วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 14:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2019, 16:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ภาษาของชนชาวมคธเท่านั้นหนาแน่นแล้ว (มากมาย) ในที่ทั้งปวง
คือ
๑. ในนิรยะ (นรก)
๒. ในกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉาน
๓. ในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต)
๔. ในมนุษยโลก
๕. ในเทวโลก

ในภาษาของสัตว์ทั้งหลาย ภาษา ๑๘ อย่าง นอกจากภาษาของชน
ชาวมคธ มีภาษาของคนป่า ของชาวอันธกะ ของชาวโยนก ของทมิฬตามที่
กล่าวแล้วเป็นต้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ภาษาของชนชาวมคธกล่าวคือ
เป็นโวหารของพรหม เป็นโวหารของพระอริยะ ตามความเป็นจริง
ภาษานี้ภาษาเดียวเท่านั้นไม่เปลี่ยนแปลง. แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทรง
ยกพระไตรปิฎก คือพระพุทธพจน์ขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นด้วยภาษาของ
ชนชาวมคธนั่นแหละ.

ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า ก็เพราะเพื่อจะนำมาซึ่งอรรถ (ประโยชน์) ได้โดยง่าย.
จริงอยู่ การเข้าถึงคลองกระแสแห่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผน
ด้วยภาษาแห่งชนชาวมคธย่อมเป็นการมาอย่างพิสดารแก่ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้ง
หลาย. คือว่า เมื่อกระแสแห่งพระพุทธพจน์นั้นสักว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทาสืบต่อแล้ว
นั่นแหละ อรรถย่อมมาปรากฏนับโดยร้อยนัยพันนัย. ก็การที่บุคคลท่องแล้วๆ
เรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่นมีอยู่ แต่ชื่อว่าการ
บรรลุปฏิสัมภิทาของปุถุชนเพราะเรียนเอาพุทธพจน์นั้น แม้มาก ย่อมไม่มี.
พระอริยสาวกผู้ไม่บรรลุปฏิสัมภิทาหามีไม่.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2019, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ช้างทั้งหลาย ๑๐ ตระกูลเหล่านี้ คือ
๑. ตระกูลแห่งช้าง ชื่อว่า กาฬาวกะ (กายสีดำ)
๒. " " " " คังเคยยะ (สีน้ำไหล)
๓. " " " " ปัณฑระ (สีขาวดังเขาไกรลาส)
๔. " " " " ตัมพะ (สีทองแดง)
๕. " " " " ปิงคละ (สีเหลืองอ่อน)
๖. " " " " คันธะ (สีไม้กฤษณามีกลิ่นตัวหอม)
๗. " " " " มังคละ (สีนิลอัญชันกิริยาท่าทางงด
งาม)
๘. " " " " เหมะ (สีเหลือง)
๙. " " " " อุโบสถ (สีทองคำ)
๑๐. " " " " ฉัททันตะ (สีขาวบริสุทธิ์ดังสีเงินยวง
ปากและเท้าแดง)

บรรดาตระกูลแห่งช้างเหล่านั้น คำว่า ตระกูลแห่งช้างชื่อว่า
กาฬาวกะ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นตระกูลช้างธรรมดา (ปกติหตฺถิกุลํ).
พึงเทียบกำลัง ดังนี้
กำลังบุรุษ ๑๐ คน เท่ากับกำลังช้าง ตระกูล กาฬาวกะ ๑ เชือก
กำลังช้าง กาฬาวกะ ๑๐ เชือก" " คังเคยยะ ๑ "
" คังเคยยะ ๑๐ " " " ปัณฑระ ๑ "
" ปัณฑระ ๑๐ " " " ตัมพะ ๑ "
" ตัมพะ ๑๐ " " " ปิงคละ ๑ "
" ปิงคละ ๑๐ " " " คันธะ ๑ "
" คันธะ ๑๐ " " " มังคละ ๑ "
" มังคละ ๑๐ " " " เหมะ ๑ "
" เหมะ ๑๐ " " " อุโบสถ ๑ "
" อุโบสถ ๑๐ " " " ฉัททันตะ ๑ "
" ฉัททันตะ ๑๐ " เท่ากับกำลังของพระตถาคตพระองค์หนึ่ง
กำลังนี้นั่นแหละ ท่านเรียกว่า "กำลังของพระโพธิสัตว์พระนามว่า
นารายณ์*(ในปรมัตถทีปนี อุทานวรรณนา กล่าวว่า กำลังกายของช้างตระกูลฉัทททันต์ ๖๐
ตัว เท่ากับกำลังกายของพระโพธิสัตว์ในปัจฉิมภพ (พระโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระ
พุทธเจ้า ๑๐ องค์ คือ พระศรีอาริยเมตไตรย พระราม พระเจ้าปัสเสนทิโกศล พระยา
มาราธิราช พระยาอสุรินทราหู โสณพราหมณ โตไทยพราหมณ์ ช้างนาฬาคีรี ช้างปาลิไลยกะ)" ดังนี้บ้าง.

กำลังของพระตถาคตนั้น เท่ากับกำลังของช้างตระกูล
กาฬาวกะหนึ่งพันโกฏิเชือก และเท่ากับกำลังของบุรุษ ๑๐ พันโกฏิคน.
นี้เฉพาะกำลังกายของพระตถาคตพุทธเจ้าก่อน

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


sssboun เขียน:
Quote Tipitaka:
๑๑. หทยํ (เนื้อหัวใจ)
คำว่า หทยํ คือ เนื้อหัวใจ เนื้อหัวใจนั้น ว่าโดยสี มีสีแดงดังสี
หลังกลีบดอกปทุม. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังดอกปทุมตูม ที่เขาปลิดกลีบ
ข้างนอกออกแล้วตั้งคว่ำลง ภายนอกเกลี้ยง แต่ภายในเป็นเช่นกับภายในผล
บวบขม เนื้อหัวใจของคนมีปัญญาแย้มบานหน่อยหนึ่ง ของคนผู้ไร้ปัญญา
เป็นดังดอกบัวตูมนั่นแหละ
ก็ภายในของเนื้อหัวใจนั้นเป็นหลุมมีประมาณจุ
เมล็ดในดอกบุนนาคได้ ในที่ใด โลหิตมีประมาณกึ่งฟายมือขังอยู่ มโนธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุอาศัยที่ใดเป็นไปอยู่ ก็แลโลหิตนั้นๆ ในที่นั้นๆ ของ
คนมีราคจริตเป็นสีแดง ของคนมีโทสจริตเป็นสีดำ ของคนมีโมห-
จริตเป็นเช่นกับสีน้ำล้างเนื้อ ของคนมีวิตักกจริตเป็นสีเช่นกับน้ำต้ม
ถั่วพู ของคนมีสัทธาจริตเป็นสีดังดอกกรรณิการ์ ของคนมีปัญญา-
จริต ใส ผุดผ่อง ไม่หมองมัว ขาว บริสุทธิ์ ย่อมปรากฏรุ่งเรืองอยู่
ดุจแก้วมณีบริสุทธิ์ที่เจียระไนแล้ว
. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดย
โอกาส ตั้งอยู่ใกล้ท่ามกลางระหว่างถันทั้ง ๒ ในภายในสรีระ. ว่าโดยปริจเฉท
กำหนดโดยส่วนที่เป็นเนื้อหัวใจ. นี้เป็นสภาคปริเฉทของเนื้อหัวใจ ส่วน
วิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.


ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม







sssboun เขียน:
ความหมาย คุณ จขกท ก็บอกไว้แล้วนี่ครับ ว่า ความเสื่อมไปจากปัญญาและเรื่องเล่า

และไม่จำเป็นอะไรจะต้องแปลความหมายเลย


โมฆบุรุษ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
sssboun เขียน:
Quote Tipitaka:
๑๑. หทยํ (เนื้อหัวใจ)
คำว่า หทยํ คือ เนื้อหัวใจ เนื้อหัวใจนั้น ว่าโดยสี มีสีแดงดังสี
หลังกลีบดอกปทุม. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังดอกปทุมตูม ที่เขาปลิดกลีบ
ข้างนอกออกแล้วตั้งคว่ำลง ภายนอกเกลี้ยง แต่ภายในเป็นเช่นกับภายในผล
บวบขม เนื้อหัวใจของคนมีปัญญาแย้มบานหน่อยหนึ่ง ของคนผู้ไร้ปัญญา
เป็นดังดอกบัวตูมนั่นแหละ
ก็ภายในของเนื้อหัวใจนั้นเป็นหลุมมีประมาณจุ
เมล็ดในดอกบุนนาคได้ ในที่ใด โลหิตมีประมาณกึ่งฟายมือขังอยู่ มโนธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุอาศัยที่ใดเป็นไปอยู่ ก็แลโลหิตนั้นๆ ในที่นั้นๆ ของ
คนมีราคจริตเป็นสีแดง ของคนมีโทสจริตเป็นสีดำ ของคนมีโมห-
จริตเป็นเช่นกับสีน้ำล้างเนื้อ ของคนมีวิตักกจริตเป็นสีเช่นกับน้ำต้ม
ถั่วพู ของคนมีสัทธาจริตเป็นสีดังดอกกรรณิการ์ ของคนมีปัญญา-
จริต ใส ผุดผ่อง ไม่หมองมัว ขาว บริสุทธิ์ ย่อมปรากฏรุ่งเรืองอยู่
ดุจแก้วมณีบริสุทธิ์ที่เจียระไนแล้ว
. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดย
โอกาส ตั้งอยู่ใกล้ท่ามกลางระหว่างถันทั้ง ๒ ในภายในสรีระ. ว่าโดยปริจเฉท
กำหนดโดยส่วนที่เป็นเนื้อหัวใจ. นี้เป็นสภาคปริเฉทของเนื้อหัวใจ ส่วน
วิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.


ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม







sssboun เขียน:
ความหมาย คุณ จขกท ก็บอกไว้แล้วนี่ครับ ว่า ความเสื่อมไปจากปัญญาและเรื่องเล่า

และไม่จำเป็นอะไรจะต้องแปลความหมายเลย


โมฆบุรุษ


ทุกคนล้วนแล้วเริ่มจากศูญ จากคนไม่รู้เรียนรู้ปฏิบัติไปเรื่อยๆก็ย่อมรู้
และได้ผล เช่นเดียวกับจากโมฆบุรุษก็สามารถกลายเป็นมหาบุรุษได้เช่น
กัน ต่างคนต่างวาระจิต ต่างด้วยบารมี ต่างกรรม จะให้เท่ากันและเหมือน
กันนั้นเป็นเรื่องที่ยาก เปรียบดังแผ่นดินยังมีที่สูงต่ำไม่เท่ากันครับ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


sssboun เขียน:
walaiporn เขียน:
sssboun เขียน:
Quote Tipitaka:
๑๑. หทยํ (เนื้อหัวใจ)
คำว่า หทยํ คือ เนื้อหัวใจ เนื้อหัวใจนั้น ว่าโดยสี มีสีแดงดังสี
หลังกลีบดอกปทุม. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังดอกปทุมตูม ที่เขาปลิดกลีบ
ข้างนอกออกแล้วตั้งคว่ำลง ภายนอกเกลี้ยง แต่ภายในเป็นเช่นกับภายในผล
บวบขม เนื้อหัวใจของคนมีปัญญาแย้มบานหน่อยหนึ่ง ของคนผู้ไร้ปัญญา
เป็นดังดอกบัวตูมนั่นแหละ
ก็ภายในของเนื้อหัวใจนั้นเป็นหลุมมีประมาณจุ
เมล็ดในดอกบุนนาคได้ ในที่ใด โลหิตมีประมาณกึ่งฟายมือขังอยู่ มโนธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุอาศัยที่ใดเป็นไปอยู่ ก็แลโลหิตนั้นๆ ในที่นั้นๆ ของ
คนมีราคจริตเป็นสีแดง ของคนมีโทสจริตเป็นสีดำ ของคนมีโมห-
จริตเป็นเช่นกับสีน้ำล้างเนื้อ ของคนมีวิตักกจริตเป็นสีเช่นกับน้ำต้ม
ถั่วพู ของคนมีสัทธาจริตเป็นสีดังดอกกรรณิการ์ ของคนมีปัญญา-
จริต ใส ผุดผ่อง ไม่หมองมัว ขาว บริสุทธิ์ ย่อมปรากฏรุ่งเรืองอยู่
ดุจแก้วมณีบริสุทธิ์ที่เจียระไนแล้ว
. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดย
โอกาส ตั้งอยู่ใกล้ท่ามกลางระหว่างถันทั้ง ๒ ในภายในสรีระ. ว่าโดยปริจเฉท
กำหนดโดยส่วนที่เป็นเนื้อหัวใจ. นี้เป็นสภาคปริเฉทของเนื้อหัวใจ ส่วน
วิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.


ไม่อ่านก็ไม่รู้ มัวแต่คิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่สนใจในการศึกษาเพิ่ม







sssboun เขียน:
ความหมาย คุณ จขกท ก็บอกไว้แล้วนี่ครับ ว่า ความเสื่อมไปจากปัญญาและเรื่องเล่า

และไม่จำเป็นอะไรจะต้องแปลความหมายเลย


โมฆบุรุษ


ทุกคนล้วนแล้วเริ่มจากศูญ จากคนไม่รู้เรียนรู้ปฏิบัติไปเรื่อยๆก็ย่อมรู้
และได้ผล เช่นเดียวกับจากโมฆบุรุษก็สามารถกลายเป็นมหาบุรุษได้เช่น
กัน ต่างคนต่างวาระจิต ต่างด้วยบารมี ต่างกรรม จะให้เท่ากันและเหมือน
กันนั้นเป็นเรื่องที่ยาก เปรียบดังแผ่นดินยังมีที่สูงต่ำไม่เท่ากันครับ





คำพูดของโมฆบุรุษ ขยันทำแต่สิ่งโง่ แทนที่จะใช้ให้เวลาให้คุ้มค่า

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำพูดของโมฆบุรุษ


เมื่อรู้ว่าดีหรือไม่ดีแล้วก็เลือกเองว่าจะเอาหรือไม่เอา เปรียบเหมือน
อาหาร ย่อมจะถูกกับร่างกายของตนบ้างไม่ถูกบ้างเป็นธรรมดา

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อันตรธาน ๓ อย่าง

จริงอยู่ ชื่อว่า อันตรธาน (ความสูญหาย) มี ๓ อย่าง คือ
ปริยัตติอันตรธาน (การสูญหายแห่งการเรียนพระไตรปิฎก)
ปฏิเวธอันตรธาน (การสูญหายแห่งมรรคผล)
ปฏิปัตติอันตรธาน (ความสูญหายแห่งการปฏิบัติ)

ในบรรดา ๓ อย่างนั้น พระไตรปิฎก ชื่อว่า ปริยัติ, การแทงตลอด
สัจจะ ชื่อว่า ปฏิเวธ, ปฏิปทา ชื่อว่า ปฏิบัติ. ในคำเหล่านั้น ปฏิเวธและ
ปฏิบัติ มีอยู่บ้าง ไม่มีอยู่บ้าง จริงอยู่ ภิกษุผู้เป็นพหูสูตผู้ทำซึ่งปฏิเวธ มีอยู่ใน
กาลครั้งหนึ่ง ที่บัณฑิตพึงเหยียดนิ้วมือออกแสดงว่า ผู้นี้ไม่เป็นภิกษุปุถุชน
ดังนี้ ในกาลนั้นมีอยู่. ได้ยินว่า ในเกาะนี้นั่นแหละ ในครั้งหนึ่ง ขึ้นชื่อว่าภิกษุ

ผู้เป็นปุถุชน มิได้มีแล้ว. แม้ภิกษุผู้บำเพ็ญปฏิบัติ ในกาลบางครั้งก็มีมาก
บางครั้งก็มีน้อย. ด้วยประการฉะนี้ ปฏิเวธ และปฏิบัติ จึงชื่อว่า มีอยู่บ้าง
ก็ปริยัติ ชื่อว่าเป็นประมาณในกาลตั้งอยู่แห่งพระศาสนา, จริงอยู่ บัณฑิต ฟัง
พระไตรปิฎก แล้วก็ย่อมยังปฏิบัติและปฏิเวธแม้ทั้งสองให้เต็ม. เหมือนพระ-
โพธิสัตว์ของเราทั้งหลายยังอภิญญา ๕ (เว้นอาสวักขยญาณที่ ๖) และสมาบัติ

๘ ให้เกิดขึ้นในสำนัก อาฬารดาบส แล้วจึงถามบริกรรมในเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ ดาบสนั้นทูลว่า ไม่ทราบ จึงเสด็จไปสู่สำนักของอุทก-
ดาบส รามบุตร ทรงเทียบเคียงคุณวิเศษที่พระองค์บรรลุ แล้วทรงถาม
บริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ. อุทกดาบสรามบุตรนั้นบอกแล้ว. พระ-
มหาสัตว์ทรงยังสมาบัตินั้นให้ถึงพร้อมแล้วในลำดับแห่งคำของดาบสนั้นนั่น

แหละ. ภิกษุผู้มีปัญญา ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ฟังปริยัติแล้ว ย่อมยังปฏิบัติและ
ปฏิเวธแม้ทั้งสองให้เต็ม. ด้วยเหตุนั้น พระศาสนาจึงชื่อว่า ตั้งอยู่แล้ว เพราะ
ความตั้งมั่นแห่งปริยัติ ดังนี้.

ในกาลใด ปริยัตินั้น ย่อมอันตรธานไป ในกาลนั้น พระ-
อภิธรรมปิฎกย่อมพินาศไปก่อน ในพระอภิธรรมนั้น คัมภีร์ปัฏฐาน
ย่อมอันตรธานก่อนกว่าคัมภีร์ทั้งหมด ย่อมอันตรธานต่อมาโดยลำดับ
ธัมมสังคหะ*(ธัมมสังคณี) ย่อมอันตรธานไปในภายหลัง ครั้นพระอภิธรรมปิฎกนั้น
อันตรธานไปหมดแล้ว ปิฎกทั้งสองนอกนี้ แม้ตั้งอยู่แล้ว พระศาสนา
ก็ชื่อว่า ยังดำรงอยู่นั่นแหละ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ในบรรดา ๒ ปิฎกที่เหลือนั้น เมื่อพระสุตตันตปิฎกจะอันตรธาน
ไป อังคุตตรนิกายทั้งหลาย (พระสูตรที่แจกธรรมออกไปเป็นข้อๆ) ย่อม
อันตรธานตั้งแต่เอกาทสกนิบาตลงมาถึงเอกนิบาต. ในลำดับนั้น สังยุตตนิกาย
ทั้งหลาย (พระสูตรแสดงเรื่องบุคคลเป็นหมวดๆ) ย่อมอันตรธานตั้งแต่จักก-
เปยยาล ลงมาจนถึง โอฆตรณา. ในลำดับนั้นมัชฌิมนิกายทั้งหลาย (พระสูตร

เรื่องยาวปานกลาง) ย่อมอันตรธานตั้งแต่อินทริยภาวนาสูตรลงมาจนถึงมูล
ปริยายสูตร. ลำดับนั้น ทีฆนิกาย (พระสูตรเรื่องยาว) ย่อมอันตรธานตั้งแต่
ทสุตตรสูตรลงมาจนถึงพรหมชาลสูตร. คำถาม (ปุจฉา) แห่งคาถาหนึ่งก็ดี สอง
ก็ดี ย่อมเป็นไปนาน แต่คำปุจฉานั้น ย่อมไม่อาจเพื่อยังพระศาสนาให้ดำรง
อยู่ ราวกะสภิยปุจฉา และอาฬวกปุจฉา. ได้ยินว่าคำถามเหล่านี้ระหว่างกาล
แห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป ก็ไม่อาจเพื่อยังพระศาสนาให้ดำรงอยู่.

ก็เมื่อปิฎกทั้ง ๒ แม้อันตรธานไปแล้ว แต่เมื่อพระวินัยปิฎกยังดำรงอยู่
พระศาสนาก็ชื่อว่าดำรงอยู่. เมื่อปริวารและขันธกะทั้งหลายอันตรธานไปแล้ว
แต่อุภโตวิภังค์ยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ชื่อว่าดำรงอยู่นั่นแหละ. เมื่ออุภโตวิภังค์
อันตรธานไปแล้ว แต่มาติกาแม้ยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ยังดำรงอยู่นั่นแหละ
เมื่อมาติกาอันตรธานไปแล้ว แต่พระปาฏิโมกข์ การบรรพชา อุปสมบทยัง

ดำรงอยู่ พระศาสนาก็ย่อมดำรงอยู่. ลิงค์ (เพศ) ย่อมดำเนินไปสู่กาลนาน. ก็
วงศ์แห่งสมณะผู้ครองผ้าขาว (เสตวตฺถสมณวํโส) ไม่อาจเพื่อทรงพระศาสนา
ไว้จำเดิมแต่กาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป. นับตั้งแต่การแทงตลอด
สัจจะของชนผู้เกิดในภายหลัง และตั้งแต่สีลเภทคือการแตกไปแห่งศีลของ

บุคคลผู้เกิดในภายหลัง (แห่งพุทธกาลแล้ว) จากนั้นมา พระศาสนา ชื่อว่า
ย่อมเสื่อมถอย. จำเดิมแต่นั้นมา ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น
อันอะไรๆ มิได้ห้ามไว้.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปรินิพพาน ๓

ชื่อว่า ปรินิพพาน มี ๓ คือ
กิเลสปรินิพพาน
ขันธปรินิพพาน
ธาตุปรินิพพาน
บรรดานิพพานเหล่านั้น กิเลสปรินิพพาน (การดับสนิท
แห่งกิเลส) ได้มีแล้วที่โพธิบัลลังก์.
ขันธปรินิพพาน (การดับสนิทแห่งขันธ์) ได้มีแล้ว ณ พระ-
นครกุสินารา.

ธาตุปรินิพพาน (การดับสนิทแห่งพระธาตุ) จักมีในอนาคตกาล.
ได้ยินว่า ในกาลที่พระศาสนาจะเสื่อมถอย พระธาตุทั้งหลายที่ตัมพ-
ปัณณิทวีป (ทวีปลังกา) จักประชุมกันแล้วเสด็จไปสู่มหาเจดีย์. ต่อแต่นั้นจัก
ไปสู่ต้นไม้ราชายตนะ (ต้นไม้เกด) ในนาคทีปะ จากนั้นจักไปสู่มหาโพธิบัลลังก์.
พระธาตุทั้งหลายแต่นาคพิภพก็ดี แต่พรหมโลกก็ดี จักเสด็จไปสู่ต้นมหาโพธิ-
บัลลังก์เท่านั้น. พระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดผักกาดจักไม่สูญหายไปในระหว่าง

ทาง. พระธาตุทั้งหมดจักประชุมรวมเป็นแท่งเดียวกัน ดุจแท่งทองคำ ณ
มหาโพธิบัลลังก์แล้วจักเปล่งออกซึ่งฉัพพัณณรังสี (รัศมีมีวรรณะ ๖ ประการ)
ฉัพพัณณรังสีนั้นจักแผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ. ในลำดับนั้น เทวดาในหมื่น
จักรวาล จักมาประชุมกัน จักกระทำซึ่งความกรุณาอันยิ่งใหญ่กว่าวันที่พระ-
ทศพลปรินิพพาน แล้วจักกล่าวว่า วันนี้ พระศาสดาจะปรินิพพาน วันนี้

พระศาสนาจะเสื่อมถอย บัดนี้ การเห็นของพวกเรานี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย
ดังนี้. บุคคลทั้งหมดที่เหลือยกเว้นพระอนาคามีและพระขีณาสพแล้ว จักไม่
อาจเพื่อทรงไว้โดยภาวะของตน. ลำดับนั้น เตโชธาตุในพระธาตุทั้งหลายจัก
ตั้งขึ้นแล้วพวยพุ่งไปถึงพรหมโลก. เมื่อพระธาตุแม้มีประมาณเท่าเมล็ดผักกาด
ยังมีอยู่ เปลวอัคคีหนึ่งเทียวจักมี ครั้นเมื่อพระธาตุทั้งหลายถึงกาลสิ้นสุดลงแล้ว

เปลวอัคคีนั้นก็จักดับสนิท. ครั้นพระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพอันใหญ่ด้วย
ประการฉะนี้แล้ว ก็อันตรธานไปสิ้น พระศาสนาย่อมชื่อว่าอันตรธานไปแล้ว.
พระพุทธเจ้าทั้งหลายพึงอุบัติขึ้นพร้อมกันทั้งสองพระองค์ ข้อนี้นั้น ไม่เป็น
ฐานะที่มีได้ ด้วยประการฉะนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงอุบัติขึ้น
พร้อมกัน.
ตอบว่า เพราะไม่มีความอัศจรรย์.
จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกองค์ล้วนเป็นมนุษย์อัศจรรย์.
เหมือนอย่าง ที่ได้ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนหนึ่ง เมื่อบังเกิดขึ้นในโลก
ย่อมบังเกิดขึ้นเป็นมนุษย์ผู้อัศจรรย์ บุคคลคนหนึ่ง เป็นไฉน ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนหนึ่ง คือพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า*(อัง. เอก. ๒๐/ข้อ ๑๔๑) ดังนี้

อนึ่ง ถ้าพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ หรือ ๓, ๔, ๘ หรือ ๑๖ พระองค์
พึงบังเกิดขึ้นพร้อมกันไซร้ ความอัศจรรย์ทั้งหลาย ก็ไม่พึงมี เพราะว่า ลาภ
สักการะย่อมไม่โอฬาร แม้ลาภสักการะของพระเจดีย์ทั้งสองในวิหารเดียวกันก็
ไม่โอฬาร (ใหญ่). แม้แต่ภิกษุทั้งหลาย ก็ไม่อัศจรรย์ เพราะเหตุนั้น พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย จึงไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกันด้วยประการฉะนี้. และเพราะ

ความที่พระธรรมเทศนาก็เป็นสภาพไม่แปลกกันเลย. จริงอยู่ พระพุทธเจ้า
พระองค์หนึ่ง ย่อมแสดงธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้น พระธรรมนั้นแหละ อัน
พระพุทธเจ้าพระองค์อื่นก็แสดงได้ ความอัศจรรย์ก็ไม่พึงมี. แต่เมื่อพระพุทธ-
เจ้าองค์เดียวแสดงธรรมอยู่ แม้เทศนาก็ย่อมเป็นธรรมอัศจรรย์ และเพราะไม่
เกิดความขัดแย้งด้วย ด้วยว่า เมื่อพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ทรงอุบัติพร้อม

กันแล้ว สาวกทั้งหลายต่างก็จะพึงกล่าวขัดแย้งกันและกันว่า พระพุทธเจ้าของ
พวกเราเป็นผู้น่าเลื่อมใส พระพุทธเจ้าของพวกเรามีสุรเสียงเพราะ มีลาภมีบุญ
ดังนี้ ราวกะหลายอาจารย์กล่าวแก่งแย่งกันอยู่. แม้เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย จึงไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกัน ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ พระนาคเสนเถระ อันพระยามิลินท์ทรง
ถามแล้ว จึงให้พิสดารแล้วทีเดียว.
ก็ในเรื่องนั้น ท่านกล่าวไว้ ดังนี้

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
มิลินทปัญหา

ทวินฺนํ พุทฺธานํ โลเก นุปฺปชฺชนปญฺหา
(ปัญหาว่าด้วย การไม่บังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์)
พระยามิลินท์ ตรัสถามว่า ข้าแต่พระนาคเสน แม้พระพุทธพจน์
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทราบภาษิตแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์ พึงบังเกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลัง พร้อมกันใน
โลกธาตุอันเดียว ด้วยเหตุใด เหตุนั้น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดังนี้ เพราะเหตุไร?

พระนาคเสนเถระ ทูลว่า ขอถวายพระมหาบพิตร พระตถาคต
แม้ทั้งปวงเมื่อทรงแสดง ย่อมทรงแสดงธรรมทั้งหลายอันเป็นฝักฝ่ายแห่งปัญญา
เครื่องตรัสรู้ ๓๗ ประการเท่านั้น (โพธิปักขิยธรรม ๓๗) ก็เมื่อจะตรัส ย่อม
ตรัสอริยสัจทั้ง ๔ ก็เมื่อจะให้ศึกษา ย่อมให้ศึกษาในสิกขาทั้ง ๓ ก็เมื่อพร่ำสอน
สอน ย่อมพร่ำสอนในการปฏิบัติเพื่อความไม่ประมาท ดังนี้.

พระราชา ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านนาคเสน ถ้าว่าเทศนาของพระ-
ตถาคตแม้ทั้งปวงเป็นอย่างเดียวกัน กถาก็อย่างเดียวกัน สิกขาก็อย่างเดียวกัน
การพร่ำสอนก็อย่างเดียวกัน เพราะเหตุไร พระตถาคต ๒ พระองค์ จึงไม่
บังเกิดขึ้นในคราวเดียวกันเล่า อนึ่ง โลกนี้ มีแสงสว่างเกิดขึ้น ด้วยความ
บังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแม้องค์เดียวก่อน ถ้าว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ พึง

บังเกิดขึ้นไซร้ โลกนี้พึงมีแสงสว่างเกิดแล้วเกินประมาณด้วยแสงสว่างแห่ง
พระพุทธเจ้าทั้ง ๒ พระองค์ มิใช่หรือ ก็พระตถาคตทั้งสอง เมื่อจะกล่าวสอน
ก็พึงกล่าวสอนง่าย (สะดวก) เมื่อจะพร่ำสอนพึงพร่ำสอนง่าย มิใช่หรือ ขอ
พระผู้เป็นเจ้า จงแสดงเหตุในข้อนั้นแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะพึงสิ้นความสงสัย
อย่างไร.

พระเถระ ทูลว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้ทรง
พระพุทธเจ้าได้เพียงพระองค์เดียว ย่อมทรงคุณของพระตถาคตได้พระองค์
เดียวเท่านั้น ถ้าว่าพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ พึงบังเกิดขึ้นไซร้ หมื่นโลกธาตุ
นี้ จะพึงทรงไว้ไม่ได้ พึงเขยื้อน พึงหวั่นไหว พึงน้อมไป พึงทรุดลง พึง
กวัดแกว่ง พึงเรี่ยราย พึงกระจัดกระจาย พึงเข้าถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ขอถวายพระพร มหาบพิตร เปรียบเหมือนเรือที่พาข้ามฝั่งไปได้คน
เดียว ครั้นเมื่อบุรุษคนเดียวขึ้นแล้วเรือนั้นก็พึงให้ถึงฝั่ง ถ้าว่าบุรุษคนที่ ๒
พึงมาไซร้ และเขาก็เป็นผู้เช่นเดียวกันโดยอายุ โดยวรรณะ โดยวัยเป็นประ-
มาณ และโดยอวัยวะใหญ่น้อยผอมหรืออ้วน (ขนาดเดียวกัน) บุรุษคนที่สอง
นั้น พึงขึ้นสู่เรือนั้น ดูก่อนมหาบพิตร เรือนั้นพึงทรงแม้บุรุษทั้งสองไว้ได้
หรือ ดังนี้.

พระราชา ตรัสว่า หามิได้ พระคุณเจ้าผู้เจริญ เรือนั้นพึงขยับ
เขยื้อน พึงหวั่นไหว พึงเอียงไป พึงเพียบลง พึงกวัดแกว่ง พึงส่ายไป
พึงกระจัดกระจาย พึงเข้าถึงความทรงอยู่ไม่ได้ พึงจมลงในน้ำ ดังนี้.

พระเถระ ทูลว่า ขอถวายพระพร เรือนั้นพึงทรงบุรุษสองคนไม่
ได้ ย่อมจมลงในน้ำ ฉันใด หมื่นโลกธาตุนี้ ทรงไว้ซึ่งพระพุทธเจ้าได้เพียง
พระองค์เดียว ทรงคุณของพระตถาคตได้เพียงพระองค์เดียว ถ้าว่าพระพุทธ-
เจ้าองค์ที่สองพึงบังเกิดขึ้น หมื่นโลกธาตุพึงทรงไว้ไม่ได้ พึงขยับเขยื้อน พึง
หวั่นไหว พึงเอนลง ทรุดลง กวัดแกว่ง เรี่ยราย กระจัดกระจาย พึงเข้า
ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ฉันนั้น.

ดูก่อนมหาบพิตร อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษพึงบริโภคอาหาร
ตามต้องการ เขายังอาหารที่ชอบใจให้เต็มถึงคอ อิ่มแล้ว บริบูรณ์แล้ว ไม่มี
ช่องว่าง ถึงซึ่งความเป็นผู้เฉื่อยชา เป็นดังท่อนไม้โน้มไม่ลง แล้วพึงบริโภค
อาหารอีกเท่านั้นนั่นแหละ ข้าแต่มหาบพิตร บุรุษนั้นพึงมีความสุขบ้างหรือ
ดังนี้.

พระราชา ตรัสว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า หามิได้ บุรุษนั้นพึงบริโภค
คราวเดียวนั่นแหละแล้วก็จะตาย ดังนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเถระ. ขอถวายพระพร ข้อนี้ฉันใด หมื่นโลกธาตุนี้ ก็ฉันนั้น
นั่นแหละ ทรงพระพุทธเจ้าได้แต่เพียงพระองค์เดียว ทรงคุณของพระตถาคต
ไว้ได้เพียงพระองค์เดียว ถ้าว่าพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง พึงบังเกิดขึ้นไซร้
หมื่นโลกธาตุนี้พึงทรงไว้ไม่ได้ พึงขยับเขยื้อน หวั่นไหว เอนลง ทรุดลง
กวัดแกว่ง เรี่ยราย กระจัดกระจาย และพึงเข้าถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.

พระราชา. พระผู้เป็นเจ้านาคเสน แผ่นดินย่อมเขยื้อน หวั่นไหว
ด้วยหนักธรรมเกินไปด้วยหรือ.
พระเถระ. ขอถวายพระพร ในข้อนี้ เกวียนสองเล่มเต็มด้วยรัตนะ
จนเสมอขอบ บุคคลพึงขนเอารัตนะแต่เกวียนเล่มหนึ่งใส่ในเกวียนอีกเล่มหนึ่ง
ดูก่อนมหาบพิตร เกวียนเล่มนั้น พึงทรงรัตนะแห่งเกวียนแม้ทั้งสองได้หรือ.

พระราชา. หามิได้ พระคุณเจ้า แม้ดุมของเกวียนนั้นก็พึงแยกออก
ไป แม้กำของเกวียนนั้นก็พึงแตกออกไป แม้กงของเกวียนนั้นก็พึงฉีกออกไป
แม้เพลาของเกวียนนั้นก็พึงทำลายไป ดังนี้.
พระเถระ. ขอถวายพระพร เกวียนย่อมถูกทำลายไป ด้วยหนักรัตนะ
เกินไปหรือ.
พระราชา. อย่างนั้นแหละ พระคุณเจ้า.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเถระ. ขอถวายพระพร เกวียนถูกทำลายไปด้วยการหนักรัตนะ
เกิน ฉันใด แผ่นดินก็ฉันนั้นนั่นแหละ ย่อมเขยื้อน หวั่นไหว ด้วยการหนัก
ธรรมเกินไป อีกอย่างหนึ่ง มหาบพิตร อาตมาจะชี้แจงซึ่งเหตุแม้อื่นอันเป็น
การเหมาะสมในข้อนั้นอีก ขอถวายพระพร พระสัมมาสัมพุทธะทั้งสองพระ-
องค์ ย่อมไม่เกิดขึ้นในขณะเดียวกันด้วยเหตุใด ขอมหาบพิตรจงสดับเหตุนั้น
ดังนี้.

ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ พึง
บังเกิดขึ้นในขณะเดียวกันไซร้ ความวิวาทพึงเกิดแก่บริษัท และพึงแตกแยก
ออกเป็นสองฝ่าย เพราะคำว่า พระพุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธเจ้าของ
พวกเรา ดังนี้ ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนความวิวาท ย่อมเกิดแก่บริษัท
ของอำมาตย์ผู้มีกำลังทั้งสองคน ย่อมเกิดการแตกแยกว่า นี้อำมาตย์ของพวก

ท่าน นี้อำมาตย์ของพวกเรา ฉันใด ขอถวายพระพร พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สองพระองค์ ถ้าว่า พึงบังเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ก็ฉันนั้นนั่นแหละ ความ
วิวาททั้งหลาย พึงเกิดขึ้นแก่บริษัทของพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์ว่า พระ-
พุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธเจ้าของพวกเรา ดังนี้ บริษัทพึงเกิดแตกแยก
ออกเป็นสองฝ่าย นี้เป็นเหตุที่หนึ่ง.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ ย่อมไม่ทรงอุบัติขึ้นในขณะเดียว
กันด้วยเหตุใด ขอบรมบพิตรจงสดับซึ่งเหตุนั้นแม้อื่นอีกให้ยิ่งขึ้นไป.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ พึงบังเกิด
ขึ้นในขณะเดียวกันไซร้ คำที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด
คำที่ว่า พระพุทธเจ้าประเสริฐสุดดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้า
ผู้วิเศษดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่าพระพุทธเจ้าสูงสุดดังนี้ นั้นก็พึงเป็น
คำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าผู้บวรดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระ-

พุทธเจ้าไม่มีใครเสมอดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าผู้เสมอ
ด้วยบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอดังนี้ นั้นก็ผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าไม่มีใคร
เปรียบดังนี้ นั้นก็พึงเป็นคำผิด คำที่ว่า พระพุทธเจ้าไม่มีส่วนเปรียบดังนี้ นั้น
ก็พึงเป็นคำผิด ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์จงรับเหตุแม้นี้แล โดยความเป็นจริง.

อีกอย่างหนึ่ง มหาบพิตร พระพุทธเจ้าสองพระองค์ไม่เกิดขึ้นใน
ขณะเดียวกันด้วยเหตุใด ขอมหาบพิตรจงทราบเหตุอย่างนี้ว่า ความบังเกิดขึ้น
แห่งพระพุทธเจ้า ย่อมบังเกิดขึ้นในโลกเฉพาะพระองค์เดียว นี้เป็นปกติ
โดยสภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุไร เพราะความที่คุณของ
พระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้เป็นสัพพัญญู เป็นของใหญ่.

ขอถวายพระพร แม้สิ่งอื่นใดที่เป็นของใหญ่ สิ่งนั้นก็เป็นของอันเดียว
เท่านั้น ดูก่อนมหาบพิตร แผ่นดินเป็นของใหญ่ แผ่นดินนั้นก็เป็นแผ่นเดียว
เท่านั้น สาครเป็นของใหญ่ สาครนั้นก็เป็นอันเดียวเท่านั้น ขุนเขาสิเนรุเป็น
ของใหญ่ สิเนรุนั้นก็เป็นลูกเดียวเท่านั้น อากาศเป็นของใหญ่ อากาศนั้นก็
เป็นอากาศเดียวเท่านั้น ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ ท้าวสักกะนั้นก็เป็นผู้เดียวเท่านั้น

มารผู้เป็นใหญ่ มารนั้นก็ผู้เดียวเท่านั้น พรหมผู้เป็นใหญ่ มหาพรหมนั้นก็
ผู้เดียวเท่านั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นใหญ่เพียงพระองค์
เดียวเท่านั้น แผ่นดินเป็นต้นย่อมไม่เกิดขึ้นในที่ใด การปรากฏของแผ่นดิน
เป็นต้นย่อมไม่มีในที่นั้น เพราะฉะนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์เดียวเท่านั้น จึงบังเกิดขึ้นในโลก ดังนี้.

พระราชา ข้าแต่ท่านนาคเสน ปัญหาพระผู้เป็นเจ้าแก้ดีแล้ว ด้วย
เหตุทั้งหลายอันเป็นเครื่องอุปมา ดังนี้.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 140 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 43 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร