วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. วิธีคิดแบบอริยสัจ/คิดแบบแก้ปัญหา

วิธีคิดแบบอริยสัจ หรือ คิดแบบแก้ปัญหา เรียกตามโวหารทางธรรมได้ว่า วิธีแห่งความดับทุกข์ จัดเป็นวิธีคิดแบบหลักอย่างหนึ่ง เพราะสามารถขยายให้ครอบคลุมวิธีคิดแบบอื่นๆ ได้ทั้งหมด

บาลีที่พึงอ้างในข้อนี้ มีความสั้นๆ ดังนี้

“ภิกษุนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่า ทุกข์คือดังนี้
ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า เหตุเกิดแห่งทุกข์คือดังนี้
ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า ความดับแห่งทุกข์คือดังนี้
ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คือ ดังนี้

“เมื่อเธอมนสิการโดยแยบคายอยู่อย่างนี้ สังโยชน์ ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ย่อมถูกละเสียได้” (ม.มู.12/12/16)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีคิดแบบอริยสัจนี้ มีลักษณะทั่วไป ๒ ประการ คือ

๑) เป็นวิธีตามเหตุ และผล หรือ เป็นไปตามเหตุ และผล * สืบสาวจากผลไปหาเหตุ แล้วแก้ไข และทำการที่ต้นเหตุ จัดเป็น ๒ คู่ คือ

คู่ที่ ๑: ทุกข์เป็นผล เป็นตัวปัญหา เป็นสถานการณ์ที่ประสบ ซึ่งไม่ต้องการ

สมุทัยเป็นเหตุ เป็นที่มาของปัญหา เป็นตัวการ ที่ต้องกำจัดหรือแก้ไข จึงจะพ้นปัญหา

คู่ที่ ๒: นิโรธเป็นผล เป็นภาวะสิ้นปัญหา เป็นจุดหมาย ซึ่งต้องการจะเข้าถึง

มรรคเป็นเหตุ เป็นวิธีการ เป็นข้อปฏิบัติ ที่ต้องกระทำในการแก้ไขปัญหา เพื่อบรรลุจุดหมาย คือ ภาวะสิ้นปัญหา อันได้แก่ ความดับทุกข์

๒) เป็นวิธีคิดที่ตรงจุดตรงเรื่อง ตรงไปตรงมา มุ่งตรงต่อสิ่งที่จะต้องทำต้องปฏิบัติต้องเกี่ยวข้องของชีวิต ใช้แก้ปัญหา ไม่ฟุ้งซ่านออกไปในเรื่องฟุ้งเฟ้อ ที่สักว่าคิดเพื่อสนองตัณหา มานะ ทิฏฐิ ซึ่งไม่อาจนำมาใช้ปฏิบัติ ไม่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา* (พึงดู จูฬมาลุงกโยวาทสูตร ม.ม.13/147-152/143-153)

ที่อ้างอิง *
*พึงระวังว่า เหตุ และผล (cause and effect) เป็นคนละอย่างกับ เหตุผล (reason)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้กล่าวแล้วว่า วิธีคิดแบบนี้ รับกัน หรือ ต่อเนื่องกัน กับ วิธีคิดแบบที่ ๓ กล่าว คือ เมื่อประสบปัญหา ได้รับความทุกข์ และเมื่อสามารถวางใจวางท่าทีต่อสถานการณ์ได้อย่างถูกต้องตามวิธีคิดแบบที่ ๓ ขั้นที่ ๑ แล้ว
ต่อจากนั้น เมื่อจะปฏิบัติด้วยปัญญา เพื่อแก้ไขปัญหาตามวิธีปฏิบัติขั้นที่ ๒ ของวิธีการคิดแบบที่ ๓ นั้น พึงดำเนินความคิดในส่วนรายละเอียดขยายออกไปตามขั้นตอน อย่างที่แสดงในวิธีการคิดแบบที่ ๔ นี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการ หรือ สาระสำคัญของวิธีคิดแบบอริยสัจ ก็คือ การเริ่มต้นจากปัญหา หรือ ความทุกข์ที่ประสบ โดยกำหนดรู้ ทำความเข้าใจปัญหา คือ ความทุกข์ให้ชัดเจน แล้วสืบค้นหาสาเหตุ เพื่อเตรียมแก้ไข
ในเวลาเดียวกัน กำหนดเป้าหมายของตนให้แน่ชัดว่า คือ อะไร จะเป็นไปได้หรือไม่ และเป็นไปได้อย่างไร แล้วคิดวางวิธีปฏิบัติ ที่จะกำจัดสาเหตุของปัญหา โดยสอดคล้องกับการที่จะบรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้นั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการคิดตามวิธีนี้ จะต้องตระหนักถึงกิจ หรือหน้าที่ ที่พึงปฏิบัติต่ออริยสัจแต่ละข้ออย่างถูกต้องด้วย เพื่อให้มองเห็นเค้าความ ในเรื่องนี้ จะกล่าวถึงหลักอริยสัจ และวิธีปฏิบัติเป็นขั้นๆ โดยย่อ ดังนี้

ขั้นที่ ๑ ทุกข์ คือ สภาพปัญหา ความคับข้อง ติดขัด กดดัน บีบคั้น บกพร่อง ที่เกิดมีแก่ชีวิต หรือที่คนได้ประสบ ซึ่งว่า อย่างกว้างที่สุด ก็คือ ภาวะที่สังขาร หรือ นามรูป หรือ ขันธ์ ๕ หรือ โลก และชีวิต ตกอยู่ใต้อำนาจกฎธรรมดา เป็นของไม่เที่ยงแท้ คงที่ ถูกเหตุปัจจัยต่างๆ กดดันบีบคั้น และขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตน ที่อยู่ในอำนาจครอบครองบังคับได้จริง จึงขัดขืนความอยากความยึดถือ บีบคั้นใจ ที่ไม่ได้ตามปรารถนา

สำหรับทุกข์ นี้ เรามีหน้าที่เพียงกำหนดรู้ คือ ทำความเข้าใจ และกำหนดขอบเขตให้ชัด เหมือนอย่างแพทย์ กำหนดรู้ หรือ ตรวจให้รู้ว่าเป็นอาการโรคอะไร เป็นที่ไหน หน้าที่นี้ เรียกว่า ปริญญา

เราไม่มีหน้าที่เอาทุกข์มาครุ่นคิด มาแบกไว้ หรือ คิดขัดเคือง เป็นปฏิปักษ์กับความทุกข์ หรือห่วงกังวล อยากหายทุกข์ เพราะคิดอย่างนั้น มีแต่จะทำให้ทุกข์เพิ่มขึ้น เราอยากแก้ทุกข์ได้ แต่เราก็แก้ทุกข์ด้วยความอยากไม่ได้ เราต้องแก้ด้วยรู้มัน และกำจัดเหตุของมัน ดังนั้น จะอยากไปก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่โทษเพิ่มขึ้น

ขั้นนี้ นอกจากกำหนดรู้แล้ว ก็เพียงวางใจวางท่าทีแบบรู้เท่าทันคติธรรมดาอย่างที่กล่าวแล้วในขั้นที่ ๑ ของวิธีที่สาม เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ หรือ เข้าใจปัญหา เรียกว่า ทำปริญญาแล้ว ก็เป็นอันปฏิบัติหน้าที่ต่อทุกข์ หรือ ต่อปัญหาเสร็จแล้ว พึงก้าวไปสู่ขั้นที่ ๒ ทันที

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำตัวอย่างภาคปฏิบัติแทรกเทียบ คคห.บนไว้อีกด้วย นู๋เมโลกซวยช่วยมาค้านที :b14: ลุงชอบให้คนค้าน คิกๆๆ

นั่งสมาธิแล้วเหมือนมีแมลงไต่ รู้สึกกลัว

เดี๋ยวนี้ไม่ได้นั่งสมาธิเลยค่ะ กลัวอะไรก็บอกไม่ถูก เมื่อก่อนเวลานั่งสักพัก รู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่อยู่ที่ขา ลูบดูก็ไม่มี
วันต่อๆ มาก็เป็นอีก จุดเดิม ที่เดิม เหมือนเดินไต่ไปเรื่อยๆ แต่รู้ว่ามันไม่มีอะไรไต่จริง แต่ก็ไม่รู้มันคืออะไร บางครั้ง ก็ได้ยินเสียงดัง "ปัง" ดังมากด้วย เหมือนอะไรตกบนบ้าน แต่ถามแม่ แม่กลับไม่ได้ยิน

ตอนนี้ กลับมาคิด สมัยเด็กๆ เล็กๆ ชอบจับแมลงมาหักขา พวกแมงมุมขายาวๆ ที่อยู่ตามเพดาน เจอเป็นจับมาหักขาหมด ตอนนั้นไม่รู้อะไรควรไม่ควร โตมาพอรู้ความรู้สึกแย่มากๆ ค่ะ รู้สึกผิดกับพวกเค้า เค้าคงทรมานมากๆ ถึงจะเป็นแมลงตัวเล็กๆ แต่ก็รู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เคยทำลงไปมากจริงๆ จะเกี่ยวกันรึเปล่าก็ไม่รู้ค่ะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ขั้นที่ ๒ สมุทัย คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือ สาเหตุของปัญหา ได้แก่ เหตุปัจจัยต่างๆ ที่เข้าสัมพันธ์ขัดแย้งส่งผลสืบทอดกันมา จนปรากฎเป็นสภาพบีบคั้น กดดัน คับข้อง ติดขัด อึดอัด บกพร่อง ในรูปต่างๆ แปลกๆ กันไป อันจะต้องค้นหาให้พบ แล้วทำหน้าที่ต่อมันให้ถูกต้อง คือ ปหาน ได้แก่ กำจัด หรือ ละเสีย

ตัวเหตุแกนกลางที่ยืนพื้น หรือ ยืนโรงกำกับชีวิตอยู่ คู่กับความทุกข์พื้นฐานของมนุษย์ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ทั้งระดับตัวแสดงหน้าโรง คือ ตัณหา * และระดับเต็มกระบวน หรือเต็มโรง คือ การสัมพันธ์สืบทอดกันแห่งเหตุปัจจัย เริ่มแต่ อวิชชา ตามหลักปฏิจจสมุปบาท *

เมื่อประสบทุกข์ หรือ ปัญหาจำเพาะแต่ละกรณี ก็คือต้องพิจารณาสืบสาวหาสาเหตุ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ใช้วิธีคิดแบบที่ ๑ ถ้าเป็นปัญหาเกี่ยวกับปัจจัยด้านมนุษย์ ก็พึงนำเอาตัวเหตุแกนกลาง หรือเหตุยืนโรงมาพิจารณาร่วมกับเหตุปัจจัยเฉพาะกรณีด้วย เมื่อสืบค้น วิเคราะห์ และวินิจฉัย จับมูลเหตุของปัญหา ซึ่งจะต้องกำจัด หรือ แก้ไขได้แล้ว ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการคิดขั้นที่สอง


ที่อ้างอิง * สองที่

* แสดงตัณหา เป็นทุกขสมุทัย เช่น วินย. 4/14/18 ฯลฯ

*แสดงกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาท เริ่มแต่อวิชชา เป็นทุกขสมุทัย เช่น องฺ.ติก. 20/501/227 และพุทธพจน์แสดงหลักปฏิจจสมุปาททุกแห่ง ที่ลงท้ายว่า เอวเมตสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 01:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
นำตัวอย่างภาคปฏิบัติแทรกเทียบ คคห.บนไว้อีกด้วย นู๋เมโลกซวยช่วยมาค้านที :b14: ลุงชอบให้คนค้าน คิกๆๆ

นั่งสมาธิแล้วเหมือนมีแมลงไต่ รู้สึกกลัว

เดี๋ยวนี้ไม่ได้นั่งสมาธิเลยค่ะ กลัวอะไรก็บอกไม่ถูก เมื่อก่อนเวลานั่งสักพัก รู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่อยู่ที่ขา ลูบดูก็ไม่มี
วันต่อๆ มาก็เป็นอีก จุดเดิม ที่เดิม เหมือนเดินไต่ไปเรื่อยๆ แต่รู้ว่ามันไม่มีอะไรไต่จริง แต่ก็ไม่รู้มันคืออะไร บางครั้ง ก็ได้ยินเสียงดัง "ปัง" ดังมากด้วย เหมือนอะไรตกบนบ้าน แต่ถามแม่ แม่กลับไม่ได้ยิน

ตอนนี้ กลับมาคิด สมัยเด็กๆ เล็กๆ ชอบจับแมลงมาหักขา พวกแมงมุมขายาวๆ ที่อยู่ตามเพดาน เจอเป็นจับมาหักขาหมด ตอนนั้นไม่รู้อะไรควรไม่ควร โตมาพอรู้ความรู้สึกแย่มากๆ ค่ะ รู้สึกผิดกับพวกเค้า เค้าคงทรมานมากๆ ถึงจะเป็นแมลงตัวเล็กๆ แต่ก็รู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เคยทำลงไปมากจริงๆ จะเกี่ยวกันรึเปล่าก็ไม่รู้ค่ะ


คริคริ

“ภิกษุนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่า ทุกข์คือดังนี้ "

พระพุทธองค์ ตรัสว่า อริยะสัจสี่ ก็คือ ความจริงอันประเสริฐ ไงค๊ะ

รู้ป่าว ว่าเจอสิ่งประเสริฐยิ่ง เข้าแล้ว ?

แค่นี้ นี่แหละ ภาคปฎิบัติ ของพระอริยะ สุขในธรรม ยิ้ม ได้ทันตาเห็น ด้วยปัญญายิ่ง

มัวแต่มาถามลุงกรัชกาย ปฎิบัติก็ไม่เป็น อีกสิบปี ก็ยิ้มไม่ออก เวลาเจอทุกข์ เห็นทุกข์

“เมื่อเธอมนสิการโดยแยบคายอยู่อย่างนี้ สังโยชน์ ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ย่อมถูกละเสียได้” (ม.มู.12/12/16)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 05:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขั้นที่ ๓ นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ความพ้นทุกข์ ภาวะไร้ทุกข์ ภาวะพ้นปัญหา หมด หรือ ปราศจากปัญหา เป็นจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งเรามีหน้าที่ สัจฉิกิริยา หรือ ประจักษ์แจ้ง ทำให้เป็นจริง ทำให้สำเร็จ หรือ ลุถึง

ในขั้นนี้ จะต้องกำหนดได้ ว่า จุดหมายที่ต้องการ คืออะไร การที่ปฏิบัติอยู่นี้ หรือ จะปฏิบัติ เพื่ออะไร จะทำกันไปไหน จุดหมายนั้นเป็นไปได้หรือไม่ เป็นไปได้อย่างไร มีหลักการในการเข้าถึงอย่างไร มีจุดหมายรอง หรือจุดหมายลดหลั่นแบ่งเป็นขั้นตอนในระหว่างได้อย่างไรบ้าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขั้นที่ ๔ มรรค คือ ทางดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือ วิธีแก้ไข ปัญหา ได้แก่ วิธีการ และรายละเอียดสิ่งที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยของปัญหา ให้เข้าถึงจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งเรามีหน้าที่ ภาวนา คือปฏิบัติ หรือ ลงมือทำ

สิ่งที่พึงทำในขั้นของความคิด ก็คือ กำหนดวางวิธีการ แผนการ และรายการสิ่งที่จะต้องทำ ซึ่งจะช่วยให้แก้ไขสาเหตุของปัญหาได้สำเร็จ โดยสอดคล้องกับจุดหมายที่ต้องการ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
นำตัวอย่างภาคปฏิบัติแทรกเทียบ คคห.บนไว้อีกด้วย นู๋เมโลกซวยช่วยมาค้านที :b14: ลุงชอบให้คนค้าน คิกๆๆ

นั่งสมาธิแล้วเหมือนมีแมลงไต่ รู้สึกกลัว

เดี๋ยวนี้ไม่ได้นั่งสมาธิเลยค่ะ กลัวอะไรก็บอกไม่ถูก เมื่อก่อนเวลานั่งสักพัก รู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่อยู่ที่ขา ลูบดูก็ไม่มี
วันต่อๆ มาก็เป็นอีก จุดเดิม ที่เดิม เหมือนเดินไต่ไปเรื่อยๆ แต่รู้ว่ามันไม่มีอะไรไต่จริง แต่ก็ไม่รู้มันคืออะไร บางครั้ง ก็ได้ยินเสียงดัง "ปัง" ดังมากด้วย เหมือนอะไรตกบนบ้าน แต่ถามแม่ แม่กลับไม่ได้ยิน

ตอนนี้ กลับมาคิด สมัยเด็กๆ เล็กๆ ชอบจับแมลงมาหักขา พวกแมงมุมขายาวๆ ที่อยู่ตามเพดาน เจอเป็นจับมาหักขาหมด ตอนนั้นไม่รู้อะไรควรไม่ควร โตมาพอรู้ความรู้สึกแย่มากๆ ค่ะ รู้สึกผิดกับพวกเค้า เค้าคงทรมานมากๆ ถึงจะเป็นแมลงตัวเล็กๆ แต่ก็รู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เคยทำลงไปมากจริงๆ จะเกี่ยวกันรึเปล่าก็ไม่รู้ค่ะ


คริคริ

“ภิกษุนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่า ทุกข์คือดังนี้ "

พระพุทธองค์ ตรัสว่า อริยะสัจสี่ ก็คือ ความจริงอันประเสริฐ ไงค๊ะ

รู้ป่าว ว่าเจอสิ่งประเสริฐยิ่ง เข้าแล้ว ?

แค่นี้ นี่แหละ ภาคปฎิบัติ ของพระอริยะ สุขในธรรม ยิ้ม ได้ทันตาเห็น ด้วยปัญญายิ่ง

มัวแต่มาถามลุงกรัชกาย ปฎิบัติก็ไม่เป็น อีกสิบปี ก็ยิ้มไม่ออก เวลาเจอทุกข์ เห็นทุกข์

“เมื่อเธอมนสิการโดยแยบคายอยู่อย่างนี้ สังโยชน์ ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ย่อมถูกละเสียได้” (ม.มู.12/12/16)




จับคู่ตัวอย่างนั่นใหม่ ดังนี้

ขั้นที่ ๑ ทุกข์ คือ สภาพปัญหา ความคับข้อง ติดขัด กดดัน บีบคั้น บกพร่อง ที่เกิดมีแก่ชีวิต หรือที่คนได้ประสบ ซึ่งว่า อย่างกว้างที่สุด ก็คือ ภาวะที่สังขาร หรือ นามรูป หรือ ขันธ์ ๕ หรือ โลก และชีวิต ตกอยู่ใต้อำนาจกฎธรรมดา เป็นของไม่เที่ยงแท้ คงที่ ถูกเหตุปัจจัยต่างๆ กดดันบีบคั้น และขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตน ที่อยู่ในอำนาจครอบครองบังคับได้จริง จึงขัดขืนความอยากความยึดถือ บีบคั้นใจ ที่ไม่ได้ตามปรารถนา

สำหรับทุกข์ นี้ เรามีหน้าที่เพียงกำหนดรู้ คือ ทำความเข้าใจ และกำหนดขอบเขตให้ชัด เหมือนอย่างแพทย์ กำหนดรู้ หรือ ตรวจให้รู้ว่าเป็นอาการโรคอะไร เป็นที่ไหน หน้าที่นี้ เรียกว่า ปริญญา

เราไม่มีหน้าที่เอาทุกข์มาครุ่นคิด มาแบกไว้ หรือ คิดขัดเคือง เป็นปฏิปักษ์กับความทุกข์ หรือห่วงกังวล อยากหายทุกข์ เพราะคิดอย่างนั้น มีแต่จะทำให้ทุกข์เพิ่มขึ้น เราอยากแก้ทุกข์ได้ แต่เราก็แก้ทุกข์ด้วยความอยากไม่ได้ เราต้องแก้ด้วยรู้มัน และกำจัดเหตุของมัน ดังนั้น จะอยากไปก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่โทษเพิ่มขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 05:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
นำตัวอย่างภาคปฏิบัติแทรกเทียบ คคห.บนไว้อีกด้วย นู๋เมโลกซวยช่วยมาค้านที :b14: ลุงชอบให้คนค้าน คิกๆๆ

นั่งสมาธิแล้วเหมือนมีแมลงไต่ รู้สึกกลัว

เดี๋ยวนี้ไม่ได้นั่งสมาธิเลยค่ะ กลัวอะไรก็บอกไม่ถูก เมื่อก่อนเวลานั่งสักพัก รู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่อยู่ที่ขา ลูบดูก็ไม่มี
วันต่อๆ มาก็เป็นอีก จุดเดิม ที่เดิม เหมือนเดินไต่ไปเรื่อยๆ แต่รู้ว่ามันไม่มีอะไรไต่จริง แต่ก็ไม่รู้มันคืออะไร บางครั้ง ก็ได้ยินเสียงดัง "ปัง" ดังมากด้วย เหมือนอะไรตกบนบ้าน แต่ถามแม่ แม่กลับไม่ได้ยิน

ตอนนี้ กลับมาคิด สมัยเด็กๆ เล็กๆ ชอบจับแมลงมาหักขา พวกแมงมุมขายาวๆ ที่อยู่ตามเพดาน เจอเป็นจับมาหักขาหมด ตอนนั้นไม่รู้อะไรควรไม่ควร โตมาพอรู้ความรู้สึกแย่มากๆ ค่ะ รู้สึกผิดกับพวกเค้า เค้าคงทรมานมากๆ ถึงจะเป็นแมลงตัวเล็กๆ แต่ก็รู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เคยทำลงไปมากจริงๆ จะเกี่ยวกันรึเปล่าก็ไม่รู้ค่ะ


คริคริ

“ภิกษุนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่า ทุกข์คือดังนี้ "

พระพุทธองค์ ตรัสว่า อริยะสัจสี่ ก็คือ ความจริงอันประเสริฐ ไงค๊ะ

รู้ป่าว ว่าเจอสิ่งประเสริฐยิ่ง เข้าแล้ว ?

แค่นี้ นี่แหละ ภาคปฎิบัติ ของพระอริยะ สุขในธรรม ยิ้ม ได้ทันตาเห็น ด้วยปัญญายิ่ง

มัวแต่มาถามลุงกรัชกาย ปฎิบัติก็ไม่เป็น อีกสิบปี ก็ยิ้มไม่ออก เวลาเจอทุกข์ เห็นทุกข์


“เมื่อเธอมนสิการโดยแยบคายอยู่อย่างนี้ สังโยชน์ ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ย่อมถูกละเสียได้” (ม.มู.12/12/16)


สิ่งใดๆจะประเสริฐก็ต่อเมื่อตนเองรู้จักเข้าใจสิ่งนั้นๆก่อน เมื่อรู้เข้าใจใช้เป็นแล้วนั่นแหละประเสริฐ :b32:

อริยสัจ แปลว่า ความจริงของพระอริยะ เพราะพระอริยะท่านเห็นทุกข์เข้าใจทุกข์ รู้ต้นเหตุของทุกข์แล้ว รู้วิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทาง คือ ความพ้นทุกข์ คือว่า ท่านรู้เต็มกระบวนแล้ว จึงเรียกว่า ความจริงของอริยชน ที่ไม่คลาดเคลื่อนเลื่อนลอยอีกต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: หัวข้อนี้จบแล้ว :b48:

แต่การถกเถียงกัน ยังว่ากันได้เรื่อยๆ :b13: :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2019, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
นำตัวอย่างภาคปฏิบัติแทรกเทียบ คคห.บนไว้อีกด้วย นู๋เมโลกซวยช่วยมาค้านที :b14: ลุงชอบให้คนค้าน คิกๆๆ

นั่งสมาธิแล้วเหมือนมีแมลงไต่ รู้สึกกลัว

เดี๋ยวนี้ไม่ได้นั่งสมาธิเลยค่ะ กลัวอะไรก็บอกไม่ถูก เมื่อก่อนเวลานั่งสักพัก รู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่อยู่ที่ขา ลูบดูก็ไม่มี
วันต่อๆ มาก็เป็นอีก จุดเดิม ที่เดิม เหมือนเดินไต่ไปเรื่อยๆ แต่รู้ว่ามันไม่มีอะไรไต่จริง แต่ก็ไม่รู้มันคืออะไร บางครั้ง ก็ได้ยินเสียงดัง "ปัง" ดังมากด้วย เหมือนอะไรตกบนบ้าน แต่ถามแม่ แม่กลับไม่ได้ยิน

ตอนนี้ กลับมาคิด สมัยเด็กๆ เล็กๆ ชอบจับแมลงมาหักขา พวกแมงมุมขายาวๆ ที่อยู่ตามเพดาน เจอเป็นจับมาหักขาหมด ตอนนั้นไม่รู้อะไรควรไม่ควร โตมาพอรู้ความรู้สึกแย่มากๆ ค่ะ รู้สึกผิดกับพวกเค้า เค้าคงทรมานมากๆ ถึงจะเป็นแมลงตัวเล็กๆ แต่ก็รู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เคยทำลงไปมากจริงๆ จะเกี่ยวกันรึเปล่าก็ไม่รู้ค่ะ


คริคริ

“ภิกษุนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่า ทุกข์คือดังนี้ "

พระพุทธองค์ ตรัสว่า อริยะสัจสี่ ก็คือ ความจริงอันประเสริฐ ไงค๊ะ

รู้ป่าว ว่าเจอสิ่งประเสริฐยิ่ง เข้าแล้ว ?

แค่นี้ นี่แหละ ภาคปฎิบัติ ของพระอริยะ สุขในธรรม ยิ้ม ได้ทันตาเห็น ด้วยปัญญายิ่ง

มัวแต่มาถามลุงกรัชกาย ปฎิบัติก็ไม่เป็น อีกสิบปี ก็ยิ้มไม่ออก เวลาเจอทุกข์ เห็นทุกข์


“เมื่อเธอมนสิการโดยแยบคายอยู่อย่างนี้ สังโยชน์ ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ย่อมถูกละเสียได้” (ม.มู.12/12/16)



ให้ดูเคสที่ยากขึ้นอีกหน่อย :b1:

ได้ยินเสียงด่าตัวเอง

นั่งสมาธินั่งดูลม แล้วมามองกระจกแบบใช้ตาเพ่ง. กระจกมันบิดไปบิดมา บางทีก็ได้ยินเสียงคนพูดถึงเรืองที่ผมคิด แต่มองไม่เห็นคน ตอนนี้เพี้ยนครับ อาการแบบนี้เขาเรียกจิตหลอกรึเปล่า ตอนนี้ลำบากมาก หนวกหูเสียงด่ามาเป็นอาทิตย์แล้วครับ ได้ยินเสียงความคิดของตัวเองอีก หนวกหูมาก พอจะมีวิธีแก้ใหมครับ.


นู๋เมโลกซวย ว่าประเสริฐหรือยัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 57 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร