วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 18:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์

วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ หรือ วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา คือ มองอย่างรู้เท่าทันความเป็นอยู่เป็นไปของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ ตามธรรมดาของมันเอง โดยเฉพาะก็มุ่งที่ประดาสัตว์ และสิ่งที่คนทั่วไปจะรู้เข้าใจถึงได้ ในฐานะที่มันเป็นสิ่ง ซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆ ปรุงแต่งขึ้น จะต้องเป็นไป ตามเหตุปัจจัย

ธรรมดาที่ว่านั้น ได้แก่ อาการที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็จะต้องดับไป ไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ไม่คงอยู่ตลอดไป เรียกว่าเป็น อนิจจัง

ธรรมดานั้นเช่นกัน คือ อาการที่ปัจจัยทั้งหลายทั้งภายใน และภายนอกทุกอย่าง ต่างก็เกิดดับ เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาเสมอเหมือนกัน เมื่อเข้ามาสัมพันธ์กัน จึงเกิดความขัดแย้ง ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีสภาวะถูกบีบคั้นกดดัน ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ จะต้องมีความแปรปรวนเปลี่ยนสลาย เรียกว่าเป็น ทุกข์

ธรรมดานั้นเอง มีพร้อมอยู่ด้วยว่า ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเป็นสภาวะ คือ มีภาวะของมันเอง ดังเช่นเป็นสังขาร ที่ต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย มันก็ไม่อาจเป็นของใคร ไม่อาจเป็นไปตามความปรารถนาของใคร ไม่มีใครเอาความคิดความอยากบังคับมันได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของครอบครองมันได้จริง เช่นเดียวกับที่ไม่อาจมีตัวตนขึ้นมา ไม่ว่าข้างนอกหรือข้างในมัน ที่จะสั่งการบัญชาบังคับอะไรๆ ได้จริง เพราะมันเป็นอยู่ของมันตามธรรมดา โดยเป็นสังขารที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เป็นไปตามความอยากของใคร เรียกว่าเป็น อนัตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมความคือ รู้เท่าทันว่า สิ่งทั้งหลายที่รู้จักเข้าใจไปเกี่ยวข้องด้วยนั้น เป็นธรรมชาติ ซึ่งมีลักษณะความเป็นไปโดยทั่วไปเสมอเหมือนกันตามธรรมดาของมัน ในฐานะที่เป็นของปรุงแต่ง เกิดจากเหตุปัจจัย และขึ้นต่อเหตุปัจจัยทั้งหลายเช่นเดียวกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีคิดแบบสามัญลักษณะ นี้ แบ่งได้เป็น ๒ ขั้นตอน

ขั้นที่หนึ่ง คือ รู้เท่าทัน และยอมรับความจริง เป็นขั้นวางใจ วางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลาย โดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นท่าทีแห่งปัญญา ท่าทีแห่งความเป็นอิสระ ไม่ถูกมัดตัว

แม้เมื่อประสบสถานการณ์ที่ไม่ปรารถนา หรือ มีเรื่องราวไม่น่าพึงใจเกิดขึ้นแล้ว คิดขึ้นได้ว่า สิ่งนั้นๆ เหตุการณ์นั้นๆ เป็นไปตามคติธรรมดา เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน คิดได้อย่างนี้ ก็เป็นท่าทีแห่งการปลงตก ถอนตัวขึ้นได้ หายจากความทุกข์ หรือ อย่างน้อยก็ทำให้ทุกข์นั้นบรรเทาลง

ไวขึ้นไปอีก เมื่อประสบสถานการณ์มีเรื่องราวเช่นนั้นเกิดขึ้น เพียงตั้งจิตสำนึกขึ้นได้ในเวลานั้น ว่า เราจะมองตามความเป็นจริง ไม่มองตามอยากให้เป็น หรือ อยากไม่ให้เป็น การที่จะเป็นทุกข์ ก็ผ่อนคลายลงทันที เพราะเปลื้องตัวเป็นอิสระได้ ไม่เอาตัวเข้าไปให้ถูกกดถูกบีบ (ความจริงคือไม่สร้างตัวตนขึ้นให้ถูกกดถูกบีบ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขั้นที่สอง คือ แก้ไขและทำการไปตามเหตุปัจจัย เป็นขั้นปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลาย โดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นการปฏิบัติด้วยปัญญา ด้วยความรู้เท่าทัน เป็นอิสระ ไม่ถูกมัดตัว

ความหมายในข้อนี้ คือ เมื่อรู้อยู่แล้วว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย เราต้องการให้เป็นไปอย่างไร ก็ศึกษาให้รู้เข้าใจเหตุปัจจัยทั้งหลาย ที่จะทำให้มันเป็นอย่างนั้น แล้วแก้ไข ทำการ จัดการที่ตัวเหตุปัจจัยเหล่านั้น
เมื่อทำเหตุปัจจัยพร้อมบริบูรณ์ที่จะให้มันเป็นอย่างนั้นแล้ว ถึงเราจะอยากหรือไม่อยาก มันก็จะต้องเป็นไปอย่างนั้น เมื่อเหตุปัจจัยไม่พร้อมที่จะให้เป็น ถึงเราจะอยาก หรือไม่อยาก มันก็จะไม่เป็นอย่างนั้น
กล่าวสั้น คือ แก้ไขด้วยความรู้ และแก้ที่ตัวเหตุปัจจัย ไม่ใช่แก่ด้วยความอยาก

ในทางปฏิบัติ ก็เพียงแต่กำหนดรู้ความอยากของตน และกำหนดรู้เหตุปัจจัย แล้วแก้ไข กระทำการที่เหตุปัจจัย
เมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ ก็ถอนตัวเป็นอิสระได้ ไม่ถูกความอยากพาตัว (ความจริงคือตัวสร้าง) เข้าไปให้ถูกกดถูกบีบ เป็นการปฏิบัติไม่ถูกมัดตัว เป็นอันว่า ทั้งทำการตรงตามเหตุปัจจัย และทั้งปล่อยให้สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นวิธีปฏิบัติที่ทั้งได้ผลดีที่สุด และตนเองก็ไม่เป็นทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ตาม การกำหนดแบบนั้น
ยังมีสายใยแห่งพันธนาการโยงใยไปอยู่

การกำหนดรู้ความอยากของตน ในการรู้ตาม แบบนั้น
ความเบา ความอิสระ ความเบา สบาย จะมีมากกว่า การที่ถูกมัดติดอยู่กับหลัก

สายโยงแห่งพันธนาการ จะเริ่มขาดลง เพื่อถึงความรู้เท่าทัน
จะพบสภาพธรรม ที่เป็นอิสระ มากกว่าเดิม

เป็นจุดที่เริ่ม จะเดินเข้าไปสู่ปรมัตถ์ลักษณะ ที่กำลังเกิด กำลังมี

เดินไปตามมรรคค่ะ

smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้มองเห็นภาพ จำต้องมีตัวอย่างประกอบ

นั่งสมาธิแล้วรู้สึกว่าตัวลอย

คืองี้ค่ะ ช่วงนึงของการทำสมาธิไปได้ซักครู่ คืออยู่ดีๆ รู้สึกเหมือนมันหวิวๆ ที่ท้องแล้วเราก็จะเห็นว่า เราลอยขึ้นเหมือนลูกโป่ง จากพื้นดินขึ้นไปในอากาศ มองลงมาเห็นทุ่งนาเหมือนพรม หลังคาบ้านเล็กๆ (เปรียบเทียบเหมือนเครื่องบินกำลัง เทคออฟ) ตอนก่อนที่เราจะลอย อาการในสมาธิจะเหมือนเวียนหัว มันหมุนๆ แล้วจะเหมือนความรู้สึกแบบ ใจหาย (ก่อนหน้านี้เคยเป็นครั้งนึง แต่ตอนนั้นตกใจ ตอนตัวกำลังจะลอย แล้วรีบลืมตาออกจากสมาธิทันที) แต่คราวนี้ลองอดทนพยายามไม่ตกใจแล้วรอดูว่าจะเกิดอะไรต่อไป... ความรู้สึกตอนที่ลอยอยู่ รู้สึกกลัวความสูง ลอยแบบสูงขึ้นๆ ไร้การควบคุม (แต่ตอนอยู่ในเครื่องบิน กลับชอบดูวิวข้างล่างซะงั้น)

ทีนี้ พอซักพักนึง เราก็ค่อยๆ โผล่ขึ้นมาอยู่เหนือแนวเมฆ คือ มองลงไปข้างล่าง เห็นกลุ่มปุยเมฆเป็นพื้นแทนพื้นดิน มองขึ้นไปรอบๆ ท้องฟ้าเป็นสีขาว แต่จะมีอยู่บริเวณนึง เป็นสีออกม่วงอ่อนผสมแดงอ่อนๆ คล้ายเวลาที่อาทิตย์จะตกดิน แต่ไม่เห็นดวงอาทิตย์นะคะ แล้วก็ลอยเคว้งอยู่อย่างนั้นไปเรื่อยๆ

เราอยากพิสูจน์ว่า นี่เราตัวลอยจริงหรือหลอก เราแอบขยับก้นดู ก็ปรากฏว่า ตัวเราก็ยังนั่งอยู่นี่นา แต่ในใจมันหวิวๆท้องอ่ะค่ะ (เปรียบเทียบกับเวลาเรานั่งรถลงจากสะพาน หรือ ถนนที่ลาดชันลงมา มันจะรู้สึกวูบๆ หวิวตรงท้อง อย่างงั้นเลยค่ะ)

คำถามค่ะ...
- อาการแบบนี้ในสมาธิ เรียกว่าอะไรคะ?
- อาการนี้ใช่ จิตหลุด ไหมคะ?

- ถ้ามีอาการอย่างนี้อีก เราควรทำอย่างไร ต้องกำหนดอะไรไหมคะ? (ตั้งแต่นั่งสมาธิมาประมาณเดือนนึง มีอาการลอยแบบนี้สองสามครั้ง)
- มีใครเป็นแบบเราบ้างไหมคะ?

จิตหลุดจากอารมณ์ปัจจุบัน (กรรมฐาน) เมื่อจิตไม่อยู่กับลมเข้าลมออก แต่ละขณะๆ มันก็คิดเลือนลอยไปนั่นมานี่ บางคนไปสวรรค์ว่าไปนั่งกรรมฐานอยู่บนสวรรค์กับหลวงปู่ที่ตนนับถือ :b1: แต่ปล่าหรอกไม่ได้ไปไหนหรอก ก็นั่งอยู่ที่เดิมนั่นแหละ แต่จิตไม่อยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน คือ กรรมฐาน หรือ ลมหายใจเข้า หายใจออก หรือ พอง กับ ยุบ แต่ละขณะๆไป

ควรทำอย่างไร คือ กำหนดอย่างไร ?

ก็กำหนดตามที่เห็น ที่เป็น เห็นยังไง กำหนดยังงั้น รู้สึกเป็นยังไง พึงกำหนดอย่างนั้น ไม่ใช่ปล่อยไปเรื่อยเปื่อย วิธีกำหนดก็เช่น ตัวลอยหนอ หวิวๆหนอ ไม่ใช่ไปคิดทำอย่างนั้นอย่างนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ



การปฏิบัติตามวิธีคิดแบบที่ ๓ ในขั้นที่สองนี้ สัมพันธ์กับวิธีคิดแบบที่ ๔ ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า กล่าวคือ ใช้วิธีคิดแบบที่ ๔ มารับช่วงต่อไป

ในการเจริญวิปัสสนา ตามประเพณีปฏิบัติ ซึ่งได้วางกันไว้เป็นแบบแผนดังบรรยายไว้ในขั้นอรรถกถา ท่านถือหมวดธรรม คือ วิสุทธิ ๗ เป็นแม่บท * (รถวินีตสูตร ม.มู. 12/292-300/287-297) เอาลำดับญาณที่แสดงไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์เป็นมาตรฐาน * (ญาณกถา ขุ.ปฏิ.31/1/1 ฯลฯ) และยึดวิธีจำแนกปรากฏการณ์โดยนามรูปเป็นข้อพิจารณาขั้นพื้นฐาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามหลักการนี้ ท่านได้จัดวางข้อปฏิบัติ คือ การเจริญวิปัสสนานั้น เป็นระบบที่มีขั้นตอนแน่นอนต่อเนื่อง เป็นลำดับ และวิธีคิด ๓ แบบที่กล่าวมาแล้วนี้ ท่านก็นำไปจัดเข้าเป็นขั้นตอนอยู่ในลำดับด้วย โดยจัดให้เป็นวิธีคิดพิจารณาที่ต่อเนื่องเป็นชุดเดียวกัน แต่ลำดับของท่านนั้น ไม่ตรงกับลำดับข้อในที่นี้ทีเดียวนัก กล่าวคือ * (วิสุทฺธิ.3/206-274 ฯลฯ)

ลำดับที่ ๑ ใช้วิธีคิดแบบแยกแยะ หรือ วิเคราะห์องค์ประกอบ (วิธีที่ ๒) กำหนดแยกปรากฏการณ์ต่างๆ เป็นนามธรรม กับ รูปธรรม ว่า อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม จำพวกรูปมีอะไรบ้าง จำพวกนามมีอะไรบ้าง มีลักษณะ มีคุณสมบัติเป็นอย่างไรๆ เรียกว่าขั้น นามรูปวิเคราะห์ บ้าง นามรูปววัตถานบ้าง นามรูปปริจเฉท หรือ สังขารปริเฉท บ้าง และจัดเป็น ทิฏฐิวิสุทธิ (วิสุทธิที่ ๓)

ลำดับที่ ๒ ใช้วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย (วิธีที่ ๑) พิจารณาค้นหาเหตุปัจจัยของนามและรูปนั้น ในแง่ต่างๆ เช่น พิจารณาตามแนวปฏิจจสมุปบาท พิจารณาตามแนวอวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม และอาหาร พิจารณาตามแนวกระบวนการรับรู้ (เช่น จักขุวิญญาณ อาศัยจักขุ กับ รูปารมณ์ เป็นต้น) พิจารณาตามแนวกรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ เป็นต้น แต่รวมความแล้ว ก็อยู่ในขอบเขตของปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง เป็นแต่แยกบางแง่ออกไปเน้นพิเศษ

ขั้นนี้ เรียกว่า นามรูปปัจจัยปริคคหะ หรือ เรียกสั้นๆว่า ปัจจัยปริคคหะ (ปัจจัยปริเคราะห์) เมื่อทำสำเร็จ เกิดความรู้เข้าใจ ก็เป็นธรรมฐิติญาณ หรือ ยถาภูตญาณ หรือ สัมมาทัสสนะ จัดเป็น กังขาวิตรณวิสุทธิ (วิสุทธิที่ ๔)

ลำดับที่ ๓ ใช้วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา หรือ วิธีคิดโดยสามัญลักษณ์ (วิธีที่ ๓) นำเอานามรูป หรือ สังขารนั้นมาพิจารณาตามหลักแห่งคติธรรมดาของไตรลักษณ์ ให้เห็นภาวะที่เป็นของ ไม่เที่ยง ไม่คงที่ เป็นอนิจจัง ถูกปัจจัยขัดแย้งบีบคั้น เป็นทุกข์ ไม่มีไม่เป็นโดยตัวของมันเอง ใครๆ เข้ายึดถือเป็นเจ้าของครอบครอง บังคับ ด้วยความอยากไม่ได้ เป็นอนัตตา

ข้อนี้ เรียกว่า สัมมสนญาณ เป็นตอนเบื้องต้นของ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (วิสุทธิข้อที่ ๕)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความอ้างจากบาลี ซึ่งใช้วิธีคิดแบบที่ ๒ และแบบที่ ๓ พิจารณาไปพร้อมๆกัน ขอยกมาให้ดูเพียงเล็กน้อย พอเป็นตัวอย่าง

"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ซึ่งรูป และจง
พิจารณาเห็นอนิจจตาแห่งรูปตามความเป็นจริง...จงมนสิการโดยแยบคายซึ่งเวทนา และจง
พิจารณาเห็นอนิจจตาแห่งเวทนาตามความเป็นจริง...จงมนสิการโดยแยบคายซึ่งสัญญา และจง
พิจารณาเห็นอนิจจตาแห่งสัญญาตามความเป็นจริง...จงมนสิการโดยแยบคายซึ่งสังขาร และจง
พิจารณาเห็นอนิจจตาแห่งสังขารตามความเป็นจริง...จงมนสิการโดยแยบคายซึ่งวิญญาณ และจง
พิจารณาอนิจจตาแห่งวิญญาณตามความเป็นจริง.." * (สํ.ข.17/104/64)

"ภิกษุผู้มีสุตะ พึงมนสิการโดยแยบคาย ซึ่งอุปาทานขันธ์ ๕ โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นของถูกปัจจัยบีบคั้น...โดยความเป็นของมิใช่อัตตา..." * (สํ.ข.17/315/205- วิธีพิจารณาแบบนี้ พึงดูได้ในพระไตรปิฎกบาลีเล่ม ๑๗ เกือบตลอดเล่ม และมีกระจายอยู่มากในเล่มอื่น)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์ต่อไปนี้ แสดงการคิดแบบสืบสาวหาเหตุ ต่อด้วยการคิดแบบสามัญลักษณ์ เพื่อวัตถุประสงค์แห่งการรู้เท่าทันตามความเป็นจริง ให้ใจเป็นอิสระ มิให้เกิดทุกข์

"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ อยู่เถิด

"เมื่อเธอทั้งหลายจะเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง...มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่ ก็พึงพิจารณาโดยแยบคายว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจทั้งหลาย เกิดจากอะไร มีอะไรเป็นแดนเกิด

"ภิกษุทั้งหลาย โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจทั้งหลาย เกิดจากอะไร มีอะไรเป็นแดนเกิด ?
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ขาดสุตะ (ไม่ได้เรียนรู้) มิได้พบเห็นอริยชน ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้ศึกษาในอริยธรรม มิได้พบเห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้ศึกษาในสัปปุริสธรรม
ย่อมมองเห็นรูปเป็นตน มองเห็นตนมีรูป มองเห็นรูปในตน หรือ มองเห็นตนในรูป
รูปของเธอนั้นผันแปรไป กลายเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะการที่รูปผันแปรไป กลายเป็นอื่น

"เขามองเห็นเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ (เป็นอัตตา เป็นต้น อย่างที่กล่าวแล้ว) โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะการที่เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ผันแปรไป กลายเป็นอื่น

"ส่วนภิกษุรู้ชัดว่ารูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เป็นสิ่งไม่เที่ยง แปรปรวนได้ จางหายดับสิ้นได้
มองเห็นตามเป็นจริงด้วยสัมมาปัญญาอย่างนี้ว่า รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ทั้งปวง ล้วนไม่เที่ยง ถูกปัจจัยบีบคั้น มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ทั้งในกาลก่อน ทั้งในบัดนี้ ก็เช่นเดียวกัน
เธอย่อมละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และความผิดหวังคับแค้นใจทั้งหลายได้ เพราะละโสกะ เป็นต้น นั้นได้
เธอย่อมไม่ต้องหวั่นหวาดเสียวใจ เมื่อไม่หวั่นหวาดเสียวใจ ย่อมอยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เรียกได้ว่า ตทังคนิพพานแล้ว" * (สํ.ข.17/87-88/53-55-ตทังคนิพพาน = นิพพานเฉพาะกรณี)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบ :b48: วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ :b54:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เพื่อให้มองเห็นภาพ จำต้องมีตัวอย่างประกอบ

นั่งสมาธิแล้วรู้สึกว่าตัวลอย

คืองี้ค่ะ ช่วงนึงของการทำสมาธิไปได้ซักครู่ คืออยู่ดีๆ รู้สึกเหมือนมันหวิวๆ ที่ท้องแล้วเราก็จะเห็นว่า เราลอยขึ้นเหมือนลูกโป่ง จากพื้นดินขึ้นไปในอากาศ มองลงมาเห็นทุ่งนาเหมือนพรม หลังคาบ้านเล็กๆ (เปรียบเทียบเหมือนเครื่องบินกำลัง เทคออฟ) ตอนก่อนที่เราจะลอย อาการในสมาธิจะเหมือนเวียนหัว มันหมุนๆ แล้วจะเหมือนความรู้สึกแบบ ใจหาย (ก่อนหน้านี้เคยเป็นครั้งนึง แต่ตอนนั้นตกใจ ตอนตัวกำลังจะลอย แล้วรีบลืมตาออกจากสมาธิทันที) แต่คราวนี้ลองอดทนพยายามไม่ตกใจแล้วรอดูว่าจะเกิดอะไรต่อไป... ความรู้สึกตอนที่ลอยอยู่ รู้สึกกลัวความสูง ลอยแบบสูงขึ้นๆ ไร้การควบคุม (แต่ตอนอยู่ในเครื่องบิน กลับชอบดูวิวข้างล่างซะงั้น)

ทีนี้ พอซักพักนึง เราก็ค่อยๆ โผล่ขึ้นมาอยู่เหนือแนวเมฆ คือ มองลงไปข้างล่าง เห็นกลุ่มปุยเมฆเป็นพื้นแทนพื้นดิน มองขึ้นไปรอบๆ ท้องฟ้าเป็นสีขาว แต่จะมีอยู่บริเวณนึง เป็นสีออกม่วงอ่อนผสมแดงอ่อนๆ คล้ายเวลาที่อาทิตย์จะตกดิน แต่ไม่เห็นดวงอาทิตย์นะคะ แล้วก็ลอยเคว้งอยู่อย่างนั้นไปเรื่อยๆ

เราอยากพิสูจน์ว่า นี่เราตัวลอยจริงหรือหลอก เราแอบขยับก้นดู ก็ปรากฏว่า ตัวเราก็ยังนั่งอยู่นี่นา แต่ในใจมันหวิวๆท้องอ่ะค่ะ (เปรียบเทียบกับเวลาเรานั่งรถลงจากสะพาน หรือ ถนนที่ลาดชันลงมา มันจะรู้สึกวูบๆ หวิวตรงท้อง อย่างงั้นเลยค่ะ)

คำถามค่ะ...
- อาการแบบนี้ในสมาธิ เรียกว่าอะไรคะ?
- อาการนี้ใช่ จิตหลุด ไหมคะ?

- ถ้ามีอาการอย่างนี้อีก เราควรทำอย่างไร ต้องกำหนดอะไรไหมคะ? (ตั้งแต่นั่งสมาธิมาประมาณเดือนนึง มีอาการลอยแบบนี้สองสามครั้ง)
- มีใครเป็นแบบเราบ้างไหมคะ?

จิตหลุดจากอารมณ์ปัจจุบัน (กรรมฐาน) เมื่อจิตไม่อยู่กับลมเข้าลมออก แต่ละขณะๆ มันก็คิดเลือนลอยไปนั่นมานี่ บางคนไปสวรรค์ว่าไปนั่งกรรมฐานอยู่บนสวรรค์กับหลวงปู่ที่ตนนับถือ :b1: แต่ปล่าหรอกไม่ได้ไปไหนหรอก ก็นั่งอยู่ที่เดิมนั่นแหละ แต่จิตไม่อยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน คือ กรรมฐาน หรือ ลมหายใจเข้า หายใจออก หรือ พอง กับ ยุบ แต่ละขณะๆไป

ควรทำอย่างไร คือ กำหนดอย่างไร ?

ก็กำหนดตามที่เห็น ที่เป็น เห็นยังไง กำหนดยังงั้น รู้สึกเป็นยังไง พึงกำหนดอย่างนั้น ไม่ใช่ปล่อยไปเรื่อยเปื่อย วิธีกำหนดก็เช่น ตัวลอยหนอ หวิวๆหนอ ไม่ใช่ไปคิดทำอย่างนั้นอย่างนี้



คริคริ

คุณลุงขา เค้าลอยตัวไป ลอยกลับมานานแล้ว

เพิ่งเอามาโพสต์

ขนะโพสต์ ก็ต้องรู้ โพสต์หนอ ๆๆๆ ค่ะ

smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2019, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เพื่อให้มองเห็นภาพ จำต้องมีตัวอย่างประกอบ

นั่งสมาธิแล้วรู้สึกว่าตัวลอย

คืองี้ค่ะ ช่วงนึงของการทำสมาธิไปได้ซักครู่ คืออยู่ดีๆ รู้สึกเหมือนมันหวิวๆ ที่ท้องแล้วเราก็จะเห็นว่า เราลอยขึ้นเหมือนลูกโป่ง จากพื้นดินขึ้นไปในอากาศ มองลงมาเห็นทุ่งนาเหมือนพรม หลังคาบ้านเล็กๆ (เปรียบเทียบเหมือนเครื่องบินกำลัง เทคออฟ) ตอนก่อนที่เราจะลอย อาการในสมาธิจะเหมือนเวียนหัว มันหมุนๆ แล้วจะเหมือนความรู้สึกแบบ ใจหาย (ก่อนหน้านี้เคยเป็นครั้งนึง แต่ตอนนั้นตกใจ ตอนตัวกำลังจะลอย แล้วรีบลืมตาออกจากสมาธิทันที) แต่คราวนี้ลองอดทนพยายามไม่ตกใจแล้วรอดูว่าจะเกิดอะไรต่อไป... ความรู้สึกตอนที่ลอยอยู่ รู้สึกกลัวความสูง ลอยแบบสูงขึ้นๆ ไร้การควบคุม (แต่ตอนอยู่ในเครื่องบิน กลับชอบดูวิวข้างล่างซะงั้น)

ทีนี้ พอซักพักนึง เราก็ค่อยๆ โผล่ขึ้นมาอยู่เหนือแนวเมฆ คือ มองลงไปข้างล่าง เห็นกลุ่มปุยเมฆเป็นพื้นแทนพื้นดิน มองขึ้นไปรอบๆ ท้องฟ้าเป็นสีขาว แต่จะมีอยู่บริเวณนึง เป็นสีออกม่วงอ่อนผสมแดงอ่อนๆ คล้ายเวลาที่อาทิตย์จะตกดิน แต่ไม่เห็นดวงอาทิตย์นะคะ แล้วก็ลอยเคว้งอยู่อย่างนั้นไปเรื่อยๆ

เราอยากพิสูจน์ว่า นี่เราตัวลอยจริงหรือหลอก เราแอบขยับก้นดู ก็ปรากฏว่า ตัวเราก็ยังนั่งอยู่นี่นา แต่ในใจมันหวิวๆท้องอ่ะค่ะ (เปรียบเทียบกับเวลาเรานั่งรถลงจากสะพาน หรือ ถนนที่ลาดชันลงมา มันจะรู้สึกวูบๆ หวิวตรงท้อง อย่างงั้นเลยค่ะ)

คำถามค่ะ...
- อาการแบบนี้ในสมาธิ เรียกว่าอะไรคะ?
- อาการนี้ใช่ จิตหลุด ไหมคะ?

- ถ้ามีอาการอย่างนี้อีก เราควรทำอย่างไร ต้องกำหนดอะไรไหมคะ? (ตั้งแต่นั่งสมาธิมาประมาณเดือนนึง มีอาการลอยแบบนี้สองสามครั้ง)
- มีใครเป็นแบบเราบ้างไหมคะ?

จิตหลุดจากอารมณ์ปัจจุบัน (กรรมฐาน) เมื่อจิตไม่อยู่กับลมเข้าลมออก แต่ละขณะๆ มันก็คิดเลือนลอยไปนั่นมานี่ บางคนไปสวรรค์ว่าไปนั่งกรรมฐานอยู่บนสวรรค์กับหลวงปู่ที่ตนนับถือ :b1: แต่ปล่าหรอกไม่ได้ไปไหนหรอก ก็นั่งอยู่ที่เดิมนั่นแหละ แต่จิตไม่อยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน คือ กรรมฐาน หรือ ลมหายใจเข้า หายใจออก หรือ พอง กับ ยุบ แต่ละขณะๆไป

ควรทำอย่างไร คือ กำหนดอย่างไร ?

ก็กำหนดตามที่เห็น ที่เป็น เห็นยังไง กำหนดยังงั้น รู้สึกเป็นยังไง พึงกำหนดอย่างนั้น ไม่ใช่ปล่อยไปเรื่อยเปื่อย วิธีกำหนดก็เช่น ตัวลอยหนอ หวิวๆหนอ ไม่ใช่ไปคิดทำอย่างนั้นอย่างนี้



คริคริ

คุณลุงขา เค้าลอยตัวไป ลอยกลับมานานแล้ว

เพิ่งเอามาโพสต์

ขนะโพสต์ ก็ต้องรู้ โพสต์หนอ ๆๆๆ ค่ะ

smiley


ก็รู้อยู่นะว่ากำลังทำอะไรอยู่ ไม่ใช่ทำแบบเบรอๆหลงๆลืมๆ ไม่ใช่ ตั้งใจทำเบยแหละ คิกๆๆๆ ไม่เถียงว่านานแล้ว แต่ๆๆๆ

แต่นำมาโพสต์เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ซึ่งกำลังปฏิบัติ กำลังหาทางออกอยู่ คือว่าขณะนั้นๆตนประสบกับสภาวะอะไรๆก็ตามพึงกำหนดรู้ (ปริญญา) ตามที่มันเป็นเดี๋ยวนั้นทันที นี่มานเป็นจั๊งซี้ :b1: นี่คือประโยชน์ที่ผู้ปฏิบัติจะได้วิธีไปแก้ปัญหาให้กับตัวเอง

ส่วนผู้ไม่เคยทำไม่เคยปฏิบัติไม่เคยภาวนา จ้างก็มองไม่ออกจ้างก็ไม่รู้ :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 34 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร