วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 12:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ช. วิภัชชวาทในฐานะวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง

วิภัชชวาทปรากฏบ่อยๆ ในรูปของการตอบปัญหา และท่านจัดเป็นวิธีตอบปัญหาอย่าง ในบรรดาวิธี ตอบ ๔ อย่างนี้ มีชื่อเฉพาะเรียกว่า “วิภัชชพยากรณ์” ซึ่งก็คือการนำเอาวิภัชชาวาทไปใช้ในการตอบปัญหาหรือตอบปัญหา แบบวิภัชชวาทนั่นเอง

เพื่อความความเข้าใจชัดเจนในเรื่องนี้ พึงทราบวิธีตอบปัญหา (ปัญหาพยากรณ์) ๔ อย่าง คือ

๑. เอกังสพยากรณ์ การตอบแง่เดียว คือตอบอย่างเดียวเด็ดขาด

๒.วิภัชชพยากรณ์ การแยกแยะตอบ

๓.ปฏิปุจฉาพยากรณ์ การตอบโดยย้อนถาม

๔. ฐปนา การยั้งหรือหยุด พับปัญหาเสีย ไม่ตอบ

วิธีตอบปัญหา ๔ อย่างนี้ แบ่งตามลักษณะของปัญหา ดังนั้น ปัญหาจึงแบ่งได้เป็น ๔ ประเภท ตรงกับวิธีตอบเหล่านั้น จะยกตัวอย่างปัญหาตามที่แสดงไว้ในคัมภีร์รุ่นหลังมาแสดงประกอบความเข้าใจ ดังนี้ * (ที.ปา.11/255/241 ฯลฯ)

๑. เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ควรตอบอย่างเดียวเด็ดขาด เช่น ถามว่า จักษุไม่เที่ยง ใช่ไหม ? พึงตอบได้ทีเดียวแน่นอนลงไปว่า ใช่

๒. วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่แยกแยะ หรือ จำแนกตอบ เช่น ถามว่า สิ่งที่ไม่เที่ยง ได้แก่จักษุใช่ไหม ? พึงแยกแยะตอบว่า ไม่เฉพาะจักษุเท่านั้น แม้โสตะ ฆานะ เป็นต้น ก็ไม่เที่ยง

๓. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม เช่น จักษุฉันใด โสตะก็ฉันนั้น โสตะฉันใด จักษุก็ฉันนั้น ใช่ไหม ? พึงย้อนถามว่า มุ่งความหมายแง่ใด ถ้าถามโดยหมายถึงแง่ใช้ดูหรือเห็น ก็ไม่ใช่ แต่ถ้ามุ่งความหมายแง่ว่าไม่เที่ยง ก็ใช่

๔. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่พึงยับยั้ง หรือพับเสีย ไม่ควรตอบ เช่น ถามว่า ชีวะกับสรีระคือ สิ่งเดียวกัน ใช่ไหม ? พึงยับยั้งเสีย ไม่ต้องตอบ

นี้เป็นเพียงตัวอย่างสั้น ๆ ง่ายๆ เพื่อความเข้าใจในเบื้องต้น เมื่อโดยใจความ

ปัญหาแบบที่ ๑ ได้แก่ ปัญหาซึ่งไม่มีแง่ที่จะชี้แจงหรือไม่มีเงื่อนงำ จึงตอบแน่นอนลงไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้ทันที เช่น อีกตัวอย่างหนึ่งว่า คนทุกคนต้องตายใช่ไหม ? ก็ตอบได้ทันทีว่า ใช่

ปัญหาแบบที่ ๒ ได้แก่ เรื่องซึ่งมีแง่ที่จะต้องชี้แจง โดยใช้วิธีวิภัชชวาทแบบต่างๆที่กล่าวมาแล้ว

ปัญหาแบบที่ ๓ พึงย้อนถามทำความเข้าใจกันก่อนจึงตอบ หรือตอบด้วยการย้อนถาม หรือสอบถามไปตอบไป อาจใช้ประกอบไปกับการตอบแบบที่ ๒ คือ ควบกับวิภัชชพยากรณ์

ในบาลี พระพุทธเจ้าทรงใช้วิธีย้อนถามบ่อยๆ และด้วยการย้อนถามนั้นผู้ถามจะค่อยๆเข้าใจสิ่งที่เขาถามไปเอง หรือช่วยให้เขาตอบปัญหาของเขาเองโดย พระองค์ทรงชี้แนะแง่คิดต่อให้ไม่ต้องทรงตอบ

ส่วนปัญหาแบบที่ ๔ ซึ่งควรยับยั้งไม่ตอบ ได้แก่ คำถามเหลวไหลไร้สาระจำพวกหนวดเต่า เขากระต่าย บ้าง ปัญหาที่เขายังไม่พร้อมที่จะเข้าใจ จึงยับยั้งไว้ก่อน หันไปทำความเข้าใจเรื่องอื่นที่เป็นการเตรียมพื้นของเขาก่อน แล้วจึงค่อยมาพูดกันใหม่ หรือ ให้เขาเข้าใจได้เองบ้าง


ที่ลึกลงไป ก็คือ ปัญหาที่ตั้งขึ้นมาไม่ถูก โดยคิดขึ้นจากความเข้าใจผิด ไม่ตรงตามสภาวะ หรือไม่มีตัวสภาวะอย่างนั้นจริง * เช่น ตัวอย่างในบาลี มีผู้ถามว่า ใครผัสสะ หรือ ผัสสะของใคร ใครเสวยอารมณ์ หรือเวทนาของใคร เป็นต้น ซึ่งไม่อาจตอบตามที่เขาอยากฟังได้ จึงต้องยับยั้ง หรือ พับเสีย อาจชี้แจงเหตุผลในการไม่ตอบ หรือ ให้เขาตั้งปัญหาเสียใหม่ให้ถูกต้อง ตรงตามสภาวะ

อ้างอิง *

* ท่านว่า ความเห็นความเข้าใจที่ทำให้ตั้งคำถามประเภทนี้ เกิดจากอโยนิโสมนสิการ หรือจากปรโตโฆสะที่ผิด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 15:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปนี้ จะยกข้อความในบาลีแหล่งต่างๆ มาแสดงตัวอย่างแห่งวิภัชชวาท

“สารีบุตร แม้รูปที่รู้ได้ด้วยตา เราก็กล่าวเป็น ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพ ก็มี
คำที่ว่านี้ เรากล่าวโดยอาศัยเหตุผลอะไร ?
เมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยตาอย่างใด อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเสื่อมหาย รูปที่รู้ได้ด้วยตาอย่างนี้ ไม่ควรเสพ
เมื่อเสพรูปที่รู้ได้ด้วยตาอย่างใด อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมหาย กุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่งขึ้น รูปที่รู้ได้ด้วยตาอย่างนี้ควรเสพ...

“สารีบุตร แม้เสียง...แม้กลิ่น...แม้รส...แม้สิ่งต้องกาย...แม้ธรรมที่รู้ได้ด้วยใจ เราก็กล่าวเป็น ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี...” (ดู เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร ม.อุ.14/14/198/145-233/165)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องของตาเห็นรูป
หูได้ยินเสียง
จมูกได้กลิ่น
ลิ้นลิ้มรส
กายถูกต้องสัมผัส
ใจรู้เรื่องในใจ(ธรรมารมณ์)

มันก็เรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (คน) ทั้งเพเนี่ย แต่แป-ลก (แปลก) สำนักแม่สุจิน ไปพูดเรื่องเห็นสี เห็นหลังคา กิเลสไหลไป จิตเกิดดับแสนโกฎิขณะ

เราก็ปล้ำถามคุณโรสว่า เคยเห็นจิตเกิดดับสักขณะไหม ไม่เคยตอบตรงคำถามสักเรื่อง ก็พูดอยู่นั่นแหละแสนโกฎิขณะๆๆๆๆๆๆๆ คิกๆๆๆ ส่งข่าวไปถึงลูกศิษย์ที่ยังอยู่ รีบหอบเสื่อหอบหมอนกลับบ้านไปถวายสังฆทานเถอะ ยังพอมองเห็นสัมผัสได้มั่ง :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย แม้จีวร เราก็กล่าวเป็น ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพ ก็มี คำที่ว่าดังนี้ เรากล่าว โดยอาศัยเหตุผลอะไร ?
บรรดา จีวรเหล่านั้น หากภิกษุทราบจีวรใดว่า เมื่อเราเสพจีวรนี้ อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเสื่อมหาย จีวรอย่างนี้ไม่ควรเสพ
บรรดาจีวรเหล่านั้น หากภิกษุทราบจีวรใดว่า เมื่อเราเสพจีวรนี้ อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเสื่อมหาย กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่งขึ้น จีวรอย่างนี้ควรเสพ...

“ภิกษุทั้งหลาย แม้บิณฑบาต...แม้เสนาสนะ...แม้หมู่บ้าน และชุมชน...แม้ท้องถิ่นชนบท...แม้บุคคล เราก็กล่าวเป็น ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี...” (องฺ.ทสก.24/54/106)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าอยู่อาศัยแดนป่าแห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อเธอเข้าอยู่อาศัยแดนป่านั้น สติที่ยังไม่กำกับอยู่ ก็ไม่กำกับอยู่ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะทั้งหลาย ที่ยังไม่หมดสิ้นไป ก็ไม่ถึงความหมดสิ้นไป ภาวะจิตปลอดโปร่งจากเครื่องผูกมัดอย่างสูงสุดที่ยังไม่ได้บรรลุ เธอก็หาบรรลุไม่ อีกทั้งสิ่งเกื้อหนุนชีวิต ที่บรรพชิตพึงเก็บรวบรวมได้ คือ จีวร...จีวร...บิณฑบาต...เสนาสนะ...และเครื่องหยูกยาทั้งหลาย ก็มีมาโดยยาก ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นดังนี้...จะเป็นกลางคืนก็ตาม กลางวันก็ตาม พึงหลีกไปเสียจากแดนป่านั้น ไม่พึงอยู่


“...เมื่ออยู่อาศัยแดนป่านั้น สติที่ยังไม่กำกับอยู่ ก็ไม่กำกับอยู่ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้น ก็ไม่ถึงความสิ้นไป ภาวะจิตปลอดโปร่งจากเครื่องผูกมัดอย่างสูงสุดที่ยังไม่ได้บรรลุ เธอก็หาบรรลุไม่ แต่สิ่งที่เกื้อหนุนชีวิต...มีมาโดยไม่ยาก ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นดังนี้...ตรองตระหนักแล้ว พึงหลีกไปเสียจากแดนป่านั้น ไม่พึงอยู่


“...เมื่ออยู่อาศัยแดนป่านั้น สติที่ยังไม่กำกับอยู่ ก็กำกับอยู่ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น อาสวะทั้งหลาย ที่ยังไม่หมดสิ้น ก็ถึงความสิ้นไป ภาวะจิตปลอดโปร่งจากเครื่องผูกมัดอย่างสูงสุดที่ยังไม่บรรลุ เธอก็ค่อยบรรลุ แต่สิ่งเกื้อหนุนชีวิต...มีมาโดยยาก ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นดังนี้ว่า...เราออกจากเรือนบวชเป็นอนาคาริก มิใช่เพราะเห็นแก่จีวร มิใช่เพราะเห็นแก่บิณฑบาต มิใช่เห็นแก่เสนาสนะ มิใช่เห็นแก่เครื่องหยูกยา ก็แต่ว่า เมื่อเราอยู่แดนป่านี้ สติที่ยังไม่กำกับอยู่ก็กำกับอยู่ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น...ภิกษุนั้น ตรองตระหนักแล้ว พึงอยู่ในป่านั้น ไม่พึงหลีกไป


“...เมื่ออยู่อาศัยแดนป่านั้น สติที่ยังไม่กำกับอยู่ ก็กำกับอยู่ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้น ก็ถึงความหมดสิ้น ภาวะจิตปลอดโปร่งจากเครื่องผูกมัดอย่างสูงสุดที่ยังไม่บรรลุ เธอก็ค่อยบรรลุอีกทั้งสิ่งเกื้อหนุนชีวิต...ก็มีมาโดยไม่ยาก ภิกษุนั้น พิจารณาเห็นดังนี้...พึงอยู่ในป่านั้นแม้จนตลอดชีวิต ไม่พึงหลีกไป(วนปัตถสูตร 12/234-242/212-219)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อภัยราชกุมาร: พระองค์ผู้เจริญ คำพูดซึ่งไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของผู้อื่น พระองค์ตรัสหรือไม่ ?

พระพุทธเจ้า: นี่แน่ะราชกุมาร ในเรื่องนี้ จะตอบลงไปข้างเดียวไม่ได้

ต่อจากนั้น ได้ทรงแยกแยะคำพูด ที่ตรัส และไม่ตรัสไว้ มีใจความต่อไปนี้

๑) คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส

๒) คำพูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส

๓) คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - เลือกการตรัส

๔) คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่มีประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส

๕) คำพูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส

๖) คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - เลือกการตรัส * (ม.ม.13/93-94/89-91)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2019, 05:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้า: อานนท์ ศีลพรต การบำเพ็ญพรต พรหมจรรย์ การบำเรอสิ่งบูชา มีผลทั้งนั้น หรือ ?

อานนท์: พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ จะตอบลงไปข้างเดียวไม่ได้

พระพุทธเจ้า: ถ้าอย่างนั้น จงจำแนก

อานนท์: เมื่อเสพศีลพรต การบำเพ็ญข้อปฏิบัติยากลำบาก พรหมจรรย์ การบำเรอสิ่งบูชา อย่างใด อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่งขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเสื่อมหาย
ศีลพรต การบำเพ็ญข้อปฏิบัติยากลำบาก พรหมจรรย์ การบวงบำเรอ อย่างนี้ ไม่มีผล
เมื่อเสพศีลพรต การบำเพ็ญข้อปฏิบัติยากลำบาก พรหมจรรย์ การบำเรอสิ่งบูชา อย่างใด อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเสื่อมหาย กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญยิ่งขึ้น
ศีลพรต การบำเพ็ญข้อปฏิบัติยากลำบาก พรหมจรรย์ การบำเรอสิ่งบูชา อย่างนี้มีผล

ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลข้อความนี้แล้ว พระบรมศาสดาทรงพอพระทัย* (องฺ.ติก.20/518/289)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2019, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริพาชก: นี่แน่ะท่านคหบดี ทราบว่า ท่านพระสมณโคดม ทรงติเตียนตบะหมดทุกอย่าง ทรงค่อนว่า กล่าวติผู้บำเพ็ญตบะ ผู้เป็นอยู่คร่ำๆ ทั้งหมด โดยส่วนเดียว ใช่ไหม ?

วิชชิยมาหิตะ: ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงติเตียนตบะหมดทุกอย่าง ก็หาไม่ จะทรงค่อนว่า กล่าวติผู้บำเพ็ญตบะ ผู้เป็นอยู่คร่ำๆ ทั้งหมด โดยส่วนเดียว ก็หาไม่ พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนตบะที่ควรติเตียน ทรงสรรเสริญตบะที่ควรสรรเสริญ พระผู้มีพระภาคทรงเป็นวิภัชชวาที ทรงติเตียนสิ่งที่ควรติเตียน ทรงสรรเสริญสิ่งที่ควรสรรเสริญ ในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคมิใช่เป็นเอกังสวาที (ผู้กล่าวส่วนเดียว) *

อ้างอิงที่ *

* องฺ.ทสก. 24/94/204 (ต่อมาวัชชิยมาหิตะ คหบดี ได้ไปเฝ้าทูลความแด่พระพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสอธิบายถึงตบะที่ควรบำเพ็ญ และตบะที่ไม่ควรบำเพ็ญ เป็นต้น โดยหลักความเจริญ และความเสื่อมแห่งกุศลและอกุศลธรรม คล้ายกับเรื่องก่อนๆ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2019, 05:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุภมาณพ: ท่านพระโคตมะผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้ว่า คฤหัสถ์เป็นผู้บำเพ็ญกุศลธรรมที่เป็นทางรอดพ้นให้สำเร็จได้
บรรพชิตหาใช่เป็นผู้บำเพ็ญกุศลธรรมที่เป็นทางรอดพ้นให้สำเร็จได้ไม่ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคตมะผู้เจริญ กล่าวไว้อย่างไร ?

พระพุทธเจ้า: ดูกรมาณพ ในเรื่องนี้เราเป็นวิภัชชวาท เรามิใช่เป็นเอกังสวาท เราไม่สรรเสริญการปฏิบัติผิด ไม่ว่าของคฤหัสถ์ หรือของบรรพชิต
คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ปฏิบัติผิดแล้ว เพราะการปฏิบัติผิดเป็นเหตุ จึงเป็นผู้บำเพ็ญกุศลธรรมที่เป็นทางรอดพ้นให้สำเร็จไม่ได้
เราสรรเสริญการปฏิบัติชอบ ไม่ว่าของคฤหัสถ์ หรือของบรรพชิต
คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ปฏิบัติชอบแล้ว เพราะการปฏิบัติชอบเป็นเหตุ จึงเป็นผู้ยังกุศลธรรมที่เป็นทางรอดพ้นให้สำเร็จได้

สุภมาณพ: ท่านพระโคตมะผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้ว่า การงานฝ่ายฆราวาสนี้เป็นเรื่องใหญ่ เป็นกิจใหญ่ มีเรื่องราวมาก มีการระดมแรงมาก จึงมีผลมาก
การงานฝ่ายบรรพชานี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย เป็นกิจน้อย มีเรื่องราวน้อย มีการระดมแรงน้อย จึงมีผลน้อย ในเรื่องนี้ ท่านพระโคตมะ กล่าวไว้อย่างไร ?

พระพุทธเจ้า: ดูกรมาณพ ในเรื่องนี้ เราเป็นวิภัชชวาท เรามิใช่เป็นเอกังสวาท การงานที่เป็นเรื่องใหญ่ เป็นกิจใหญ่ มีเรื่องราวมาก มีการระดมแรงมาก เมื่อไม่สำเร็จ เป็นสิ่งมีผลน้อย ก็มี
การงานที่เป็นเรื่องใหญ่ เป็นกิจใหญ่ มีเรื่องราวมาก มีการระดมแรงมาก เมื่อสำเร็จ เป็นสิ่งที่มีผลมาก ก็มี
การงานที่เป็นเรื่องเล็กน้อย เป็นกิจน้อย มีเรื่องราวน้อย มีการระดมแรงน้อย เมื่อไม่สำเร็จ เป็นสิ่งมีผลน้อย ก็มี
การงานที่เป็นเรื่องเล็กน้อย เป็นกิจน้อย มีเรื่องราวน้อย มีการระดมแรงน้อย เมื่อสำเร็จ เป็นสิ่งมีผลมาก ก็มี" *


ที่อ้างอิง *

* ม.ม. 13/710-1/650-1 (ต่อจากนี้ ทรงอธิบาย และยกตัวอย่างการงาน ๔ แบบนั้น การงานฝ่ายฆราวาส = ฆราวาสกรรมฐาน ก็คือ การงานอาชีพต่างๆ เช่น ทำไร่ ไถนา. การงานฝ่ายบรรพชา = บรรพชากรรมฐาน ก็คือกิจของผู้บวช : พึงเข้าใจความหมายของศัพท์)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2019, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริพาชก: แน่ะท่านสมิทธิ บุคคลทำกรรมประกอบด้วยเจตนา ทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เขาจะเสวยอะไร ?

พระสมิทธิ: แน่ะท่านโปตลิบุตร บุคคลทำกรรมประกอบด้วยเจตนา ทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เขาย่อมได้เสวยทุกข์

ต่อมา พระพุทธเจ้าทรงทราบการสนทนานี้ และตรัสว่า

“อานนท์ ปัญหาที่ควรแยกแยะตอบ โมฆบุรุษสมิทธินี้ ตอบแก่โปตลิบุตรปริพาชก แง่เดียวเสียแล้ว”

และต่อมาตรัสอีกว่า

“...อานนท์ เบื้องต้นทีเดียว โปตลิบุตรปริพาชก ถามถึงเวทนา ๓ ถ้าโมฆบุรุษสมิทธินี้ ถูกถามอย่างนั้นแล้ว จะพึงตอบแก่โปตลิบุตรปริพาชกนั้นว่า แน่ะท่านโปตลิบุตร บุคคลทำกรรมประกอบเจตนา ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา เขาย่อมเสวยสุข
บุคคลทำกรรมประกอบเจตนา ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา เขาย่อมเสวยทุกข์
บุคคลทำกรรมประกอบเจตนา ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา เขาย่อมเสวยอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข)

“เมื่อตอบอย่างนี้ โมฆบุรุษสมิทธิ ก็จะพึงตอบแก่โปตลิบุตรปริพาชก โดยถูกต้อง” (ม.อุ.15/601-2/388)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2019, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้ามไปเอานี่เลย


พระพุทธเจ้าตรัสจำแนกกามโภคี คือ ชาวบ้าน ออกเป็น ๑๐ ประเภท พร้อมทั้งส่วนดี และส่วนเสีย ของแต่ละประเภท มีใจความดังนี้

กลุ่มที่ 1 แสวงหาไม่ชอบธรรม

1.พวกหนึ่ง แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้วไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข, ทั้งไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน และไม่ใช้ทรัพย์ทำความดี - ควรตำหนิทั้ง 3 สถาน

2.พวกหนึ่ง แสวงหาทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ได้ทรัพย์แล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุข, แต่ไม่เผื่อแผ่จ่ายแบ่งปัน และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี - ควรตำหนิ 2 สถาน ควรชม 1 สถาน

3.พวกหนึ่ง แสวงหาทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข, ทั้งเผื่อแผ่แบ่งปัน และใช้ทรัพย์นั้นทำความดี - ควรตำหนิ 1 สถาน ควรชม 2 สถาน


กลุ่มที่ 2 แสวงหาชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง

4.พวกหนึ่ง แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข. ไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี – ควรตำหนิ 3 สถาน ควรชม 1 สถาน

5.พวกหนึ่ง แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข, แต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปัน และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี - ควรตำหนิ 2 สถาน ควรชม 2 สถาน

6.พวกหนึ่ง แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข, ทั้งเผื่อนแผ่แบ่งปัน และใช้ทรัพย์นั้นทำความดี - ควรตำหนิ 1 สถาน ควรชม 3 สถาน


กลุ่มที่ 3 แสวงหาชอบธรรม

7.พวกหนึ่ง แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข, ทั้งไม่เผื่อนแผ่แบ่ง และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี - ควรตำหนิ 2 สถาน ควรชม 1 สถาน

8.พวกหนึ่ง แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข,แต่ไม่เผื่อนแผ่แบ่งปัน และไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี - ควรตำหนิ 1 สถาน ควรชม 2 สถาน

9.พวกหนึ่ง แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข, ทั้งเผื่อแผ่แบ่งปัน และใช้ทำความดี; แต่ยังติด ยังหมกมุ่น กินใช้ทรัพย์สมบัติ โดยไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะทำตนให้เป็นอิสระ เป็นนายเหนือโภคทรัพย์ - ควรตำหนิ 3 สถาน ควรชม 1 สถาน


พวกพิเศษ: แสวงหาชอบธรรม และกินใช้อย่างมีสติสัมปชัญญะ มิจิตใจเป็นอิสระ

10.พวกหนึ่ง แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข,เผื่อแผ่แบ่งปัน และใช้ทรัพย์นั้นทำความดี; ไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์สมบัติ โดยรู้เท่าทัน เห็นคุณ โทษ ทางดี ทางเสียของมัน มีปัญญาทำตนให้เป็นอิสระ - เป็นชาวบ้านชนิดที่เลิศ ประเสริฐ สูงสุด ควรชมทั้ง 4 สถาน * (สํ.สฬ.18/631-643/408-451 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2019, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เรื่องของตาเห็นรูป
หูได้ยินเสียง
จมูกได้กลิ่น
ลิ้นลิ้มรส
กายถูกต้องสัมผัส
ใจรู้เรื่องในใจ(ธรรมารมณ์)

มันก็เรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (คน) ทั้งเพเนี่ย แต่แป-ลก (แปลก) สำนักแม่สุจิน ไปพูดเรื่องเห็นสี เห็นหลังคา กิเลสไหลไป จิตเกิดดับแสนโกฎิขณะ

เราก็ปล้ำถามคุณโรสว่า เคยเห็นจิตเกิดดับสักขณะไหม ไม่เคยตอบตรงคำถามสักเรื่อง ก็พูดอยู่นั่นแหละแสนโกฎิขณะๆๆๆๆๆๆๆ คิกๆๆๆ ส่งข่าวไปถึงลูกศิษย์ที่ยังอยู่ รีบหอบเสื่อหอบหมอนกลับบ้านไปถวายสังฆทานเถอะ ยังพอมองเห็นสัมผัสได้มั่ง :b12:

cool
ตถาคตตรัสรู้ความจริงว่าเดี๋ยวนี้สภาพธัมมะดับไปแล้วนับไม่ถ้วน
ลองคิดตามสิคำว่าดับนับไม่ถ้วนตามที่ทรงแสดงคือแสนโกฏิขณะ
มีแล้วเดี๋ยวนี้จะมีความคิดเห็นถูกตามคำสอนตรงทางได้ต้องคิดให้ตรงทีละ1ทางตามปกติ
เพราะแต่ละทางไม่เกิดปนกันเลยและทางที่มีตัวจริงธัมมะเกิดเดี๋ยวนี้มีแค่ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ
ไม่มีอะไรนอกตัวนอกตาและมีตัวตนแล้วมาตั้งแต่เกิดไม่ใช่เหรอถึงจะไปทำอย่างอื่นโดยไม่สนใจฟังว่า
พระพุทธเจ้าทรงบอกความจริงที่พระองค์ตรัสรู้ที่ไม่มีใครเคยคิดเองได้ตรงตามปกติให้ฟังเพื่อให้คิดตาม
รู้สึกตัวไหมว่าตนเองมีความผิดปกติเป็นปกติตามปกติที่คิดเกินเลยกว่าคำสอนตรง1สัจจะตลอดเวลาเลย
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2019, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ :b13:

การจำแนกโดยวิภัชชวาทแบบนี้ ทำให้ความคิด และการวินิจฉัยเรื่องราวต่างๆ ชัดเจนตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง และเท่าความจริง พอดีกับความจริง จะไม่เกิดความสับสนในเรื่องต่างๆ

ตัวอย่างง่ายๆ ในชีวิตประจำวันอย่างสามัญ เช่น คำพูดว่า เขาเป็นคนตรงไปตรงมา ชอบพูดขวานผ่าซาก โผงผาง พูดเพราะไม่เป็น ดูเหมือนจะเอาลักษณะตรงไปตรงมา มากลบเกลื่อนลักษณะโผงผาง พูดไม่ไพเราะ

ถ้าจำแนกตามวิธีวิภัชชวาท ความเป็นคนตรง เป็นความดีของบุคคลผู้นั้น

ส่วนการพูดไม่ไพเราะ โผงผาง ก็เป็นข้อบกพร่องของเขา

คนที่มีความดี ในแง่ความตรงนี้ ก็ต้องยอมรับความบกพร่องของตน ในแง่คำพูดไม่ไพเราะ ไม่ต้องเอาลักษณะทั้งสองมากลบเกลื่อนกัน เมื่อจะให้มีความดีครบถ้วน ก็ต้องปรับปรุงตนเองในส่วนที่ยังขาดยังพร่องนั้น

ส่วนคนที่พูดจาไพเราะ การพูดเพราะนั้น ก็เป็นความดีของเขาอย่างหนึ่ง แต่เขาจะเป็นคนตรงหรือไม่ ก็อีกอย่างหนึ่ง ถ้าเขาตรง ก็เป็นความดีอีกส่วนหนึ่ง ถ้าไม่ตรง เขาก็บกพร่องในส่วนนั้น

ยังมีต่อไปอีก ในแง่ที่เป็นคนพูดจาไพเราะนั้น จะเป็นการพูดด้วยเจตนาดีงาม หรือเกิดจากความคิดหลอกลวง มีเล่ห์กลอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่ต้องจำแนกกันในแง่เจตนาที่เป็นเหตุปัจจัย แล้วชี้ความจริงตามที่มันเป็นในแง่นั้นๆ ไม่มีการสับสนกัน

ดูต่อไป สมมติว่า จะเลือกคนไปทำงาน งานนั้นต้องการคนพูดเพราะ หรือต้องการคนพูดตรง ก็ตัดสินไปตามความต้องการของงานนั้น
ถ้างานนั้นใช้คนพูดเพราะ ก็เลือกคนพูดเพราะ (คนเลือกก็คงพยายามหาคนพูดเพราะ ที่มีความซื่อสัตย์ด้วย) คนตรงที่พูดไม่เพราะ ก็ไม่ต้องมาอ้างความดีในด้านความตรงของตน หรือ
ถ้างานต้องการความตรง คนจะพูดเพราะ หรือไม่เพราะ ไม่สำคัญ คนไม่ถูกเลือก ก็ไม่ต้องเอาความอ่อนหวานของตนขึ้นมาใช้เป็นเหตุผลเกี่ยวกับกรณีนั้น หรือ
ถ้าจะพิจารณาความสัมพันธ์ทางจิตวิทยาระหว่างลักษณะ ๒ ด้าน คือ ความตรง กับการพูดไม่เพราะ และการพูดอ่อนหวาน กับ ความมีเล่ห์กล ก็ว่าให้ชัดว่าจะวิเคราะห์ในแง่นั้นๆ

วิธีวิภัชชวาทนี้ จึงตรงไปตรงมา พอดีกับความจริง เป็นกลางๆ ตามธรรมชาติแท้ๆ เป็นแบบอย่างสำหรับผู้ต้องการพูดตรงไปตรงมาอย่างแท้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2019, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า มี ๕ ประเภท ดังนี้
๕ ประเภท คืออะไร?
ได้แก่ ผู้ที่อยู่ป่า เพราะเป็นผู้โง่เขลา เพราะงมงาย ๑
ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาลามกครอบงำ จึงอยู่ป่า ๑
ผู้อยู่ป่าเพราะความเสียจริต เพราะจิตฟุ้งซ่าน ๑
ผู้อยู่ป่า เพราะเห็นว่า การอยู่ป่านี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระพุทธสาวกทั้งหลายสรรเสริญ ๑
ผู้อยู่ป่าเพราะอาศัยความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความใฝ่สงัด ความพอใจเท่าที่มี ๑ ....

บรรดาผู้อยู่ป่า ๕ ประเภทเหล่านี้ ผู้ที่อยู่ป่า เพราะความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความใฝ่สงัด ความพอใจเท่าที่มี นี้เป็นอย่างเลิศ ประเสริฐ นำหน้า สูงสุด ดีเยี่ยม ในบรรดาผู้อยู่ป่าทั้ง ๕ ประเภทเหล่านี้" (องฺ.ปญฺจก.22/180-190/245-7- ตรัสถึงภิกษุผู้ถือครองผ้าบังสุกุล ผู้ถือรุกขมูล และผู้ถือธุดงค์อื่นๆหลายข้อ ทำนองเดียวกัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2019, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้า : ดูกรคฤหบดี ทานในตระกูล ท่านยังให้อยู่หรือ ?

ทารุกัมมิกะ : ข้อแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานในตระกูล ข้าพระองค์ยังให้อยู่ ก็แล ทานนั้น ข้าพระองค์ถวายในประดาท่านพระภิกษุทั้งหลาย ชนิดที่เป็นผู้อยู่ป่า ถือบิณฑบาต ครองผ้าบังสุกุล ซึ่งเป็นพระอรหันต์ หรือเข้าถึงอรหัตมรรค

พระพุทธเจ้า : ดูกรคฤหบดี ท่านซึ่งเป็นคฤหัสถ์ ยากจะรู้ได้ถึงความข้อนั้นว่า ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ หรือว่าท่านเหล่านี้เป็นผู้เข้าถึงอรหัตมรรค

ถึงจะเป็นภิกษุอยู่ป่า หากเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ลำพอง กวัดแกว่ง ปากมาก พูดพล่อย สติเลอะลอย ไร้สัมปชัญญะ จิตไม่ตั้งมั่น จิตใจวุ่นวาย ปล่อยอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรติเตียน โดยลักษณะข้อนั้น

ถึงจะเป็นภิกษุอยู่ป่า หากเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ลำพอง ไม่กวัดแกว่ง ไม่ปากมาก ไม่พูดพล่อย มีกำกับตัว มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น จิตใจเป็นหนึ่งเดียว สำรวมอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรสรรเสริญ โดยลักษณะข้อนั้น

ถึงจะเป็นผู้อยู่ชายเขตบ้าน หากเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ลำพอง กวัดแกว่ง ปากมาก พูดพล่อย สติเลอะลอย ไร้สัมปชัญญะ จิตไม่ตั้งมั่น จิตใจวุ่นวาย ปล่อยอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรติเตียน โดยลักษณะข้อนั้น


ถึงจะเป็นผู้อยู่ชายเขตบ้าน หากเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ลำพอง ไม่กวัดแกว่ง ไม่ปากมาก ไม่พูดพล่อย มีสติกำกับตัว มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น จิตใจเป็นหนึ่งเดียว สำรวมอินทรีย์ เธอก็เป็นผู้อันควรสรรเสริญ โดยลักษณะข้อนั้น


ถึงจะเป็นภิกษุถือบิณฑบาต...ถึงจะเป็นภิกษุรับนิมนต์...ถึงจะเป็นภิกษุครองผ้าบังสุกุล...ถึงจะเป็นภิกษุครองจีวรที่คหบดีถวาย...(ก็เช่นเดียวกัน)

ดูกรคหบดี เชิญท่านให้ทานในสงฆ์เถิด * (องฺ.ฉกฺก.22/330/436)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร