วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 17:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




5377-3.gif
5377-3.gif [ 21.09 KiB | เปิดดู 3606 ครั้ง ]
อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ซึ่งแปลกันว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารนั้น
ในทางธรรม หมายความว่า สังขารปรากฎขึ้น ก็เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
อันเป็นการกล่าวถึงผล(คือสังขาร) ก่อนที่จะแสดงเหตุก่อน(คืออวิชชา)
ที่อุปการให้เกิดผลนั้น ที่แสดงเช่นนิ้ก็เพราะถือว่าผลนั้น เป็นสิ่งที่เห็นได้ง่าย
กว่าเหตุ จึงกล่าวผลก่อนแล้วจึงย้อนกลับไปแสดงถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดผลนั้น

อวิชชา เป็นปัจจัยให่เกิดสังขาร คือ สังขารเป็นปัจจยุบบันธรรม ปรากฎเกิดขึ้น
ก็เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยธรรมนั้นเป็นสาเหตุ จึงพูดกันสั้น ๆ ว่่า อวิชชาเป็นเหตุสังขารเป็นผล

อวิชชาที่เป็นสาเหตุให้เกิดสังขารนั้น มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

อญาณลกฺขณา มีความไม่รู้ หรือ เป็นปฏิปักษ์ต่อปัญญา เป็นลักญณะ
สมฺโมหนรสา ทำให้สัมปยุตตธรรม และ ผู้มีโมหะกำลังเกิดนั้นมีความหลง ความมืดมนต์เป็นกิจ
ฉาทนปจฺจุปฏฺฐานา ปกปิดสภาวะที่มีอยู่ในอารมณ์นั้นๆ เป็นผล
อาสวปทฏฺฐานา มีอาสวะ เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20190329_111906.jpg
20190329_111906.jpg [ 25.52 KiB | เปิดดู 3540 ครั้ง ]
อวิชชา นี้องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก คือความไม่รู้นั่นเอง ไม่รู้ในที่นี้หมายเอาเฉพาะ
ไม่รู้ธรรม ๘ ประการ ไม่รู้อริยสัจ ๔ ไม่รู้อดีต ๑ ไม่รู้อนาคต ๑ ไม่รู้ทั้้งอดีตและอยาคต ๑
ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑
เพราะความไม่รู้ คือ โมหะ หรือ อวิชชา นี่เอง เป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่อุปการะช่วย ให้เกิดสังขาร
ให้เกิดการปรุงแต่งขึ้น ดังนั้นจึงกล่าวว่าอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเป็นปัจจยุบบัน
สังขารอันเป็นปัจจยุบบันของอวิชชานี้จัดเป็นสังขาร ๓ คือ
อบุญญาภิสังขาร, บุญญาภิสังขาร, และอเนญชาภิสังขาร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20180904_200432.jpg
20180904_200432.jpg [ 28.16 KiB | เปิดดู 3596 ครั้ง ]
๑. อบุญญาภิสังขาร จงใจปรุงแต่งให้เป็นบาป องค์ธรรมได้แก่เจตนาในอกุศลจิต ๑๒
เมื่อปรุงแต่งให้บาปเกิดเช่นนี้ ก็เป็นทางที่จะนำไปให้ปฏิสนธิในอบายภูมิ
เจตนาทำบาปอันจะส่งผลให้ปฏิสนธิในอบายภูมินี้เห็นได้ชัดว่า เป็นตัวอำนาจแห่งโมหะ
คือ ตัวอวิชชาโดยตรงเลยทีเดียว

๒. บุญญาภิสังขาร จงใจปรุงแต่งให้เป็นบุญ องค์ธรรมได้แก่เจตนาในมหากุศลจิต ๘
และเจตนาในรูปาวรจรกุศลจิต ๕ รวมเป็นกุศลจิต ๑๓ เมื่อเจตนาปรุงแต่งให้เกิดกุศลกรรมเช่นนี้
ก็เป็นทางที่จะเกิดในนุษย์ เป็นเทวดา เป็นรูปพรหม ตามควรแก่กรรมนั้น ๆ
เจตนาแบบนี้ก็นับว่ากุศลมากอยู่ แต่ว่ายังไม่ถึงที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ เพราะยังต้องกลับมาเวียนว่าย
ในสังสารวัฏอีก กุศลที่ประเสริฐสุดคือโลกุตตรกุศล อันจะนำให้พ้นทุกจ์อย่างเด็ดขาด
ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายในวัฏฏะสงสารอีกต่่อไป ก็มี แต่ไม่มีเจตนาปรุงแต่งให้กุศลอันประเสริฐสุด
นั้นเกิดขึ้นอีก จึงได้ชื่อว่ายังมีอวิชชาอยู่ กล่าวอีกนัยหนึ่งเพราะไม่รู้กุศลอันยิ่งกว่านั้นก็มี
จึงเจตนาทำเพียงมหากุศลกรรม และรูปาวจรกุศลกรรมเท่านั้น

๓. อเนญชาภิสังขาร จงใจปรุงแต่งให้เป็นบุญชนิดที่ไม่หวั่นไหวคือ ตั้งอยู่ในอุเบกขาพรหมวิหาร
ได้นานเหลือเกิน องค์ธรรมได้แก่ เจตนาในอรูปาวจรกุศลจิต ๔ เมื่อเจตนาให้เกิดกุศลกรรมถึงเพียงนี้
ก็ส่งผลให้ไปปฏิสนธิในอรูปพรหม เสวยบรมสุขอยู่นานช้า ถึงกระนั้นก็ได้ชื่อว่ายังไม่พ้นจากอวิชชา
ตามนัยที่กล่าวแล้วในข้อ ๒ นั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2019, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อีกนัยหนึ่ง สังขารอันเป็นปัจจยุบบันธรรมของอวิชชานี้ ได้แก่สังขาร ๓ คือ

ก. กายสังขาร คือ เจตนาที่ปรุงแต่งกายทุจริต และกายทุจริตให้เป็นผลสำเร็จลง
องค์ธรรมได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒ และ มหากุศลเจตนา ๘ ที่เกี่ยวกับทางกาย

ข. วจีสังขาร คือ เจตนาที่ปรุงแต่งวจีทุจริต และวจีทุจริตให้สำเร็จลง
องค์ธรรมได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒ และ มหากุศลเจตนา ๘ ที่เกี่ยวกับทางวาจา

ค. จิตตสังขาร คือ เจตนาที่ปรุงแต่งมโนทุจริต และ มโนทุจริตให้ผลสำเร็จลง
องค์ธรรมได้แก่ อกุศลเจตนา ๑๒ และโลกียกุศลเจตนา ๑๗ ที่เกี่ยวกับทางใจ

รวมสังขาร ๓ ก็ดี หรือจะว่าสังขารทั้ง ๖ ดังกล่าวแล้วนี้ก็ดี ก็ได้แก่เจตนา ๒๙ หรือกรรม ๒๙ นั่นเอง
โดยเฉพาะ โลกุตตรกุศลเจตนา นั้นได้ชื่อว่าบุญก็จริง แต่ไม่จัดว่าเป็นบุญภิสังขาร หรืออาเนญชาภิสังขาร
เพราะโลกุตตรกุศลนั้นไม่มีหน้าที่เกิดภพเกิดชาติอันเป็นวัฏฏะ แต่มีหน้าทำลายภพทำลายชาติ
อันเป็นการตัดวัฏฏะ จึงไม่เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทนี้ อนึ่ง ตามนัยแห่ง พระสุตตันปิฎก ก็แสดง
สังขาร ๓ ไว้อีกนัยหนึ่ง คือ

กายสังขาร ธรรมที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาะ และ ปัสสาสะ
วจีสังขาร ธรรมที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก วิจาร
จิตตสังขาร ธรรมที่ปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญา เวทนา หรืออีกนัยหนึ่งว่าได้แก่ เจตสิก ๕๐ ดวง(เว้นวิตก วิจาร)

สรุปความในบท อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารนี้ได้ว่า อวิชชาที่เป็นปัจจัยให้เกิดสังขารนั้นได้แก่โมหะ
สังขารอันเป็นปัจจยุบบันธรรมของอวิชชานั้นได้แก่ เจตนา ๒๙ หรือกรรม ๒๙
เพราะไม่รู้ว่าธรรมที่ดับสิ้นแห่งทุกข์นั้นมี คือยังมีโมหะมีอวิชชาอยู่ จึงเป็นปัจจัยใ้ห้กระทำกรรม ๒๙
อันจะต้องวนเวียนอยู่ในสงสารทุกข์ ไม่พ้นทุกข์ไปได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2019, 05:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชาเป็นปัจจัยแก่ อบุญญาภิสังขาร ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๑๕ ปัจัย คือ

๑. เหตุปจฺจัย ๒. อารมฺมณปจฺจัย ๓. อธิปติปจฺจัย ๔. อนนฺตรปจฺจัย ๕. สมนนฺตรปจฺจัย
๖. สหชาตปจฺจัย ๗. อญฺญมญฺญปจฺจัย ๘. สหชาตนิสฺสยปจฺจัย ๙. ปกตูนิสฺสยปจฺจัย ๑๐.อาเสวนปจฺจัย
๑๑.สมฺปยุตฺตปจฺจัย ๑๒.อตฺถิปจฺจัย ๑๓.นตฺถิปจฺจัย ๑๔.วิคตปจฺจัย ๑๕.อวิคตปจฺจัย

อวิชชาเป็นปัจจัย บุญญาภิสังขาร ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๒ ปัจจัย คือ

๑. อารมฺมณปจฺจัย ๒. ปกตูนิสฺสยปจฺจัย

อวิชชาเป็นปัจจัย อเนญชาภิสังขาร ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๑ ปัจจัย คือ

๑. ปกตูนิสฺสยปจฺจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2019, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย
อวิชชา เป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขาร ก็ด้วยอำนาจปัจจัย ๑๕ ปัจจัยนั้น
กล่าวเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ก็ว่า โมหเจตสิกเป็นปัจจัยแก่อกุศลจิตนั้น เป็นได้ ๑๕ ปัจจัย
แต่ละปัจจัยมีความหมายดังนี้

๑. เหตุปัจจัย กล่าวถึงเหตุ ๖ เป็นปัจจัยให้เกิดจิตและเจตสิกนั้นคือ โมหะ เป็น เหตุปัจจัย อกุศลจิต ๑๒
และเจตสิกที่ประกอบเป็นเหตุปัจจยุบบัน

๒. อารัมมณปัจจัย กล่าวถึงอารัมมณ์เป็นปัจจัยให้เกิดจิตและเจตสิกนั้นคือ เมื่อนึกถึงสิ่งที่ตนชอบใจติดใจก็ดี
ที่ไม่ชอบใจก็ดี ที่เกลียด ที่กลัวก็ดี ที่สงสัยที่ฟุ้งซ่านก็ดี เหล่านี้เป็นอารมณ์ที่มีสาเหตุมาจากโมหะทั้งนั้น
อารมณ์เหล่านี้แหละเป็นอารัมมณปัจจัย ก่อให้เกิดอกุศลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบและเป็นอารัมมณปัจยุบบัน

๓. อธิปติปัจจัย กล่าวถึงอารมณ์ที่เป็นใหญ่ที่มีกำลังมาก หรือท่เอาใจใส่มากเป็นพิเศษป็นัจจัยให้เิดจิต
และเจตสิก คืออารมณ์ที่มีกำลังมากเป็นพิเศษนั้นเป็นอธิปติปัจจัย ก่อให้เกิดอกุศลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบ เป็นอธิปติปัจจยุบบัน

๔. อนันตรปัจจัย กล่าวถึงจิตที่เกิดติดต่อกันโดยไม่มีระหว่าคั่น ที่มาเกี่ยวกับโมหเจตสิกก็เพราะเหตุว่า
โมหเจตสิกต้องเกิดพร้อมกับอกุศลจิต กล่าวโดยหน้าที่การงาน อกุศลจิตกับชวนจิต ชวนจิตนี้โดยปกติ
เกิดติดต่อกัน ๗ ดวง หรือ ๗ ขณะจิต ดังนั้นโมหเจตสิกที่ในอกุศลชวนจิตดวงที่ ๑ ก็เป็นอนันตรปัจจัย
โมหะในอกุศลจิตชวนจิตดวงที่ ๒ ก็เป็นอนันตรปัจจยุบบัน โมหะในอกุศลชวนดวงที่ ๒ เป็นอนันตรปัจจัย
โมหะในอกุศลชวนจิตที่ ๓ ก็เป็นอนันตรปัจจยุบัน เป็นไปตามลำดับกันจนถึงโมหะในอกุศลชวนจิตดวงที่ ๖
ก็เป็นอนันตรปัจจยุบบัน โมหะในในอกุศลจิตดวงที่ ๗ เป็นอนันตรปัจจยุบบัน

๕. สมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยที่เน้นถึงอนันตรปัจจัยว่า การที่เกิดติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่นนั้น เกิดติดต่อ
กันตามลำดับ ไม่ข้ามลำดับ อันมีความหมายเช่นเดียวกับอนันตรปัจจัยนั่นเอง เป็นแต่ย้ำความให้กระชับ
แน่นแฟ้นขึ้นไปอีกเท่านั้น

๖. สหชาตปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่เกิดพร้อมกัน ในที่นี้โมหเจตสิกต้องเกิดพร้อมกับอกุศลจิต
และเจตสิกที่ประกอบ ดังนั้นโมหเจตสิกที่เป็นสหชาตปัจจัยอกุศลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบ
ซึ่งเกิดพร้อมกันกับเจตสิกนั้นเป็นสหชาตปัจจยุบบัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2019, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. อัญญมัญญปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่อุปการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ในที่นี้โมหเจตสิกก็ช่วยเหลืออกุศลจิต และเจตสิกที่ประกอบให้เกิดขึ้น
อกุศลจิและเจตสิกที่ประกอบก็อุปการช่วยเหลือเจตสิกให้เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
กล่าวคือต่างฝ่ายต่างอุปการแก่กันและกัน ดังนั้น โมหเจตสิกนี้จึงเป็นอัญญมัญญปัจจัย
อกุศลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบนั้นเป็นอัญญปัจจยุบบัน

๘. นิสสยปัจจัย กล่าวถึงกรรมอันเป็นที่อาศัย ในที่นี้โมหเจตสิกเป็นที่อาศัยของอกุศลจิต
และเจตสิกที่ประกอบนี้แหละที่อาศัยโมหเจตสิก จึงปรากฏขึ้นได้ ดังนั้นโมหเจตสิก
จึงเป็นนิสสยปัจจัย อกุศลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบก็เป็นนิสสยปัจจยุบบัน

๙. อุปนิสสยปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่อาศัย อย่างแรงกล้า อย่างมั่นคง ในที่นี้โมหเจตสิก
เป็นที่อาศัยของอกุศลจิตและเจตสิกอย่างมั่นคง จึงปรากฎขึ้นได้ ดังนั้น โมหเจตสิก จึงเป็น
ุปนิสสยปัจจัย อกุศลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบก็เป็นอุปนิสสยปัจจยุบบัน

๑๐. อาเสวนปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่เสพอารมณ์หลายขณะ อันหมายถึงชวนจิตโดยเฉพาะ
เพราะในวิถีหนึ่งๆ ชวนจิตย่อมเกิดติดต่อกันโดยปกติ ๗ ขณะ ดังนั้นโมหเจตสิก
ในอกุศลจิตดวงที่ ๑ จึงเป็อาเสวนปัจจัย โมหเจตสิที่ในอกุศลชวนจิตดวงที่ ๒ เป็นอาเสวนปัจจัย
โมหเจตสิกที่ในอกุศลจิตดวงที่ ๓ เป็นอาเสวนปัจจยุบบัน เป็นไปดังนี้ไปตามลำดับ
จนถึงอกุศลชวนจิตดวงที่ ๖ เป็นอาเสวนปัจจัย โมหเจตสิกที่ในอกุศลชวนจิตดวงที่ ๗
เป็นอาเสวนปัจจยุบบัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๑. สัมปยุตตปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่ประกอบกัน โมหเจตสิกย่อมประกอบกับอกุศลจิต
และเจตสิกที่ประกอบ ดังนั้นโมหเจตสิกจึงเป็นสัมปยุตตปัจจัย อกุศลจิต ๑๒
และเจตสิกที่ประกอบ ก็เป็นสัมปยุตตปัจจยุบบัน

๑๒. อัตถิปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่กำลังมีอยู่นั้นเป็นปัจจัย ในที่นี้หมายถึงว่า โมหเจตสิกที่กำลังมีอยู่
ยังไม่ได้ดับไป นั่นแหละเป็นอัตถิปัจจัยอกุศลจิต อกุศลจิต ๑๒ และเจตสิกที่ประกอบ ก็เป็นอัตถิปัจจยุบบัน

๑๓. นัตถิปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่ไม่มีแล้ว ดับไปแล้ว จึงจะเป็นปัจจัยได้ ในที่นี้หมายถึงว่า โมหเจตสิก
ที่ในอกุศลชวนจิตดวงที่ ๑ ดับไปแล้วไม่มีแล้ว จึงเป็นนัตถิปัจจัยให้เกิดโมหเจตสิกที่ในอกุศลชวนจิต
ดวงที่ ๒ นั้นได้ โมหเจตสิกที่ในอกุศลชวนดวงที่ ๒ นี้แหละเรียกว่า นัตถิปัจจยุบบัน ซึ่งมีความหมาย
เดียวกันกับ อนันตรปัจจัย (ข้อ๔) และอาเสวนปัจจัย (ข้อ ๑๐) ที่กล่าวแล้วข้างต้น

๑๔. วิคตปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่ปราศจากไปแล้ว คือดับไปแล้ว เป็นปัจจัยมีความหมายเดียวกับข้อ ๑๓ นัตถิปัจจัย นั่นเอง

๑๕. อวิคตปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่ยังไม่ปราศจากไป เป็นปัจจัย ธรรมที่ยังไม่ปราศจากไป ก็คือธรรมที่ยังมีอยู่
ยังไม่ดับไปจึงมีความหมายเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในข้อ ๑๒ อัตถิปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข. อวิชชาเป็นปัจจัยแก่บุญญาภิสังขาร
ก็ด้วยอำนาจปัจจัย ๒ ปัจจัย คือ อารัมมณปัจจัย, ปกตูปนิสสยปัจจัย
มีความหมายดังต่อไปนี้

๑. อารัมมณปัจจัย กล่าวถึงอารมณ์ให้เกิดจิตและเจตสิก ในบทนี้หมายถึงว่า
ด้วยอำนาจโมหะจึงมีอารมณ์ติดใจ ชอบใจ มนุษย์สมบัติ เทวสมบัติ และพรหมสมบัติ
จึงประกอบมหากุศลกรรมเพืรอให้สมความปรารถนาในมนุษย์สมบัติ เทวสมบัติ
และเพียรบำเพ็ญภาวนารูปาวจรกุศลกรรม เพื่อให้สมปนารถนาในรูปพรหมสมบัติ
ดังนี้จึงชิ่อว่าโมหะเป็นอารัมมณปัจจัย จิตที่เป็นมหากุศล รูปาวจรกุศล และเจตสิกที่ประกอบ
นั้นก็เป็นอารัมมณปัจจยุบบัน

๒. ปกตูปนิสสยปัจจัย กล่าวถึงธรรมที่เป็นปัจจัยนั้นเป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้า
หรือที่อาศัยที่มีกำลังมากแก่ปัจจยุบบันธรรม ในบทนี้จุึงมีความหมายว่า โมหะนี้แหละเป็นปัจจัย
เป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้าเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมากช่วยอุปการะเกื้อกูลให้ ประกอบกรรม
ทำความเพียรแต่มหากุศล และรูปาวจรกุศลเท่านัีน ดังนัีนโมหะจึงได้ชื่อว่าเป็นปกตูนิสสยปัจจัย
จิตมหากุศลและรูปาวจรกุศลพร้อมกับเจตสิกที่ประกอบนั้นเป็นปกตูปนิสสยปีจจยุบบัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2019, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ค. อวิชชาเป็นปัจจัยแก่อาเนญชาภิสังขาร

ด้วยอำนาจปกตูนิสสยปัจจัย เพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น
ซึ่งมีความหมายทำนองเดียวกันกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
นี้คือความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่อยากจะได้ิรูปพรหมสมบัติ
จึงได่บำเพ็ญเพียรประกอบอรูปาวจรกุศลกรรม
เพราะความปรารถนาในอรูปพรหสมบัติ
เช่นนี้ชื่อว่ายังมีโมหะอยู่ ดังนั้น โมหะก็เป็นปกตูนิสสยปัจจัย
อรูปาวจรกุศลจิตและเจตสิก
ที่ประกอบเป็น ปกตูนิสสยปัจจยุบบัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับอวิชชา

มีข้อความบางประการที่เกี่ยวกับอวิชชา ซึ่งเป็นข้อความที่ควรทราบไว้ด้วยดังนี้ คือ
๑. อวิชชา อันได้แก่ โมหเจตสิก นี้ มีสภาพหรือลักษณะแต่อย่างเดียว คือไม่รู้เหตุผลตามความเป็นจริง
ของธรรมทั้งปวง ถึงกระนั้นก็อาจจะกล่าวได้ตามสื่งที่ไม่รู้นั้นว่า อวิชชามีหลายอย่าง เป็นต้นว่า

อวิชชา มี ๒ อย่าง คือ
ไม่รู้ข้อปฏิบัติที่ผิด ๑ และไม่รู้ข้อปฏิบัติที่ถูก ๑ หรือ
ไม่รู้ข้อธรรมที่เป็นสังขาร ๑ และไม่รู้ข้อธรรมที่เป็น วิสังขาร ๑

ถ้านับ อวิชชาไม่รู้ มี ๓ ก็หมายความว่า ไม่รู้ความเป็นจริงในเวทนาทั้ง ๓ มีสุขเวทนา เป็นต้น
จึงทำให้เกิดมีความวิปลาสขึ้น

ถ้าจะนับว่า อวิชชา มี ๔ ก็เพราะไม่รู้อริยสัจจธรรมทั้ง ๔ มี ทุกขสัจจเป็นต้น
ถ้าจะนับว่า อวิชชา มี ๕ ก็ไม่รู้ความจริงแห่งทุกข์โทษภัยที่เป็นไปในคติทั้ง ๕
(นิรยคติ เปตคติ ดิรัจฉานคติ มนุสสคติ เทวตาคติ)ซึ่งยังต้องวนเวียนอยู่ในกองทุกข์
ถ้าจะนับ อวิชชา มี ๖ ก็เพราะไม่รู้ความเป็นจริงในอารมณ์ทั้ง ๖ ในวิญญาณทั้ง ๖
ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชา กับ พระอรหันต์
มีปัญหาว่า การกระทำใดๆ ของพระอรหันต์นั้นเป็นกิริยา คือไม่เป็นบุญเป็นบาป
เพราะพระอรหันต์ทำลายโมหะได้โดยเด็ดขาดแล้วเป็นอันว่า สังขารทั้ง ๓ ที่เป็นบุญเป็นบาป
ก็ย่อมถูกทำลายไปด้วย ดังนี้ก็หมายความว่า นอกพระอรหันต์ไม่ทำบาปแล้ว
บุญต่างๆ ทาน ศีล ภาวนา ก็ไม่กระทำด้วยเช่นนั้นหรือ

ความจริงพระอรหันต์ทั้งหลายก็บำเพ็ญทานอยู่เป็นนิจ ที่พระอรหันต์กระทำไปนั้นไม่จัดว่า
เป็นบุญญาภิสังขาร หรืออเนญชาภิสังขารอันเป็นผลของอวิชชาตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้
เพราะการกระทำของพระอรหันต์นั้นเป็นกิริยาจิต ไม่มีการให้ผลในวัฏฏสงสารอีกต่อไป จึงได้ชื่อว่า
พระอรหันต์ท่านบำเพ็ญธรรมจนสิ้นบาปและหมดสิ้นบุญด้วย ส่วนท่านที่ยังมีบุญมีบาปอยู่
ผู้นั้นจะต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏไม่มีที่สิ้นสุด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2019, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชา กับ อริยสัจ

อวิชชา เป็นทุกขสัจจ์ เกิดพร้อมกับทุกขสัจจ์ กระทำทุกขสัจจ์ให้เป็นอารมณ์ได้
ทั้งปกปิดไม่ให้เห็นทุกขสัจจ์ด้วย

อวิชชา ไม่ใช่สมุุทยสัจ จะสงเคราะห์เป็นสมุทยสัจก็ไม่ได้ แต่อวิชชานี้เกิดพร้อมกับสมุทยสัจจ์
กระทำสมุทยสัจจ์ให้เป็นอารมณ์ได้ และปกปิดไม่ให้เห็นสมุทยสัจจ์ด้วย

อวิชชา ไม่ใช่นิโรธสัจจ์ สงเคราะห์เป็นนิโรธสัจจ์ก็ไม่ได้ เกิดพร้อมกับนิโรธสัจจ์ก็ไม่ได้
กระทำนิโรธสัจจ์ให้เป็นอารมณ์ก็ไม่ได้ แต่สามารถปกปิดไม่ให้เห็นนิโรธสัจจ์ได้

อวิชชา ไม่ใช่มรรคสัจจ์ สงเคราะห์เป็นมรรคสัจจ์ก็ไม่ได้ เกิดพร้อมกับมรรสัจจจ์ก็ไม่ได้
กระทำมรรคสัจจ์เป็นอารมณ์ก็ไม่ได้ แต่ปกปิดไม่ให้เห็นมรรคสัจจ์ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร