วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๘.วิธีคิดแบบเร้ากุศล

วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีคิดแบบเร้ากุศล หรือ คิดแบบกุศลภาวนา เป็นวิธีคิดในแนวสกัดกั้น หรือบรรเทา และขัดเกลาตัณหา จึงจัดได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติระดับต้นๆ สำหรับส่งเสริมความเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรม และสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกิยะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการทั่วไปของวิธีคิดแบบนี้ มีอยู่ว่า ประสบการณ์ คือสิ่งที่ได้ประสบ หรือได้รับรู้อย่างเดียวกัน บุคคลผู้ประสบ หรือรับรู้ต่างกัน อาจมองเห็น และคิดนึกปรุงแต่งไปคนละอย่าง สุดแต่โครงสร้างของจิต หรือแนวทางความเคยชินต่างๆ ที่เป็นเครื่องปรุงของจิต คือ สังขารที่ผู้นั้นสั่งสมไว้ หรือสุดแต่การทำใจขณะนั้นๆ

ของอย่างเดียวกัน หรือ อาการกิริยาเดียวกัน คนหนึ่งมองเห็นแล้ว คิดปรุงแต่ไปในทางดีงาม เป็นประโยชน์ เป็นกุศล
แต่อีกคนหนึ่งเห็นแล้ว คิดปรุงแต่งไปในทางไม่ดีไม่งาม เป็นโทษ เป็นอกุศล แม้แต่บุคคลคนเดียวกัน มองเห็นของอย่างเดียวกัน หรือ ประสบอารมณ์อย่างเดียวกัน แต่ต่างขณะ ต่างเวลา ก็อาจคิดเห็น ปรุงแต่งต่างออกไปครั้งละอย่าง คราวหนึ่งร้าย คราวหนึ่งดี ทั้งนี้โดยเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้ว

การทำใจ ที่ช่วยตั้งต้น และชักนำความคิดให้เดินไปในทางที่ดีงามและเป็นประโยชน์ เรียกว่า เป็นวิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม หรือ โยนิโสมนสิการแบบเร้ากุศลในที่นี้

(น่าเสียดาย สมช.ที่นี้บางคนบางกลุ่มยังตามหาจิตกันอยู่ ก็ไม่รู้ชาตินี้จะตามหาเจอไหม)

กท. ตามหาจิต :b1:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=56199

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโสมนสิการแบบเร้ากุศลนี้ มีความสำคัญ ทั้งในแง่ที่ทำให้เกิดความคิด และการกระทำที่ดีงามเป็นประโยชน์ในขณะนั้น และในแง่ที่ช่วยแก้ไขนิสัยความเคยชินร้ายๆของจิตที่ได้สั่งสมไว้แต่เดิม พร้อมกับสร้างนิสัยความเคยชินใหม่ๆ ที่ดีงามให้แก่จิตไปในเวลาเดียวกันด้วย

ในทางตรงข้าม หากปราศจากอุบายแก้ไขเช่นนี้ ความคิด และการกระทำของบุคคล ก็จะถูกชักนำให้เดินไปตามแรงชักจูงของความเคยชินเก่าๆ ที่ได้สั่งสมไว้เดิมเพียงอย่างเดียว และช่วยเสริมความเคยชินอย่างนั้นให้มีกำลังแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างง่ายๆ อย่างหนึ่งที่มาในคัมภีร์ คือ การคิดถึงความตาย ถ้ามีอโยนิโสมนสิการ คือทำใจหรือคิดไม่ถูกวิธี อกุศลธรรมก็จะเกิดขึ้น เช่น คิดถึงความตายแล้ว สลดหดหู่ เกิดความเหี่ยวแห้งใจบ้าง เกิดความหวั่นกลัวหวาดเสียวใจบ้าง ตลอดจนเกิดความดีใจ เมื่อนึกถึงความตายของคนทีเกลียดชังบ้าง เป็นต้น

แต่ถ้ามีโยนิโสมนสิการ คือ ทำใจหรือคิดให้ถูกวิธี ก็จะเกิดกุศลธรรม คือ เกิดความรู้สึกตื่นตัวเร้าใจ ไม่ประมาท เร่งขวนขวายปฏิบัติกิจหน้าที่ ทำสิ่งดีงามเป็นประโยชน์ ประพฤติปฏิบัติธรรม ตลอดจนรู้เท่าทันความจริงที่เป็นคติธรรมดาของสังขาร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ตัวอย่างง่ายๆ อย่างหนึ่งที่มาในคัมภีร์ คือ การคิดถึงความตาย ถ้ามีอโยนิโสมนสิการ คือทำใจหรือคิดไม่ถูกวิธี อกุศลธรรมก็จะเกิดขึ้น เช่น คิดถึงความตายแล้ว สลดหดหู่ เกิดความเหี่ยวแห้งใจบ้าง เกิดความหวั่นกลัวหวาดเสียวใจบ้าง ตลอดจนเกิดความดีใจ เมื่อนึกถึงความตายของคนทีเกลียดชังบ้าง เป็นต้น

แต่ถ้ามีโยนิโสมนสิการ คือ ทำใจหรือคิดให้ถูกวิธี ก็จะเกิดกุศลธรรม คือ เกิดความรู้สึกตื่นตัวเร้าใจ ไม่ประมาท เร่งขวนขวายปฏิบัติกิจหน้าที่ ทำสิ่งดีงามเป็นประโยชน์ ประพฤติปฏิบัติธรรม ตลอดจนรู้เท่าทันความจริงที่เป็นคติธรรมดาของสังขาร

Kiss
เออ :b32:
ใจก็มีแระ
ยังจะไปทำใจไหน
พระพุทธเจ้าพูดให้เข้าใจว่ามีแล้ว
กาย+จิต+ใจ คือธัมมะตามชื่อนี้ รูป+จิต+เจตสิก มีมาตั้งแต่เกิดแล้วกำลังเกิดดับด้วย
แต่ไม่เข้าใจเลยว่าไม่มีตัวตนมีแต่อุปาทานในขันธ์ยึดถือขันธ์ทั้ง5ที่กำลังเกิดดับเป็นตัวคนมีแล้ว
เออบอกว่าให้ฟังเพื่อเข้าใจตามเท่านั้นจะได้ไม่หลงผิดไปทำตามที่ตัวตนยึดมั่นถือมั่นฟังให้เกิดปัญญาตรงๆ
https://youtu.be/QDsGzMJP_Mk
:b12:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ตัวอย่างง่ายๆ อย่างหนึ่งที่มาในคัมภีร์ คือ การคิดถึงความตาย ถ้ามีอโยนิโสมนสิการ คือทำใจหรือคิดไม่ถูกวิธี อกุศลธรรมก็จะเกิดขึ้น เช่น คิดถึงความตายแล้ว สลดหดหู่ เกิดความเหี่ยวแห้งใจบ้าง เกิดความหวั่นกลัวหวาดเสียวใจบ้าง ตลอดจนเกิดความดีใจ เมื่อนึกถึงความตายของคนทีเกลียดชังบ้าง เป็นต้น

แต่ถ้ามีโยนิโสมนสิการ คือ ทำใจหรือคิดให้ถูกวิธี ก็จะเกิดกุศลธรรม คือ เกิดความรู้สึกตื่นตัวเร้าใจ ไม่ประมาท เร่งขวนขวายปฏิบัติกิจหน้าที่ ทำสิ่งดีงามเป็นประโยชน์ ประพฤติปฏิบัติธรรม ตลอดจนรู้เท่าทันความจริงที่เป็นคติธรรมดาของสังขาร

Kiss
เออ :b32:
ใจก็มีแระ
ยังจะไปทำใจไหน
พระพุทธเจ้าพูดให้เข้าใจว่ามีแล้ว
กาย+จิต+ใจ คือธัมมะตามชื่อนี้ รูป+จิต+เจตสิก มีมาตั้งแต่เกิดแล้วกำลังเกิดดับด้วย
แต่ไม่เข้าใจเลยว่าไม่มีตัวตนมีแต่อุปาทานในขันธ์ยึดถือขันธ์ทั้ง5ที่กำลังเกิดดับเป็นตัวคนมีแล้ว
เออบอกว่าให้ฟังเพื่อเข้าใจตามเท่านั้นจะได้ไม่หลงผิดไปทำตามที่ตัวตนยึดมั่นถือมั่นฟังให้เกิดปัญญาตรงๆ
https://youtu.be/QDsGzMJP_Mk


นี่คือความคิดของคน "ใจมีอยู่แล้ว ยังจะไปทำใจไหนอีก" คือคุณโรสคิดทำนองว่า โต๊ะ เก้าอี้ มีอยู่แล้วจะไปทำโต๊ะทำเก้าอี้ ทำไมอีก มันมีอยู่แล้วนี่ นี่ศิษย์แม่สุจินคิดทำนองอย่างนั้น

บ้านมีอยู่แล้ว จะทำบ้านทำไมอีก คิกๆๆ

เหมือนที่คิดว่า กิเลสมีอยู่แล้ว จะไปทำกิเลสทำไมอีก ปล่อยให้มันไหลไป ไหลไปๆๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ตัวอย่างง่ายๆ อย่างหนึ่งที่มาในคัมภีร์ คือ การคิดถึงความตาย ถ้ามีอโยนิโสมนสิการ คือทำใจหรือคิดไม่ถูกวิธี อกุศลธรรมก็จะเกิดขึ้น เช่น คิดถึงความตายแล้ว สลดหดหู่ เกิดความเหี่ยวแห้งใจบ้าง เกิดความหวั่นกลัวหวาดเสียวใจบ้าง ตลอดจนเกิดความดีใจ เมื่อนึกถึงความตายของคนทีเกลียดชังบ้าง เป็นต้น

แต่ถ้ามีโยนิโสมนสิการ คือ ทำใจหรือคิดให้ถูกวิธี ก็จะเกิดกุศลธรรม คือ เกิดความรู้สึกตื่นตัวเร้าใจ ไม่ประมาท เร่งขวนขวายปฏิบัติกิจหน้าที่ ทำสิ่งดีงามเป็นประโยชน์ ประพฤติปฏิบัติธรรม ตลอดจนรู้เท่าทันความจริงที่เป็นคติธรรมดาของสังขาร



ต่อ

ท่านกล่าวว่า การคิดถึงความตายอย่างถูกวิธี จะประกอบด้วยสติ (ความคุมคงใจไว้ หรือ มีใจอยู่กับตัว ระลึกรู้สิ่งที่พึงเกี่ยวข้องจัดทำ) สังเวค (ความรู้สึกเร้าใจ ได้คิด และสำนึกที่จะเร่งรีบทำการที่ควรทำ) และ ญาณ (ความรู้เท่าทันธรรมดา หรือรู้ตามเป็นจริง) นอกจากนั้น ท่านได้แนะนำอุบายแห่งโยนิโสมนสิการเกี่ยวกับความตายไว้หลายอย่าง (ดู วิสุทฺธิ.2/2-14 สังเวค หรือความสังเวช ตามความหมายเดิมนี้ ไม่สู้ตรงกับที่เข้าใจกันในภาษาไทย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทแทรกทำความเข้าใจ

สังเวช ความสลดใจให้ได้คิด, ความรู้สึกเตือนสำนึกหรือทำให้ฉุกคิด, ความรู้สึกกระตุ้นใจให้คิดได้ ให้คิดถึงธรรม ให้ตระหนักถึงความจริงของชีวิต และเร้าเตือนให้ไม่ประมาท
ความหมายที่แท้ของศัพท์ สังเวช คือ “สังเวค” แปลว่า แรงเร่ง แรงกระตุ้น หรือพลังที่ปลุกเร้า หมายถึง แรงกระตุ้นเร้าเตือนใจ ให้ได้คิดหรือสำนึกขึ้นมาได้ ให้คิดถึงธรรม หรือ ตระหนักถึงความจริงความดีงามอันทำให้ตื่นหรือถอนตัวขึ้นมาจากความเพลิดเพลิน ความหลงระเริงปล่อยตัวมัวเมา หรือความประมาท แล้วหักหันไปเร่งเพียรทำการที่ตระหนักรู้ว่าจะพึงทำด้วยความไม่ประมาทต่อไป

แต่ในภาษาไทย สังเวช มีความหมายหดแคบลงและเพี้ยนไป กลายเป็นความรู้สึกสลดใจ หรือเศร้าสลด แล้วหงอยหรือหดหู่เสีย ซึ่งกลายเป็นตรงข้ามกับความสังเวชที่แท้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


แม้ในพระไตรปิฎก ก็มีตัวอย่างง่ายๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงบ่อยๆ คือ เหตุปรารภ หรือ เรื่องราวกรณีอย่าง เดียวกัน คิดมองไปอย่างหนึ่ง ทำให้ขี้เกียจ
คิดมองไปอีกอย่างหนึ่ง ทำให้เกิดความขยันหมั่นเพียรพยายาม ดังความในพระสูตรว่า

“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องของผู้เกียจคร้าน (กุสีตวัตถุ) 8 อย่างเหล่านี้ 8 อย่างคืออะไร ?

1.ภิกษุมีงานที่จะต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เรามีงานที่จักต้องทำ เมื่อเราทำงานร่างกายก็จะเหน็ดเหนื่อย อย่ากระนั้นเลย เรานอนเอาแรงเสียก่อนเถิด คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย ไม่เริ่มระดม ความเพียร เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่เข้าถึง เพื่อประจักษ์แจ้งธรรมที่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง...

2. อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทำงานเสร็จแล้ว และเมื่อเราทำงาน ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนพักละ คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย..

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2019, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


3. อีกประการหนึ่ง ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง เมื่อเราเดินทาง ร่างกายก็จะเหน็ดเหนื่อย อย่ากระนั้นเลย เรานอนเอาแรงเสียก่อนเถิด คิดดังนี้แล้วเธอก็นอนเสีย...

4. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเดินทางเสร็จแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางเสร็จแล้ว และเมื่อเราเดินทาง ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อยแล้ว อย่ากระนั้นเลย เรานอน (พัก) ละ คิดดังนี้แล้วเธอก็นอนเสีย...

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 05:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


5. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้าน หรือตามชุมชน ไม่ได้โภชนะอย่างหมอง หรือประณีตเต็มตามต้องการ เธอมีความคิด ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้าน หรือตามชุมชน ไม่ได้โภชนะอย่างหมอง หรือประณีตเต็มตามต้องการ ร่างกายของเราก็เหน็ดเหนื่อย ไม่เหมาะแก่งาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอนพักละ คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย...

6. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้าน หรือตามชุมชน ได้โภชนะอย่างหมอง หรือประณีตเต็มตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้าน หรือตามชุมชน ได้โภชนะอย่างหมอง หรือประณีตเต็มตามต้องการแล้ว ร่างกายของเราก็หนักอึ้ง เป็นเหมือนดังถั่วหมัก ไม่เหมาะแก่งาน อย่ากระนั้นเลย เรานอนเสียเถิด คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย...

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


7. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเกิดมีอาพาธเล็กๆน้อยๆ เธอมีความคิดดังนี้ว่า เราเกิดมีอาพาธเล็กน้อยขึ้นแล้ว มีเหตุผลสมควรที่จะนอนได้ อย่ากระนั้นเลย เรานอนพักเสียเถิด คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย...

8. อีกประการหนึ่ง ภิกษุหายป่วย ฟื้นจากไข้ไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายป่วย ฟื้นจากไข้ไม่นาน ร่างกายของเรายังอ่อนแอ ไม่เหมาะแก่งาน อย่ากระนั้นเลย เรานอนเสียเถิด คิดดังนี้แล้ว เธอก็นอนเสีย...

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องความคิดขี้เกียจ ๘ ข้อนั้น น่าจะพอเข้าใจคำพูดที่พูดกันบ่อยๆ จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว บ้างไม่มาก็น้อย

ต่อไปดูความคิดขยัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2019, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรณีเดียวกันทั้งหมดนี้ คิดอีกอย่างหนึ่ง กลับทำให้เริ่มระดมความเพียร ท่านเรียกว่า เรื่องที่จะเริ่มระดมเพียร (อารัพภวัตถุ) แสดง ไว้ 8 ข้อเหมือนกัน ใจความดังนี้

1. (กรณีที่จะต้องทำงาน...) ภิกษุคิดว่า เรามีงานที่จะต้องทำ และขณะเมื่อเราทำงาน การมนสิการคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็จะทำไม่ได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด เพื่อจะได้บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่เข้าถึง เพื่อประจักษ์แจ้งธรรมที่ยัง ไม่ประจักษ์แจ้ง คิดดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น ก็จึงเริ่มระดมความเพียร...

2. (กรณีที่ทำงานเสร็จแล้ว...) ภิกษุคิดว่า เราได้ทำงานเสร็จแล้ว ก็แลขณะเมื่อทำงาน เรามิได้สามารถมนสิการคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย เราเริ่มระดมความเพียรเถิด...

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron