วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 22:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2019, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


“ทำความดีอยู่คนเดียว
ไม่มีใครเห็น มันก็ยังดีอยู่นั่นเอง"
หลวงปู่ชา สุภัทโท



โกรธเขาเกลียดเขาเราทุกข์
“ทุกอย่างในชีวิตคนเรา ทำที่ทำให้เราทุกข์ มันอยู่ที่ใจของเราทั้งนั้น...ถ้าเราโกรธใคร เกลียดใคร มันก็อยู่ที่ใจ แต่ถ้าใจเราไม่เกลียด ใจเราไม่โกรธ เราก็ไม่มีความทุกข์ เกลียดก็ทุกข์ โกรธก็ทุกข์ แล้วเราจะเกลียด จะโกรธไปให้เราเป็นทุกข์ทำไม คนที่เราเกลียด คนที่เราโกรธ เขาไม่ทุกข์ไปกับเราหรอก เราทำให้เราทุกข์เองทั้งสิ้น แต่ถ้าเราปล่อยวาง ไม่สนใจเขา ไม่รับรู้เรื่องเขา ใจเราก็ไม่หมกหมุ่นกับเรื่องของเขาอีก เราก็ไม่ทุกข์ เพราะใจมันสงบ”
คติธรรมคำสอน
ท่านพ่อไพบูลย์ สุมังคโล
สำนักสงฆ์เทพนิมิตสุดเขตสยาม อ.เชียงของ จ.เชียงราย





ถ้าเขาชั่วก็ชั่วของเขา ถ้าเขาไม่ยอมกลับตัว มันก็ตัวของเขา เขาทำตัวเขาเอง เรื่องของเขา ช่างเขาเถิด เราอย่าเก็บมาทุกข์ใจ ผู้เจริญย่อมไม่เบียดเบียนใคร ไม่อาฆาตใคร ไม่พยาบาทใคร ให้อภัยแก่คนทุกจำพวก ไม่เอาเรื่องเอาราวอะไรกับใครเลย ต้องพร้อมที่จะให้อภัยอยู่เสมอ อย่างนี้ใจเราสบาย
หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
วัดศรีอภัยวัน จ.เลย





ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่
มีเพียงแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทรัพย์สมบัติทิ้งไว้ให้ปวงชน
แม้ร่างตนเขาก็เอาไปเผาไฟ

เมื่อเจ้ามามีอะไรมาด้วยเจ้า
จะเอาแต่สุขสนุกไฉน
เจ้ามามือเปล่าเจ้าจะเอาอะไร
เจ้าก็ไปมือเปล่าเหมือนเจ้ามา

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)






ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายผู้ที่จะรู้ว่าสุขทุกข์ติดกันอยู่นั้นหายากยิ่งนัก มีแต่เราตถาคตผู้ประกอบด้วยทศพลญาณนี้เท่านั้น บุคคลทั้งหลายที่ยังเป็นปุถุชนคนโง่เขลานั้น ทำความเข้าใจว่า สุขก็มีอยู่ต่างหาก ทุกข์ก็มีอยู่ต่างหาก ครั้นเราถือเอาสุข เราก็ได้สุข เราไม่ถือเอาทุกข์ ทุกข์ก็ไม่มี ดังนี้ เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ว่าสุขกับทุกข์ติดกันอยู่ เขาจึงไม่พ้นทุกข์ เมื่อผู้ใดอยากพ้นทุกข์ก็ให้วางสุขเสีย ก็เป็นอันละทุกข์ วางทุกข์ได้เหมือนกัน ใครเล่าจะมีความสามารถพรากสุขทุกข์ออกจากกันได้ แต่เราตถาคตก็ไม่มีวิเศษที่จะพรากจากกันได้ ถ้าหากเราตถาคตพรากสุขแลทุกข์ออกจากกันได้ เราจะปรารถนาเข้าสู่พระนิพพานทำไม เราจะถือเอาแต่สุขอย่างเดียว เสวยแต่ความสุขอยู่ในโลกเท่านั้น ก็เป็นอันสุขสบายพออยู่แล้ว นี่ไม่เป็นเช่นนั้น เราแสวงหาความสุขโดยส่วนเดียวไม่มีทางที่จะพึงได้ เราจึงวางสุขเสีย ครั้นวางสุขแล้ว ทุกข์ไม่ต้องวาง ก็หายไปเอง อยู่กับเราไม่ได้ เราจึงสำเร็จพระนิพพานพ้นจากกองทุกข์ ด้วยประการดังนี้
.
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า - คิริมานนทสูตร
เรียบเรียงโดย ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2019, 17:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 11:03
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เคยเรียนถามพระอาจารย์ในดง
เรื่องทศพลญาน
คำตอบที่ได้ท่านสรุป
ปัญญาญาน
พอเพียงสำหรับคำที่ผมถามพระอาจารย์ในดง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2019, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


luna เขียน:
เคยเรียนถามพระอาจารย์ในดง
เรื่องทศพลญาน
คำตอบที่ได้ท่านสรุป
ปัญญาญาน
พอเพียงสำหรับคำที่ผมถามพระอาจารย์ในดง


ผมก็เพิ่งได้แค่ ปัญญาจากการฟัง และจากการตรึกนึกคิด
ก็ยังได้พบความสุขตามอัตภาพแล้วครับ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 15:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss Kiss

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


luna เขียน:
เคยเรียนถามพระอาจารย์ในดง
เรื่องทศพลญาน
คำตอบที่ได้ท่านสรุป
ปัญญาญาน
พอเพียงสำหรับคำที่ผมถามพระอาจารย์ในดง

Kiss
ปัญญา=ญาณ
ส่วนทศพลญาณ
คือปัญญาของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทสพลญาณ พระญาณเป็นกำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ เรียกตามบาลีว่า ตถาคตพลญาณ (ญาณเป็นกำลังของพระตถาคต) ๑๐ คือ

๑.ฐานาฐานญาณ
๒.กรรมวิปากญาณ
๓.สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ
๔.นานาธาตุญาณ
๕.นานาธิมุตติกญาณ
๖.อินทริยปโรปริยัตตญาณ
๗.ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ
๘.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ
๙.จุตูปปาตญาณ
๑๐. อาสวักขยญาณ

นิยมเขียน ทศพลญาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2019, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คคห.นี้มีคำแปล หรือ ความหมายให้ด้วย


ญาณ ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากำหนดรู้

ทสพลญาณ พระญาณเป็นกำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ เรียกตามบาลีว่า ตถาคตพลญาณ (ญาณเป็นกำลังของพระตถาคต) ๑๐ คือ

๑.ฐานาฐานญาณ ปรีชากำหนดรู้ฐานะ คือ สิ่งที่เป็นไปได้ เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น และอฐานะ คือ สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น ทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี เป็นต้น

๒.กรรมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม แม้จะมีกรรมต่างๆให้ผลอยู่มากมายซับซ้อน ก็สามารถแยกแยะล่วงรู้ได้ ว่าอันใดเป็นผลของกรรมใด

๓.สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ทางที่จะนำไปสู่สุคติทั้งปวง คือ ทั้งสุคติ ทุคติ และทางแห่งนิพพาน

๔.นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้ธาตุต่างๆ คือ รู้จักแยกสมมติออกเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุต่างๆ

๕.นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยของสัตว์ ที่โน้มเอียง เชื่อถือ สนใจ พอใจ ต่างๆกัน

๖.อินทริยปโรปริยัตตญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่า สัตว์พวกไหนมีอินทรีย์ (คือ ศรัทธา เป็นต้น) อ่อน พวกไหนมีอินทรีย์แก่กล้า พวกไหนมีจริต มีอัธยาศัย เป็นต้น อย่างไรๆ พวกไหนสอนยาก พวกไหนสอนง่าย ดังนี้ เป็นต้น

๗.ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชากำหนดรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และการออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ตามความเป็นจริง

๘.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงปุพเพนิวาส คือ ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้ – ใช้ว่า บุพเพนิวาสานุสติญาณ ก็มี เขียนเต็มอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

๙.จุตูปปาตญาณ ปรีชารู้จุติ และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย, มีจักษุทิพย์มองเห็นสัตว์กำลังจุติบ้าง กำลังเกิดบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้าง เป็นต้น ตามกรรมของตน เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุ

๑๐. อาสวักขยญาณ ความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ, ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย, ความตรัสรู้ (เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ในยามสุดท้ายแห่งราตรี วันตรัสรู้)

นิยมเขียน ทศพลญาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร