วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 212 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
น. ขอถวายพระพร เปรียบบุญกุศลเหมือนเรือ บาปกรรมเหมือนศิลา อัน
คนที่กระทำบาปอยู่เสมอจนตลอดชีวิต ถ้าเวลาจะตายมิได้ปล่อยจิตใจให้ตาม
ระทมถึงบาปที่ตัวทำมา แต่หลังนั้น สามารถประคองใจไว้ในแนวแห่งกุศล
อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นอาจทำใจให้แน่วอยู่เฉพาะแต่ในพระคุณของพระพุทธเจ้า
เท่านั้น ถ้าตายลงในขณะแห่งจิตดวงนั้น ก็เป็นอันหวังได้ว่าไปสุคติ ประหนึ่งศิลา

ซึ่งมีเรืองทานน้ำหนักไว้มิให้จมลงฉะนั้น ส่วนผู้ที่กระทำบาปที่สุดแต่ครั้งเดียว
ถ้าเวลาใกล้จะดับจิต เพียงแต่จิตหวนไปพัวพันถึงกิริยาอาการที่ตัวกระทำบาป
ที่สุดแต่ครั้งเดียว ถ้าเวลาใกล้จะดับจิต เพียงแต่จิตหวนไปพัวพันถึงกิริยาอาการ
ที่ตัวกระทำบาปกรรมไว้เท่านั้น จิตดวงนั้นก็เป็นหนักพอที่จะถ่วงตัวให้ไปเกิด
ในนรก ซึ่งเหมือนศิลาที่เราโยนลงไปในน้ำ แม้จะก้อนเล็กก็คงจมเช่นเดียวกัน
ม. สมเหตุสมผลละ.
จบวัสสปัญญา

ปัญหาที่ ๓
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน เธอพยายามฝึกฝนตน ด้วยมี
ประสงค์จะละทุกข์ที่ล่วงมาแล้วกระนั้นหรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร หามิได้
ม. หรือจะละทุกข์ที่ยังมาไม่ถึง
น. หามิได้
ม. ถ้าเช่นนั้น ก็จะละทุกข์ที่มีอยู่ในบัดนี้
น. จะว่าเฉพาะทุกข์ในบัดนี้ก็ไม่ใช่

ม. ก็ถ้าอย่างนั้น เธอกระทำความพยายามทำไม
น. ขอถวายพระพร อาตมภาพพยายามด้วยหวังว่า จะดับทุกข์ที่มีอยู่ และ
จะมิให้ทุกข์อื่นซึ่งยังมาไม่ถึงเกิดขึ้น
ม. ทุกข์ที่ยังมาไม่ถึงนั้น จะพยายามไม่ให้มีขึ้นได้หรือเธอ
น. ขอถวายพระพร ได้
ม. เธอฉลาดมาก พยายามจะละทุกข์ที่ยังมีมาไม่ถึงก็ได้

น. ขอถวายพระพร พระองค์เคยถูกราชศัตรูยกพลมาเพื่อจะชิงเอา
พระนครบ้างหรือไม่
ม. เคยถูกอยู่บ้าง
น. ในทันทีนั้นพระองค์ ตรัสสั่งให้ลงมือขุดคู สร้างป้อมปราการ และ
ฝึกหัดทหาร ซ้อมเพลงอาวุธ กระนั้นหรือ
ม. หามิได้ กิจการเหล่านั้นต้องจัดทำเตรียมไว้ก่อน
น. นั่นพระองค์มีพระประสงค์อย่างไร จึงต้องทำเตรียมล่วงหน้าไว้เล่า

ม. ประสงค์ว่า เมื่อเกิดสงครามขึ้นจะได้ทันท่วงที มิฉะนั้นถึงเวลาสงคราม
ก็จะหาโอกาสจัดทำได้ยากที่สุดก็จะต้องพ่ายแพ้ข้าศึก และการที่เตรียมจัดทำ
ไว้ในเวลาปรกติย่อมทำได้ดี ทั้งเป็นที่เกรงขามของข้าศึกที่ยังมีมาไม่ถึงได้ด้วย
น. ขอถวายพระพร ข้าศึกที่ยังมาไม่ถึงก็มีด้วยหรือ
ม. มีสิเธอ

น. เหตุผลที่พระองค์ตรัสถามเบื้องต้นก็มีเช่นนี้แล การที่อาตมภาพเพียร
ฝึกฝนกายวาจาใจไว้ให้อยู่ในความควบคุมของจิตที่อบรมดีแล้ว ก็เพื่อปราบ
ทุกข์ที่มีอยู่ในบัดนี้ และเพื่อไว้ต่อสู้หรือป้องกันทุกข์ที่ยังมาไม่ถึงเช่นเดียวกับ
พระองค์เหมือนกัน ถ้าไม่ทำดังนี้ ใจก็จะมีปรกติอ่อนแอ ถึงคราวเกิดทุกข์ก็

จะเตรียมตัวไม่ทัน เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ย่อมเป็นช่องทางที่จะให้ความทุกข์เข้ามา
ผจญใจได้ เมื่อกำลังใจมีไม่พอที่จะต้านทานก็ต้องยอมเป็นเชลยแห่งความทุกข์
เรื่อยไป เป็นอันหาโอกาสที่จะทำเช่นนี้ได้อีกยาก เพราะฉะนั้นอาตมภาพ
จึงต้องพยายามฝึกฝนตนไว้ก่อน
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบอนาคตปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๔
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน เธอว่าพรหมโลกไกลมาก
แต่ว่าท่านที่มีฤทธิ์ถึงความแกล้วกล้าในจิตไปจากนี่ก็ถึงพรหมโลกทันที
ประหนึ่งการเหยียดแขนคู้แขนนั้นจะจริงหรือเธอ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร อาตมภาพขอทูลถามว่า
พระองค์ทรงอุบัติที่ไหน
ม. ที่เกาะอลสัณฑะ
น. เกาะนั้นนับแต่นี้ไปไกลเท่าไร
ม. ไกลประมาณ ๒๐๐ โยชน์

น. ขอพระองค์จงทรงส่งพระหฤทัยไปยังที่นั่น เพื่อทดลองดูว่าจะช้าเร็วเท่าไร
ม. ส่งไปเมื่อใด จิตก็แล่นไปถึงที่นั่นเมื่อนั้น

น. ความเร็วของจิตย่อมมีอยู่อย่างนั้นแล ขอถวายพระพร ยิ่งเป็นจิตของท่าน
ที่ได้ฝึกหัดไว้จนคล่องแคล่ว จะมิมีอานุภาพน่าอัศจรรย์ยิ่งขึ้นหรือ เหตุว่าอำนาจ
ของจิตที่อบรมดีแล้วเช่นนั้น ย่อมสามารถครองร่างกายไว้ในฐานทาสของตนได้
เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ย่อมบัญชาร่างกายได้ตามความเร็วของตน เพราะฉะนั้นท่านที่มี
ความแกล้วกล้าในจิต เมื่อคิดจะไปจากโลกนี้ ก็ย่อมไปถึงพรหมโลกเร็วได้เท่ากับ
จิตคิดเหมือนกัน
ม. น่าอัศจรรย์
จบทูรพรหมโลกปัญหา

ปัญหาที่ ๕
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คนตายที่นี่คนหนึ่งไปเกิด
พรหมโลกอีกคนหนึ่งไปเกิดที่กัสมีรนคร ๒ คนนี้ใครจะเร็วจะช้ากว่ากัน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ไปเกิดพร้อมกันทั้ง ๒ คน
ม. แปลก เธอจงเปรียบให้ฟัง
น. ตำบลที่พระองค์ทรงอุบัติชื่อไร
ม. ชื่อกาลสิระ ณ เกาะอลสัณฑะ

น. นับแต่นี้ไปไกลเท่าไร
ม. ประมาณ ๒๐๐ โยชน์
น. ขอพระองค์ได้ทรงส่งพระหฤทัยไปยังกัสมีรนครบ้าง
ม. ส่งไปแล้ว
น. ขอถวายพระพร ใครเร็วใครช้ากว่ากัน
ม. ถึงพร้อมกันและเธอ

น. นั่นแหละฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ด้วยว่าก่อนขณะจะดับจิตไปจาก
โลกนี้ จิตนั้นย่อมเกี่ยวเกาะที่ใดที่หนึ่งไว้แล้ว ครั้นดับจากที่นี้ก็แล่นไปถึงที่
หมายไว้นั้นทันที เหตุนี้จึงว่าคนทั้งสองนั้นเกิดพร้อมกัน
ม. เธอสามารถเปรียบให้เห็นได้
จบพรหมกัสมีรนครปัญหา

ปัญหาที่ ๖
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ที่ไปเกิดยังโลกหน้า
ขณะเมื่อไปเกิดมีสีสันวรรณเป็นอย่างไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ความข้อนี้พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสไว้
ม. ถ้าเช่นนั้นโลกหน้าก็เป็นอันไม่มี
น. พระองค์ได้ยินคำถวายวิสัชนาของอาตมภาพหรือไม่
ม. ได้ยินสิเธอ

น. ก็ขณะเมื่อเสียงของอาตมภาพแล่นเข้าสู่พระกรรณของพระองค์ๆ เห็น
มีสีสันวรรณอย่างไรบ้าง
ม. ไม่เห็นมีสีสันวรรณอย่างไรนี่เธอ
น. คติของสัตว์ก็เป็นเช่นเดียวกับเสียงนั้นแล ขณะเมื่อจะไปเกิดยังโลกหน้า
ก็มิได้ปรากฏว่ามีสีเขียวเหลืองขาวหรือมีรูปทรงเหมือนช้างม้าอย่างไร
ม. ถ้าเป็นอย่างเธอว่า ร่างกายเราบัดนี้ก็ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งไปเกิด
ยังโลกหน้าอีกเลย
น. ขอถวายพระพร ย่อมเป็นเช่นนั้นแล

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ม. ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น โลกหน้ามิมีร่างกายซึ่งเกิดขึ้นเองอีกร่างหนึ่งต่างหากหรือ
น. ขอถวายพระพร รวงข้าวในนาเกิดมาได้โดยลำพังหรือว่าโดยพืชพันธุ์
ซึ่งคนปลูกทำขึ้น
ม. จะเกิดขึ้นมาโดยลำพังได้อย่างไร ต้องอาศัยพืชพันธุ์ ซึ่งชาวนาได้หว่าน
ได้ทำลงไป จึงจะเกิดรวงขึ้นมาได้

น. ร่างกายในโลกหน้าก็เป็นเช่นเดียวกับรวงข้าวนั้นแล คือมิได้เกิดขึ้นเอง
ต้องอาศัยพืชพันธุ์เหมือนกัน ขอถวายพระพร แต่พืชพันธุ์ในที่นี้ได้แก่บุญบาป
ซึ่งร่างกายในบัดนี้ได้กระทำไว้ พอตายไป บุญบาปนั้นแลก่อให้ร่างกาย
โลกหน้าเกิดมีขึ้น ก็ถ้าเกิดขึ้นได้เองโดยมิได้มีบุญบาปปรุงแต่งให้เป็นไปแล้ว
คนจะเหมือนกันสิ้น รูปพรรณสัณฐานก็จะไม่ผิดกันแต่นี่เพราะมิเป็นเช่นนั้น
จึงได้ผิดกันต่างๆ ไปอย่างนี้
ม. เธอว่านี้ฟังได้
จบปรโลกคตนีลปีตาทิวัณณคตปัญหา

ปัญหาที่ ๗
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน สัตว์เมื่อจะเข้าถือปฏิสนธิ
ในท้องมารดาเข้าทางไหน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร หาเป็นเช่นพระองค์ตรัสถามนั้นไม่
ม. อย่างนั้นเธอจงยกตัวอย่างมาดู
น. ขอพระองค์จงทรงส่งพระหฤทัยเข้าไปนึกถึงแก้วแหวนเงินทองในหีบนั่นดู
ม. ส่งเข้าไปแล้ว

น. ขอถวายพระพร นั่นพระองค์ทรงส่งพระหฤทัยเข้าไปทางไหน
ม. หามีช่องทางสำหรับให้ส่งจิตเข้าไปไม่เธอ แต่ที่ส่งจิตเข้าไปได้จนเห็น
แก้วแหวนเงินทองในนั้น ก็เนื่องด้วยจิตหมายรู้ตามที่ได้ประจักษ์มาแล้ว

น. ขอถวายพระพร คนเมื่อจะเกิดในท้องมารดา ก็มีเฉพาะแต่จิตซึ่งเรียกว่า
ปฏิสนธิ วิญญาณเข้าไปถือปฏิสนธิ เมื่อขณะเข้าไปก็เข้าไปโดยอาการเช่น
พระองค์ทรงส่งพระหฤทัยเข้าไปในหีบนั้นเหมือนกัน ฉะนั้นจึงหามีช่องทาง
ทางใดทางหนึ่งสำหรับให้วิญญาณเข้าไปถือปฏิสนธิไม่
ม. เข้าใจละ
จบมาตุกุจฉิปัญหา

ปัญหาที่ ๘
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน องคคุณอันเป็นเหตุให้ตรัสรู้
พระอริยมรรคอริยผลมีเท่าไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร มี ๗ ( ๑. สติ ความระลึกได้
๒. ธัมมวิจยะ ความสอดส่องธรรม ๓. วิริยะ ความเพียร ๔. ปิติ ความอิ่มใจ
๕. ปัสสัทธิ ความสงบใจและอารมณ์ ๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๗. อุเบกขา
ความวางเฉย )

ม. ก็พระพุทธเจ้าเล่า พระองค์ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณด้วย
องค์คุณทั้ง ๗ นั้น หรือว่าเฉพาะแต่องค์ใดองค์หนึ่ง
น. ถ้าว่าเฉพาะองค์ที่สำคัญ ก็องค์เดียวเท่านั้นคือ ธัมมวิจยะ ความสอดส่องธรรม
ม. ก็ถ้าเป็นเช่นนั้น ไฉนเธอจึงว่ามีถึง ๗ เล่า
น. ขอถวายพระพร ดาบเมื่อยังไม่ได้ถอดออกจากฝัก ฟันไม้ขาดหรือไม่
ม. ฟันไม่ขาด

น. เปรียบธัมมวิจยะเหมือนตัวดาบ องค์ทั้ง ๖ นอกนั้นเหมือนฝักดาบ ก็การ
ที่จะได้พระอริยมรรคอริยผล ต้องอาศัยธัมมวิจยะ การสอดส่องธรรมซึ่งเป็น
ปฏิปทาให้ก้าวไปถึงภูมิธรรมนั้น ๆ เป็นผู้บั่นกิเลสที่ขวางหน้าอยู่ให้เด็ดขาด
ออกไป จึงจะได้มรรคผลนั้นๆ ส่วนองค์ทั้ง ๖ นั้นหาได้เป็นองค์โดยตรงสำหรับ
ตัดกิเลสทั้งหลายไม่ เป็นแต่คอยส่งเสริมธัมมวิจยะให้คมยิ่งขึ้นเท่านั้น
ขอถวายพระพร เพราะเหตุฉะนี้แล โพชฌงค์จึงมีถึง ๗
ม. เข้าใจละเธอ
จบสัตตโพชฌงคปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๙
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน บุญกับบาปไหนจะดูดดื่มกว่ากัน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร บุญดูดดื่มมากกว่า
ม. ทำไมจึงเป็นอย่างนั้นเล่าเธอ

น. ขอถวายพระพร บาปย่อมมีผลเป็นทุกข์ ก็เมื่อผู้กระทำบาป ถูกความทุกข์
เผาผลาญให้ได้รับความเดือดร้อนอยู่ ใจย่อมระอาคร้านต่อการกระทำบาปนั้น
ต่อไป ส่วนบุญย่อมตามอำนวยความสุข กายความเย็นใจให้แก่ผู้กระทำ ซึ่งเป็น
เหตุชวนให้ผู้ที่ได้รับผลเช่นนั้น พยายามสั่งสมต่อไปอีก เพราะบุญมีผลเป็นที่
จับใจของผูกระทำเช่นนี้ จึงดูดดื่มกว่า
ม. ชอบละ
จบบาปปุญญพหุการปัญหา

ปัญหาที่ ๑๐
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คนหนึ่งรู้ว่าทำอย่างไรเป็นบาป
และบาปนั้นมีโทษอย่างไร อีกคนหนึ่งไม่รู้เสียเลย คน ๒ คนนี้ทำบาปด้วยกัน
ใครจะบาปมากกว่ากัน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร คนไม่รู้บาปมากกว่า

ม. ไฉนจึงเป็นเช่นนั้นเล่าเธอ ก็ทางบ้านเมือง ผู้ที่ไม่รู้กฎหมายกระทำผิด
บางอย่าง ย่อมได้รับความลดหย่อนผ่อนโทษเบากว่าผู้รู้กฎหมาย
น. ขอถวายพระพร ก้อนเหล็กซึ่งเขาเผาไฟจนแดงโชน คนหนึ่งรู้ว่าเป็น
เหล็กแดงอีกคนหนึ่งไม่รู้ ก็ถ้าจะให้คน ๒ คนนี้หยิบก้อนเหล็กแดงนั้น คนไหน
จะหยิบได้เต็มมือ และถูกความร้อนเผามากกว่ากัน

ม. คนรู้จะหยิบได้สนิทหรือเธอ ต่อคนไม่รู้จึงหยิบได้เต็มมือ เมื่อเช่นนั้น
ก็ต้องถูกความร้อนเผามากกว่าคนรู้
น. นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้น คือผู้ที่รู้เหตุรู้ผลแห่งบาปกรรมโดยจริงใจ
มีอยู่อย่างไร ขณะเมื่อตนกระทำบาปอยู่ย่อมเกิดความละอายใจ และความ
หวาดกลัวว่า ตนมิสมควรจะกระทำเช่นนั้น ด้วยเกรงว่าภายหลังจะได้รับ
ความเดือดร้อนเพราะบาปกรรมนั้นตามให้ผล เป็นอันว่า มิกล้าที่จะกระทำ

บาปต่อไปอีก ส่วนผู้ที่ไม่รู้ว่าทำอย่างไรเป็นบาป และการกระทำนั้นมีโทษ
เพียงไร ย่อมไม่มีความตะขิดตะขวงใจ อาจทำได้ตามอำเภอใจ แม้บาปหนักๆ
ก็ทำได้ โดยที่ตนไม่รู้ว่าการกระทำนั้นๆ ตนจะต้องเป็นผู้รับผลอย่างสาหัส
ขอถวายพระพร ด้วยเหตุนี้แลจึงว่าคนไม่รู้บาปมากกว่า
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบชานอชานปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๑๑
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ที่ไปสู่ที่ไกลๆ ได้โดยอาการ
เหาะไปมีบ้างหรือไม่
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร มี
ม. น่าสงสัยจริงเธอ จะเหาะไปได้อย่างไร
น. ก็ผู้ที่กระโดดขึ้นไปได้สูงๆ พระองค์ทรงทราบหรือไม่ว่า ขึ้นไปได้อย่างไร
ม. ขึ้นไปได้ด้วยการรวบรวมกำลังกาย ซึ่งตนฝึกซ้อมไว้ พร้อมด้วยใจมุ่งจะกระโดด
น. นั่นถ้าเพียงแต่รวบรวมกำลังกายเท่านั้น จะกระโดดขึ้นไปได้หรือไม่
ม. ไม่ได้สิเธอ

น. ขอถวายพระพร เป็นเพราะอะไร
ม. เป็นเพราะการรวบรวมกำลังซึ่งได้ฝึกซ้อมไว้นั้น มีประโยชน์เพียงให้
การกระโดดนั้นทวีส่วนสูงขึ้นเท่านั้น หาได้มีอำนาจพอที่จะนำร่างกายให้
ลอยขึ้นไปได้ไม่ เหตุนี้จึงจำต้องพร้อมด้วยใจมุ่งจะกระโดดด้วย ร่างกายจึง
จะลอยขึ้นไปได้

น. นี่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า ฤทธิ์เดชของใจที่มุ่งกระทำแล้วมีอยู่เพียงไร
ขอถวายพระพร ก็ถ้ายิ่งได้ฝึกซ้อมใจไว้จนมีกำลังเหนือกำลังกายแล้ว
ถึงคราวประสงค์จะเหาะ เมื่อรวบรวมกำลังใจนั้นเข้า จะมิพาร่างกาย
เหาะไปได้ไกลๆ หรือเหตุว่าอานุภาพของกำลังใจที่ได้ฝึกซ้อมไว้ดีแล้ว
ย่อมบงการให้กายกระทำอะไรๆ ได้แทนทุกอย่าง
ม. สิ้นสงสัย
จบอุตตรกุรูปัญหา

ปัญหาที่ ๑๒
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ต้นไม้สูงตั้ง ๑๐๐ โยชน์ก็มีอยู่
แต่เหล่าสัตว์ที่มีกระดูกยาวตั้ง ๑๐๐ โยชน์จะมีหรือไม่

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ในทะเลปรากฏว่ามีปลาตัวยาว
ตั้ง ๕๐๐โยชน์ ( เรื่องจำนวนมากมายเช่นนี้ ท่านผู้แต่งคัมภีร์แต่ก่อน มักจะพอใจ
กล่าวไว้ในบาลีประเทศทั้งหลาย แม้เรื่องปัญหาพระยามิลินท์นี้ ตอนนิทาน
เบื้องต้นพระปิฎกจุฬาภัยก็กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "พระอัสสคุตผู้สังฆนายกได้

ประชุมสงฆ์องค์พระอรหันต์ ๑๐๐ โกฏิ" ก็ในสมัยที่พระปิฎกจุฬาภัยกล่าวถึงนี้
พระพุทธศักราชประมาณ ๑๐๐ ปี ซึ่งเป็นเวลาไม่น่ามีพระอรหันต์มากมายเท่านั้น
แม้พระภิกษุสมมติสงฆ์หรือที่สุดจนพลเมืองทั้งประเทศ ก็เชื่อว่าคงมีจำนวนไม่มาก
ถึงเท่านั้น แต่ก็น่าคิดว่าเหตุไฉนท่านผู้แต่งคัมภีร์ทั้งหลาย ซึ่งโดยมากปรากฏว่าเป็น

กัลยาณชนมีอัธยาศัยดีงาม จึงพอใจกล่าวเสริมเกินกว่าความจริงไว้ในบาลีประเทศ
มากแห่ง น่าจะมีเหตุผลหลายประการซึ่งชวนให้ท่านควรกล่าวไว้ เช่นนั้นมี
อาทิเช่นท่าต้องการ จะกล่าวให้กลายเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ซึ่งนิยมกันอยู่ในสมัยนั้นๆ
หรือมิฉะนั้นก็ตั้งใจจะให้เกิดบุญกุศลแก่ผู้อ่านผู้ฟังเช่นเรื่องสังฆสมาคม ซึ่งมี

พระอรหันต์มาประชุมถึง ๑๐๐ โกฏิรูปนี้ ถ้าผู้อ่านผู้ฟังอาจส่องจิตไปดูภาพ
สงฆ์สมาคมใหญ่ปานนั้นได้ ก็ย่อมจะเป็นทางให้เกิดปิติ ความอิ่มใจได้ไม่น้อย
เพราะฉะนั้นเรื่องจำนวนมากเช่น ๕๐๐ โยชน์ในที่นี้จึงควรให้อภัยแก่ท่านผู้มี
ความปรารถนาดีเช่นนั้น ) เมื่อเป็นเช่นนั้นจริง ไฉนกระดูกจะยาวไม่ถึง ๑๐๐ โยชน์
จบทีฆอัฎฐิกปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 07:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๑๓
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คำที่เธอว่าตนอาจจะระบายลม
หายใจเข้าออกให้นิ่งเงียบได้สนิทนั้น จะทำได้หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระองค์เคยได้ยินเสียงคนนอนกรน
บ้างหรือไม่
ม. เคยได้ยิน
น. เมื่อผู้นั้นพลิกตัว เสียงกรนเงียบไปไม่ใช่หรือ
ม. เงียบไป

น. นั่นแต่เพียงเขาพลิกตัวเสียงกรนยังเงียบไปได้ชั่วขณะ ขอถวายพระพร
ถ้าคนไม่ได้ฝึกปรือไว้ ตาหูจมูกลิ้นกายใจย่อมมีเสียงได้ตามสภาพของตน
เช่นนั้นแล แต่ถ้าได้ศีลธรรมมาปกครองกระทำการฝึกหัดให้ จนตาหูจมูกลิ้น
กายใจเหล่านั้นต่างพลิกตัวมาคอยฟังคำสั่งของศีลธรรมแล้ว ก็ย่อมจะสงบเงียบ
ได้เช่นเดียวกัน
ม. เธอสามารถจริง
จบอัสสาสปัสสาสปัญหา

ปัญหาที่ ๑๔
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ทีเรียกว่าทะเลนั้น น้ำหรือ
ชื่อว่าทะเล
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ที่ซึ่งมีน้ำเค็มเท่าใด ที่เท่านั้นแล
เป็นทะเล
ม. ก็เพราะเหตุไร น้ำจึงเค็มเล่า
น. เพราะขังอยู่นาน
ม. ชอบกล
จบสมุททปัญหา

ปัญหาที่ ๑๕
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน สิ่งที่ละเอียดจะตัดได้ด้วยอะไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ตัดได้ด้วยปัญญา ขอถวายพระพร ก็สิ่งที่ละเอียด
นี้มีมากอย่าง แต่ที่นับว่าละเอียดที่สุดก็คือธรรม แม้กระนั้นธรรมก็ยังมีละเอียดยิ่ง
และหย่อนกว่ากันที่ยิ่งก็ต้องตัดด้วยปัญญาอย่างแก่กล้า ที่ละเอียดหย่อนกว่านั้น
ก็ตัดด้วยปัญญาทีเพลาลงมา
ม. น่าฟัง
จบสุขุมัจเฉทนปัญหา

ปัญหาที่ ๑๖
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน วิญญาณ ปัญญา และเจตภูต
ทั้ง ๓ นี้มีความหมายต่างกันหรือเหมือนกัน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ต่างกัน คือวิญญาณได้แก่ความรู้แจ้ง
ในเมื่อตาเห็นรูปเป็นต้น ปัญญาได้แก่ความรอบรู้ซึ่งเกิดแต่การที่ได้พิจารณา
รูป เสียง กลิ่น รส ซึ่งวิญญาณได้รับรู้ไว้นั้นว่ามีเหตุผลเป็นอย่างไร แต่เจตภูตว่า
โดยปรมัตถ์แล้ว ก็ค้นหาไม่ได้

ม. ถ้าค้นหาเจตภูตไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ใครเล่าเห็นรูปด้วยตา ได้ยินเสียง
ด้วยหู เป็นอาทิ
น. ถ้าเป็นอย่างพระองค์ตรัส จะมิเป็นอันว่าเจตภูตเป็นผู้เห็นรูปเป็น
ผู้ได้ยินเสียงหรือ
ม. มิใช่อย่างนั้นสิเธอ

น. ขอถวายพระพร เพราะตาเห็นรูปหูได้ยินเสียงเมื่อตาหูรับเห็นรับฟัง
เช่นนั้นแล้วก็รายงานไปยังใจ เช่นนี้แลจึงว่าโดยปรมัตถ์ค้นหาเจตภูตไม่ได้
ม. ชอบละ
จบวิญญาณทินานัตถภาวปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 07:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๑๗
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าทรงกระทำกิจ
ซึ่งยากที่จะกระทำได้
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า กิจคืออะไรเธอ
น. ขอถวายพระพร คือพระดำริหรือความคิดซึ่งเกิดขึ้นในขณะหนึ่งๆ
พระพุทธองค์ ทรงสามารถกำหนดไว้ว่า นี่ผัสสะ นี่เวทนา นี่สัญญา นี่เจตนา
นี่จิต ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ยาก

ม. เธอจงเปรียบให้ฟัง
น. เหมือนเราวักน้ำขึ้นมา แล้วจะพึงแยกน้ำนั้นออกด้วย ใคร่จะรู้ว่า
ส่วนไหนไหลมาจากแม่น้ำสายไหน ดังนี้จะสามารถทำได้หรือ
ม. ยากที่จะกระทำได้

น. ขอถวายพระพร นี่เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน การที่พระพุทธองค์ทรง
สามารถกำหนดเขตของจิตที่ดำเนินอยู่ในขณะหนึ่งๆ ได้เช่นนั้น ก็เพราะ
พระองค์มีพระสติสัมปัชัญญะรู้สึกพระองค์อยู่ทุกๆ ขณะจิต เพราะฉะนั้น
เมื่อมีอะไรผ่านมาพระองค์จึงทรงกำหนดได้ว่า นี่เป็นผัสสะ นี่เป็นเวทนา
นี่เป็นสัญญา นี่เป็นเจตนา นี่เป็นจิต
ม. ละเอียดแท้
จบอรูปววัตตภาวทุกกรปัญหา

ปัญหาที่ ๑๘
ระหว่างที่พระเจ้ามิลินท์ตรัสปุจฉาวิสัชนากับพระนาคเสนอยู่นี้ เวลา
ล่วงมาถึงเที่ยงคืน ครั้นเห็นสมควรแก่เวลา จึงตรัสสั่งให้เอาผ้ากัมพลมา
ถวายพระนาคเสนแล้วตรัสปวารณาว่า นับแต่วันนี้ข้าพเจ้าขอถวายอาหาร
บิณฑบาตแก่เธอเป็นนิตย์ และเธอต้องการสิ่งใดก็ขอให้เรียกเอา
พระนาคเสนทูลว่า อาตมภาพพอเลี้ยงชีพแล้ว

ม. ข้าพเจ้าก็ทราบอยูา แต่ที่กระทำเช่นนี้ก็เพื่อกันความนินทาด้วยว่า
อาจจะมีคนติเตียนได้ว่า พระนาคเสน ทำให้พระเจ้ามิลินท์เลื่อมใสแล้ว
ไม่เห็นได้อะไร หรือเพื่อกันเขาติเตียนข้าพเจ้าว่าพระมิลินท์เลื่อมใสต่อ
พระนาคเสนแล้ว ไม่เห็นทรงกระทำอาการของผู้เลื่อมใส อาศัยเหตุนี้แล
ขอเธอจงรับปวารณาของข้าพเจ้าเถิด

น. ถ้าเช่นนั้นอาตมภาพก็รับปฏิบัติตามพระราชประสงค์ได้
ม. ดูก่อนพระนาคเสน ใจของข้าพเจ้าใคร่จะออกบวชอยู่ทุกขณะ
ดุจราชสีห์ถูกขังอยู่ในกรงทองย่อมหันหน้ามุ่งแต่จะเข้าป่าเท่านั้น แต่ก็ยัง
กระทำลงไปในบัดนี้ไม่ได้ ด้วยเกรงข้าศึกจะทำลายความประสงค์นี้เสีย

ครั้นจบพระราชดำรัส พระนาคเสนก็ถวายพระพรลากลับไปวัด
วันรุ่งขึ้นพระเถรเจ้าก็เข้าไปในพระราชวัง ครั้นพระเจ้ามิลินท์ทรงถวาย
อาหารบิณฑบาตเลี้ยงเสร็จแล้ว ก็มีพระราชดำรัสว่า เมื่อคืนตลอดยังรุ่ง
ข้าพเจ้ามาคำนึงถึงการโต้ตอบปัญหากับเธอเมื่อวันนี้ เกิดความปลื้มใจ
นอนไม่หลับ แม้พระนาคเสนก็ทูลความปลื้มใจของท่านถวายเช่นเดียวกัน
จบทุกกรปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
จบวรรคที่ ๗
จบปุจฉาวิสัชนาตอนมิลินทปัญหา
ปัญหาที่ ๓
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ปรากฏว่าเมื่อพระนางปชาบดี
โคตมีนำคู่ผ้าซึ่งพระนางพยายามทำอย่างประณีตทุกอย่าง ไปถวายพระพุทธเจ้า
แต่พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า เป็นของมีค่า ถ้าให้ทรงถวายแด่พระสงฆ์ ก็จะเกิดผล
อันไพศาล จึงตรัสแนะนำให้พระนางทรงนำผ้าคู่นั้นไปถวายแด่พระสงฆ์
เรื่องนี้จริงหรือเธอ

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร จริง
ม. ถ้าเป็นเช่นนั้น พระสงฆ์จะมิประเสริฐกว่าพระพุทธเจ้าหรือ จึงสมควร
แด่ผ้าผืนนั้น

น. ขอถวายพระพร การที่พระพุทธเจ้ามีพระพุทธดำรัสแนะนำให้ทรง
กระทำเช่นนั้นก็ด้วยมีพระพุทธประสงค์จะเชิดชูพระสงฆ์ เพียงเท่านี้ไม่เป็น
เหตุที่จะจัดว่า พระสงฆ์ประเสริฐกว่าพระพุทธเจ้า อาตมภาพจะเปรียบถวาย
เหมือนชายชราผู้หนึ่งเห็นว่าบุตรของตนเป็นคนดี จึงกล่าวยกย่องขึ้นในที่ประชุม
เมื่อเป็นเช่นนั้นจะจัดว่า บุตรดีกว่าชายชราผู้บิดาโดยเหตุที่ได้รับยกย่องกระนั้นหรือ

ม. ด้วยเหตุเท่านั้น บุตรจะดีกว่าบิดาไปได้อย่างไรเล่าเธอ ข้าพเจ้าเห็นว่า
บิดาเป็นคนดีและฉลาดในการปกครองด้วย เพราะเมื่อบุตรเห็นบิดาแสดงเมตตาจิต
เช่นนั้น ก็ย่อมจะพยายามทำความดี เพื่อดำรงวงศ์สกุลให้ยิ่งๆ ขึ้น นอกจากนี้
ญาติมิตรทั้งหลายก็จะพากันนิยมนับถือบุตรชายผู้นั้นขึ้นอีกด้วย

น. ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าก็ดียิ่งเช่นนั้นเหมือนกัน ข้อที่จะพึงพิสูจน์
พระคุณสมบัติ ย่อมได้จากเรื่องนี้แล คือการที่พระพุทธองค์ไม่ทรงรับผ้าไว้
ใช้สอยเป็นส่วนพระองค์นั้นส่อให้เห็นว่า พระองค์มิได้เห็นแต่ประโยชน์สุข
ของพระองค์ส่วนเดียว มีพระหฤทัยมุ่งแต่จะให้เกิดประโยชน์สุขแก่คน
จำนวนมากต่อไปเท่านั้น เพราะทรงเห็นว่า เมื่อพระองค์นิพพานไปแล้ว

พระสงฆ์แหละจะเป็นผู้ดำรงศาสนาวงศ์คำสั่งสอนของพระองค์ได้ยืดยาว
ไปถึงคนภายหลังได้ อนึ่งทรงเห็นว่า พระสงฆ์ก็เป็นทักขิเณยยบุคคลสมควร
แก่เครื่องสักการบูชาเช่นนั้นเหมือนกัน ทั้งจะเป็นตัวอย่างชวนให้ผู้บริจาค
ทานในภายหลังเห็นคุณสมบัติของพระสงฆ์ ในเมื่อมาคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย

ขอถวายพระพร เพราะมีพระพุทธประสงค์อยู่เท่านี้แล จึงตรัสแนะนำ
ให้พระนางทรงนำผ้าคู่นั้นไปถวายแด่พระสงฆ์ ซึ่งจัดเป็นองค์สมบัติ
ประการหนึ่ง ที่เชิดชูให้พระองค์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด
ม. เธอนี่สามารถจริง
จบโคตมีวัตถุนิทานปัญหา

ปรารภเมณฑกปัญหา
อยู่มาคืนวันหนึ่ง พระเจ้ามิลินท์เสด็จประทับอยู่ในที่เงียบสงัด ทรงใคร่ครวญ
ถึงข้อธรรมบางประการ ซึ่งมีข้อขอดเป็นสองแง่สองทาง เกิดปัญหาขึ้นใน
พระราชหฤทัย ทรงวินิจฉัยให้เด็ดขาดไม่ได้ จึงทรงพระปรารภว่า จะต้องพัก
ราชการสัก ๗ วัน สมาทานศีลและระวังจิตมิให้ตกไปในอำนาจแห่งความรัก

ความโกรธความหลง สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไว้ให้อยู่ในความควบคุม
แห่งสติสัมปชัญญะอยู่ทุกขณะ ถ้วน ๗ วันแล้วจักไปหาพระนาคเสน นิมนต์
ให้ท่านแถลงข้อขอดแห่งปัญหาธรรมซึ่งเป็นสองแง่สองทางนั้นๆ ให้ฟัง มี
พระราชดำริอยู่ฉะนี้ รุ่งขึ้นพระองค์ทรงชำระสระพระเกศา ทรงผ้ากาสาวพัสตร์
ถือเพศเป็นมุนี ทรงสำรวมกายวาจาใจอยู่สิ้น ๗ วัน ครั้นถึงวันที่ ๘ ก็เสด็จไป
หาพระนาคเสนตรัสเล่าพระราชปรารภและพระราชประสงค์ให้ฟังจนตลอด
แล้วทรงเริ่มดำรัสถามปัญหาต่อไป
เมณฑกปัญหา ปัญหาที่ ๑

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พวกเดียรถีย์พูดกันว่า เครื่อง
สักการะที่เราบูชาพระพุทธเจ้าทุกวันนี้ ถ้าเราเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าทรงยินดีรับ
ก็เป็นอันว่าพระองค์ไม่ใช่พระอรหันต์ผู้วิเศษอะไรเพราะเห็นแก่เครื่องบูชา เมื่อ
เป็นเช่นนี้ การบูชานั้นจะมีคุณได้อย่างไร แต่ถ้าเราบูชาโดยเข้าใจว่าพระพุทธเจ้า

เป็นพระอรหันต์ได้มรรคผลนิพพานจริงพระองค์สิดับสูญไปแล้ว การบูชา
พระพุทธองค์ที่เรากระทำกันอยู่ในบัดนี้ จะไปได้รับความยินดีหรือได้รับอนุโมทนา
จากใครเขาว่าการบูชาของเราไร้ผลทั้ง ๒ ประการเช่นนี้ เธอจะแก้เขาว่ากระไร

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร อย่าว่าแต่พระพุทธองค์นิพพานไปแล้ว
เลย แม้แต่เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ พระองค์ก็ไม่มีความยินดีเพราะความยินดียินร้าย
พระองค์ได้ตัดได้เด็ดขาดแล้ว ความข้อนี้พระสารีบุตรท่านก็ได้กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้า
ไม่ทรงยินดีในเครื่องสักการะที่ชนทุกชั้นบูชาที่สุดจนเครื่องราชสักการะ

ม. เท่าที่เธอว่านี้ยังฟังไม่ได้ เพราะวิสัยบุตรก็ยกย่องคุณบิดามารดาเป็นธรรมดา
น. ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะยกตัวอย่างมาเปรียบถวายเหมือนไฟกองใหญ่ลุกโพลง
อยู่ขณะหนึ่งแล้วมอดไป ขอถวายพระพร ไฟที่มอดแล้วนั้นยินดีต่อหญ้าและไม้ซึ่งเป็น
เชื้อหรือไม่
ม. จะกล่าวไปไยถึงไฟที่มอดแล้ว แม้ไฟเมื่อขณะลุกอยู่ ก็ไม่ยินดี เพราะไม่มีเจตนา

น. ก็เมื่อไฟกองนั้นมอดไปแล้ว ต่อมาจะต้องการไฟทำอะไรอีก มิไม่สำเร็จ
ประโยชน์หรือ
ม. ต้องการเมื่อไร ก่อใหม่ไฟก็ลุกขึ้นอีก
น. พระพุทธเจ้าก็เป็นเช่นเดียวกับไฟนั้นเหมือนกัน คือนับแต่ขณะเมื่อได้บรรลุ
พระสัมมาสัมโพธิญาณนั้นมา พระองค์หามีเจตนารู้สึกทรงยินดีต่อสิ่งที่น่าปรารถนา
หรือยินร้ายต่อสิ่งที่เป็นข้าศึกไม่ เพราะพระองค์ทรงรู้เท่าทันคติของความยินดียินร้าย
ขอถวายพระพร เนื่องด้วยพระองค์ไม่มีพระหฤทัยทรงยินดียินร้ายนี้แลเป็นเหตุ การ

บูชาของเราจึงเกิดผลเหมือนไฟโพลงยิ่งขึ้น เพราะอะไร เพราะถ้าพระองค์ทรงยินดีอยู่
เราก็จะตั้งใจคอยรับแต่อนุโมทนาหวังดีจากพระองค์โดยตรงเท่านั้นซึ่งเป็นเหตุให้เรา
คร้ายต่อกิจการที่ชอบอื่นๆ และเมื่อพระองค์ทรงยินดีในการที่เราบูชา ก็ต้องทรงยินร้าย
ในเมื่อเราไม่บูชาหรือบูชาไม่ถูกพระหฤทัย เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็จะต้องจำใจทำ และต้อง
ทำให้ถูกพระหฤทัยด้วย ถ้ามิฉะนั้นพระองค์ก็จะใส่ร้ายให้ ขอถวายพระพร แต่นี้เพราะ

พระอัธยาศัยมิได้เป็นเหตุให้เราหวังดีหรือเกรงกลัวอย่างนั้น การบูชาของเราจึงทำได้
ถูกทาง แม้พระองค์จะดับสูญไปแล้ว เราก็อาจก่อการบูชาของเราให้โพลงขึ้นได้ เหตุว่า
การบูชาของเรามีประสงค์แต่จะโยงกายวาจาใจให้น้อมนึกถึงพระองค์ และพระคุณ
สมบัติทั้งหลาย มาปลุกใจให้เราพยายามทำประโยชน์สุขให้แก่ตัวและผู้อื่นยิ่งๆ ขึ้น

ขอถวายพระพร ก็เมื่อการบูชาของเราทำโดยมีเหตุ มีผลเช่นนี้แล้วจะจัดว่า
ไร้ผลได้อย่างไร
ม. เธออุปมานี้ดีนัก
จบวัชฌาวัชฌปีญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๒
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คำที่ว่าพระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญู
รู้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น จริงหรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร จริง แต่ว่าความรู้นั้นๆ หาได้มีแนบกับ
พระหฤทัยอยู่ทุกขณะไม่ จะปรากฏขึ้นก็ต่อเมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงนึกเสียก่อน
ม. ถ้าเป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่สัพพัญญู เพราะว่าถ้าเป็นสัพพัญญูจริงแล้ว
พระองค์ก็ไม่ต้องนึกไว้ก่อนสิเธอ

น. เมื่อพระองค์ยังไม่ทรงพระราชดำริเห็นด้วย อาตมภาพจะเปรียบถวาย คือเหมือน
ไม้ต้น ๑ มีผลเต็มต้น แต่ยังไม่มีร่วงหล่นเลยสักผลเดียว เมื่อเป็นดังนั้น จะว่าไม้ต้นนั้น
ไม่มีผลหรือมีผลน้อยเพราะเหตุที่ผลยังไม่หล่นจะได้หรือ
ม. ไม่ได้สิเธอ

น. หรือเปรียบเหมือนผู้ที่มีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อแขกมาถึงบ้าน
พ้นจากเวลาบริโภคอาหาร ย่อมจัดหาอาหารมาเลี้ยงแขกไม่ได้ในทันที ขอถวายพระพร
เมื่อเป็นเช่นนี้จะว่าผู้นั้นไม่มีสมบัติบริบูรณ์จริง เพราะเหตุบกพร่องอาหารในขณะนั้น
จะได้หรือ

ม. ไม่ได้ อย่าว่าแต่ผู้มีฐานะอย่างนั้นเลย แม้แต่ในพระราชวังของพระเจ้าจักรพรรดิ์
ก็ยังต้องเป็นเช่นนั้น
น. ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน คือพระองค์ย่อมมีความรู้
บริบูรณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ว่าความรู้นั้นๆ หาได้ประจำอยู่กับพระหฤทัยทุกขณะไม่
ต่อเมื่อพระองค์ได้ทรงหยั่งพระหฤทัยส่องลงไปยังเรื่องใดจึงจะทรงรู้ทรงเห็นเรื่องนั้น
ได้ตลอด ขอถวายพระพร การที่พระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้เช่นนั้น ก็

เพราะปรากฏว่า เมื่อครั้งพระพุทธองค์ยังทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาศิลปวิทยามามาก
อย่าง และได้ทรงพยายามศึกษาเรื่อยมาจนพระชนมายุถึง ๓๕ ปี จึงทรงจับหลักฐาน
แห่งความจริงของสภาพทั้งหลายโดยลำพังพระองค์เองได้ ความรู้หลักความจริงนั้น
และเป็นเหตุทำพระหฤทัยของพระองค์ให้มีปรกติผ่องใสอยู่ได้ทุกขณะ เพราะฉะนั้น
เมื่อทรงฉายพระหฤทัยส่องไปยังเรื่องใด จึงทรงรู้ทรงเห็นเรื่องนั้นได้ชัดเจนพร้อมทั้ง
เหตุผล

ขอถวายพระพร เพราะเหตุดังกล่าวมานี้แลพระพุทธเจ้าจึงเป็นสัพพัญญูรู้ทุกสิ่ง
ทุกอย่าง
ม. เธอฉลาดว่า
จบสัพพัญญูปัญหา

ปัญหาที่ ๓
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระเทวทัตใครบวชให้
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าทรงบวชให้
ม. พระเทวทัตบวชแล้วจึงทำลายสงฆ์มิใช่หรือ
น. ใช่ ขอถวายพระพร ด้วยว่าคนอื่นนอกจากพระภิกษุสงฆ์แล้วทำลายสงฆ์ไม่ได้
ม. อันผู้ทำลายสงฆ์ต้องรับโทษหนักมากมิใช่หรือ
น. ขอถวายพระพร ถูกแล้ว

ม. ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไมพระพุทธเจ้าจึงบวชให้เล่าหรือว่าพระองค์ไม่ทรงทราบ
อีกว่าพระเทวทัตจะทำลายสงฆ์
น. ขอถวายพระพร ทรงทราบ
ม. ถ้าเป็นอย่างนั้นคำที่ว่า พระพุทธเจ้า มีพระมหากรุณาเป็นพระอัธยาศัยก็ผิด
แต่ถ้าจะว่า ไม่ทรงทราบ คำว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญูทรงหยั่งรู้เหตุผล
ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นก็ผิด อีกแย้งกันอยู่เช่นนี้ เธอจะว่าอย่างไรจึงจะสมด้วยคำทั้งสองนั้น

น. อาตมภาพจะขอยกตัวอย่างมาเปรียบถวายก่อนเหมือนบุรุษผู้ ๑ มีบุตรเป็น
คนเกกมะเหรกประพฤติเลวทรามต่างๆ บุรุษผู้บิดาพยายามปลอบโยนชี้แจงคุณและ
โทษแห่งการประพฤตินั้นๆ ให้ฟังบุตรก็ไม่เชื่อฟัง ครั้นจะเพิกเฉยเสียก็สงสาร ด้วย
เกรงบุตรว่าจะชั่วช้าได้รับความทุกข์ยากหนักขึ้น จึงฝืนใจกระทำโทษทรมานบุตร
ขอถวายพระพร เช่นนี้จะว่าบุรุษผู้บิดานั้นไม่กรุณาบุตร และไม่รู้คุณและโทษแห่ง
การทรมานนั้น จะได้หรือ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ม. ไม่ได้สิเธอ เพราะว่ารู้และสงสารบุตร จึงนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ต้องจำใจกระทำเช่นนั้น
น. ขอถวายพระพร ตัวอย่างนี้เป็นพยานให้เห็นว่าคำกล่าวทั้ง ๒ นั้นไม่มีผิด เนื่อง
ด้วยพระพุทธองค์ทรงสงสาร และทรงหยั่งรู้คุณและโทษของการบวชนั้นแล จึงให้
พระเทวทัตบวชเสีย เพราะทรงทราบว่า ถ้าเพิกเฉยไม่บวชให้ พระเทวทัตก็จะมีโอกาส
ทำได้แต่ความชั่วอย่างสามัญ ได้รับทุกข์แต่พอประมาณโทษไม่ถึงสาหัส เมื่อเป็นเช่นนี้
พระเทวทัตก็จะไม่เข็ด จะทิ้งนิสัยเลวทรามนั้นไม่ได้ความทุกข์ก็จะตามเผาผลาญได้
เรื่อยไป ทรงเห็นว่ามีอุบายที่จะทรมานได้ แต่อย่างนี้ทางเดียวเท่านั้น ซึ่งจะทำให้
พระเทวทัตหลาบจำให้ละนิสัยอันนั้นกลันมาประพฤติดีได้ต่อไป

ขอถวายพระพร เพราะเหตุฉะนี้แล พระพุทธเจ้าจึงทรงบวชให้พระเทวทัต
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบเทวทัตตปัพพชิตปัญหา

ปัญหาที่ ๔
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน เหตุซึ่งทำให้แผ่นดินไหวมีเท่าไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า มี ๘ คือ ลมกำเริบ ๑, ผู้มีฤทธิ์บันดาล ๑,
พระโพธิสัตว์จุติ ๑, พระโพธิสัตว์อุบัติ ๑, ตรัสรู้ ๑, ตรัสปฐมเทศนา ๑,
ปลงพระชนมายุ ๑, นิพพาน ๑, ขอถวายพระพร ตามที่ปรากฏในบาลีประเทศมี
๘ อย่างเท่านี้

ม. ถ้ามีแต่เพียง ๘ อย่างเท่าที่เธอว่า ก็ยังไม่ครบเพราะปรากฏว่า เมื่อคราว
พระเวสสันดร ทรงบริจาคสัตตสดกมหาทาน (คือสิ่งละ ๗๐๐ มีระบุไว้ดังนี้
ช้าง ๗๐๐, ม้า ๗๐๐, รถเทียมม้า ๗๐๐, แม่โค ๗๐๐, ) แผ่นดินก็ไหวถึง ๗ ครั้ง
นั่นมิใช่เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๘ อย่างนั้นมิใช่หรือเธอ
น. ขอถวายพระพร ถูกแล้ว

ม. ถ้าเช่นนั้น ที่เธอว่าเพียง ๘ เท่านั้นจะมิผิดไปหรือ
น. ขอถวายพระพร ไม่ผิด เพราะการบำเพ็ญทานใหญ่ถึงปานนี้ จนแผ่นดินไหว
๗ ครั้ง มิได้เป็นอยู่ทุกยุคทุกสมัย ต่อหลายกัปป์ หลายกัปป์ จึงจะมีขึ้นสักครั้งสัก
คราวหนึ่ง ส่วนเหตุ ๘ ประการที่ท่านระบุไว้นั้น ย่อมมีอยู่เนืองๆ และทั้งเป็นเหตุ
การณ์สำคัญ ๆ เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่ามี ๘ ประการเท่านั้น
ม. เธอจะหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง

น. เหมือนอำมาตย์ของพระมหากษัตริย์ แม้จะมีอยู่มากมายแต่ก็เพียง ๖ คน
เท่านั้นซึ่งปรากฏชื่อว่าอำมาตย์ คือเสนาบดี ๑, ปุโรหิต ๑, ผู้พิพากษา๑, ขุนคลัง ๑,
ผู้เชิญพระกลด ๑, ผู้เชิญพระแสง ๑, นี้ฉันใด เหตุแห่งแผ่นดินไหวก็ฉันนั้นเหมือน
กัน ท่านระบุไว้แต่ที่สำคัญๆ และที่เกิดมีอยู่เนืองๆ เท่านั้น ส่วนเหตุประการอื่น
นอกจากนี้ท่านหาได้กล่าวไว้ด้วยไม่ เพราะมีชั่วครั้งหนึ่งคราวเดียวเท่านั้น ขอ

ถวายพระพร ขอให้พระองค์ทรงนึกดูว่า เคยได้ยินใครกล่าวบ้างว่าผู้นั้นผู้นี้ให้
ทานแล้วแผ่นดินไหวถึง ๗ ครั้ง ซึ่งนอกจากพระเวสสันดร
ม. ไม่เคยได้ยินใครพูดเลยเธอ
น. แม้อาตมภาพก็ไม่เคยได้ยินใครพูดเช่นเดียวกับพระองค์เหมือนกัน การ
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าพระเวสสันดรทรงบริจาคทานโดยมีพระหฤทัยผ่องใส
มุ่งธรรมเป็นใหญ่ มิได้ทรงบริจาคโดยหวังลาภยศสรรเสริญ หรือจะกันเขา
นินทาก็หามิได้
ม. เธอว่าเช่นนี้ชอบแล้ว
จบภูมิจลนปัญหา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปัญหาที่ ๕
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน คำที่ว่าคนตาบอดมีจักษุประสาท
พิการแล้ว ย่อมไม่มีโอกาสที่จะกลับเห็นได้อย่างเดิมอีกนั้น มีกล่าวไว้ในพระสูตร
บ้างหรือไม่

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร มี
ม. ถ้าเช่นนั้น เรื่องสีวิราชชาดกที่ว่า พระเจ้าสีวิราชทรงควักพระเนตรทั้ง ๒
ให้เป็นทาน มีพระจักษุประสาทพิการแล้ว แต่ต่อมาทรงได้พระจักษุประสาทคืนดี
ทอดพระเนตร เห็นได้เหมือนอย่างเดิมนั้น จะมิไม่จริงหรือ

น. ขอถวายพระพร จริง
ม. ถ้าจริงจะให้ข้าพเจ้าลงความเชื่อคำไหนได้เล่า
น. ขอถวายพระพร คำต้นนั้นท่านกล่าวตามปรกติวิสัยของนัยน์ตา ซึ่งเมื่อพิการ
แล้วย่อมคืนดีอย่างเดิมไม่ได้ ส่วนที่ท่านกล่าวไว้ในชาดกซึ่งผิดจากคำเบื้องตนไปนั้น
ก็เพราะท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งอานุภาพของสัตยาธิษฐาน คือความตั้งใจไว้มั่น
ในความจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง ขอถวายพระพร พระองค์เคยทอดพระเนตรเห็น หรือ
เคยได้ทรงสดับบ้าง หรือไม่ว่าผู้ที่กระทำสัตยาธิษฐานแล้วอาจทำให้ฝนตกหรือไฟดับ
หรือกำจัดกำลังแห่งยาพิษเสียก็ได้

ม. ก็เคยได้เห็นได้ยินอยู่บ้าง
น. นั่นพระองค์ทรงเข้าพระหฤทัยว่าเป็นได้ด้วยอะไร
ม. เข้าใจว่า เป็นด้วยอานุภาพแห่งสัตยาธิษฐาน
น. นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุประสาทของพระเจ้าสีวิราชย่อม
กลับคืนดีได้อย่างเดิม ก็ด้วยอานุภาพแห่งสัตยาธิษฐาน คือการที่ทรงตั้งพระ
หฤทัยมั่นอยู่ในความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง

ขอถวายพระพร อาตมภาพจะเล่าเรื่องของพระเจ้าอโศกถวาย คือครั้งหนึ่ง
พระเจ้าอโศกเสด็จไป ประพาสริมแม่น้ำคงคา ครั้นแล้วมีพระราชดำรัสถาม
เหล่าอำมาตย์ว่า ผู้ที่สามารถทำให้น้ำในแม่น้ำคงคานี้ไหลกลับทวนกระแสไปได้
เห็นจะไม่มีก็ขณะนั้นมีหญิงแพศยาคน ๑ ชื่อนางพินทุมดีอยู่ ณ ริมฝั่นน้ำนั้น เมื่อ

ได้ยินพระราชดำรัสดังนั้น จึงกระทำสัตยาธิษฐาน ขอให้น้ำไหลกลับทวนกระแส
เพื่อถวายทอดพระเนตรน้ำในแม่น้ำคงคาก็ไหลกลับทวนกระแสตามความประสงค์
พระเจ้าอโศกทรงพิศวงในพระราชหฤทัย จึงตรัสถามว่า

เหตุอะไรจึงเป็นเช่นนี้อำมาตย์จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า
นางพินทุมดีกระทำสัจจกิริยาขอให้น้ำไหลกลับจึงเสด็จพระราชดำเนินไปตรัสถาม
นางพินทุมดีว่า อะไรเป็นกำลังในสัจจกิริยาของเจ้า ขอเดชะ กระหม่อมฉันมีความ
จริงใจอยู่อย่างหนึ่ง คือการบำเรอบุรุษ กระหม่อมฉันกระทำเสมอหน้ากันหมด จะ

เป็นใคร มีฐานะอย่างไรก็ตาม เมื่อให้ทรัพย์แก่กระหม่อมฉันแล้ว ย่อมได้รับการ
บำเรอเป็นอย่างเดียวกันสิ้น กระหม่อมฉันอ้างความจริงใจนี้กระทำสัตยาธิษฐาน
ขอถวายพระพร เรื่องนี้พระองค์ทรงเชื่อหรือไม่

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ม. เชื่อสิเธอ เพราะมีเหตุผลพอที่จะคิดเห็นได้
น. ขอถวายพระพร นี่ชี้ให้เห็นว่า การกระทำสัตยาธิษฐาน คือกิริยาที่กล่าวอ้างถึง
ความจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้เป็นความจริงในสิ่งลามกก็ให้เกิดผลได้สมประสงค์
ก็เมื่อความจริงมีอยู่เช่นนี้ ไฉนพระเจ้าสีวิราชผู้มีพระราชหฤทัยมั่นในการทรงบำเพ็ญ
ทาน จึงจะไม่ได้พระเนตรกลับดีอย่างเดิมในเมื่อทรงกระทำสัตยาธิษฐานอ้างถึง
ความจริงนั้นๆ ได้เล่า
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบสีวิรัญโญจักขุทานปัญหา

ปัญหาที่ ๖
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า การเกิด
ของสัตว์ทั้งหลายย่อมมีเพราะประชุมแห่งปัจจัย ๓ คือมารดาบิดาพร้อมเพรียงกัน ๑
มารดามีระดู ๑ สัตว์ลงมาปฏิสนธิ ๑ ฉะนี้มิใช่หรือ

พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ตรัสไว้ดังนั้นจริง
ม. ก็ถ้าอย่างนั้น ไฉนในสุวรรณสามชาดกจึงว่า สามกุมารเกิดเพราะประชุม
แห่งปัจจัย ๒ คือนางปาริกาผู้เป็นมารดามีระดู ๑ พระสามะลงมาปฏิสนธิ ๑ ฉะนี้เล่า

ม. ขอถวายพระพร อาตมภาพขอฟื้นเรื่องสุวรรณสามชาดกมาถวายก่อน คือ
พระทุกุลดาบสและนางปาริกาดาบสินีท่านเป็นผู้ยินดีในที่สงัดเงียบบำเพ็ญตบะ
อย่างเคร่งครัดจนปรากฏทั่วไป วันหนึ่งท้าวสหัสนัยจึงมารำพึงว่า พระดาบสดาบสินี
ทั้ง ๒ นั้นแก่เฒ่ามากแล้วน่าจะมีความลำบากต่อไปควรเราจะไปเชิญให้ท่านส้อง
เสพย์ตามประเพณีโลก มีเทวดำริฉะนี้แล้วจึงทรงกระทำตามนั้นทุกอย่าง แต่พระ

ดาบสดาบสินีไม่เห็นด้วย เพราะท่านรักศีลมากกว่าในที่สุดพระอินทร์ก็อ้อนวอน
ขอให้ท่านทุกุลดาบส กระทำเพีงเอาฝามือลูบนาภีนางปาริกาดาบสินี ในคราวนาง
มีระดู ขอถวายพระพร ตามเรื่องแม้ปรากฏว่าพระดาบส ดาบสินีทั้ง ๒ นั้น จะมิได้
รักใคร่กันด้วยอำนาจกามกิเลส ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยองค์ที่ ๑ นั้นก็จริงแต่เมื่อว่าโดย

อนุรูปแล้วการที่ท่านทุกุลดาบส เอาฝ่ามือลูบลงที่นาภีนั้นก็เป็นปัจจัยอันหนึ่งได้
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า การเกิดของสัตว์ย่อมมีเพราะประชุมแห่ง
ปัจจัย ๓ นั้น
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบคัพภาวักกันติปัญหา

ปัญหาที่ ๗
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอานนท์
ว่าพระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้ ๕๐๐๐ ปี ฉะนี้มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล
ม. ก็เพราะเหตุอะไร เมื่อจวนจะนิพพาน พระพุทธองค์จึงตรัสกะสุภัททปริพาชก
ว่า ถ้าภิกษุปฏิบัติชอบอยู่ตลอดกาลแล้ว โลกจะไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ฉะนี้เล่า

น. ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระอานนท์นั้น พระองค์ทรงกำหนด
อายุพระศาสนา ตรัสแสดงกาลที่สิ้นไปและกาลที่เหลืออยู่ว่า ถ้าไม่มีสตรีมาบวชเป็น
นางภิกษุนีไซร้พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้นับพันปี แต่นี่เพราะมิเป็นเช่นนั้นจึงตั้งอยู่
ได้ไม่ถึง ขอถวายพระพร การที่มีพระพุทธดำรัสดังนี้จะทรงหมายถึงความเสื่อมแห่ง
พระศาสนา หรือทรงค้านการตรัสรู้
ม. ก็ทรงหมายถึงความเสื่อมแห่งพระศาสนา นี่เธอศาสนาจะเสื่อมไปได้อย่างไร
เธอจงเปรียบให้ฟัง

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
น. เปรียบเหมือนสระน้ำ ถ้าไม่มีทางที่น้ำจะไหลเข้าได้เลย จะงวดลงไปหรืออย่างไร
ม. ก็งวดลงไปทุกที ที่สุดก็แห้งเท่านั้น
น. นั่นแลฉันใด แม้สระคือพระสัทธรรมก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือถ้าไม่มีศีลาจารและ
วัตตปฏิบัติอยู่ด้วยแล้วพระสัทธรรมก็จะเสื่อมลงทุกที เป็นอันว่าทำอายุพระศาสนา
ให้สั้นเข้า แต่ถ้ายังมีศีลาจารและวัตตปฏิบัติบริบูรณ์ดีอยู่ตราบใด สระคือพระสัทธรรม
ก็ยังเต็มเปี่ยมอยู่ตราบนั้น เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า ถ้าภิกษุปฏิบัติชอบอยู่
ตลอดกาลแล้ว โลกก็จะไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบสัทธัมมอันตรธานปัญหา

ปัญหาที่ ๘
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าทรงละบาปอกุศล
ได้ทั้งหมด หรือทรงละได้แต่บางส่วน
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร ทรงละได้ทั้งหมด
ม. ทุกขเวทนาก็มีเกิดขึ้นในพระสรีรกายของพระพุทธเจ้าบ้างมิใช่หรือ

น. ขอถวายพระพร มี ดังคราวที่ถูกสะเก็ดหินกระทบพระบาท (การทรงประชวร
ครั้งนี้ พิเคราะห์ดูตามพฤติการณ์พระอาการน่าจะมากจนถึงจะทรงบำเพ็ญพุทธกิจ
บางอย่างไม่ได้ เช่นไม่ได้เสด็จพุทธดำเนินโปรดสัตว์เวลาเช้าเป็นต้น ด้วยปรากฏว่า
หมอชีวกโกมารภัจมาทำศัลยกรรมนำเลือดและเนื้อร้ายออก และประกอบพระโอสถ

สำหรับชะทาถวายจนกว่าจะทรงหายเป็นปรกติ และเพราะเหตุที่พระพุทธองค์ทรง
กระทำประโยชน์สุขให้แก่โลก หรือคนหมู่มากไม่ได้เต็มที่เช่นนี้แล การทำร้าย
พระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต จึงจัดเป็นอนันตริยกรรมๆ ให้ผลในลำดับ เป็น
ครุกรรมๆ หนักในฝ่ายบาปด้วยประการหนึ่ง )

ม. ก็เธอว่าพระพุทธองค์ทรงละบาปอกุศลได้หมดแล้วไฉนจึงต้องทรงทน
ทุกขเวทนา ซึ่งเป็นผลของบาปอกุศลด้วยเล่า
น. ทุกขเวทนาได้เป็นผลเกิดแต่บาปอกุศลอย่างเดียวไม่ ขอถวายพระพร อัน
ทุกขเวทนาย่อมเกิดแต่ลมกำเริบบ้าง เกิดแต่ดีกำเริบบ้าง เกิดแต่เสมหะกำเริบบ้าง
เกิดแต่ธาตุทั้งสี่แปรผันบ้าง เกิดแต่บาปอกุศลบ้าง ขอถวายพระพร เหตุ ๘ ประการนี้
แลเป็นปัจจัยให้เกิดทุกขเวทนา

ม. ถ้าอย่างนั้น ทุกขเวทนาที่เกิดแก่พระพุทธเจ้าคราวถูกสะเก้ดหินกระทบ
พระบาทนั้น เกิดแต่อะไร
น. ขอถวายพระพร เกิดแก่ความเพียรพยายามปองร้ายของพระเทวทัต
ม. ถึงอย่างนั้น ก็จัดว่าเป็นผลเกิดแต่พระพุทธองค์ทรงกระทำไม่ได้ ซึ่งเป็น
บรรยายของบาปอกุศลอยู่นั่นเอง เหตุว่าเรื่องนี้ถ้าพระพุทธองค์ทรงพยายามปลอบ
โยนพระเทวทัตทรงชี้แจงโทษให้ฟังพระเทวทัตก็น่าจะละพยศอันร้ายนั้นได้

น. ขอถวายพระพร คนที่มีพยศอันร้ายมีนิสัยเลวทรามประพฤติชั่วช้าอยู่เป็นนิตย์
พระองค์จะทรงสามารถปลอบโยนประทานพระราโชวาทให้ละพยศอันร้ายนั้น
จะได้หรือไม่
ม. ไม่ได้ อย่าว่าแต่ปลอบโยนเลย คนเช่นนั้นแม้จะลงโทษทัณฑ์ก็เชื่อว่า
คงไม่ทิ้งนิสัยเดิม ปราบให้ละพยศอันร้ายนั้นไม่ได้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2019, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
น. ขอถวายพระพร นี่ก็เป็นเช่นนั้นแล พระเทวทัตมีพยศอันร้าย เพราะถือตัวว่า
เป็นพี่น้องร่วมท้องกับพระนางพิมพา มีฐานะเท่าเทียมกับพระพุทะเจ้า เมื่อบรรพชา
แล้วจึงไม่ปรากฏว่าไม่มีใครนิยมนับถือ ไม่มีใครถวายจตุปัจจัยเหมือนอย่างกษัตริย์
พวกศากยะ ซึ่งออกบรรพชาคราวเดียวกันลำดับนี้แลจิตมุ่งคิดมักมาก มุ่งแสวงหา
ลาภสักการะแข่งขันและเนื่องด้วยท่านเป็นเชื้อกษัตริย์มีความคิดสูง จึงเริ่มติดต่อ

กับพระอชาตสัตตุราชกุมาร ถึงยุยงให้ปลงพระชนมชีพพระเจ้าพิมพิสารผู้พระชนก
ส่วนตัวประกอบอุบายต่างๆ ในการที่จะปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า ขอถวายพระพร
พระเทวทัตตั้งจิตไว้ผิดแต่เดิมมาเป็นข้อสำคัญฉะนี้ พระพุทธองค์จึงทรงกระทำให้
ละพยศร้ายนั้นไม่ได้ และเมื่อเป็นเช่นนี้จะกล่าวว่าพระพุทธองค์ทรงกระทำไม่ได้
อย่างไรได้ แท้จริงเรื่องนี้ ถ้าพระพุทธองค์มัวทรงตามปลอบโยนพระเทวทัตอยู่ก็

จะเป็นอันว่าพระองค์ยังมีการถือเราถือเขายังทรงยินดีช่วยเหลือพวกของพระองค์
แม้เป็นผู้ผิด หรือถ้าไม่เช่นนั้น พระพุทธองค์จะทรงลงโทษทัณฑ์พระเทวทัตก็
จะเป็นอันว่า พระองค์ทรงผูกพยาบาทพระเทวทัต เพราะฉะนั้น การที่พระ
พุทธองค์มีพระหฤทัยเป็นอุเบกขาวางเฉยไม่ยินดียินร้าย ทรงแสดงพระเมตตา
กรุณาในผู้อื่นอย่างด ในพระเทวทัตก็ทรงแสดงอย่างนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า
พระพุทธองค์ทรงละบาปอกุศลได้หมดสิ้นเชิง
ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว
จบสัพพัญญุตํปัตตปัญหา

ปัญหาที่ ๙
พระเจ้ามิลนท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าทรงกระทำกิจเสร็จ
สิ้นแล้วทุกอย่าง กิจอื่นที่จะต้องกระทำไม่มีอีกแล้ว มิใช่หรือ
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล
ม. ถ้าอย่างนั้น ไฉนจึงปรากฏว่าพระพุทธองค์ยังทรงเข้าฌานอยู่อีกเล่า

น. ขอถวายพระพร การที่พระพุทธองค์ยังทรงเข้าฌานอยู่อีกนั้น ก็เพราะว่า
ฌานเป็นคุณธรรมที่ให้ประโยชน์สุขแก่พระองค์มามาก เหตุว่าพระพุทธเจ้าทุกๆ
พระองค์ก็ทรงเข้าฌานเป็นปทฐานมาก่อนแล้ว จึงได้ตรัสเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า
ทั้งนั้น ขอถวายพระพร เนื่องด้วยฌานมีคุณมาเช่นนี้แลพระพุทธองค์จึงยังทรงฝักใฝ่
พระหฤทัยในการเข้าฌานนั้นอยู่

ม. เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง
น. ขอถวายพระพร เหมือนบุรุษผู้หมั่นเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์พยายามทำ
ความดีมีความชอบได้รับพระราชทานทรัพย์สมบัติมากมายจนตั้งเนื้องตั้งตัวได้
แต่ถึงดังนั้น เมื่อเขามาระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์เจ้านั้น
แล้ว ก็ยังหมั่นเข้าไปสู่ที่เฝ้าอยู่เนืองๆ นี้ฉันใด แม้พระพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน

พระพุทธองค์ทรงเข้าฌานเป็นปทฐานมาก่อนแล้วจึงได้ตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นอันเสร็จกิจที่จะต้องทรงกระทำแล้วทุกอย่างแม้ทั้งที่เสร็จกิจแล้วนั้น พระองค์
ก็ยังไม่ทรงทอดทิ้งการเข้าฌานทีเดียวยังทรงหาโอกาสเข้าฌาน เพื่อทรงพระสำราญ
อันเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยมซึ่งเกิดจากฌานนั้นอีก ขอถวายพระพร อันการเข้า

ฌานนี้ย่อมมีคุณมากอย่างมากประการ เช่นกำจัดความรัก ความโกรธ ความหลง
ความถือตัวและความวิตก มีใจเป็นอารมณ์อันหนึ่ง พิจารณาเห็น ความจริงทั้งหลาย
ทำให้เกิดความอิ่มอกอิ่มใจ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 212 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร