วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


วิภัชชวาท มาจาก วิภัชช+วาท

วิภัชช แปลว่า แยกแยะ แบ่งออก จำแนก หรือแจกแจง ใกล้กับคำที่ใช้ในปัจจุบันว่าวิเคราะห์

วาท แปลว่า การกล่าว การพูด การแสดงคำสอน ระบบคำสอน ลัทธิ

วิภัชชวาท ก็แปลว่า การพูดแยกแยะ พูดจำแนก หรือพูดแจกแจง หรือระบบการแสดงคำสอนแบบวิเคราะห์


วิภัชชวาที "ผู้กล่าวจำแนก" "ผู้แยกแยะพูด" เป็นคุณบท คือคำแสดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงแสดงธรรมแยกแยะแจกแจงออกไปให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลาย เกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ มาประชุมกันเข้าอย่างไร เช่น
แยกแยะกระจายนามรูปออกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น
สิ่งทั้งหลาย มีด้านที่เป็นคุณ และด้านที่เป็นโทษอย่างไร
เรื่องนั้นๆ มีข้อจริงข้อเท็จอย่างไร
การกระทำอย่างนั้นๆ มีแง่ถูกแง่ผิดแง่ที่ดี และแง่ไม่ดีประการใด เป็นต้น ไม่มองอย่างตีคลุม หรือเห็นแต่ด้านเดียวแล้วยึดติดในทิฏฐิต่างๆ อันทำให้ไม่เข้าใจถึงความจริงแท้ตามสภาวะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


10.วิธีคิดแบบวิภัชชวาท

วิธีคิดแบบวิภัชชวาท ความจริงวิภัชชวาทไม่ใช่วิธีคิดโดยตรง แต่เป็นวิธีพูด หรือการแสดงหลักการแห่งคำสอนแบบหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม การคิด กับ การพูด เป็นกรรมใกล้ชิดกันที่สุด ก่อนจะพูด ก็ต้องคิดก่อน สิ่งที่พูดล้วนสำเร็จมาจากความคิดทั้งสิ้น
ในทางธรรมก็แสดงหลักไว้ว่า วจีสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งคำพูด) ได้แก่ วิตกและวิจาร (ม.มู.12/509/550 ฯลฯ) ดังนั้น จึงสามารถกล่าวถึงวิภัชชวาทในระดับที่เป็นความคิดได้

ยิ่งกว่านั้น คำว่า “วาทะ” ต่างๆ หรือที่เรียกกันว่า วาทะอย่างนั้นอย่างนี้ ก็มีความหมายลึกซึ้ง เล็งไปถึงระบบความคิดซึ่งเป็นที่มาแห่งระบบคำสอนทั้งหมด ที่เรียกกันว่า เป็นลัทธิหนึ่ง ศาสนาหนึ่ง หรือ ปรัชญาสายหนึ่ง เป็นต้น
คำว่าวาทะ จึงเป็นไวพจน์แห่งกัน และกันของคำว่า ทิฏฐิ ทิฐิ หรือ ทฤษฎี เช่น
สัพพัตถิกวาท คือ สัพพัตถิกทิฏฐิ
นัตถิกวาท คือ สัพพัตถิกทิฏฐิ
สัสสตวาท คือ สัสสตทิฏฐิ
อุจเฉทวาท คือ อุจเฉททิฏฐิ
อเหตุกวาท คือ อเหตุกทิฏฐิ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า “วิภัชชวาท” นี้ เป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา เป็นคำสำคัญคำหนึ่ง ที่ใช้แสดงระบบความคิด ที่เป็นแบบของพระพุทธศาสนา และวิธีคิดแบบวิภัชชวาท ก็มีความหมายคลุมถึงวิธีคิดแบบต่างๆ
การกล่าวถึงวิธีคิดแบบวิภัชชวาท นอกจากทำให้รู้จักวิธีคิดแง่อื่นๆเพิ่มขึ้นแล้ว ยังจะช่วยให้เข้าใจวิธีคิดบางอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างตนชัดเจนขึ้นอีกด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่วิภัชชวาทเป็นชื่อเรียกอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา หรือ เป็นคำหนึ่งที่แสดงระบบความคิดของพระพุทธศาสนานั้น ถือได้ว่า เป็นเพราะพระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เองว่าเป็น วิภัชชวาท หรือ วิภัชชวาที (ม.ม.13/711/651ฯลฯ) และคำว่า วิภัชชวาท หรือ วิภัชชวาทีนั้น ก็ได้เป็นคำเรียกพระพุทธศาสนา หรือ คำเรียกพระนามของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้ใช้อ้างกันมาในประวัติการณ์แห่งพระพุทธศาสนา เช่น ในคราวสังคายนาครั้งที่ ๓ พระเจ้าอโศกมทหาราช ตรัสถามพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานสงฆ์ในการสังคายนาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีวาทะอย่างไร
พระเถระทูลตอบว่า "มหาบพิตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นวิภัชชวาที" (วินย.อ.1/60 ฯลฯ)

ถึงตรงนี้ก็เท่ากับบอกว่า วิภัชชวาทนั้นเป็นคำใหญ่ ใช้เรียกรวมๆ หมายถึง ระบบวิธีคิดทั้งหมดของพระพุทธศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะสำคัญของความคิด และการพูดแบบนี้ คือ การมอง และแสดงความจริง โดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละแง่ละด้าน ครบทุกแง่ทุกด้าน ไม่ใช่จับเอาแง่หนึ่งแง่เดียว หรือบางแง่ ขึ้นมาวินิจฉัยตีคลุมลงไปอย่างนั้นทั้งหมด หรือประเมินคุณค่าความดีความชั่ว เป็นต้น โดยถือเอาส่วนเดียว หรือบางส่วนเท่านั้นแล้วตัดสินพรวดลงไป

วาทะที่ตรงข้ามกับวิภัชชวาท เรียกว่า เอกังสวาท แปลว่าพูดแง่เดียว คือ จับได้เพียงแง่หนึ่ง ด้านหนึ่ง หรือส่วนหนึ่ง ก็วินิจฉัยตีคลุมลงไปอย่างเดียวทั้งหมด หรือพูดตายตัวอย่างเดียว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เข้าใจความหมายของวิภัชชวาทชัดเจนยิ่งขึ้น อาจจำแนกแนววิธีคิดของวิภัชชวาทนั้นออกให้เห็นในลักษณะต่างๆ ดังนี้

ก. จำแนกโดยแง่ด้านของความจริง แบ่งซอยได้เป็น ๒ อย่าง คือ

๑) จำแนกตามแง่ด้านต่างๆ ตามที่เป็นอยู่จริงของสิ่งนั้นๆ คือ มอง หรือ แถลงความจริงให้ตรงตามที่เป็นอยู่ในแง่นั้นด้านนั้น ไม่ใช่จับเอาความจริงแง่หนึ่งด้านหนึ่ง หรือ แง่อื่นด้านอื่น มาตีคลุมเป็นอย่างนั้นไปหมด เช่น

เมื่อกล่าวถึงบุคคลผู้หนึ่ง ว่า เขาดี หรือไม่ดี ก็ชี้ความจริงตามแง่ด้าน ที่เป็นอย่างนั้น ว่า แง่นั้น ด้านนั้น กรณีนั้น เขาดีอย่างไร หรือ ไม่ดีอย่างไร เป็นต้น ไม่ใช่เหมาคลุมง่ายๆทั้งหมด
ถ้าจะประเมินคุณค่า ก็ตกลงกำหนดลง ว่า จะเอาแง่ใดด้านใด บ้าง แล้วพิจารณาทีละแง่ ประมวลลงตามอัตราส่วน ตัวอย่างวิภัชชวาทในแง่นี้ เช่น คำสอนเกี่ยวกับกามโภคี หรือ ชาวบ้าน ๑๐ ประเภท

๒) จำแนกโดยมอง หรือ แสดงความจริงของสิ่งนั้นๆ ให้ครบทุกแง่ทุกด้าน คือ เมื่อมอง หรือ พิจารณาสิ่งใด ก็ไม่มองแคบๆ ไม่ติดอยู่กับส่วนเดียวแง่เดียวของสิ่งนั้น หรือ วินิจฉัยสิ่งนั้นด้วยส่วนเดียวแง่เดียวของมัน
แต่มองหลายแง่หลายด้าน เช่น จะว่าดี หรือ ไม่ดี ก็ว่าดีในแง่นั้น ด้านนั้น กรณีนั้น
ไม่ดีในแง่นั้น ด้านนั้น กรณีนั้น
สิ่งนี้ ไม่ดีในแง่นั้น แต่ดีในแง่นี้
สิ่งนั้น ดีในแง่นั้น แต่ไม่ดีในแง่นี้ เป็นต้น

การคิดจำแนกแนวนี้ มองดูคล้ายกับข้อแรก แต่เป็นคนละอย่าง และเป็นส่วนเสริมกันกับข้อแรกให้ผลสมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น คำสอนเกี่ยวกับกามโภคี คือ ชาวบ้าน ๑๐ ประเภทนั้น และเรื่องพระบ้าน พระป่า ที่ควรยกย่องหรือติเตียน เป็นต้น

การคิดแนวนี้ มีผลรวมไปถึงการเข้าใจในภาวะที่องค์ประกอบต่างๆ หรือ ลักษณะด้านต่างๆ มาประมวลกันเข้าโดยครบถ้วน จึงเกิดเป็นสิ่งนั้นๆ หรือ เหตุการณ์นั้นๆ และการมองสิ่งนั้นๆ เหตุการณ์นั้นๆ โดยเห็นกว้างออกไปถึงลักษณะด้านต่างๆ และองค์ประกอบต่างๆของมัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. จำแนกโดยส่วนประกอบ

การคิดจำแนกแบบนี้ คือ วิเคราะห์แยกแยะออกไป ให้รู้เท่าทันภาวะที่สิ่งนั้นๆเกิดขึ้นจากองค์ประกอบย่อยๆ ต่างๆ มาประชุมกันเข้า ไม่ติดตันอยู่แต่ภายนอก หรือถูกลวงโดยภาพรวมของสิ่งนั้นๆ เช่น แยกแยะสัตว์บุคคลออกเป็นนาม และรูป เป็นขันธ์ ๕ และแบ่งซอยแต่ละอย่างๆ ออกไป จนเห็นภาวะที่ไม่เป็นอัตตา เป็นทางรู้เท่าทันความจริงของสังขารธรรมทั้งหลาย
วิภัชชวาทแง่นี้ ตรงกับวิธีคิดอย่างที่ ๒ (วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ) ข้างต้น จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายอีก เดิมทีเดียว คำว่าวิภัชชวาท ท่านไม่ได้มุ่งให้ใช้ในความหมายแง่นี้ แต่ในคัมภีร์รุ่นหลัง ท่านใช้ศัพท์คลุมถึงด้วย * (เช่น วิสุทฺธิ.ฎีกา 3/45,349,397 – คำเดิมที่ใช้ในความหมายนี้ คือ วิภังค์ เช่น ธาตุวิภังค์ ขันธวิภังค์ เป็นต้น) จึงนำมากล่าวรวมไว้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค. จำแนกโดยลำดับขณะ

การคิดจำแนกแบบนี้ คือ แยกแยะวิเคราะห์ปรากฏการณ์ตามลำดับความสืบทอดแห่งเหตุปัจจัย ซอยออกไปเป็นแต่ละขณะๆ ให้มองเห็นตัวเหตุปัจจัยที่แท้จริง ไม่ถูกลวงให้จับเหตุปัจจัยสับสน

การคิดแบบนี้ เป็นด้านหนึ่งของการคิดจำแนกโดยส่วนประกอบ และการคิดจำแนกตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย แต่มีลักษณะ และการใช้งานพิเศษ จึงแยกออกมาแสดงเป็นอย่างหนึ่ง เป็นวิธีที่ใช้มากในฝ่ายอภิธรรม

ตัวอย่าง เช่น เมื่อโจรขึ้นปล้นบ้าน และฆ่าเจ้าทรัพย์ตาย คนทั่วไปอาจพูดว่า โจรฆ่าคนตายเพราะความโลภ คือ ความอยากได้ทรัพย์ เป็นเหตุให้ฆ่าเจ้าทรัพย์

คำพูดนี้ ใช้ได้เพียงในฐานะเป็นสำนวนพูดให้เข้าใจกันง่ายๆ แต่เมื่อวิเคราะห์ทางด้าน กระบวนธรรมที่เป็นไปภายในจิตอย่างแท้จริง หาเป็นเช่นนั้นไม่
ความโลภเป็นเหตุของการฆ่าไม่ได้ โทสะจึงเป็นเหตุของการฆ่าได้
เมื่อวิเคราะห์โดยลำดับขณะแล้ว ก็จะเห็นว่าโจรโลภอยากได้ทรัพย์ แต่เจ้าทรัพย์เป็นอุปสรรคต่อการได้ทรัพย์นั้น
ความโลภทรัพย์จึงเป็นเหตุให้โจรมีโทสะต่อเจ้าทรัพย์ โจรจึงฆ่าเจ้าทรัพย์ด้วยโทสะนั้น


โจรโลภอยากได้ทรัพย์ หาได้โลภอยากได้เจ้าทรัพย์แต่อย่างใดไม่ ตัวเหตุที่แท้ของการฆ่า คือ โทสะ หาใช่โลภะไม่
โลภะเป็นเพียงเหตุให้ลักทรัพย์เท่านั้น แต่เป็นปัจจัยให้โทสะเกิดขึ้นต่อสิ่งอื่นซึ่งขัดขวาง หรือ ไม่เกื้อกูลต่อความมุ่งหมายของมัน

อย่างไรก็ตาม ในภาษาสามัญจะพูดว่า โจรฆ่าคนเพราะความโลภก็ได้ แต่ให้รู้เข้าใจเท่าทันความจริงในกระบวนธรรมที่เป็นไปตามลำดับขณะดังที่ กล่าวมาแล้ว ว่าความโลภเป็นมูล เป็นตัวการเริ่มต้นในเรื่องนั้นเท่านั้น
การแยกแยะ หรือ วิเคราะห์โดยขณะเช่นนี้ ทำให้ในสมัยต่อมา มีคำเรียกพระพุทธศาสนาว่า เป็น ขณิกวาท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ง. จำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย

การจำแนกแบบนี้ คือ สืบสาวสาเหตุปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์สืบทอดกันมาของสิ่ง หรือ ปรากฏการณ์ต่างๆ ทำให้มองเห็นความจริงที่สิ่งทั้งหลายไม่ได้ตั้งอยู่ลอยๆ ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ ไม่ได้ดำรงอยู่เป็นอิสระจากสิ่งอื่นๆ และไม่ได้ดำรงอยู่โดยตัวของมันเอง แต่เกิดขึ้นด้วยอาศัยเหตุปัจจัย จะดับไป และสามารถดับได้ ด้วยการดับที่เหตุปัจจัย


การคิดจำแนกในแง่นี้ เป็นวิธีคิดข้อสำคัญมากอย่างหนึ่ง ตรงกับวิธีคิดแบบที่ ๑ ที่กล่าวแล้ว คือ วิธีคิดแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย หรือ วิธีคิดแบบอิทัปปัจจยตา ซึ่งนอกจากจะได้บรรยายในวิธีคิดแบบที่ ๑ แล้ว ยังได้อธิบายไว้อย่างยืดยาวในบท ว่า ด้วยปฏิจจสมุปบาท


ความคิดที่ขาดความตระหนักในความสัมพันธ์ ทำให้คนโน้มเอียงไปในทางที่จะยึดความเห็นสุดทางข้างใดข้างหนึ่ง เช่น
ยึดถือสัสสตวาท มองเห็นว่า มีอัตตาที่ตั้งอยู่เที่ยงแท้นิรันดร หรือ
ยึดถืออุจเฉทวาท มองเห็นว่าอัตตาต้องดับสิ้นขาดสูญไป ทั้งนี้ เพราะเมื่อเผลอลืมมองความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัย ก็มองเห็นสิ่งนั้นตั้งอยู่ขาดลอยโดดๆ แล้วความเห็นเอียงสุดอย่างใดอย่างหนึ่งก็จึงเกิดขึ้น

แต่ภาวะที่เป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย ไม่ได้ขาดลอย อย่างที่คนตัดตอนมองเอาอย่างนั้น
สิ่งทั้งหลายสัมพันธ์กัน ขึ้นต่อกัน และสืบทอดกัน เนื่องด้วยปัจจัยย่อยต่างๆ ความมี หรือไม่มี ไม่ใช่ภาวะเด็ดขาดลอยตัว ภาวะที่เป็นจริงเป็นเหมือนอยู่กลาง ระหว่างความเห็นเอียงสุดสองอย่างนั้น ความคิดแบบจำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย ช่วยให้มองเห็นความจริงนั้น

ตามแนวคิดที่กล่าวนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมอย่างที่เรียกว่าเป็นกลางๆ คือ ไม่กล่าว ว่า สิ่งนี้มี หรือ ว่าสิ่งนี้ไม่มี แต่กล่าว ว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
หรือว่า นี้มี ในเมื่อนั้นมี นี้ไม่มี ในเมื่อนั้นไม่มี

รูปภาพ


หลักความจริงที่แสดงอย่างนี้ เรียกว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท และการแสดงหลักความจริงนี้ เรียกว่า มัชเฌนธรรมเทศนา จึงอาจเรียกวิธีคิดแบบนี้อีกอย่างหนึ่งด้วยว่า วิธีคิดแบบ มัชเฌนธรรมเทศนา หรือ เรียกสั้นๆว่า วิธีคิดแบบมัชเฌนธรรม

การจำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยนั้น นอกจากช่วยไม่ให้เผลอมองสิ่งต่างๆ หรือ ปัญหาต่างๆ อย่างโดดเดี่ยวขาดลอย และช่วยให้ความคิดเดินได้เป็นสาย ไม่ติดตันแล้ว ยังครอบคลุมไปถึงการที่จะให้รู้จักจับเหตุปัจจัยได้ตรงกับผลของมัน หรือ ให้ได้เหตุปัจจัยที่ลงตัวพอดีกับผลที่ปรากฏด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ความที่ว่านี้ เกี่ยวข้องกับความสับสนที่มักเกิดขึ้นแก่คนทั่วไป ๓ อย่าง คือ

๑) การนำเอาเรื่องราวอื่นๆ นอกกรณี มาปะปนสับสนกับเหตุปัจจัยเฉพาะกรณี เช่น เมื่อบุคคลที่ไม่สู้ดีคนหนึ่ง ได้รับผลอย่างหนึ่งที่คนเห็นว่าเป็นผลดี มีคนอื่นบางคนพูดว่า นาย ก. หรือ นาย ข. ซึ่งเป็นคนดีมาก มีความดีหลายอย่าง อย่างนั้นอย่างนี้ ทำไมจึงไม่ได้รับผลดีนี้
บางทีความจริงเป็นว่า ความดีของนาย ก. หรือ นาย ข. ที่มีหลายๆอย่างนั้น ไม่ใช่ความดีที่สำหรับจะให้ได้รับผลเฉพาะอันนั้น

วิธีคิดแบบนี้ ช่วยให้แยกเอาเรื่องราวหรือปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปจากเหตุปัจจัยที่แท้จริงของกรณีนั้นได้ ความหมายข้อนี้ รวมถึงการจับผลให้ตรงกับเหตุด้วย คือ เหตุปัจจัยใด เป็นไปเพื่อผลใด หรือผลใดพึงเกิดจากเหตุปัจจัยใด ก็มองเห็นตรงตามนั้น ไม่ไขว้เขวสับสน

๒) ความไม่ตระหนักถึงภาวะที่ปรากฏการณ์หรือผลที่คล้ายกัน อาจเกิดจากเหตุปัจจัยต่างกันและเหตุปัจจัยอย่างเดียวกัน อาจไม่นำไปสู่ผลอย่างเดียวกัน เช่น ภิกษุอยู่ป่า พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญก็มี ไม่สรรเสริญก็มี โดยทรงพิจารณาสุดแต่เหตุ คือ เจตนา

อีกตัวอย่างหนึ่ง การได้ทรัพย์มา อาจเกิดจากการขยันทำการงาน จากการทำให้ผู้ให้ทรัพย์พอใจ หรือจากการลักขโมยก็ได้ คนได้รับการยกย่องสรรเสริญ อาจเกิดจากการทำความดีในสังคมที่นิยมความดี หรือเกิดจากทำอะไรบางอย่าง แม้ไม่ดี แต่ให้ผลที่สนองความต้องการ หรือเป็นที่ชอบใจของผู้ยกย่องสรรเสริญนั้นก็ได้

ในกรณีเหล่านี้ จะต้องตระหนักด้วยว่า เหตุปัจจัยต่างกัน ที่ให้เห็นผลเหมือนๆกันนั้น ยังมีผลต่างกันอย่างอื่นๆที่ไม่ได้พิจารณาในกรณีเหล่านี้ด้วย

ในทำนองเดียวกัน คนต่างคน ทำความดีอย่างเดียวกัน คนหนึ่งทำแล้วได้รับการยกย่องสรรเสริญเพราะทำในที่เขานิยมความดีนั้น หรือทำเหมาะกับกาลเวลาที่ความดีนั้นก่อประโยชน์แก่คนที่ยกย่อง

อีกคนหนึ่ง ทำแล้ว กลับไม่เป็นที่ชื่นชม เพราะทำในที่เขาไม่นิยมความดีนั้น หรือทำแล้วเป็นเป็นการทำลายประโยชน์ของคนที่ไม่พอใจ หรือมีความบกพร่องในตนเองอย่างอื่นของผู้กระทำความดีนั้น ดังนี้เป็นต้น

ในกรณีเหล่านี้ จะต้องตระหนักด้วยว่า เหตุปัจจัยอย่างเดียวกัน ที่ยกขึ้นพิจารณานั้น ไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัยทั้งหมดที่จะให้ได้รับผลอย่างนั้น ความจริงสภาพแวดล้อมและเรื่องราวอื่นๆ ก็เป็นปัจจัยร่วมด้วย ที่จะให้เกิด หรือไม่ให้เกิดผลอย่างนั้น

๓) การไม่ตระหนักถึง เหตุปัจจัยส่วนพิเศษนอกเหนือจาก เหตุปัจจัยที่เหมือนกัน ข้อนี้เกี่ยวเนื่องกับความตอนท้ายข้อ ๒) กล่าวคือ คนมักมองเฉพาะแต่ เหตุปัจจัยบางอย่างที่ตนมั่นหมายว่าจะให้เกิดผลอย่างนั้นๆ ครั้นต่างบุคคลทำ เหตุปัจจัยเอย่างเดียวกันแล้ว คนหนึ่งได้ผลที่ต้องการ อีกคนหนึ่งไม่ได้รับผลนั้น ก็เห็นไปว่า เหตุปัจจัยนั้นไม่ให้ผลจริง เป็นต้น

ดังตัวอย่าง เช่น คนสองคนทำ งานดีเท่ากัน มีกรณีที่จะได้รับการคัดเลือกอย่างหนึ่ง เป็นธรรมดาที่คนหนึ่งจะได้รับเลือก อีกคนหนึ่งไม่ได้รับเลือก ถ้าไม่ใช้วิธีเสี่ยงทายโดยจับสลาก ก็จะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น คนหนึ่งสุขภาพดีกว่า หรือรูปร่างดีกว่า และคุณธรรม หรือความสามารถทางปัญญาที่ยิ่ง หรือ หย่อนของผู้คัดเลือก เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยได้ทั้งสิ้น

ตัวอย่างที่ยกมาในที่นี้ เกี่ยวกับหลักกรรมทั้งสิ้น แม้ตัวอย่างที่เป็นไปตามกฎอย่างอื่น ก็พึงเข้าใจในทำนองเดียวกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จ. จำแนกโดยเงื่อนไข

การจำแนกแบบนี้ คือ มอง หรือ แสดงความจริงโดยพิจารณาเงื่อนไขประกอบด้วย ข้อนี้ เป็นวิภัชชวาท แบบ ที่พบบ่อยมากอย่างหนึ่ง
ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าถูกถามว่า บุคคลนี้ควรคบหรือไม่ ถิ่นสถานนี้ควรเข้าเกี่ยวข้องหรือไม่
ถ้าพระภิกษุเป็นผู้ตอบ ก็อาจกล่าวตามแนวบาลีว่า ถ้าคบหรือเกี่ยวข้องแล้ว อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าเกี่ยวข้อง
แต่ถ้าคบหรือเข้าเกี่ยวข้องแล้ว อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ ควรคบ ควรเกี่ยวข้อง *(ม.อุ.14/198-233/145-165 ฯลฯ)

ตัวอย่าง อื่นๆในแนวนี้ เช่น ถ้าถามว่า ภิกษุควรถือธุดงค์หรือไม่ ท่านที่รู้หลักดี ก็จะตอบว่า ภิกษุใดถือธุดงค์แล้ว กรรมฐานดีขึ้น ภิกษุนั้นควรถือ

ภิกษุใดถือแล้ว กรรมฐานเสื่อม ภิกษุนั้นไม่ควรถือ

ภิกษุใดจะถือธุดงค์ก็ตาม ไม่ถือก็ตาม กรรมฐานก็เจริญทั้งนั้น ไม่เสื่อม ภิกษุนั้น เมื่ออนุเคราะห์ชนรุ่นหลัง ควรถือ

ส่วนภิกษุใดจะถือธุดงค์ก็ตาม ไม่ถือก็ตาม กรรมฐานย่อมไม่เจริญ ภิกษุนั้นก็ควรถือ เพื่อเป็นพื้นอุปนิสัยไว้ (วิสุทฺธิ.1/103)

ถ้ามีผู้กล่าวว่า พระพุทธเจ้าเป็นอุจเฉทวาทหรือไม่
ถ้าตอบตามพระองค์ ก็ว่า ถ้าใช้คำนั้นในความหมายอย่างนี้ๆ ก็ใช่
ถ้าใช้ในความหมายว่าอย่างนั้นๆ ก็ไม่ใช่ * (วินย.1 ตอนเวรัญชกัณฑ์) หรือ
ถ้าถามว่า ภิกษุที่ชอบอยู่ผู้เดียว จาริกไปรูปเดียวชื่อว่าปฏิบัติถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ใช่หรือไม่ ก็ต้องตอบอย่างมีเงื่อนไขเช่นเดียวกัน



ตัวอย่างทางวิชาการสมัยใหม่ เช่น พิจารณาปัญหาทางการศึกษาว่า ควรปล่อยให้เด็กพบเห็นสิ่งต่างๆในสังคม เช่น เรื่องราว และการแสดงต่างๆทางสื่อมวลชน เป็นต้น อย่างมีอิสรเสรีหรือไม่ หรือแค่ไหนเพียงไร

ถ้าตอบตามแนววิภัชชวาท ก็จะไม่พูดโพล่ง หรือ พรวดลงไปอย่างเดียว แต่จะวินิจฉัยโดยพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ คือ

๑) ความโน้มเอียง ความพร้อม นิสัย ความเคยชินต่างๆซึ่งเด็กได้สั่งสมไว้โดยการอบรมเลี้ยงดู และอิทธิพลทางวัฒนธรรม เป็นต้น เท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น (พูดภาษาทางธรรมว่า สังขารที่เป็นกุศล และอกุศล คือ แนวคิดปรุงแต่งที่ได้สั่งสมเสพคุ้นเอาไว้) อาจเรียกง่ายๆว่า พื้นของเด็กที่จะแล่นไป

๒) โยนิโสมนสิการ คือ เด็กรู้จักใช้ โยนิโสมนสิการอยู่โดยปกติหรือไม่ และแค่ไหนเพียงไร

๓) กัลยาณมิตร คือ มีบุคคลหรืออุปกรณ์ที่จะช่วยชี้แนะทางความคิดความเข้าใจ เช่น แง่มุมในการมองอย่างถูกต้องต่อสิ่งที่พบเห็น หรือที่จะชักนำให้เด็กเกิด โยนิโสมนสิการอย่างได้ผลอยู่หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น กัลยาณมิตรในครอบครัว ในสื่อมวลชนนั้นๆ หรือทั่วๆไปในสังคมก็ตาม

๔) ประสบการณ์ คือ สิ่งที่ปล่อยให้แพร่ หรือ ให้เด็กพบเห็นนั้น มีลักษณะหรือคุณสมบัติที่เร้าหรือยั่วยุ เป็นต้น รุนแรงมากน้อยถึงระดับใด


ทั้ง ๔ ข้อนี้ เป็นตัวแปรได้ทั้งนั้น แต่ในกรณีนี้ ยกเอาข้อ ๔) ขึ้นตั้งเป็นตัวยืน คำตอบจะเป็นไปโดยสัดส่วน ซึ่งตอบได้เอง เช่น
ถ้าเด็กมีโยนิโสมนสิการดีจริงๆ หรือ ในสังคม หรือโดยเฉพาะที่สื่อมวลชนนั้นเอง มีกัลยาณมิตรที่สามารถจริงๆ กำกับอยู่ หรือ พื้นด้านแนวความคิดปรุงแต่งที่เป็นกุศล ซึ่งได้สั่งสมอบรมกันไว้โดยครอบครัว หรือ วัฒนธรรม มีมากและเข็มแข็งจริงๆ แม้ว่าสิ่งที่แพร่ หรือ ปล่อยให้เด็กพบเห็น จะล่อเร้ายั่วยุมาก ก็ยากที่จะเป็นปัญหา และอาจหวังได้ว่าจะเกิดผลดีด้วยซ้ำไป


แต่ถ้าพื้นความโน้มเอียงทางความคิดกุศล ก็ไม่ได้สั่งสมอบรมกันไว้ โยนิโสมนสิการ ก็ไม่เคยฝึกกันไว้แล้วยังไม่จัดเตรียมให้มีกัลยาณมิตรไว้ด้วย การปล่อยนั้น ก็มีความหมายเท่ากับเป็นการสร้างเสริมสนับสนุนปัญหา เหมือนดังว่าจะตั้งใจทำลายเด็กโดยใช้ยาพิษเบื่อเสียนั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาปรโตโฆสะที่ดี เทียบความเข้าใจ คคห.บนไว้ด้วย

รูปภาพ


ปรโตโฆสะ มี ๒ อย่าง คือ ๑.ปรโตโฆสะที่ดี ๒.ปรโตโฆสะที่ไม่ดี สองอย่างนี้ นำไปสู่สัมมาทิฏฐิ กับ มิจฉาทิฏฐิ
ปรโตโฆสะที่ดี นำไปสู่สัมมาทิฏฐิ ปรโตโฆสะที่ไม่ดี นำไปสู่มิจฉาทิฏฐิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เอาปรโตโฆสะที่ดี เทียบความเข้าใจ คคห.บนไว้ด้วย

รูปภาพ


ปรโตโฆสะ มี ๒ อย่าง คือ ๑.ปรโตโฆสะที่ดี ๒.ปรโตโฆสะที่ไม่ดี สองอย่างนี้ นำไปสู่สัมมาทิฏฐิ กับ มิจฉาทิฏฐิ
ปรโตโฆสะที่ดี นำไปสู่สัมมาทิฏฐิ ปรโตโฆสะที่ไม่ดี นำไปสู่มิจฉาทิฏฐิ


แม้ไมต้องสนทนา เด็กสาวนั่น ก็นำสัมมาทิฎฐิมาให้พระที่บิณฑบาตร ให้เห็นภัยในสังสารวัฎได้


tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉ. จำแนกโดยทางเลือก หรือความเป็นไปได้อย่างอื่น

ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุผลสำเร็จ หรือเข้าถึงเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ดี ในการพิจารณาหาความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดขึ้น และความเป็นไปของสิ่ง สภาพ หรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ดี ผู้ที่คิดค้นพิจารณาพึงตระหนักว่า

ก) หนทาง วิธี หรือความเป็นไปได้ อาจมีได้หลายอย่าง

ข) ในบรรดาหนทาง วิธีการ หรือความเป็นไปได้หลายอย่างนั้น บางอย่างอาจดีกว่า ได้ผลกว่า หรือตรงแท้กว่าอย่างอื่น

ค) ในบรรดาทางเลือกหลายอย่างนั้น บางอย่าง หรืออย่างหนึ่ง อาจเหมาะสม หรือได้ผลดีสำหรับคน สำหรับต่างคน หรือสำหรับกรณีนั้น มากกว่าอย่างอื่น

ง) ทางเลือก หรือความเป็นไปได้ อาจมีเพียงอย่างเดียว หรือหลายอย่าง แต่เป็นอย่างอื่น คือไม่ใช่ทางเลือกหรือความเป็นไปได้อย่างที่ตนกำลังปฏิบัติ หรือกำลังเข้าใจอยู่ในขณะนั้น

ความตระหนักเช่นนี้ มีผลดีหลายประการ เช่น ทำให้ไม่อื้อตันติดตันวนเวียนอยู่อย่างหาทางออกไม่ได้ ในวิธีปฏิบัติ หรือความคิดที่ไม่สำเร็จผล ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมกับตน ทำให้ไม่ท้อแท้ ถดถอย หรืออับจนแล้วหยุด เลิกความเพียรเสีย ในเมื่อทำหรือคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้หลายอย่างแล้วไม่สำเร็จ

โดยเฉพาะข้อที่สำคัญที่สุด คือ ทำให้สามารถคิดหา และค้นพบหนทาง วิธีการ หรือความเป็นไปได้ที่ถูกต้อง เหมาะสม ตรงแท้ เป็นจริง หรือได้ผลดีที่สุด

วิธีคิดแบบนี้ จะเห็นตัวอย่างจากพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทดลองบำเพ็ญทุกรกิริยา จำพวกตบะที่เป็นอุดมการณ์ของยุคสมัย อย่างสุดกำลัง และสุดหนทางที่จะมีบุคคลผู้ใดปฏิบัติได้ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว ไม่สำเร็จผล แทนที่จะทรงติดตันและสิ้นหวัง ทรงเห็นว่า ไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง ที่จะบรรลุจุดมุ่งหมาย แล้วทรงดำริต่อไป

ครั้งนั้น ทรงมีพุทธดำริว่า

“เราจะบรรลุญาณทัศนะอันพิเศษที่ทำให้เป็นอริยะ ซึ่งเหนือกว่าธรรมของมนุษย์นั้น ด้วยทุกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้ หาได้ไม่ หนทางตรัสรู้จะเป็นอย่างอื่น”(ม.มู.12/42/547)

เมื่อทรงดำริแล้ว จึงทรงคิดพิจารณาและค้นพบทางสายกลาง แล้วทรงปฏิบัติจนบรรลุโพธิญาณในที่สุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
โยมาให้ตรงเห็นที่กำลังเห็น
ตัวเองเห็นผิดเกินสีรู้สึกตัวยัง
:b32: :b32: :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร