบัติของหม่อมฉันย่อมเป็นของพระองค์ ขอพระองค์จงประทานพระบรมราโชวาท ฯ

พระเจ้ามหาสุทัสสนะจึงตรัสอย่างนี้ว่า พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงกล่าวเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงบริโภคตามเคยเถิด

ดูกรอานนท์ ก็ในอุตตรทิศ พระราชาเหล่าใดเป็นปฏิปักษ์ พระราชาเหล่านั้นกลับอ่อนน้อมต่อพระเจ้ามหาสุทัสสนะ

ลำดับนั้นจักรแก้วนั้นก็ปราบปรามปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขตให้ราบคาบ เสร็จแล้วก็กลับมากุสาวดีราชธานี ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ที่พระทวารภายในพระราชวัง ณ มุขสำหรับทำเรื่องราว ยังภายในราชวังของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ให้สว่างไสวอยู่

ดูกรอานนท์ จักรแก้วเห็นปานนี้ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ฯ

[๑๖๕] ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ช้างแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นช้างเผือกล้วน เป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์มีฤทธิ์ ไปในอากาศได้เป็นพระยาช้างสกุลอุโบสถ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทอดพระเนตรแล้วทรงพอพระทัย ดำรัสว่า ท่านผู้เจริญ ยานคือช้างอันเจริญ ถ้าได้ฝึกหัด

ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น ช้างแก้วก็เข้าถึงการฝึกหัดเหมือนอย่างช้างอาชานัยที่เจริญ อันเขาฝึกหัดเรียบร้อยดีแล้วตลอดเวลานานฉะนั้น

ดูกรอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เมื่อจะทรงทดลองช้างแก้วตัวนั้นแหละ พอเวลาเช้าก็เสด็จขึ้นทรงแล้วเสด็จเลียบไปตลอดปฐพีอันมีสมุทรเป็นขอบเขต เสด็จกลับกุสาวดีราชธานี แล้วเสวยพระกระยาหารเช้า

ดูกรอานนท์ ช้างแก้วเห็นปานนี้ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ฯ

[๑๖๖] ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ม้าแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นม้าขาวล้วน ศีรษะดำ มีผมเป็นพวงประดุจหญ้าปล้อง มีฤทธิ์ ไปในอากาศได้ ชื่อวลาหกอัศวราช ท้าวเธอทอดพระเนตรแล้วทรงพอพระหฤทัย ตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ยานคือม้าอันเจริญ ถ้าได้ฝึกหัด ลำดับนั้นม้าแก้วนั้นก็เข้าถึงการฝึกหัดเหมือนอย่างม้าอาชานัยตัวเจริญ ที่ได้รับการฝึกหัดเรียบร้อยดีแล้วตลอดเวลานาน ฉะนั้น

ดูกรอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เมื่อจะทรงทดลองม้าแก้วตัวนั้นแหละ ได้เสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า เสด็จเลียบไปตลอดปฐพีอันมีสมุทรเป็นขอบเขต แล้วเสด็จกลับมากุสาวดีราชธานี แล้วเสวยพระกระยาหารเช้า

ดูกรอานนท์ ม้าแก้วเห็นปานนี้ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ฯ

[๑๖๗] ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง แก้วมณีได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นแก้วไพฑูรย์อันงามเกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง ดูกรอานนท์ แสงสว่างของแก้วมณีนั้น แผ่ไปโดยรอบประมาณโยชน์หนึ่ง

ดูกรอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาสุทัสสนะเมื่อจะทรงทดลองแก้วมณีดวงนั้น ทรงยังจตุรงคเสนาให้ผูกสอดเครื่องรบ ทรงยกแก้วมณีไว้ปลายธง แล้วเสด็จไปยืนในที่มืดในราตรีกาล

ดูกรอานนท์ ชาวบ้านที่อยู่โดยรอบ ต่างพากันสำคัญว่ากลางวันประกอบการงานด้วยแสงสว่างนั้น

ดูกรอานนท์ แก้วมณีเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ฯ

[๑๖๘] ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง นางแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เป็นสตรีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส กอปรด้วยผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ไม่สูงเกิน ไม่ต่ำเกิน ไม่ผอมเกิน ไม่อ้วนเกิน ไม่ดำเกิน ไม่ขาวเกิน เย้ยวรรณของหญิงมนุษย์ แต่ไม่ถึงวรรณทิพย์

ดูกรอานนท์ สัมผัสแห่งกายของนางแก้วนั้น เห็นปานนี้ คือ เหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย นางแก้วนั้น ฤดูหนาว ตัวอุ่น ฤดูร้อนตัวเย็น กลิ่นจันทร์ฟุ้งออกจากกาย กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปากของนางแก้วนั้น นางแก้วนั้นมีปรกติตื่นก่อน มีปรกตินอนภายหลัง คอยฟังว่าจะโปรดให้ทำอะไร ประพฤติต้องพระทัย เพ็ดทูลด้วยถ้อยคำที่น่ารัก นางแก้วนั้นแม้ใจก็ไม่คิดนอกพระทัยพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ไหนเลยกายนางจะเป็นได้เล่า

ดูกรอานนท์ นางแก้วเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ฯ

[๑๖๙] ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง คฤหบดีแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ คฤหบดีแก้วนั้นปรากฏว่ามีจักษุเป็นทิพย์ซึ่งเกิดแต่ผลแห่งกรรม อาจเห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของ คฤหบดีแก้วนั้นเข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ พระองค์จงมีความขวนขวายน้อย ข้าพระพุทธเจ้าจักกระทำหน้าที่เรื่องทรัพย์ด้วยทรัพย์ของพระองค์

[๑๗๐] ดูกรอานนท์ อีกประการหนึ่ง ปริณายกแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ปริณายกแก้วนั้นเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญาสามารถเพื่อยังพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ให้ดำเนินเข้าไปยังที่ที่ควรเข้าไป ให้หลีกไปยังที่ที่ควรหลีกไป หรือให้ทรงยับยั้ง ในที่ที่ควรยับยั้ง ปริณายกแก้วนั้นเข้าเฝ้าพระเจ้ามหาสุทัสสนะ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครองเอง

ดูกรอานนท์ ปริณายกแก้วเห็นปานนี้ ได้ปรากฏแก่พระเจ้ามหาสุทัสสนะ

ดูกรอานนท์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 43 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร