วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 289 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 20  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2019, 20:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2019, 10:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b32: :b32: :b32:

ไม่มีรัย ... แค่ทดไว้ ...

ตะกี๊ กำลังนั่งอ่านกระทู้ของเพื่อนสมาชิก แล้วแว๊บเห็นอะไรบางอย่างออกมา

"เชิญเข้ามาสิ่ เชิญเข้ามาดู" .... ดูอัลไร "ดูการปรากฏเกิด-ดับ" :b1:

ซึ่งวันก่อนน้องเมทิ้ง นัยยะเอาไว้ท่อนนึง

อ้างคำพูด:
เศร้าก็ดีนี่ค๊ะ เป็นทุกข์
นี่แหละอริยะสัจจ
มองให้ชัดให้ดี รู้ให้ได้
ว่า อริยสัจจ เป็นสิ่งประเสริฐ


กับข้อความแค่นี้ คือ มันดูพื้น ๆ มาก ดูแล้วไม่ได้บ่งบอกอะไร

แต่เอกอนมีภาพเก่า ๆ ในคลังเก็บไว้อยู่
พอคำบางคำโผล่ขึ้นมา นัยยะบางประโยคโผล่ขึ้นมา
มันจูนปุ๊บ ดึงภาพในคลังออกมาแสดงทันที

เรื่องภาพต่าง ๆ ที่แว๊บออกมา มันก็เป็นอะไรที่
สิ่งมีชีวิตในรูปแบบของคนที่กรอบความเข้าใจของวิชาการครอบอยู่
มันก็เป็นอะไรที่ยาก

:b1:

กลัวลืม เลยมาทดไว้ก่อง

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2019, 12:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 11:03
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฤษฎี เขียน:
ถามคุณยังไม่ตอบ

ปฏิบัติคืออะไร ใครปฏิบัติ


คือการศึกษาเรียนรู้
เข้าใจลงมือปฏิบัติ
ให้เกิดผลเป็นความจริง ตามหลัก
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ
โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖


ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ เป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนา

ปริยัติ เป็นชื่อเรียกคำสอนทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

ปฏิบัติ ปฏิบัติตนตามนัยที่พระองค์ทรงสอนไว้

ปฏิเวธ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาเองภายในใจของผู้ปฏิบัติ
เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคล ไม่ใช่ของเกิดได้ในสาธารณะทั่วไป

ทีนี้จะพูดถึงหลักความจริงแล้วมันจะกลับกันจากความเข้าใจของคนทั่วไป

คือ ปริยัติเกิดมาจากปฏิเวธ ปฏิเวธจะเกิดได้เพราะปฏิบัติ
ถ้าไม่ปฏิบัติ ก็ไม่ถึงปฏิเวธ ไม่มีปฏิเวธ
เมื่อไม่มีปฏิเวธ คือไม่รู้แจ้งเห็นจริง ก็บัญญัติไม่ถูก
(บัญญัติ ก็คือปริยัติ) บัญญัติไม่ถูก ก็ไม่มีปริยัติ

เมื่อพูดตามความเป็นจริงแล้วมันต้องเป็นอย่างนั้น

ที่ท่านตั้งเป็นแนวไว้ว่า ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ คือเรียนรู้เสียก่อน เมื่อรู้เรื่องแล้วจึงค่อยปฏิบัติ ปฏิบัติได้แล้วจึงค่อยถึงปฏิเวธ อันนี้ก็จริงอยู่ แต่ไม่ใช่ว่าเราจะต้องไปเรียนให้มากๆ จนได้นักธรรม ตรี โท เอก เป็นมหาเปรียญเสียก่อนแล้ว จึงค่อยปฏิบัติไม่ใช่อย่างนั้น

การเรียนนั้นไม่ต้องไปเรียนตามตำรับตำราอะไรมากมาย คือเราเข้าหาสำนักครูอาจารย์หรือผู้ที่ท่านจะอธิบายธรรมะข้อใดบทใดให้ฟังก็ตามเรียกว่า การฟัง นั่นแหละนับว่าเป็นการเรียนในที่นี้ เมื่อเรียนแล้วก็เกิดความเข้าใจและเห็นคุณประโยชน์ในการเรียนจึงตั้งใจปฏิบัติตาม เมื่อเราปฏิบัติด้วยตนเองแล้วจึงเกิดปฏิเวธในธรรมปริยัติข้อนั้นๆ ขึ้นมา ดังนั้น ปริยัติต้องออกมาจากปฏิเวธแน่นอน

คำว่า ศึกษาธรรมะ นั้นไม่ใช่การเรียนปริยัติ ถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าศึกษาปริยัตินั้นอันหนึ่ง ศึกษาธรรมะก็อีกอันหนึ่งแตกต่างกัน โดยมากเข้าใจกันว่า ศึกษาธรรมะ คือ ศึกษาตามตำรับตำรา บทบัญญัติ และพระธรรมคำสอนต่างๆ ของพระพุทธเจ้า เมื่อได้แล้วก็เป็นปฏิเวธ แต่การศึกษาอันที่จะนำให้เกิดปฏิเวธนั้นไม่ใช่ศึกษาแต่ปริยัติดังที่เข้าใจกันเช่นนั้น หากเป็นการศึกษาอุบายแยบคายโดยเฉพาะในการที่จะปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อให้เกิดปฏิเวธ

ในสมัยพุทธกาลเมื่อยังไม่ได้ทรงบัญญัติพระธรรมคำสอนเลย แต่สาวกได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าตรัส บางองค์เพียงบาทคาถาเดียวก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สามเณรลูกศิษย์พระสารีบุตรยังไม่ได้ฟังเทศน์ด้วยซ้ำ ขณะปลงผมจะบรรพชาเท่านั้นก็ได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว นี่แสดงว่าการศึกษาธรรมะที่แท้จริงกับการศึกษาปริยัติเป็นคนละเรื่องกัน ที่ศึกษาในปริยัติก็จริงอยู่แต่ยังไม่ถูกทีเดียว ต้องศึกษาแนวทางปฏิบัติด้วยถึงจะถูกโดยสมบูรณ์

ปฏิบัติ การศึกษาที่จะให้เกิดการปฏิบัตินั้น จะศึกษาบัญญัติแล้วนำมาปฏิบัติก็ได้ แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องไปศึกษามากมายเพียงหยิบยกเอาอุบายอันใดอันหนึ่งขึ้นมาพิจารณาก็เรียกว่าศึกษา หรือไม่ได้ศึกษาบัญญัติแต่มันเกิดเองรู้เองก็เรียกว่าการศึกษาเหมือนกัน การที่จะรู้เองเช่นนั้นมีได้ในบางคน เช่นมองดูตัวของเรานี้เวลามันจะเกิดอุบายขึ้นมาก็ไม่รู้ตัว โดยที่เราไม่ได้คิดไม่ได้ตั้งใจที่จะให้มันเป็น แต่ว่ามันปรากฏขึ้นมาเองภายใน มันวิตกวูบขึ้นมา เอ๊ะ ! ตัวอันนี้มันเป็นตัวอะไรนี่ ที่เรียกว่าคน คนนั้นมันอยู่ตรงไหนกัน ส่วนที่เกิดขึ้นมาเองอันนี้มันเป็นอุบายที่ถูกใจของเรา ถูกนิสัยของเราแล้ว เมื่อสนใจเรื่องนั้นใจก็ปักมั่นแน่วแน่คิดค้นแต่ในเรื่องนั้นเรื่องเดียว จนกระทั่งมันรู้ชัดขึ้นมาตามความเป็นจริง อันนั้นแหละเรียกว่า แยบคาย

อุบาย คือที่เราจับได้ในเบื้องต้นและมีแยบคาย คือพิจารณาจนเกิดผลนั่นแหละ คือ การศึกษาธรรมะ เวลามันเกิดเฉพาะของใครของมัน ไม่มีใครสอนถูก มันรู้ชัดเห็นชัดเอาจริงๆ ทีเดียว แยบคายจึงเป็นของสำคัญยิ่งกว่าอุบาย คือด้วยปัญญาขั้นละเอียด

สำหรับผู้ที่ไม่เกิดเองเป็นเองก็ต้องอาศัยแนวทางปฏิบัติ คือยกเอาอุบายขึ้นมาพิจารณาจนให้เกิดแยบคาย อุบายในการภาวนาท่านกล่าวไว้มีมากมายเรียกว่ากัมมัฏฐาน ๔๐ เช่นพิจารณา อุสุภะ อานาปานสติ กายคตาสติ สติปัฏฐานสี่ ฯลฯ เป็นต้น อุบาย เป็นเพียงสิ่งที่ใช้นำจิตให้มาอยู่ในอารมณ์อันเดียว เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้วจะมี แยบคาย เกิดขึ้น รู้ชัดเห็นชัดตามเป็นจริงด้วยตนเอง เรียกว่า ปฏิเวธ เกิดขึ้นแล้วในบุคคลนั้น

ปฏิเวธ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นมาเฉพาะตน เช่นพิจารณากายของเราจนกระทั่งเห็นกายนี้เป็นกองทุกข์ทั้งหมด ความรู้ชัดที่เกิดขึ้นเองนี้บางคนไม่ได้เรียนปริยัติเสียด้วยซ้ำ แต่เขาพิจารณาเห็นโทษเห็นภัยในวัฏฏะจริงๆ มองดูสิ่งใดๆ ในโลกนี้เห็นว่าเป็นทุกข์ภัยทั้งนั้นมีแต่ความเดือดร้อนตลอดเวลา แม้แต่ตัวของเราเองจะดูตรงไหนๆ ก็เป็นแต่ก้อนทุกข์มีแต่โรคภัยไข้เจ็บตลอดเวลา เกิดโรคได้ทุกส่วนที่ตา หู จมูก ลิ้น ฯลฯ แม้แต่เส้นผมแต่ละเส้นๆ ก็มีโรคประจำอยู่ ความรู้เห็นเช่นนี้ไม่ได้ไปศึกษาที่ไหน มันเกิดขึ้นโดยตนเอง เมื่อรู้เห็นเช่นนี้แล้วมีผลให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายเสียจากความยินดีพอใจในอัตภาพร่างกายของตน หายหลงกายอันนี้เห็นว่าของอันนี้ไม่จีรังถาวร ของอันนี้ไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว ปล่อยวางลงได้ ใจเข้าถึงความสงบเป็นสมาธิแน่วแน่เต็มที่เรียกว่า ปฏิเวธ เกิดขึ้นแล้ว

ความเป็นจริงนั้นจิตมันอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้วละอุปาทานที่มันเป็นทุกข์นั่นแหละ มันไม่ได้ส่งสายไปที่อื่นมันแน่วแน่อยู่แต่ในเรื่องทุกข์นั้น ขณะนั้นจิตสงบลงแล้วมันจึงค่อยเห็นชัดแจ้งขึ้นมา ถ้าจิตไม่สงบก็ไม่เห็นชัด อย่างเช่นเราเรียนรู้กันเรื่องอาการ ๓๒ สวดกันอยู่บ่อยๆ คล่องปากทีเดียว แต่จิตมันไม่อยู่มันส่งสายไม่แน่วแน่ลงเฉพาะในเรื่องเดียว ก็เลยเป็นสักแต่ว่าสวดไม่ทำให้เกิดความสลดสังเวช ไม่เป็นเหตุให้เบื่อหน่ายคลายความพอใจในรูปอัตภาพ เช่นนี้เรียกว่าปฏิเวธยังไม่เกิด เป็นเพียงเรียนตามปริยัติ ท่องจำปริยัติเป็นสัญญาไม่ใช่ปฏิเวธ

การที่จะเกิดปฏิเวธขึ้นนั้น จิตต้องมีสมาธิเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจจะให้เกิดสมาธิและปฏิเวธ ไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นสมาธิเลย มันเข้าถึงสมาธิและเกิดปฏิเวธโดยไม่รู้ตัว เหตุนี้จึงเคยพูดเสมอว่า แยบคายของแต่ละบุคคลนั้นเป็นของสำคัญที่สุด คือมองดูของสิ่งเดียวกันเห็นเหมือนกันหมดทุกคนนั้นแหละ แต่ว่าบางคนไม่มีแยบคายที่จะประคองจิตให้มันแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว จนกระทั่งจิตเห็นชัดขึ้นมาตามความเป็นจริง

ปริยัติ พอปฏิเวธเกิดขึ้นมาแล้ว ทีนี้จะพูดอะไรบัญญัติอะไรก็ถูกต้องตามเป็นจริงทุกประการ แต่จะต้องบัญญัติใหม่เสียก่อน เพราะความรู้ตามเป็นจริงนั้นจะพูดให้คนที่ไม่รู้ตามเป็นจริงเข้าใจยาก ต้องมาเรียบเรียงคำพูดใหม่เสียก่อนจึงจะเข้าใจเป็นเรื่องเป็นราว ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ทั้งหมดที่เรียกว่า ปริยัติ เช่นคำว่า ขันธ์ห้า, อายตนะ ทีแรกเขาไม่ได้เรียกว่าขันธ์ห้า เขาเรียกว่าคน ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ความเป็นจริงว่ามันเป็นอย่างนี้ๆ ต่างหาก จึงได้ทรงแยก “คน” ออกเป็นขันธ์ คือ ขันธ์ห้า บางทีทรงแยกเป็น ธาตุสี่ และบางทีเป็น อายตนะ เป็น อินทรีย์

ทำไมจึงทรงแยกอย่างนั้น นั่นคือความแยบคายของพระองค์ พระปัญญาเฉียบแหลมของพระองค์ คำว่าแหลมในที่นี้ทั้งแหลมทั้งลึกทั้งละเอียด เช่นทรงเห็นชัดแจ้งตลอดในสรีระร่างกายอันนี้ว่า แท้จริงไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ มันเป็นเพียงก้อนธาตุประชุมกัน พร้อมกับที่ทรงเห็นว่าเป็นก้อนธาตุประชุมกัน ก็ทรงเห็นการแตกสลายดับไปของก้อนธาตุอันนั้นร่วมไปด้วย จึงได้ทรงสมมติบัญญัติร่างกายอันนี้ว่า รูป รูปก็คือของสลายแตกดับ คำว่า รูป ในที่นี้เลยครอบไว้หมดทั้งเกิดและดับ หรือรูปก็คือลบนั่นเอง เป็นรูปขึ้นมาแล้วก็ลบหาย (สลาย) ไป นี่เป็นแยบคายของพระองค์ คำว่า ขันธ์ หมายถึงจับกันเป็นก้อน เป็นกลุ่ม เป็นหมู่

ดังนั้นที่พระองค์ทรงแยกคนออกเป็นขันธ์ ก็คือ สิ่งที่ข้นแข็งจับกันเป็นก้อนมองเห็นได้เรียกว่า รูป และส่วนที่ละเอียดมองไม่เห็น แต่ก็มีอยู่เรียกว่า นาม ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อทั้งสองส่วนมาประชุมกันเข้าจึงเป็น ขันธ์ห้า หมายถึงห้ากองนี่เอง ทั้งห้ากองนี่ต่างก็เป็นสิ่งที่ไม่คงทนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเหมือนๆ กัน รูปนั้นเกิดดับช้าหน่อย ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณนั้นเกิดดับเร็วกว่ารูป

ถ้าพิจารณาตามจนเห็นชัดจริงๆ แล้ว จะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงรอบรู้อย่างละเอียดละออและลึกซึ้งลงไปถึงที่สุด โดยที่ไม่ทรงศึกษามาจากสำนักไหนจากอาจารย์ใดเลย วิชชาของพระองค์จึงน่าสรรเสริญยิ่งนัก เมื่อตรัสรู้แล้วก็ทรงบัญญัติขึ้น บัญญัติของพระองค์สมจริงเป็นความจริงอยู่อย่างนั้นอยู่ตลอดกาล แม้ใครจะเกิดมาภายหลังอีกกี่ร้อยกี่พันปี กี่ภพกี่ชาติก็ตาม หากมาศึกษาพิจารณาค้นคว้าบัญญัติของพระองค์นี้แล้ว ไม่มีผิดแผกแตกต่างกันเลย ตรงทุกสิ่งทุกประการ แต่เรายังไม่ทันเห็นจริงด้วยตนเองเท่านั้นแหละ

คำสั่งสอนของพระองค์ที่เราศึกษากันอยู่ทุกวันนี้ ก็ยังไม่ลึกซึ้งเข้าไปถึงความรู้อันแท้จริงของพระองค์ ยกตัวอย่างอันเดิมคือ รูป นี่แหละ พระองค์ตรัสไว้ว่า รูป เป็นก้อนธาตุมาประชุมกัน เกิดขึ้นแล้วมีแตกสลายดับไป ลองนำมาพิจารณาดูเถิดบรรดารูปที่ปรากฏเห็นได้ด้วยสายตาของเราในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นรูปมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ ภูเขา ฯลฯ มันเหมือนกันหมด คือ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นก้อนธาตุ เกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องดับสลายไป แม้แต่พื้นปฐพีกว้างใหญ่อันนี้ก็มีวันหนึ่งข้างหน้าที่มันจะสลาย (มีอธิบายไว้ถึงเรื่องการแตกสลายของโลกในหนังสือไตรโลกวิตถาร) มันตรงกับหลักวิทยาศาสตร์ที่เขาศึกษากันในปัจจุบันนี้

พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ทรงศึกษาเล่าเรียนวิทยาศาสตร์อย่างพวกเรา ทำไมพระองค์จึงไปทรงทราบถึงเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด และตรงกับของเขาอย่างจริงจังด้วย สิ่งที่พระองค์ตรัสไว้ยังมีอีกมากที่วิชาวิทยาศาสตร์และวิชาแพทย์ปัจจุบันนี้ก็ยังเข้าไปไม่ถึง จึงว่าพระปัญญาของพระองค์น่าสรรเสริญยิ่งนัก แทงตลอดถึงที่สุดในทุกสิ่ง

ทีนี้ บัญญัติ ทั้งหลายเหล่านี้พระพุทธองค์ก็ไม่ให้เอาเช่น ขันธ์ห้า นี่แหละ พระองค์ไม่ได้ทรงสอนให้เอา ไม่เป็นของเอา ทรงสอนให้รู้จักต่างหาก ทรงสอนให้รู้จักเรื่องสรีระร่างกาย ให้รู้จักส่วนประกอบและหน้าที่ของมัน หน้าที่ของมันเป็นอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติ รูปมันก็เกิด-ดับ นามก็เกิด-ดับ หน้าที่ของอายตนะก็เกิด-ดับเหมือนกัน

ตา สำหรับมองรูป เห็นรูปนี้แล้วพอเห็นรูปใหม่รูปอันเก่าก็ดับไปหมดไป หูได้ยินเสียงก็เช่นเดียวกัน ได้ยินแล้วก็ดับไปหมดไป จมูกดมกลิ่น ลิ้นรับรส กายรับสัมผัสต่างๆ ใจคิดถึงเรื่องต่างๆ อารมณ์ต่างๆ ก็เกิด-ดับเหมือนกันทั้งนั้น เรื่องแรกเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเรื่องใหม่ก็เกิดขึ้นมาอีก วนเวียนกันอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา แล้วจะเอาอะไรมาเป็นเราเป็นของเรา มันไม่มีของเราสักอย่าง มันทำหน้าที่ของมันต่างหาก เมื่อเราเห็นเช่นนี้แล้วมันก็คลายเสียจากความยึดถือ ความยึดมั่นว่าตัวเราตัวเขา ของเราของเขา ก็จะมาเข้าใน สภาวะธรรม

ถ้าลงถึง สภาวะธรรม แล้วก็ถึงที่สุดไม่มีทางไป เพราะมันเป็นอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติของมัน เมื่อเราไม่เอาขันธ์มาเป็นตัวเราของเราแล้ว การปฏิบัติก็ไม่มีอะไรอีก เพราะจุดหมายปลายทางของการปฏิบัติก็คือให้ปล่อยวางจากความยึดมั่น สำคัญเอาขันธ์ว่าเป็นตัวเราของเรา อันการที่จะปล่อยวางได้นั่นซิมันยากนักหนา เพราะเราถือว่าเป็นตัวตนของเรามานานแสนนานแล้ว พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้พิจารณาหลายด้านหลายทาง ให้พิจารณาแยกแยะออกไปเสียอย่าให้เป็นตัวคน จึงได้บัญญัติให้เป็นชื่อไว้แต่ละอย่างๆ เป็นสัดเป็นส่วน ต่างก็ทำหน้าที่ของมันตามเรื่องของมัน เมื่อแยกอย่างนี้มันก็จะไม่เป็นคน ไม่เป็นตัวเป็นตน จิตมันก็จะปล่อยวาง

เมื่อเราปฏิบัติกันจริงๆ จังๆ พิจารณาจนเกิดปัญญาเห็นความจริงดังที่อธิบายมาแล้วมันต้องวาง เมื่อปล่อยวางแล้วก็เรียกว่าเห็นธรรม เข้าถึงธรรมได้ธรรม เลยกลายเป็นธรรมขึ้นมา นี่แหละที่เรียกว่าเรียนปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ ที่ต้องแท้ ถึงเล่าเรียนปริยัติจากตำราต่างๆ แล้วอย่าไปถือเอาเป็นของจริง อันนั้นเป็นแนวทางที่จะให้ถึงของจริง เข้าถึงของจริงในที่นี้คือ รู้จักหน้าที่ของมัน มันเป็นจริงอยู่อย่างนั้น แล้วมันจะปล่อยวางเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2019, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ luna ควรเข้าหาพระพุทธเจ้าและศึกษาจากท่านผู้รู้ และศึกษาด้วยความเคารพ ไม่ใช่คิดเอาเอง

ความเห็นจึงผิดมาตั้งแต่ต้น

ปฏิบัติคือการถึงเฉพาะ

ถึงเฉพาะอะไร ถึงเฉพาะลักษณะหรือที่เรียกว่าธรรมะ

ถึงด้วยอะไร ก็ด้วยกุศลประการต่างๆ มีปัญญาเป็นยอด ปัญญารู้ชัดลักษณะของธรรมะ นี่คือสัมมาปฏิบัติ

ถ้าถึงเฉพาะลักษณะของธรรมะด้วยอกุศล มีโมหะ เป็นต้น ก็เป็นมิจฉาปฏิบัติ

หากคิดว่าเราปฏิบัติ ก็เป็นจิตวิปลาส
หากเห็นว่าเราปฏิบัติก็เป็นทิฏฐิวิปลาส
หากจำว่าตัวเราปฏิบัติ ตัวเราถึงลักษณะนั้นๆก็เป็นสัญญาวิปลาส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2019, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฤษฎี เขียน:
คุณ luna ควรเข้าหาพระพุทธเจ้าและศึกษาจากท่านผู้รู้ และศึกษาด้วยความเคารพ ไม่ใช่คิดเอาเอง

ความเห็นจึงผิดมาตั้งแต่ต้น

ปฏิบัติคือการถึงเฉพาะ

ถึงเฉพาะอะไร ถึงเฉพาะลักษณะหรือที่เรียกว่าธรรมะ

ถึงด้วยอะไร ก็ด้วยกุศลประการต่างๆ มีปัญญาเป็นยอด ปัญญารู้ชัดลักษณะของธรรมะ นี่คือสัมมาปฏิบัติ

ถ้าถึงเฉพาะลักษณะของธรรมะด้วยอกุศล มีโมหะ เป็นต้น ก็เป็นมิจฉาปฏิบัติ

หากคิดว่าเราปฏิบัติ ก็เป็นจิตวิปลาส
หากเห็นว่าเราปฏิบัติก็เป็นทิฏฐิวิปลาส
หากจำว่าตัวเราปฏิบัติ ตัวเราถึงลักษณะนั้นๆก็เป็นสัญญาวิปลาส

:b8: :b8: :b8:
และการพึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าต้องอาศัยปัญญาของตนเองที่เพิ่มจากการฟังผู้อื่นกล่าวให้เข้าใจตรงๆ
ฟังแล้วรู้สึกตัวทันทีไม่ใช่การไปนั่งหลับตาทำไม่รู้ไม่ชี้ไม่ฟังอยู่คือต้องฟังตรงปัจจุบันตอนที่มีจิตครองร่าง
คือพึ่งระลึกตามอยู่เดี๋ยวนี้กำลังทำอะไรรู้ไหมคะว่ากำลังทำไปตามความคิดตนเองลืมฟังคือไม่คิดตามอยู่ไง
:b12:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2019, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
สงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าคือผู้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเข้าใจถูกตามได้ตามรู้อยู่ตรงจริง
สงฆ์คือหมู่/คณะ/ฝูงเป็นภาษาบาลีใช้เรียกมด1สงฆ์ได้คือ1ฝูง
หมู่คณะที่เป็นพุทธบริษัทมีมากกว่า1คนทั้ง4เหล่าเข้าใจถูก
ล้วนแล้วแต่ฟังคำสอนและพึ่งการฟังคำสอนเป็นปกติ
สภาพธรรมเกิดดับเร็วนับแสนโกฏิขณะเดี๋ยวนี้ค่ะ
ใครขาดการฟังคำสอนคือไม่พึ่งพระรัตนตรัย
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2019, 06:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
:b32: :b32: :b32:

ไม่มีรัย ... แค่ทดไว้ ...

ตะกี๊ กำลังนั่งอ่านกระทู้ของเพื่อนสมาชิก แล้วแว๊บเห็นอะไรบางอย่างออกมา

"เชิญเข้ามาสิ่ เชิญเข้ามาดู" .... ดูอัลไร "ดูการปรากฏเกิด-ดับ" :b1:

ซึ่งวันก่อนน้องเมทิ้ง นัยยะเอาไว้ท่อนนึง

อ้างคำพูด:
เศร้าก็ดีนี่ค๊ะ เป็นทุกข์
นี่แหละอริยะสัจจ
มองให้ชัดให้ดี รู้ให้ได้
ว่า อริยสัจจ เป็นสิ่งประเสริฐ


กับข้อความแค่นี้ คือ มันดูพื้น ๆ มาก ดูแล้วไม่ได้บ่งบอกอะไร

แต่เอกอนมีภาพเก่า ๆ ในคลังเก็บไว้อยู่
พอคำบางคำโผล่ขึ้นมา นัยยะบางประโยคโผล่ขึ้นมา
มันจูนปุ๊บ ดึงภาพในคลังออกมาแสดงทันที

เรื่องภาพต่าง ๆ ที่แว๊บออกมา มันก็เป็นอะไรที่
สิ่งมีชีวิตในรูปแบบของคนที่กรอบความเข้าใจของวิชาการครอบอยู่
มันก็เป็นอะไรที่ยาก

:b1:

กลัวลืม เลยมาทดไว้ก่อง

:b1:


มีกุญแจหลายดอก..นะ.. :b32: :b32: :b32:

เศร้า..เป็นทุกข์..
ของผมนี้...ไม่ค่อยดี...มารชอบโผล่
มาร..มันมีนิสัยประเภท..หมูไม่กลัวเจ้าป่า...ไม่กลัวฟ้า...มันจะเอาชนะ..

แต่มักเอาชนะ..ในแบบโง่โง่.. :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2019, 07:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 11:03
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฤษฎี เขียน:
คุณ luna ควรเข้าหาพระพุทธเจ้าและศึกษาจากท่านผู้รู้ และศึกษาด้วยความเคารพ ไม่ใช่คิดเอาเอง

ความเห็นจึงผิดมาตั้งแต่ต้น

ปฏิบัติคือการถึงเฉพาะ

ถึงเฉพาะอะไร ถึงเฉพาะลักษณะหรือที่เรียกว่าธรรมะ

ถึงด้วยอะไร ก็ด้วยกุศลประการต่างๆ มีปัญญาเป็นยอด ปัญญารู้ชัดลักษณะของธรรมะ นี่คือสัมมาปฏิบัติ

ถ้าถึงเฉพาะลักษณะของธรรมะด้วยอกุศล มีโมหะ เป็นต้น ก็เป็นมิจฉาปฏิบัติ

หากคิดว่าเราปฏิบัติ ก็เป็นจิตวิปลาส
หากเห็นว่าเราปฏิบัติก็เป็นทิฏฐิวิปลาส
หากจำว่าตัวเราปฏิบัติ ตัวเราถึงลักษณะนั้นๆก็เป็นสัญญาวิปลาส


ถ้าคุณใช้คำว่าผิดตั้งแต่แรก

ผมจะใช้คำว่ามันไม่มีตั้งแต่แรก คำนี้เป็นปรมัตถ์ ชั้นสูง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2019, 08:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 11:03
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อันโชคเคราะห์ สิริเลวร้าย ล้วนเหมือนภาพในน้ำ เป็นเงาภาพของพุทธจิตของเรา ไม่ใช่เป็นความจริง คนที่ยังไม่รู้ ก็จะปฏิบัติบำเพ็ญ ที่เงาภาพ เมื่อรู้แล้วก็จะปฏิบัติบำเพ็ญ ที่จิตตนเอง ชะตาชีวิตแต่ละคน รวมทั้งสุขภาพ ความสงบสุขของครอบครัว การงานการศึกษา งานธรรมะ ล้วนเป็นเงาภาพของพุทธะจิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2019, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


luna เขียน:
ปฤษฎี เขียน:
คุณ luna ควรเข้าหาพระพุทธเจ้าและศึกษาจากท่านผู้รู้ และศึกษาด้วยความเคารพ ไม่ใช่คิดเอาเอง

ความเห็นจึงผิดมาตั้งแต่ต้น

ปฏิบัติคือการถึงเฉพาะ

ถึงเฉพาะอะไร ถึงเฉพาะลักษณะหรือที่เรียกว่าธรรมะ

ถึงด้วยอะไร ก็ด้วยกุศลประการต่างๆ มีปัญญาเป็นยอด ปัญญารู้ชัดลักษณะของธรรมะ นี่คือสัมมาปฏิบัติ

ถ้าถึงเฉพาะลักษณะของธรรมะด้วยอกุศล มีโมหะ เป็นต้น ก็เป็นมิจฉาปฏิบัติ

หากคิดว่าเราปฏิบัติ ก็เป็นจิตวิปลาส
หากเห็นว่าเราปฏิบัติก็เป็นทิฏฐิวิปลาส
หากจำว่าตัวเราปฏิบัติ ตัวเราถึงลักษณะนั้นๆก็เป็นสัญญาวิปลาส


ถ้าคุณใช้คำว่าผิดตั้งแต่แรก

ผมจะใช้คำว่ามันไม่มีตั้งแต่แรก คำนี้เป็นปรมัตถ์ ชั้นสูง


ผิด คือมิจฉาไงครับ ใช้ภาษาไทยเฉยๆ

มี ไม่มี ก็ว่างเปล่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2019, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


luna เขียน:
อันโชคเคราะห์ สิริเลวร้าย ล้วนเหมือนภาพในน้ำ เป็นเงาภาพของพุทธจิตของเรา ไม่ใช่เป็นความจริง คนที่ยังไม่รู้ ก็จะปฏิบัติบำเพ็ญ ที่เงาภาพ เมื่อรู้แล้วก็จะปฏิบัติบำเพ็ญ ที่จิตตนเอง ชะตาชีวิตแต่ละคน รวมทั้งสุขภาพ ความสงบสุขของครอบครัว การงานการศึกษา งานธรรมะ ล้วนเป็นเงาภาพของพุทธะจิต


โพธิจิต คืออะไร บำเพ็ญอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2019, 08:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 11:03
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
:b32: :b32: :b32:

ไม่มีรัย ... แค่ทดไว้ ...

ตะกี๊ กำลังนั่งอ่านกระทู้ของเพื่อนสมาชิก แล้วแว๊บเห็นอะไรบางอย่างออกมา

"เชิญเข้ามาสิ่ เชิญเข้ามาดู" .... ดูอัลไร "ดูการปรากฏเกิด-ดับ" :b1:

ซึ่งวันก่อนน้องเมทิ้ง นัยยะเอาไว้ท่อนนึง

อ้างคำพูด:
เศร้าก็ดีนี่ค๊ะ เป็นทุกข์
นี่แหละอริยะสัจจ
มองให้ชัดให้ดี รู้ให้ได้
ว่า อริยสัจจ เป็นสิ่งประเสริฐ


กับข้อความแค่นี้ คือ มันดูพื้น ๆ มาก ดูแล้วไม่ได้บ่งบอกอะไร

แต่เอกอนมีภาพเก่า ๆ ในคลังเก็บไว้อยู่
พอคำบางคำโผล่ขึ้นมา นัยยะบางประโยคโผล่ขึ้นมา
มันจูนปุ๊บ ดึงภาพในคลังออกมาแสดงทันที

เรื่องภาพต่าง ๆ ที่แว๊บออกมา มันก็เป็นอะไรที่
สิ่งมีชีวิตในรูปแบบของคนที่กรอบความเข้าใจของวิชาการครอบอยู่
มันก็เป็นอะไรที่ยาก

:b1:

กลัวลืม เลยมาทดไว้ก่อง

:b1:


มีกุญแจหลายดอก..นะ.. :b32: :b32: :b32:

เศร้า..เป็นทุกข์..
ของผมนี้...ไม่ค่อยดี...มารชอบโผล่
มาร..มันมีนิสัยประเภท..หมูไม่กลัวเจ้าป่า...ไม่กลัวฟ้า...มันจะเอาชนะ..

แต่มักเอาชนะ..ในแบบโง่โง่.. :b32: :b32: :b32:



อย่าตำหนิ นี่ฉลาด นั่นโง่เขลา
แบ่งเขาเรา
เป็นผู้ใหญ่ ต้องใจกว้าง
ดั่งนที
แนะนำชี้ ชนรุ่นหลัง
ให้เข้าใจ ทุกคนล้วนสร้างบุญใหญ่
ฉุดช่วยเวไนยชนขึ้นเรือธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2019, 08:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 11:03
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฤษฎี เขียน:
luna เขียน:
อันโชคเคราะห์ สิริเลวร้าย ล้วนเหมือนภาพในน้ำ เป็นเงาภาพของพุทธจิตของเรา ไม่ใช่เป็นความจริง คนที่ยังไม่รู้ ก็จะปฏิบัติบำเพ็ญ ที่เงาภาพ เมื่อรู้แล้วก็จะปฏิบัติบำเพ็ญ ที่จิตตนเอง ชะตาชีวิตแต่ละคน รวมทั้งสุขภาพ ความสงบสุขของครอบครัว การงานการศึกษา งานธรรมะ ล้วนเป็นเงาภาพของพุทธะจิต


โพธิจิต คืออะไร บำเพ็ญอย่างไร

ทำไมไม่ถามความมุ่งหมายของตนเอง

อย่าเพิ่งถามว่า
โพธิจิตคืออะไร
บำเพ็ญอย่างไร
มีความมุ่งหมายอะไร

ให้ถามใจตัวเองว่าความมุ่งหมายคืออะไรถามใจตัวเองมีความมุ่งหมายที่ไหนบ้าง

สิ่งที่มีรูปลักษณ์ทั้งหลายล้วนเป็นมายา รูปแท้ไร้รูป
คุณเคยสังเกตุบ้างไหมเด็กทารก โดยเฉพาะต่ำกว่า 2 ขวบ เราจะพบว่า ความสุขของเขาไม่มีสาเหตุ ไม่ต้องอาศัยวัตถุภายนอกมาทำให้พอใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2019, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


luna เขียน:
ปฤษฎี เขียน:
luna เขียน:
อันโชคเคราะห์ สิริเลวร้าย ล้วนเหมือนภาพในน้ำ เป็นเงาภาพของพุทธจิตของเรา ไม่ใช่เป็นความจริง คนที่ยังไม่รู้ ก็จะปฏิบัติบำเพ็ญ ที่เงาภาพ เมื่อรู้แล้วก็จะปฏิบัติบำเพ็ญ ที่จิตตนเอง ชะตาชีวิตแต่ละคน รวมทั้งสุขภาพ ความสงบสุขของครอบครัว การงานการศึกษา งานธรรมะ ล้วนเป็นเงาภาพของพุทธะจิต


โพธิจิต คืออะไร บำเพ็ญอย่างไร

ทำไมไม่ถามความมุ่งหมายของตนเอง

อย่าเพิ่งถามว่า
โพธิจิตคืออะไร
บำเพ็ญอย่างไร
มีความมุ่งหมายอะไร

ให้ถามใจตัวเองว่าความมุ่งหมายคืออะไรถามใจตัวเองมีความมุ่งหมายที่ไหนบ้าง

สิ่งที่มีรูปลักษณ์ทั้งหลายล้วนเป็นมายา รูปแท้ไร้รูป
คุณเคยสังเกตุบ้างไหมเด็กทารก โดยเฉพาะต่ำกว่า 2 ขวบ เราจะพบว่า ความสุขของเขาไม่มีสาเหตุ ไม่ต้องอาศัยวัตถุภายนอกมาทำให้พอใจ


ถามอย่างตอบอย่าง

ความสุขไม่มีสาเหตุ หรือ

สุขมี 2 อย่างคือสุขที่อิงอามิส และสุขที่ไม่อิงอามิส มีเหตุมีปัจจัยจึงปรากฏ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2019, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
สภาพธรรมกำลังเกิดดับหมดไปทุกแสนโกฏิขณะ
ไม่ระลึกตามคำสอนอยู่ตรง1สัจจะที่กายใจมี
แปลว่าสะสมเป็นอวิชชาแล้วขาดปัญญา
เพราะปัญญาเจริญขึ้นจากอบรมจิต
ตรงตามคำสอนเพื่อระลึกตามอยู่
เพราะจิตเป็นสภาพรู้แจ้งอารมณ์
แต่ปัญญาเข้าใจชัดถึงตัวธัมมะ
บัญญัติทุกคำไม่ใช่ตัวธัมมะ
ตัวธัมมะจริงมีที่กายใจ
ฟังเพื่อเข้าถึงตัวจริง
ไม่ใช่ท่องทุกคำได้
แต่ต้องระลึกตาม
ตรงสิ่งที่ปรากฏ
เดี๋ยวนี้ทันที
รู้ตรงจริง
ที่มีอยู่แล้ว
แค่ฟังให้เข้าใจตามได้อยู่
ไม่มีใครทำตัวจริงธัมมะที่กำลังเกิดดับมีอยู่แล้วเข้าใจไหมคะ
https://youtu.be/8Tn97IZJLx8
:b12:
:b4: :b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 289 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 20  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 35 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร