วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมวิธีที่ใช้ในการกระทำเพื่อละอุปาทานขันธ์ 5

1. มนสิการโดยแยบคาย
พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ


2. มนสิการโดยแยบคาย
ข้อฏิบัติเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉย(อุเบกขา) ว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้
อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง

อนุสัย คือมานะ อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่






3. โยนิสมนสิการ
สิ่งที่มีเกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิตและขณะทำกรรมฐาน
ให้ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น อย่าไปชอบ อย่าไปชัง รู้ลงไป อยู่กับมัน อย่าคิดเปลี่ยนแปลง
อย่าคิดแก้ไข อย่าแทกแซงสภาวะ อย่าขัดขืน ดู รู้ อยู่กับมัน มีเท่านี้เอง มันเป็นเรื่องของไตรลักษณ์

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ






ประกอบด้วย การปฏิบัติไม่อดทน ๑ การปฏิบัติอดทน ๑ การปฏิบัติข่มใจ ๑ การปฏิบัติระงับ ๑


การปฏิบัติไม่อดทน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ย่อม ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ

การปฏิบัติอดทน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ


การปฏิบัติข่มใจ ๑
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิตไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ

ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ ฯ


การปฏิบัติระงับ ๑
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้ระงับไปกระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก ... วิหิงสาวิตก ...
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 28 มี.ค. 2019, 11:26, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


4. การเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเบื้องต้น
วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดที่หลัง

บุคคลบางคนในโลกนี้
โดยปรกติเป็นคนมีราคะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง

โดยปรกติเป็นคนมีโทสะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง

โดยปรกติเป็นคนมีโมหะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์
เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ

ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ








5. เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง

บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติไม่เป็นผู้มีราคะกล้า
ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง

โดยปรกติเป็นผู้ไม่มีโทสะกล้า
ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง

โดยปรกติเป็นผู้ไม่มีโมหะกล้า
ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถความไม่พยาบาท เป็นสมาธิ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก
ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่า พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้

ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ







6. เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป

บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้

บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้

ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ




ประกอบด้วย การปฏิบัติไม่อดทน ๑ การปฏิบัติอดทน ๑ การปฏิบัติข่มใจ ๑ การปฏิบัติระงับ ๑

การปฏิบัติไม่อดทน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ย่อม ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ

การปฏิบัติอดทน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ



การปฏิบัติข่มใจ ๑
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิตไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ

ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ ฯ



การปฏิบัติระงับ ๑
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้ระงับไปกระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก ... วิหิงสาวิตก ...
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 28 มี.ค. 2019, 11:53, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนา สาธุ ด้วยครับ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล


ลักษณะอาการที่มีขึ้น ขณะเกิด อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

เมื่อวุฏฐาคามินีวิปัสสนากำลังดำเนินไปอยู่นั้น ย่อมจะเห็นรูป,นาม แสดงความเป็นทุกข์ ให้ปรากฏเห็นชัดเจน แล้วก็เข้าสู่มรรคเลย ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ คือหลุดพ้นจากทางทุกขัง


ความรู้สึกครั้งแรกของทุกคน ขณะที่เกิด(นิมิต) ขณะกำลังจะหมดลมหายใจ(ขาดใจตาย) สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้จะปรากฏขึ้นเสมือนมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงๆ จะรู้ชัดเหมือนๆกัน คือหายใจไม่ออก เหมือนจะตาย ถ้ายอมตาย แล้วจะมีสภาวะต่อมาเกิดขึ้น คือ ถูกแรงดูดที่มีแรงมหาศาลเข้าไปในหลุมหรือรูหรือเหว

ตัวอย่าง เช่น



คนที่ 1
ก่อนเกิดสภาวะบอกว่า จะรู้สึกเหมือนจะตาย แต่ไม่ได้เล่าว่า เจออะไร ถึงได้พูดว่า เหมือนจะตาย แล้วเล่าต่อว่า ก็นั่งอยู่ จะตายได้ไง จึงคิดว่า ไปเลยจะได้รู้ว่าเป็นไร เจอเหมือนโดนดูดเข้าไปในรู ตอนหลังบอกว่า จะเข้ารู ต้องเข้าถูก คือ รูธรรม



คนที่ 2
สามวันมันจี้เอาปางตาย ทำอะไรไม่ได้เลยค่ะ แต่ละปั้บลงนี่ยังกะโดนเครื่องปั๊มหัวใจช็อตเอาประมาณนั้นมั้ง (จากแต่ก่อนที่เคยเป็นคล้ายอาการแทง กรีด คว้าน และเฉือนอยู่ภายใน) นั่นภายในมันดิ้นกันพล่านเลยจนหมดแรง ร่อแร่แล้วนี่
ตรงที่เห็นขณะเกิดดับก่อนจะเหมือนกระแสบางอย่างถูกดูดลงหลุมดำ (แอบประมาณเรียกเอง)



คนที่ 3
เจออาการร่างกายปวด ตัวหวิวใจหวิว พยายามประคองสติใว้ อาการทั้งตัวเหมือนโดนน้ำท่วมสำลักหรือเป็นลมแดดหูอื้อตาลาย แต่สติยังแข็งมาก รับรู้ได้ทุกอย่าง เหมือนโดนดูดเข้าไปในท่อดำมืดอะไรสักอย่าง
มีอาการเจ็บปวดเหมือนตัวจะขาดจากกัน กระดูกเนื้อหนังเหมือนแตกไปทั้งร่าง หมุนติ้วๆอยู่ไม่มีบนล่างกำหนดทิศทางกำหนดหนักเบาร้อนเย็นอ่อนแข็งอะไรก็ไม่ได้ทั้งนั้น ไม่มีอะไรให้ยึดจับทั้งนั้น
พอตกใจจิตถอนออกก็สงบสว่างอยู่พักนึง พอเริ่มสบายสติผ่อนคลายหายกระเพื่อมก็โดนอีก คราวนี้เหมือนโดนกระชากตัวพุ่งพรวดลงไปในเหว ตัดสินใจยอมเจ็บยอมตาย มันดิ่งก็ดิ่งตามไปด้วย



คนที่ 4
เคยเจอสภาวะนี้ ครั้งนึงค่ะ หลายปีมาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ตอนนั้นไปปฎิบัติธรรมที่วัด นั่งในวิหารรวม มีสติ กำหนดตามรู้สภาวะ ไปเรื่อยๆ มาถึงจุดนึงจะมีสภาวะของการบีบคั้น กดดัน เหมือนจะจมน้ำตาย ตอนนั้้นก็ยอมตาย ตายก็ตาย เลยปล่อยให้สภาวะมันเป็นไป(ไม่ปล่อยก็ต้องปล่อย) เหมือนมีแรงดูดมหาศาล ดูดและหมุนๆเข้าไป



คนที่ 5
ขณะกำลังกรรมฐานอยู่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตอนนั้น อาการเหมือนคนที่ขาดอากาศหายใจ แรกๆดิ้นรน หาอากาศหายใจ สุดท้ายปลงตกว่า ตายก็ดีเหมือนกัน เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายทุกเรื่องราว เมื่อคิดพิจรณาดังนี้ หยุดดิ้นรน รู้ชัดทุกอาการที่มีเกิดขึ้นก่อนหมดลมหายใจเฮือกสุดท้าย ต่อมารู้สึกเหมือนถูกดูดด้วยแรงดูดมหาศาล





กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุติ

ปัจจเวกขณญาณ
ญาณที่ต่อจากผลญาณ ก็คือ ปัจจเวกขณญาณ
ได้แก่ โยคีบุคคล ที่เข้าสู่ความดับไปแล้ว

ครั้นรู้สึกตัวขึ้น ก็พิจรณาว่า ตนเป็นอะไรไป
สภาวะอย่างนี้ ทำไมเกิดขึ้นกับตน

หรือพิจรณาในทำนองที่คล้ายคลึงกันนี้ และนึกย้อนหลังไปถึงการกำหนดที่ผ่านมาก่อน ที่จะเกิดอาการแปลกประหลาดอันนี้ขึ้น ซึ่งตนไม่เคยได้ประสบมาก่อนเลยในชีวิต

ลักษณะญาณนี้ก็คือ กำหนดพิจรณาอีกครั้งหนึ่ง
ได้แก่ การหวนกลับพิจรณาถึงสภาวะที่ตนเข้าสู่ความดับดังกล่าวมาแล้วในตอนต้น


ปัจจเวกขณะ แปลว่า กำหนดพิจรณาอีกครั้งหนึ่ง
ได้แก่ การหวนกลับพิจรณาถึงสภาวะที่ตนเข้าสู่ความดับดังกล่าวมาแล้วในตอนต้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การแจ้งอุปาทานขันธ์ 5 ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงและการละสักกายทิฏฐิ ที่เป็นสมุจเฉท
ดูตรงขณะที่เกิดอนุโลมญาณ,มรรค,ผล ใน กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต



อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน

หรือ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า



อริยบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจรณามรรค,ผล,นิพพาน
เฉพาะท่านที่เป็นพหุสูตคงแก่เรียน ย่อมพิจรณากิเลสที่ละได้และที่ยังเหลือ
ส่วนโยคีบุคคลนอกนั้นไม่ได้พิจรณาสอบสวนเพราะไม่รู้ปริยัติ แต่ทำการกำหนดต่อไปโดยอำนาจของอริยสัจ 4




ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้
สี่อย่างเหล่าไหนเล่า สี่อย่าง คือ

ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

และความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

กามตัณหา(ตัณหาในกาม)
ภวตัณหา(ตัณหาในความมีความเป็น)
วิภวตัณหา(ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้

ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
(ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง



ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า

นี้เป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด




"แต่ทำการกำหนดต่อไปโดยอำนาจของอริยสัจ 4"
ตัณหายังดับไม่ได้ ทำการกำหนดต่อไป

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์





"อริยบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจรณามรรค,ผล,นิพพาน"
กล่าวคือ มรรค ผล ได้ประจักษ์ด้วยตน
แต่นิพพาน ยังไม่แจ้ง ทำการกำหนดต่อไป


การแจ้งอริยสัจ 4 ขึ้นอยู่กับปัญญินทรีย์ ซึ่งแจ้งด้วยตัวสภาวะเอง(มรรค ผล)
เพียงแต่ผู้ที่ไม่รู้ปริยัติ อาจจะไม่รู้ว่าอริยสัจ 4 มีเกิดขึ้นโดยรู้อัตโนมัติ ไม่ว่าจะรู้ปริยัติหรือไม่รู้ปริยัติก็ตาม

สำหรับผู้ที่ขาดสุตตะหรือขาดการศึกษา
จะรู้ชัดเฉพาะสภาวะดับทุกข์เฉพาะตน
แต่ไม่สามารถอธิบายรายละเอียดให้ผู้อื่นเข้าใจได้



หากได้มรรค,ผล แต่ยังไม่แจ้งนิพพาน
ก็จักตั้งอยู่เพียงศีลอันบริสุทธิ์
และทิฏฐิ (ความเห็น) ที่ถูกตรงโดยกาลนั้น


"เธอพึงอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว พึงอบรมสติปัฏฐานสี่เถิด. สติปัฏฐานสี่อะไรบ้าง ?
สติปัฏฐานสี่ คือ :-

ในกรณีนี้ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนือง ๆ,
จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เนือง ๆ,
จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เนือง ๆ,
จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เนือง ๆ,
มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

โดยกาลใดแล เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักอบรมสติปัฏฐานสี่เหล่านี้อย่างนี้ ; โดยกาลนั้น วันหรือคืนของเธอจักผ่านไปโดยหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้"

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจ 4

viewtopic.php?f=1&t=57406&p=443685#p443685

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2019, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


มิจฉาทิฏฐิ
ความเห็นผิดนี้เป็นเครื่องร้อยรัดสัตว์ให้ติดอยู่ในสังสารวัฏฏทุกข์


รายละเอียด สักกายทิฏฐิ และลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้น

ทิฏฐิสังโยชน์ ทิฏฐิกิเลส ได้แก่ สักกายทิฏฐิ คือ ความเข้าใจผิดในขันธ์ ๕
เข้าไปยึดมั่น ถือมั่นว่าปัญจขันธ์นี้เป็นของตน เป็นสัตว์ บุคคล เรา เขา
ความเข้าใจผิดเช่นนี้ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ อันเป็นความเห็นผิด
ที่ทำให้ตนติดอยู่ในความหมุนเวียนของวัฏฏสงสาร


มีเกิดขึ้นตรง ผัสสะ
ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นรู้รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์


ผัสสะ หูได้ยินเสียง เช่น เสียงเขาด่า(ตามความเป็นจริงหรือไม่เป็นตามความเป็นจริง ก็ตาม)
เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่ เป็นปัจจัยให้ไม่รู้ชัดใน "ผัสสะ" ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เช่น
เสียงที่มากระทบหู จึงเห็นโดยความเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เรา เขา






[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี บิดาไม่มี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้มิจฉาทิฐิ ฯ



อุปาทานขันธ์ 5 และอุปาทาน 4
viewtopic.php?f=1&t=57405

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
การแจ้งอุปาทานขันธ์ 5 ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงและการละสักกายทิฏฐิ ที่เป็นสมุจเฉท
ดูตรงขณะที่เกิดอนุโลมญาณ,มรรค,ผล ใน กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต



อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน

หรือ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า



อริยบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจรณามรรค,ผล,นิพพาน
เฉพาะท่านที่เป็นพหุสูตคงแก่เรียน ย่อมพิจรณากิเลสที่ละได้และที่ยังเหลือ
ส่วนโยคีบุคคลนอกนั้นไม่ได้พิจรณาสอบสวนเพราะไม่รู้ปริยัติ แต่ทำการกำหนดต่อไปโดยอำนาจของอริยสัจ 4




ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้
สี่อย่างเหล่าไหนเล่า สี่อย่าง คือ

ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

และความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

กามตัณหา(ตัณหาในกาม)
ภวตัณหา(ตัณหาในความมีความเป็น)
วิภวตัณหา(ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้

ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
(ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง



ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า

นี้เป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด




"แต่ทำการกำหนดต่อไปโดยอำนาจของอริยสัจ 4"
ตัณหายังดับไม่ได้ ทำการกำหนดต่อไป

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์





"อริยบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจรณามรรค,ผล,นิพพาน"
กล่าวคือ มรรค ผล ได้ประจักษ์ด้วยตน
แต่นิพพาน ยังไม่แจ้ง ทำการกำหนดต่อไป


การแจ้งอริยสัจ 4 ขึ้นอยู่กับปัญญินทรีย์ ซึ่งแจ้งด้วยตัวสภาวะเอง(มรรค ผล)
เพียงแต่ผู้ที่ไม่รู้ปริยัติ อาจจะไม่รู้ว่าอริยสัจ 4 มีเกิดขึ้นโดยรู้อัตโนมัติ ไม่ว่าจะรู้ปริยัติหรือไม่รู้ปริยัติก็ตาม

สำหรับผู้ที่ขาดสุตตะหรือขาดการศึกษา
จะรู้ชัดเฉพาะสภาวะดับทุกข์เฉพาะตน
แต่ไม่สามารถอธิบายรายละเอียดให้ผู้อื่นเข้าใจได้



หากได้มรรค,ผล แต่ยังไม่แจ้งนิพพาน
ก็จักตั้งอยู่เพียงศีลอันบริสุทธิ์
และทิฏฐิ (ความเห็น) ที่ถูกตรงโดยกาลนั้น



"เธอพึงอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว พึงอบรมสติปัฏฐานสี่เถิด. สติปัฏฐานสี่อะไรบ้าง ?
สติปัฏฐานสี่ คือ :-

ในกรณีนี้ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนือง ๆ,
จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เนือง ๆ,
จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เนือง ๆ,
จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เนือง ๆ,
มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

โดยกาลใดแล เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักอบรมสติปัฏฐานสี่เหล่านี้อย่างนี้ ; โดยกาลนั้น วันหรือคืนของเธอจักผ่านไปโดยหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้"









สัมมาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)

[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ








1. ภิกษุเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ



มนสิการโดยแยบคาย
ข้อฏิบัติเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉย(อุเบกขา) ว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้
อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง
(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)



ประกอบด้วย การปฏิบัติไม่อดทน ๑ การปฏิบัติอดทน ๑ การปฏิบัติข่มใจ ๑ การปฏิบัติระงับ ๑


การปฏิบัติไม่อดทน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ย่อม ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ

การปฏิบัติอดทน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ



การปฏิบัติข่มใจ ๑
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิตไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ

ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ ฯ



การปฏิบัติระงับ ๑
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้ระงับไปกระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก ... วิหิงสาวิตก ...
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ



วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์
เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ






2. เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป

บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้

บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้

ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2019, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
walaiporn เขียน:
การแจ้งอุปาทานขันธ์ 5 ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงและการละสักกายทิฏฐิ ที่เป็นสมุจเฉท
ดูตรงขณะที่เกิดอนุโลมญาณ,มรรค,ผล ใน กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต



อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน

หรือ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า



อริยบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจรณามรรค,ผล,นิพพาน
เฉพาะท่านที่เป็นพหุสูตคงแก่เรียน ย่อมพิจรณากิเลสที่ละได้และที่ยังเหลือ
ส่วนโยคีบุคคลนอกนั้นไม่ได้พิจรณาสอบสวนเพราะไม่รู้ปริยัติ แต่ทำการกำหนดต่อไปโดยอำนาจของอริยสัจ 4




ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้
สี่อย่างเหล่าไหนเล่า สี่อย่าง คือ

ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

และความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

กามตัณหา(ตัณหาในกาม)
ภวตัณหา(ตัณหาในความมีความเป็น)
วิภวตัณหา(ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้

ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
(ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง



ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า

นี้เป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด




"แต่ทำการกำหนดต่อไปโดยอำนาจของอริยสัจ 4"
ตัณหายังดับไม่ได้ ทำการกำหนดต่อไป

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์





"อริยบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจรณามรรค,ผล,นิพพาน"
กล่าวคือ มรรค ผล ได้ประจักษ์ด้วยตน
แต่นิพพาน ยังไม่แจ้ง ทำการกำหนดต่อไป


การแจ้งอริยสัจ 4 ขึ้นอยู่กับปัญญินทรีย์ ซึ่งแจ้งด้วยตัวสภาวะเอง(มรรค ผล)
เพียงแต่ผู้ที่ไม่รู้ปริยัติ อาจจะไม่รู้ว่าอริยสัจ 4 มีเกิดขึ้นโดยรู้อัตโนมัติ ไม่ว่าจะรู้ปริยัติหรือไม่รู้ปริยัติก็ตาม

สำหรับผู้ที่ขาดสุตตะหรือขาดการศึกษา
จะรู้ชัดเฉพาะสภาวะดับทุกข์เฉพาะตน
แต่ไม่สามารถอธิบายรายละเอียดให้ผู้อื่นเข้าใจได้



หากได้มรรค,ผล แต่ยังไม่แจ้งนิพพาน
ก็จักตั้งอยู่เพียงศีลอันบริสุทธิ์
และทิฏฐิ (ความเห็น) ที่ถูกตรงโดยกาลนั้น



"เธอพึงอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว พึงอบรมสติปัฏฐานสี่เถิด. สติปัฏฐานสี่อะไรบ้าง ?
สติปัฏฐานสี่ คือ :-

ในกรณีนี้ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนือง ๆ,
จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เนือง ๆ,
จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เนือง ๆ,
จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เนือง ๆ,
มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

โดยกาลใดแล เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักอบรมสติปัฏฐานสี่เหล่านี้อย่างนี้ ; โดยกาลนั้น วันหรือคืนของเธอจักผ่านไปโดยหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้"









สัมมาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)

[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ








1. ภิกษุเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ



มนสิการโดยแยบคาย
ข้อฏิบัติเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉย(อุเบกขา) ว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้
อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง
(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)



ประกอบด้วย การปฏิบัติไม่อดทน ๑ การปฏิบัติอดทน ๑ การปฏิบัติข่มใจ ๑ การปฏิบัติระงับ ๑


การปฏิบัติไม่อดทน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ย่อม ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ

การปฏิบัติอดทน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ



การปฏิบัติข่มใจ ๑
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิตไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ

ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ ฯ



การปฏิบัติระงับ ๑
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้ระงับไปกระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก ... วิหิงสาวิตก ...
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ



วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์
เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ








ข้อปฏิบัติ เมื่อนำมาแสดงในแง่ของปริยัติ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

จักษุเป็นของไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
หูเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
จมูกเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
กายเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ

ใจเป็นของไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ



ข้อปฏิบัติ เมื่อนำมาแสดงในแง่ของภาษาชาวบ้าน

พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลใน สัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ…
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ …
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ

ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ เมื่อ ภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ฟังเสียงด้วยหู…

สูดกลิ่นด้วยจมูก…

ลิ้มรสด้วยลิ้น…

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น



ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้ ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด

ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ
มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

ฟังเสียงด้วยหู…

สูดกลิ่นด้วยจมูก…

ลิ้มรสด้วยลิ้น…

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็นฯ



เมื่อเจริญวิปัสสนาเนืองๆ

เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
(วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดทีหลัง)

ภิกษุย่อมเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด
เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ





ภิกษุนั้นเจริญสมถะ มีวิปัสสนานำหน้า เป็นอย่างไร

คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง

ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์

ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา

สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์
และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะ มีวิปัสสนานำหน้า


เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นของสภาวะ ศิล
เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นศีลที่ เป็นไทจากตัณหา

วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหา และทิฏฐิลูบคลำ
เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ



ถ้าเดินตามมรรค สิ่งที่มีเกิดขึ้นตามมา

เห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2019, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ถ้าเดินตามมรรค สิ่งที่มีเกิดขึ้นตามมา

เห็นในกายว่าไม่งาม
มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี
พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน





บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา
บุคคลนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง
กลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ดูกรสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๖ ... ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2019, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
walaiporn เขียน:
การแจ้งอุปาทานขันธ์ 5 ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงและการละสักกายทิฏฐิ ที่เป็นสมุจเฉท
ดูตรงขณะที่เกิดอนุโลมญาณ,มรรค,ผล ใน กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต



อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน

หรือ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า
เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า



อริยบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจรณามรรค,ผล,นิพพาน
เฉพาะท่านที่เป็นพหุสูตคงแก่เรียน ย่อมพิจรณากิเลสที่ละได้และที่ยังเหลือ
ส่วนโยคีบุคคลนอกนั้นไม่ได้พิจรณาสอบสวนเพราะไม่รู้ปริยัติ แต่ทำการกำหนดต่อไปโดยอำนาจของอริยสัจ 4




ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้
สี่อย่างเหล่าไหนเล่า สี่อย่าง คือ

ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์

ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์

และความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง
คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่

กามตัณหา(ตัณหาในกาม)
ภวตัณหา(ตัณหาในความมีความเป็น)
วิภวตัณหา(ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์


ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้

ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)
การพูดจาชอบ(สัมมาวาจา)
การงานชอบ(สัมมากัมมันตะ)
การเลี้ยงชีพชอบ(สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)
(ความระลึกชอบ(สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ)

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง



ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า

นี้เป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด




"แต่ทำการกำหนดต่อไปโดยอำนาจของอริยสัจ 4"
ตัณหายังดับไม่ได้ ทำการกำหนดต่อไป

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า

ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย
ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ
คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์





"อริยบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจรณามรรค,ผล,นิพพาน"
กล่าวคือ มรรค ผล ได้ประจักษ์ด้วยตน
แต่นิพพาน ยังไม่แจ้ง ทำการกำหนดต่อไป


การแจ้งอริยสัจ 4 ขึ้นอยู่กับปัญญินทรีย์ ซึ่งแจ้งด้วยตัวสภาวะเอง(มรรค ผล)
เพียงแต่ผู้ที่ไม่รู้ปริยัติ อาจจะไม่รู้ว่าอริยสัจ 4 มีเกิดขึ้นโดยรู้อัตโนมัติ ไม่ว่าจะรู้ปริยัติหรือไม่รู้ปริยัติก็ตาม

สำหรับผู้ที่ขาดสุตตะหรือขาดการศึกษา
จะรู้ชัดเฉพาะสภาวะดับทุกข์เฉพาะตน
แต่ไม่สามารถอธิบายรายละเอียดให้ผู้อื่นเข้าใจได้



หากได้มรรค,ผล แต่ยังไม่แจ้งนิพพาน
ก็จักตั้งอยู่เพียงศีลอันบริสุทธิ์
และทิฏฐิ (ความเห็น) ที่ถูกตรงโดยกาลนั้น



"เธอพึงอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว พึงอบรมสติปัฏฐานสี่เถิด. สติปัฏฐานสี่อะไรบ้าง ?
สติปัฏฐานสี่ คือ :-

ในกรณีนี้ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนือง ๆ,
จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เนือง ๆ,
จงพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เนือง ๆ,
จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เนือง ๆ,
มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

โดยกาลใดแล เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จักอบรมสติปัฏฐานสี่เหล่านี้อย่างนี้ ; โดยกาลนั้น วันหรือคืนของเธอจักผ่านไปโดยหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้"









สัมมาทิฏฐิ

๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)

[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน
คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
โลกนี้มี โลกหน้ามี
มารดามี บิดามี
สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่

นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ








1. ภิกษุเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ



มนสิการโดยแยบคาย
ข้อฏิบัติเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ย่อมได้ความวางเฉย(อุเบกขา) ว่า

ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้
อัตตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา

ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมไม่มีไซร้
อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา

เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้วเราย่อมละได้
เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต
ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต

ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการทั้งปวง
(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)



ประกอบด้วย การปฏิบัติไม่อดทน ๑ การปฏิบัติอดทน ๑ การปฏิบัติข่มใจ ๑ การปฏิบัติระงับ ๑


การปฏิบัติไม่อดทน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ย่อม ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ

การปฏิบัติอดทน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ
นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน ฯ



การปฏิบัติข่มใจ ๑
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิตไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ

ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติข่มใจ ฯ



การปฏิบัติระงับ ๑
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว
ให้ระงับไปกระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี

ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก ... วิหิงสาวิตก ...
ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ
ให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ



วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา
ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์
เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ






2. เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ
สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดที่หลัง

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป

บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้

บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้

ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ







สำหรับ โสดาบัน(กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุต) สกิทาคา อนาคามี ที่ยังไม่รู้ทั่วในอินทรีย์ 5
กล่าวคือ รู้ชัดบางสภาวะ แต่ยังไม่รู้ทั่วในสิ่ง(สภาวะ)ที่ควรรรู้ไว้


การเจริญสมถะและวิปัสสนา
viewtopic.php?f=1&t=57440



ความเสื่อมไปจากปัญญาและเรื่องเล่า
เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่แจ้งอริยสัจ 4 กับ โสดาบันบุคคล
viewtopic.php?f=1&t=57420

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2019, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล


ลักษณะอาการที่มีขึ้น ขณะเกิด อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

เมื่อวุฏฐาคามินีวิปัสสนากำลังดำเนินไปอยู่นั้น ย่อมจะเห็นรูป,นาม แสดงความเป็นทุกข์ ให้ปรากฏเห็นชัดเจน แล้วก็เข้าสู่มรรคเลย ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ คือหลุดพ้นจากทางทุกขัง


ความรู้สึกครั้งแรกของทุกคน ขณะที่เกิด(นิมิต) ขณะกำลังจะหมดลมหายใจ(ขาดใจตาย) สภาพธรรมที่มีเกิดขึ้นนี้จะปรากฏขึ้นเสมือนมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงๆ จะรู้ชัดเหมือนๆกัน คือหายใจไม่ออก เหมือนจะตาย ถ้ายอมตาย แล้วจะมีสภาวะต่อมาเกิดขึ้น คือ ถูกแรงดูดที่มีแรงมหาศาลเข้าไปในหลุมหรือรูหรือเหว


ตัวอย่าง เช่น



คนที่ 1
ก่อนเกิดสภาวะบอกว่า จะรู้สึกเหมือนจะตาย แต่ไม่ได้เล่าว่า เจออะไร ถึงได้พูดว่า เหมือนจะตาย แล้วเล่าต่อว่า ก็นั่งอยู่ จะตายได้ไง จึงคิดว่า ไปเลยจะได้รู้ว่าเป็นไร เจอเหมือนโดนดูดเข้าไปในรู ตอนหลังบอกว่า จะเข้ารู ต้องเข้าถูก คือ รูธรรม



คนที่ 2
สามวันมันจี้เอาปางตาย ทำอะไรไม่ได้เลยค่ะ แต่ละปั้บลงนี่ยังกะโดนเครื่องปั๊มหัวใจช็อตเอาประมาณนั้นมั้ง (จากแต่ก่อนที่เคยเป็นคล้ายอาการแทง กรีด คว้าน และเฉือนอยู่ภายใน) นั่นภายในมันดิ้นกันพล่านเลยจนหมดแรง ร่อแร่แล้วนี่
ตรงที่เห็นขณะเกิดดับก่อนจะเหมือนกระแสบางอย่างถูกดูดลงหลุมดำ (แอบประมาณเรียกเอง)



คนที่ 3
เจออาการร่างกายปวด ตัวหวิวใจหวิว พยายามประคองสติใว้ อาการทั้งตัวเหมือนโดนน้ำท่วมสำลักหรือเป็นลมแดดหูอื้อตาลาย แต่สติยังแข็งมาก รับรู้ได้ทุกอย่าง เหมือนโดนดูดเข้าไปในท่อดำมืดอะไรสักอย่าง
มีอาการเจ็บปวดเหมือนตัวจะขาดจากกัน กระดูกเนื้อหนังเหมือนแตกไปทั้งร่าง หมุนติ้วๆอยู่ไม่มีบนล่างกำหนดทิศทางกำหนดหนักเบาร้อนเย็นอ่อนแข็งอะไรก็ไม่ได้ทั้งนั้น ไม่มีอะไรให้ยึดจับทั้งนั้น
พอตกใจจิตถอนออกก็สงบสว่างอยู่พักนึง พอเริ่มสบายสติผ่อนคลายหายกระเพื่อมก็โดนอีก คราวนี้เหมือนโดนกระชากตัวพุ่งพรวดลงไปในเหว ตัดสินใจยอมเจ็บยอมตาย มันดิ่งก็ดิ่งตามไปด้วย



คนที่ 4
เคยเจอสภาวะนี้ ครั้งนึงค่ะ หลายปีมาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ตอนนั้นไปปฎิบัติธรรมที่วัด นั่งในวิหารรวม มีสติ กำหนดตามรู้สภาวะ ไปเรื่อยๆ มาถึงจุดนึงจะมีสภาวะของการบีบคั้น กดดัน เหมือนจะจมน้ำตาย ตอนนั้้นก็ยอมตาย ตายก็ตาย เลยปล่อยให้สภาวะมันเป็นไป(ไม่ปล่อยก็ต้องปล่อย) เหมือนมีแรงดูดมหาศาล ดูดและหมุนๆเข้าไป



คนที่ 5
ขณะกำลังกรรมฐานอยู่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตอนนั้น อาการเหมือนคนที่ขาดอากาศหายใจ แรกๆดิ้นรน หาอากาศหายใจ สุดท้ายปลงตกว่า ตายก็ดีเหมือนกัน เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายทุกเรื่องราว เมื่อคิดพิจรณาดังนี้ หยุดดิ้นรน รู้ชัดทุกอาการที่มีเกิดขึ้นก่อนหมดลมหายใจเฮือกสุดท้าย ต่อมารู้สึกเหมือนถูกดูดด้วยแรงดูดมหาศาล





กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุติ

ปัจจเวกขณญาณ
ญาณที่ต่อจากผลญาณ ก็คือ ปัจจเวกขณญาณ
ได้แก่ โยคีบุคคล ที่เข้าสู่ความดับไปแล้ว

ครั้นรู้สึกตัวขึ้น ก็พิจรณาว่า ตนเป็นอะไรไป
สภาวะอย่างนี้ ทำไมเกิดขึ้นกับตน

หรือพิจรณาในทำนองที่คล้ายคลึงกันนี้ และนึกย้อนหลังไปถึงการกำหนดที่ผ่านมาก่อน ที่จะเกิดอาการแปลกประหลาดอันนี้ขึ้น ซึ่งตนไม่เคยได้ประสบมาก่อนเลยในชีวิต

ลักษณะญาณนี้ก็คือ กำหนดพิจรณาอีกครั้งหนึ่ง
ได้แก่ การหวนกลับพิจรณาถึงสภาวะที่ตนเข้าสู่ความดับดังกล่าวมาแล้วในตอนต้น


ปัจจเวกขณะ แปลว่า กำหนดพิจรณาอีกครั้งหนึ่ง
ได้แก่ การหวนกลับพิจรณาถึงสภาวะที่ตนเข้าสู่ความดับดังกล่าวมาแล้วในตอนต้น






เน้นสีแดง เพื่อผู้ใดที่ตาบอดสี

ที่ต้องเน้น จะบอกว่า มันไม่ใช่แค่นิมิตสังขาร ต้องประกอบด้วยแรงดูดมหาศาล
ถ้าไม่เข้าใจ ในรพ.ถามหมอห้องคลอดว่า คุณหมอค่ะ เวลาคนกำลังคลอด ที่มีช่วยเครื่องช่วยในการคลอด ที่ป็นเครื่องดูดในการช่วยแม่ในการคลอด จะได้รู้ว่า แรงดูดนั้น เวลาที่ถูกดูด มันแรงมากไหน

แตกต่างจากที่บางคนบอกว่า รู้สึกเหมือนกำลังตาย คือ รู้ว่ามีเกิดขึ้นแค่นั้น
แล้วทำให้เกิดความเชื่อว่านี่เป็นเกิดขึ้นขณะอนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
ตรงนี้ เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยของบุคคลนั้น แล้วให้เกิดกรรมกระทำ(สร้างเหตุ) มากกว่าการดับ

สมถะและวิปัสสนา ต้องมีทั้งสองอย่าง หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มรรค ผล ย่อมไม่สามารถมีเกิดขึ้นได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2019, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


[๖๖] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ

๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑

๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๒

๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓

๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔

๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕

๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖

๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗

๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘

ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ
ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง
เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้างออกบ้าง
ตามคราวที่ต้องการ ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์
จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป
เพราะทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน

อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ
อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่งหรือประณีตไปกว่าไม่มี

พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ท่านพระอานนท์ยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2019, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กามเหสสูตรที่ ๑


[๒๔๗] อุ. ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กายสักขีๆ ดังนี้
โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสกายสักขี ฯ

อา. ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน
และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ... บรรลุทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ...
และอายตนะนั้น มีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ... บรรลุอากาสานัญจายตนะ ...
และอายตนะนั้น มีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ
ดูกรอาวุโสโดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ... เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ
และอาสวะทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใดๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้นๆ

ดูกรอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสกายสักขี ฯ

จบสูตรที่ ๒

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2019, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะทำกรรมฐานแบบใดก็ตาม ใช้คำบริกรรมแบบใดก็ตาม
จะจิตเป็นสมาธิ หรือไม่รู้ว่าอาการแบบไหนที่เป็นสมาธิ ไม่ต้องไปเรียกชื่อแซ่แล้วก็ได้ ให้ดูสภาวะเป็นหลัก
เช่น บ้างครั้งจะรู้สึกสงบ แล้วรู้สึกถึงกายที่นั่ง ไม่ต้องไปกำหนดรู้หนอ เห็นหนอว่านั่งอยู่อะไรแบบนี้ แค่รู้ว่า มีสภาวะใดเกิดขึ้น เท่านั้นพอ
บ้างครั้ง รู้ถึงเวทนา เช่น ปวดขา ปวดก้น ปวดหลัง สภาวะใดให้รู้ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง
บ้างครั้งมีแสงสว่างจะมากหรือน้อย ให้แค่นี้ว่ามีเกิดขึ้น ฯลฯ

สรุปคร่าวๆ ถ้ารู้รายละเอียด อ่านในกระทู้การเจริญสมถะและวิปัสสนาจะนำมาลงเฉพาะสภาวะที่ควรรู้
viewtopic.php?f=1&t=57440



ที่สำคัญ ต้องเดินจงกรม ก่อนตามด้วยอิริยาบทนั่ง
ถ้าจิตเป็นสมาธิ แล้วรู้สึกถึงกายได้ ลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นนี่ เป็นสภาวะของ รูปฌาน
บ้างครั้ง พอเวลาทำกรรมฐาน จะเหมือนเวลาผ่านไปนานมาก ตรงนี้ เกิดจากความไม่รู้ทันสภาวะดับเกิดขึ้น
ไม่ต้องกังวล ทำไปบ่อยๆ เมื่อสติมีกำลังมากขึ้น จะทำให้เกิดความรู้ชัดขณะเกิดสภาวะดับ
บ้างครั้ง จะรู้สึกว่า กายนี้แค่สักแต่ว่าอะไรแท่งๆ บ้างครั้งกลวงโบ๋ นี่ก็เรื่องสมาธิ

เมื่อทำเพียรต่อเนื่อง บ้างครั้ง เหมือนกายหาย เช่น มือหาย ก้นหาย อะไรทำนองเนี่ย
ไม่ต้องไปกำหนดรู้หนอๆๆ ไม่ต้องไปดึงคำบริกรรมกลับมา ให้แค่รู้ว่า มีสภาวะใดเกิดขึ้น เท่านั้นพอ
ตรงนี้ก่อนเข้าสู่สภาวะอรูปฌาน



อากาสานัญจายตนะ
ถ้าให้อธิบายขณะเป็นสมาธิอยู่ ต่อมา รู้ชัดว่า กายหายไปหมด เหมือนกายไปหมดทั้งเกลี้ยง แต่มีใจรู้เพียงอย่างเดียว
เหมือนนั่งลืมตามองกระจก (ภายมาก นั่งหลับตาอยู่)

แต่ถ้าอธิบายให้รู้ชัดได้ด้วยการพูดให้เห็นภาพนั้น
เวลากำลังพูดอยู่ แล้วจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ภายนอกดับหมด เสียงไม่ได้ยิน ตามองเห็นต่อหน้า แบบว่าง รู้สึกมันว่าง รอบตัววไม่รับรู้ แต่ภายใน รู้สึกตัวในความว่าง
จนมีคนมาเขย่าตัว จึงจะรู้สึกตัว



วิญญาณัญจายตนะ
เหมือนกายไปหมดทั้งเกลี้ยง แต่มีใจเหลือเพียงอย่างเดียว มีสว่างมาก กายไปหายหมด
ไม่ต้องไปกำหนดรู้หนอๆๆ ไม่ต้องไปดึงคำบริกรรมกลับมา ให้แค่รู้ว่ามีสภาวะใดเกิดขึ้น เท่านั้นพอ
ตรงนี้เป็นสภาวะของวิญญาณัญจายตนะ คือ กายหายหมด มีแต่ใจรู้อย่างเดียว ภายในสว่างมากๆๆๆๆๆๆๆ



สภาวะอากิญจัญญายตนะ
ถ้าให้อธิบายขณะเป็นสมาธิอยู่ อธิบายอย่างแบบให้รู้ชัดได้ด้วยการพูดให้เห็นภาพนั้น จะมีลักษณะแบบนี้ คือ
ขณะที่จิตเข้าสู่อากิญจัญญายตนะ ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม(ขณะทำดำเนินชีวิต)
ถ้ามองเห็นวัด ภูเขา คน กำแพง สัตว์ คน ฯลฯ คือ ทั้งสิ่งที่มองเห็นมันละลายหรือสลายตัวหมด





สภาวะเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ถ้าให้อธิบายขณะเป็นสมาธิอยู่ อธิบายแบบให้รู้ชัดได้ด้วยการพูดให้เห็นภาพนั้น จะมีลักษณะแบบนี้ คือ
ขณะจิตเข้าสู่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม(ขณะทำดำเนินชีวิต)
ถ้ามองเห็นวัด ภูเขา คน กำแพง สัตว์ คน ฯลฯ ทั้งสิ่งที่มองเห็น สักแต่ว่า ไม่มีชื่อ ไม่มีคน สัตว์
จะมีความเด่นชัดมากในสภาวะสักแต่ว่า คือ กระทบ ดับ กระทบ ดับ (ผัสสะ ดับ ผัสสะ ดับ)
ไม่มีคำว่า หญิง ชาย หรือสมมุติต่างๆ จะทรงอารมณ์แบบนี้อยู่หลายวัน

สภาวะนี้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต
เช่น แม้ขณะกำลังขับรถอยู่ ต้องหยุด เพราะเพื่อไม่สามารถบังคับตัวเองได้ จะพยายามกำมือ หรือพยายามทำอะไรก็ตาม กายสักแต่ว่ากาย ไม่ใช่ตัวตนของตัวเองที่เคยเคลื่อนไหวได้ตามใจคิด
ได้แต่อยู่นิ่งๆ รอไปจนกว่ากำลังสมาธิที่มีอยู่ คลายลง นั่นแหละจึงจะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายต่างๆได้ สภาวะนี้ เราตั้งเชื่อเองว่า หุ่นยนต์



นิโรธ
พอมาถึงตรงนี้ เนวสัญญาฯ จะมีลักษณะเกิดขึ้นขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ จะสว่างมากแบบไม่มีประมาณ สว่างมากๆๆๆ
เมื่อสมาธิคลายตัว จะกลับมาเป็นสมาธิ ตั้งแต่รูปฌาน พอเข้าสู่อรูปฌาน กายเริ่มหายไปที่ละส่วนตั้งแต่ก้น ขา แขน จนหมด เหมือนโดนน้ำท่วมจนมิดตัว มีแต่จิตที่รู้อยู่ แล้วดับ พอกำลังสมาธิคลายตัว จิตจะรู้ก่อน แล้วรู้ชัดร่างกายที่ละส่วน แล้วรู้ชัดกายทั้งหมด


พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค หน้าที่ ๒๓๑

[๓๙๒] ดูกรภิกษุ ก็ลำดับนั้นแล เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ

คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ
เมื่อเข้าทุติยฌานวิตกวิจารย่อมดับ
เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมดับ
เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมดับ
เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้า อากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร